Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 7:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ดอกไม้ ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธชินราชจำลอง
พระประธานในพระอุโบสถ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ


พระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ สมัยสุโขทัย
จำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วัสดุสัมฤทธิ์

ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ
ดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพฯ

พระพุทธชินราชจำลอง มีขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีเศษ
น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ ชั่ง


ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
สถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๒
โปรดให้ออกแบบพระอุโบสถตกแต่งไว้ด้วยหินอ่อนงดงามวิจิตร
จำเป็นต้องแสวงหาองค์พระประธานที่มีความทัดเทียมกัน

ทรงระลึกได้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๙ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร
ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ไปนมัสการพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามไม่มีที่เปรียบ
แต่การจะอัญเชิญลงมา ย่อมไม่สมควร
ด้วยเป็นสิริของชาวพิษณุโลก จึงมีดำริให้หล่อขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระประสิทธิปฏิมา
(ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็นหลวงประสิทธิปฏิมา)
จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด
ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก แล้วเสด็จพระราชดำเนิน
ทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ
โดย พระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu)
ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ
มียศเป็นพลเรือโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑป
แห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

การทั้งปวงตั้งแต่ปั้นหุ่น หล่อ ตกแต่ง และอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน
ในพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยดี ทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง

“จึงทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์
ซึ่งกำลังทรงอยู่นั้น ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา”


Image

Image

เมื่อเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับราชตระกูล
ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้อย่างดี
และอัญเชิญมาคล้องถวายที่พระหัตถ์พระพุทธชินราชจำลอง
ในวันปิยมหาราช ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี

ต่อมาถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จ้าง มร.จุรุหระ (Mr. Tsuruhara)
ครูช่างในโรงเรียนวิชาช่างกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เข้ามาทำการปิดทองจนแล้วเสร็จ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดงานสมโภชในวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓

พระพุทธชินราชจำลอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ
สมัยสุโขทัย มีเรือนแก้ว ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน
เรือนแก้วนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่ช่างทำไม่งาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่สวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรวิหาร ที่มีความสวยงามเลื่องชื่อเป็นอันดับต้นของเมืองไทย
จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

ด้วยความงดงามของพระอุโบสถ พระระเบียงคด (พระวิหารคด)
ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี
รังสรรค์ให้วัดเบญจมบพิตร กลายเป็นอารามที่มีความวิจิตรงดงาม
ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย

สำหรับการเดินทางไปเยี่ยมชมวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือเหมารถตู้รวมกลุ่มกันไปเยอะๆ
สามารถหาที่จอดรถได้ง่ายๆ บริเวณริมถนนติดคลองด้านหน้าของวัด

อีกวิธีเป็นการเดินทางแบบประหยัดด้วยการนั่งรถประจำทาง
สาย ๕, ๑๖, ๒๓ หรือรถปรับอากาศ สาย ๕๐๓, ๕๐๕, ๕๐๙ เป็นต้น
หรือโบกรถแท็กซี่ให้ไปส่งได้

สามารถเดินทางมาตามเส้นทางถนนสายใหญ่
คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก
และถนนพิษณุโลก จะแลเห็นพระอุโบสถวัดตั้งโดดเด่นเป็นสง่า

วัดเบญจมบพิตรฯ แห่งนี้ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นเวลา
ไม่ได้เปิดตลอดทั้งวัน ด้วยเกรงจะเป็นการรบกวนการปฏิบัติศาสนกิจ
ของพระภิกษุ-สามเณร เวลาทำการ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.
พระอุโบสถ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.

เสียค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม สำหรับชาวต่างชาติ จำนวน ๒๐ บาท
ส่วนเราๆ ท่านๆ จะบริจาคปัจจัยบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าบำรุงดูแลศาสนสถาน

ไปเยี่ยมชมความสวยงามของวัดและเข้าไปกราบพระพุทธชินราชจำลอง
เสริมความเป็นมงคลให้กับชีวิตได้อย่างดี

Image

Image
พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

Image
พระระเบียงคด (พระวิหารคด) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


สาธุ หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19307

ดอกไม้ ทำบุญไหว้พระ ยลยอดศิลปะไทย ที่ “วัดเบญจมบพิตร”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13548
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 12:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ซึ้ง สวยงามมากเลยครับ อยากไปสักการะแล้วสิครับ ซึ้ง
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง