Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 4:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ubalee.jpg


พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร

พระอริยเจ้าผู้เป็นปราชญ์แห่งภาคอีสาน

พระเดชพระคุณพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่านเป็นพระบูรพาจารย์ทั้งทางฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงศ์ธรรมยุตและวงศ์กรรมฐานบนแผ่นดินไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ท่านมีอันเตวาสิกที่สำคัญคือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ฯลฯ


ท่านเป็นผู้มีนิสัยองอาจ อาจหาญร่าเริงในธรรม มีธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่เห็นแก่หน้าและพวกพ้องอีกทั้งยังเป็นผู้ยินดีในสัมมาปฏิบัติ สันโดษมักน้อย ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติ ประกอบด้วยธุดงควัตร เที่ยวรุกขมูล รักษาขนบธรรมเนียมของสมณะที่ดีไว้มั่นคง มีสติสัมปชัญญะทุกเมื่อ มีความเยือกเย็นอาจหาญอดกลั้น ทนทานต่อสถาณการณ์ต่างๆ แม้ในยามอาพาธใกล้ตาย พิษของโรคร้ายรุนแรงรุมเร้าด้วยทุกขเวทนายิ่งนัก ท่านยังได้ให้โอวาทแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนว่า

“เราเป็นนักรบ ได้ฝึกหัดวิธีรบไว้ก็ไม่เสียที ได้ผจญต่อพยาธิธรรมและมรณธรรมจริงๆ ก็อาจหาญอดกลั้นทนทานไม่สะทกสะท้าน มีสติสัมปชัญญะรอบคอบ ไม่หลงไหลไม่ฟั่นเฟือน ไม่กระวนกระวาย หากถึงกาลแตกดับ ก็ไปด้วยความสงบเงียบดุจหลับไป”

จึงได้ชื่อว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติได้ผลโดยควรแก่ภาวะโดยแท้

ท่านเป็นพระนักปกครอง ที่มีอัธยาศัยงดงาม ให้ความคุ้มครองแก่ผู้น้อย ท่านแสดงธรรมสั่งสอนให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาด ชี้ให้เห็นเหตุผลแจ่มแจ้ง ใจกว้างเฉลี่ยลาภผลเกื้อกูลแก่พรหมจารี ไปอยู่ที่ไหนก็ยังคุณความดีให้เกิดแก่หมู่เป็น “คณะโสภณะ” ผู้ทำหมู่ให้งาม เป็นผู้ฉลาดในเชิงช่าง

นอกจากนี้ ท่านยังใส่ใจในการศึกษาของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และกุลบุตร กุลธิดามากทั้งภาษาบาลีและไทย เมตตาสั่งสอนให้ได้รู้หนังสือ ท่านมีความสามารถในการอธิบายอรรถธรรมให้เข้าใจง่าย และชักชวนให้อาจหาญร่าเริงในสัมมาปฏิบัติ จัดเป็นธรรมกถึกเอก มีเชาวนะปฏิภาณว่องไวเฉียบแหลม วิจารณ์อรรถธรรมอันลุ่มลึกให้แจ่มแจ้ง ท่านแต่งหนังสือไว้ทั้งคำร้อยแก้วทั้งคำกาพย์

ท่านเกิดในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ วันศุกร์เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

เป็นบุตรหัวปีของหลวงสุโภรสุประการ กรมการเมืองอุบลราชธานี และนางสุโภรสุประการ (แก้ว สุภสร)

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักเจ้าอธิการ เทวธัมมี (ม้าว) วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อปีฉลู พุทธศักราช ๒๔๒๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดศรีทอง โดยมี ท่านเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปชฌาย์ แล้วจึงมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นได้ไปศึกษาเล่าเรียนและจำพรรษาในสำนัก วัดเทพศิรินทราวาส วัดกันมาตุยาราม วัดบุปผาราม กรุงเทพมหานคร

ถึงปีระกา พุทธศักราช ๒๔๒๘ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค แล้วลาไปปฏิบัติอุปชฌาย์ที่จังหวัดอุบลราชธานี ๒ พรรษา ระหว่างนี้ เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ สร้างวัดมหาอำมาตย์ ถวายคณะสงฆ์ธรรมยุติ จึงอาราธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น

ครั้นถึงวันที่ ๑๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ พำนักที่วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วกลับไปอยู่วัดเทพศิรินทร์อีก ต่อจากนั้นได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค จึงโปรดฯให้ไปจัดการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีได้ ๒ ปีเศษ

ถึงปีกุน พุทธศักราช ๒๔๔๒ ได้รับการตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระญาณรักขิต” แล้วโปรดฯ ให้เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน จึงกลับไปอยู่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี ๕ พรรษา ภายหลังขออยู่กรุงเทพฯ อยู่ที่วัดเทพศิรินทร์บ้าง ไปธุดงค์บ้าง จนถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ จึงโปรดฯ ให้อาราธนาไปครองวัดบรมนิวาส ถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๕๒ โปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระราชกวี”
ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงโปรดฯ ให้เลื่อน สมณศักดิ์เป็น “พระเทพโมลี”

ต่อมาถึงพุทธศักราช ๒๔๕๘ ได้แต่งหนังสือเทศน์ เห็นเป็นอันไม่ต้องด้วยรัฐประศาสนโยบายบางประการอันเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกถอดจากสมณศักดิ์คราวหนึ่ง

ครั้งถึงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ กลับตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระธรรมธีรราชมหามุนี” และโปรดฯ ให้ครองวัดบรมนิวาสตามเดิม

ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ โปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระโพธิวงศาจารย์”

ครั้งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสีที่ “พระอุบาลคุณูปมาจารย์” ได้เคยรับราชการทางคณะสงฆ์ในหน้าที่สำคัญๆ หลายตำแหน่งคือ เป็นเจ้าคณะใหญ่ เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน มณฑลจันทบุรี มณฑลราชบุรี และ มณฑลกรุงเทพฯ

เมื่ออยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดมหาอำมาตย์ (วัดนี้พระยามหาอำมาตย์หรุ่นกับเจ้านครจำปาศักดิ์สร้าง) ให้ชื่อว่า “โรงเรียนบูรพาสยามเขตร” สอนทั้งภาษาบาลี ทั้งภาษาไทย และยังได้จัดตั้ง “โรงเรียนอุบลวิทยาคม” ขึ้นที่วัดสุปัฏน์ฯเช่นกัน ครั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ก็จัดการการศึกษาทั่วไปจนได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้จัดการศึกษาของกุลบุตรให้เจริญดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้ถึงวัดสิริจันทรนิมิตร ที่เขาบ่องาม (เขาพระงามในปัจจุบัน) จังหวัดลพบุรี และวัดเจดีย์หลวง นครเชียงใหญ่ ก็ได้จัดการศึกษาของกุลบุตรให้รุ่งเรืองขึ้นโดยควรแก่ฐานะ

แม้ในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านก็ได้สร้างคุณประโยชน์อันมากมาย เช่น การปฏิสังขรณ์ วัดบวรมงคล คือ พระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนวิหารคต การปฏิสังขรณ์วัดบรมนิวาส คือ พระอุโบสถ และพระอสิติมหาสาวก วิหารคต และพระพิชิตมาร ซึ่งเป็นพระประธานในศาลาอุรุพงษ์คือเป็นพระลีลาเก่าอัญเชิญมาจากจังหวัดราชบุรี และได้ให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ เช่น โรงเรียนภาษาบาลี และภาษาไทย สระน้ำ ศาลาอุรุพงษ์ ส่วนของระฆังและหอระฆัง มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนอุรุพงศ์สิริวัฒน์เป็นผู้ร่วมสร้างตลอดจนกุฏิสร้างใหม่ให้เป็นตึกหอเขียว ซึ่งเป็นกุฏิใหญ่ในวัดนี้ หม่อมเจ้าหญิงเมาลี หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า หม่อมเจ้าหญิงโอฐอ่อน หม่อมเจ้าหญิงคำขาว และหม่อมเจ้าหญิงรับแข สกุลปราโมทย์ ณ อยุธยา ทรงร่วมกันสร้างด้วยความสามัคคีธรรมแห่งคณะญาติ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ประเดิมสร้างวัดเสน่หานุกูล จังหวัดนครปฐม และที่วัสิริจันทรนิมิตร จังหวัดลพบุรี ท่านได้สร้างพุทธปฏิมากร อันมีนามว่า “พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล” ซึ่งมีหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๑ ศอก ๑๘ วาอีกทั้ง พระอุโบสถ พระกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ท่านเป็นผู้นำในการสร้างมณฑปวัดบ้านแป้ง จังหวัดสิงห์บุรี

ท่านละขันธ์วิบากเข้าสู่แดนแห่งวิมุตติด้วยโรคชรา ด้วยอริยาบถนั่ง ที่ห้องกลางกุฏิหอเขียววัดบรมนิวาสด้วยอาการสงบ ปราศจากความกระวนกระวาย เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เวลา ๑๑.๔๐ น. สิริอายุ ๗๗ ปี ๕๕ พรรษา

ท่านได้รับพระราชทานโกศโถ มีชั้นรองสองชั้น ฉัตรเบญจา ๔ ประกอบศพเป็นเกียรติยศ เมื่อมรณภาพครบ ๑๐๐ วันจึงได้ทำการพระราชทานเพลิง ณ เมรุวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร


จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 9:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง