Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ใครเป็นคนกำหนดเรื่องกรรม ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2007, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอทราบกันไหมครับว่า
เมื่อทำกรรมดี เช่น ให้ทานแล้ว ผลของการให้ทาน ก็จะเกิดมาเป็นคนรวย
ถ้าไปฉ้อฉน กบฎ คดโกงเขา ก็จะเกิดมาเป็นคนยากจนอนาถา

รักษาศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเกิดมาเป็นคนน่าเคารพ น่ากราบไหว้บูชา ผู้คนนับถือ รูปร่างงาม
ถ้าผิดศีล เกิดมาเป็นคนแล้ว มีแต่คนรังเกียจ ดูถูกเยียดหยาม ไม่มีใครเขาเคารพ ฯลฯ

ความแก่ เจ็บ ตาย ความทุกข์ต่างๆ นาๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้

มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? ถ้าไม่มีคนหรืออำนาจอะไรซักอย่างหนึ่งทำหน้าที่อยู่ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามนี้ หรือกฎเกณฑ์เหล่านี้ ต้องมีผู้กำหนด ไม่อย่างนั้น ผู้รู้คงไม่สั่งสอนให้พ้นไปจากสภาวะนี้ไปให้พ้นจากอำนาจนี้ จะได้ไม่ต้องแก่ เจ็บ ตาย อีก เราจะมีวันรู้ และพ้นจากสภาวะนี้ไหมครับ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนี้ เป็นเรื่องธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ หลักของเหตุและผล และกฎแห่งกรรม

หากเรามองตามความเป็นจริง เช่น เราให้ทานหรือแบ่งปันวัตถุ ให้กับคนที่ต้องการหรือขาดแคลน เราจะเป็นที่รัก หรือเป็นคนที่น่ารังเกียจ เรื่องอย่างนี้ใครกำหนด ?

ถ้าเราฉ้อฉล คดโกง เอาเปรียบทุกรูปแบบ ใครเขาจะรักเรา

ทำทาน ทำดี ทำบุญทำกุศล
เอาเปรียบ แย่งชิง คดโกง ทำบาป ทำชั่ว
ใครจะมาบังคับให้เราทำได้ เราเป็นผู้กำหนด เราเป็นผู้สร้าง เราเป็นผู้บังคับบัญชาเอง

เราเลือกที่จะทำดี เลือกที่จะทำชั่วได้ไหม ?
บางคนบอกว่าได้ บางคนบอกว่าไม่ได้ ทำไม ?

บางคนจิตใจเข้มแข็ง ไม่ยอมแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โดยไม่ชอบธรรม

บางคนจิตใจอ่อนแอ ยอมแพ้ต่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็น โดยใช้ทุกวิถีทางที่ไม่ชอบธรรม ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ

ผลของบุญ ผลของบาป ผลของการกระทำหรือผลของกรรมจึงเกิดขึ้น
เหมือนปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกต้นมะม่วงผลที่ได้ย่อมเป็นมะม่วงไม่ได้มะพร้าวแน่ เรื่องอย่างนี้ใครกำหนด ?

เป็นเรื่องของธรรมชาติ หลักของเหตุและผล ท่านรียกว่า กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครยิ่งใหญ่เหนือกรรม

พระพุทธเจ้าบางพระองค์บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงขัยกัปป์ บางพระองค์ ๘ อสงขัยกัปป์ และ ๔ อสงขัยกัปป์ สำหรับพระพุทธเจ้าในสมัยของเรา เพื่อที่จะได้ตรัสรู้หรือรู้เรื่องของกฎแห่งกรรม กฎของธรรมชาติ เพื่อหนีให้พ้น ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยพระองค์เอง

เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้มีพระมหากรุณาแนะนำสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้รู้ตามพระองค์ เพื่อที่จะไม่ต้องทำชั่ว ทำบาป จะได้หลุดพ้น ตามอย่างพระองค์

เราท่านโชคดีแท้ ที่พระองค์ทรงดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้สัตว์โลกอีก ๕,๐๐๐ ปี ใครมีปัญญา มีความเพียรมานะพยายาม ก็สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้

พระสงฆ์สาวกสุปฏิปันโน ที่ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน บรรลุมรรค บรรลุผล ให้เราท่านได้เห็น ได้กราบไหว้บูชาอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะพระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ได้ตรัสรู้จากกฎของธรรมชาตินี่เอง

ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก

แก้ไขล่าสุดโดย I am เมื่อ 23 ก.ค.2007, 12:14 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 9:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าธรรมชาติเป็นคนกำหนดแล้ว

อะไรคือ ธรรมชาติ ต้นไม้ เป็นคนกำหนด ภูเขา บ้านช่อง เรือนชาน โลก พระจันทร์ พระอาทิตย์ ฯลฯ หรือ ?

เพราะสิ่งเหล่านี้ ก็ยังต้อง เกิด เสื่อม สลาย ไปเหมือนๆ กับตัวเราเอง

แล้วอะไรละ !!! ที่เป็นตัวกำหนดให้เป็นไปอย่างนี้ ธรรมชาติเหรอ ? แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก (โลก ๓) ยังต้องตกอยู่ในอำนาจนี้ ยังไม่อยู่เหนืออำนาจนี้ แค่พ้นจากสภาวะนี้เท่านั้น ยังแก้ไขไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ไม่ได้ !!!

ขอความเห็นเพิ่มครับให้กระจ่างมากขึ้น
 


แก้ไขล่าสุดโดย pal_bh เมื่อ 19 ก.ค.2007, 10:18 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 10:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนทำผิด เอาเข้าคุก !!!
ยังต้องมีคนสั่ง คนคลุม ไปเข้าคุกเลย ธรรมชาติ (สายลม แสงเเดด ฯ,ฯ) ไม่ได้ทำ ไม่ได้กำหนด

แล้วความแก่ ความเจ็บ ความตาย ฯลฯ เล่าครับ

อยากทำความเข้าใจให้ได้มากกว่านี้ เพราะเหมือนกับเป็นการ จะยกโทษทั้งหมด ให้กับ ธรรมชาติ ฝ่ายเดียว

เหมื่อนกับว่า

ธรรมชาติ ไว้ก่อน ก็คือ เพราะความไม่รู้ของเรา
ใครสร้างโลก พระเจ้า แต่ก็เห็นพระเจ้าไม่ได้ ยกโทษนี้ให้พระเจ้าไว้ก่อน
ธรรมชาติกำหนด แต่ก็เห็นธรรมชาติไม่ได้ ยกโทษให้ธรรมชาติไว้ก่อน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
จิรายุ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 ก.ค. 2007
ตอบ: 16
ที่อยู่ (จังหวัด): ปทุมธานี

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอแสดงความเห็นในประเด็นนี้ด้วยคนนึงครับ ส่วนตัวของผมเองผมก็อยากรู้คำตอบ เหมือนกันครับ ประเด็นของเรื่อง คือ ถ้าเราเชื่อในเรื่อง กฎแห่งกรรม ชาตินี้ ชาติหน้า มันก็จะอธิบายได้ในเรื่องนี้ เรื่องที่จะให้เข้ามาอธิบายกัน เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้งนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้หรอก ผมว่าเราต้องฝึกตัวเรา ให้เกิดปัญญาที่ละเอียด ลึกซึ้ง เพียงพอ ที่จะเข้าใจ เรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างนั้น เหมือนกับจะเอาตาเปล่าไปมองดูว่าโมเลกุลของธาตุจับตัวกันอย่างไร มองเท่าไหร่ ๆ มันก็คงมองไม่เห็น นอกเสียจากเราจะใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง ๆ ไปจับ
 

_________________
ตั้งใจทำความดี เพื่อชาตินี้ และชาติหน้า
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 6:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราอยากจะทำดี ใจนึงแย้งว่า อย่าทำเลยไม่ได้อะไรหรอก

เวลาเราอยากคิดจะทำความชั่ว ก็มีใจหนึ่ง คิดขึ้นมาว่า อย่าทำเลย ไม่ดี


บางครั้ง เรารู้ว่า อย่างนี้ชั่วไม่ดี แต่ก็ทำ
บางครั้ง เรารู้ว่า อย่างนี้ดี เป็นบุญ แต่ไม่ทำ


เบื้องหลัง เราทราบว่า คือ กิเลส เป็นผู้ทำให้เรา คิด พูด ทำ ความชั่ว
เบื้องหลัง เราทราบว่า คือ บุญ เป็นผู้ทำให้เรา คิด พูด ทำ ความดี


ทั้งหมดเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

ความชั่ว คือสิ่งที่เราจะต้องกำจัด
ความดี คือสิ่งที่เราจะต้องทำให้เกิด และเจริญ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความทุกข์ทั้งหลาย "กิเลส" เป็นเจ้าของ
ถ้าใครมีกิเลส ตัญหา อุปทาน ฯลฯ แล้ว กระทำทางกาย วาจา ใจ แล้ว เตรียมตัวรับความทุกข์ได้


ความสุขทั้งหลาย "บุญ" เป็นเจ้าของ
ถ้าใครมีบุญ ความดี ทาน ศีล ภาวนา ฯลฯ แล้ว กระทำทางกาย วาจา ใจ แล้ว เตรียมตัวรับความสุขได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก (โลก ๓) ยังต้องตกอยู่ในอำนาจนี้ ยังไม่อยู่เหนืออำนาจนี้ แค่พ้นจากสภาวะนี้เท่านั้น ยังแก้ไข ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ไม่ได้ !!!

ไม่แน่ใจนักว่า จะทำปัญหาคาใจให้แจ้งประจักษ์ได้
แต่เราก็คุยกันได้ แลกเปลี่ยนทัศนะกันได้มิใช่หรอ


ยังแก้ไข ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ไม่ได้ !!!

สิ่งดังกล่าว มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง เป็นอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ไม่ว่า จอมศาสดาจะอุบัติขึ้นมาในโลกหรือไม่ก็ตาม

สิ่งเหล่านั้น มันมี มันเป็น ของมันอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ

ก็ในเมื่อมันมี มันเป็น ของมันอยู่อย่างนั้น แล้วใครที่ไหน จะกลับจะฝืนให้มันเป็นอย่างอื่นได้ คือว่าให้มันเป็นอย่างที่เราต้องการได้เล่า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2007, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากค่ะ
ยากที่เราซึ่งยังเป็นปถุชนจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ทั้งหมดเนื่องเพราะเราผ่านการเกิด
ดับเวียนว่ายตายเกิดมาหลายภพหลายชาติ นับไม่ถ้วน
เราไม่รู้ว่าตัวเราเองได้เคยเป็นผู้กระทำ
หรือถูกกระทำทั้งกรรมดี-กรรมชั่ว ไว้ต่อใคร แค่ไหน อย่างไรบ้าง...

กฏธรรมชาติได้กำหนดให้เราถูกลบความจำได้หมายรู้ไปเสียทุกครั้งที่กำเนิดใหม่
อาจมีข้อยกเว้นบ้างบางกรณี ดังเช่น พระอริยะที่ได้จุตุปปาตญาณ
ที่รู้จุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย หรือผู้นั้นได้เจริญจิตภาวนาจนได้อตีตังสญาณ
จนรู้อดีตชาติตนเอง

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวนั้นคิดและเชื่อเสมอว่ากรรมเป็นสิ่งเดียวทรงอานุภาพ
แห่งความยุติธรรมที่สุด เป็นกฎแห่งธรรมชาติ เป็นผู้บันดาลให้เรามี
ให้เราเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตราบที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร

กับคำถามที่ว่า “ใครเป็นคนกำหนดเรื่องกรรม”
เพราะเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์จึง
ขอตอบว่า “ตัวเราเองเป็นผู้กำหนด กรรมของตัวเอง”

แต่ถึงกระนั้นก็เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะยังแคลงใจ
เพราะเป็นคำตอบที่ยังไม่มีต้นสายปลายเหตุหรือสามารถหาเหตุผลมารองรับได้
“ว่าอย่างไร”

ดังนั้น ด้วยจิตคารวะในองค์พระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดในชีวิต

จึงใคร่ขออนุญาต อัญเชิญบทพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปรินายก เรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรม”
โดยการสรุปความในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถาม
ด้วยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ตั้งกระทู้ และผู้อ่าน
ทั้งนี้เพื่อความกระจ่างแจ้งขึ้น ดังต่อไปนี้ค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

กรรมคืออะไร

หมายถึง กิจการที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึงทั้งทำด้วยกาย
ที่เรียกว่า “กายกรรม” ทั้งทำด้วยวาจา อันเรียกว่า “วจีกรรม”
ทั้งทำด้วยใจคือคิด อันเรียกว่า “มโนกรรม”

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แปลความว่า

“เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ
คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง”


กรรมเกี่ยวข้องกับคนเราอย่างไร

คนเรานั้นเกี่ยวข้องกับกรรมอยู่ตลอดเวลา
เพราะตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับอีกครั้ง ก็มีเจตนาที่จะทำอะไรๆ ต่างๆ
พูดอะไรๆ คิดอะไรๆ ต่างๆ อยู่เสมอ โดยปกติไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉยได้
ถึงมือไม่ทำ ปากก็พูด ถึงปากไม่พูด ใจก็ยังคิดเรื่องต่างๆ

กรรมนั้นดีหรือไม่ดี

กรรมจะดีหรือไม่ดี ก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้นๆ
ถ้าให้ผลเป็นคุณเกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่นก็เป็นกรรมดี เรียกว่า “กุศลกรรม”
แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด
หรือ “บุญกรรม” กรรมที่เป็นบุญ คือความดี เป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว
เช่น การรักษาศีล ประพฤติปฏิบัติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้แต่กระทำกิจกการที่ดีที่ชอบ
ที่สุจริต เช่น การตั้งใจเรียน การตั้งใจเรียน การช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน
การตั้งใจประพฤติตนเป็นคนดี ลูกที่ดี พ่อแม่ที่ดี หรือครูที่ดี ตามฐานะบทบาทที่ตนเป็น
การช่วยเหลือเกื้อกูลมิตรสหาย การทำงานสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ

ส่วนกรรมที่ให้โทษ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นกรรมชั่ว ไม่ดี
เรียกว่า “อกุศลกรรม” แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด หรือ บาปกรรม
กรรมที่เป็นบาป เช่นการประพฤติผิดในศีลธรรม ประพฤติทุจริตต่างๆ
ที่ตรงข้ามกับกุศลกรรม

ตัวอย่างของกรรมดีและกรรมไม่ดี ข้างต้นนั้น กล่าวตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแสดงเป็นทางปฏิบัติไว้ชัดเจน เรียกว่า “กรรมบถ”
แปลว่า ทางของกรรม เรียกสั้นๆ ว่า ทางกรรม ทรงชี้แจงไว้อย่างเพียงพอและเข้าใจง่าย
ว่าทางไหนดี และไม่ดี คือ

กายกรรม

ฆ่าเขา ๑ ลักของของเขา ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ เป็นอกุศลกรรม
ส่วนการ เว้นจากการทำอย่างนั้น และ
อนุเคราะห์เกื้อกูลเขา ๑ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ๑ สังวรในกาม ๑ เป็นกุศลส่วนที่ดี

วจีกรรม

พูดมุสา ๑ พูดส่อเสียดเพื่อให้เขาแตกแยกกัน ๑ พูดคำหยาบด้วยมีใจโทสะ
เพื่อให้เขาเจ็บใจ ๑ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ๑ เป็นอกุศล
ส่วนการเว้นจากการพูดอย่างนั้นและ
พูดแต่คำจริง ๑ พูดสมัครสมาน ๑ พูดคำสุภาพเพราะรื่นหูจับใจ ๑
พูดมีหลักฐานถูกต้อง ชอบด้วยกาละเทศะ ๑ เป็นกุศล ส่วนดี

มโนกรรม

คิดเพ่งเล็งอยากได้ของของเขามาเป็นของของตนเอง ๑ คิดพยาบาทมุ่งร้ายเขา ๑
เห็นผิดจากคลองธรรม ๑ เช่น เห็นผิดว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว๑ เป็นอกุศล
และ คิดเผื่อแผ่ ๑ คิดแผ่เมตตาจิตให้เขาอยู่เป็นสุข ๑ คิดเห็นชอบตามคลองธรรม
เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี

กรรมก่อให้เกิดหลักสมภาพ (สมจริยา) ในพระพุทธศาสนา

สมภาพคือความเสมอกันนั้น ในทางพระพุทธศาสนา
กรรมอาจทำให้สิ่งนั้น คนนั้น เสมอกันได้ในทางที่อาจจะกระทำได้
แต่ก็ไม่อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่ไม่อาจจะทำนั้นๆ ได้ เช่น คนเกิดมาเพศต่างกัน
มีรูปร่าง สูงต่ำดำขาวต่างกัน เป็นต้น แม้ในคนคนเดียวกันนิ้วทั้ง ๕ ก็ไม่เท่ากัน
จะทำเท่ากันได้อย่างไร สิ่งที่ไม่อาจจะทำให้เท่ากันได้

อย่างไรก็ตาม ในทางพระพุทธศาสนา
ก็มีบางส่วนที่สามารถจัดให้เกิดเสมอภาคกันได้
นั่นคือ การเว้นจากทางกรรมฝ่ายอกุศล ดำเนินในทางกรรมฝ่ายกุศล
ตามที่ทรงสั่งสอนไว้

แนวทางที่พระพุทธศาสนากล่าวถึงกรรมไว้
ซึ่งประมวลเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ ๓ ข้อ คือ


๑. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรม ใครทำดีก็เป็นกุศลติดตัว
ใครทำชั่วก็เป็นอกุศลกรรมติดตัวอยู่

๒. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรมวิบาก คือ ผลของกรรม ผลที่ดีเกิดจากกรรมที่ดี
ผลที่ชั่วเกิดจากกรรมต้นที่ชั่ว ไม่สับสนกัน เหมือนอย่างผลมะม่วงเกิดจากต้นมะม่วง
ผลขนุนเกิดจากต้นขนุน หว่านพืชเช่นเช่นไร ก็ได้ผลเช่นนั้น

๓. พระพุทธศาสนาแสดงว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
คือตัวเราเองทุกๆ คนเป็นเจ้าของผลของกรรมนั้นๆ ด้วย
เมื่อตัวเราเองทำไม่ดีก็มีกรรมชั่วติดตัว และต้องได้รับผลชั่วไม่ดี
จะปัดกรรมที่ตัวเราเองทำให้พ้นตัวออกไป
และจะปัดผลของกรรมให้พ้นตัวออกไปด้วยหาได้ไม่
ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อกรรมของตนเอง

ดังคำกล่าวที่ว่า

เรามีกรรมเป็นของตน
เรามีเป็นกรรมทายาท คือเป็นผู้รับผลของกรรม
เรามีกรรมเป็นกำเนิด
เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีและเลวต่างๆ กัน


กรรมเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

สร้างเหตุอย่างนี้ ผลจึงเป็นเช่นนี้

กรรมจึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยหลักสามัญสำนึก
หลักตรรกะ ความเป็นเหตุผล และการวิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัย


แต่การที่คนไม่น้อยยังไม่มีความเชื่อมั่นลงไปในหลักที่กล่าว
ก็เป็นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ

๑.ความลำเอียงเข้ากับตนเอง หรือถือเอาแต่ใจตน
๒.ไม่เห็นผลสนองที่สาสมทันตาทันใจ


ข้อนี้การที่จะได้รับผลของกรรมต้องอาศัยกาลเวลาทั้งนั้น
และผลที่ได้รับนั้นจะดีหรือไม่ดีอย่างไรก็สุดแล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

การให้ผลของกรรมเกี่ยวข้องกับ เหตุปัจจัย ๔ ประการ ดังนี้

๑. คติ

คือที่ไป ทางไป คือทางที่ทุกๆ คนดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น นักเรียนที่เรียนมัธยม ๖ มาแล้วจากต่างจังหวัด
เรียกว่าได้ทำความดีมาแล้วถึงชั้นนั้น และเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพ
แต่เมื่อไปอยู่ในหอพักที่ไม่ดี เมื่อถึงเวลาควรจะไปโรงเรียนก็ไม่ไป
แต่ไปเถลไถลเสียที่อื่น อย่างนี้เรียกว่ามีคติที่ไปไม่ดีตามความดีเท่าที่ทำไว้
คือเรียนมาจนจบมัธยม ๖ ในต่างจังหวัด แต่ก็ไม่ส่งเสริมให้เจริญวิทยะฐานะขึ้นต่อไป
ส่วนนักเรียนที่เรียนมาไม่สู้ดี ไม่จบถึงชั้นไหน แต่ก็มีความตั้งใจดี
ไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่ดีและได้กวดวิชาอย่างจริงจัง ก็อาจจะสอบขึ้นชั้นสูงได้

๒. อัตภาพ

การมีร่างกายสมบรูณ์ ประกอบด้วยพลานมัย สามารถทำสิ่งที่ควรทำได้ตามต้องการ
ความดีจะให้ผลเต็มที่ต่อเมื่อร่างกายแข็งแรงสมบรูณ์ด้วย
เช่น เรียนหนังสือมาได้ถึงชั้นใดชั้นหนึ่งนับว่าได้ทำความดีมา
จะเรียนต่อไปได้จนสำเร็จก็ต้องมีร่างกายที่สมบรูณ์ ไม่ป่วยเป็นโรคกระเสาะกระแสะ
เพราะหากเป็นเช่นนั้นการเรียนหรืการทำงานก็ขัดข้องไม่สะดวก

๓. กาลสมัย

หมายถึงว่าขณะนั้นคนผู้นั้น อยู่ในกาลสมัยที่มีผู้ปกครองที่ดี มีหมู่ชนที่ดี หรือไม่
หากเป็นเช่นนั้นกรรมดีก็มีโอกาสให้ผลได้มาก
เพราะในกาลสมัยเช่นนี้จะพากันยกย่องอุดหนุนคนดี ไม่สนับสนุนคนชั่ว
ทำให้คนดีมีโอกาสประกอบกรรมดีที่เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
แต่หากไปอยู่ในกาลสมัยที่บกพร่อง มีผู้ปกครองไม่ดี มีหมู่ชนที่ดี
กรรมดีที่ตนทำไว้ก็ไม่มีโอกาสให้ผล
กรรมชั่วกลับมีโอกาสให้ผลเพราะเป็นกาลสมัยที่กดคนดี ยกย่องคนชั่ว
นับว่าเป็นกาลวิบัติอย่างหนึ่ง ดังเช่นในยุคสงครามโลก
ที่เกิดวิกฤติการณ์ข้าวยากหมากแพง เป็นต้น

๔. การประกอบกรรม (ในปัจจุบัน)

หมายถึง การประกอบกระทำในปัจจุบัน
หากประกอบกระทำกรรมที่ดีที่ชอบอยู่ในปัจจุบัน
กรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีตก็อาจยังระงับผล
หรือแม้กำลังให้ผลอยู่แล้วก็อาจบรรเทาเบาบางลงได้
ดังเช่น ผู้ที่ต้องถูกกักขังจองจำนั้น เมื่อประพฤติตัวดีก็ย่อมได้รับการผ่อนผัน
ถ้ากรรมเก่าดีอยู่แล้วก็ยิ่งจะส่งเสริมเหมือนอย่างนักเรียนที่ตั้งใจเรียนดีมาแล้ว
และตั้งใจเรียนดีอยู่ ปัจจุบันก็ช่วยให้เรียนดียิ่งขึ้น
แต่ถ้าในปัจจุบันประกอบกรรมชั่วที่เสียหาย
ก็จะตัดผลของกรรมของความดีที่เคยทำมาแล้ว
ดังเช่น ข้าราชการที่ทำงานมาโดยสุจริตแล้ว
แต่มาทำทุจริตในหน้าที่ขึ้นก็อาจตัดผลของความดีที่ทำมาแล้ว
ในเมื่อผลแห่งการทำทุจริตในหน้าที่นั้นได้ปรากฏขึ้น

รวมความว่า ทุกๆ คน ทำกรรมใดๆ ไว้ กรรมนั้นๆ ย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง
ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆ ไป บ้างตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่างไร


ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูง และโยนสิ่งต่างๆ
มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ใบหญ้า เป็นต้น ลงมา
ของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่พื้นดินก่อน
ส่วนของที่มีน้ำหนักน้อยกว่าก็จะตกถึงพื้นดินภายหลังโดยลำดับ กรรมก็ฉันนั้น
กรรมที่หนักให้ผลก่อน


กัลฺยาณการี กลฺยาณํ
ปาปการี จ ปาปกํ


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : “วิธีปฏิบัติกรรมฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกรรม”
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
จัดพิมพ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสเจริญชนมายุครบ ๘๔ พรรษา, ๓ ตุลาคม ๒๕๔๐)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 6:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวเราเอง เป็นคนกำหนดกรรมเอง ที่ต้องลงมาเกิดใน ภพมนุษย์ นี้ก็เพราะกรรมของตนเอง เจตนามาเกิดเองก็มี จิตใฝ่ต่ำพาจิตตกลงมาเกิดในภพมนุษย์นี้ก็มี เปรียบได้ง่ายเหมือนการเพาะปลูกพืช นั่นแหละ ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 8:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราทุกคน รักความสุข และเกลียดความทุกข์

อีกอย่าง
ที่มาของความสุข คือ การสร้างบุญ ความดี ฯลฯ
ที่มาของความทุกข์ คือ การสร้างบาป ความชั่ว ฯลฯ


ผมเชื่อว่า ทุกคนทราบดี และเมื่อทุกคนรู้อย่างนี้แล้ว ปรารถนาที่จะสร้างความดี เพื่อให้ตนได้รับความสุข ในขณะเดียวกัน เราก็ทำไม่เต็มที่ หรือไม่ทำเลย นั่นเพราะมีความชั่ว คือกิเลส ยังบังคับบัญชาเราได้อยู่ เราอยู่ใต้อำนาจกิเลส
เมื่ออยู่ใต้อำนาจกิเลสแล้ว ที่บอกว่ากรรมดี กรรมชั่ว เราเป็นคนกำหนดนั้น คงไม่ถูกทั้งหมด
ถ้าเราเป็นคนกำหนดเอง 100 % แล้ว ไม่มีอะไรแอบแฝงลับๆอยู่เบื้องหลังแล้ว ความชั่วคงขัดขวางการทำดีของเราไม่ได้เสมอ

ถึงมีความชั่ว ตัวฉกรรจ์ (อนุสัยกิเลส) แล้ว ถ้าเราจะทำดีแล้วละก้อ กิเลสพวกนี้คงทำอะไรเราไม่ได้
ณ ตอนนี้ เรายังชนะกิเลส (อนุสัย) ยังไม่ได้ ก็ยังทำกรรมดีโดยเราเป็นผู้กำหนดไม่ได้เต็มที่ หรือทำดีไม่ได้เลย (ถึงอยากจะทำใจจะขาด)
นั่นก็แสดงว่า เรายังกำหนดการกระทำความดี ละความชั่ว ยังไม่ได้เต็มที่
เพราะมี สิ่งเหล่านี้ปกครองเราลับๆ อยู่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 8:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกท่านคงเคยอ่านพุทธประวัติมาทุกท่าน
ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ทรงเสวยวิมุติสุข อยู่ 49 วัน ณ สถานที่ต่างๆ

เมื่อตอนที่พระองค์เสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นเกตุ ตอนนั้นฝนตก ก็ได้มีพระยานาคชื่อมุจจลิน แผ่พังพาน ถวายพระองค์

พระองค์ทรงรู้ และ เห็นธรรมะ(ความจริง) แล้วทรงอุทานออกมา 3 วาระ ด้วยกัน (คงเคยได้ยิน)


วาระที่ 1
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ

วาระที่ 2
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ ฃ

วาระที่ 3
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.


วาระที่ 3 น่าสนใจ ครับ
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ หยุดอยู่

สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ เหมือนดัวดวงอาทิตย์ผุดขึ้นมากำจัดความมืด กระทำอากาศให้สว่างฉะนั้น


คำว่า "มารและเสนามาร" พระองค์ทรงเห็นและรู้ อะไร ลักษณะแบบไหน ? (เราจะไปรู้เห็นเหมือนพระองค์หรือ ?) พระองค์ ถึงได้ตรัสอุทานออกมา
ถ้าจะตีความแบบนักปริยัติ (ไม่ได้ปฏิบัติ คิดเอาตามภูมิบาลี ไม่ใช่ภูมิธรรมภูมิปัญญา) ก็ตีความไปว่า เป็นชื่อของกิเลสใหญ่ กิเลสน้อย (ตนไม่ได้เห้นเอง ตีความตามตัวหนังสือ อักขรบาลี..)

ก็เลยมีข้อคิดว่า
เบื้องหลัง (ระดับหนึ่ง) ที่ทำให้เราได้รับความทุกข์ เดือนร้อน ให้ทำชั่ว ด้วยกาย วาจาและใจนี่ (ทั้งๆที่เราไม่อยากจะทำ และเต็มใจจะทำทั้งๆที่รู้ว่าไม่ดี) ก็คือกิเลส ซึ่งมีตัวมีตน (มารและเสนามาร) เป็นผู้บังคับบัญชาเราลับๆ อยู่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วุฒิชัย
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2007
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 10:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดของผมนะครับ ตัวกรรมเป็นเรื่องที่ขัดกับสามัญ
สำนึกมากๆ เพราะฉนั้นอธิบายเป็นภาษาคำพูดอย่างไร
ก็คงไม่มีวันเข้าใจแน่นอน อยากให้ลองศึกษาเรื่องกลศาสตร์ควอนตัม
ดู นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเค้าก็ต่อต้านแนวคิด
ตัวเองเหมือนกัน ถ้าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปมากกว่านี้อาจอธิบาย
ด้วย ฟิสิกข์ควอนตั้มใด้ ทฤษฎีควอนตัมก็ยากที่จะใช้
สามัญสำนึกทำความเข้าใจใด้เช่นเดียวกัน
เพราะมันเป็นเรื่องเดียวกับจิตวิญาณครับ
 

_________________
ร่างกายเคลื่อนไหว ใจสงบนิ่ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo MessengerMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเสนอความเห็นต่อคุณวุฒิชัยนะคะ

ในความคิดของตนเอง เข้าใจว่าที่ท่านกล่าวถึง "กรรม"ว่า
เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้โดยสามัญสำนึกนั้น
ท่านคงหมายถึงว่า "สามัญสำนึก" (common sense) นี้
เป็นการสั่งสมประสบการณ์ที่เกิดจาก "การรับรู้" (perception)
ที่คนเราพึงได้รับจากประสบการณ์ทั้งทางอ้อม เช่น การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน
และประสบการณ์ทางตรงที่ตนได้สัมผัสมาเอง

ด้วยเหตุนี้ ในความจริงแล้ว แต่ละบุคคลจึงมี
"สามัญสำนึก" ไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง
เช่น วิธีคิด การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว การศึกษา คุณธรรม มโนธรรมฯลฯ
ดังที่พระพุทธองค์ก็ยังทรงจำแนกคนไว้เป็นบัว๔ เหล่าเลยค่ะ
(เหมือนกุหลาบสีชาที่ยังเป็นบัวใต้ดิน) ยิ้มเห็นฟัน

ฉะนั้น คนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เข้าใจในกรรม
จึงคิดว่ากรรมไม่มี บาป-บุญไม่มี
ก็เลยตั้งหน้าตั้งตากันทำชั่วกันต่อไป...และต่อไป
โดยไม่สนใจว่ากรรมจะให้ผลอย่างไร
โลกนี้จึงยังมีทั้งคนดี และคนชั่วปะปนกันไปตราบกัลปาวสาร

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

แต่...ค่อนข้างเห็นด้วย
และขอขอบคุณสำหรับความเห็นที่ว่า
กรรมเป็นเรื่องยากที่จะให้เข้าใจด้วย "ภาษา" ที่เราๆใช้สื่อสารกัน
เพราะยังมีข้อจำกัดอีกมากมายในการอธิบายสิ่งที่มนุษย์ใช้เรียก "กรรม"
ซึ่งเป็นมากกว่านามธรรม และกิริยา (ตามที่เราๆเข้าใจ)

อย่างไรก็ตาม
ขอรบกวนคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม
เพื่อเป็นวิทยาทานด้วยนะคะ สนใจค่ะ
(เผอิญว่าไม่ได้เรียนมาทางสายวิทย์น่ะค่ะ ความรู้ด้านนี้จึงมีจำกัด....มาก) ยิ้ม

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
pal_bh
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ก.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 1:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นักวิทยาศาสตร์ เกิดหลังพระพุทธเจ้า บางคนยังผิดศีล คุณะรรมไม่มี คุณวิเศษก็ไม่มี มีแต่ความสามารถทางโลกที่เรายอมรับกันว่าดี ไม่น่าจะเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ก็ยังไม่แทงตลอดหมด มาพิสุจน์เรื่อง (เกินที่จะรู้ได้ เห็นได้ด้วยตาเปล่าๆ) นี้ได้อย่างไร ?

ส่วน วิชชา (วิชชา ๓ วิชชา ๘ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ) ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงค้นพบ ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง ตลอดทั้งภพ ๓ ทรงรู้แจ้งโลก (ไม่ใช่แต่โลกสีน้ำเงินใบนี้อย่างเดียว) น่าจะเข้าไปศึกษาดู และทำให้ได้ ให้รู้ และให้เห็น เหมือนดังเช่น พระพุทธองค์และพระสาวกที่ปฏิบัติมาก่อนแล้ว จะได้รู้ และเข้าใจ เช่นเดียวกับท่านเลยทีเดียว

โอปนยิโก เอหิปัสสิโก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2007, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นธรรมดาค่ะ
แต่ถ้าถามถึงว่าใครเป็นผู้กำหนด
ก็ตัวเราละค่ะ ทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว
การกระทำทุกอย่างมีผลค่ะ
อยู่ที่ช้าหรือเร็ว
อาจจะเห็นภายในชาตินี้ หรือชาติหน้าค่ะ
แต่ยังไงก็ตาม
ก็ขอให้เป็นคนดี ไม่ต้องทำอะไรมากหรอกค่ะถ้าจะเป็นคนดี
แค่รักษาศีล 5 ก็ดีได้แล้วล่ะค่ะ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2007, 12:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดเห็นที่แตกต่างคงไม่ได้หมายความว่า
เราไม่อาจจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันได้
จริงมั้ยคะคุณ pal_bh ยิ้มเห็นฟัน

ดูแต่มุมมองของน้อง nattakarn สิคะ
back to basic มากๆ

ช่างน่าชื่นชม ...ตอบได้โดนใจ
เกินวัยเสียจริงๆ เลย สู้ สู้ ปรบมือ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ระเบียบ แก้วทอง
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 ก.ค. 2007
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2007, 3:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ pal-bh ตั้งคำถามมาว่า "ถ้ารักษาศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเกิดมาเป็นคนน่าเคารพ น่ากราบไหว้บูชา ผู้คนนับถือ ถ้าผิดศีล เกิดมาเป็นคนแล้ว มีแต่คนรังเกียจ ดูถูกเยียดหยาม ไม่มีใครเขาเคารพ ฯลฯ มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? ถ้าไม่มีคนหรืออำนาจอะไรซักอย่างหนึ่งทำหน้าที่อยู่ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามนี้ หรือกฎเกณฑ์เหล่านี้ ต้องมีผู้กำหนด"

ปัญหามันคงไม่จบอยู่แค่นั้นแน่ครับ เพราะจะเกิดปัญหาต่อไปว่า เอ้า! แล้วผู้ที่ทำหน้าที่กำหนด กฏเกณฑ์เหล่านี้ล่ะ(สมมติว่าเป็นมาร) มีใครหรืออำนาจอะไรไปกำหนดมาร(อีกทีหนึ่งหรือเปล่า) และก็เกิดคำถามอีกว่าใครหรืออำนาจที่ไปกำหนดมารนั้นโดนใครกำหนดมาอีกทีหนึ่งหรือเปล่า... เกิดเป็นคำถามลูกโซ่ไปเรื่อยๆ ทำนองเดียวกับ ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน ไม่มีวันสิ้นสุด (หาต้นตอของการกำหนดไม่ได้และหาสิ้นสุดของการกำหนดไม่ได้) ทำให้ดูเหมือนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นถูกกำหนดมาทั้งสิ้น แม้แต่ตัวผู้กำหนดเอง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คำถามจึงเกิดขึ้นว่า การกำหนดนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ธงที่โบกสะบัดอยู่นั้น เป็นเพราะมีลมเลยทำให้มันโบกสะบัด หรือ เป็นเพราะมีธงเลยทำให้มันโบกสะบัด ใครกำหนดใคร อะไรกำหนดอะไร ดูเหมือนเราจะแยกไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมเลยคิดแย้งกับคุณ pal-bh ว่า กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่พูดมานั้น ต้องมีผู้กำหนดจริงๆ หรือ? ถ้ามีแล้วเราจะชี้ไปที่ตัวผู้กำหนดนั้นได้จริงหรือ?

คุณ pal-bh ยังบอกทำนองว่า "การรักษาศีลให้บริสุทธ์ แล้วคนก็จะเคารพนับถือ จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีอำนาจอะไรไปกำหนดหรือทำให้มันส่งผลอย่างนั้น " ถ้าจะให้มีคนกำหนดจริงๆ ผมก็คิดว่า ศีล นั้นแหละครับที่เป็นตัวกำหนด ไม่ใช่อำนาจอะไรหรือใครมากำหนดหรอก เราไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดพร่ำเพรื่อ ฯลฯ คนก็เคารพเชื่อถือในคำพูดเรา นี่เป็นอำนาจของศีลไม่ใช่หรือครับ

คุณ pal-bh ยังบอกอีกว่า "ถ้าไม่มีอำนาจใดบังคับบัญชาอยู่ ผู้รู้คงไม่สั่งสอนให้พ้นไปจากสภาวะนี้ไปให้พ้นจากอำนาจนี้ จะได้ไม่ต้องแก่ เจ็บ ตาย อีก" พร้อมกับตั้งคำถามว่า "เราจะมีวันรู้ และพ้นจากสภาวะนี้ไหมครับ ?"

ซึ่งดูเหมือนว่า คุณ pal-bh ยังไม่มั่นใจเท่าไหร่ว่าผู้รู้นั้นรู้จริง และสิ่งที่รู้นั้นจะนำพาให้พ้นไปจากสภาวะดังกล่าวได้หรือไม่ และการที่ผู้รู้พยายามลากเราออกมาจากกฏเกณฑ์ดังกล่าวก็เพราะต้องการให้เราพ้นไปจากอำนาจที่มีใครบังคับบัญชาอยู่ใช่หรือไม่

ในความเห็นของผม ผมว่าใช่เลยครับ แต่อำนาจนั้นไม่ได้มีใครหรือตัวอะไรมาบังคับบัญชาหรอกครับ แต่เป็นอำนาจของอวิชชา กิเลส ตัณหา ฯลฯ ดังนั้น ผู้รู้ท่านจึงต้องการลากเราออกมาจากอำนาจดังกล่าวนี้ ให้เราพ้นไปจากอำนาจการบังคับบัญชาของมัน ในความคิดเห็นของผม ผมว่าเรามีวัน "รู้และพ้นจากสภาวะ" นี้ได้ครับ

หากจะสรุปให้เกี่ยวกับเรื่องอำนาจ ก็คงต้องพูดว่า
อำนาจนั้นมีทั้งอำนาจฝ่ายขาว (ศีล เป็นต้น) และ อำนาจฝ่ายดำ (กิเลส เป็นต้น) สองอย่างนี้แหละครับที่กำหนดสภาวะความเป็นไปต่างๆ ไม่ใช่ใครหรือตัวอะไรมากำหนดหรอกครับ
ปรบมือ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 1:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 2:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กับคำถามที่ว่า “ใครเป็นคนกำหนดเรื่องกรรม”
เพราะเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์จึง
ขอตอบว่า “ตัวเราเองเป็นผู้กำหนด กรรมของตัวเอง”


ตรงใจ บัวหิมะ เลย เพราะถ้าให้ตอบ ก็ตอบว่า ตัวเราเองเป็นผู้กำหนด
เพราะกรรมเกิดจากการกระทำ แล้วใครละทำ ก็ตัวเรานั้นเอง เหมือนวงล้อ

ขอให้เจริญในธรรม ค่ะ สาธุ ซึ้ง
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง