Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “วิธีการ...สิ้นกรรม” ตามแบบพุทธวิธี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 1:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือ เห็นว่าปัจจุบัน มีการคุยกันเรื่อง กรรม ในที่ต่างๆ เยอะมาก.....

และบางครั้ง ก็ออกไปในแนวต้องไปหาผู้รู้ช่วยดูกรรมเก่า และแก้กรรม หรือทำให้สิ้นกรรม ให้ด้วย

ลองมาดูพระพุทธวจนะกันดีกว่า ว่า พระองค์สอนเรื่อง การสิ้นกรรม ไว้อย่างไร

เสนอลองอ่าน กุกกุโรวาทสูตร

กรรมดำกรรมขาว ๔

[๘๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน

ดูกรปุณณะ
กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่
กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่
กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่
กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่

.......ฯลฯ.....

ดูกรปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น
เป็นไฉน

ดูกรปุณณะ บรรดากรรม ๓ ประการนั้น
เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ
เจตนาเพื่อละกรรมขาว มีวิบากขาว
เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้
เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

ดูกรปุณณะ
กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.


และจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด


กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว หรือ การปฏิบัติเพื่ออกจากห้วงแห่งกรรม ตามมรรคแปด จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ที่แท้จริง

ไม่จำเป็น ที่จะต้องไปเที่ยวหาใครมาแก้กรรมให้กับเรา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 1:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิทานสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=20&start_byte=231883

[๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม……………
๓ ประการเป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ……….

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใดในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดแต่โทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกโมหะครอบงำเกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระ เก็บงำไว้ดี เขาหว่านลงบนพื้นดินที่พรวนไว้ดีแล้วในไร่ที่ดี ทั้งฝนก็ตกดีตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ทีเดียว แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง

กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะมีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขากรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม………..
๓ ประการเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑......

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด……… เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแต่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ยังไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระถูกเก็บงำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงทำให้เป็นเขม่า แล้วโปรยลงไปในลมพายุ หรือลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว พึงเป็นพืชถูกถอนรากขึ้น ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแก่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ

ผู้รู้จักกรรมอันเกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะและเกิดแต่โมหะ เขาทำกรรมใด จะน้อยหรือมากก็ตาม เขาจะต้องเสวยผลกรรมนั้นในอัตภาพนี้แหละ วัตถุชนิดอื่นย่อมไม่มี

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้รู้แจ้งความโลภ ความโกรธ และความหลงทำให้วิชชาบังเกิดขึ้น พึงละทุคติเสียได้ทั้งหมด ฯ


จากพระสูตรนี้ ตอยท้าย กล่าวถึง ผู้ประกอบกรรมที่เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ..... ซึ่งเรียกว่า "ผู้รู้จักกรรม" หรือ ".ผู้รู้แจ้งความโลภ ความโกรธ และความหลงทำให้วิชชาบังเกิดขึ้น" ซึ่งนี่หมายถึงพระอรหันต์.....เปรียบเสมือน ตาลยอดด้วน ที่ไม่สามารถงอกได้อีก.......หรือ เปรียบเสมือนเมล็ดพืช ที่ถูกนำไปเผาไฟ ทำให้เป็นเขม่า ที่ไม่สามารถงอกได้อีก คือ จะไม่เกิดใหม่

และตรงบทสุดท้ายที่ว่า

".....ผู้รู้จักกรรมอันเกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะและเกิดแต่โมหะ เขาทำกรรมใด จะน้อยหรือมากก็ตาม เขาจะต้องเสวยผลกรรมนั้นในอัตภาพนี้แหละ วัตถุชนิดอื่นย่อมไม่มี

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้รู้แจ้งความโลภ ความโกรธ และความหลงทำให้วิชชาบังเกิดขึ้น พึงละทุคติเสียได้ทั้งหมดฯ....."


ด้วยว่า กรรมจะให้ผลที่อัตตภาพ...... เมื่อไม่มีอัตตภาพหน้าเสียแล้ว กรรมที่พระอรหันต์(ใช้คำว่า ผู้รู้จักกรรม และ ผู้รู้แจ้งกรรม ที่สืบเนื่องมาจาก คำกล่าวเปรียบด้วย ตาลยอดด้วน และ เมล็ดพืชเผาป่นไฟ ที่จะไม่งอกเกิดอีก)เคยกระทำมาก่อนบรรลุอรหัตผล ไม่ว่าจะน้อย หรือมากเท่าใด จะให้ผลเพียงอัตตภาพนี้ อัตตภาพสุดท้าย... เพราะอัตตภาพอื่น(วัตถุอื่น)จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เนื่องด้วยจะไม่เกิดมีอัตตภาพใหม่ในภพใดๆอีกแล้ว จึงสามารถละทุคติได้เสียทั้งหมด

เห็นชัดใน กรณีของพระองคุลิมาล .....ลองอ่านพระพุทธวจนะที่ตรัสถึง องคุลิมาลสูตร ตอนท้ายๆพระสูตรดูสิครับ.....ชัดเจนเลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านองคุลิมาล หลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว สะเก็ดกรรมก็ยังตามมาให้ผลกับท่านได้ เพราะท่านยังดำรงอัตตภาพอยู่(ยังไม่ดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)


จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=650699

พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัต
[๕๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
แล้วเข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดังนี้. ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระ
อรหันต์ทั้งหลาย.
[๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน ... ท่อนไม้ ... ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้
โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล
บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคได้ทอด
พระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอด
กลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอ
พึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก
ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.





นี่ก็ คือสิ่งที่ปรากฏสอดคล้องกับพระสูตร(นิทานสูตร) ใน คห ข้างต้น.....

คือ พระองคุลิมาล ท่านไม่เกิดอีกแล้ว อัตตภาพต่อไปที่จะมารองรับการให้ผลของกรรมไม่มีอีกแล้ว.....จึงเป็นการยุติอย่างสิ้นเชิง ของสังสารวัฏฏ์

พระองคุลิมาล ท่านจึงรับผลกรรมเฉพาะในตอนที่ธาตุขันธ์ยังดำรงอยู่.... ซึ่งก็เบาบางลงไปมากแล้ว.... และท่านเสวยเฉพาะเวทนาทางกาย แต่ไม่เสวยเวทนาทางใจ(พระอรหันต์จะมีทุกข์เฉพาะทางกาย แต่ไม่ทุกข์ใจไปด้วย)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 1:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรณี ของพระมหาโมคคัลลานะ สาธุ สาธุ สาธุ



ในอดีตชาติอันนานไกล ท่านเคยสร้างกรรมที่หนักที่สุด เรียกว่า อนันตริยกรรม .....

ในภพชาติสุดท้าย แม้นท่านบรรลุอรหัตตผลแล้วก็จริง แต่อัตตภาพที่จะเป็นที่รองรับกรรมยังคงมีอยู่(ท่านถึงซึ่งสอุปาทิเเสนิพพานธาตุ แต่ ยังไม่ดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)....กรรมนั้นหนักมาก และ ตามมาให้ผลอีก.....
แต่ท่านก็ไม่ทุกข์ใจแล้ว แม้นกายจะถูกทุบจนกระดูกแหลกละเอียด แต่จิตใจท่านก็ไม่ทุกข์ร้อนด้วยแล้ว

และ เมื่อดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว กรรมก็ยุติจบสิ้นกันอย่างเด็ดขาด


เพราะจะไม่มีการเกิดใหม่(ของอัตตภาพใดๆ) อีกแล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

......เรียนรู้.......

.....ทำความเข้าใจ......

....ยอมรับ.........

....เลิกสนใจ.......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อน่ะครับ


เรื่อง กรรมและวิบากแห่งกรรม เป็น ความจริงซีกโลกียะ

เรื่อง การสิ้นกรรม หรือ การอยู่เหนือกรรม เป็น ความจริงซีกโลกุตระ




มีพระพุทธวจนะ ที่ตรัสไว้ว่า

ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท คือ ผู้ฉลาดในกรรม



ในปฏิจจสมุปบาท
ตัณหาเป็นปัจจัยของอุปาทาน
และ อุปาทานเป็นปัจจัยของภพ

ภพมี กัมมภพ(ภพที่เป็นกรรม) และ อุปัติภพ(ภพที่เป็นที่เกิด)
ที่สำคัญ คือ กัมมภพ ....เพราะอุปัติภพ ก็เป็นผลสืบเนื่องไปจากกัมมภพ
และ กัมมภพ ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏในใจ ในปัจจุบันนี้เลย



มีธรรมบรรยาย เรื่อง ภพในใจ-ภพภายนอก

ปุจฉา-วิสัชนา

โดยพระอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นผู้ปุจฉา
และ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้วิสัชนา สาธุ สาธุ




ก ถามว่า อาสวะ ๓ นั้น กามาสวะเป็นกิเลสประเภทรัก
อวิชชาสวะเป็นกิเลสประเภทที่ไม่รู้ แต่ภวาสวะนั้นไม่ได้ความว่า
เป็นกิเลสประเภทไหน เคยได้ฟังตามแบบท่านว่าเป็นภพ ๆ
อย่างไรข้าพเจ้าไม่เข้าใจ
ข ตอบว่า ความไม่รู้ความจริงเป็นอวิชชาสวะ จึงได้เข้าไป
ชอบไว้ในอารมณ์ที่ดีมีกามเป็นต้นเป็นกามสวะ เมื่อไปชอบไว้
ในที่ใด ก็เข้าไปยึดถือตั้งอยู่ในที่นั้น จึงเป็นภวาสวะนี่แหละ
เข้าใจว่าเป็นภวาสวะ

ก ถามว่า
ภวะท่านหมายว่าภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพไม่ใช่หรือ
ทำไมภพจึงจะมาอยู่ในใจของเราได้เล่า
ช ตอบว่า
ภพที่ในใจนี่ละซี่สำคัญนัก จึงได้ต่อให้ไปเกิดในภพข้างนอก
ก็ลองสังเกตดู ตามแบบที่เราได้เคยฟังมาว่า
พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีกิเลสประเภทรัก
และไม่มีอวิชชาภวะตัณหาเข้าไปเป็นอยู่ที่ใด
แลไม่มีอุปาทานความชอบ ความยินดียึดถือในสิ่งทั้งปวง
ภพข้างนอก คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ตลอดกระทั่งภพ คือ สุทธาวาสท่านนั้นจึงไม่มี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 8:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อุปาทาน ภพ ชาติ เป็นสายสมุทัยวาร(การเกิดทุกข์)ของปฏิจจสมุปบาท

ใน พระไตรปิฎก ที่กล่าวว่า ภพ นั้นมีทั้ง กรรมภพ และ อุปัติภพ


[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
*นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=3732&Z=3845&pagebreak=0
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นธรรมโอวาทที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สาธุ สาธุ สาธุ



เทศน์สอนในอดีต พ.ศ. 2483
ณ วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
ซึ่งเก่าแก่ และ มีคุณค่าสูงส่งมาก
(ผู้จดบันทึกธรรมคำสอนไว้ คือ หลวงปู่หลุย จันทสโร )

เกี่ยวกับเรื่อง การเคลื่อนของจิต ภพ-ชาติ


http://www.kusol.com/Allpoo/poomun/poomun001.htm

----------------------------------------


ทำจิตให้เสมอ

อย่าขึ้นอย่าลง อย่าไปอย่ามา

ให้รู้เฉพาะปรกติของจิต



-----------------------------------------


ให้แก้ปัจจุบัน

เมื่อแก้ปัจจุบันได้แล้ว ภพ 3 นั้นหลุดหมด


ไม่ต้องส่งอดีต อนาคต
ให้ลบอารมณ์ภายนอกให้หมด
จึงจะเข้าอารมณ์ภายในได้

เพ่งนอกเป็นตัวสมุทัย เป็นทุกข์ และเป็นตัวมิจฉาทิฐิ
เพ่งในเป็นตัวสัมมาทิฐิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ้นภพ-สิ้นชาติ



ธรรมโอวาท หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สาธุ สาธุ สาธุ
(จาก พุทธจารปูชา น.33)


“…. ทางพระสอนให้ล่ะชั่ว ทำความดี แต่ไม่ให้ติดอยู่ในความดี….
ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้น จนไม่ติดดีติดชั่ว จึงจะพ้นโลกนี้ไปได้…..
เพราะแม้คุณความดีจะส่งผลให้เป็นสุข ไปเกิดในสุขติโลกสววรรค์ เป็น เทพ อินทร์ พรหม ก็ตาม….
แต่เมื่อกำลังของกุศลกรรมความดีนั้นๆหมดลง ก็ย่อมต้องกลับเวียนว่ายตายเกิดอีก

…..ทางพระจึงสอนให้มุ่งภาวนา ทำจิตให้ รวม ระวัง ตั้งมั่น…
ทำจิตให้มีปัญญารู้ตามความจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่างๆออกเสีย…..
จึงจะเป็นไปเพื่อความสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดยากโดยแท้จริง….”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก พระไตรปิฎก



พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติการเกิดกับผู้หมดอุปาทาน

จาก กุตุหลสาลาสูตร


"……..แม้พระสมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่าน โน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ และสาวกของพระสมณโคดมนั้น รูปใดเป็นบุรุษ สูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดม ก็ทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้น ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่าน โน่นเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน

……..ยิ่งกว่านั้น พระสมณโคดมนั้นยังทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้นอย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้ว ถอนสังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้ โดยชอบ ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มีความเคลือบแคลงสงสัย แท้ว่า อย่างไรๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง ฯ ……”

"……. ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่ คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
…….ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่ แม้ฉันใด ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ…….”



และที่น่าสนใจ คือว่า

การจุติ และ อุปบัติ หมดสิ้น เมื่อใด


" เมื่ออุปาทาน ยังเป็นสิ่งที่ตัณหา และ ทิฏฐิอาศัยอยู่ได้
ความหวั่นไหวได้ก็ยังมีอยู่
เมื่ออุปาทานเป็นสิ่งที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ได้
ความหวั่นไหวก็ไม่อาจมี
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ความระงับแห่งจิตย่อมมี
เมื่อความระงับแห่งจิตมี ความน้อมไปในทางใดทางหนึ่งของจิตย่อมไม่มี
เมื่อความน้อมไปทางใดทางหนึ่งของจิตไม่มี การมาการไปก็ไม่มี
เมื่อการมาการไปไม่มี การจุติและการเกิดใหม่ก็ไม่มี
เมื่อการจุติและการปรากฎในโลกไม่มี การปรากฎในระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี
นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ล่ะ "

จตุตถสูตร, ปาฏลิคานิยวรรค, อุทาน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พิทรายา
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 103
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2007, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 1:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัย สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง