Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กล้วยร้อยหวี มีพันผล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2007, 10:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

กล้วยร้อยหวี มีพันผล

ในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับพระราชทาน เล่มที่ 30 ศาสตราจารย์เบญจมาศ ศิลาย้อย อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วย ได้เขียนบอกไว้ว่า “...ในสมัยอยุธยา เดอลาลูแบร์ อัครราชทูตชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้เขียนบันทึกถึงสิ่งที่เขาได้พบเห็นในเมืองไทยไว้ว่า ได้เห็นกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือกล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับนั่นเอง...”

“กล้วยร้อยหวี” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Musa chiliocarpa Back. อยู่ในวงศ์ Musaceae มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กล้วยงวงช้าง” มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นไม้ล้มลุก มีขนาดเล็กกว่าต้นกล้วยน้ำว้าที่พบเห็นกันได้ทั่วไป ลำต้นสูงราว 2-3 เมตร

Image

ดอกออกที่ปลายต้น ซึ่งช่อดอกมีดอกหนาแน่นมาก ใช้เวลา 6 เดือนจึงตกเป็นปลีห้อยลงมา และทยอยออกผลเป็นหวีกล้วยขนาดเล็กราวร้อยหวี แต่ละหวีมีผลประมาณ 10-15 ผล เครือหนึ่งมีความยาวราวเมตรกว่าๆ ถึงสองเมตร มีลักษณะคล้ายงวงช้าง เมื่อรวมจำนวนกล้วยทั้งหมดในหนึ่งเครือตกราว 1,000 กว่าผล แต่หากเป็นเครือที่สมบูรณ์มากๆ ก็อาจให้ผลถึงสองร้อยหวีทีเดียว ผลของกล้วยชนิดนี้มีขนาดเล็ก เนื้อน้อย แต่มีเมล็ดมาก และจะออกผลเพียงปีละครั้งเท่านั้น เพราะระยะเวลาในการเป็นหวีกล้วยเล็กๆ จนสุดเครือ นั้นยาวนานมากราว 9-12 เดือน เมื่อออกผลแล้วก็จะตายไป แต่สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่อ

Image

แม้ว่าจะมีจำนวนผลมาก แต่ความที่มีเมล็ดมากและเนื้อน้อย จึงไม่นิยมนำมารับประทาน เพียงปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความแปลกตาและสวยงาม ส่วนประโยชน์ทางพืชสมุนไพรของกล้วยร้อยหวี ก็มีเช่นเดียวกันคือ ใช้ผลดิบทั้งเปลือกหั่นตากเเห้งป่นเป็นผงชงน้ำร้อน หรึอปั้นเป็นเม็ดรับประทานรักษาเเผลในกระเพาะอาหาร เเก้ท้องเสียเรื้อรัง เเผลเน่าเบื่อย เเผลติดเชื้อต่างๆ ส่วนเปลือกของผลสุกใช้ด้านในทาส้นเท้าเเตก หัวปลีเเก้โรคโลหิกจาง ลดน้ำตาลในเลือดเเก้โรคเบาหวาน ส่วนรากต้มดื่มเเก้ไข้ได้อย่างดี เป็นต้น

ปัจจุบัน กล้วยร้อยหวีแทบจะไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก อาจเป็นเพราะหาหน่อพันธุ์ยากก็เป็นได้ แต่เชื่อว่าถึงอย่างไรกล้วยพันธุ์นี้ก็ยังคงมีให้ชื่นชมอยู่ในโลกนี้อย่างแน่นอน

Image

สำหรับเรื่องของกล้วยที่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกนั้น คราวนี้ขอนำเรื่องผลแห่งการถวายผลกล้วย มาบอกเล่ากัน ในพระไตรปิฎก หัวข้อ กทลิผลทายกเถราปทานอันว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย ของพระกทลิผลทายกเถระ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า

“เราได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ทรงรุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่วงเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญและดังดวงประทีป เรามีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้ถือเอาผลกล้วยไปถวายแด่พระศาสดา ถวายบังคมแล้วกลับไป ในกัลปที่ 31 แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา 3 เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้”

Image


......................................................

หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย 50 โดย เรณุกา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2550 10:47 น.
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 11:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง