Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ส้มมือ หรืออีกชื่อ ‘ส้มนิ้วพระหัตถ์’ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2007, 2:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ส้มมือ หรืออีกชื่อ ‘ส้มนิ้วพระหัตถ์’

‘ส้มมือ’ เป็นพันธุ์ไม้เก่าแก่ในตระกูลส้ม ซึ่งนับวันก็ยิ่งจะหาชมได้ยากยิ่ง และที่สำคัญเป็นส้มพันธุ์แปลกที่ไม่เหมือนส้มทั่วไป

‘ส้มมือ’ หรือที่มักจะเรียกกันติดปากว่า ‘ส้มโอมือ’ เป็นชื่อส้มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Rutaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus medica Linn.var.sarcodactylis Swing. เป็นพืชประเภทส้มที่เก่าแก่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย

Image

ในประเทศอินเดียเรียกว่า ‘บารานิมบู’ (Bara nimbu) แต่พวกฝรั่งมักเรียกกันว่า ‘ส้มพระหัตถ์พุทธองค์’ (Buddha’s Hand) หรือ ‘ส้มนิ้วพระหัตถ์’ (Buddha’s Fingers) หรือชาวจีนเรียกว่า ‘ฝอโส่ว’ ซึ่งแปลว่านิ้วพระหัตถ์เช่นเดียวกัน

เหตุที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะรูปร่างของผลเจ้าส้มมือนี้ คล้ายดังพระหัตถ์หรือนิ้วพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า คือมีลักษณะเป็นนิ้วมือเรียวยาวห้อยลงมา ซึ่งแปลกกว่าส้มอื่นๆ ที่มีลักษณะกลม

ต้นส้มมือหรือต้นส้มนิ้วพระหัตถ์ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงราว 3-6 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปทรงรี หนา โคนใบมนกลม ปลายแหลมมน ใบค่อนข้างหนา ขอบใบหยัก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลมีผิวขรุขระ มีร่องแฉกคล้าย นิ้วมือกว่า 10 นิ้ว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองสด ภายในผลสีขาว ไม่มีเมล็ด

Image

เปลือกหนาคล้ายเปลือกส้มโอ ผิวเปลือกมีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว ส่วนเนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ มักไม่นิยมนำผลมารับประทานสดเหมือนส้มทั่วไป แต่จะนำเปลือกไปใช้ประกอบในการปรุงอาหาร และทำยา เพราะมีสรรพคุณในการกระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ทำให้เลือดลมดี ชาวตะวันตกรู้จักสรรพคุณของส้มมือมานานแล้ว จึงตั้งชื่อเป็นภาษาละตินว่า ‘medica’ หมายถึง สิ่งที่มีสรรพคุณทางยา

Image

ส่วนชาวจีนและญี่ปุ่นมักใช้ส้มมือเป็นผลไม้มงคลในพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา รวมทั้งใช้เป็นเครื่องหอมดับกลิ่นด้วย ส่วนคนไทยสมัยก่อนก็คุ้นเคยกับส้มมือที่นำมาใช้ทำเป็นยาดม เรียกกันว่า ‘ยาดมส้มโอมือ’ ที่มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ใช้สูดดมบรรเทาอาการเป็นลม หน้ามืดตาลาย แต่สมัยนี้ยาดมส้มโอมือไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เพราะส้มมือที่นำมาใช้ทำยาดมนั้นหายาก มีปลูกกันไม่กี่แห่งเท่านั้น ประกอบกับกลิ่นของยาดมส้มมือไม่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

Image


......................................................

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2549 17:59 น.
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง