Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถ้า “ใจเสีย” แล้วจะเสียใจ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2007, 11:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ชีวิตกับธรรมะจะต้องอยู่ด้วยกัน แยกออกจากกันไม่ได้
ถ้าแยกตัวชีวิตออกจากธรรมะเมื่อใด
ก็เหมือนกับว่า เป็นคนไม่มีชีวิต
ชีวิตจะสมบูรณ์เรียบร้อย ก็ต้องมีธรรมะประคับประคองจิตใจ
ทิ้งธรรมะเสียเมื่อใด ชีวิตวุ่นวายเมื่อนั้น
อันนี้เราจะ เห็นได้ง่ายๆ ว่า
เวลาเรามีความวุ่นวายใจ มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ
นั้นก็เพราะขาดธรรมะเป็นหลักคุ้มครองใจ
เมื่อไม่มีธรรมะคุ้มครองใจ จิตใจวุ่นวาย มีความเดือดเนื้อร้อนใจ
ความเดือดเนื้อร้อนใจที่เกิดขึ้นนั้น ก็เพราะว่าไม่เข้าถึงธรรมะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าถึงธรรมะ ความทุกข์หายไป
ความเดือดร้อนทั้งหลายก็คลายจางไป ชีวิตมันสมบูรณ์ขึ้น
เพราะฉะนั้น ชีวิตกับธรรมะ จึงสิ่งคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหลายประการ
ในแง่ต่างๆ เราแก้มันได้ด้วยอะไร
ถ้าที่ประพฤติธรรม ก็แก้มันด้วยความรู้ความเข้าใจในธรรมะ
เอาธรรมะมาแก้ปัญหา ชีวิตก็ผ่อนคลายไป
พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน อันนั้นคือ ผลที่ปรากฏอยู่

ความไม่สบายใจนั้น ก็เป็นโรคอย่างหนึ่ง
เหมือนๆกับโรคทางร่างกาย
คนเราที่เป็นโรคทางกาย ต้องกินยา เพื่อรักษาโรคทางกาย ฉันใด
เมื่อมีโรคทางจิตใจ ขึ้นมา ก็ต้องใช้ยาแก้โรคทางใจ
ยาแก้โรคทางกายนั้น เป็นเรื่องทางวัตถุ
เพราะว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุ เกิดขึ้นด้วยธาตุมีประการต่างๆ
การมีโรคทางกาย ก็เนื่องจากว่าอะไรบางอย่างขาดไป
ความต้านทานก็น้อยไป จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายขึ้นมา
แต่ถ้าหากว่าเราไม่รู้เท่ารู้ทัน โรคนั้นก็จะกำเริบเสิบสาน
ทำให้เราต้องพ่ายแพ้แก่โรค
ร่างกายถึงแก่ความ แตกดับลงไปได้ ฉันใด
ในเรื่องทางจิตใจนี่ก็เหมือนกัน มันมีโรคทางใจเกิดขึ้นบ่อยๆ
โรคทางใจนั้น ไม่เหมือนกับโรคทางกาย
คือ โรคทางกาย มันมีตัวเป็นเชื้อโรคประเภทต่างๆ
ที่เข้ามายึดเอาร่างกายเป็นเรือนของมัน เป็นที่เกิดเป็นที่อาศัย
แล้วก็ทำให้เราต้องพ่ายแพ้
คนใดที่ยังมีกายปกติ ก็หมายความว่า
ความต้านทานทางร่างกายนั้นยังดีอยู่
เมื่อความต้านทางร่างกาย ยังสมบูรณ์พร้อม เราก็เอาชนะโรคได้
แต่ก็ไม่แน่นักว่าความต้านทานทางกายนี้
จะดีหรือสมบูรณ์อยู่ตลอดไป
มันอาจจะเกิดความเพลี่ยงพล้ำขึ้นมาเมื่อใดก็ได้
เพราะฉะนั้นคนบางคนที่เรามองเห็นว่า
มีร่างกายเป็นปกติเป็นน้ำเป็นนวลร่างกายแข็งแรง
แต่ก็เกิดการเจ็บไข้ลงได้ทันที
อันนี้แสดงว่ามันมีเชื้อโรคอย่างแรงเกิดขึ้นในร่างกาย
ทำให้ความต้านทาน ของร่างกายนั้นสู้ไม่ได้
ก็เลยต้องยอมแพ้มัน
กลายเป็นโรคประจำกายประจำตัวไป
และอาจจะถึงความแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้
เรื่องการเรียนรู้ในเรื่องโรคทางกาย ก็เพื่อจะได้มีการป้องกันแก้ไข
เมื่อโรคนั้นเกิดขึ้น เราก็จะได้มีชีวิตเป็นปกติ ไม่วุ่นว่ายมากเกินไป
ฉันใด เรื่องของจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
เมื่อมีโรคทางใจเกิดขึ้น
ก็เพราะว่าเราพ่ายแพ้ต่อสิ่งที่ยั่วยุ
คือ อารมณ์ประเภทต่างๆที่เข้ามากระทบประสาททั้งห้า
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หกรวมทั้งใจด้วย
อันนี้เป็นประตูแห่งโรคทางใจ


เพราะว่ามีสิ่งภายนอกมากระทบ
เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระทบเข้า
แล้วเราไม่สามารถจะต่อสู้มันได้ เราก็พ่ายแพ้แก่สิ่งนั้น
การพ่ายแพ้ ก็หมายความว่า ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น
เช่น เราตกเป็นทาสของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อันเป็นเรื่องของวัตถุเหมือนกัน
ที่เขาเรียกว่า มัวเมาในวัตถุ
หลงใหลอยู่ในสิ่งนั้น ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
จิตใจก็วุ่นวาย มีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ
อาจถึงกับเสียผู้เสียคนไปก็ได้
การสูญเสียทางร่างกายนั้น ไม่เป็นการสูญเสียเท่าใด
แต่การสูญเสียทางด้านจิตใจนั่นแหละ
เป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ในชีวิตของเรา

เพราะคนเรา ถ้าใจมันเสียเสียแล้ว
อะไรๆ ก็จะพลอยเสียไปหมด
แม้ร่างกายจะเป็นปกติ แต่ว่าจิตใจ มันเสียกำลังไป

คนจะเป็นคนที่สมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร
กำลังใจจะสูญเสียก็เพราะว่า
ปล่อยตัวปล่อยใจมากเกินไปในสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุ
อันเกิดขึ้นกระทบทางจิตใจ
เราไม่สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้
ที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้ นั้นก็เพราะว่า ไม่มีสติไม่มีปัญญา
ตัวสติ ก็คือ ตัวธรรมะ
ปัญญา ก็คือ ตัวธรรมะ
เราไม่มีธรรมะคุ้มครองจิตใจ
เราจึงได้พ่ายแพ้แก่สิ่งเหล่านั้น
แต่ถ้าเรามีสติรู้ทัน มีปัญญารู้เท่าต่อสิ่งนั้น
เราไม่พ่ายแพ้แก่อารมณ์
สิ่งใดมากระทบเราก็ปัดมันไป ปัดทิ้งไป
ไม่ยอมรับสิ่งนั้นไว้
ไม่ยอมรับโดยความไม่รู้ไม่เข้าใจ
แต่ว่าเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น
ด้วยความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า ด้วยความรู้เท่าทัน


ถ้าเรารู้เท่าทันต่ออารมณ์
อารมณ์ที่มากระทบ ก็เหมือนกับคลื่นที่มากระทบฝั่ง
มันหายไป คลื่นที่หายไปนั้น ไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหาย
เช่นเราไปยืนอยู่ที่ชายทะเล
เราก็จะพบว่า มีคลื่นมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา
คลื่นที่กระทบฝั่งนั้น มันไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหายอะไร
กระทบแล้ว มันก็หายไปๆ
เราจึงพูดว่า หายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
ที่มันหายไปแบบคลื่นกระทบฝั่งนั้น ไม่มีความเสียหายมากนัก
อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มากระทบจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
ถ้าหากว่า เราไม่รู้เท่าทัน มันก็ทำให้เราเสียหาย
คือ ทำให้เกิดความ รู้สึกรุนแรงในเรื่องนั้นๆ
ความรู้สึกรุนแรง มันเป็นไปทางรักก็ได้ ทางชังก็ได้
ทางหลงก็ได้ หรือทางใดทางหนึ่งก็ได้
ถ้ารุนแรงแล้ว มันก็วุ่นวายเดือดร้อน
แต่ถ้าเป็นไปแต่พอดีๆ ก็จะไม่เกิดความเสียหายมากเกินไป
อันนี้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใดก็ได้
ถ้าหากว่า บุคคลนั้นขาดธรรมะเป็นเครื่องประคับประคองใจ
ก็จะเกิดปัญหาวุ่นวายกันด้วยประการต่างๆ

ทีนี้อีกประการหนึ่ง เรื่องที่เกิดขึ้นในใจของเรานั้น
มันไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้นดังที่กล่าว
แต่ว่ามันก่อให้สิ่งอะไรๆ ขึ้นต่อไปในใจของเรา
ที่เรียกว่า เป็นนิสัย
นิสัย ก็คือ สิ่งที่เราสร้างมันขึ้นวันละเล็กละน้อย
สร้างมันขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มมันขึ้นเรื่อยๆ ในจิตใจของเรา
สิ่งที่เราสร้างขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ถ้าสร้างด้วยความหลง ความเข้าใจผิด
มันก็งอกงาม มาเป็นความหลงความเข้าใจผิด
ถ้าเราสร้างมันขึ้นด้วยปัญญา มันก็งอกงามขึ้นเป็นปัญญา
ทำให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
แต่ว่าส่วนมาก มักจะสร้างมันขึ้นด้วยความหลง
ความเข้าใจผิด แล้วก็ไปยึดติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จนกลายเป็นนิสัย
เพราะฉะนั้นคนเรา จึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน
ที่ไม่เหมือนกันนั้น ก็เพราะว่าไม่มีธรรมะอยู่ในใจ
ถ้าจิตใจที่มีธรรมะแล้ว มันเหมือนกันหมด ไม่มีความแตกต่างกัน
เพราะธรรมะเข้าไปปรุงแต่ง
พอธรรมะเข้าไปปรุงแต่งใจของใคร ใจนั้นก็มีสภาพปกติ

จิตที่ปกตินั้น คือ จิตที่ไม่กระทบด้วยอะไรๆ
มันเป็นจิตที่สะอาดอยู่ เพราะไม่มีสิ่งเศร้าหมองเข้ามารบกวน
เป็นจิตที่สว่าง เพราะรู้แจ้งในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง
แล้วก็เป็นจิตที่สงบ เพราะอะไรๆ มารบกวนไม่ได้
มันไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ไม่มีการเปลี่ยนเป็นนั้นเป็นนี้ไปตามรูปต่างๆ สภาพ
จิตใจก็เป็นตัวเอง เรียกว่าสะอาด สว่าง สงบ...



(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐)

(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)

โดย ผู้จัดการออนไลน์


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2007, 9:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาครับ สาธุ สาธุ สาธุ.. สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง