Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2007, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (มวก.) นับเป็นวิทยาเขตแห่งแรกของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะรู้จักกันในนาม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย

ตั้งอยู่ภายใน วัดชูจิตธรรมาราม ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นสถาบันสงฆ์ที่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในประเทศไทย ทั้งระหว่างพรรษา และนอกพรรษา คือ ประมาณปีละ ๑,๐๐๐ รูป

สถาบันแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัย พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม และมาสำเร็จเป็นมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย โดย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รูปปัจจุบัน (ท่านได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๕ เดือน ๑๒ วัน)


Image
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร)


ปฐมบทแห่งการดำเนินงานให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในครั้งนั้น ก็ด้วยพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ขณะทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ว่า ความสำคัญของการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้ จะต้องอนุวัติให้ทันกับความเจริญของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

จึงทรงมีพระประสงค์ที่จะขยายการศึกษาของคณะสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๓-๒๕๑๔ จึงทรงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อร่างหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และประกาศใช้เป็นหลักสูตรหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัย ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


Image
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)


ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ จึงได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งแรกขึ้นชื่อว่า โรงเรียนวชิรมกุฎ ตั้งอยู่หลังวัดมกุฏกษัตริยาราม นับเป็นสาขาแห่งหนึ่งของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

ขณะเดียวกัน ในปีนั้นเอง นายฉบับ-นางสงวน ชูจิตารมย์ ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน ๑๘๖ ไร่ ที่ ต.นับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา รวมกับที่ดินที่มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมอีก รวมเป็น ๗๓๖ ไร่ ให้เป็นสถานที่จัดตั้งสถานศึกษาของคณะสงฆ์ขึ้นมา เพื่อขยายการศึกษาออกไปสู่ชนบท เปิดสอนพระภิกษุสามเณรขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ๖ ประการ คือ

๑. เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์

๒. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร

๓. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ

๔. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการชั้นสูง เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

๕. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม

๖. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่น งานด้านการปกครอง การเผยแผ่ การสาธารณูปการ เป็นต้น

Image

หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช (จวน) สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้มีพระเถรานุเถระหลายท่าน อาทิ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม, พระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส, พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร, พระเทพเมธาจารย์ (สุวรรณ กญฺจโน) วัดมกุฏกษัตริยาราม, พระเทพปัญญากวี (บรรจง กลฺลิโต) วัดมกุฏกษัตริยาราม, พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล และพระราชสุทธิมงคล (มนู ฐิตปญฺโญ) วัดมกุฏกษัตริยาราม

พระเถระทั้งหมดนี้ได้ร่วมกันสืบสานดำเนินการก่อตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ต่อ โดยเริ่มแรกใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย หรือที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย

ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ วัดชูจิตธรรมาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล “ชูจิตารมย์” ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นนามสถานบันว่า มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย และพระราชทานพระนามาภิไธย่อ ม.ว.ก. ภายใต้สีมาธรรมจักร พร้อมทั้งพระราชทานสุภาษิตว่า วชิรูปมจิตฺโตสิยา (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร) ให้เป็นตราประจำวิทยาลัย

Image

วัดชูจิตธรรมาราม ในมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการเปิดรับสามเณร และเด็กจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะลูกหลานชาวบ้านตามชนบท ซึ่งเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ให้เข้ามาศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

สำหรับเด็กทางวัดจะจัดการบรรพชาให้ก่อนในราวเดือนกันยายน ของทุกปี จากนั้นจึงให้เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรโดยตรง ได้แก่ การเรียนนักธรรมและภาษาบาลี รวมทั้งจัดการศึกษาหลักสูตรขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-๓) และช่วงชั้นที่ ๔ (ม.๔-๖) ของกระทรวงศึกษาธิการควบคู่ไปด้วย

ในส่วนของการศึกษาระดับปริญญาตรี-ปริญญาโท พระภิกษุสามเณรจะได้รับการศึกษาใน ๓ สาขาวิชา คือ พุทธศาสนศึกษา รัฐศาสตร์การปกครอง และการจัดการศึกษา นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก ทั้งชายและหญิง ได้เข้ามาศึกษาใน ๓ สาขาวิชาดังกล่าวอีกด้วย

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จึงนับเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรโดยตรง และยังได้บริการทางวิชาการแก่สังคมภายนอกอีกทางหนึ่ง โดยมี พระกิตติสารมุนี เป็นผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (มวก.) วังน้อย


Image
พระกิตติสารมุนี


พระกิตติสารมุนี กล่าวว่า ปัจจุบันทางวิทยาเขตแห่งนี้ มีอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา อยู่ ๒ อาคาร คือ อาคารชัยกิตติศิลป์ ซึ่งใช้งานมาแล้ว ๒๕ ปี และอาคาร ๘๐ ปี สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ซึ่งเพิ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ อาคารหลังใหม่นี้จึงยังขาดปัจจัยในการพัฒนาอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะครุภัณฑ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บสาร รวมทั้งอุปกรณ์การศึกษา และเครื่องบริการทางวิชาการต่างๆ

พุทธศาสนิกท่านใดมีกุศลจิตศรัทธาเลื่อมใสในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเห็นความสำคัญทางการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ผู้เป็นทายาทในการสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้ยืนนานสถาพรตลอดไป สามารถให้การสนับสนุนตามกำลังศรัทธาได้ที่ โครงการพัฒนาอาคาร ๘๐ ปี สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย) ภายในวัดชูจิตธรรมาราม ตรงหลักกิโลเมตร ๗๓ ถนนพหลโยธิน (กรุงเทพฯ-สระบุรี) ท้องที่ ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐ โทร. ๐-๓๕๗๔-๕๐๓๗, ๐๘-๕๙๕๘-๑๙๔๙

การทำบุญกุศลโดยให้การศึกษาแก่เยาวชนคนของชาติ ย่อมได้อานิสงส์อย่างสูง ที่จะให้ผู้ทำบุญก่อเกิดสติปัญญาอันล้ำเลิศแก่ตนเองและแก่ลูกหลานสืบไปในอนาคต ยิ่งเยาวชนคนของชาติเป็นพระภิกษุสามเณรผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว อานิสงส์นั้นย่อมมีผลเป็นสองเท่าทวีคูณ

Image


หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก 21 กันยายน 2550 19:28 น.
เรื่องโดย แล่ม จันท์พิศาโล, สมบูรณ์ เตียวเจริญชัย
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง