Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รู้เรื่องอายตนะก่อนรู้เรื่องอื่นๆ มีสมาธิและปัญญาเป็นต้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 9:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำมาจากหนังสือพุทธธรรม หน้า ๖๓


คุณค่าทางจริยธรรม

๑. อายตนะเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของทางแยกระหว่างกุศลกับอกุศล ทางสายหนึ่งนำไปสู่ความประมาทมัวเมา ความชั่ว และการหมกติดอยู่ในโลก อีกสายหนึ่ง นำไปสู่ความรู้เท่าทัน การประกอบกรรมดี และความหลุดพ้นเป็นอิสระ

ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หากไม่มีการฝึกฝนอบรมให้เข้าใจและปฏิบัติในเรื่องอายตนะอย่างถูกต้องแล้ว ตามปกติมนุษย์จะถูกชักจูงล่อให้ดำเนินชีวิตในทางที่มุ่งเพื่อเสพเสวยโลก เที่ยวทำการต่างๆ เพียงเพื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจและความสนุกสนานบันเทิงต่างๆ มาปรนเปรอตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความ โลภ โกรธ หลง แล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น ฯลฯ

คนจำนวนมาก บางทีไม่เคยได้รับการเตือนสติให้สำนึกหรือยั้งคิดที่จะพิจารณาถึงความหมายแห่งการกระทำของตนและอายตนะที่ตนปรนเปรอบ้างเลย และไม่เคยปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือสังวรระวังเกี่ยวกับอายตนะหรืออินทรีย์ของตน จึงมีแต่ความลุ่มหลงมัวเมายิ่งๆขึ้น

การแก้ไขในเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งอยู่ที่การสร้างความเข้าใจให้รู้เท่าทันความหมายของอายตนะและสิ่งที่เกี่ยวข้องว่าควรจะมีบทบาทและความสำคัญในชีวิตของตนแค่ไหน เพียงไร

และอีกส่วนหนึ่ง ให้มีการฝึกฝนอบรมด้วยวิธีประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การสำรวมระวังใช้งาน และรับใช้อายตนะเหล่านั้นในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ชีวิตของตนเองและสังคม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 9:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. อายตนะเป็นแหล่งที่มาของความสุขความทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการดำเนินชีวิตทั่วไปและความเพียรพยายามเฉพาะกิจแทบทุกอย่างของปุถุชน

ด้านสุขก็เป็นการแสวงหา
ด้านทุกข์ก็เป็นการหลีกหนี

นอกจากสุขทุกข์จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความประพฤติดีประพฤติชั่วดังกล่าวข้อหนึ่งแล้ว ตัวความสุขทุกข์นั้น ก็เป็นปัญหาอยู่ในตัวของมันเอง ในแง่คุณค่า ความมีแก่นสาร และความหมายที่จะเข้าพึ่งพาอาศัยมอบกายถวายชีวิตให้อย่างแท้จริงหรือไม่

คนไม่น้อย หลังจากระดมเรี่ยวแรงและเวลาแห่งชีวิตตนวิ่งตามหาความสุขจากการเสพเสวยโลกจนเหนื่อยอ่อนแล้วก็ผิดหวัง เพราะไม่ได้สมปรารถนาบ้าง เมื่อหารสอร่อยหวานชื่น ก็ต้องเจอรสขื่นขมด้วย บางทียิ่งได้สุขมาก ความเจ็บปวดเศร้าแสบกลับยิ่งทวีล้ำหน้า ฯลฯ

การศึกษาเรื่องอายตนะนี้ มุ่งเพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันสภาพความจริง และประพฤติปฏิบัติด้วยการวางท่าทีที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนและผู้อื่นมากนัก อย่างน้อยก็ให้มีหลัก พอรู้ทางออกที่จะแก้ไขตัว นอกจากระมัดระวังในการใช้วิธีการที่จะแสวงหาความสุขเหล่านี้แล้ว ยังเข้าใจขอบเขตและขั้นระดับต่างๆ ของมัน แล้วรู้จักหาความสุขในระดับที่ประณีตยิ่งขึ้นไปด้วย ความประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับความสุขทุกข์นี้ ย่อมเป็นเรื่องของจริยธรรมไปด้วยในตัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


๓. อายตนะ ในแง่ที่เป็นเรื่องของกระบวนการรับรู้และการแสวงปัญญา ก็เกี่ยวข้องกับ

จริยธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพราะถ้าปฏิบัติในตอนเริ่มแรกไม่ถูกต้อง การรับรู้

ก็จะไม่บริสุทธิ์ แต่จะกลายเป็นกระบวนการรับรู้ที่เสพเสวยโลก หรือเป็นส่วนประกอบ

ของกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏไปเสีย ทำให้ได้ความรู้ที่บิดเบือน เอนเอียง

เคลือบแฝง มีอคติ ไม่ถูกต้องตรงตามความจริง หรือตรงกับสภาวะตามที่มันเป็น

การปฏิบัติในทางจริยธรรม ที่จะช่วยเกื้อกูลในเรื่องนี้ ก็คือวิธีการที่จะรักษาจิต

ให้ดำรงอยู่ในอุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงตรงไม่เอนเอียง ไม่ให้ถูก

อำนาจกิเลสมีความชอบใจไม่ชอบใจ เป็นต้น เข้าครอบงำ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.พ.2008, 8:05 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 10:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔. การปฏิบัติทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับอายตนะโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง มีหลายอย่าง บางอย่างก็มีไว้เพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆ กัน ทั้งนี้สุดแต่ว่าปัญหามักจะเกิดขึ้นที่จุดใด ทุกข์และบาป อกุศลมักได้ช่องเข้ามาที่ช่วงใดตอนใด

อย่างไรก็ตามท่านมักสอนย้ำให้ใช้วิธีระวังหรือป้องกันตั้งแต่ช่วงแรกที่สุดคือ ตอนที่อายตนะรับอารมณ์ทีเดียว เพราะจะทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้นเลย จึงเป็นการปลอดภัยที่สุดในทางตรงข้าม

ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คือบาปอกุศลธรรมได้ช่องเข้ามาแล้ว มักจะแก้ไขยาก เช่น เมื่อปล่อยให้อารมณ์ที่ล่อเร้าเย้ายวน จิตถูกปรุงแต่งจนราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่รู้ผิดชอบชั่วดี มีความสำนึกในสิ่งชอบธรรมอยู่ แต่ก็ทนต่อความเย้ายวนไม่ได้ ลุอำนาจกิเลส ทำบาปอกุศลลงไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำวิธีระมัดระวังป้องกันให้ปลอดภัยไว้ก่อนตั้งแต่ต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

องค์ธรรมสำคัญที่ใช้ระมัดระวังตั้งแต่ต้น ก็คือ สติ ซึ่งเป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เหมือนเชือกสำหรับดึงจิต

สติที่ในขั้นระมัดระวังป้องกันเกี่ยวกับการรับอารมณ์ของอายตนะแต่เบื้องต้นนี้ ใช้ในหลักที่เรียกว่า อินทรีย์สังวร ซึ่งแปลกันว่า การสำรวมอินทรีย์

เรียกอีกนัยหนึ่งว่า การคุ้มครองทวาร หมายถึงการมีสติพร้อมอยู่ เมื่อรับอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยอินทรีย์มีตาเป็นอาทิ ก็ไม่ปล่อยให้นิมิตหมายต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความติดพันขุ่นเคืองชอบใจไม่ชอบใจ แล้วถูกอกุศลธรรมเข้าครอบงำจิตใจ

การปฏิบัติตามหลักนี้ ช่วยได้ทั้งด้านป้องกันความชั่วเสียหาย ป้องกันความทุกข์ และป้องกันการสร้างความรู้ความคิดที่บิดเบือนเอนเอียง อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนำหลักมาใช้เมื่อไรก็ได้ตามปรารถนา เพราะสติจะตั้งมั่นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จำต้องมีการฝึกฝนอบรม อินทรีย์สังวรจึงต้องมีการซ้อมหรือใช้อยู่เสมอ

การฝึกอบรมอินทรีย์ มีชื่อเรียกว่า อินทรีย์ภาวนา

ผู้ที่ฝึกอบรมหรือเจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น หรือแม้หากความชอบใจไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา ก็สามารถระงับ หรือสลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้ จัดว่าเป็นหลักธรรมในขั้นศีล แต่องค์ธรรมสำคัญเป็นแกนคือสติ นั้นอยู่ในจำพวกสมาธิ ทำให้มีการใช้กำลังจิตและการควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว

...........

อินทรีย์สังวร - ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึง การปิดหู ปิดตาไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึงการควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ในเมื่อเกิดความรับรู้ทางตา หู เป็นต้น ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามต้องการ

(อินทรีย์ภาวนาสูตร ม.อุ. 14/853/541)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ก.ย. 2008, 6:05 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักธรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านแนะนำให้เป็นข้อปฏิบัติในเรื่องนี้ เป็น

หลักในระดับปัญญา เรียกว่าโยนิโสมนสิการ

หลักนี้ใช้ในช่วงตอนที่รับอารมณ์เข้ามาแล้ว โดยให้พิจารณาอารมณ์

นั้นเพื่อเกิดความรู้เท่าทัน เช่น พิจารณาคุณ โทษ ข้อดีข้อเสียของ

อารมณ์นั้น พร้อมทั้งภาวะอันเป็นอิสระปลอดภัยอยู่ดีมีสุขได้ โดย

ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์นั้น ในแง่ที่จะต้องให้คุณและโทษของมัน

เป็นตัวกำหนดความสุขความทุกข์และชะตาชีวิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 4:38 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อายตนะ
แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิด

ความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ แหล่งที่มาของความรู้


แปลอย่างง่ายๆว่าทางรับรู้ มี 6 (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ

มโน) ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


อายตนะ มีความหมายหลายนัย เช่น แปลว่า เป็นที่สืบต่อแห่งจิต

และเจตสิก คือ เป็นที่จิตและเจตสิกทำหน้าที่กันง่วน, เป็นที่แผ่ขยาย

จิตและเจตสิกให้กว้างขวางออกไป, เป็นตัวการนำสังสารทุกข์อันยืดเยื้อ

ให้ดำเนินสืบต่อไปอีก, เป็นบ่อเกิด, แหล่ง,ที่ชุมนุม เป็นต้น

(วิสุทธิ.3/61 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 5:02 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2007, 8:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

-ที่ว่า ต่อ หรือ เชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อหรือเชื่อมต่อกับอะไร ?

ตอบว่า เชื่อมต่อกับโลก คือ สภาพแวดล้อมภายนอก

แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆ ไป

เท่าที่มนุษย์จะมีแดนหรือเครื่องมือสำหรับรับรู้ คือ เท่าจำนวนอายตนะ 6

ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น

ดังนั้น อายตนะทั้ง 6 จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลก เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับ

แต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ

สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก เหล่านี้ เรียกชื่อว่า

อายตนะเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ เป็น

แหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก เพื่อแยกประเภทจาก

กันไม่ให้สับสน

ท่านจึงเรียกอายตนะพวกแรกว่า "อายตนะภายใน" (แดนต่อความ

รู้ฝ่ายภายใน)

และ เรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า "อายตนะภายนอก" (แดนต่อ

ความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะภายนอก 6 อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้อง

กาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า อารมณ์ แปลว่า

สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปล

ง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ส.ค. 2008, 2:36 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2007, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ข้อธรรมที่ผู้ศึกษากล่าวถึงบ่อย ๆ ก็ คือ สติ--สัญญา-ปัญญา

โดยเฉพาะสติ เพราะมีกล่าวในหมวดธรรมสำคัญ เช่น สติปัฏฐาน สัมมา

สติเป็นต้น ในการปฏิบัติธรรมมีผู้เข้าใจไขว้เขวว่าสติฝึกไม่ได้

ต้องเกิดเองจึงจะเป็นสัมมาสติ...

ฉะนั้นพึงทราบหน้าที่สติ และการทำงานของสติ-สัญญาเป็นต้น ต่อไป)




สติ-
มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต, เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต, คุม

หรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาด

กันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์

ที่จะผ่านไปก็ได้

สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้

ระลึกได้ ไม่เผลอ ด้วยเหตุนี้ สติจึงเป็นธรรมตรงข้ามกับสัมโมสะ

ซึ่งแปลว่า การลืม (สัญญาไม่คู่กับลืม)

สติ เป็นการริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตน์จำนง (เจตนา)

ในเมื่ออารมณ์ อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนง

ต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในจำพวกสังขารขันธ์

........

(สติ-ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า

mindfulness)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ค.2008, 3:14 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สัญญา-
กำหนดหมาย หรือ หมายรู้อารมณ์เอาไว้ เมื่อประสบ

อารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่า

ตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่าจำได้

ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้

การกำหนดหมาย จำได้ หรือ หมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่

ใช่นั่น ใช่นี่- (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี

สิ่งที่กำหนดหมายเอาไว้- (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี

เรียกว่า สัญญา ตรงกับความจำ ในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความ

จำ

ลักษณะสำคัญของสัญญาก็คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่

แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้

หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น



สัญญา
–ความจำ บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้

สัญญา ดี คือรู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบสร้างขึ้นเป็นรูป

ร่างที่มีความหมาย และเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจ และ

ความเข้าใจเป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี

สติ ดี คือ มีความสามารถในการระลึก

(ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบ

ผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี

ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความจำดี

...........

(การปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ท่านให้กำหนดสภาวธรรมตามเป็น

จริงทุกอย่าง เช่น สุขหนอ ทุกข์หนอ ง่วงหนอ เป็นต้น ก็เพื่อให้

สัญญาจำสภาวธรรมแต่ละขณะๆ นั้นไว้)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ค.2008, 3:44 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 6:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สติ- สัมปชัญญะ- สัญญา เหล่านี้ เป็นเจตสิกอยู่ในฝ่ายสังขารขันธ์

จะทำงานสัมพันธ์กัน

สัญญากำหนดอารมณ์กรรมฐานชัดเจนเป็นระเบียบ ก็จำอารมณ์จำสภาวะ

ในขณะนั้นๆได้เป็นขั้นเป็นระเบียบ เหมือนเก็บรวบรวมข้อมูลได้เรียบ

ร้อย สติก็หยิบก็ดึงมาให้ปัญญาตรวจสอบง่ายสะดวก

ธรรมะเหล่านี้จะต้องฝึกปรือจึงจะมีขึ้นเจริญขึ้นได้

มิใช่ปล่อยให้มันเกิดเองอย่างที่เข้าใจกัน



ศึกษาสติปัฏฐานที่=>

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 5:43 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2007, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญา - แปลกันว่า ความรอบรู้

ขยายความว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง

หรือ รู้ตรงตามตามความเป็นจริง


ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว

รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่า

ทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา

รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่อง

แท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา

รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจง จัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


แปลเข้าใจง่ายๆ พื้นๆว่า ปัญญา คือ ความเข้าใจ- (หมายถึงเข้า

ถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะ

หรือ มองทะลุปัญหา


ปัญญาช่วยเสริมสัญญา และวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของ

วิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามี

สิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น



เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความ

เข้าใจเพียงนั้น

เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มี

อะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้

ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนด

หมายต่อไปอีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 5:52 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2007, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ปัญญา ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้

เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ

ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของ

ความเจริญบ้าง

ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิด

นั้นบ้าง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 5:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2007, 4:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง

ไม่ใช่ความรู้

แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนำไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้

ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่น

หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน

ถ้าผู้มีศรัทธา รู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถ

นำไปสู่ความเจริญปัญญาและการรู้ความจริงได้

เฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อผู้อื่นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตร

ช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา


-แต่ถ้าเชื่องมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้น

ไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือ มีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม

นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2008, 7:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-โมหะ -คือ ความหลง ความไม่รู้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อวิชชา

หมายถึงความไม่รู้ตามเป็นจริง ไม่รู้ตรงตามสภาวะ เป็นภาวะตรง

ข้ามกับปัญญา

โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อเฉพาะว่า วิชชา


พูดอย่างสามัญว่า โมหะหรืออวิชชา คือ ความไม่รู้นี้ เป็นภาวะ

พื้นเดิมของคนซึ่งจะต้องกำจัดให้หมดไปด้วยวิชชา คือ ความรู้

หรือ ด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 6:03 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2008, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

-อย่างไรก็ตาม แม้จะเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆมากมาย และใช้

ศิลปวิทยาเหล่านั้นประกอบ การต่างๆได้มากมาย

แต่ถ้าไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่มองเห็นสังขาร

ธรรมทั้งหลาย หรือ โลกและชีวิตตามภาวะของมันแล้ว ศิลปวิทยา

เหล่านั้น ก็เป็นเพียง สุตะ คือ สิ่งที่สดับถ่ายทอดกันไปเท่านั้น

ยังไม่เป็นปัญญาแท้จริง ไม่สามารถกำจัดโมหะ หรือ อวิชชาได้

และไม่อาจแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตได้สำเร็จ


-บางทีจะแก้แต่กลายเป็นก่อปัญหาขึ้นใหม่ เหมือนคนต้องการแสง

สว่าง แสวงหารวบรวม ฟืนและเชื้อไฟชนิดต่างๆ มากมาย ถึงจะรวม

มาได้เท่าใด และจะปฏิบัติอย่างไรต่อฟืนและ เชื้อไฟเหล่านั้น

จะตกแต่งประดับประดาประดิดประดอยอย่างไร แต่ตราบใดที่ยังมิได้

จุดไฟขึ้น ก็ไม่อาจให้แสงสว่างเกิดขึ้นได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค.2008, 6:05 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 6:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ทฤษฎี ลัทธิ ความเชื่อถือต่างๆ

ความเข้าใจโดยนัยเหตุผล ได้แก่ ความรู้ที่ลงข้อสรุปอย่างใดอย่าง

หนึ่ง หรือ ในทางใดทางหนึ่ง และประกอบด้วยความยึดถือ โดย

อาการผูกพันกับตัวตน อาจเป็นความรู้ที่มาจากแหล่งภายนอก แต่

ได้คิดกลั่นกรองยอมรับเอา หรือ สรุปเข้าเป็นของตนแล้ว ไม่ว่าจะ

เป็นความรู้ที่มีเหตุผลมาก หรือน้อย หรือ แม้ไม่มีเหตุผลเลยก็ตาม

ตัวอย่างทิฏฐิ เช่น

-สัสสตทิฏฐิ - ความเห็นว่าเที่ยง เข้าใจว่ามีอัตตาที่คงอยู่ยั่งยืน

ตลอดไป

-อุจเฉททิฏฐิ- ความเห็นว่าขาดสูญ

-อเหตุกทิฏฐิ- ความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปโดยไม่มีเหตุปัจจัย เป็น

ต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ทิฏฐินี้ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทั่วๆไปของคน ความเป็นไปในชีวิต

ของบุคคลและคติของสังคมทั้งหมด เมื่อเชื่อ เมื่อเห็น หรือ

นิยมอย่างไร ก็คิดการ พูดจาสั่งสอนชักชวนกัน และทำการต่างๆ

ไปตามที่เชื่อ ที่เห็นที่นิยมอย่างนั้น


ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ การดำริ พูดจาและทำการก็ดำเนินไปในทางผิด

เป็นมิจฉาไป


ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ การดำริ พูดจาและทำการก็ดำเนินไปในทาง

ถูกต้องเป็นสัมมาไปด้วย

เช่น คนและสังคมที่เห็นว่า ความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุนั้น

เป็นมาตรฐานวัดความเจริญรุ่งเรือง เกียรติยศและศักดิ์ศรี เป็นต้น

วิถีชีวิตของคนและแนวทางของสังคมนั้นก็จะเป็นไปในรูปแบบ หนึ่ง


ส่วนคนและสังคมที่ถือความสงบสุขทางจิตใจเป็นที่หมาย ก็จะมีวิถีชีวิต

และความเป็นไปอีกแบบหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ความเห็นผิด หรือ มิจฉาทิฏฐิ มีโทษมากคือพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรม

ส่วนสัมมาทิฏฐิบุคคล มีความเห็นชอบเห็นตรงกับความเป็นจริงตามที่สิ่ง

ทั้งหลายมันเป็นของมัน ก็ถึงความไพบูลย์ด้วยกุศลธรรม ดังพุทธพจน์

นี้)



-พุทธพจน์ แสดงความสำคัญของมิจฉาทิฏฐิ และ สัมมาทิฏฐิ เช่น

“เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศล

ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น

แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย นะภิกษุทั้งหลาย”

“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง

ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น กุศลธรรมทั้ง

หลายที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

เหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 10:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(อธิบายวิญญาณ เนื่องกับนามขันธ์อื่นๆ)


วิญญาณ-
แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์

หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐาน

และเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่น

ทั้งหมด

เป็นทั้งความรู้ต้น และความความรู้ตาม

ที่ว่าเป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น

(เกิดวิญญาณขึ้น)

จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือบีบคั้นใจ (= เวทนา)

จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (= สัญญา)

จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่ไปต่างๆ (= สังขาร)

เช่น เห็นท้องฟ้า (=วิญญาณ)

รู้สึกสบายตาชื่นใจ (=เวทนา)

หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสาย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย

(= สัญญา)

ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป

โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่ คิดหาวิธีที่จะทำให้ได้นั่งดู

ฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจนและนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง