Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เข้าซอยให้ถูก (พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2007, 1:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เข้าซอยให้ถูก
โดย พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคม บ่อยครั้งเราเลือกไม่ได้ว่า
วันนี้จะมีคนดีหรือคนไม่ดีผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา
เหมือนกับทุกการงานหรือความฝันใฝ่ของเรา
เราก็เลือกไม่ได้ที่จะราบรื่นหรือมีอุปสรรค

แต่สิ่งหนึ่ง เราสามารถเลือกได้และกำหนดได้ด้วยตนเอง
คือเราเลือกที่จะขุ่นมัว หรือเลือกที่จะรักษาสันติสุขในหัวใจ


มันไม่ได้อยู่ที่ว่าเพราะเขาเป็นคนไม่ดีเราจึงขุ่นมัว
หรือเพราะว่าอุปสรรคจึงทำให้เราหงุดหงิด
แต่มันอยู่ที่ว่าเราวางใจไว้ตรงไหนในหัวใจเรา

ถ้าเราวางใจไว้ตรงการถือตัวว่าเราดีกว่า เราต้องชนะ
การแพ้จะทำให้เรารู้สึกต่ำต้อย
เวลาที่ไม่ได้รับการให้เกียรติ ไม่ได้รับความสำคัญ

แค่กิริยาเมินเฉยของใครบางคน ก็อาจทำให้เราขุ่นมัวได้
นั่นย่อมแปลว่าความทุกข์นั้นไม่เกิดเพราะเขาเป็นผู้กระทำต่อเรา
แต่เพราะความไม่รู้ตามไม่จริง (อวิชชา)
จึงทำให้เราวางใจไว้ผิด ในกรณีอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

เราจะต้องเป็นผู้สมหวังเสมอไปหรือ
แล้วทำไมเราจึงไม่ยอมรับว่าอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา
การเป็นคนดีกับการเป็นคนมีอุปสรรคเป็นคนละเรื่องกัน

ดังนั้นเวลาที่เรามีปัญหาขัดข้องในสิ่งที่เราทำ
เราก็ไม่จำเป็นต้องตกนรกด้วยการทำใจให้หงุดหงิด
ขุ่นมัว และอ้างว่าเราเป็นคนดี
เรากำลังทำในสิ่งที่ดี หรือสำคัญ หรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่มีประโยชน์
เลยจำเป็นต้องหงุดหงิดกับอุปสรรค นั่นก็เป็นการวางใจไว้ผิดเช่นกัน
เพราะอุปสรรคนั้นอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
ความไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นเราบังคับบัญชาไม่ได้

ดังนี้ ถ้าเราหงุดหงิดกับอุปสรรค
แสดงว่าเรากำลังวิปลาส คือเห็นผิด
เห็นว่าความไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นทุกข์เป็นสุข
เห็นความไม่ใช่ตัวตนเป็นตัวตน
และพยายามจะบังคับให้ทุกอย่างเป็นไปดังใจ
โดยลืมความจริงไปว่าคนอื่น
ก็ล้วนเกิดจากองค์ประกอบที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย
ยิ่งทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนมาก
ก็ย่อมต้องพบกับความผันผวนแลแปรปรวนมากเท่านั้น
เหมือนเดินอยู่ท่ามกลางกระแสคลื่นที่อยู่โอบล้อมเรา
เราจะกรีดร้อง หรือยิ้มอย่างเท่าทันต่อหัวใจของตัวเอง
รักษาสมดุลย์อันสงบในหัวใจ และก้าวเดินอย่างงามสง่า
เพราะในทุกๆ วินาทีที่คลื่นแห่งความแปรเปลี่ยนโอบกอดเรา
เราเลือกได้ที่จะเอะอะโวยวาย คร่ำครวญ หรือเลือกที่จะมีศานติสุขในหัวใจ
ไม่ผลักใจตัวเองให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว

ในเมื่อความเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนนั้น
เป็นกฎอันศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ


พายุร้ายที่โหมกระหน่ำ ก็เคลื่อนตัวไปสู่ท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง
รัตติกาลย่อมผลิแย้มดวงตะวันแห่งรุ่งอรุณ

เราจึงเลือกได้ที่จะสงบสันติสุขอย่างผู้มีปัญญา
ไม่หวาดหวั่นกับอุปสรรค
เพราะอุปสรรคทำให้เราตกนรกไม่ได้
ถ้าเราวางใจไว้ถูก ไม่แก้ปัญหาด้วยการทำใจให้เป็นอกุศล
หรือแม้แต่ก่อความอยากที่จะพ้นจากภาวะอันขัดข้อง


เพราะความอยากพ้นจากภาวะ ก็เป็นตัณหาตัวหนึ่ง
ที่ให้ผลเป็นความบีบเค้นต่อจิตใจ
นับเป็นการซ้ำเติมตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทุกข์ทางกายที่เราต้องประสบกันทุกคน
เหมือนกับกำปั้นของธรรมชาติ ที่คอยเราด้วยทุกข์เล็กทุกข์น้อย
แต่หากเราขาดสติ เราจะซ้ำเติมตัวเองอีกกำปั้นหนึ่ง ด้วยการวางใจไว้ผิด

อุปสรรคย่อมเกิดขึ้นโดยธรรมดา
แต่เราเลือกที่จะเครียดหรือไม่เครียด
กายเรามีสิทธิ์ที่จะเจ็บป่วยตามธรรมชาติ
แต่เราเลือกได้ที่จะเอากำปั้นเราทุบใจซ้ำ
ด้วยความกังวลหงุดหงิด อยากให้หายดิ้นรน ที่จะพ้นจากภาวะ
หรือวางใจให้เห็นธรรมชาติของกาย เวทนา ว่าไม่ใช่ของเรา
ล้วนเป็นองค์ประกอบของเหตุปัจจัย


แต่การวางใจไว้ถูก ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัญญาที่จะเข้าใจ ตามความเป็นจริง
เหตุนั้นเองเราจึงจำเป็นต้อง เข้าใจวงจรปฏิจจสมุปบาท
คือภาวะที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น


เช่น เราเลือกไม่ได้ที่จะให้คำพูดที่ไม่ดีมากระทบหูของเรา
แล้วไหลตกลงไปสู่ในใจ
การรับรู้เกิดขึ้นแล้วตรงนั้น เสี้ยววินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น
เราเลือกได้ที่จะโกรธหรือไม่โกรธ
โต้ตอบหรือสงบอย่างรู้เท่าทัน ถึงผลที่จะตามมา
ในช่วงวินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น
เราอาจะเผลอถูกย้อมอารมณ์กลายเป็นปฏิกิริยา
มารู้สึกตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว วิธีคือเราต้องวางใจให้ถูกต้องเสียก่อน

คือเข้าซอยถูก ที่ปากซอยปักป้ายไว้ว่า สัมมาทิฏฐิ
คือ เมื่อมีความเป็นที่ถูกต้อง จึงมีดำริที่ถูกต้อง คือ สัมมาสังกัปปะ
คือวางไว้ในใจว่า จะเสียสละ จะเมตตา จะกรุณา
เมื่อวางใจในลักษณะบวก (+) เช่นนี้
แม้จะถูกคลื่นลบ (-) มารบกวน จิตก็ตกลงมายาก

หากวางใจไว้เป็นลบอยู่ก่อนแล้ว
คือหมกมุ่นพัวพันกับสิ่งสนองความอยาก
หรือคิดในแง่ในแง่ร้ายเคียดแค้น ชิงชัง
หรือคิดในแง่ที่จะเอาเปรียบ ข่มเหง
การวางใจไว้ผิดเช่นนี้ ยิ่งกระทบก็ยิ่งทำให้ใจมืด
เหมือนเดินเข้าปากซอยผิดตั้งแต่เริ่มต้น
คือ ยิ่งเดิน ยิ่งมืดทึบ อึดอัด คับตัน

เป็นการดำริที่ทำให้ปัญญาดับ
เป็นการเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น
เพราะการวางใจไว้ผิดนั้น
ก็เผาลนตัวเองอยู่ทุกขณะอยู่แล้ว ก่อนที่จะเผาไหม้ผู้อื่น
เมื่อการกระทบนั้นไม่เป็นดังใจ
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกสิ่งซึ่งไหลโอบล้อม
อยู่รอบกระแสแห่งชีวิตจะถูกใจไปทั้งหมด

ดังนั้น การเข้าซอยถูกตั้งแต่เริ่มต้น ยิ่งเดินยิ่งสว่าง

เมื่อเข้าซอยสัมมาทิฏฐิเห็นถูกต้อง
ก็ทำให้เกิด สัมมามาสังกัปปะ ดำริคิดถูกต้อง
ทำให้เกิด สัมมาวาจา พูดถูก
สัมมากัมมันตะ คือมีกายในทางไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการฆ่าหรือขโมย
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ เว้นจากมิจฉาชีพ
สัมมาวายามะ คือความเพียรคอยเร้าจิตให้มุ่งมั่น
ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
และรักษากุศลที่มีอยู่ในใจให้เจริญยิ่งขึ้น
สัมมาสติ ระลึกชอบ คือมีสติอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม
สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจไว้ชอบ
ความตั้งมั่นของจิตที่แน่วแน่นุ่มนวลควรแก่การงาน
ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามจริง

ดังนั้น การเริ่มต้นเริ่มเข้าซอยถูก
เห็นถูก วางใจให้ถูกจึงยิ่งเดินยิ่งสว่าง


ถึงแม้เราจะเลือกไม่ได้ว่าจะมีอุปสรรคระหว่างหนทางหรือไม่
จะเจอคนดีหรือไม่ดี ไม่มีใครผลักใจเราให้ล้มลงได้
ถ้าเราไม่ผลักใจ เราให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว...เราเลือกได้


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : “เข้าซอยให้ถูก” ในคำตอบของชีวิตปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๘๕-๘๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
wanwisa
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 18 ก.ค. 2007
ตอบ: 15

ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2007, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตะแง๊ว
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 09 ส.ค. 2007
ตอบ: 72
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
อ่านหนังสือของท่าน "แตกต่างแค่เปลือกความคิดปกปิดจิตประภัสสร"
แล้วทำให้เข้าใจขึ้นไปอีก
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง