Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ : อะไหล่ที่หาไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
through time
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2008
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2008, 2:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สุชีพ ปุญญานุภาพ : อะไหล่ที่หาไม่ได้

เสฐียรพงษ์ วรรณปก
จากมติชนรายวัน ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓


ก่อนจะถึงวันวิสาขบูชา ก็ได้รับข่าวน่าเสียใจ ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้สิ้นชีวิตเสียแล้วเมื่อวันที่เสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๓ ท่านเสียวันไหนผมไม่ทราบ ได้ทราบข่าวเมื่อเช้าวันเสาร์ จากท่านที่เคารพนับถือโทรศัพท์มาบอก ทราบเรื่องราวว่าหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนึ่งแล้ว ก็รู้สึกอึดอัดในท้อง ขอนั่งพักสักระยะหนึ่ง ท่านนั่งเข้าสมาธิอยู่เป็นเวลานาน จนภรรยาและบุตรสงสัยว่าทำไมนั่งนานปานนั้น จึงเข้าไปจับตัว จึงได้รู้ว่าตัวเย็นเฉียบ เห็นท่าไม่ไหวแล้วจึงนำส่งโรงพยาบาล ทั้งที่ท่านบอกว่า ไม่ต้องการไป ต้องการจากไปอย่างที่สงบที่บ้าน แต่ก็ด้วยความเป็นห่วงว่าท่านจะเป็นอะไรมากกว่านี้ จึงนำส่งถึงมือหมอ และก็เป็นการไปที่ไม่กลับ ท่านสิ้นลมด้วยอาการอันสงบ !

เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งปรารภว่า ท่านอาจารย์คงรู้ว่าถึงวาระที่ท่านต้องไป จึงขอไปด้วยท่านั่งสมาธิดุจดังอาจารย์เซนทั้งหลายในอดีต แต่ถึงจะไปในท่าไรก็เป็นการไปอย่างสงบเช่นกัน และก็เป็นการไปที่ผู้อยู่เบื้องหลัง เสียใจและเสียดาย

เสียใจน่ะ เป็นของธรรมดา สักพักหนึ่งก็คงทำใจได้ เมื่อรำลึกได้ว่า "มันเป็นเช่นนั้นเอง" มีเกิดก็มีดับ เป็นธรรมดา ไม่ช้าไม่นานก็คงทำใจได้ แต่เสียดายนี่สิครับ ยากจะทำใจได้ เพราะบุคคลอย่างท่านอาจารย์สุชีพ หาไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นอะไหล่ ไม่ว่าจะอะไหล่อะไรก็ตาม ท่านอาจารย์สุชีพเป็นอะไหล่ที่หาไม่ได้อีกแล้ว

หลายสิบปีมาแล้ว ถ้าท่านยังรำลึกได้ คงจะทราบว่า มีภิกษุหนุ่มรูปงามท่านหนึ่ง จบเปรียญเก้าประโยค มีความรู้พระพุทธศาสนา และศาสตร์อื่น ๆ อย่างหาตัวจับยาก เป็นนักเทศน์นักปาฐกถาธรรมที่โด่งดัง เรียกได้ว่าเพียงรูปเดียวในยุคนั้นเป็นพระไทยไม่กี่รูปที่รู้ภาษาฝรั่งเศษดีเยี่ยม แสดงธรรมเป็นภาษาฝรั่งให้ชาวต่างชาติสดับด้วยความคล่อง แคล่ว ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว

มิเพียงแต่เป็นนักเทศน์นักสอน ภิกษุหนุ่มรูปนี้ยังเป็นนักเขียนฝีมือดีอีกด้วย งานเขียนมีมากมายพอ ๆ กับงานพูด หนังสือ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน เป็นงานอมตะที่ถึงปัจจุบันนี้พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก และเป็นหนังสือที่ขายดิบขายดีอย่างยิ่ง

ท่านเป็นผู้ริเริ่มการเขียน นวนิยายอิงพระพุทธศาสนา ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ , เชิงผาหิมพานต์ ได้ออกมาสู่บรรณพิภพ ทำให้มีความตื่นตัวในการสอนธรรมะแนวใหม่ ที่คนทั่วไปรับได้ อ่านด้วยความสนุกสนาน

จากนั้นมาลูกศิษย์ลูกหาที่มีฝีมือในด้านการขีดเขียน ก็หันมาเอาอย่าง แต่งนิยายอิงธรรมะกันเป็นแถว อาทิ ธรรมโฆษ (แสง จันทร์งาม) ได้สร้างบทบาทของพระเรวตะ กับสีกาลีลาวดี ด้วยสำนวนอันชวนติดตามใน ลีลาวดี ที่พระเล็กพระน้อยติดกันงอมแงม วศิน อินทรสระ ผจงเรียงร้อย อานนท์พุทธอนุชา ออกมาอย่างไพเราะเพราะพริ้ง การกู้ชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ ของ "กนกพร" (จำนงค์ ทองประเสริฐ ) ก็ดี คำให้การของพระเทวทัต ของ "กนกบุญ" (อดิศักดิ์ ทองบุญ) ก็ดี ถึงแม้ว่า ผุ้ประพันธ์ทั้งสองมิใช่ศิษย์โดยตรงของอาจารย์สุชีพ ก็ยากปฏิเสธว่ามิได้อิทธิพลจากแนวคิดแนวเขียนของท่านอาจารย์

ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เดิมนาม บุญรอด ฉายาตอนบวชคือ สุชีโว ภิกขุ อันเป็นนามที่ติดหูชาวพุทธไทยทั่วประเทศ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นสามัญที่พระศรีวิสุทธิญาณ ตั้งแต่ยังหนุ่ม เป็นพระเจ้าคุณทั้งหนุ่ม และมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญใน สกสมัย (ศาสตร์ของลัทธิของตน) และ ปรสมัย (ศาสตร์ของลัทธิอื่น) ท่านก็มิได้เคลิบเคลิ้ม หรือหลงในโลกธรรมเหล่านั้น ตรงข้ามกลับเป็นพระที่สงบสำรวมอย่างยิ่ง

เมื่อลาสิกขาออกมาแล้ว ท่านก็ทำงานในแนวที่ถนัดในด้านวิชาการ ถ่ายทอดความรู้แก่สานุศิษย์และประชาชนทั่วไป และช่วยงานการพระศาสนา และประเทศชาติสืบมาจนอายุขัย ดังเคยช่วยกระทรวงวัฒนธรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมแห่งชาติ ช่วยสอนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ช่วยสำนักงานเอกลักษณ์ผลิตคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ ช่วยราชบัณฑิตยสถาน ทำพจนานุกรมศาสนาสากล พจนานุกรมพระไตรปิฎก

ที่สำคัญยิ่งก็คือท่านมีบทบาทสำคัญใน องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศไทย เผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

อาจารย์สุชีพมีความจำแม่นยำ ใครอยากทราบว่าพระสูตรไหน อยู่ที่ไหน มาถามท่าน ท่านจะบอกเล่มบอกหน้า พร้อมท่องให้ฟังเสร็จ คนรุ่นใหม่ "เป็นงง" ว่าท่านจำได้อย่างไร เวลาเข้าประชุมกับท่าน ท่านจะยกพุทธวจนะให้ฟังเป็นตอน ๆ พร้อมอธิบายให้ฟัง เพราะฉะนั้น ใครจะคุยกับท่านว่าได้ซื้อคอมพิวเตอร์มาค้นพระไตรปิฎกซีดีรอมท่านไม่ตื่นเต้น เพราะข้อมูลทั้งหมดอยู่ใน "ฮาร์ตแวร์" และ "ซอฟต์แวร์" ของท่านหมดแล้ว ดึงออกมาเร็วกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอีก อะไหล่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้วครับ

ผู้รู้อาวุโสอย่างท่าน มีความถ่อมตนอย่างน่าอัศจรรย์ เรียกกรรมการทุกคน ซึ่งก็วัยลูกวัยหลานของท่านทั้งนั้นว่า "ท่านอาจารย์" ทุกคำ เรียกเลขานุการว่า "ท่านเลขาฯ" จนเธอบอกว่าขนลุกทุกครั้งที่อาจารย์เรียก มิใช่การแสร้งทำ หากออกจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาอย่างยิ่งของท่าน

มีบุคคลสองท่านเท่านั้นที่ผมนินทาให้ใครฟังแล้ว ไม่ต่อประโยค จะนิ่ง หรือไม่ก็ชวนคุยเรื่องอื่นคือ ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ หนึ่งท่านอาจารย์สุชีพอีกหนึ่ง เฉพาะท่านอาจารย์สุชีพนั้น ท่านระมัดระวังเรื่องทรรศนะที่แสดงออกมาไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนใคร จนบางครั้งคนหาว่าท่าน "แหย" แต่ท่านยืนในหลักการของพระพุทธเจ้าชัดแจ้ง เมื่อถึงคราวแสดงออกท่านแสดงออกด้วยความกล้าหาญยิ่ง

เมื่อเกิดวิวาทะว่า พระนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ผมเรียนถามท่านว่า ท่านอาจารย์ว่าอย่างไร ท่านตอบว่า ถามทำไมว่าเป็นอัตตา หรืออนัตตาพระพุทธเจ้าท่านตรัสแล้วว่า อนัตตา ไม่ใช่ความเห็นของใคร เป็นพุทธวจนะของพระพุทธเจ้า

แล้วท่านก็ยกบาลีแล้วแปลให้ฟังว่า คนที่มีความเห็นถูกต้อง ไม่พึงยึดถือธรรมใด ๆ ว่าเป็นอัตตา

หลังจากอ้างเล่ม อ้างหน้าเสร็จแล้ว ท่านอธิบายว่า ธรรมะใด ๆ หมายถึงธรรมะทุกระดับ ทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม และพระนิพพานเป็นอสังขตธรรม พระพุทธเจ้ามิให้ยึดถือว่าเป็นอัตตา

บางครั้งมีการกระทบกันเรื่องนิกาย ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ตามประสาผู้ยึดติด มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าท่านอาจารย์สุชีพ "นิ่ง" มากในเรื่องนี้จนวันหนึ่งในที่ประชุม เราคุยนอกเรื่องกันด้วยเรื่องอะไรจำไม่ได้ ท่านอาจารย์กล่าวขึ้นว่า "พ่อผมบวชมหานิกาย ผมบวชธรรมยุต ผมจะไปว่ามหานิกาย ยกย่องธรรมยุตก็ไม่ได้ เท่ากับลบหลู่พ่อผม จะตำหนิธรรมยุต ยกย่องมหานิกายก็ไม่ได้เท่ากับดูหมิ่นตัวเอง เหนืออื่นใด ทั้งธรรมยุตและมหานิกาย ก็คือลูกของพระพุทธเจ้า เราควรจะดูหมิ่นพระศาสดาของเราหรือ

จึงไม่แปลกใจว่าทำไม ท่านอาจารย์สุชีพมีน้ำใจประเสริฐ มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรมเหลือเกิน คนอย่างนี้มิใช่หรือที่เราสมควรยกย่องให้เป็นแบบอย่าง

แบบอย่างผู้รู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน แบบอย่างผู้ไม่ยึดติดในเปลือกกระพี้ หากมุ่งชี้แก่นสารที่พึงนำไปปฏิบัติ ต่างจากบางคนตั้งหน้าแบกแต่เปลือกกระพี้ แถมยังเน่าเสียด้วย

ตัดทอนจากบทความเรื่อง "สุชีพ ปุญญานุภาพ : อะไหล่ที่หาไม่ได้"

http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/misc-103.htm


เทียน รวมคำสอน “อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=49286
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง