Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รู้เรื่องอายตนะก่อนรู้เรื่องอื่นๆ มีสมาธิและปัญญาเป็นต้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 10:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ที่รู้ตาม คือ รู้ควบไปตามกิจกรรมของขันธ์อื่นๆ เช่น

รู้สึกสุขสบาย (= เวทนา)

ก็รู้ว่าเป็นสุข (= วิญญาณ)

รู้สึกบีบคั้นใจไม่สบาย (=เวทนา)

ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ (=วิญญาณ)

หมายรู้ว่าอย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (= สัญญา) ก็รู้ไป

ตามนั้น

เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตน์จำนงไปอย่างใดๆ (= สังขาร)

ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกันด้วยโดยตลอด

กระแสความรู้ยืนพื้นซึ่งเกิดดับต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาควบไปกับนามขันธ์

อื่นๆ หรือกิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ


(พึงสังเกตว่า รู้สึกสูข กับ รู้ว่าเป็นสุข ไม่เหมือนกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 7:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ คือ

วิญญาณ - เป็นการรู้ความต่างจำเพาะ รู้ความหมายจำเพาะ

หรือรู้แยกต่าง

ความหมายนี้ พึงเข้าใจด้วยตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นผืนผ้าลาย

ที่ว่าเห็นนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดหมายว่าอะไรเป็นอะไร ก็ย่อม

เห็นลักษณะอาการ เช่น สีสัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกันเป็นพื้นอยู่

พร้อมด้วยเสร็จ นี้เป็นความรู้ขั้นวิญญาณ เพราะวิญญาณรู้เห็น

ความแตกต่างนั้นอยู่

สัญญา - ซึ่งหมายรู้อาการที่แตกต่างกันนั้นได้ว่า เป็นนั่น เป็นนี่

เช่น เป็นเขียว ขาว แดง เป็นต้น

หรืออย่างเมื่อรับทานผลไม้ ถึงจะไม่กำหนดหมายว่าเป็นรส

หวาน แม้จะไม่กำหนดหมายว่าเป็นรสเปรี้ยวมะม่วง เปรี้ยว

มะปราง เปรี้ยวมะขาม เปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวสับปะรด

หรือ หวานกล้วยหอม หวานกล้วยน้ำว้า หวานกล้วยไข่

หวานแอปเปิ้ล เมื่อลิ้มก็ย่อมรู้รสที่ต่างจำเพาะนั้น ความรู้อย่างนี้

คือ วิญญาณ เป็นความรู้ยืนพื้น

เมื่อรู้แล้ว นามขันธ์อื่นจึงจะทำงาน หรือ ปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น

รู้สึกอร่อย ไม่อร่อย (=เวทนา)

จำได้หมายรู้ว่ารสหวานอะไร รสเปรี้ยวอะไร (= สัญญา) เป็นต้น

ว่าตามที่จริงแล้วจะเป็นการเห็น การได้ยินจำเพาะบางแง่ บางความ

หมายของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน เท่านั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 7:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะ

แง่จำเพาะอย่าง ที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัย

ให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น

ตัวอย่าง เช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้น

มะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียวเป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และ

ใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้

มีชาย 5 คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆ กัน

-คนหนึ่งวิ่งหนีสัตว์ร้าย

-คนหนึ่งกำลังหิวมาก

-คนหนึ่งร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้

-คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย

-คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตน เพราะจะแวะไปธุระในย่าน

ใกล้เคียง


คนทั้ง 5 นั้นมองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และ

ขอบเขตความหมายต่างๆกัน วิญญาณ เกิดขึ้นแก่

ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกัน

ไปตามเจตน์จำนงของตนๆ ต่อต้นมะม่วง

ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะ

ต่างๆ กันไปภายในขอบเขต

แห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย

แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น

-คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็น

เครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย

-คนที่หิวมาก ก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง 3-4 ลูก ก็จะช่วยให้

ตนอิ่มพ้นอดตายได้

-คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่

ควรจะเป็น

-คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ที่

น้อย

-ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย

แค่โล่งใจว่าไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกที่อื่น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เวทนา
- แปลกันว่า การเสวยอารมณ์ หรือการเสพรส

ของอารมณ์

คือ ความรู้สึกต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ ซึ่งจะเกิดทุกครั้งที่มีการรับรู้

เป็นความรู้สึกสุข สบาย ถูกใจ ชื่นใจ หรือทุกข์ บีบคั้น เจ็บปวด

หรือไม่ก็เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ข้อที่ควรทำความเข้าใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเวทนา เพื่อป้องกันความ

สับสนกับสังขาร คือ เวทนาเป็นกิจกรรมของจิตในขั้นรับ กล่าวคือ

เกี่ยวข้องกับผลที่อารมณ์มีต่อจิตเท่านั้น

ยังไม่ใช่ขั้นที่เป็นฝ่ายจำนงหรือกระทำต่ออารมณ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมของ

สังขาร ดังนั้น

คำว่า ชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ตามปกติจะใช้เป็นคำ

แสดงกิจกรรมในหมวดสังขาร

โดยเป็นอาการสืบเนื่องจากเวทนาอีกต่อหนึ่ง เพราะคำว่า ชอบ

ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แสดงถึงการจำนง หรือกระทำตอบ

ต่ออารมณ์

ดังจะเห็นได้ในลำดับกระบวนธรรม เช่น

-เห็นรูปที่น่าปรารถนาน่าใคร่ => เกิดความสุขสบาย => ก็ชอบ

ใจ (ต่ออารมณ์นั้น)

(จักขุ+อิฏฐารมณ์ => จักขุวิญญาณ) => (สุขเวทนา) =>

(สังขาร: ราคะ)


-ได้ยินเสียงที่ไม่น่าปรารถนาน่ารำคาญ => เกิดความทุกข์ไม่สบาย

=> ก็ไม่ชอบใจ (ต่ออารมณ์นั้น)

(โสตะ+อนิฏฐารมณ์ => โสตวิญญาณ) => (ทุกข์เวทนา) =>

(สังขาร: โทสะ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เวทนา
มีความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งมุ่งประสงค์

เสาะแสวง (หมายถึงสุขเวทนา)

และเป็นสิ่งเกลียดกลัวเลี่ยงหนี (หมายถึงทุกขเวทนา) สำหรับ

สัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีการรับรู้ เกิดขึ้นแต่ละครั้ง เวทนาจะเป็นขั้ว

ต่อและเป็นต้นทางแยกที่ชี้แนะ หรือส่งแรงผลักดันแก่องค์ธรรม

อื่นๆ ว่าจะดำเนินไปในทางใดอย่างไร เช่น

การรับรู้อารมณ์ใดแล้วสุขสบาย ก็จะกำหนดหมายอารมณ์นั้นมาก

และในแง่หรือแนวทางที่จะสนองเวทนานั้น และคิดปรุงแต่งเพื่อให้ได้

อารมณ์นั้นมาเสพเสวยต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 7:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(อธิบายสังขาร)


สังขาร
- หมายรวมทั้งเครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุง

ของจิต ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำ และกระบวนการแห่งเจตน์จำนงที่

ชักจูง เลือกรวบรวมเอาเครื่องแต่งคุณภาพเหล่านั้นมาประสมปรุงแต่ง

ความนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 7:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

อย่างไรก็ตาม ในการอธิบายตามแนวขันธ์ 5 ท่านมุ่งแสดงตัวสภาวะ

ให้เห็นว่าชีวิตมีองค์ประกอบอะไรมากกว่าจะแสดงกระบวนธรรมที่กำลัง

ดำเนินอยู่ว่าชีวิตเป็นไปอย่างไร

ดังนั้น คำอธิบายเรื่องสังขารในขันธ์ 5 ตามปกติ จึงพูดถึงแต่ในแง่

เครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุงของจิต ว่ามีอะไรบ้าง

แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ส่วนการอธิบายในแง่กระบวนการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นขั้นออกโรงแสดง

ท่านยกไปกล่าวในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นไป

อย่างไร ดังนั้น

ในหลักปฏิจจสมุปบาท ความหมายของสังขารจึงมีรูปร่างแบบปฏิบัติ

การ คือ จำแนกออกเป็นกายสังขาร

(การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนงออกทางกาย หรือเจตนาที่ปรุงแต่ง

การกระทำทางกาย)


วจีสังขาร
(การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนงทางวาจา หรือ

เจตนาที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา)

และจิตสังขาร (การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนง

ทางใจ หรือเจตนาที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ)


ต่างจากคำอธิบายในขันธ์ 5 ซึ่งจำแนกสังขารเป็นองค์ธรรมเครื่องปรุงแต่ง

ต่างๆมี ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา ปัญญา โลภะ โทสะ เจตนา

สมาธิ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ค.2008, 8:03 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 8:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ถ้าจะเปรียบเทียบกับเรื่องรถ คำอธิบายแนวขันธ์ 5 ก็เหมือนรถ

ที่ตั้งแสดงให้ดูส่วนประกอบต่างๆ อยู่กับที่


ส่วนคำอธิบายแนวปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนอธิบายเรื่องรถที่เดิน

เครื่องออกแล่นใช้งานจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 12:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

บรรดาเครื่องแต่งคุณภาพของจิตทั้งหลาย เจตนาเป็น

ตัวนำหรือเป็นหัวหน้า

ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องแต่งคุณภาพกี่อย่างจะเกิดขึ้นทำหน้าที่ในคราวหนึ่ง

คราวใด จะต้องมีเจตนาร่วมอยู่ด้วยเป็นแกนนำเสมอไปทุกคราว

บางครั้งท่านถึงกับใช้คำว่า เจตนาเป็นคำแทน หมายถึงสังขารทั้งหมด

ทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ จึงอาจให้ความหมายคำว่า สังขารได้อีกอย่างหนึ่ง

ว่า “สังขาร คือ เจตนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม (ธรรมที่ประกอบ

ร่วม หรือ เครื่องประกอบ) ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็น

กลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรม

ทางกาย วาจา ใจ”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 12:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

บางครั้งท่านถึงกับใช้คำว่า เจตนา คำเดียวเป็นคำแทนหมายถึงสังขาร

ทั้งหมด หรือแสดงความทำนองจำกัดความคำว่า สังขาร ด้วยคำ

ว่า เจตนา

และเจตนาก็เป็นคำจำกัดความของคำว่า กรรม ด้วย

ดังนั้นในกรณีเช่นนี้ คำว่า สังขาร เจตนา และ กรรม จึงมีความ

หมายอย่างคร่าวๆ เท่ากัน

ได้ความหมายที่ประสงค์อย่างเดียวกัน นอกจากความสำคัญที่กล่าว

แล้ว เจตนายังเป็นตัวแสดงลักษณะพิเศษของสังขารที่ทำให้สังขารขันธ์

ต่างจากขันธ์อื่นๆอีกด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 12:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


เจตนา
- แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ

ลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันระหว่างสังขารขันธ์ กับ นามขันธ์อื่น

ก็คือ นามขันธ์อื่นอันได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทำงาน

กับอารมณ์ที่เข้ามาปรากฏอยู่แล้ว เป็นสภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์

เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดำเนินไปได้และเป็นฝ่ายรับ

แต่สังขารมีการริเริ่มเองได้ จำนงต่ออารมณ์และเป็นฝ่ายกระทำ

ต่ออารมณ์

เมื่อเข้าใจหลักนี้แล้ว ก็จะมองเห็นเหตุผลว่า ทำไมความสบาย

ไม่สบาย จัดเป็นเวทนา

แต่ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ซึ่งเกิดถัดจากสบายไม่สบายนั้น

จึงจัดเป็นสังขาร

ทำไมสัญญากับสติ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความจำด้วยกัน แต่กลับแยก

อยู่คนละขันธ์ (สติอยู่ในสังขารขันธ์)

ทำไมปัญญา ซึ่งก็เป็นเรื่องของความรู้เช่นเดียวกันกับสัญญา

และวิญญาณ จึงแยกไปอยู่ในสังขารขันธ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สัญญา-สติ-ความจำ



มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำ ว่าตรงกับธรรมข้อใด

คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ

คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า

ความจำ และมีตัวอย่างที่เด่นเช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็น

เอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ ท่านใช้คำว่า

สติ ดังพุทธพจน์ว่า “อานนท์เป็นเลิศกว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ”

(องฺ.เอก.20/149/32)

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว

แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้

สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญ

ที่สุด

สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยวและเหลื่อมกันกับ

ความจำ กล่าวคือ

ส่วนหนึ่งของสัญญา เป็นส่วนหนึ่งของความจำ

อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ

แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติ เป็นส่วนหนึ่งของความจำ

อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรง

จำ

ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญคือ สัญญาและสติ

ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา



-สัญญา วิญญาณ และปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง 3 อย่าง

แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง

วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง


-สัญญา-เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือ

กำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะ ทรวดทรง สี สัณฐาน

ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมุติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว

ดำ แดง ดังเบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา

ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น

การหมายรู้ หรือ กำหนดรู้นี้ อาศัยการจับเผชิญหรือการเทียบเคียง

ระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการณ์ หรือความรู้

ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็น

คนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว

ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนาย

เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียวอีก

และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้น คือ นายเขียว อย่างนี้เรียกว่า จำได้-

(พึงสังเกตว่า ในที่นี้ “จำได้” ต่างจาก “จำ”) ถ้าประสบการณ์ใหม่

ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมเอาประสบการณ์หรือ ความรู้เก่า

ที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกัน และไม่เหมือนกัน

ในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่า หรือตาม

ที่ตนกำหนดเอาว่าเป็นนั่น เป็นนี่ อย่างนี้เรียกว่ากำหนดหมาย

หรือหมายรู้ การหมายรู้เช่นนี้ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความ

ตกลงอับเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่นว่า เขียว ขาว แดง เหลือง

เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี

เป็นต้นบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้นถูก

ธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมและปรุงแต่ง

จำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่างนี้น่าหมั่นไส้

เป็นต้น หมายรู้สองชั้น (แบบสัญลักขณ์) บ้าง เช่นว่า

สีเขียวแดง หมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสียงระฆังสองครั้ง

หมายถึงการกินอาหาร-
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อจากข้างบน


ตลอดจนตามการศึกษาอบรมในธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่

ไม่เที่ยง หมายรู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้

สามัญและความหมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน- (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่น

มากขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรมและหมายรู้เกี่ยวกับ

นามธรรม

คำที่แปลสัญญากันว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย

จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมาย

ของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น

พูดเพื่อเข้าใจกันอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ

รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิด

นั่นเอง สัญญาเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก

แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึด

ติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง

และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้

ที่อยู่ลึกลงไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 4:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แทรกแนวทางปฏิบัติกรรมฐานช่วงนี้หน่อยว่า ผู้ปฏิบัติธรรมแนว

สติปัฏฐาน 4 โดยใช้พอง-ยุบ เป็นต้น เป็นอารมณ์

ที่สำคัญพึงกำหนดสภาวธรรมที่เกิดปัจจุบันทุกๆ ขณะ ที่รู้สึกตัว

รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น รู้สึกเป็นสุข "สุขหนอๆ" เป็นต้น

เพื่อให้สัญญาเจตสิกจำสภาวธรรมนั้น


เพราะสัญญามี 2 อย่าง คือ ปปัญจสัญญา หรือ สัญญาเจือกิเลส

กับ วิชชาภาคิยสัญญา- สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา

สัญญาข้อสุดท้ายจะเจริญขึ้นเพราะโยคีกำหนดรู้รูปนามตามที่มันเป็น หรือ ตามเป็น

จริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนบำเพ็ญกรรมฐานบางอย่างที่มองเห็นคนหรืออะไรๆ เป็นอสุภะ เป็นปฏิกูล ไม่สวยไม่งาม เรียกว่า ยังอยู่เพียงขั้นสมถะ ยังมองไปตามสมมุติบัญญัติ เพียงแต่ถือเอาสมมุติแง่ที่จะมาใช้แก้กิเลสของตนได้

ส่วนวิปัสสนา มองเห็นตามสภาวะแท้ๆ ตรงตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็น
ของมัน ตามเหตุปัจจัย เรียกว่าตามเป็นจริง เพราะตามความจริง
สิ่งทั้งหลายไม่มีงามไม่งาม ไม่มีสวย ไม่มีน่าเกลียด

ปฏิฆนิมิต = สิ่งที่คิดหมายเอาว่า เป็นการกระทบกระทั่งขัดใจ คือ พบเห็น ได้ยินสิ่งใดแล้ว ใจจับเค้ารูปลักษณะที่ไม่ชอบ กำหนดหมายหรือคิดวาดเป็นภาพที่มุ่งกระทบกระทั่งตน

สุภนิมิต = สิ่งที่คิดหมายเอาว่า สวยงาม คือ พบเห็น ได้ยินสิ่งใดแล้ว ใจจับเค้ารูปลักษณะที่ชอบ กำหนดหมาย หรือ คิดวาดเป็นภาพที่สวยงามเอาไว้ในใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง