Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วัดประจำรัชกาล สุดยอดวัดงามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2007, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดประจำรัชกาล สุดยอดวัดงามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ที่เติบโตเจริญรุ่งเรืองในเมืองไทยมากว่า ๒,๐๐๐ ปี นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่พระพุทธศาสนาสามารถดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานานเช่นนี้ ย่อมเนื่องมาจากการทำนุบำรุงศาสนาของเจ้าแผ่นดิน หรือกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศ

ตลอดยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา กษัตริย์ในแผ่นดินไทยแต่ละพระองค์ต่างก็ทรงมีความเลื่อมใส และให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวัดต่างๆ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธขึ้นมากมาย

สำหรับในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน กษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ได้ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในภายหลังเราจึงยกย่องให้วัดซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีความผูกพันเหล่านี้เป็นวัดประจำรัชกาลของแต่ละพระองค์ เหตุผลของการยึดถือวัดใดวัดหนึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ได้ให้เหตุผลไว้ว่า

“วัดซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น มักจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ท่านทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ และให้ความสนใจกับวัดนี้เป็นพิเศษ หรือมีความผูกพันกับวัดนี้มากๆ เมื่อพระองค์สวรรคต พระบรมอัฐิก็จะถูกนำไปบรรจุอยู่ที่ฐานของพระประธาน แต่การประกาศว่าวัดไหนเป็นวัดประจำรัชกาลนี้ ไม่ได้มีการประกาศออกเป็นทางการ เพียงแต่เกิดจากการที่คนพูดกันว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลนี้ๆ และดูจากความผูกพันที่พระองค์ท่านทรงมีให้กับวัดนั้นๆ มากกว่า”

ในส่วนของความเป็นมาของการกลายมาเป็นวัดประจำแต่ละรัชกาลนั้น ก็นับได้ว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้ตัววัดเลยทีเดียว วัดประจำรัชกาล เท่าที่ถือปฏิบัติกันมามีดังนี้

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ คือ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)

วัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๖ คือ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๗ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๘ คือ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๙ น่าจะเป็นหนึ่งในสามวัดนี้คือ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา, วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร จ.ชลบุรี และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ

ความจริงการสร้างวัดประจำรัชกาล ไม่เคยมีราชประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ทรงสร้างวัดก็เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญๆ ด้วยก็ได้ เช่น เป็นสถานที่พระบรมราชสมภพ เป็นนิวาสสถานเดิมของพระราชบรรพบุรุษ เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในสงคราม ฯลฯ การถือเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น เป็นพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญส่วนหนึ่งของพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ไปประดิษฐานไว้ที่ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรามราม และวัดราชโอรสาราม ตามลำดับ

ดังนั้น จึงเป็นราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล

อย่างใดก็ตาม ในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครมีเป็นจำนวนมากแล้ว และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘ เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้นมาในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น นอกจากนั้นในทางปฏิบัติยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันในเรื่องวัดประจำรัชกาลที่ ๕ กล่าวคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงสิริราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ ปีต่อมาคือปีพุทธศักราช ๒๔๑๒ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มสถาปนา ‘วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม’ ทันที เพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลตามพระราชประเพณี

ต่อมาในปลายรัชกาล ได้ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้นเป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถนอกพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งแปรพระราชฐานมาประทับเกือบเป็นการถาวร จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ ‘วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม’ อันเป็นวัดโบราณขึ้นอย่างวิจิตรงดงามยิ่ง เพื่อเป็นการทำผาติกรรมที่ใช้ที่ดินบางส่วนของวัดมาเป็นที่หลวง และทรงถือว่าวัดนี้เป็นวัดประจำพระราชวังสวนดุสิต ดังปรากฏในสร้อยชื่อของวัด และมีลายพระราชหัตถเลขาโปรดเกล้าฯ ไว้ว่า เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ แต่ก็ไม่มีพระราชกระแสยืนยันว่าโปรดให้เป็นวัดประจำรัชกาล จึงถือกันในทางปฏิบัติว่า ‘วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม’ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงปฏิบัติตามพระราชนิยมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะไม่สร้างวัดประจำรัชกาลขึ้นอีก ประกอบกับได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นงานใหญ่ เมื่อมีการอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารจากประเทศอังกฤษกลับมายังเมืองไทยแล้ว จึงได้แบ่งพระบรมราชสรีรังคารส่วนหนึ่งอัญเชิญมาประดิษฐานที่แท่นชุกชีฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถ ดังนั้น จึงถือกันในทางปฏิบัติว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๗ โดยมิได้ไปลบล้างข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงแต่ประการใด

สาธุ

คัดลอกมาจาก ::
๑. พระอารามหลวง
เรียบเรียงโดย ศ.พิเศษ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
๒. หนังสือวัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์ ของกรมศิลปากร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดประจำรัชกาล
http://www.dhammajak.net/wat-king-1-9/index.php
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19072

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง