Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ดวงตาเห็นธรรม ๑ (หลวงพ่อชา สุภัทโท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2007, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดวงตาเห็นธรรม ๑
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

บรรยายที่วัดหนองป่าพง ให้แก่ที่ประชุมพระภิกษุสามเณร
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑


พวกเราบางองค์ที่มาอาศัยการปฏิบัตินั้น อยู่ไปตั้งปีสองปีก็ ยังไม่รู้เรื่องกันเลยก็มี ไม่รู้เรื่องว่าเขาทำอะไรกัน เพราะความเข้าใจ ความตั้งใจจดจ่อไม่มี ความจริงการเป็นผู้ปฏิบัติใจเรานั้น เมื่อเราดูใจ เราเมื่อใด ก็ให้มีสติจ้องอยู่อย่างนั้น เมื่อมีสติ มันก็มีปัญญามองเห็น ว่า ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นใครพูดอะไรก็ ตาม มันล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะทั้งนั้น ถ้าเรารู้จักนำมาคิด ธรรมะทั้งหลายคือธรรมชาติ ที่มันเป็นอยู่ของมัน มันล้วนแต่ เป็นธรรมะทั้งหมด ทีนี้เมื่อเราไม่รู้ข้อปฏิบัติ ไม่รู้ว่าสิ่งทั้งหลายคือ ธรรมะ เราจึงอาศัยแต่การอบรมจากครูบาอาจารย์ แต่ความจริงแล้ว เราควรพิจารณาสภาวะธรรมชาติรอบตัวทุกอย่าง

อย่างต้นไม้อย่างนี้ ธรรมชาติของมันก็เกิดขึ้นมาจากเมล็ด ของมัน แล้วมันก็โตขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเราพิจารณาเราก็จะได้ธรรมะจาก ต้นไม้ แต่เราไม่สามารถเข้าใจว่าต้นไม้ก็ให้ธรรมะได้ เมื่อมันใหญ่ขึ้น มา ใหญ่ขึ้นมา จนเป็นดอก จนมันออกเป็นผล เราก็รู้เพียงว่าต้นไม้ มันเป็นดอก มันออกผลมา แต่ไม่รู้จักน้อมเข้ามาเป็นโอปนยิโก คือ น้อมเข้ามาในใจของเรา เลยไม่รู้ว่าต้นไม้ก็เทศน์ให้เราฟังได้ พวกเราไม่พากันรู้จักต้นไม้นั้น มันเกิดเป็นผลขึ้นมาให้เราได้ เคี้ยว ได้ฉัน ได้กินตามธรรมชาติมัน เราก็กินไปเฉยๆ กินด้วยการไม่ พิจารณารสเปรี้ยว รสหวาน รสมัน รสเค็ม เรียกว่าไม่รู้จักพิจารณา ธรรมะจากต้นไม้ จากธรรมชาติ เราไม่พากันเข้าใจถึงธรรมชาติของ มัน

เมื่อต้นไม้มันแก่ขึ้น ใบของมันก็ร่วงลง เราก็เห็นเพียงว่าใบไม้ นั้นมันร่วงลง แล้วเราก็เหยียบไป กวาดไปเท่านั้น การจะพิจารณาให้ คืบคลานไปอีกก็ไม่มี อันนี้ก็คือไม่รู้จักว่าธรรมชาตินั้นคือธรรมะ พอ ใบร่วงแล้ว ทีนี้ก็จะมียอดเล็กๆโผล่ขึ้นมา เราก็เห็นเพียงแค่ว่ามันโผล่ ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาอย่างอื่นอีก นี่ก็ไม่เป็นโอปนยิโก คือไม่ น้อมเข้ามาหาในตน นี่เป็นเช่นนั้น

ถ้าน้อมเข้ามาหา เราจะเห็นว่าความเกิดของเรากับต้นไม้ก็ไม่ แปลกอะไรกันเลย สกลร่างกายของเราเกิดขึ้นมาด้วยเหตุด้วยปัจจัย ของมัน อาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน มันก็ เหมือนกันกับเรา มันก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเราก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกสิ่งทุกส่วนของมันก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ มันเปลี่ยนสภาวะของมันไป เรื่อยๆ เหมือนกันกับต้นไม้ ถ้าเราน้อมเข้ามาดูแล้วจะเห็นว่าต้นไม้ เป็นอย่างไร เราก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

มองให้เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวง
มนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น แล้ว ท่ามกลางก็แปรเปลี่ยนไป ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันแปรไป (หมาย เหตุ 1) มันไม่อยู่เหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่รู้จักต้นไม้ เครือเขา เถาวัลย์เหล่านั้น ก็เหมือนกับเราไม่รู้จักตัวของเรา ถ้าเราน้อมเข้ามา เป็นโอปนยิกธรรม จึงจะรู้จักว่า ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์นั้น ก็เหมือน กับเรา คนเราเกิดมา ผลที่สุดแล้วก็ตายไป คนใหม่ก็เกิดมาต่อไป อย่างผม ขน เล็บ ของเราเกิดมาก็แปรไป ผม ขน เล็บ หลุดร่วงไปก็ งอกขึ้นมาใหม่ สลับเปลี่ยนกันไปอย่างนี้ไม่หยุดสักที ความเป็นจริง นั้น ถ้าหากเราเข้าใจในข้อปฏิบัติ ก็จะเห็นว่าต้นไม้ก็ไม่แปลกไปจาก เรา จะเห็นของสะอาด ของสกปรก ก็ไม่แปลกไปจากเรา เพราะมัน เป็นอย่างเดียวกัน

ถ้าเราเข้าใจธรรมะ เข้าใจฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์ มัน เปรียบเหมือนกับ ที่ข้างใน กับข้างนอก สังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครองนี่มันก็ เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไรกัน ถ้าเราเข้าใจว่ามันเหมือนกันแล้ว เรา เห็นต้นไม้ว่าเป็นอย่างไร เราก็จะเห็นขันธ์ของเรา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก้อนสกลร่างกายของเรานี้ก็เช่นกัน มันก็ไม่ได้แปลก อะไรกัน ถ้าเรามีความเข้าใจเช่นนี้ เราก็จะเห็นธรรม เห็นอาการของ ขันธ์ห้าของเรา ว่ามันเคลื่อน มันไหว มันพลิกแพลง มันเปลี่ยนมัน แปลงไปไม่มีหยุด

ทีนี้ไม่ว่าเราจะยืน จะเดิน หรือนั่ง หรือนอน ใจของเราก็จะมี สติคุ้มครองระวังรักษาอยู่เสมอ เมื่อเห็นของภายนอกก็เห็นของภาย ใน ถ้าเห็นของภายในก็เห็นของภายนอก เพราะมันเหมือนกัน ถ้าหาก ว่าเราเข้าใจอย่างนี้ เราก็ได้ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าเข้าใจ อย่างนี้ก็เรียกว่า พุทธภาวะ คือผู้รู้เกิดขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นมาแล้วมันรู้ อาการภายนอก รู้อาการภายใน รู้ธรรมทั้งหลายต่างๆที่มันเป็นมา ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ แม้เรานั่งอยู่ใต้ร่มไม้ก็เหมือนกับพระ พุทธเจ้าท่านเสด็จมาโปรดเรา เราได้ฟังเทศน์ของพระพุทธองค์อยู่ เสมอ เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ได้ฟัง เราจะได้เห็นรูป ฟัง เสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันนี้เราก็ได้ฟังเทศน์อยู่ เสมอ เหมือนกับพระพุทธเจ้าเทศน์ให้เราฟัง พระพุทธเจ้าก็คือ ผู้รู้ อยู่ ในใจของเรานี่แหละ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว เห็นธรรมเหล่านี้แล้ว ก็ พิจารณาธรรมอันนี้ได้ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าท่านนิพพานไปแล้วท่าน จะมาเทศน์ให้เราฟัง

พุทธภาวะ คือตัวผู้รู้ คือดวงจิตของเรานี้เกิดรู้ เกิดสว่างมา แล้ว ตัวนี้แหละจะพาเราพิจารณาธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมก็คือ พระพุทธเจ้าองค์นี้แหละ ถ้าตั้งพุทธะเอาไว้ในใจของเรา คือความรู้สึก มันมีอยู่อย่างนี้ เราเห็นมดเราก็พิจารณาไป มันก็ไม่แปลกจากเรา เห็นสัตว์ก็ไม่แปลกจากเรา เห็นต้นไม้ก็ไม่แปลก เห็นคนทุกข์คนจนก็ ไม่แปลกกัน เห็นคนร่ำรวยก็ไม่แปลกกัน เห็นคนดำคนขาวก็ไม่แปลก กัน เพราะสิ่งเหล่านี้มันตกอยู่ในสามัญลักษณะอันเดียวกัน คือ ลักษณะอันเดียวกัน

ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ก็เรียกว่า ผู้นั้นอยู่ที่ไหนก็สบาย จะได้มี พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดเสมอเลยทีเดียว ถ้าผู้ไม่เข้าใจอย่างนี้ ไม่เข้า ใจในเรื่องนี้ ก็นึกอยากจะฟังเทศน์กับอาจารย์อยู่เรื่อยไป เลยไม่รู้จัก ธรรมะ

ที่พระบรมศาสดาของเรา ท่านว่าตรัสรู้ธรรมนั้น ก็คือรู้ธรรม ชาติเหล่านี้แหละ ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักธรรม ชาติธรรมดาอันนี้ พอเราเห็นเข้า เราก็กระตือรือร้น ตื่นเต้น มีความร่า เริงจนหลงอารมณ์ จึงมีโศกเศร้าเสียใจเพราะหลงอารมณ์ หลงธรรม ชาติเหล่านี้แหละ เมื่อมัวหลงธรรมชาติอันนี้ มันก็คือไม่รู้จักธรรมะนั่น เอง


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2007, 2:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงชี้ธรรม คือ ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา (หมายเหตุ 2) ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เกิดมา แล้วก็ เปลี่ยนไปแปรไป แล้วดับไป เป็นธรรมดา จะเป็นตัวว่าสุขก็เหมือนกัน (หมายเหตุ 3) จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็ เหมือนกัน อย่างวัตถุที่เราปั้นขึ้น เช่นถ้วย หม้อต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อถูกปั้นขึ้นมา ก็เกิดจากเหตุจากปัจจัย คือความปรุงแต่งของเรา ขึ้นมาอีกทีหนึ่งเช่นกัน ครั้นได้ใช้ไป มันก็เก่าไป แตกสลายไป มลาย ไปได้ เพราะเป็นธรรมดาของมัน ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ต่างๆ ก็เหมือน กัน ตลอดจนมนุษย์สัตว์เดียรฉานก็เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นเป็น เบื้องต้น มีความแปรไปเป็นธรรมดาเช่นนั้น

เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะท่านฟังเทศน์เป็นปฐมสาวกนั้น ท่านไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย ท่านเข้าใจว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิด ขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไปเป็นธรรมดา แล้วผลที่สุดก็มีความ ดับเป็นธรรมดาของมัน

เมื่อก่อนนี้พระอัญญาโกณฑัญญะนั้น ไม่เคยได้มีความนึก หรือความคิดอย่างนี้เลย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่เคยพิจารณาให้แจ่ม แจ้งเลยสักครั้ง ฉะนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะจึงไม่ได้ปล่อย หรือไม่ ได้วาง คือมีอุปาทานในขันธ์ทั้งห้านี้อยู่ ต่อมาเมื่อได้มาฟังเทศน์ของ พระบรมศาสดาของเรา ขณะที่ฟังมีพุทธภาวะเกิดขึ้น (หมายเหตุ 4) ได้มองเห็นธรรมว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่แน่นอน มันเป็น ธรรมชาติหรือธรรมดานี่เอง ท่านจึงบอกได้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไป แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ดับไปเป็น ธรรมดา (หมายเหตุ 5) ธรรมชาติอันนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้เสมอ ความเห็นของพระอัญญาโกณฑัญญะในขณะที่ฟังนั้น เป็น ความรู้สึกแปลก แปลกจากในอดีตหรือในกาลก่อนที่ได้เคยพิจารณา อันนี้รู้เท่าถึงดวงจิตจริงๆ เป็นได้ว่า พุทธะคือผู้รู้เกิดขึ้นมาในเวลานั้น สมเด็จพระศาสดาท่านทรงเรียกว่า พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตา เห็นธรรมแล้ว

ดวงตาเห็นธรรม
ดวงตาเห็นธรรมนั้นคือดวงตาเห็นอะไร คือดวงตาเห็นสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นเบื้องต้น ความแปรไปเป็นท่ามกลาง ความ ดับเป็นที่สุด สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือ ทั้งหมด จะเป็นรูปก็ช่าง จะเป็นนามก็ ตาม สิ่งใดสิ่งหนึ่งครอบรวมเลยทีเดียวได้แก่ ธรรมชาติทั้งหมด เป็น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นรูปธรรมก็ช่าง จะเป็นนามธรรมก็ตาม เกิดขึ้น แล้วก็แปรดับไป อย่างตัวสกลร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเกิดแล้ว ก็แปรไปตามธรรมดาของมัน แล้วมันก็ดับไป

อย่างคนเราเกิดมาเป็นเด็ก จากเด็กแปรมาหนุ่ม จากหนุ่มก็ แปรไปเป็นแก่ จากแก่แปรไปเป็นชรา จากชราแล้วก็ตายดับไป (หมายเหตุ 6) ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ ก็เหมือนกัน มันแปรไปแล้วก็แก่ ไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นหรือความเข้าใจ อันเกิดมาจากผู้รู้ในคราวที่นั่งฟัง ธรรมอยู่นั้น เข้าไปถึงใจอย่างแจ่มแจ้ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ก็เลยเข้าฝัง ในดวงจิตของพระอัญญาโกณฑัญญะ จนเป็นเหตุให้ถอนตัวอุปธิ หรืออุปาทาน ออกจากสังขารทั้งหลายทั้งปวงนั้นได้ เป็นต้นว่า สัก กายทิฐิ คืออาการที่ไม่ถือเนื้อถือตัว ทั้งหลายนี้เห็นตามสกลร่างกาย ของเราแล้ว ก็ไม่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา เห็นชัดลงไป

จนเป็น เหตุให้ถอนจากอุปาทานนั้น ไม่ถือตัว ซึ่งเป็นสักกายทิฐิ และไม่มี วิจิกิจฉา เมื่อถอนอุปาทานออกมาจากความยึดมั่น ถือมั่นแล้ว ก็มิได้สงสัยเลยในธรรมทั้งหลาย หรือในความรู้ทั้งหลาย เข้าไปเห็นธรรมทั้งหลายเหล่านี้ แล้วก็เปลี่ยนออกไปเลยทีเดียว รู้ว่านี่ วิจิกิจฉา นี่สีลัพพตปรามาส การปฏิบัติของท่านนั้นแน่แน่วตรงเข้าไป ไม่ได้เคลือบแคลงสงสัย ไม่ได้ลูบหรือไม่ได้คลำ ถึงแม้ว่าสกลร่างกาย มันจะเจ็บ มันจะไข้เป็นไปอย่างใด ท่านก็ไม่ลูบไม่คลำมัน ไม่ได้สงสัย เสียแล้ว การที่ไม่ได้สงสัยนี้ ก็คือถอนอุปาทานออกมาแล้ว ถ้ามี อุปาทานอยู่ก็ต้องไปลูบไปคลำในสกลร่างกายนี้ อาการลูบคลำใน สกลร่างกายนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส

เมื่อถอนสักกายทิฐิออกจากกายนี้ สีลัพพตปรามาสก็หมดไป วิจิกิจฉาก็ไม่มี ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็ไม่มี สีลัพพตปรามาสก็ไม่มี ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็ เลิก สีลัพพตปรามาสก็เลิก ถ้ายังมีสักกายทิฐิอยู่ วิจิกิจฉาก็ยังอยู่ สีลัพพตปรามาสก็ยังอยู่ อุปาทานก็ยังอยู่ (หมายเหตุ 7) (หมายเหตุ สักกายทิฐิ คือ ความไม่ถือตัว วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยลังเล สีลัพพตปรามาส คือ อาการที่ไปลูบคลำในร่างกาย)

เมื่อดวงตาเห็นธรรมก็หลุดพ้นจากอุปาทาน อันนี้แสดงว่าธรรมะที่สมเด็จพระบรมศาสดาของเรา ท่าน แสดงในคราวนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ดวงตานั้นก็คือผู้รู้แจ้งนั่นเอง เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม คือเห็นธรรม หรือธรรมดาอันนี้เอง เมื่อเห็นชัดลงไปอย่างนี้ก็ถอนอุปาทานได้ ฉะนั้นการถอนอุปาทานได้นี้ (หมายเหตุ 8) จึงรู้สึกว่ามันเกิด ผู้รู้ขึ้นมาจริงๆ เมื่อก่อนก็รู้อยู่เหมือนกันแต่มันถอนอุปาทานไม่ได้ นั่น เรียกว่าผู้รู้ธรรมอยู่แต่ไม่เห็นธรรม เห็นธรรมอยู่แต่ไม่เป็นธรรม เพราะ ไม่รู้ตามสภาวะของมัน ฉะนั้นพระบรมศาสดาท่านจึงตรัส “อัญญาสิ อัญญาสิวตโภ โกณทัญโญ ได้รู้แล้วหนอ รู้แล้วหนอ” รู้อะไรละ ท่านรู้ อะไร ก็คือได้รู้ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี่เอง

เราทั้งหลายมักหลงธรรมชาติ อย่างสกลร่างกายนี้ กายของ เรานี้ประกอบขึ้นด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม มันก็เป็นธรรมชาติ ที่เรียกว่า วัตถุที่มองเห็นด้วยตา มันอยู่ด้วยอาหารเจริญมา เจริญมา เจริญขึ้น มา แล้วก็แปรไป ถึงที่สุดมันก็ดับไปเช่นกัน

วิญญาณ จิต ผู้รู้ ผู้คุ้มครองภายใน ส่วนข้างในนั้น ผู้คุ้มครองอยู่ซึ่งกายนี้ ก็คือ วิญญาณ ผู้รู้ นี้ แหละ ผู้รู้ผู้เดียวนี้แหละ ถ้าไปรับทางตาก็เป็นจักษุวิญญาณ ถ้าไปรับ ทางหูก็เรียกโสตวิญญาณ ถ้าไปรับทางจมูกก็เรียกฆานะวิญญาณ ไป รับทางลิ้นก็เรียกชิวหาวิญญาณ ไปรับทางกายก็เรียกกายวิญญาณ รับทางจิตก็เรียกมโนวิญญาณ

ตัววิญญาณนี้ตัวเดียว เกิดขึ้นที่ไหนก็เรียกว่าผู้รู้ทั้งนั้น ไปรู้ ทางตา ก็เรียกไปอย่างหนึ่ง ไปรู้ทางหู จมูก ก็เรียกไปอย่างหนึ่ง รู้ที่ตา รู้ที่หู รู้ที่จมูก รู้ที่ลิ้น รู้ที่กาย รู้ที่จิต มันก็ตัวผู้รู้อันเดียวนี้แหละ ผู้รู้อัน เดียวนี้ไม่ใช่ผู้อื่น ตัวผู้รู้อันเดียวนี้เรียกว่าวิญญาณ ก็วิญญาณหก อย่างนี้แหละ ชื่อมันว่าหกเฉยๆ คือมันไปรู้อยู่ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง รู้ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต อย่างนี้แหละ ไปรู้ที่ตาบ้าง รู้ที่หูบ้าง รู้ที่จมูกบ้าง ที่ลิ้นบ้าง ที่กายบ้าง ที่จิตบ้าง เขาจึงเรียกว่าหก

ความจริงมันไม่มีหกหรอก มันไปรู้ในช่องทั้งหกเท่านั้นแหละ เพราะช่องทั้งหกมันเป็นประตูผ่านเข้ามาสู่ผู้รู้อันเดียว ผู้รู้เดียว สามารถจะรู้ทั่วถึงในทวารทั้งหกอย่างนี้ เราจึงเรียกว่าวิญญาณหก วิญญาณหกนี่แยกออกโดยปริยัติ ความเป็นจริงมีผู้รู้ผู้เดียว เท่านั้น รู้ทางตาก็ว่าอย่างหนึ่ง รู้ทางหูก็ว่าอย่างหนึ่ง รู้ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ว่าอย่างหนึ่ง ความเป็นจริงก็คือคนเดียวนี้เอง แหละ วิญญาณคือผู้รู้ผู้เดียว คือดวงจิตของเรา ผู้รู้นี้แหละจะเป็นเหตุ ให้มีอำนาจสามารถรู้สภาวะหรือธรรมชาติตามเป็นจริง

ถ้าตัวนี้ยังมีเครื่องปกปิดอยู่เมื่อใด ความรู้อันนี้ท่านเรียกว่า โมหธรรม คือรู้ไปในทางที่ผิด รู้ผิด เห็นผิด ก็ตัววิญญาณตัวเดียวนี้ แหละ ผู้รู้ตัวเดียวนี้เองไม่มีตัวอื่นอีก รู้ผิดเห็นผิด รู้ถูกเห็นถูก ก็ตัว เดียวนี้เอง เพราะเช่นนี้ท่านจึงว่าเป็นมิจฉาทิฐิ สัมมาทิฐิ ไม่มีสองตัว มีตัวเดียว ผิดก็เกิดขึ้นจากตัวเดียว ถูกก็เกิดขึ้นจากตัวเดียว

เมื่อโมหะเกิดในทางที่ผิด ก็เรียกว่าโมหะมันกำบัง ความรู้อัน นี้มันก็ผิดไป เมื่อความรู้ผิด มันก็มีความเห็นผิด ดำริผิด การงานผิด เลี้ยงชีวิตผิด ผิดไปหมด เป็นมิจฉาทิฐิ อันนี้ท่านจึงว่าองค์ของมรรคก็ เหมือนกัน สัมมาทิฐิคือความเห็นชอบ ความเห็นชอบก็เกิดจากผู้รู้ เดียว ถ้ามันชอบแล้ว ความไม่ชอบมันก็หายไป ถ้ามันถูกแล้ว ความ ผิดมันก็หายไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2007, 2:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฉะนั้นสมเด็จพระบรมศาสดา ท่านประพฤติหรือปฏิบัติอยู่นั้น ทรงทรมานสกลร่างกายของท่านด้วยเรื่องอาหารบริโภคต่างๆ จนร่าง กายท่านซูบผอมลงไป อย่างที่เราเรียนมาฟังมา แล้วท่านก็พิจารณา เข้าไป พิจารณาเข้าไป เข้าไป เข้าไป แล้วก็ถอนออกมา ได้ความรู้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ตรัสรู้ทางจิต เพราะกายนี้มันไม่รู้จักอะไร กาย นี้จะให้มันกินก็ได้ จะไม่ให้มันกินก็ได้ ฆ่ามันทิ้งเมื่อไรก็ได้ กายนี้ฆ่า ทิ้งได้ เมื่อท่านได้ความรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญทางจิต ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่ที่จิต เมื่อท่านมาพิจารณาถึง จิตของท่าน ท่านก็ได้ออกจากการปฏิบัติทรมานกาย

เมื่อท่านแสดงธรรม เรื่องกามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุ โยโค ท่านจึงแสดงขึ้นอย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว เพราะท่านได้เห็นแล้ว ธรรมเทศนาอันนี้มันจึงชัดในใจของพวกคนทั้งหลาย

สุขทุกข์คือทางเดินสายโลก
กามสุขัลลิกานุโยโคนั้น คือใจของเรามันลุ่มหลงอยู่ในความ สุข ลุ่มหลงอยู่ในความสบาย ลุ่มหลงอยู่ในความดีใจ ลุ่มหลงว่าเราดี ว่าเราเลิศ เราประเสริฐ อาศัยอยู่ในความสุขนี้ อันนี้ก็ไม่ใช่หนทางที่ บรรพชิตจะพึงเดินเข้าไป เพราะมันเป็นกามสุขัลลิกานุโยโค อาการที่ไม่พอใจ อาการที่เป็นทุกข์ใจ อาการที่ไม่ชอบใจ อาการที่กริ้วที่โกรธ อันนี้ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยโค ไม่ได้เกิดประโยชน์ อะไร ธรรมสองอย่างนั้น ท่านจึงว่าไม่ใช่ทางของบรรพชิตจะพึงเดิน คำว่าหนทางนั้น ก็คืออาการที่มันดีใจหรือเสียใจ ที่เกิดขึ้นมา คำว่าผู้เดินทางนั้น ก็คือตัวผู้รู้ของเรานั่นแหละ ไม่ควรเดินไปในอาการ ที่มันดีใจ หรือเสียใจนั้น ผู้เดินทางของเราก็คือตัวจิตนี้เอง ทาง นั้น เรียกว่าอาการ ผู้เดินทาง ก็คือดวงจิต

ถ้าดีใจก็ไปยึดเอาความดีใจเอาไว้ด้วย นี่เป็นกามสุขัลลิกานุ โยโค ถ้าหากว่าอารมณ์ที่ไม่ดี ไม่ชอบใจ เราก็เข้าไปยึดหมาย อุปาทานว่าไม่ดีใจ ไม่ชอบใจ นี่ก็เรียกว่า ใจมันเข้าไปเดินในทาง อัน นี้เป็นอัตตกิลมถานุโยโค นี่ก็ไม่ดี

ข้างนี้ก็สุข ข้างนี้ก็ทุกข์ ท่านจึงว่า กามสุขัลลิกานุโยโค และ อัตตกิลมถานุโยโค ทางสองอย่างนี้ไม่ใช่ทางของสมณะ เป็นธรรมของ ชาวบ้าน ชาวบ้านเขาหาสิ่งที่เป็นสุขสนุกสนาน อันเกิดทุกข์ไม่สบาย เขาไม่ชอบ ฉะนั้นพวกชาวมนุษย์โลกทั้งหลายจึงไปอาศัยความสุข และทุกข์ สับเปลี่ยนกันอยู่อย่างนั้น ความสุขหรือทุกข์นั้นแหละคือ ทางเดินสายโลกละ มันมีสุขแล้วก็มีทุกข์ มีทุกข์แล้วก็มีสุข ของเหล่านี้ เป็นของไม่แน่นอน ปะปนกันไปอยู่ตลอดจนปลายทาง

ผู้รู้ผู้สงบ
ฉะนั้น มันจึงเป็นธรรมของบุคคลที่ลุ่มหลงอยู่ในโลกที่ไม่สงบ (หมายเหตุ 9) ผู้สงบนั้นท่านไม่เดินทางนั้น แต่ว่าทางนั้นท่านก็เห็น อาการที่สุขท่านก็เห็น อาการที่ทุกข์ท่านก็เห็น แต่ท่านไม่มีอุปาทาน ยึดแน่นแน่กับมัน ไม่เอาจริงจังกับมัน ท่านไม่เดินแต่ท่านรู้ รู้หนทาง ของมัน

อาการใดที่ไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา นั่นก็เป็นหนทาง ท่านก็เห็น เหมือนกัน แต่ท่านไม่เดินตามมันไป ท่านไม่มั่นหมาย ไม่มีอุปาทาน กับมัน ท่านก็เห็นทางเหมือนกัน แต่ว่าท่านไม่เดิน นี่เรียกว่าท่านผู้ เห็นทาง ผู้สงบแล้วก็เห็นทางที่ไม่สงบ จึงเป็นผู้สงบอยู่ได้ ทางที่เป็น สุขหรือ ทางที่เสียใจ ทางที่ดีใจ ล้วนแต่เป็นทางที่ผิดทั้งนั้น ท่านผู้รู้ทั้ง หลายท่านก็รู้จัก รู้อยู่ มันเกิดกับท่านอยู่เหมือนกัน แต่ท่านไม่เอาจริง เอาจังกับมัน ปล่อยมันไป วางมันไป ละมันไป

ท่านผู้สงบแล้วคือสงบจากอะไร สงบจากความดี สงบจาก ความเสียใจ สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์ สุขทุกข์นั้นไม่มี หรือ มีอยู่ แต่ไม่มีในใจ ก่อนจะมีในใจนั้น ใจก็เป็นผู้รู้เสียแล้ว เป็นผู้รู้ จักชอบเสียแล้ว รู้ดีเสียแล้ว อาการสุขก็เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้หมายถึง สุข อาการทุกข์ก็เกิดขึ้นที่นั่น แต่ก็ไม่ได้หมายถึงทุกข์ นั่นถ้ารู้อย่างนี้ก็ เรียกว่ามีความเห็นชอบ

นี่ถ้าท่านไม่ยึดไม่หมาย ท่านก็ปล่อยความสุขความทุกข์เป็น ธรรมชาติ ธรรมชาติหรือธรรมดามันเป็นเช่นนั้น ถ้าเรารู้เท่าแล้ว สุข หรือทุกข์มันก็เป็นโมฆะ ไม่มีความหมายกับใคร ไม่มีความหมายกับ จิตของพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าไปถึงแล้ว มันมีอยู่ แต่ไม่มีความ หมาย ท่านรับทราบไว้เฉยๆ รับทราบไว้ว่าสุขหรือทุกข์ ร้อนหรือเย็น ท่านรับทราบอยู่ ไม่ใช่ว่าท่านไม่รับทราบ

การเป็นอยู่เหนือโลก
สมเด็จพระบรมศาสดาท่านจึงตรัสว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย นั้นไกลกิเลส ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าท่านจะไปไกลไปไหน ไม่ใช่ว่าท่าน จะหนีไปจากกิเลส ไม่ใช่ว่ากิเลสจะหนีไปจากท่าน มันมีอยู่อย่างนั้น แหละ มีอยู่อย่างนั้น ท่านจึงเปรียบเสมือนกับ น้ำกับใบบัว ใบบัวก็อยู่ ในน้ำ น้ำก็อยู่กับใบบัว ถึงแม้ใบบัวกับน้ำจะอยู่ด้วยกันก็จริง เมื่อน้ำ กระเด็นขึ้นมาบนใบบัว น้ำก็กลิ้งถูกันอยู่เหมือนกัน แต่น้ำไม่สามารถ ซึมซาบเข้าไปในใบบัวได้

กิเลสทั้งหลายก็เปรียบเสมือนน้ำ จิตของผู้ประพฤติปฏิบัติก็ คือใบบัว ถูกกันอยู่ไม่หนีไปไหน แต่ว่าไม่ซึมซาบเข้าไป จิตของพระ โยคาวจรเจ้า ผู้ปฏิบัติก็เหมือนกัน ไม่ได้หนีไปไหน อยู่ที่นั่นแหละ ความดีมาก็รู้ ความชั่วมาก็รู้ ความสุขมาก็รู้ ความทุกข์มาก็รู้ ความ ชอบมาก็รู้ ความไม่ชอบมาก็รู้ รู้หมด รู้หมดอยู่ที่นั่น แต่ว่าท่านรับ ทราบไว้เฉยๆ มันไม่ได้เข้าไปในจิตของท่าน เรียกว่าไม่มีอุปาทาน เป็นผู้รับทราบไว้เรื่อยๆๆๆไป

อาการที่ท่านรับทราบไว้นั้น ก็อย่างที่ภาษาเราว่า รับทราบไว้ วางใจเป็นกลางๆ วางใจเป็นกลาง ตามภาษาสามัญว่ารับทราบไว้ คือไม่ไปแตะไปต้อง รับทราบไว้เฉยๆ อาการเช่นนี้เหล่านี้มีอยู่ตลอด กาลตลอดเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ในโลก มันมีโลก พระพุทธ เจ้าท่านก็ตรัสรู้อยู่ในโลก ท่านเอาอาการของโลกนี้ไปพิจารณา ถ้า ท่านไม่พิจารณาก็ไม่เห็นโลก ท่านก็จะอยู่เหนือโลกไม่ได้

ฉะนั้น องค์พระบรมครูของเรา ตรัสรู้ก็ด้วยเอาเรื่องของโลกนี้ แหละมารู้เท่าโลกนี่เอง โลกก็ยังมีอยู่อย่างนั้น ลาภก็มี เสื่อมลาภก็มี ยศก็มี เสื่อมยศก็มี สรรเสริญก็มี สุขก็มี ทุกข์ก็มี นินทาก็มี (หมาย เหตุ 10) ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีอะไรจะตรัสรู้

เมื่อท่านตรัสรู้ตามเป็นจริงแล้ว คือรู้โลกนี้ โลกธรรม ธรรมอัน ครอบงำสัตว์โลกอยู่ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรม ครอบหัวใจสัตว์ ครอบหัวใจคน มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา เป็นของโลก

ถ้าหากว่าใจมนุษย์ทั้งหลายเป็นไปตามอำนาจ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ เป็นไปตามอำนาจของมัน นั่นแหละคือโลก ท่าน จึงเรียกว่า โลกธรรม โลกธรรมเป็นธรรมอันหนึ่ง ทำให้มองไม่เห็นทาง มรรคแปดที่จะเดินไปหาทางพ้นทุกข์นั้น มีแต่โลกท่วมหัวอยู่นี่ ชื่อว่า สัตว์โลกเป็นไปตามธรรม ธรรมนั้นมันให้สัตว์เป็นโลก โลกก็เดินไป ตามธรรมนั้น มันจึงเป็นโลกธรรม ผู้อยู่ในโลกธรรมคือเป็นสัตว์โลก วุ่นวายอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา

ฉะนั้นในการประพฤติหรือปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงสอนว่า ให้เจริญมรรคคือตัวปัญญา รวมแล้วคือ ปฏิบัติศีลให้ มันยิ่ง สมาธิให้มันยิ่ง ปัญญาให้มันยิ่ง นี่คือเครื่องทำลายโลก นี่ หนทางเดินเข้าไปทำลายโลก โลกมันอยู่ที่ไหนล่ะทีนี้ โลกมันอยู่ที่ใจ ของสัตว์ที่ลุ่มหลงนั่นแหละ อาการที่มันติดลาภ ติดยศ ติดสรรเสริญ ติดสุข ติดทุกข์ นั่นแหละ เมื่อมีอยู่ในใจเมื่อใด ใจก็เป็นโลก เมื่อใจ เป็นโลก อยู่ที่ไหนโลกก็อยู่ที่นั่นแหละ


http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2007, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)

เรื่องนี้ผมใช้หนังสือ นอกเหตุเหนือผล ซึ่งจัดพิมพ์โดย สำนัก พิมพ์ ธรรมสภา มาเป็นต้นฉบับ พิมพ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ยังคงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความคาดว่า ต้นฉบับเดิมจะพิมพ์ผิด หรือเพื่อลดความสับสน โดยได้ใส่วงเล็บ กำกับไว้ ณ จุดที่แก้ไขแล้ว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

จุด 1 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “เกิดขึ้นมาเบื้องต้น ท่ามกลางแล้วก็แปรไป ขน เล็บ ฟัน หนัง มันแปรไป” แก้สองอย่าง คือ อย่างแรกคำว่า “ท่ามกลางแล้วก็เปลี่ยนไป” รู้สึกว่า “แล้ว” น่า จะมาอยู่ข้างหน้า และอีกอย่างหนึ่งคือคาดว่าจะตกคำว่า “ผม” เพราะจากเรื่องอื่นๆ หลวงพ่อชา พูดถึงเรื่องนี้ทีไร จะต้องมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง จึงจะครบชุด ดังนั้นจึงแก้เป็น “เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น แล้วท่ามกลางก็แปรเปลี่ยนไป ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันแปรไป”

จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “ท่านทรงชี้ธรรมขาติ คือ ธรรมชาติ” แก้เป็น “ท่านทรงชี้ธรรม คือ ธรรมชาติ”

จุด 3 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “จนเป็นตัวว่าสุขก็เหมือน กัน จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็เหมือนกัน” แก้เป็น “จะเป็นตัวว่าสุขก็เหมือน กัน จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็เหมือนกัน”

จุด 4 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “พุทธะภาวะ” สะกดผิด แก้เป็น “พุทธภาวะ”

จุด 5 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “แล้วมีความแปรไป สิ่ง เหล่านี้ก็ดับไป” แก้เป็น “แล้วมีความแปรไป แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ดับไป”

จุด 6 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “อย่างเด็กก็แปรจากเด็ก ดับจากเด็กมามาหนุ่ม จากหนุ่มก็ดับไปเป็นแก่ จากแก่ก็เป็นชรา จากชราก็ตาย” แก้เป็น “อย่างคนเราเกิดมาเป็นเด็ก จากเด็กแปรมา หนุ่ม จากหนุ่มก็แปรไปเป็นแก่ จากแก่แปรไปเป็นชรา จากชราแล้วก็ ตายดับไป”

จุด 7 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “ถ้ายังมีสีลัพพตปรามาส อยู่ วิจิกิจฉาก็ยังอยู่” แก้เป็น “ถ้ายังมีสักกายทิฐิอยู่ วิจิกิจฉาก็ยังอยู่ สีลัพพตปรามาสก็ยังอยู่”

จุด 8 พบว่าต้นฉบับเดิมมีการใช้ทั้งคำว่า “อุปาทาน” และ “อุปทาน” ปะปนกันอยู่ จึงทำการค้นหาและแก้ไขให้เป็นคำว่า “อุปาทาน” ทุกจุด

จุด 9 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “อยู่ในโลกผู้ที่ไม่สงบ” คำ ว่าคำว่า “ผู้” น่าจะเกินมา จึงแก้เป็น “อยู่ในโลกที่ไม่สงบ”

จุด 10 ต้นฉบับเดิมนั้นการกล่าวถึง โลกธรรม (อันประกอบ ไปด้วย ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์) แต่ ละครั้ง จะเรียงลำดับไม่เหมือนกัน กลับไปกลับมา สันนิฐานว่าตอนที่หลวงพ่อชาท่านพูด ก็คงจะพูดด้วยสำนวน ที่ท่านติดปาก แต่อาจจะเป็นเพราะเรียงไม่ตรงกับในตำราปริยัติ หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีคนพยายามจะแก้คำพูด แต่ก็แก้ไม่ครบทุกจุด ก็เลยดูเหมือนเรียงกลับไปกลับมา ทำนองเดียวกันกับข้อความว่า “ดิน น้ำ ลม ไฟ” ซึ่งในเรื่อง อื่น หลวงพ่อชาท่านจะพูดว่า “ดิน น้ำ ไฟ ลม” เสมอ ต่างจากที่พวก เรามักจะเรียงลำดับกันว่า “ดิน น้ำ ลม ไฟ” แต่พอมาอ่านเรื่องนี้ ผม พบว่ามีอยู่สองจุด พูดสองอย่าง ก็คาดว่าหลวงพ่อท่านก็คงจะพูด อย่างที่ท่านเคยพูดนั่นแหละ แต่ถูกแก้ให้เป็นสำนวนตามที่พวกเรา ชอบพูดกัน แล้วก็แก้ไม่ครบทุกจุด กรณีของ “ดิน น้ำ ลม ไฟ” นี้ผมก็ไม่ได้แก้กลับ ยังปล่อยไว้ ตามต้นฉบับเดิม เพราะทั้งสองจุดอยู่ห่างกันเกือบสิบหน้า ผู้อ่านคง ไม่รู้สึกอะไรมาก ไม่ต้องการแก้ไขต้นฉบับเดิมโดยไม่จำเป็น ส่วนกรณีของโลกธรรมนี้ ปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน สิบกว่าครั้ง ถ้า ขืนปล่อยไว้ ผู้อ่านก็คงจะสับสน ฉะนั้น จึงทำการเรียงใหม่ให้เหมือน กันทุกจุด โดยเรียงตามสำนวนอันหนึ่งที่คาดว่าคงเป็นของเดิมที่ไม่ถูก แก้ คือ “ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา”

จุด 11 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “โลกธรรมต่างจากใจ แล้วนั้น” แก้เป็น “โลกธรรมห่างจากใจแล้วนั้น”

จุด 12 ตรงจุดนี้ ต้นฉบับเดิมได้มีหมายเหตุท้ายหน้าไว้ว่า วิปัสสนู ย่อมาจาก วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งเกิดจากการเอาคำว่า วิปัสสนู รวมกับคำว่า อุปกิเลส โดยที่ วิปัสสนูปกิเลส คือสิ่งที่ทำให้ วิปัสสนา หรือปัญญา เศร้าหมอง ด้วยทำให้เข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุธรรมแล้ว แต่ผมสงสัยว่าจะมีอะไรผิดสักอย่าง เพราะถ้าบอกว่า “วิปัสสนู” เป็นคำย่อ “วิปัสสนูปกิเลส” แล้วยังบอกว่า “วิปัสสนูป กิเลส” เกิดจาก “วิปัสสนู”รวมกับ “อุปกิเลส” ก็หมายความว่า “วิปัสสนูปกิเลส” ก็จะเกิดจาก “วิปัสสนูป กิเลส” คือตัวมันเองรวมกับ “อุปกิเลส” ไม่น่าจะเป็นไปได้

http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 5:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดวงตาเห็นธรรม
ดวงตาเห็นธรรมนั้นคือดวงตาเห็นอะไร คือดวงตาเห็นสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นเบื้องต้น ความแปรไปเป็นท่ามกลาง ความ ดับเป็นที่สุด สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือ ทั้งหมด จะเป็นรูปก็ช่าง จะเป็นนามก็ ตาม สิ่งใดสิ่งหนึ่งครอบรวมเลยทีเดียวได้แก่ ธรรมชาติทั้งหมด เป็น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นรูปธรรมก็ช่าง จะเป็นนามธรรมก็ตาม เกิดขึ้น แล้วก็แปรดับไป อย่างตัวสกลร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเกิดแล้ว ก็แปรไปตามธรรมดาของมัน แล้วมันก็ดับไป
สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงชี้ธรรม คือ ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา (หมายเหตุ 2) ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เกิดมา แล้วก็ เปลี่ยนไปแปรไป แล้วดับไป เป็นธรรมดา จะเป็นตัวว่าสุขก็เหมือนกัน (หมายเหตุ 3) จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็ เหมือนกัน อย่างวัตถุที่เราปั้นขึ้น เช่นถ้วย หม้อต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อถูกปั้นขึ้นมา ก็เกิดจากเหตุจากปัจจัย คือความปรุงแต่งของเรา ขึ้นมาอีกทีหนึ่งเช่นกัน ครั้นได้ใช้ไป มันก็เก่าไป แตกสลายไป มลาย ไปได้ เพราะเป็นธรรมดาของมัน ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ต่างๆ ก็เหมือน กัน ตลอดจนมนุษย์สัตว์เดียรฉานก็เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นเป็น เบื้องต้น มีความแปรไปเป็นธรรมดาเช่นนั้น

เป็นสัจธรรม อนุโมทนาสาธุ เจ้าค่ะ ซึ้ง สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง