Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัมมาสติ = สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อนิสฺสิโต จ วิหรติ = แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย

คือมีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคคลนี้

เป็นต้น

ว่าตามหลักคือไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิงอาศัย หรือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น

เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา

และทิฐิมาช่วยวาดภาพระบายสี เสริมแต่งและกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึก

จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 9:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ = แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร

หรือวิญญาณว่าเป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง

ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ

แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า ภายใน หมายถึง ของตนเอง

ภายนอก หมายถึง ของผู้อื่น

และมตินี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง

เช่นว่า "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ?

ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้นมีราคะก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ"

อภิ.วิ.35/445-7/263-5
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 9:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บางท่าน อาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกายใจของคนอื่น

และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร

เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยว

ข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา

ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น

คือรู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น

(ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอด

รู้ )

จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น

ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป

มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ

ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิด

แล้วก่อปัญหาขึ้นได้เลย

การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน

นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบัน

และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า

เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย...



(ดู N.P. Jacobson. Buddhism: the Religion of Analysis ฯลฯ )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในการปฏิบัติธรรม หรือกระทำการตามหลักการใดๆก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมาย

และความมุ่งหมายของธรรมหรือหลักการนั้นๆว่า ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลัก

การนั้นกำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลาย

ทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่างที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้อนั้นๆ

ความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้องที่เรียก

ว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 8:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ แปลว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อย

ตามหลักใหญ่

แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้ สอดคล้องกัน และส่ง

ผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรม

หรือการกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดหมายได้หรือไม่


ถ้ายังไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมหรือดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน

ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้ามคือ

เกิดโทษขึ้นได้

ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย ธรรมเพื่ออรรถ

หลักการเพื่อจุดหมาย จะทำอะไรต้องถามได้ตอบได้ เพื่ออะไร

ในทางธรรมท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย

คือหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย

เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิใช่ปฏิบัติโดยงมงาย

ไร้หลักการ หรือทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ

ในคัมภีร์จูฬนิเทส (ขุ.จู.30/797/417) แสดงตัวอย่างธรรมหรือธรรมหลักใหญ่ เช่น

สติปัฏฐาน 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น (คือโพธิปักขิยธรรม 37 นั่นเอง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 พ.ค.2008, 5:13 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 4:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ต่อไปเข้าสู่ภาคการปฏิบัติ อ่านแล้วพิจารณาทำความเข้าใจประเด็นนี้ให้ดีๆ

เพราะมีความเห็นแย้ง เห็นต่างซึ่งหาได้ไม่ยากในหมู่ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน)


(มีบางกลุ่ม) มีบางคนเข้าใจความหมายของคำแปลสติที่ว่าระลึกได้ และ

สัมปชัญญะที่ว่ารู้ตัวผิดพลาดไป

โดยเอาสติ มากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้าง

ภาพตัวตนขึ้นมา และจิตก็ไปจดจ่อกับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรือ

อย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน (= กรรมฐาน) ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี

ก็กลับกลายเป็นเสียไป

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับ

อารมณ์ การคุมจิตไว้กับสิ่งที่กำลังทำ (กรรมฐาน)

มองความหมายของสัมปชัญญะ ในแง่ว่าการรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังทำ

กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันทำนั่นทำนี่)

ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่กำลังทำ)

ไม่ใช่นึกถึงตัว (ผู้ทำ)

ให้สติตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือ

ตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉันหรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ

ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 4:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑ . องค์ประกอบหรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ

-ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยกำหนด หรือ คอยสังเกตเพ่งพิจารณา ซึ่งก็ได้แก่ สติ-สัมปชัญญะที่เกาะจับ กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นไปแต่ละขณะๆ ดูข้อ ๓ ประกอบ )

-กับฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกกำหนด หรือ ถูกสังเกตเพ่งพิจารณา ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม
ที่เกิดแต่ละขณะๆ-ดูข้อ ๒ ประกอบ )


๒ . องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือ ถูกกำหนดเพ่งพิจารณา ก็คือ สิ่งธรรมดาสามัญที่มีอยู่กับตัว
ของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เฉพาะที่เป็นปัจจุบัน
คือ ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ เท่านั้น


๓ . องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ คอยกำหนดคอยเพ่งพิจารณา เป็นตัวการหลักของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ
สติ เป็นตัวเกาะจับสิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้ (คือตามเกาะจับ กาย เวทนา จิต ธรรม แต่ละขณะๆ
ว่าแต่ขณะนั้นอะไรเกิด ก็จับอันนั้น แต่ละขณะๆไป)

สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญา ตระหนักรู้สิ่ง หรือ อาการที่ถูกพิจารณานั้นว่า คือ อะไร มีความมุ่ง
หมายอย่างไร เช่น เมื่อกำหนดพิจารณาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน ก็รู้ตัวว่า เดินทำไม
เพื่อไปไหน เป็นต้น และเข้าใจสิ่งนั้น หรือ การกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึก
เป็นต้นของตนเองเข้าเคลือบ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 เม.ย.2009, 9:47 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2008, 7:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อาการที่กำหนดเพ่งพิจารณา มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็น

ในขณะนั้น คือ ดู-เห็น-เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร

ปรากฏผลอย่างไร เข้าเผชิญหน้า รับรู้ พิจารณา เข้าใจ ตามดู

มันไปให้ทันทุกย่างขณะเท่านั้น ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัย

ว่า ดีชั่ว ถูกผิด เป็นต้น

ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า

ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น เพียงเห็นเข้าใจตามที่มัน

เป็น ของสิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆ เองโดยเฉพาะ ไม่สร้าง

ความคิดผนวกว่า ของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข.

เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เช่น พิจารณาเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่า

ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไร

หรือ พิจารณาธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความ

กลุ้มใจขึ้น ก็จับเอาความกลุ้มหรือกังวลใจนั้นขึ้นมาพิจารณาว่า

มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร หรือเวลาเกิดความโกรธพอนึกได้

รู้ตัวว่าโกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมา

พิจารณาคุณโทษ เหตุเกิดและอาการที่มันหายไป เหตุเกิดและอาการ

ที่มันหายไป เป็นต้น กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์

ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลย

เพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เองล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป

ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ หรือปรากฏขึ้นในจิตใจ

ขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้ามัน ไม่ย่อมเลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมัน

ตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่ปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง เป็นการดู

แบบสภาวะวิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อาการที่เป็นอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญ

อย่างหนึ่งที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีชีวิตอยู่ในขณะ

ปัจจุบัน กล่าวคือ สติกำหนดตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่

หรือกระทำในขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ
ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป

ไม่ติดข้องค้างคา หรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ลอย

คว้างไปข้างหน้าเลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มาและยังไม่มี ไม่เลื่อนไหลถอยลง

สู่อดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงจัดทำในอนาคต ก็เอาสติ

กำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่อง

นั้นๆ กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอย

ละห้อยเพ้อ ของความเป็นอดีตหรืออนาคต

การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา

ไม่ถูกตัณหาล่อไว้หรือชักจูงไปนั่นเอง

แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญา ทำให้พ้นจากอาการต่างๆ ของความ

ทุกข์ เช่น ความเศร้าซึมเสียดาย ความร้อนใจกลุ้มกังวล เป็นต้น

และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบาย

ของจิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เห็นว่ายาวเกินไป จึงนำไปลงต่อไว้ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=66783#66783
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริยปัญญากับการเจริญสติต่างกันไหมครับ สู้ สู้
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นที่น้องทศพลถามมีกล่าวไว้หน้าก่อนหน้านี้ แต่คงจับประเด็นไม่

ถูกเพราะเป็นสำนวนเขียน

จึงถามว่า “การเจริญปัญญากับการเจริญสติต่างกันไหม

ครับ”


ตอบว่า ในขณะที่ปฏิบัติธรรมโดยใช้รูปนาม หรือกายใจเป็นอารมณ์

(ตามแนวสติปัฏฐาน) การตรึกอารมณ์กรรมฐานแต่ละขณะๆ มีองค์

ธรรมประกอบร่วมมากมาย มิใช่มีแต่สติกับปัญญาหรือสัมปชัญญะ เท่า

นั้น ที่ท่านไม่กล่าวถึง คือ สมาธิ เป็นต้น

ธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ

ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)


สัมปชัญญะเป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

ดังนั้น การฝึกฝนสติจึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญา

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดใน

สิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น


พิจารณาตัวอย่างการฝึกสติสัมปชัญญะ เช่น ยกเท้าซ้ายขึ้น ก้าว

เดิน ถึงพื้น ขณะนั้นๆ เรารู้สึกตลอดตั้งแต่ยก ก้าวเดิน จนเท้าถึง

พื้น เท่านี้เราได้เจริญสติสัมปชัญญะ หรือปัญญาแล้ว


ง่ายๆอีกซักตัวอย่างหนึ่ง เช่น รู้ตัวว่ากำลังจับแก้วน้ำอยู่

ยกขึ้น ดื่ม กลืน แล้ววางลง รู้สึกตัวตลอดอย่างนี้สติสัมปชัญญะ

หรือปัญญาเกิดแล้ว ฯลฯ

ในส่วนนามธรรมก็เช่นกัน ฝึกรู้สึกตัวลักษณะนี้บ่อยๆ สติปัญญาก็เจริญ

ขึ้นตามสมควรแก่การปฏิบัติ

ส่วนการบริกรรมเพียงตรึงจิตให้อยู่กับงานที่ทำได้ดีขึ้นแน่นขึ้นเท่านั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง