Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จาริกแดนพุทธภูมิ สู่สังเวชนียสถานสี่ตำบล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2007, 12:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พุทธคยา ยามค่ำ


จาริกแดนพุทธภูมิ สู่สังเวชนียสถานสี่ตำบล

พุทธสังเวชนียสถานสี่ตำบล ได้แก่ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ, พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้, พาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา และกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน

สังเวชนียสถานสี่ตำบล คือ ดินแดนที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า เคยตรัสบอกกับพระอานนท์ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานว่า “ดูก่อนอานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ ๔ สถานเหล่านั้น แล้วมีจิตเลื่อมใส ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”

และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใครหลายๆ คนพากันหาโอกาสไปสักการะให้ได้สักครั้งในชีวิต ยิ่งสารคดีตามรอยพระพุทธเจ้าออกอากาศ ยิ่งทำให้ชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธายิ่งมานะที่จะไปให้ได้ เป็นผลให้จำนวนทัวร์แสวงบุญยังประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น


Image
มกุฎพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
คนท้องถิ่นเรียกว่า “รามภาร์-กา-ดีลา”



ทริปนี้มีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสะพานบุญทอดข้ามให้ โดยเปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ-พุทธคยา-พาราณสี ทำให้ชาวพุทธมีโอกาสได้ไปสักการะสังเวชนียสถานทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องอนาทรร้อนใจว่าจะต้องไปตกระกำลำบากอย่างที่เคยได้ยินได้ฟังมา

เที่ยวบินดังกล่าวเปิดสัปดาห์ละ ๓ วัน จันทร์, พุธ และเสาร์ แค่เดือนตุลาคมถึงมีนาคมเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าช่วงเวลานอกเหนือจากนี้เป็นหน้าร้อนโค-ตรๆ ของอินเดีย หาผู้โดยสารยากแสนเข็น เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศจะพุ่งขึ้นสูงถึง 48-50 องศาเซลเซียส...โอ้ พระเจ้า

หลังจากลงเครื่องที่เมืองคายา (Gaya) เมืองเล็กในรัฐพิหาร ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับเนปาล เอนหลังทอดอารมณ์ผ่านบานหน้าต่างห้องพักบนโรงแรมรอยัล เรสิเดนซี คายา


Image
มหาปรินิพพานสถูป ที่เมืองกุสินารา


ภาพที่เห็นตรงหน้าไกลออกไป เด็กน้อยในชุดสีฟ้าเดินเรียงกันเป็นทิวแถวกลับจากโรงเรียนที่หน้าตาเหมือนโรงเรือนเพาะชำโปร่งๆ ชั้นเดียว ผ่านทุ่งข้าวสาลีสีเขียวอมเหลือง วิถีเช่นนี้คงทำให้เด็กๆ ได้สัมผัสได้ซึมซับได้ซาบซึ้งในคุณค่าของแม่โพสพเป็นอย่างดี

พระสงฆ์ขี่จักรยานผ่านไป จีวรปลิว รถโดยสารที่บรรทุกผู้นั่งเต็มอัตราเทียมด้วยม้า รวมทั้ง ภาพของสามีภรรยาที่นั่งเคียงคู่กันอยู่บนสามล้อถีบ.....ท่ามกลางแสงอาทิตย์ที่แผดจัดจ้าอย่างสบายอารมณ์

คายา เป็นเมืองที่ติดอันดับยากจนที่สุด ปัจจุบันจึงเป็นที่หมายตาของกองทัพเหมาที่อยากจะได้ไปเป็นหมู่มวลสมาชิก วันดีคืนดีก็จะมีการสไตร๊ค์กันพอหอมปากหอมคอ

เช่นในทริปนี้ ซึ่งตามโปรแกรมแล้วหลังจากสักการะต้นศรีมหาโพธิ์ และแท่นวัชรอาสน์ ที่ “พุทธคยา” สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จุดหมายต่อไปคือ “ราชคฤห์” เมืองของพระเจ้าพิมพิสาร บ้านเกิดของชีวกโกมารภัจจ เพื่อขึ้นไปนมัสการพระคันธกุฏิบนเขาคิชกูฏ และนมัสการสถานที่ซึ่งพระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ ณ ถ้ำสุกรขาตา ฯลฯ


Image
บนยอดเขาพรหมโยนี (เมืองคยา) ก้อนหินสีแดง
ที่เห็นมีทางให้ลอดสำหรับหญิงที่อธิษฐานขอลูก



ต้องเปลี่ยนกำหนดการกะทันหันเพราะสไตร๊ค์ทั้งเมือง

ทว่าถึงแม้จะไปราชคฤห์ไม่ได้ แค่ในเมืองคายาก็มีสถานที่ให้ตามรอยพระพุทธเจ้าอยู่หลายแห่ง เช่น ที่บ้านนางสุชาดา สตรีซึ่งถวายข้าวมธุปายาส ซึ่งหลังจากพระองค์ฉันแล้ว ได้อธิษฐานจิตลอยถาดทองคำที่แม่น้ำเนรัญชรา ก่อนจะเดินข้ามฝั่งน้ำไปนั่งบำเพ็ญเพียรใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ และตรัสรู้ ณ ที่นั้นเอง บ้านนางสุชาดา ปัจจุบันเห็นเป็นสถูปโบราณ มาจากค่านิยมที่จะสร้างสถูปครอบลงสถานที่สำคัญๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์

ที่น่าแปลกใจคือ “แม่น้ำเนรัญชรา” ซึ่งจะมีน้ำไหลหลากก็เฉพาะฤดูฝน ช่วงที่เราเดินทางไปเป็นช่วงปลายเดือนมีนาคม แม่น้ำทั้งสายซึ่งกว้างราว ๑ กิโลเมตร จึงกลายสภาพเป็นแม่น้ำทรายกว้างใหญ่ มองเห็นชัดเจนตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน เป็นเส้นทางสีชาใส่นมสายคดเคี้ยว

ว่ากันว่าเป็นเพราะการสูบน้ำบาดาลทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน


Image
พระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา


อีกสถานที่น่าสนใจคือ “คยาสีสะประเทศ” หรือ “เขาพรหมโยนี” เชื่อกันว่าพระพรหมถือกำเนิดขึ้นที่นี่ เป็นสถานที่ชฎิล ๓ พี่น้อง นักบวชลัทธิบูชาไฟ ซึ่งเป็นที่นับหน้าถือของชาวเมืองราชคฤห์ พร้อมกับบริวารอีก ๑,๐๐๐ คน ฟังคำสอนของพระพุทธองค์แล้วสำเร็จเป็นอรหันต์

จากคายา ต่อสายการบินภายในประเทศไปยังเมืองพาราณสี (Varanasi) ในรัฐอุตตรประเทศที่อยู่ติดกัน ใช้เวลา ๓๕ นาที ชั่วเวลากินกล้วยตาก ๒ ชิ้น ที่เสิร์ฟบนเครื่องหมดก็ถึงที่หมาย

พี่อ๋อ-เลิศรัชต์ อัครพัศพงศ์ กรรมการผู้จัดการศรัทธาทัวร์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลทริปนี้ เล่าให้ฟังว่า ที่เมืองคายายังถือเรื่องวรรณะอย่างเข้มข้น จึงมีคนฮินดูส่วนหนึ่งที่บอกว่าตนเองเปลี่ยนศาสนามานับถือพุทธ แต่ก็ไม่ได้รู้วิถีปฏิบัติแบบพุทธศาสนิกชนแต่อย่างใด

บางคนเดินถือขันขอรับบริจาคจากคนทั่วไป โดยให้เหตุผลของการกระทำเช่นนั้นว่า

“ผมเป็นพุทธในแบบของผม”


Image
ริมแม่น้ำคงคา


ส่วนผู้หญิงอินเดียจนถึงพอศอนี้แล้ว ก็ยังเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงาน ต้องจ่ายค่าสินสอดราว ๓ แสนรูปี ยังมีค่าจัดงานและอื่นๆ อีกจิปาถะรวมแล้วตกราว ๑ ล้านรูปี (๑๐๐ บาท=๑๑๕ รูปี)

ฉะนั้น ในตอนเย็นๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างพาราณสีเราจะเห็นหนุ่มอินเดียแต่งตัวแบบหล่อสุดสุด เดินอวดโฉมตามถนน ขณะที่ผู้หญิงเองจะอยู่บนดาดฟ้าของบ้าน ซึ่งบ้านส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐเปลือย ชั้นเดียวเป็นส่วนใหญ่ ดาดฟ้าเปิดโล่ง เป็นสถานที่แอบมองชายหนุ่ม เมื่อถูกตาต้องใจหนุ่มคนไหนก็จะกระซิบบอกพ่อให้ไปสืบประวัติ แล้วค่อยสู่ขอเป็นเรื่องเป็นราวกันต่อไป

พระมหา ดร.ปรีชา กตปุญโญ (มหาน้อย) พระธรรมวิทยากร สายพุทธภูมิ เล่าถึงการดำรงชีพของชาวอินเดียว่า ในอินเดียจะไม่มีโรงเรียนอาชีวะ เพราะถือกันว่าพ่อแม่คือครูบาอาจารย์ ลูกจะสืบทอดอาชีพของพ่อแม่ แม้กระทั่งอาชีพขอทาน


Image
ลุมพินีวัน เขตประเทศเนปาล สถานที่ประสูติ
อาคารสีแดงคือมายาเทวีวิหาร ด้านข้างคือเสาอโศก ด้านหน้าเป็นสระโบกขรณี



ซึ่งตามสังเวชนียสถานส่วนใหญ่จะมากมายด้วยเด็กที่จะเดินตาม ร้องเรียก “อาจารย์ๆ” เพื่อขอสตางค์ นั่นก็เพราะคนไทยที่ใจอ่อนให้เงินเป็นประจำ ทำให้เด็กๆ เหล่านี้มีอาชีพเสริมคือ การขอเงินตามสังเวชนียสถาน

อย่างที่ ลุมพินี ซึ่งอยู่ในเขตประเทศเนปาลนั้น เมื่อก่อนเด็กเหล่านี้จะเดินตามผู้มาแสวงบุญ ท่องบทอาราธนาศีล “มยังภันเต” คนไทยได้ยินแล้วเอ็นดูว่าเด็กสวดมนต์ได้ก็ให้เงิน ๑๐ รูปี หลังๆ เด็กก็เลยเริ่มหัดท่องบท “พาหุง” เพื่อใช้แลกรูปีจากนักท่องเที่ยว


Image
ธัมเมกขสถูป เมืองสารนาถ ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
และนำโกณฑัญญให้เห็นธรรม อุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา



“ถ้าดูวิถีการดำรงชีพของคนอินเดียจะเห็นว่าคนอินเดียถือศีลห้าเคร่งยิ่งกว่าคนไทย เราจะเห็นว่าที่นี่จะยังมี “นิลกาย” หรือกวางป่าอยู่ทั่วไปตามท้องทุ่ง คนอินเดียก็จะไม่ตีไม่ทำร้าย เพราะนิลกายกินหญ้า ไม่ใช่ข้าวที่เขาปลูก

ในอินเดียไม่มีขโมย ถ้าอยากได้อะไรก็จะใช้การขอกัน

ยิ่งศีลข้อ 3 ยิ่งเคร่งใหญ่ จะสังเกตว่าเด็กๆ ที่เดินกลับจากโรงเรียน เด็กผู้หญิงจะไม่เดินกับเด็กผู้ชาย และหนุ่มๆ ก็จะไม่เดินกับหญิงสาว เพราะหญิงคนไหนที่เดินกับผู้ชาย จะไม่มีหนุ่มคนไหนยอมแต่งงานด้วย ซึ่งผลคือหญิงคนนั้นจะถูกประณามว่าเป็นหญิงไม่ดี และถือเป็นบาปกรรมของหนุ่มคนนั้นที่ทำให้ฝ่ายหญิงหาสามีไม่ได้ หรืออย่างการโกหก คนอินเดียที่โกหกก็จะไม่โกหกในเรื่องที่ร้ายแรง ส่วนเรื่องเมรัยนั้นเขาก็ไม่ดื่มกันอยู่แล้ว”

จาก “เมืองพาราณสี (Varanasi)” ต้องนั่งรถข้ามชายแดนเพื่อไปสักการะสถานที่ประสูติที่เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล บรรยากาศบริเวณชายแดนอินเดีย-เนปาลคึกคักไปด้วยการค้าขาย คับคั่งด้วยผู้คนที่สัญจรไปมาตลอดวัน แม้รถราจะติดขัดขนาดหนักชนิดที่ว่าบนถนนเลนเดียวกัน แต่เราจะได้เห็นรถบัส ๒ คัน มาประจัญหน้ากัน สองข้างถนนมีรถอีก ๒ เลน รวมทั้งรถสามล้อรับจ้าง รถจักรยานขนของที่จ่อคิวรอข้ามไปอีกฝั่งถนน


Image
ทางไปต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร) ที่นางสุชาดา
ถวายข้าวมธุปายาสกับพระบรมศาสดา ผ่านทุ่งข้าวสาลี



.....ติดอยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมงๆ เพราะรถแต่ละฝ่ายต้องค่อยๆ ขยับถอยให้แก่กัน...ถ้าเป็นบ้านเรา ไม่อยากจะนึก ที่สุดการจราจรก็ไหลไปได้ตามปกติ โดยไม่เกิดเหตุรุนแรง อย่างว่า คนเราถ้ามีขันติ รู้จักการให้อภัย อะไรๆ ก็เป็นเรื่องเล็ก

ส่วนใครที่มีศรัทธาแรงกล้า แต่กำลังทรัพย์ไม่ถึง ไม่ต้องเสียใจ เพราะพระท่านบอกว่า แค่รักษาศีลห้าอย่างบริสุทธิ์ให้ได้ ก็ได้ขึ้นสวรรค์.....เหมือนกัน

หรือไปสนามหลวงก่อนก็ได้ อาทิตย์นี้วันสุดท้ายของสัปดาห์อาสาฬบูชาพอดี ที่มีการจำลองสังเวชนีสถานมาให้สักการะถึงที่


Image
น้อมสักการะต้นโพธิ์ ข้างแท่นวัชรอาสน์
รัตนบัลลังก์ที่พระพุทธองค์ประทับตรัสรู้ ที่พุทธคยา



หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 23
คอลัมน์ บันทึกเดินทาง โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10732
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง