Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชมของดี ที่ “วัดบวรนิเวศ” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2007, 10:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ประดับหินอ่อนดูตระการตา


ชมของดี ที่ “วัดบวรนิเวศ”

ที่ต่างจังหวัดวัดหลายๆ วัดยังคงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชุมชนอยู่ แม้ว่าจะไม่เข้มข้นเหมือนแต่ก่อน แต่ว่าในงานบุญงานประเพณีต่างๆ ก็ยังคงมีผู้แก่ผู้เฒ่า สาวหนุ่ม และวัยละอ่อน ไปร่วมงานกันอย่างคึกคัก ครั้นเมื่อมาดูในกรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมร ดูเหมือนว่าบรรยากาศงานบุญงานประเพณีตามวัดต่างๆ ที่ดูอิ่มเอิบและความสามัคคีตามวิถีดั้งเดิมแบบไทยๆ ยิ่งมายิ่งลดน้อยถอยลง แต่กระนั้นก็ใช่ว่าวัดวาอารามต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร (และทั่วประเทศไทย) จะไร้ซึ่งของดีให้ชมเสียเมื่อไหร่

เพราะในอดีตนอกจากวัดจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนแล้ว วัดยังเป็นโรงเรียนชั้นเยี่ยมและเป็นแหล่งรวมงานศิลปะชั้นยอดอีกด้วย โดยเฉพาะวัดที่เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกนี่ถือได้ว่ามีความงดงามของงานศิลป์ที่น่าสนใจอย่างสูง


Image
ประตูเซี่ยวกาง มีคนนิยมมาบนบาน
เมื่อสมหวังแล้วก็จะนำโอยัวะและพวงมาลัยมาแก้บน



วัดบวรนิเวศวิหาร หรือวัดบวรฯ ที่เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ก็นับเป็นหนึ่งในนั้น ที่มีความน่าสนใจในงานศิลป์ให้ชมตั้งแต่ยังไม่เข้าเขตพื้นที่วัดเลยทีเดียว เพราะตรงประตูทางเข้าวัดที่ตรงกับโบสถ์ (ฝั่งตรงข้ามร้านข้าวต้มวัดบวรฯ) ก็มีภาพอันชวนสะดุดตาให้ชมกันแล้ว โดยที่ประตูแห่งนี้ที่ปากทวารบาลดูดำปื้น ส่วนตามตัวก็มีพวงมาลัยและถุงโอยัวะห้อยอยู่ตามจุดต่างๆ ก่อนที่จะเดินไปพินิจพิจารณาดู ก็มีเสียงตะโกนดังมาที่เบื้องหลังว่า “ซื้อพวงมาลัยไหว้พระมั๊ยจ๊ะ พวงละ10 บาท”

งานนี้ไม่ได้ซื้อพวงมาลัย แต่กลับไปขอให้แม่ค้าคนนี้เล่าความเป็นมาของประตูตรงจุดนี้เฉยเลย ซึ่งแม่ค้าคนนี้เธอก็สุดแสนจะใจดี เล่าให้ฟังว่า ประตูนี้คนเรียกกันว่า “ประตูเซี่ยวกาง” ที่สร้างตามคตินิยมแบบจีน โดยสมัยก่อนยุคที่เมืองไทยยังดูดฝิ่น ได้มีชาวจีนคนหนึ่งติดฝิ่นงอมแงม พอต่อมาทางการได้ปราบทำลายโรงงานยาฝิ่นจนหมดสิ้น เมื่อแกหาฝิ่นดูดไม่ได้ สุดท้ายเลยไปลงแดงตายตรงประตูนี้


Image
พระสุวรรณเขต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า)
สององค์พระประธานต่างความงามต่างสมัยในพระอุโบสถ



หลังจากเมื่อทางวัดมาพบจึงได้ทำพิธีกงเต๊กให้ ต่อมาชาวจีนคนนั้นได้ไปเข้าฝันสมเด็จท่านเจ้าอาวาสว่า ให้ทำที่ให้แกอยู่แล้วแกจะเฝ้าวัดให้ ทางวัดจึงได้สร้างกำแพงทำซุ้มประตูแล้วอันเชิญดวงวิญญาณชาวจีนคนนั้นมาสถิตย์อยู่ ณ ประตูแห่งนี้

ต่อมาก็มีเรื่องเล่ากันว่าของในวัดที่เคยถูกขโมยไปหลายครั้ง ล้วนได้คืนกลับมาหมดด้วยความศักดิ์สิทธิของดวงวิญญาณคนจีนที่คอยเฝ้าวัด ทำให้เกิดการสักการบูชาประตูเซี่ยวกางขึ้น ซึ่งหลายๆ คนต่างเชื่อกันว่าถ้าบนอะไรแล้วก็จะได้สิ่งนั้นตามที่ขอหมด โดยนิยมนำฝิ่นมาป้ายปาก และนำโอยัวะกับพวงมาลัยมาแขวนบูชา

เมื่อหายข้องใจแล้วก็เดินตรงต่อไปยัง พระอุโบสถ ที่ชวนมองด้วยผนังหินอ่อนสีขาวตัดกับสีทองของประตูและหน้าต่าง ที่เมื่อก้าวย่างเข้าไปภายในมีพระพุทธประธานอยู่ 2 องค์ ทำให้รู้สึกถึงความขรึมขลัง ซึ่งทำให้ภายในพระอุโบสถดูสงบเงียบ น่าเกรงขามอย่างไม่น่าเชื่อ

สำหรับพระประธานในโบสถ์องค์หน้าคือ พระพุทธชินสีห์ (พระประธานสมัยหลัง) ที่ดูสมส่วนและงดงามด้วยสีทองอร่ามตา ดูแล้วให้ความรู้สึกน่าเคารพบูชายิ่งนัก

ส่วนองค์หลังคือ พระสุวรรณเขต หรือที่เรียกกันว่า “พระโต” (พระประธานสมัยแรก) ซึ่งคิดว่าน่าจะมาจากการที่พระองค์นี้มีขนาดใหญ่โตกว่าพระพุทธรูปองค์หน้าก็เป็นได้ โดยพระโตองค์นี้เป็นพระพุทธรูปหล่อโบราณแบบขอม โดยพระสุวรรณเขตหรือพระโต กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี ส่วนพระพุทธชินสีห์ ได้ทรงอัญเชิญมาจากพระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

นอกจากพระประธานทั้ง 2 องค์แล้ว ในโบสถ์ยังน่าชมไปด้วยภาพจิตกรรมฝาผนังที่แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ภาพฝรั่งแสดงปริศนาธรรมฝีมือขรัวอินโข่งที่ตอนบน และจิตกรรมฝาผนังตอนล่างซึ่งเป็นภาพแสดงเหตุการณ์สำคัญๆ เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมไทยและประเพณีทางพระพุทธศาสนา อาทิ ภาพโกนหัวทำขวัญนาค ภาพการบวช ภาพการทอดกฐิน ที่แต่ละภาพล้วนวาดได้อย่างละเอียดปราณีต ก็แหม...ชื่อของขรัวอินโข่งนั้นการันตีในฝีมืออยู่แล้ว


Image
ศาลาพระพุทธบาท เป็นที่ประดิษฐาน
รอยพระพุทธบาทจำลอง ที่เต็มไปด้วยเหรียญจากความศรัทธา


Image
รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นแผ่นศิลาสลักรอยพระพุทธบาทคู่


พอเดินออกมาจากโบสถ์ จะสะดุดตากับ ศาลาพระพุทธบาท ทางขวามือ ที่ภายในศาลาแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นแผ่นศิลาสลักรอยพระพุทธบาทคู่ ซึ่ง กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ นำมาจากจังหวัดชัยนาท บนรอยพระพุทธบาทจำลองมีเหรียญต่างๆ วางอยู่เนื่องจากผู้คนที่แวะเวียนมามักจะวางเหรียญ (ขอใช้ว่าวาง เพราะมีป้ายบอกเอาไว้ว่า “กรุณาวางเหรียญเบาๆ อย่าโยน”) เพื่อเป็นการสักการบูชา

Image
พระมหาเจดีย์ใหญ่ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่ามองเห็นแต่ไกล


ถัดจากศาลาพระพุทธบาทไปเป็น พระมหาเจดีย์ใหญ่ สีทองสุกใสสูงโดดเด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกล แต่ว่าไม่สามารถเข้าไปชมด้านในได้ เนื่องจากทางวัดจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในวันสำคัญๆ เท่านั้น พระเจดีย์องค์นี้มีฐานกลม ตรงกลางประดิษฐานพระเจดีย์ที่คะเนว่าสูงจากฐานประมาณ 4 เมตรกว่าๆ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับพระเจดีย์ที่น่าสนใจอีกองค์หนึ่งก็คือ พระเจดีย์ไพรีพินาศ ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เจดีย์องค์นี้เป็นที่ประดิษฐาน พระไพรีพินาศ พระพุทธรูปปางประทานพร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญและมีชื่อเสียงของวัดบวรฯ แม้ว่าทางวัดจะไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าสักการะพระไพรีพินาศ แต่ว่าทางวัดบวรฯ ก็ได้สร้างพระไพรีพินาศจำลองไว้ให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้แทน


Image
องค์พระไพรีพินาศจำลองประดิษฐานอยู่ในเขตสงฆ์
ใครที่ไปสักการะต้องอยู่ในความสำรวม



พระไพรีพินาศจำลอง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระมหาเจดีย์มากนัก เพียงแต่อยู่ในเขตของสังฆาวาสที่เมื่อเดินเข้าไปจะมีป้ายบอกทางชี้บอกไว้ เดินตรงไปเรื่อยๆ จนสุดทางข้ามสะพานข้ามน้ำเล็กๆ มองไปทางขวาก็จะเห็นศาลาพระไพรีพินาศจำลอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร จึงได้นั่งลงหน้าศาลากราบไหว้ขอพรเรียบร้อยแล้ว ก็เดินชื่นชมบรรยากาศอยู่แถวๆ นั้น ที่นี่ช่างเงียบสงบและร่มเย็นรู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก อ้อ ! ใครที่เข้าในนี้ก็อย่าได้ส่งเสียงดังเป็นอันขาดเพราะนี่เป็นเขตจำพรรษาของพระภิกษุสามเณร

ระหว่างเดินออกมาจากเขตสังฆาวาส มีป้ายชี้ทางไปที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อดำ หรือ พระทีฆายุมหมงคล พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ที่ว่ากันว่าถ้าใครมากราบไหว้บูชาแล้วจะประสบแต่โชคดี ซึ่งหลังจากไหว้หลวงพ่อดำและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในวัดบวรฯ ก็ไม่อาจรู้ได้ว่าภายในอนาคตจะประสบโชคดีหรือเปล่า แต่ที่รู้ก็คือการได้มาเที่ยวชมของดีที่มีมากมายในวัดบวรฯ นั้น ทำให้รู้สึกปลอดโปร่งดีจริงๆ


Image
ตำหนักปั้นหยา


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำพู กรุงเทพฯ ภายในมีของดีให้สักการะและชมมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากในเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมีพระวิหารพระศาสดา พลับพลาเปลื้องเครื่อง ตำหนักเพ็ชร พระพุทธไสยา พระวิหารเก๋ง พระพุทธวชิรญาณ ตำหนักปั้นหยา ตำหนักจันทร์ อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร. ฯลฯ

อนึ่งสถานที่เหล่านี้จะเปิดให้เข้าชมเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องขอนุญาตเข้าชมเป็นกรณีพิเศษ ส่วนทางวัดจะเปิดให้เข้าชมภายในเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์และวันพระเท่านั้น โดยผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2281-2831-3 ส่วนการเดินทางไปวัดบวรฯ มีรถประจำทางสาย 56, 68 และรถประจำทางปรับอากาศสาย 516 ผ่าน


Image
พระพุทธไสยา พระนอนที่งดงามตามแบบศิลปะสุโขทัย

Image
พระพักตร์ยิ้มเล็กน้อยในแบบศิลปะสุโขทัยของพระพุทธไสยา


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2548 17:41 น.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง