Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 10:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกสมาธิ
ข้าพเจ้าได้รับการถ่ายถอดวิธีการนั่งสมาธิ มาจากหลวงพี่ในสมัยเมื่ออายุ ประมาณ 13-14 ขวบ
ปัจจุบันหลวงพี่ท่านได้ลาสิกขาไปนานแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ได้ใช้วิธีการนั่งสมาธิที่ท่านสอนให้มาโดยตลอด (หลวงพี่ท่านเป็นนักเรียกนอก มาบวชอยู่ประมาณ 2 พรรษาเห็นจะได้ ถ้าจำไม่ผิด )
ถึงแม้ว่า จะมีบางช่วงที่หันไปฝึกสมาธิในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งได้รับฟังได้อ่าน ได้เห็น เขาสอนกันทั่วๆไป
แต่ในที่สุดข้าพเจ้าก็ต้องใช้วิธีการปฏิบัติสมาธิที่หลวงพี่ท่านสอนให้ เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ผลดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นหลักธรรมชาติมากที่สุด

หลักการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้าที่หลวงพี่ (พระประยุทธ ในสมัยนั้น) ได้สอนให้นั้น ก็คือการกำหนดลมหายใจ โดยใช้ คำว่า พุทโธ เป็นเครื่องกำกับ ลมหายใจเข้าออก ต่อมาข้าพเจ้าก็ได้ประยุกต์และพัฒนาให้มั่นคงและให้ดีกว่าที่หลวงพี่ได้สอนให้เพราะมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น จากที่หลวงพี่สอนให้ หายใจเข้า นึกคำว่าพุทธ หายใจออกนึกว่า โธ ข้าพเจ้า ก็ได้หลักการนั่งสมาธิที่ดี และถูกต้องเพิ่มขึ้น
การปฏิบัติสมาธินั้น ถ้านั่งไม่สะดวก ก็นอน (ในที่นี้หมายถึงในบ้านตัวเองนะ) เดิน ,หรือวิ่งข้าพเจ้าก็เคยปฏิบัติ แต่ไม่ค่อยได้ผลนัก แต่ถ้าเป็นการทบทวนความรู้ หรือทบทวนวิชชา ก็ใช้ได้ดีทีเดียว
ก่อนที่จะปฏิบัติสมาธิ ก็ต้องมีจุดมุ่งหมาย และรู้ก่อนว่า สมาธิคืออะไร ในที่นี้จะไม่เอาความหมายจากพจนานุกรมใดใดทั้งสิ้น แต่จะให้ความหมายของคำว่าสมาธิ จากประสบการ จากสภาพสภาวะจิตใจแห่งสมาธิที่แท้จริงดังต่อไปนี้
สมาธิ คือ" ความสงบแห่งร่างกาย อันหมายถึง ความสงบและว่างเปล่าแห่งอารมณ์ทั้งปวง ความสงบและว่างเปล่าแห่งความคิดทั้งปวง ความผ่อนคลายระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกส่วนอันนอกเหนือจากอารมณ์ และความคิด เพราะ ความคิดจะทำให้เกิดอารมณ์ อารมณ์ก็ย่อมจะทำให้เกิดความคิด ความคิดและอารมณ์ย่อมทำให้เกิดการมองเห็น และอื่นๆ ดังนี้เป็นต้น”
(จบตอนที่ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 2:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่2
การใช้คำว่าพุท และโธ ในการกำกับลมหายใจเข้าออกนั้น เป็นบันไดพื้นฐานสำหรับบุคคลที่เริ่มต้นฝึกหัดนั่งสมาธิ เนื่องจากแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน หากไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยวความคิด เอาไว้ ก็อาจคิดฟุ้งซ่านไม่รู้จบ การใช้คำว่าพุทและ โธนั้น เป็นการคิดชนิดหนึ่งแต่ไม่ได้คิดฟุ้งซ่าน คิดร่วมกับลมหายใจ นี้เป็นชั้นต้น จะหายใจออก พุทธ หรือโธ และ/หรือ จะหายใจเข้าใจ พุทธหรือโธ มันก็ได้ทั้งนั้น ไม่ผูกติด เพราะจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสงบแห่งความคิด ความสงบแห่งอารมณ์
หากคุณฝึกใช้พุทธโธ กำกับไปสักระยะ คุณจะไม่ใช้พุทธโธกำกับก็ได้ คุณใช้เพียงลมหายใจอย่างเดียวก็ได้ แต่ถึงคุณจะใช้ลมหายใจหรือกำหนดรู้เพียงลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว มันก็เป็นความคิดอย่างหนึ่งเหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่คุณไม่รู้ว่ามันเป็นความคิดอย่างหนึ่ง เพราะความคิดมีหลายรูปแบบ เช่นคิดเป็นตัวอักษร คิดเป็นประโยค เป็นคำแห่งภาษาทั้งหลาย คิดเป็นรูปร่าง คิดเป็นความรู้สึก หรือความรู้สึกก็เป็นความคิดชนิดหนึ่ง ซึ่งความรู้สึกนั้นจะต่อยอดให้กลายเป็นความคิดต่างๆนาๆได้อีก ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้วละก้อ ขณะที่ลมหายใจผ่านรูจมูกของคุณ คุณก็ต้องใช้สมองกำกับลมหายใจนั้น นั่นแหละความคิดชนิดหนึ่ง นะคุณ ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทานธรรม
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 ก.ย. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): สุพรรณบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่คุณทำนั้น จัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน เป็นหนึ่งในกัมมัฏฐาน 40 กอง
เวลาปฏิบัติ จิตจะรู้สึกสงบ และมีความสุข (ถ้าวางจิตถูกส่วน)

ส่วนกัมมัฏฐานอีกประการหนึ่ง คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
เป็นการใช้สติ กำหนดดูสภาวะจิตของตนเอง อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งใดๆ เพื่อให้รู้เท่าทันสภาวะ (สภาพ) ของกาย และจิตในขณะนั้นๆ

ผมได้ฟัง หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เมื่อปีกว่าๆ มานี้ รู้สึกว่าท่านสอนได้ดีมากๆ
เพราะท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ศิษย์หลวงปู่มั่น)

ถ้าใครสนใจก็ลองเข้าไปอ่าน หรือฟัง เทศนาของท่านได้ครับ ที่ลิงก์นี้....

http://www.wimutti.net/pramote/#news

หรือจะดาวน์โหลดหนังสือธรรมะอื่นๆ .... สาธุ

สาธุ http://dungtrin.com/
http://dungtrin.com/mag/
http://www.kalyanamitra.org/index_dhammabook.asp
 

_________________
จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2007, 1:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 3

หลักการฝึกสมาธิ ของข้าพเจ้านี้ ไม่ใช่นับเป็นหรือนับอยู่ในหมวด กัมมัฏฐาน และไม่ได้มีความหมายว่า อุบายทำให้ใจสงบ
เพราะหลักการหรือหลักธรรมะของข้าพเจ้า แบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ คือ
1.ภาค ธรรมะ อันเป็นแม่บทแห่งพระไตรปิฎก อย่างหนึ่ง
2.ภาค ปฏิบัติธรรม อันนับเข้าอยู่ในภาค ธรรมะ ในข้อ "สรรพอาชีพ,ประพฤติ
ภาคปฏิบัติธรรมนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. สมาธิ
2.ญาณ
3.วิปัสสนา
ทั้ง 3 ข้อ จะมีความหมายไม่เหมือนสิ่งที่มีอยู่เดิม ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เป็นหลักการหรือธรรมะแห่งข้าพเจ้าอันเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น คำว่า สมาธิ ในทางหลักการหรือหลักธรรมของข้าพเจ้านั้น จะหมายถึง การปฏิบัติธรรมหรือถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นก็คือ
"การฝึกสมาธิ" เป็นการฝึกปฏิบัติธรรมรูปแบบหนึ่ง อันเป็นการปฏิบัติธรรม โดยอนุโลมจัดอยุ่ในการปฏิบัติธรรมหมวด พรหมวิหารสี่ อย่างหนึ่ง และโดยอนุโลม จัดอยู่ในการปฏิบัติข้อ อิทธิบาทสี่ อีกอย่างหนึ่ง
"การฝึกสมาธิของข้าพเจ้านี้ ไม่ใช่เป็นอุบายทำให้ใจสงบ ขอย้ำว่า ไม่ใช่ อุบายทำให้ใจสงบ"
แต่เป็นการฝึกให้บุคคลรู้จักควบคุมความคิดควบคุมอารมณ์ ฯลฯ และเป็นการฝึกตนให้รู้จักจดจ่อในสิ่งนั้นๆ คือรู้จักใช้จดจ่อในสิ่งที่ตัวเองกำลังประพฤติอยู่ ซึ่งย่อมบังเกิดผลเมื่อเราได้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ประพฤติทางด้าน กาย วาจา และใจ หรือจะกล่าวอีกรูปแบบ การทำงานหรือการประพฤติทุกชนิด ล้วนต้องอาศัยสมาธิเป็นเครื่องช่วย ล้วนมีสมาธิเป็นสิ่งประกอบในการทำงานหรือการประพฤติทุกชนิด อันเป็นธรรมชาติแห่งมนุษย์อยู่แล้ว คือเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ล้วนย่อมมีสมาธิ คือการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น แม้จะไม่ได้เรียนรู้ธรรมะ จากศาสนาใดใดก็ตาม(ในที่นี้หมายเอา เฉพาะมนุษย์ เพราะสัตว์ทุกชนิดก็มีลักษณะธรรมแห่งการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้นๆหรือเอาใจจดจ่อในสิ่งที่ตัวสัตว์เหล่านั้นประพฤติอยู่เหมือนกัน)
สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น เป็นคำอธิบาย เพื่อให้รู้ว่า "ฝึกสมาธิ เพื่ออะไร"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 ต.ค.2007, 2:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 4
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจกันไปบ้างแล้วว่า การฝึกสมาธิ คืออะไร ,ฝึกสมาธิเพื่ออะไร
ต่อไป ก็จะเข้าสู่ตอน "ฝึกสมาธิแค่ไหน"
คำว่า ฝึกสมาธิแค่ไหน นั้น มีความหมายถึงระยะเวลา ในการฝึก หมายถึงความยาวนานของการฝึกสมาธิในแต่ละครั้ง
ก่อนอื่นท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจในธรรมชาติของตัวท่านเอง หรือทำความเข้าในธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)ก่อนว่า แต่ละบุคคลย่อมมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน มีความอยากมีความพยายามมีความมุ่งมั่นที่แตกต่างกันไป ระยะเวลา หรือความยาวนานในการฝึกสมาธิในแต่ละครั้งจึงย่อมแตกต่างจากกัน ดังนั้น ในตอนนี้จะเขียนแนะแนวทางในการฝึกสมาธิ ที่เป็นกลางโดยคำนึงถึงสถานะภาพแห่งบุคคลโดยคำนึงถึงความจำเป็นในการดำรงชีพของแต่ละบุคคล ซึ่งท่านทั้งหลายก็ควรได้ระลึกนึกถึง หลักความจริง และหลักการฝึกสมาธิว่า การฝึกสมาธิคืออะไร , ฝึกสมาธิเพื่ออะไร
ที่ข้าพเจ้าให้ท่านทั้งหลายได้ระลึกนึกถึงนั้น ก็เป็นเพราะว่า ตามธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมมีการเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันไป แตกต่างกันทั้งตัวบุคคล และแตกต่างทั้งการประกอบกิจกรรมนั้นๆ หากจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ ทุกคนจะมีสมาธิที่แตกต่างจากกัน ทุกคนจะใช้สมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมใดใดที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่การงานนั้น หรือกิจกรรมนั้นๆ หากทุกคนได้สังเกตุตัวเองและผู้อื่นก็จะพบว่า หน้าที่การงาน หรือกิจกรรมต่างๆล้วนใช้สมาธิ หรือใช้การเอาใจจดจ่อหรือการใช้ใจฝ้กใฝ่ในสิ่งนั้น แตกต่างจากกัน และที่สำคัญ การใช้สมาธิและหรือการใช้ใจจดจ่อหรือใช้ใจฝ้กใฝ่ในสิ่งนั้น ในการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใด ล้วนต้องอาศัยข้อมูลความรู้ที่ได้รับการสั่งสมมาประกอบกันเป็นการปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น ซึ่งการใช้สมาธิในการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใด ล้วนต้องใช้ความจำ ความรู้ และความเข้าใจ ในสมองทุกครั้งไป
เมื่อเราได้เรียนรู้แล้วว่า สมาธิคืออะไร ฝึกสมาธิเพื่ออะไร เราก็จะสามารถกำหนดให้ตัวเองได้ว่า เราควรฝึกสมาธิแค่ไหน นานเท่าใด ได้ตามความต้องการ อันไม่เป็นการทรมานสังขารตัวเอง แต่เป็นการบังคับควบคุมให้สมองพักผ่อน ให้ร่างกายได้พักผ่อน อันจักเป็นผลดีต่อระบบการทำงานของร่างกาย และระบบการทำงานของสมอง ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและพักผ่อน เพื่อต่อสู่กับงานในวันต่อๆไป
จากที่ได้กล่าวไปว่า หน้าที่การงาน สภาพสรีระร่างกาย ความจำเป็นในบทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลจะเป็นตัวกำหนดว่า เราควรฝึกสมาธิแค่ไหน ยาวนานเพียงใดในแต่ละครั้ง บางท่านอาจสงสัยว่า เราต้องตั้งนาฬิกาไว้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่จำเป็น เพราะระบบของสรีระร่างกายจะเป็นตัวเตือนเราเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการของตัวเราเช่น 10 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ระบบการทำงานของร่างกายก็จะเตือนให้เราออกจากการฝึกสมาธิเอง อันเป็นธรรมชาติ
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจแล้วว่า ควรฝึกสมาธิแค่ไหน ในตอนต่อๆไป ข้าพเจ้าก็จะเขียนถึงการฝึกสมาธิเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไร อันจะเป็นการนำเอาประสบการจริงที่ตัวข้าพเจ้าเองก็ปฏิบัติอยู่พร้อมกับการอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่า ทำไมถึงใช้การกำหนดลมหายใจ หรือใช้ใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในลมหายใจ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2007, 10:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 5

เนื่องจากในตอนที่ 4 ได้อธิบายในเรื่องของสมาธิ หรือการเอาใจจดจ่อหรือฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ยังไม่ละเอียดพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ดี ดังนั้นในตอนที่ 5 นี้ข้าพเจ้าก็จะพยายามอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายขึ้น
หลายๆท่านอาจมีความคิดอันนอกเหนือไปจากแนวทางของข้าพเจ้า หรืออาจมีความคิดเป็นของตัวเองก็ตามที แต่ท่านทั้งหลายควรได้คำนึงถึงหลักความจริงในระบบแห่งสรีระร่างกายของมนุษย์ อันเป็นหลักธรรมชาติ และหลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้านี้ สามารถยกขึ้นเป็นแม่แบบเป็นแม่บทแห่งการเรียนการสอน ด้วยเหตุที่ว่า "การจะประกอบกิจกรรมใดใด ควรได้มีหลักการที่สำคัญ ทางศาสนาแห่งข้าพเจ้า 3 ข้อ" คือ
1. การเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น หรือ"สมาธิ"
2. ญาณ คือ ความรู้ หรือ ความปรีชาหยั่งรู้ หรือปรีชากำหนดรู้ ซึ่งก็มีความหมายถึง" ความปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ ในความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่ได้รับการขัดเกลา ในสิ่งที่ได้รับการอบรมฝึกสอน หรือได้รับจากประสบการณ์ อันได้จดจำไว้ในสมอง อันได้จดจำไว้ใน สรีระร่างกาย
3. วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คำว่าวิปัสสนานี้ หมายความถึง ความสามารถในอันที่จะนำเอา ญาณ หรือ ความรู้ต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสมาธิ มาใช้ให้บังเกิดผล หากจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิปัสสนาก็คือการนำเอาความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น แปลงเป็นการปฏิบัติโดยอัตโนมัติ หรือ วิปัสสนา คือ สิ่งที่เกิดจากหรือสืบเนื่องจาก ญาณ อันประกอบด้วยสมาธิ ถ้าเป็นการกล่าวตามศัพท์ทั่วๆไป วิปัสสนาก็คือ เทคนิค หรือวิธีการ ที่จะนำเอาญาณ อันประกอบด้วยสมาธิ มาแปลงเป็นการปฏิบัติ แปลงออกมาเป็นผลแห่งญาณ อันประกอบด้วยสมาธิ
อนึ่ง คำว่า "สมาธิ"นี้ เป็นเพียงคำที่ใช้แทน" การเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น" เพราะง่ายต่อการเรียกหา ง่ายต่อการกล่าวถึง
ตามที่ได้กล่าวไปในตอนที 4 ว่า "การใช้สมาธิและหรือการใช้ใจจดจ่อหรือใช้ใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ในการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใด ล้วนต้องอาศัยข้อมูลความรู้ที่ได้รับการสั่งสมมาประกอบกันเป็นการปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น ซึ่งการใช้สมาธิในการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใด ล้วนต้องใช้ความจำ ความรู้ และความเข้าใจ ในสมองทุกครั้งไป " อันเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้
จากข้อความที่ได้กล่าวไปข้างต้น การฝึกสมาธิ หรือการเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ย่อมเป็นการฝึกบังคับควบคุมสมอง มิให้เกิดความคิดแทรกซ้อน หรือมิให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน คือฝึกให้สมองไม่คิดอะไรเลย เพราะถ้าไม่คิด ก็ไม่เห็น ไม่ได้ยิน นอกเหนือไปจากการได้พักผ่อนสมองในขณะที่ยังไม่ได้นอนหลับ อันเป็นพื้นฐานหรือเป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ที่ทุกคนจะสามารถทำได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่ปัจจัยในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน อาจทำให้มนุษย์เกิดความสับสนและไม่สามารถควบคุมสมองหรือไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือไม่สามารถควบคุมควบคิด ดังนั้นจึงเกิดมีหลักการทางศาสนาขึ้นมา เพื่อเป็นปัจจัยหรือสิ่งประกอบในการดำรงชีวิตของมนุษย์
เมื่อได้ฝึกนั่งสมาธิ หรือได้ฝึกสมาธิด้วยวิธีการที่มีอยู่เองตามธรรมชาติด้วยการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้นหรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น แล้ว ขณะทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใด หรือการประพฤติทางกาย วาจา และใจ ก็จะไม่เกิดความคิดอื่นใดแทรกซ้อน แต่จะมีแต่ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ญาณ" เท่านั้นที่เป็นปัจจัยประกอบในพฤติกรรม ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งที่เป็น "ญาณ" หรือปัจจัยประกอบนี้บ้าง ก็เรียกว่า"ปัญญา"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2007, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง ในตอนที่ 5 นั้นยังตกหล่น คำอธิบายแห่งสมาธิ ดังนี้
"การเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น" ผลที่ได้หรือผลที่เกิดจากการเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เรียกว่าสมาธิ นี้เป็นศัพท์ภาษาทางศาสนาพุทธ
ถ้า"การเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น" ในทางศาสนาอื่นๆ ก็จะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป และเรียกผลที่ได้นั้นแตกต่างกันไป ในที่นี้ไม่อธิบายเพราะจุดประสงค์ในตอนนี้ มีเฉพาะศาสนาพุทธเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เหม่งตุ๊ก
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 28 ก.ย. 2007
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2007, 11:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การควบคุมจิตให้นิ่งไม่วอกแว่กง่ายทำอย่างไรดี
 

_________________
อยากสวยต้องรักษาศีล
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2007, 8:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหม่งตุ๊ก พิมพ์ว่า:
การควบคุมจิตให้นิ่งไม่วอกแว่กง่ายทำอย่างไรดี สงสัย


ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จิต ไม่วอกแว่กนั้นคืออาการอย่างไร
จิตไม่วอกแว่กนั้น หรือจิตวอกแว่กนั้น แท้ที่จริงก็คือความคิด หรือข้อมูลที่มีอยู่ในสมองซึ่งเป็นคลื่นไฟฟ้า คลื่นไฟฟ้านั้นจะถูกส่งไปที่หัวใจ และหัวใจก็จะส่งกลับไปที่สมองอีกครั้งหนึ่งทำให้เกิดความคิด ขณะที่คลื่นจากสมองถูกส่งไปที่หัวใจ ก็จะเกิดอารมณ์หรือความรู้สึก และพร้อมกันนั้นคลื่นก็จะถูกส่งกลับไปที่สมองทำให้เกิดการดึงข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในสมองปรุงแต่งเป็นความคิดต่างๆ ตามแต่ที่เราได้ประสบพบเห็นหรือได้สัมผัสมา ไม่ว่าจะครั้งอดีตนานมาแล้วหรืออาจจะผ่านไปไม่กี่นาที และสมองก็จะคิดในปัจจุบัน ไปสู่อนาคต ด้วยจึงเกิดเป็นความคิดต่างๆตามที่คุณก็คงเคยประสบมาบ้างแล้ว

การควบคุมจิตให้นิ่งไม่วอกแวกนั้น ตามธรรมชาติของมนุษย์ย่อมทำได้เองอยู่แล้วแม้จะไม่ได้เรียนรู้ศาสนา หรือหลักการใดใดมาก่อนก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะการได้รับการขัดเกลาทางสังคม สภาพสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ได้ฝึกฝนตัวมนุษย์มาอยู่แล้ว คำว่าจิตวอกแว่ก ถ้าจะกล่าวในรูปแบบหนึ่งนั้น หมายความว่าคิดเรื่อยเปื่อย คือเปลี่ยนเรื่องคิดอยุ่บ่อยครั้งในเวลาอันสั้น เช่น 1 ชั่วโมง คิดไปหลายสิบเรื่องอย่างนี้เป็นต้น
อีกรูปแบบหนึ่ง คือจะจิตจะวอกแวก เวลาได้ประสบพบเห็น หรือได้ยิน ก็จะวอกแว่กครั้งหนึ่ง อันนี้เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เขียนมาตั้งยาว คำตอบ มีนิดเดียว คือ กลับไปอ่านกระทู้"หลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" ตั้งแต่ต้นใหม่ แล้วคิดพิจารณาให้ดี ก็จะเกิดความรุ้เบื้องต้นว่า ทำอย่างไรจะให้จิตวอกแว่กน้อยที่สุดก่อน
เพราะตอนนี้ยังจะไม่เขียนวิธีการฝึกสมาธิ หรือวิธีการฝึกการเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตะแง๊ว
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 09 ส.ค. 2007
ตอบ: 72
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2007, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2007, 10:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 7
กิเลส ในทางศาสนาพุทธนั้น หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งสามารถแยกแยะรายละเอียดแห่งการเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้อีกเยอะแยะ มีทั้งอย่างบาง อย่างหนา อย่างหยาบ อย่างละเอียด นี้หมายถึงกิเลสนะขอรับ
กิเลส เป็นธรรมชาติของมนุษย์(และอื่นๆ ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ไม่มีผู้ใดไม่มีกิเลส จะมีมาก จะมีน้อย จะมีอย่างหยาบ จะมีอย่างละเอียด จะมีอย่างหนา อย่างบาง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอย้ำว่า ทุกคนล้วนมีกิเลส
เพราะตราบใดที่ทุกคนยังอยู่ในโลก กิเลสย่อมเกิดขึ้นในจิตใจ แต่ในทางศาสนาพุทธย่อมมีวิธีการขจัดกิเลส ตั้งแต่ระดับปุถุชนคนทั่วไป จนไปถึงระดับอริยะบุคคล วิธีการขจัดอาสวะแห่งกิเลสนั้น ก็ย่อมแตกต่างกันไปตาม ความรู้ ความเข้าใจ และสมองสติปัญญา ของแต่ละบุคคล และวิธีการขจัดอาสวะแห่งกิเลสของระดับปุถุชนคนธรรมดา ก็ยังแตกต่างจากวิธีการขจัดอาสวะแห่งกิเลสของบุคคลระดับอริยะบุคคล ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ขึ้นอยู่กับ ความรู้ ความเข้าใจ และระดับสมองสติปัญญา
การจะขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้น โดยไม่เหลือเชื้อนั้น จะมีบุคคลจำพวกเดียวที่กระทำได้ คือบุคคลที่บรรลุนิพพาน หรือปรินิพพาน เท่านั้น เพราะ ผู้บรรลุนิพพานนั้น จะมีเกราะป้องกัน อันเป็นคลื่นคล้ายสนามแม่เหล็กป้องกันมิให้คลื่นกิเลสจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และภายในร่างกายก็จะมีการขจัดคลื่นต่างๆ ไม่ว่าคลื่นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก มิให้เกิดขึ้น
ถ้าเป็นระดับอรหันต์ คลื่นต่างๆที่ทำให้เกิดกิเลสนั้น ยังสามารถไหลเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ก็สามารถขจัดออกไปได้ เช่นกัน
ถ้าเป็นการขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้นในระดับปุถุชนคนธรรมดาขึ้นไป ก็คือการทำความเข้าใจ เรียนรู้
1. การฝึกการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้นหรือการฝึกเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิด สมาธิ
2. ญาณ คือความรู้ยิ่ง อันหมายถึง ความรู้ในหลักการหรือหลักธรรมะซึ่งล้วนเป็นหลักการทางธรรมชาติที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
3. วิปัสสนา คือ การแปลงความรู้หรือญาณอันประกอบด้วยสมาธิเป็นการปฏิบัติโดยอัตโนมัติ
ความรู้หรือญาณ ชั้นพื้นฐาน หรือชั้นหลักการใหญ่ หรือหัวข้อหลักได้แก่
"เครื่องดิ้นรนอันมีองค์ 8 ซึ่งได้แก่ ทุกข์,สมูทัย,นิโรธ,มรรค อันประกอบด้วย
1.ทาน 2. การครองเรือน
3.กตัญญู 4.เจรจา
5.สรรพอาชีพ 6. ประพฤติ
7.ระลึก 8. ดำริ

หากบุคคลได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในหลักธรรมหรือหลักการที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ ก็จะสามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ในระดับหนึ่ง
หากท่านทั้งหลายได้อ่านและคิดพิจารณาให้ดี ก็จะพบคำตอบที่ถามว่า "ควรจะตัดกิเลสทิ้งไปแบบไม่เหลือเชื้อ หรือควรเก็บเอาไว้ใช้งานดี"
ถ้าจะให้ตอบแบบตรงไปตรงมา ก็คือ" ไม่มีมนุษย์คนไหน ตัดกิเลสทิ้งไปแบบไม่เหลือเชื้อได้เลย" เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์(และอื่นๆ)
แต่ถ้าคุณอยากจะ ตัดกิเลสทิ้งแบบไม่เหลือเชื้อ คุณก็ต้อง
1. ตายไปจากโลกนี้ (ไม่ได้แนะนำให้คุณตายนะขอรับ)
2. ศึกษา วิธีการ หลักการหรือหลักธรรม และฝึกฝนปฏิบัติ แต่ก็ต้องใช้เวลา ซึ่งก็แล้วแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 10:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 8
คำถาม...........
ผมเริ่มปฎิบัติสมาธิมาระยะหนึ่งประมาณ 1 เดือนหรือประมาณ 30-40 ครั้ง ทำสมาธิช่วง 22.00-23.00 น. ถ้าวันไหนตื่นเช้าก็จะทำเพิ่ม ช่วง 5.30-6.30 น. ทำสมาธิครั้งละ 1 ชั่วโมง และ ในช่วงการใช้ชีวิตประจำวันนั้นจะกำหนด "สติ" รู้ลมหายใจ และ "สติ" กำหนดรู้ร่างกายสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงกับ 100% แต่จะบังคับจิตไม่ให้ฟุ้งซานปรุงแต่งเกินควร แต่มีปัญหาหลายๆประการอยากจะปรึกษาเพื่อนๆสมาชิก ให้กรุณาช้วยแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นธรรมทาน แน่ะแนวทางให้ผมปฏิบัติดำเนินต่อไปได้ เพราะปลายปีนี้ผมกำลังจะไปบวชพระจะได้ใช้ความรู้ช่วงนี้ปฏิบัติต่อไปได้เลย เพราะไม่แน่ใจว่าจะหาอาจารย์ถามได้ในสถาณที่นั้นหรือไม่ และคงไม่มีโอกาศตั้งกระทู้ถามท่านใดในช่วงนั้น โดยผมจะแยกออกเป็นช่วงๆและ ส่วนของร่างกายและ ความรู้สึกเพื่อง่ายต่อการตอบ

ลักษณะการปฏิบัติตน ทางกาย วาจา ใจ ช่วงนี้ผมพยายามสำรวม กาย วาจา ใจ ตั้งจิตอธิฐานมั่นทั้ง กาย วาจา และใจ ในทั้ง ทาน และ ศีล บริสุทธของฆารวาส 5 ข้อ และ อะไรต่อมิอะไรที่เป็นการคิดดีทำดี ไม่เดือนร้อนผู้อื่นและตัวเอง
ก่อนนั่งสมาธิ
ตั้ง นะโม 3 จบ และกล่าวคำบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบ 3 ครั้งแล้ว เริ่มนั่งสมาธิ
ลักษณะท่านั่งที่ปฏิบัตินั่งท่าขัดสมาธิแบบเท้าขวาทับเท้าซ้ายมือขวาทับมือซ้าย หลังตรงพอประมาณโดยโน้มเอียงมาด้านหน้าเล็กน้อยเพราะการนั่งหลังตรงแน่วจะรู้สึกทรมารขาทั้งสองข้างมาก และปวดหลังเมื่อนั่งนานๆ
ลักษณะการภาวนาปฏิบัติและเริ่มโดย "พุธโธ ธัมโม สังโฆ" 3 ครั้ง หลังจากนั้นก็เริ่มภาวนาคำว่า "พุธโธ" กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกโดย ลมหายใจเข้าเข้าเป็น "พุธ" และ ลมหายใจออกออกเป็น "โธ" ไปเลยๆ
ลักษณะของจิตระหว่างภาวนา
ระยะแรกเมื่อเริ่มนั่ง 15-20 นาทีแรกจิตใจจะยังไม่สงบแต่กำหนดสติคอยรู้ทันอยู่เสมอ จิตจะแกว่งไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ และจะกำหนดสติและให้รู้อยู่แต่ลมหายใจและคำภาวนาเมื่อเวลาผ่านไปซัก 20 นาทีจิตจะเริ่มนิ่งและลมหายใจเริ่มระเอียดและเบาลงตามลำดับ
ระยะกลาง ช่วงเวลา 20-40 นาที เมื่อลมหายใจเบาจนเหมือน จิตจะเป็นสมาธิ จะเกิดอาการรู้สึกหวิวๆไปทั้งร่างแต่ไม่มาก และร่างกายจะเกิดอาการสั่นน้อยๆเหมือนหวิวๆเหมือนกำลังจะเข้าสมาธิหรือเปล่าผมไม่ทราบ แล้วก็กระตุกหลุดออกมาเกือบทุกครั้ง ส่วนใหญ่จะกระตุกบริเวณขา และหวิวๆบริเวณใบหน้าจนหลุดสมาธิ ทำให้ต้องกลับมาเริ่มต้นที่ระยะกลางใหม่เกือบทุกครั้ง ซึ่งอาการนี้เป็นปัญหาของผมอย่างมากทำให้ผมเข้าสมาธิไม่ได้ซะส่วนมาก เคยอธิฐาณจิต ไม่ให้คิดไม่ให้เป็น ก็ไม่สำเร็จน้อยครั้งที่จะผ่านอาการนี้ไปได้
ระยะหลังเข้าสมาธิ(ไม่แน่ใจ)ช่วง 40-50 นาที น้อยครั้งที่จะผ่านระยะกลางมาได้ จนรู้สึกว่าบางเบาสบายสว่าง นิ่งๆอยู่อย่างนั้น แต่เมื่อ เบาสบายนิ่งอยู่อย่างนั้นก็ไม่สามารถ รักษาสมาธิช่วงนี้ไว้ได้นานจนเกิดปัญญาเพื่อพิจรณาธรรม คือเมื่อเริ่มจะพิจรณาก็จะเกิดอารมณ์ พุ้งซานกลัวจะหลุดสมาธิบ้าง คิดหัวข้อไม่ออกบ้าง จนมีเหตุให้หลุดจากสมาธิในเวลาอันสั้นเสมอ
ระยะสุดท้ายจากออกสมาธิเมื่อหลุดออกจากสมาธิจะนั่งอยู่อย่างนั้นเริ่มต้นที่ระยะกลางใหม่ แต่บ้างครั้งจะมีอาการใจเต้นแรงเพราะดีใจที่รู้สึกเบาสบายในช่วงอยู่ในสมาธิก็เลยต้องไปเริ่มระยะแรกโน้นเลย และ ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าสมาธิได้อีก เพราะเริ่มรู้สึกเมื่อยมากๆขึ้นมาเฉยๆเสียอย่างนั้น จนทนไม่ไหว รวมเวลาทั้งหมดไม่เกิน 1 ชั่วโมงในการนั่งแต่ละครั้ง
ปัญหาของผม
1.การฝึกสามธิ ผู้ฝึกฝนเป็นประจำ มีระยะเวลาการฝึกโดยเฉลี่ยเท่าไหร่จึงจะสามารถเข้าสมาธิ ได้สม่ำเสมออย่างไม่อยากเย็นนัก(ขอคำตอบโดยเฉลี่ยของจิตบุคลทั่งไป)
2.อาการ หวิวๆ ในระยะกลางที่อธิบายไว้ และ อาการกระตุก จนไม่สามารถเข้าสมาธิได้นั้น จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง (ฐานสมาธิมีหรือไม่เป็นเพราะฐานสมาธิไม่มั่นคงหรือเปล่าท่านั่งหรือว่าร่างกายเกร็งเกินไปหรือไม่แข็งแรงหรือเปล่า) ข้อนี้คือปัญหาหลักของผมในการทำสมาธิ
3.เมื่อเข้าสมาธิได้แล้ว ควรฝึกประคองสมาธิไว้ให้คงที่ก่อน หลายๆครั้ง จนชำนาญ แล้วค่อยเริ่มพิจรณา หรือเปล่า
4.จิตของบุคลธรรมดา ควรอยู่ในสมาธิ อย่างน้อยเท่าไหร่ และ อย่างมาก เท่าไหร่
5.ถ้าจิตอยู่ในสมาธิได้จริงจะต้องไม่เมื่อยเมื่อเลิกสมาธิใช่หรือไม่
6.วันไหนเข้าสมาธิได้จะรู้สึกร่างกายเบาสบาย สัมผัสระหว่างพนมมือไหว้พระเปลี่ยนไปคือรู้สึกนุ่มละเอียดขึ้น แต่ บริเวณศีรษะจะมึนๆหัวแบบแปลกๆใช่หรือไม่ และ สายตาจะดีขึ้น หูดีขึ้นเล็กน้อยหรือเปล่า หรือผมรู้สึกไปเอง และ ว่างๆเบาๆมากอยู่ซัก 10-20 นาที นอกนั้นก็มีความอิ่มใจเล็กๆ หรือเปล่าครับ
7.อยากทราบเทคนิค และ วิธีแบบลัด แบบ Tip หรือ Shot Cut จากผู้มีประสบกราณ์ โดยมุ่งหวังทางธรรม เพราะ ขณะนี้ 35 ปี แล้วยังไม่ถึงไหนเลย
8.ท่านผู้ใดที่ลงทำภาคปฏิบัติแล้ว ช้วยเล่าประสบกราณ์ ในการเพรียนพยายาม ในแต่ล่ะช่วงเวลาความเป็นไปของผลลัพธ์ในแต่ล่ะช่วงของการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นธรรมทานด้วยเถิด สาธุ.....
ขออภัยที่ต้องตั้งคำถามแบบตรงๆ อาจดูจะขัดต่อการมีความพยายาม แต่การถามทางนั้นไกลก็กลายเป็นใกล้ได้ การไม่ถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้ การถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้เช่นกัน ทุกขขัง อนิจจัง อนัตตา
ขอบคุณครับ

คำตอบ,,,,,,,,,,,,
1. คุณหากระทู้ "หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" แล้วอ่านหลักการหรือหลักวิชา จนเกิดความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจก่อนที่จะฝึกปฏิบัติสมาธิ
2. การฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะด้วยการนั่งหรือการนอน หรือด้วยวิธีอื่นใด ย่อมมีอุปสรรคอย่างหนึ่ง คือ สภาพสรีระร่างกาย
คุณจะมีสมาธิหนักแน่น ขนาดไหน ก็ย่อมต้องมีอาการปวดเมื่อย และอื่นๆ หากจัดท่านั่ง หรืออื่นใดไม่ดีพอ

ถาม......ปัญหาของผม
1.การฝึกสามธิ ผู้ฝึกฝนเป็นประจำ มีระยะเวลาการฝึกโดยเฉลี่ยเท่าไหร่จึงจะสามารถเข้าสมาธิ ได้สม่ำเสมออย่างไม่อยากเย็นนัก(ขอคำตอบโดยเฉลี่ยของจิตบุคลทั่งไป)
คำตอบ,,,,,,,
ฝึกระยะเวลาเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับฐานะ บทบาทหน้าที่ และเวลาจะอำนวย

2.อาการ หวิวๆ ในระยะกลางที่อธิบายไว้ และ อาการกระตุก จนไม่สามารถเข้าสมาธิได้นั้น จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
(ฐานสมาธิมีหรือไม่เป็นเพราะฐานสมาธิไม่มั่นคงหรือเปล่าท่านั่งหรือว่าร่างกายเกร็งเกินไปหรือไม่แข็งแรงหรือเปล่า) ข้อนี้คือปัญหาหลักของผมในการทำสมาธิ
คำตอบ,,,,,,
คุณยังไม่ได้เข้าถึงสมาธิ ถ้าหากคุณอ่านกระทู้เรื่อง"หลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" คุณก็จะเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้

3.เมื่อเข้าสมาธิได้แล้ว ควรฝึกประคองสมาธิไว้ให้คงที่ก่อน หลายๆครั้ง จนชำนาญ แล้วค่อยเริ่มพิจารณา หรือเปล่า
คำตอบ,,,,,อ่านกระทู้เรื่อง"หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า"

4.จิตของบุคลธรรมดา ควรอยู่ในสมาธิ อย่างน้อยเท่าไหร่ และ อย่างมาก เท่าไหร่
คำตอบ,,,,,,
ไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆ

5.ถ้าจิตอยู่ในสมาธิได้จริงจะต้องไม่เมื่อยเมื่อเลิกสมาธิใช่หรือไม่
คำตอบ,,,, ไม่จริงถ้าคุณนั่งกดทับเส้นหรือนั่งไม่ถูกท่า ก็จะมีอาการปวด แต่อาการที่เกิดขึ้น จะทำให้เราละสมาธิจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง แต่อย่าละแบบสับสน เพราะถ้าละแบบสับสน เขาไม่เรียก สมาธิ

6.วันไหนเข้าสมาธิได้จะรู้สึกร่างกายเบาสบาย สัมผัสระหว่างพนมมือไหว้พระเปลี่ยนไปคือรู้สึกนุ่มละเอียดขึ้น แต่ บริเวณศีรษะจะมึนๆหัวแบบแปลกๆใช่หรือไม่ และ สายตาจะดีขึ้น หูดีขึ้นเล็กน้อยหรือเปล่า หรือผมรู้สึกไปเอง และ ว่างๆเบาๆมากอยู่ซัก 10-20 นาที นอกนั้นก็มีความอิ่มใจเล็กๆ หรือเปล่าครับ
คำตอบ,,,,,,,,
อ่านเรื่อง"หลักการฝีกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า"แล้วคิดพิจารณาดูให้ดี ถ้าคุณคิดแบบนั้น เตรียมตัวไปพบจิตแพทย์ได้เลย

7.อยากทราบเทคนิค และ วิธีแบบลัด แบบ Tip หรือ Shot Cut จากผู้มีประสบการณ์ โดยมุ่งหวังทางธรรม เพราะ ขณะนี้ 35 ปี แล้วยังไม่ถึงไหนเลย
คำตอบ,,,,,,
อ่านเรื่อง "หลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า ก็จะรู้ว่า สิ่งที่คุณทำอยู่ก็คือทางธรรมะ

8.ท่านผู้ใดที่ลงทำภาคปฏิบัติแล้ว ช่วยเล่าประสบการณ์ ในการเพียรพยายาม ในแต่ล่ะช่วงเวลาความเป็นไปของผลลัพธ์ในแต่ล่ะช่วงของการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นธรรมทานด้วยเถิด สาธุ.....
ขออภัยที่ต้องตั้งคำถามแบบตรงๆ อาจดูจะขัดต่อการมีความพยายาม แต่การถามทางนั้นไกลก็กลายเป็นใกล้ได้ การไม่ถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้ การถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้เช่นกัน ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ขอบคุณครับ
คำตอบ,,,,,,
คุณทำถูกแล้ว ไม่รู้ก็ถาม ได้คำตอบแล้ว ก็ต้องคิดพิจารณา
คิดพิจารณาแล้ว ก็ต้องให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ก็ปฏิบัติ
และที่สุด อย่าสนใจในเรื่อง " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
เพราะมันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามแต่ เตือนแล้วนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2007, 12:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 9
การฝึกการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการฝึกการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิ
หรือจะเรียกสั้นๆว่า "การฝึกสมาธิ"นั้น
แท้ที่จริงแล้วดังที่ได้กล่าวไปว่า เป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์(หมายเอาเฉพาะมนุษย์)และได้รับการขัดเกลาจากสังคมและสิ่งแวดล้อม อยู่แล้ว
แต่การฝึกการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการฝึกการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเพื่อให้เกิดสมาธิ เพื่อให้เกิดการรู้จักการควบคุมสมอง ควบความคิดอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อมิให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากปกติ ทั้งทางกาย วาจา และใจ นั้น จะเป็นการฝึกเพิ่มเติมจากธรรมชาติที่มีอยู่ในแต่ละตัวบุคคลอยู่แล้ว
ดังนั้นการฝึกการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการฝึกการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเพื่อให้เกิดสมาธิ จึงเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของสมอง และอื่นๆของสรีระร่างกาย แต่เนื่องจากสรีระร่างกายของมนุษย์นั้น มีความต้องการสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อยู่หลายอย่างหลายชนิดนับตั้งแต่ความจำเป็นชั้นพื้นฐานของสรีระร่างกาย คือ
อากาศ หรือ ลม
อาหาร ,น้ำ
พื้นดิน
ไฟ หรือ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว
เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรค
และอุปกรณ์ในการดำรงชีวิตอื่นๆ ตามยุคตามสมัย ตามค่านิยมของสังคม
สิ่งที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็นความจำเป็นในชั้นพื้นฐานของสรีระร่างกาย อันจักได้ดำรงชีวิต และประกอบกิจกรรมต่างๆ

ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์มักเอาใจจดจ่อหรือฝักใฝ่อยู่แล้วเป็นนิจ จะมากจะน้อยก็แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่โอกาส และเวลา
เมื่อเป็นเช่นนั้น ในทางศาสนาจึงได้นำเอาปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ได้กล่าวไป มาเป็นสิ่งจูงใจเข้าไปผูกอยู่ หรือเป็นสิ่งที่ใช้ในการฝึกการเอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
ปัจจัยที่นิยม หรือที่ใช้ง่ายที่สุดสะดวกที่สุด และสามารถใช้ได้ทุกสถานที่ ก็คือ "อากาศ" หรือลมหายใจ

ทุกคนล้วนต้องหายใจ เอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย ในอากาศประกอบไปด้วยธาตุหลายประการดังที่ท่านทั้งหลายคงเคยได้เล่าเรียนมาในสมัยที่ยังเรียนหนังสือกันอยู่แล้ว
อากาศ อันมี ธาตุ ออกซิเจน เป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยทำให้อวัยวะต่างๆภายในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และเจริญเติบโตได้ดี นอกเหนือ จาก น้ำ และอาหาร
ด้วยเหตุนี้เอง ในทางศาสนา จึงได้นำเอา อากาศหรือลมมาเป็นสิ่งจูงใจเข้าไปผูกอยู่ หรือนำมาเป็นสิ่งที่ใช้ในการฝึกการเอาใจจดจ่อ หรือฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เพราะลมหรืออากาศ มีอยู่ทั่วไป และเราต้องหายใจเอาลมหรืออากาศเข้าสู่ร่างกายอยู่แล้ว

แล้วเราจะฝึกเอาอย่างไรให้ถูกวิธีและได้ผลต่อสรีระร่างกายมากที่สุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 8:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถามคำตอบที่ท่านทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นคำถามคำตอบที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติธรรม อันจักเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับท่านทั้งหลายได้เข้ามาเยี่ยมชม หรือศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับธรรมะ
ท่านทั้งหลายไม่ต้องสนใจว่าจะเป็นศาสนาอะไร ขอเพียงให้ท่านทั้งหลายได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ศาสนาก็จะเจริญก้าวไป เชิญท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาเถิด

ถาม.........
เศร้า 1.หากผู้ที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและมุ่งที่จะนิพพานแต่เสียชีวิตเสียก่อนในระหว่างปฏิบัติธรรมเขามีโอกาสที่จะถึงนิพพานหรือไม่
ตกใจ 2.เขาจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมต่อจากที่ทำค้างไว้หรือต้องไปเกิดแล้วเริ่มใหม่

(มีผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งฝากมา..ผู้มีเมตตาทั้งหลายช่วยแสดงความคิดเห็นเพื่อความกระจ่างด้วยค่ะ)[/quote]

ตอบ..........
คำตอบที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้ จะเป็นคำตอบที่นับเอาจากประสบการณ์ ที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติธรรมมา
ก่อนอื่น คุณต้องทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า การปฏิบัติธรรมนั้น มีหลายอย่างหลายรูปแบบ ถ้าคุณได้อ่านกระทู้เรื่อง"หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" ก็จะช่วยทำให้คุณได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นไปอีก แต่นั่นก็เป็นเพียงวิธีการปฏิบัติวิธีการหนึ่ง ซึ่งการปฏิบัติธรรมนั้น ตามหลักการหรือหลักธรรมะของข้าพเจ้าแล้ว จะแบ่งเป็น 3 ชนิด หรือ 3 อย่างคือ
1. การฝึกเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการฝึกเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิ หรือจะเรียกสั้นๆว่า "การฝึกสมาธิ" ก็ได้ แต่ที่ถูกต้องเรียกข้อมรรค ไม่ใช่เรียกข้อ ผล แต่จะเรียกอย่างไรก็ได้ ถ้ามีความเข้าใจแล้ว
2. ญาณ คือ ความรู้ยิ่ง หรือความรู้ทั่วไป อันนับเข้าในวิปัสสนา หมายถึงความรู้ทั้งหลาย ไม่ว่าเป็นหลักการหรือธรรมะที่เป็นหัวข้อหลัก ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งล้วนหาได้จากประการณ์ในการทำงาน และอื่นๆ รวมไปถึงหลักวิชาการสามัญทั่วไปเช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และอื่นๆ เท่าที่มนุษย์จะมีการเรียนการสอนอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เกี่ยวข้องกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งจะเรียนรู้ทั้งหมดได้ก็ยิ่งดี เพราะล้วนนับเข้าในวิปัสสนาได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่า จะได้ใช้หรือไม่ได้ใช้เท่านั้น
3. วิปัสสนา คือ การแปลง ญาณ หรือ ความรู้ อันประกอบด้วยสมาธิ ให้เป็นการปฏิบัติ ซึ่ง การวิปัสสนานี้ ก็มีหลายรูปแบบ คือนับตั้งแต่ระดับ ปุถุชนคนทั่วไป จนถึงผู้ที่ใฝ่ทางธรรมมุ่งสู่อริยะบุคคล ในทางศาสนาพุทธ
เมื่อคุณทำความเข้าใจในทั้ง 3 ข้อข้างต้นนี้แล้ว ก็จะได้คำตอบที่คุณถามมา คือจะได้ง่ายต่อการอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่า
บุคคลใด จะปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดสักเพียงใด หากไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเมื่อเสียชีวิต ดวงจิตก็จะสูญสลาย แต่ก็จะมีดวงจิตบางดวงที่ผูกพันกับสิ่งต่างๆ สามารถกลับไป ในสิ่งที่ผู้เชื่อในชาตินี้ชาติหน้าเรียกว่า กลับไปเกิดใหม่ และต้องตั้งต้นเรียนรู้ใหม่เช่นกัน ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ บิดามารดา หรือกรรมพันธุ์ด้วย
ไม่ว่าคุณจะมุ่งนิพพานหรือไม่มุ่งนิพพาน ก็มีค่าเท่ากัน
แต่,,,ถ้าบุคคลนั้นมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งได้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามหลักการหรือธรรมะแล้ว ถ้าฝึกหรือปฏิบัติธรรมเพียงแค่บรรลุโสดาบัน ก็จะสามารถควบคุมดวงจิตของตัวเองให้สามารถคงความจำในธรรมะหรือหลักการนั้นๆไว้ หากได้เกิดใหม่ตามหลักการที่ได้กล่าวไป ก็จะมีความรู้ ความเข้าใจ ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องตั้งต้นใหม่เหมือนกันแต่จะเร็วกว่าเรียนรู้ได้ดีกว่าเร็วกว่า บุคคลที่ไม่รู้อะไรเลย
อนึ่ง การเข้าถึงนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากมีความเข้าใจก็ง่าย หากไม่เข้าใจก็ยาก
สุดท้าย บุคคลผู้ตายไป แม้จะได้ปฏิบัติธรรมเคร่งครัดเพียงใดเพื่อหวังนิพพาน ก็ย่อมไม่สามารถถึงนิพพาน ดังคำอธิบายที่ได้กล่าวไปข้างต้น
และ บุคคลผู้ตายไป แม้สามารถเกิดใหม่ได้ ก็ไม่แน่ว่าจะสามารถปฏิบัติธรรมที่ค้างไว้ให้สำเร็จ เพราะเหตุผลและปัจจัยหลายสิ่งหลายประการ ดังที่ได้อธิบายไปบางส่วนข้างต้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2007, 7:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 10
ถาม ..... ผมยังไม่เข้าใจในคำตอบของคุณอะครับ อย่างเช่น ถ้านั่งสมาธิอยู่ แล้วเกิดการปวดขา ปวดเอว แล้วไปเราไปสนใจที่ปวด ผมเข้าใจว่าเราเอาเวทนามาเป็นการทำสมาธิใช่ไหม

ตอบ... อาการปวดขาที่เกิดขึ้น ร่างกายจะส่งสัญญานไปที่หัวใจและสมอง หัวใจจะทำให้เกิดความรู้สึก สมองจะทำให้เกิดความรู้ว่าปวดที่ขา ขณะนั่งสมาธิ เราเอาใจจดจ่อไว้ที่ลมหายใจ พอปวดขา เราก็จะเอาใจไปจดจ่อตรงที่บริเวณที่ปวด ถ้าเรามีสติ ว่าเรากำลังเอาใจจดจ่อที่ลมหายใจอยู่ การเอาใจจดจ่อก็จะแยกเป็นสองส่วน คือส่วนหนึ่งอยู่ที่ลมหายใจ อีกส่วนหนึ่ง อยู่ที่บริเวณปวด
ถ้าฝึกดีแล้วสมาธิดี ก็ขยับท่านั่งให้หายปวด โดยที่เราไม่ละการจดจ่อในลมหายใจ
หรือคุณจะละการเอาใจจดจ่อลมหายใจ ไว้ชั่วคราว แล้วขยับท่านั่ง ให้หายปวด โดยไม่คิดอะไร ไม่คิดฟุ้งซ่าน สมาธิของคุณก็ยังได้อยู่ ไม่ต้องยึดติดอะไรดอกนะคุณ จุดมุ่งหมายของการฝึกสมาธิ อยู่ตรงจุดไหน คุณอ่าน หลักการให้ดี แล้วก็จะได้ตามจุดมุ่งหมาย

ถาม,,,,,,,
ผมเคยทำตามพระบางท่านที่ว่า ถ้าเราปวดหรือเจ็บตรงไหนให้เราเอาจิตไปปักไว้ตรงนั้นแล้ว ภาวนาว่า ปวดหนอๆ ไปเรื่อยๆแล้วมันก็จะหายไปเอง จากการทดลองปฏิบัติ แล้วพบว่า ความปวดกลับเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก แล้วผมแก้โดยวิธี กำหนดที่ลมหายใจ แล้วจะพบว่าเราจะไม่รู้สึกปวด แต่แค่ให้คิดถึงเท่านั้นมันก็จะปวดขึ้นมาอีก ช่วยอธิบาย ตรงนี้ด้วยครับ

ตอบ,,,,,อาจารย์ข้าพเจ้าก็สอนอย่างที่คุณกล่าวมา แต่เมื่อข้าพเจ้าทำตามที่อาจารย์สอนกลับทำให้สมาธิแตกซ่าน การเอาใจจดจ่อลมหายใจยุติ กลายเป็นว่า เราเอาใจไปจดจ่ออยู่ตรงที่บริเวณปวดที่เดียว แถมยังปวดหนักเข้าไปอีก ทรมาน ตัวเอง ข้าพเจ้าเลยไม่ใช้วิธีแบบอาจาย์ แต่คิดวิธีของตัวเองขึ้นมา ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ถาม,,,,,
สอง ในการอ่านหนังสือ แล้วมีเสียงเพลง ทำให้การอ่านหนังสือขาดหายไป แต่เราก็ได้ยินเสียงเพลงอยู่ ตรงนี้เป็นสมาธิได้อย่างไรครับผม ยังไม่เข้าใจ ในเมื่อเราอ่านหนังสือ แล้วการอ่านขาดหายไปแสดงว่าเราก็ไม่ได้อ่านหนังสือสิครับแต่เรากลับฟังเพลงมากกว่า แสดงว่าเราไม่มีสมาธิกลับการอ่านหนังสือแต่เรามีสมาธิกลับการฟังเพลง สิครับ ดังนั้นประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือก็ลดลง แล้วจะถือว่ามีสมาธิได้ไง

ตอบ.....คุณอ่านหลักปฏิบัติ ศรีอาริย์ แล้วเข้าใจหรือไม่ จะทวนให้อีกครั้งว่า
หลักการฝึกสมาธิ แท้ที่จริงคือ
"การเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น หรือการเอาใจไปผูกอยุ่ในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิ "
เมื่อคุณอ่านหนังสือ คุณเอาใจจดจ่อในหนังสือ เมื่อคุณได้ยินเสียงเพลง คุณก็ละจากหนังสือแล้วเอาใจไปจดจ่อในเสียงเพลง สมาธิคุณก็ยังมีอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนการเอาใจจดจ่อจากหนังสือไปที่เสียงเพลง
สมาธิการอ่านหนังสือไม่มี แต่สมาธิในการฟังเพลงมี
"คุณต้องทำความเข้าใจว่า ตอนนี้เรากำลังกล่าวถึงสมาธิ" ไม่ได้กล่าวถึง การอ่านหนังสือ หรือการฟังเพลง เพียงแต่ยกตัวอย่างการเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น อย่าหลงประเด็น

และถ้าคุณต้องการอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ คุณก็ละการเอาใจจดจ่อจากเพลง มาเอาใจจดจ่อในหนังสือ คุณก็อ่านหนังสือเข้าใจได้
อนึ่ง บางคน ถ้าไม่ได้เปิดเพลงฟัง จะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องก็มีนะขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2008, 9:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ด้วยความเคารพครับ ท่าน Buddha สาธุ

ข้าพเจ้าหายใจถี่เวลานั่งสมาธิแล้วจิตมันปรุงแต่ง
เป็นเรื่องเป็นราวและรบกวนจิตใจเวลานั่งสมาธิเป็นประจำ
แต่มีบางช่วงที่รู้สึกสงบมาก แต่แว่บเดียวก็ฟุ้งซ่านอีก
ปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว ต้องคอยเรียกจิตมาเพ่ง
ใหม่จนเครียด อากาเช่นนี้เกี่ยวกับความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ครับ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พี่ครับ ต้องทำยังไงถึงจะได้ฌาน 4 มาอ่าครับ สงสัย
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2008, 7:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัยจะตอบยาก
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง