Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปัสสนากรรมฐาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2007, 11:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐานในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
หนึ่ง สมถกรรมฐาน คือ การทำจิตนิ่งสงบเป็นสมาธิ
สอง วิปัสสนากรรมฐาน คือ การทำจิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง

ซึ่งผลของการปฏิบัติจะทำให้เกิดผล ๕อย่าง คือ

๑.ทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
๒.กำจัดเสียซึ่งความทุกข์กายทุกข์ใจ
๓.กำจัดเสียซึ่งความลำบากกายลำบากใจ
๔.เมื่อปฏิบัติแล้วจะเข้าใจความหมายของชีวิตอย่างถ่องแท้
๕.มุ่งสู่นิพพาน (ซึ่งต้องใช้เวลานานทีเดียว)

การปฏิบัติธรรมให้เจริญก้าวหน้านั้นต้องมีเรื่องของ “สัปปายะ” หรือความเกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะฆราวาสจะต้องมี ๔ ประการ

๑. อากาศสัปปายะ คือ อากาศที่สบายไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป
๒. สถานที่สัปปายะ คือ สะอาด สงบ และสะดวก เหมาะแก่การปฏิบัติ
๓. อิริยาบถสัปปายะ คือ อิริยาบถในการฝึกปฏิบัติ เช่นการเดิน นั่ง นอน ทำอย่างผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่เกร็งจนเกินไป
๔. บุคคลแวดล้อมสัปปายะ คือ แวดล้อมด้วยสังคมที่ดี เช่นเมื่อปฏิบัติธรรมร่วมกันที่วัด ต่างคนต่างปฏิบัติด้วยความตั้งใจ จะมีพลังแห่งความดีแผ่กระจายไปทั่ว ตัวเราซึ่งอยู่ในที่นั้นจะปฏิบัติตามไปได้ด้วยดี

และที่สำคัญการฝึกวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดี มิฉะนั้นจะมีโอกาสหลงทางมาก ดังนั้นวัดจึงเป็นสถานที่เหมาะสมที่สุดในการฝึกปฏิบัติกรรมฐาน เพราะเอื้อให้เกิดองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการ

ต้นเหตุที่ทำให้วิปัสสนาไม่ก้าวหน้า

สิ่งเหล่านี้เป็นความสามารถและความชาญฉลาดของอาจารย์ผู้ฝึกปฏิบัติแต่ละท่าน ว่าจะแก้อารมณ์ผู้ปฏิบัติได้อย่างไร เพราะการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา เมื่อฝึกปฏิบัติไปแล้วผู้ปฏิบัติมักพบอุปสรรคซึ่งมีดังนี้

๑. แสงสว่าง เมื่อปฏิบัติได้สักระยะมักรู้สึกว่ามีแสงสว่างเกิดขึ้น คล้ายมีรัศมีออกจากตัว ศีรษะจะสว่าง ทำให้คิดนึกว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษ

๒. โลกียอภิญญา บางคนปฏิบัติไปแล้วอาจ เห็น เทวดา เห็นพรหม เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นทุกอย่างที่อยู่ในพระไตรปิฎก นี่ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติยึดติด ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง

๓. ปิติ จะเกิดกับผู้คนไม่เหมือนกัน บางคนอาจเกิดอาการขนลุกขนพอง บางคนคันตามร่างกาย บางคนรู้สึกซาบซ่าน บางคนสะดุ้งผวาเหมือนตกเหว บางคนนั่งแล้วตัวลอยได้ก็มี ซึ่งสามารถแก้ด้วยการกำหนดว่ารู้หนอ รู้หนอ

๔. ปัสสัทธิ เมื่อปฏิบัติจนจิตสงบกายสงบ จะรู้สึกดีมากจนยึดติดกับความสงบ ปฏิบัติทีไรจึงยึดติดอยู่ที่ความสงบนี้ทุกครั้ง ในที่สุดวิปัสสนาก็ไม่ไปถึงไหน

นี่เป็นคำตอบให้กับเราว่า บางทีการเริ่มต้นจะเรียนอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของจิตนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยสถานที่และเพื่อนพ้องที่มีความหวังดีต่อเรา ที่สำคัญคือครูบาอาจารย์ที่รู้จริงปฏิบัติจริง

ที่มา: เป็นบทความส่วนหนึ่งจากหนังสือชีวจิต
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง