Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีล้างบาป..ในพุทธศาสนา?? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 2:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระองคุลิมาลล้างบาปได้อย่างไร

ถาม... ทำบุญล้างบาปได้หรือไม่

ตอบ กรรมลบล้างไม่ได้ แต่หลีกหนีผลกรรมได้ (ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๑) อดีตล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำทุกอย่างที่กระทำไปด้วยเจตนา ไม่ว่าจะชั่วหรือดีก็ตาม ก็เป็นอันได้กระทำไปแล้ว และผลกรรมนั้นจะต้องย้อนกลับมาหาตัวผู้กระทำในที่สุด แต่เวลาที่กรรมให้ผลนั้นไม่แน่นอนว่าจะช้าหรือเร็ว จะเป็นปัจจุบันหรืออนาคต ถ้าหากกรรมที่ได้กระทำก่อนหน้านั้นยังให้ผลไม่หมด หรือกรรมที่กระทำในปัจจุบัน มีวิบากแรงกว่าก็จะทำให้กรรมนั้นมีผลช้า เมื่อเป็นเช่นนี้หนทางที่จะหลีกหนีผลกรรมก็พอมีทาง (ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๗๙)

ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กระทำเองว่า มีฝีเท้าในการหลีกหนีมากน้อยแค่ไหน มีเส้นชัยอยู่ที่อนุปาทิเสสนิพพาน (ดับขันธปรินิพพาน) ถ้าในระหว่างนี้เขามุ่งมั่นทำเฉพาะบุญกุศลอบรมสติปัญญาให้ปราดเปรื่องอยู่ตลอดเวลา จนถึงขณะจิตสุดท้าย หลังตายก็จะไปเกิดในภพดีๆ ได้ และหากเขาทำได้เช่นนี้ทุกภพทุกชาติ ไม่มัวหลงระเริงกับความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว อันเป็นผลพลอยได้จากการเร่งทำบุญ เขาก็มีโอกาสเข้าถึงเส้นชัยได้ก่อนที่บาปจะตามมาทัน

เปรียบเหมือน โจรผู้ร้ายที่ได้ก่อคดีอาญาไว้ แล้วหลบหนีการจับกุมได้ตลอด ๒๐ ปี มีความสามารถในการหลบหลีกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่ออายุความครบ ๒๐ ปี คดีความก็เป็นอันหมดอายุไป กฎหมายไม่อาจลงโทษเขาได้อีกต่อไป บาปที่เราทำไว้ก็เช่นกัน หากเราเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานได้แล้ว ก็ไม่อาจตามมาให้ผลได้อีกต่อไป (ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ ข้อ ๒๑๙ หน้า ๓๖๕) แต่โดยมากยากที่จะเป็นเช่นนั้น มักถูกวิบากกรรมตามมาทันเสียก่อน หลายคนหลายท่านพยายามวิ่งหนีเอาจิต รอดสุดชีวิต ต้องถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ยกว่าจะเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน เข้าสู่ที่ปลอดภัยได้

ตัวอย่างเช่น พระองคุลีมาลเถระ กว่าท่านจะฟันฝ่าอุปสัคเข้าสู่เส้นชัยได้ ถูกกรรมเก่าไล่กวดจับจวนเจียนจะทันอยู่แล้ว หรืออาจจะถูกกรรมเก่าจับติดชายผ้านุ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังพยายามดิ้นรนเต็มที่ ถึงกับถอดผ้านุ่งออกแล้ววิ่งล่อนจ้อนต่อไป จนเข้าสู่เส้นชัยจนได้ เมื่อเข้าสู่เส้นชัยแล้ววิปากกรรมก็มิอาจส่งผลได้อีก ไม่ต้องชดใช้กรรมใดๆ อีก ต่อไป (ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ ข้อ ๒๓๔ หน้า ๓๙๗) กรรมที่เคยทำไว้จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป (ดูรายละเอียดในคัมภีร์อภิธรรมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕ เรื่องกัมมจตุกกะ)

คัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตรนิกาย เอกกติกนิบาต หน้า ๑๓๒ อธิบายว่า ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผล อกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศลกรรมให้ผลกุศลกรรมอย่างหนึ่ง ก็จะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป นี้ชื่อว่าอุปัจเฉทกกรรม ในบรรดาอุปัจเฉทกกรรมที่เป็นกุศล และอกุศล กรรมของพระองคุลิมาลเถระได้เป็นกรรมตัดรอนอกุศล


พระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ท่านมีบุญบารมีมากกว่าพระองคุลีมาลหลายเท่านัก และทั้งที่สามารถเข้าถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้แล้ว แต่ท่านก็ยังถูกกรรมเก่าตามมาทันจนได้ ท่านผู้นั้น คือ พระมหาโมคคัลลานะ (ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ ข้อ ๖๐ หน้า ๓๙๐) ผู้อัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กรรมของท่านมีพลังอำนาจถึงเพียงนี้ เนื่องจากในชาติก่อนท่านได้ฆ่าพ่อแม่ของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในอนันตริยกรรม ๕ ประการที่จัดว่าเป็นกรรมชั่วที่หนักที่สุด กรรมที่ท่านได้ทำนั้นส่งผลให้ท่านแทบเอาจิตไม่รอดทั้งๆ ที่ท่านสั่งสมบุญกุศลมาเป็นจำนวนมหาศาลถึงขนาดที่สามารถส่งท่านเข้าสู่พระนิพพานได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้านแรงบาปแทบไม่ไหว ท่านเข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพานได้แล้วกรรมก็ยังตามมารังควาญอยู่ คือ ทั้งที่ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับสรรเสริญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้มีฤทธิ์กว่าพระอรหันต์ทั้งปวงก็ยังถูกพวกโจรทำร้ายทุบตีร่างกายจนแหลกละเอียด เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังดีที่บาปตามมาทันขณะที่ท่านก้าวเข้าสู่เส้นชัยได้ครึ่งตัวแล้ว จึงทำให้ผลกรรมย่ำยีท่านได้แต่ร่างกายเท่านั้น ไม่อาจทำให้จิตท่านหวั่นไหวได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกายเป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะว่า เป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว” (ดูรายละเอียดใน คัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ หน้า ๗๐)

โดย.. พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
montasavi_@hotmail.com

พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า “สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน (1) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก (2) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น (3)

......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ )
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕

๒. มีวิธีการไหนบ้างที่ทำให้ไม่ต้องตกนรกอีก ทั้งที่ได้เคยทำบาปอกุศลไว้ มาก ?

ตอบ. มีซิ! ...ต้องบรรลุโสดาบันให้ได้ภายในชาตินี้ (1) ต้องเจริญวิปัสสสนา กรรมฐานจนผ่านญาณที่ ๑๓ ไปให้ได้...
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๘๖

๓. พระโสดาบันทำให้ไม่ตกอบาย (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก) อีกจริง หรือ? จะเป็นไปได้อย่างไร

........ตอบ. จริง ..เมื่อเจริญวิปัสสนาจนวิปัสสนาญาณขึ้นถึงญาณที่ ๑๔ โสดาปัตติมรรคจะทำหน้าที่ประหารตัวมิจฉาทิฏฐิที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง มิจฉาทิฏฐินี่แหละที่เป็นตัวเชื้อให้เราต้องตกอบาย (คือ กำเนิดเตรัจฉาน เปรต อสุรกาย ตกนรก)อีก(1)
เมื่อเราบรรลุโสดาบันได้แล้ว ไม่ว่าในอดีตชาติหรือชาติปัจจุบัน เราได้เคย ทำบาปอกุศลไว้มากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิอีก ต่อไป และจะเกิดในสุคติภูมิ (โลกมนุษย์,สวรรค์) ได้อีกไม่เกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง สัตว์โดยทั่วไปต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ (คือ อรูปพรหม ๔ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น เทวดา ๖ ชั้น มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และนรก(2) หาเบื้องต้นและที่สุดไม่พบ ต้องตกอบายทุกข์ทรมานในนรกอยู่เป็นอาจิณ เหมือนบ้านเก่าทีต้องแวะเวียนไปอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถบรรลุโสดาบันได้ภายในชาตินี้ ก็ไม่ต้องตกอบายอีก จะไปเกิดในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติแล้วบรรลุอรหันต์ เข้าถึงความดับภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่เกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่ต้องตกนรก, ตกอบาย และไม่ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๙๗ 2. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๖๗

๔. ปัจจุบันนี้ ยังมีผู้สอนวิธีปฏิบัติให้บรรลุโสดาบันอยู่อีกหรือไม่?
........ตอบ. เรื่องนี้สามารถสอบถามได้จากท่านผู้ผ่านการศึกษาพระไตรปิฎก และปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเข็มข้นต่อเนื่องมาแล้วเป็นระยะเวลา ๓ เดือนเป็น อย่างน้อย ผู้เขียนเองถึงแม้จะไม่ช่ำชองปริยัติและปฏิบัติมากมายนัก แต่ก็พอ ให้ความมั่นใจได้ว่า ผู้ที่สามารถสอนวิปัสสนากรรมฐานให้บรรลุโสดาบันยังมีอยู่ จริงในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักและวิธีการปฏิบัติที่สามารถสอบสวนเปรียบเทียบได้ กับหลักการที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา หรือถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้น ก็ลองมาปฏิบัติดูก่อนสัก ๑๐ วัน แล้วขอฟังลำดับญาณ ก็จะรู้ว่ามีวิธีการปฏิบัติ ในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งการปฏิบัติก็มิได้หนักหนาสาหัสสากัณอย่างที่คิด คือ พักผ่อนประมาณ ๗ ชั่วโมง เวลาที่เหลือนั่งสมาธิเดินจงกรมครั้งละ ๑ ชั่วโมงสลับกัน ปฏิบัติติตต่อกันอย่างถูกหลักสติปัฏฐาน ๔ ประมาณ ๓-๔ เดือนก็จะรู้ได้เองว่า ตนเองบรรลุโสดาบันแล้วหรือยังโดยไม่ต้องเชื่อต่อใครทั้งสิ้น (..แม้แต่พระอาจารย์ผู้สอน) ให้ตนเองตัดสินสภาวะจิตของตนเอง(1)
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ หน้า ๒๗๔

๕. บรรลุโสดาบัน เกิดได้อีกเพียง ๗ ชาติ ยังน้อยไปยังอยากเกิดอีก หลายๆ ชาติ
.........ตอบ ต้องการเกิดมากกว่านั้น ก็ไม่อาจปฏิเสธการตกนรกได้ ให้เลือกเอา !

นรกเป็นเช่นไร? ..น่ากลัวจริงหรือ?
...พอเป็นตัวอย่าง จากคัมภีร์พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ หน้าที่ ๕๒
พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร จับปลา ดักสัตว์ พวกโจร พวกคนฆ่าวัว พวกนายพรานและพวกที่กล่าวอ้างโทษว่าเป็นคุณ พวกเขาจะถูกนายนิรยบาลทั้งหลายเข่นฆ่าด้วยหอกด้วยค้อนเหล็ก ด้วยดาบ ด้วยลูกศรและศีรษะจะปักดิ่งลงไปยังแม่น้ำกรด
ส่วนคนผู้ตัดสินคดีไม่เป็นธรรมจะถูกพวกนายนิรยบาลทุบตีด้วยค้อนเหล็กทุกเย็นทุกเช้าต่อแต่นั้นจะต้องกินอาเจียนที่สัตว์นรกเหล่าอื่นคายออก ที่มีอัตภาพลำบากทุกเมื่อฝูงกา ฝูงสุนัขจิ้งจอก ฝูงแร้งและฝูงกาป่าปากเหล็กก็พากันรุมจิกกัดกินสัตว์นรกผู้กระทำกรรมหยาบช้าซึ่งกำลังดิ้นรนอยู่
หญิงที่รีดลูกทั้งหลายจะต้องย่างเหยียบนรกบนคมมีดโกนอันคมกริบที่ไม่น่ารื่นรมย์ แล้วตกไปยังแม่น้ำเวตตรณีซึ่งข้ามไปได้ยาก
ต้นงิ้วทั้งหลายล้วนแต่เป็นเหล็ก มีหนามยาว ๑๖ องคุลีห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำเวตตรณีซึ่งข้ามไปได้ยากทั้ง ๒ ฝั่ง
สัตว์นรกเหล่านั้นมีเปลวเพลิงลุกโชนขึ้นไปเบื้องบนหนึ่งโยชน์มีกายเร่าร้อนด้วยไฟที่เกิดเองยืนอยู่เหมือนกองไฟที่ตั้งอยู่ในที่ไกล
หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดีชายผู้คบชู้กับภรรยาคนอื่นก็ดี พวกเขาเหล่านั้นต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามแหลมคม
สัตว์นรกเหล่านั้นถูกอาวุธทิ่มแทงก็กลิ้งกลับเอาศีรษะลงเบื้องล่าง ตกลงไปเป็นจำนวนมากถูกหลาวเหล็กทิ่มแทงร่างกายจนนอนตื่นอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน
ต่อแต่นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว สัตว์นรกทั้งหลายก็ถูกนายนิรยบาลซัดเข้าไปยังโลหกุมภีอันใหญ่อุปมาดังภูเขามีน้ำร้อนอันเปรียบได้กับไฟ

๖.ข้าพเจ้ามีบารมีไม่ถึงปฏิบัติคงไม่บรรลุหรอก ปฏิบัติแล้วไม่บรรลุจะเสียเวลาปล่าว?
........ตอบ. คุณเอาอะไรมาตัดสินว่า ตนเองมีบารมีถึงหรือไม่ถึง จากประสบ การณ์ที่ได้สัมผัสกับผู้ปฏิบัติหลาย ๆ ท่าน ซึ่งคาดว่าได้บรรลุธรรมขั้นต้นแล้ว บางท่านฐานะทางบ้านไม่ดีนัก (..เพราะชาติก่อนมิได้ทำบุญให้ทานเอาไว้ แม้แต่สมัยพระพุทธเจ้าก็ยังเคยมียาจกเข็ญใจคนหนึ่ง ชื่อสุปพุทธะได้แอบฟัง ธรรมเพียงกัณฑ์เดียวสามารถบรรลุโสดาบันได้(1) ) ผู้ปฏิบัติบางคนป่วยหนักจน ใกล้จะตายแล้ว แสดงว่าชาติก่อนเคยทำผิดศีลข้อ ๑ ไว้มาก เพื่อนของข้าพเจ้า บางท่านเรียนไม่เก่งเลย ผู้ปฏิบัติบางคนอ่านหนังสือไม่ออกเสียด้วยซ้ำ แต่ทุกท่านทุกชนชั้นก็สามารถปฏิบัติจนเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ภายในระยะเวลา เพียง ๓ -๔ เดือนเท่านั้น
..เรื่องบุญบารมีนี้ ผู้เขียนมีความคิดว่า ถ้าบุคคลผู้นั้นตัดสินใจได้ว่า “ฉันจะปฏิบัติวิปัสสนาแบบเอาชีวิตเข้าแลกให้ครบระยะเวลา ๓ เดือน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ภายใน ๓ เดือนนี้จะไม่ออกเด็ดขาด ไม่ว่าลูกจะตาย แม่จะเสียชีวิต หรือบ้านถูกไฟใหม้ ฉันก็จะไม่เลิกจากการปฏิบัติเด็ดขาดจนกว่าจะครบ ๓ เดือน” ถ้าหากผู้นั้นตัดสินใจเด็ดขาดได้เช่นนี้ ก็เท่ากับว่าเขามีบารมีพร้อมบริบูรณ์ที่จะบรรลุธรรมแล้ว บุญบารมีในการบรรลุธรรมมิได้ขึ้นอยู่กับฐานะหรือความรู้ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว ยอมเอาชีวิตเข้าแลก และความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติมากกว่า
..การตัดสินใจที่จะลงมือปฏิบัติวิปัสสนาเป็นระยะเวลา ๓ เดือนเต็มนั้น มิใช่เรื่องยากเลยถ้าเรารู้จักคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า “ การที่ต้องตกนรก เกิดเป็นผี เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานอีกนับล้านนับโกฎิปี(2) กับการยอมสละเวลา เล็กน้อย เพียงแค่ ๓-๔ เดือน เพื่อปฏิบัติวิปัสสนาให้บรรลุถึงโสดาปัตติมรรคญาณ ปิดประตูอบายเสียให้สนิท เราจะเลือกเอาอย่างไหน?”
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1.ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ หน้า ๒๕๖
2.ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ หน้า ๖๕๘

๗. โสดาบันคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?
ตอบ. โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ ( โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์(2)
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ หน้า ๑๔๑
2. ดูรายละเอียดใน คัมภีร์อรรถกถา สังยุตนิกาย (บาลี) เล่มที่ ๒ หน้า ๑๔๓


๘. วิปัสสนาคืออะไร? ทำไมต้องปฏิบัติ?
ตอบ. วิปัสสนา แปลว่า เห็น(รู้อย่างเข้าใจ)แจ่มแจ้งในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจ ของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบ เย็น(นิพพาน)ได้(1) ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวร ที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น
ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ดีกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็น เพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้อง ตกอบายทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถา ไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกแล้ว ไม่ว่าอตีดจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๐๑

๙. ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะได้รับผลดีอย่างไรบ้าง?
..ตอบ. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน ทั้งที่มีเวลาพักถึงวันละ ๗ ชั่วโมง
๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ ) เป็นต้น
๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)

๑๐.ปฏิบัติวิปัสสนาทำไมต้องกำหนดท้อง“พองหนอ-ยุบหนอ” พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกมิใช่หรือ?
ตอบ. การปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดพอง-ยุบ เผยแผ่โดยท่านมหาสีสยาดอ (โสภณะมหาเถระ) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในประวัติของท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกามาก ต่อมาท่านต้องการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึงเที่ยวสืบค้นหาสำนักปฏิบัติวิปัสสนาที่มีหลักการสอดคล้องกับคัมภ์ที่ได้ศึกษามา ในที่สุดท่านได้เลือกปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ”กับพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง จนเห็นผลจริงว่า วิปัสสนามิใช่มีอยู่แต่ในตำรา การกำหนดดูอาการท้องพอง ท้องยุบอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง นี่แหละเป็นการเจริญวิปัสสนาให้บรรลุถึงมรรคผลได้จริงอีกวิธีหนึ่ง ( ที่สำคัญคือ ปฏิบัติง่าย ได้ผลเร็วในระยะเวลาเพียง ๓-๔เดือนเท่านั้นเอง)
ความสอดคล้องกันระหว่างการปฏิบัติสติปัฏฐานที่กำหนดดูอาการพอง-ยุบของท้องกับหลักการในพระคัมภีร์ผู้สนใจหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง “วิปัสสนานัย”ซึ่งเขียนโดยตัวท่านเอง อ้างหลักฐานที่มาของแต่ละข้อความไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยโดยพระคันธสาราภิวังส์ (วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง)นั้นได้ระบุเชิงอรรถไว้ด้วยว่าข้อความนั้นๆ นำมาจากคัมภีร์ชื่ออะไร เล่มที่เท่าไหร อยู่หน้าไหน? ท่านผู้ใคร่ในการศึกษาและปฏิบัติโปรดพิสูจน์ สอบสวนเอาด้วยตนเองเถิด..

๑๑.ทำไมไม่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออก(อานาปานสติ)ซึ่งมีผู้ปฏิบัติกันแพร่หลายอยู่แล้ว?
..ตอบ. ยังไม่มีพระอาจารย์ท่านใดกล้ากล่าวว่าตนสามารถสอนวิปัสสนาแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออกให้เห็นมรรค เห็นผลได้ภายในระยะเวลาเพียง ๓-๔ เดือน และสามารถอธิบายสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงด้วยทฤษฎีญาณ ๑๖ ได้
(ลมหายใจเข้า-ออก กับอาการท้องพอง-ท้องยุบที่หน้าท้อง เป็นลมอัสสาสะปัสสาสะอันเดียวกัน อาการพองเกิดจากลมหายใจเข้า อาการยุบเกิดจากลมหายใจออก เพียงแค่ย้ายฐานลมจากที่จมูกมาจับกำหนดรู้อาการพอง อาการยุบที่หน้าท้องแทน พร้อมเพิ่มคำบริกรรมเพื่อกำหนดรู้อาการพอง-อาการยุบให้ทันปัจจุบันและตรงตามสภาวะ )

๑๒.ปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดพอง-ยุบ กับแบบกำหนดลมหายใจเข้าออกแบบไหนดีกว่ากัน?
..ตอบ. ปฏิบัติแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออกดีกว่า เพราะมีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกชัดเจนกว่า และเมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้วทำให้เกิดคุณวิเศษต่างๆได้เช่น รู้ใจผู้อื่นได้ แสดงปาฏิหาริย์ได้ เป็นต้น แต่ต้องปฏิบัติกันหลายปีจึงจะสำเร็จได้ และสำหรับบางคนปฏิบัติไม่ได้ผลเลย เพราะเป็นวิสัยของผู้มีปัญญาเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติแบบกำหนดพอง-ยุบถึงจะให้เกิดคุณวิเศษต่างๆไม่ได้ แต่สามารถ ปฏิบัติได้ทุกคน เห็นผลได้ภายใน ๑ เดือน สำเร็จได้ภายใน ๓-๔ เดือน

๑๓. การปฏิบัติวิปัสสน มีวิธีการอย่างไรบ้าง?
..ตอบ มีขั้นตอนปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อยๆย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้นๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบาๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอยๆ เบาๆ เมื่อ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ” ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผลแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..

๑๓. ปฏิบัติวิปัสสนาแบบพอง-ยุบ ทำไมต้องมีคำบริกรรม ผมชอบปฏิบัติแบบไม่มีคำบริกรรม?
ตอบ. ปฏิบัติแบบไม่มีคำบริกรรมแล้วทำให้บรรลุมรรค ผล ภายใน ๓-๔เดือนได้ไหมละ?
คำบริกรรมมีไว้เพื่อช่วยให้สติเจาะจงต่ออารมณ์ที่กำหนดมากขึ้น ทำให้เห็นอาการดับของอารมณ์ต่างๆที่กำหนดได้อย่างชัดเจน ทำให้ปัญญาญาณเกิดขึ้นและก้าวต่อไปอย่างรวดเร็ว จนสามารถบรรลุธรรมได้ภายในระยะเวลาเพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น

๑๔. เคยปฏิบัติมาครั้งหนึ่ง จนถึงสภาวรูปดับ – นามดับแล้ว?
..ตอบ. ขอถามว่า ก่อนหน้าที่จะถึงสภาวรูปดับ- นามดับนั้น คุณเคยมีสภาวะพอง-ยุบถี่ๆ เร็วๆ แรงๆยิ่งกว่าเครื่องจักร จนกำหนดไม่ทัน เหนื่อยหอบแทบสิ้นใจติดต่อกัน ๔ -๕ บัลลังก์บ้างหรือไม่?
หรือว่า ๔-๕ บัลลังก์ติดต่อกันก่อนหน้านั้น นั่งท้องนิ่ง พอง-ยุบไม่ปรากฏ หรือปรากฏเบามากๆ กำหนดนั่งหนอ ถูกหนอก็ไม่เห็น จะไม่รู้จะกำหนดอะไร คุณเคยเป็นอาการนี้บ้างหรือไม่?
หรือว่า ปฏิบัติมา ๒ เดือน ปวดแทบทุกบัลลังก์ บางครั้งปวดจนหลับไปเลยก็มี คุณเคยมีอาการนี้บ้างหรือไม่ ถ้าหากยังไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างนี้ อาการที่คุณประสบมาน่าจะเป็น “รูปหลับ นามหลับ” เสียมากกว่า..
มีผู้ปฏิบัติหลายท่านพูดอวดว่า “ผมสำเร็จแล้ว นั่งทีไรมีแต่อาการตัวเบา ตัวลอย สุขสงบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นั่งสมาธิไม่เคยรู้สึกง่วง หรือปวดเลย จะนั่งกี่ครั้งก็มีแต่ความสุขสงบเย็น บางครั้งเห็นแสงสีสว่างไสวน่าดู น่าชมมาก ผมได้สภาวนี้มาเป็นสิบๆปีแล้ว” ผู้ที่กล่าวเช่นนี้ นั่นเขากำลังประกาศในหมู่ผู้รู้ว่า ตัวเองติดอยู่แค่ญาณที่ ๔ เป็นเวลาสิบปีแล้ว ขอให้ไปตรวจสอบกับอาจารย์ผู้รู้จริง เพื่อจะได้เป็นบุญกุศลแก่ตนเอง และศิษยานุศิษย์ต่อไป...

๑๕. ผมเคยเห็นพระท่านหนึ่ง ร่ำลือกันว่าบรรลุโสดาบันแล้ว แต่ทำไมท่านไม่คอยสำรวม พูดก็เสียงดัง ไม่แตกต่างจากพระทั่วไปเลย น่าจะเป็นโสดาบันเก๊เสียมากกว่า?
ตอบ. ขอถามว่า ระหว่างตัวคุณกับยาจกขอทาน ใครมีบุญมากกว่ากัน (ตอบ......)
- คุณเชื่อหรือไม่ว่า เคยมียาจกขอทานคนหนึ่ง แอบฟังธรรมเพียงกัณฑ์เดียวก็บรรลุโสดาบันได้ (ตอบ.....)
- คุณเชื่อหรือไม่ ว่า ในอดีตมีพระโสดาบันท่านหนึ่งร้องให้ฟูมฟายเพราะหลานตาย จนพระพุทธเจ้าต้องตรัสเตือน (ตอบ......)
- คุณเชื่อหรือไม่ว่า พระโสดาบันท่านหนึ่งมีสามีเป็นนายพรานล่าสัตว์ เธอทำความสอาดเครื่องมือฆ่าสัตว์ให้สามีอยู่เสมอ (ตอบ.......)
- คุณเชื่อหรือไม่ว่า เคยมีพระอรหันต์รูปหนึ่งไม่ลงอุโบสถ ฟังพระปาฎิโมกข์ จนพระพุทธเจ้าต้องตรัสเตือน (ตอบ.......)
- คุณเชื่อหรือไม่ว่า มีพระอัครสาวกท่านหนึ่ง วิ่งกระโดดข้ามคูน้ำ (ตอบ.....)
- คุณคิดว่า ในปัจจุบันนี้ยังมีพระโสดาบันอยู่อีกหรือไม่? ( ตอบ....)
- คุณเชื่อแล้วหรือยังว่าพระรูปนั้นที่คุณเห็น ท่านเป็นพระโสดาบันจริง (ตอบ.....)

สรุปว่า ความเป็นพระอริยอยู่ที่ใจมิใช่รูปลักษณ์ภายนอกเสมอไป โดยเฉพาะพระโสดาบันด้วยแล้ว แทบดูจากพฤติกรรมภายนอกไม่ได้เลย เพราะการบรรลุโสดาบันเป็นเพียงการได้ดวงตาเห็นธรรมเท่านั้น ขอย้ำว่า “แค่เห็นเท่านั้น ยังไม่ได้ลงมือประหารกิเลสอะไรเลย มีเพียงมิจฉาทิฏฐิและวิจิกิจฉาเท่านั้นที่ถูกประหารไป” เป็นเพียงผู้มีสัมมาทิฏฐิ กิเลสตัณหาราคะ โทสะ โมหะยังมีอยู่ แทบจะไม่ต่างจากปุถุชนคนทั่วไปเลย ต่างกันแต่ ท่านจะไม่ล่วงละเมิดศีล ๕ ด้วยเจตนาอย่างเด็ดขาด (ทั้งฆราวาสและพระภิกษุ) และมีความเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยอย่างสิ้นเชิงว่า นรก สวรรค์มีจริง พระอริยมีอยู่จริง สรรพสิ่งเป็นเพียงรูปกับนามเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นปนอยู่เลย..
อนึ่ง พระโสดาบันเชื่อว่า นรกสวรรค์มีจริงนั้น มิใช่เชื่อเพราะมีตาทิพย์ไปเห็นมาด้วยตนเอง แต่เชื่อต่อพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้ามีจริง และคำสอนของพระองค์ก็เป็นความจริงเช่นกัน

๑๖.เคยได้ข่าวมาว่าที่ประเทศไทยเปิดสอนวิปัสสนาในระดับปริญญาโทจริงหรือ? วิปัสสนา เป็นเรื่องของสภาวจิต เป็นการดับกิเลสมิใช่หรือ ทำไมต้องเอาใบปริญญา?
..ตอบ. มหาวิทยาลัยสงฆ์ วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม (วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม) เปิดสอนวิปัสสนาในระดับปริญญาโท ซึ่งเป็นดำริของหลวงพ่อพระพรหมโมลี (เจ้าคณะภาค๑) เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องวิปัสสนาทั้งภาคทฤษฎีในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และภาคปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกัน คือ เมื่อปฏิบัติจนรู้แจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็สามารถสอนผู้อื่นให้รู้อย่างที่ตนรู้ได้ด้วย มิใช่รู้อยู่แต่ผู้เดียวแต่ไม่สามารสั่งสอนหรืออธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ การปฏิบัติวิปัสสนานั้นมิใช่ว่าปฏิบัติจบแล้วจะสอนผู้อื่นให้รู้อย่างที่ตนรู้ได้ เพราะการปฏิบัติวิปัสสนาให้บรรลุมรรคผลภายใน๓-๔เดือนนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีอินทรีย์ที่แก้กล้าและสมดุลกัน ระหว่างศรัทธากับปัญญา และวิริยะกับสมาธิ การปฏิบัติวิปัสสนามิใช่เพียงแค่เดินจงกรม นั่งสมาธิเท่านั้น พระอาจารย์ผู้สอนต้องคอยสั่งสอน แนะแนววิธีปฏิบัติในแต่ละช่วงญาณควบคู่กันไปด้วย เพราะวิธีปฏิบัติในแต่ละญาณนั้นไม่เหมือนกัน คือมีรายละเอียดปลีกย่อยและเทคนิคในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น ญาณที่๔-๕ต้องกำหนดอย่างจดต่อ ต่อเนื่อง และเพ่งสติต่ออารมณ์ จึงจะเห็อาการเกิดดับชัดเจน แต่พอถึงญาณที่ ๑๐-๑๑ ให้กำหนดเพียงรู้อาการที่ปรากฏอย่างต่อเนื่องไม่ต้องเพ่งอารมณ์มากนัก เพราะอารมณ์ที่กำหนดจะไม่ชัดทำให้เผลอสติหลุดกำหนดได้ง่าย พอญาณที่ ๑๑เริ่มแก่กล้าขึ้น ต้องการให้วิปัสสนาญาณเดินหน้าอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ทะลุเข้าเข้าสู่มรรคผลให้ได้ ก็ต้องเพิ่มกำลังอินทรีย์ในการกำหนดด้วยการกำหนดอย่างถี่ ไม่ให้ขาดไม่ให้เผลอตั้งแต่ตื่นนอน จนเข้านอน เป็นต้น
บางช่วงผู้ปฏิบัติศรัทธาตก เกิดความเบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนก็ต้องหาบทเทศนาที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติฟังแล้วเกิดศรัทธาให้ได้มาเทศน์สั่งสอน บางช่วงเกิดความท้อแท้อยากเลิกปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนก็ต้องเทศนาให้กำลังใจ
..ฉะนั้น ผู้ที่คิดจะเป็นอาจารย์วิปัสสนาสอนผู้อื่นให้ถึงขั้นบรรลุมรรคผลได้นั้น เพียงเก่งในการปฏิบัติเรื่องสภาวญาณอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องมีความรอบรู้ในหลักปริยัติควบคู่ไปด้วย ยิ่งต้องการสอนให้บรรลุถึงขั้น มรรค ผล นิพพานภายในระยะเวลาเพียง ๓-๔ เดือนด้วยแล้ว ก็ยิงต้องมีความรู้ในภาคปริยัติถึงขั้นเชี่ยวชาญ มีความสามารถเทศนาสั่งสอนได้ทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีไหวพริบปฏิภาณสามารถการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติและไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติได้อย่างประทับใจ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวผู้สอน จนยอมปฏิบัติแบบถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัย แต่ถ้าต้องการปฏิบัติเพียงเพื่อให้ตนเองหายทุกข์ คลายโศกเท่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องเรียนปริยัติก็ได้..

โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
montasavi_@hotmail.com


website ...ศึกษาพุทธศาสนา
http://www.sarakadee.com/web/
http://www.prajan.com/webboard/
http://www.jarun.org/
http://www.sati99.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 8:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณที่นำมาโพสให้อ่านครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ค.2008, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆ มากให้ทราบครับ ร้องไห้
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 5:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยอ่านมาเหมือนกัน แต่ก็ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ ที่นำมาลงให้สมาชิกได้ทราบ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 1:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักของพระพุทธศาสนาแล้ว ล้างบาปไม่ได้หรอก
อ่านกระทู้ของคุณ montasavi หลายกระทู้รู้สึกว่า การตั้งชื่อกระทู้ไม่ได้ออกมาในแนวพุทธศาสนา มีแนวโน้มออกทางศาสนาคริสต์ เป็นส่วนมาก

ไม่ทราบแท้จริงแล้ว คุณ montasavi เป็นพุทธศาสนิกชนหรือคริสต์ศาสนิกชน

สงสัย เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 3:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ ท่านมิตรตัวน้อย

ท่าน montasavi คือ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
montasavi_@hotmail.com

ตอบแบบนี้แสดงว่า
ท่านเป็นพุทธศาสนิกชนหรือคริสต์ศาสนิกชน ???
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นั่นยิ่งต้องระวัง อ่านหัวข้อกระทู้ทีไร เข้าใจผิดทุกที

สาธุ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง