Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มงคลชีวิต ๓๘ ประการ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ร่วมกันสร้างบ้าน
............................................................



มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ

“โรงงานที่ดีมีประสิทธิภาพ
ไม่ใช่เพียงเพราะผลิตผลงานได้มากเท่านั้น
แต่จะต้องผลิตผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ด้วย
เช่นกัน คนเราจะเจริญก้าวหน้า
ทำประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้
ไม่ใช่เพียงเพราะทำงานได้มากเท่านั้น
แต่จะต้องเลือกทำเฉพาะงานที่ไม่มีโทษด้วย”


ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ คื อ อ ะ ไ ร ?

งานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ความสามารถในการทำงานของคนมีอยู่ ๒ ระดับ คือ ขั้นทำได้ กับขั้นทำดี

ทำได้ หมายถึง การทำงานสักแต่ให้เสร็จๆ ไป จะเกิดประโยชน์หรือไม่เพียงใด ไม่ได้คำนึงถึง

ทำดี หมายถึง การเป็นผู้คิดให้รอบคอบถึงผลได้ผลเสียทุกแง่มุม แล้วจึงเลือกทำเฉพาะ แต่ที่เป็นประโยชน์จริงๆ สิ่งใดที่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นก็ไม่ทำสิ่งนั้น พูดสั้นๆ ก็คือ ถ้าทำต้องให้ดี ถ้าไม่ดีต้องไม่ทำ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำได้ หมายถึง ทำสิ่งต่างๆ ได้ตามที่ตนอยากได้ อยากทำ เช่น ค้าขายหาผลประโยชน์เข้าตัวเป็น โดยไม่ได้เลือกสิ่งของที่ค้า อาจขายสิ่งที่ไม่ควรขาย อย่างพวกเหล้า บุหรี่ ยาบ้า เป็นต้นก็ได้ หรืออยากได้ ยศ อยากได้ตำแหน่ง ก็มุ่งมั่นช่วงชิงเอาให้ได้ ผิดถูกชั่วดีอย่างไรไม่ได้คำนึง การทำได้จึงเป็นเพียงคุณสมบัติขั้นต้นของคนทำงานเท่านั้น ถ้าจะให้ดีจริงแล้ว ต้องถึงขั้น ทำดี คนทำดีนั้นมีคุณสมบัติในตัวถึง ๒ อย่าง คือนอกจากจะ ทำได้ แล้วยังสามารถเลือก ไม่ทำก็ได้ ถ้าเห็นว่าทำแล้วจะไม่ดี อย่างนี้จึงจะเก่งแท้

อาจจะเปรียบได้ว่า คนทำงานขั้นทำได้ ก็เหมือนกับเด็กทารกที่เพิ่งรู้จักกิน ทำเป็นแต่เพียงหยิบอะไรใส่เข้าปาก แล้วกลืนลงท้องไป กินขั้นนี้เรียกว่า กินได้ ยังไม่ใช่คนกินเป็น ยังไม่มีความดีวิเศษอะไรนัก ถ้าพี่เลี้ยงเผลออาจหยิบสิ่งที่เป็นพิษใส่เข้าปากแล้วกลืนลงท้อง ให้ผู้ใหญ่ต้องเดือดร้อนวิ่งหาหมอก็ได้ แต่คนกินเป็น จะต้องรู้จักเลือกของกิน เห็นว่าควรกินจึงกิน ถ้าไม่ควรกินก็ไม่กิน เช่นเดียวกัน นักทำงานที่เก่งแท้ต้องถึงขั้นทำดี คือไม่ใช่สักแต่ว่าทำงานได้ แต่ต้องเห็นว่างานที่จะทำเป็นงานที่ดีควรทำจึงลงมือทำ

วิ ธี พิ จ า ร ณ า ง า น ว่ า มี โ ท ษ ห รื อ ไ ม่

ในการพิจารณางานที่ทำว่าเป็นงานมีโทษหรือไม่ ต้องไม่ถือเอาคำติชม ของคนพาลมาเป็นอารมณ์ เพราะคนพาลนั้น เป็นคนมีใจขุ่นมัวเป็นปกติ มีวินิจฉัยเสีย ความคิดความเห็นผิดเพี้ยนไปหมด สิ่งใดที่ถูกก็เห็นเป็นผิด ที่ผิดกลับเห็นเป็นถูก หรือเรื่องที่ดีคนพาลก็เห็นเป็นเรื่องที่ชั่ว แต่เรื่องที่ชั่วกลับเห็นเป็นเรื่องที่ดี จึงถือเป็นบรรทัดฐานไม่ได้

ส่วนบัณฑิตนั้น เป็นคนมีความคิดเห็นถูกต้อง รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ ทั้งเป็นคนมีศีลมีสัตย์ คนประเภทนี้ใจกับปากตรงกัน เราจึงควรรับฟังคำติชมของบัณฑิตด้วยความเคารพ

หลักที่บัณฑิตใช้พิจารณาว่างานมีโทษหรือไม่นั้น มีอยู่ ๔ ประการด้วยกัน แบ่งเป็นหลักทางโลก ๒ ประการ และหลักทางธรรม ๒ ประการ

อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

งานไม่มีโทษจะต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการ ดังนี้

๑. ไม่ผิดกฎหมาย
๒. ไม่ผิดประเพณี
๓. ไม่ผิดศีล
๔. ไม่ผิดธรรม

๑. ไม่ผิดกฎหมาย กฎหมายเป็นระเบียบข้อบังคับซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติตาม การทำผิดกฎหมายทุกอย่าง จัดเป็นงานมีโทษทั้งสิ้น แม้บางอย่างจะไม่ผิดศีลธรรมข้อใดเลย เช่น การปลูกบ้านในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตตามเทศบัญญัติ ถ้าไม่ขอผิด การทำอย่างนี้ดูเผินๆ ทางธรรมเหมือนไม่ผิด เพราะปลูกในที่ของเราเอง และด้วยเงินทองของเรา แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นงานมีโทษคือมีตำหนิ และโปรดทราบด้วยว่า เมื่อใครทำงานมีโทษ ก็ย่อมผิดหลักธรรมอยู่นั่นเอง อย่างน้อยก็ผิดมงคล

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเป็นหนักหนา ทั้งพระทั้งชาวบ้าน ให้เคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยเคร่งครัด ไม่เคยปรากฏในที่ใดเลยว่า พระบรมศาสดาของเรา สอนพุทธศาสนิกชนให้แข็งข้อต่อกฎหมาย แม้จะเอาการประพฤติธรรมหรือความเป็นพระเป็นสงฆ์เป็นข้ออ้าง แล้วทำการดื้อแพ่ง ก็หาชอบด้วยพุทธประสงค์ไม่

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาต้องการให้ศาสนิกชนเป็นคนรักสงบและให้เคารพในกฎหมาย ชาวพุทธต้องไม่ทำตัว “ดื้อแพ่ง” ต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่ว่าในกรณีใดๆ

ถ้าเราพิจารณาในแง่มงคลแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าการทำผิดกฎหมายนั้นเป็นอัปมงคลแน่ เพราะเป็นการสร้างความผิดคล้องคอตัวเอง

๒. ไม่ผิดประเพณี ประเพณีหมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมของมหาชนในถิ่นหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อคนทั้งหลายเขาถือกันเป็นส่วนมากและนิยมว่าดี ก็กลายเป็นกฎของสังคม ใครทำผิดประเพณีถือว่าผิดต่อมหาชน เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีต้อนรับแขก ประเพณีรับประทานอาหาร ประเพณีทำความเคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ จึงต้องศึกษาให้ดี

เราชาวพุทธเมื่อจะเข้าไปสู่ชุมชนใด ก็ต้องถามไถ่ดูก่อนว่าเขามีประเพณีอย่างไรบ้าง อะไรที่พอจะโอนอ่อนผ่อนตามได้ ก็ทำตามเขา แต่ถ้าเห็นว่า ทำไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเรา เสียหายแก่ภูมิธรรม และศักดิ์ศรีของชาวพุทธ ก็ควรงดเสียอย่าเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ประเพณีไม่ให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ ดูถูกผู้หญิง ของคนบางเหล่า ประเพณีถือฤกษ์ยามจนแทบไม่มีโอกาสทำมาหากิน ประเพณีห้ามถ่ายอุจจาระปัสสาวะซ้ำที่ ของชาวอินเดียบางกลุ่ม จนกระทั่งไม่สามารถทำส้วมใช้ได้

๓. ไม่ผิดศีล ศีลเป็นพื้นฐานของการทำความดีทุกอย่าง แม้ในไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็กล่าวไว้ว่า

ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ
สมาธิ ทำให้เกิดปัญญา
ปัญญา เป็นเครื่องบรรลุนิพพาน

ดังนั้นผู้ที่คิดจะสร้างความดีโดยไม่นำพาในการรักษาศีลเลย จึงเป็นการคิดสร้างวิมานในอากาศ

เราชาวพุทธทั้งหลายควรพิจารณาทุกครั้งก่อนทำงาน ว่างานที่เราจะทำนั้นขัดต่อศีล ๕ หรือไม่ ถ้าผิดศีลก็ไม่ควรทำ ให้งดเว้นจากการล่วงละเมิดศีล และงดเว้นจากการสนับสนุนผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แต่ไม่มีศีลด้วยเช่นกัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่ เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่” (นัย อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร) องฺ.ทสก.๒๔/๔๘/๙๒

๔. ไม่ผิดธรรม ธรรมคือความถูกความดี ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ให้ถี่ถ้วน บางอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี และไม่ผิดศีล แต่อาจผิดหลักธรรมได้ ดังเช่น

การผูกโกรธ คิดพยาบาท ผิดหลักกุศลกรรมบถ

การเกียจคร้าน ผิดหลักอิทธิบาท

การเป็นนักเลงการพนัน เจ้าชู้ ผิดหลักการละอบายมุข

ดังนั้นเมื่อเราทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม เราต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประเพณี ศีล และธรรม จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนทำงานไม่มีโทษ

คนบางคนมีปัญหาว่า ใจก็ต้องการทำงานไม่มีโทษ แต่ทำงานครั้งใดกว่าจะรู้ว่างานที่ตัวทำเป็นงานมีโทษก็สายไปเสียแล้ว ทำไปแล้ว จึงมีปัญหาว่าทำอย่างไรเราจึงจะเป็นคนที่รู้ก่อนทำ

วิ ธี รู้ ก่ อ น ทำ

ทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องการทำงานไว้ว่า “นิสมฺมกรณํ เสยฺโย” คือ “ใคร่ครวญดูก่อน แล้วจึงลงมือทำดีกว่า” นักทำงานสมัยนี้ก็มีคติว่า “อย่าดมก่อนเห็น อย่าเซ็นก่อนอ่าน” ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมนั่นเอง

แต่การทำงานแบบนี้คนหนุ่มสาวมักจะไม่ค่อยชอบเพราะใจร้อน เวลา เสนองานให้ผู้ใหญ่ พอท่านบอกว่า “ขอคิดดูก่อน” เด็กก็มักจะขัดใจหาว่าคนแก่ขี้ขลาดทำอะไรไม่เด็ดขาด ความจริงไม่ใช่เรื่องกล้าหรือขลาด แต่เป็นเรื่องการใช้ความคิด ท่านต้องการรู้ก่อนทำไม่ใช่ทำก่อนรู้ แล้วทำอย่างไรเราจึงจะรู้ก่อนทำ

ข้อสำคัญคือ ต้องทำใจเราให้คลายความอวดดื้อถือทิฏฐิมานะ ต้อง ยอมรับว่าเราไม่ใช่คนเก่งที่สุด เราไม่ใช่คนฉลาดที่สุด ยังมีผู้ที่เกิดก่อนเรา รู้เห็นมามากกว่าเรา ใครลดความลำพองลงเสียได้ดังนี้ คนนั้นจะมีหวังเป็นคนรู้ก่อนทำ ถ้าปรับปรุงตัวอย่างนี้ไม่ได้ก็ไม่มีหวัง จะต้องเป็นคนทำก่อนรู้อยู่ร่ำไป สอบตกแล้วจึงรู้ว่าเกโรงเรียนไม่ดี ตับแข็งแล้วจึงรู้ตัวว่ากินเหล้ามากไป หมดตัวแล้วจึงรู้ว่าไม่ควรเล่นการพนัน หนักเข้าก็ต้องเข้าคุก แล้วจึงรู้ว่าบ้านเมืองมีขื่อ มีแป กรรมแท้ๆ

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

งานที่เราทำนั้นแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ

๑. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง
๒. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ผู้ที่ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึง ผู้ที่ทำงานทั้ง ๒ ประการนี้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ตามองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว

ง า น ที่ ทำ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ช น์ ต น เ อ ง

คือการทำมาหาเลี้ยงชีพต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ค้าขาย เป็นครู เป็นช่างไม้ ช่างยนต์ ฯลฯ ซึ่งในเรื่องการประกอบอาชีพนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อาชีพต้องห้ามต่อไปนี้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรทำ ได้แก่

๑. การค้าอาวุธ
๒. การค้ามนุษย์
๓. การค้ายาพิษ
๔. การค้ายาเสพย์ติด
๕. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า

ใครก็ตามที่ประกอบอาชีพ ๕ ประการข้างต้นนี้ ได้ชื่อว่าทำงานมีโทษ และก่อให้เกิดโทษแก่ตนเอง มากมายสุดประมาณ แม้จะร่ำรวยเร็วก็ไม่คุ้มกับบาปกรรมที่ก่อไว้

ง า น ที่ ทำ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ช น์ ส่ ว น ร ว ม

คือการทำงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนข้างเคียง และช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น สร้างสะพาน ทำถนน สร้างศาลาที่พักอาศัยข้างทาง ฯลฯ

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ นั ก ทำ ง า น เ พื่ อ ส่ ว น ร ว ม

ในการทำงานนั้น ให้ทำเต็มที่เต็มกำลัง แต่อย่าทำจนล้นมือ และก่อนจะทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราจะต้องฝึกฝนตัวเราเองให้ดีก่อน ฝึกแก้นิสัยที่ไม่ดีๆ ในตัวด้วยการประพฤติธรรมดังมงคลที่ ๑๖ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกระทั่งกับ ผู้อื่นเวลาทำงาน และเพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ว่าเพื่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียง เพื่อความมีหน้ามีตาของเราเอง และให้ รับรู้ว่าการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น แท้จริงผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือ ตัวเราเอง คือได้ทั้งบุญกุศล และอุปนิสัยที่ดีติดตัวไปเบื้องหน้า และเป็นการสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้แก่ตัวเองอีกด้วย ส่วนประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับถือเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ถ้าคิดได้อย่างนี้จะทำให้ใจสบาย มีกำลังใจในการทำงาน และไม่คิดทวงบุญทวงคุณเอากับใคร

นอกจากนั้น ผู้ที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมจะต้องหัดรักษาศีล ๘ รักษาอุโบสถศีล เพื่อเป็นการฝึกควบคุมอารมณ์ให้ดี เพราะการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น จะต้องคลุกคลีกับคนจำนวนมาก มีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งเกินเลยกันได้ง่าย ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ทั้งๆ ที่ทำด้วยความหวังดี ตนเองก็มีกรรมติดตัวไป และก่อนที่จะทำงานเพื่อสังคม ให้ปรับปรุงสภาพในครอบครัวของตนให้ดี ต้องมีเวลาให้ลูกให้ครอบครัวให้พอ ครอบครัวจะได้มั่นคงเป็นสุข ส่งผลให้เราทำงานได้เต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง

ตั ว อ ย่ า ง ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

๑. การรักษาอุโบสถศีล

๒. การทำงานช่วยเหลือกันในทางที่ชอบ

๓. การสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม เช่น วัด เจดีย์ ฯลฯ

๔. การปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนเดินทาง

๕. การสร้างสะพาน เพื่อให้คนสัญจรไปมาได้สะดวก

๖. การสร้างประปา สร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะดวก

๗. การตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ เพื่อให้คนได้ใช้สะดวกสบาย

๘. การให้ที่อยู่อาศัยแก่บุคคล

๙. การตั้งอยู่ในบุญกุศล หรือตั้งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

๑๐. การถึงพร้อมด้วยศีลและการเจริญสมาธิภาวนา ฯลฯ

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

คนทำงานมีโทษนั้น ได้กับเสียเป็นเงาตามตัว ยิ่งได้งานมากก็ทุกข์ใจมาก เข้าทำนอง “อิ่มท้องแต่พร่องทางใจ” ยิ่งรวยได้ทรัพย์มากเท่าไรโอกาสที่ จะเสียคนก็มากเท่านั้น ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ คุณความดีในตัวลดลงทุกที ส่วนคนที่ทำงานไม่มีโทษนั้น จะก้าวหน้าไปสู่ความสุขแท้และความเจริญแท้ ถึงแม้จะไม่รวยทรัพย์ แต่ก็รวยความดี

คนทำงานไม่มีโทษนั้นจะหลับก็เป็นสุข จะตื่นก็เป็นสุข ไม่อายใคร ไม่ต้องหวาดระแวงใคร เพราะงานที่ทำเป็นประโยชน์แก่โลกล้วนๆ ไม่มีโทษเข้าไปเจือปนเลย ชื่อว่าได้ทดแทนบุญคุณของโลกที่อาศัยเกิดมา เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้สันติสุขเป็นเครื่องตอบแทนไปชั่วกาลนาน

“ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม ไม่ประมาท” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘

Image
แอบค้าอาวุธปืน
............................................................



จบมงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
คนขโมยเสื้อผ้า

Image
คนตกปลา

Image
ตำรวจจับเข้าคุก

Image
การเดินหนีจากการทำบาป
............................................................



มงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป

“ก่อนจะแต่งตัวให้สวยงาม
เราจำต้องอาบน้ำชำระล้างสิ่งสกปรกออกก่อนฉันใด
ก่อนจะปรับปรุงใจให้สะอาดบริสุทธิ์
มีคุณธรรมสูงขึ้น
เราก็จำต้องงดเว้นจากบาปทั้งปวงก่อนฉันนั้น”


บ า ป คื อ อ ะ ไ ร ?

สิ่งของที่เสีย เรามีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น บ้านเสียเราเรียกบ้านชำรุด อาหารเสียเราเรียกอาหารบูด ฯลฯ คำจำพวกที่ว่า บูด ชำรุด แตก หัก ผุ พัง เน่า ขึ้นรา ฯลฯ ถ้าพูดรวมๆ เราเรียกว่า เสีย หมายความว่า มันไม่ดี

อาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกแยกได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจร้าย ใจดำ ใจขุ่นมัว ฯลฯ แล้วแต่จะบอกอาการทางไหน คำว่า เศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ เป็นคำบอกว่าจิตเสีย ซึ่งสิ่งที่ทำให้จิตเสียนี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านใช้คำสั้นๆ ว่า “บาป” คำว่าบาปจึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเสียคือมีคุณภาพต่ำลงนั่นเอง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น

กำ เ นิ ด บ า ป

การกำเนิดของบาป ในทัศนะของศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู ต่างกับของศาสนาพุทธอย่างมาก เช่น แนวคิดในศาสนาคริสต์ก็ดี อิสลามก็ดี สอนว่าบาปจะเกิดเมื่อผิดคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เช่น พระผู้เป็นเจ้า สั่งให้นึกถึงพระองค์อยู่เป็นประจำ ถ้าลืมนึกไปก็เป็นบาป หรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์ สั่งไม่ให้เอ่ยนามพระองค์ โดยไม่จำเป็น ถ้าใครเอ่ยนามพระเจ้าพร่ำเพรื่อก็เป็นบาป

ยิ่งไปกว่านั้นตามความเชื่อของเขา บาปยังมีการตกทอดไปถึงลูกหลาน ได้อีกด้วย เช่น ในศาสนาคริสต์เขาถือว่าทุกคนเกิดมามีบาป เพราะอาดัมกับอีวา ซึ่งเขาถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ขัดคำสั่งพระเจ้า แอบไปกินแอปเปิ้ลในสวนเอเดน ถูกพระเจ้าปรับโทษเอาเป็นบาป ลูกหลานทั่วโลกจึงมีบาปติดต่อมาด้วย โดยนัยนี้ศาสนาคริสต์เชื่อว่า บาปตกทอดถึงกันได้โดยสายเลือด

สำหรับพระพุทธศาสนานั้น เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงฝึกสมาธิมาอย่างดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เป็นผลให้พระองค์ทรงเห็น และรู้จักธรรมชาติของกิเลส อันเป็นต้นเหตุแห่งบาปทั้งหลาย ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และสามารถกำจัดกิเลสเหล่านั้น ออกไปได้โดยสิ้นเชิงและเด็ดขาด พระองค์ได้ตรัส สรุปเรื่องการกำเนิดของบาป ไว้อย่างชัดเจนว่า

“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป” ขุ.ธ.๒๕/๑๙/๓๑

“อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ใครทำบาป คนนั้นก็เศร้าหมองเอง”

“อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ ใครไม่ทำบาป คนนั้นก็บริสุทธิ์” ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๗


พระพุทธวจนะนี้ เป็นเครื่องยืนยันการค้นพบของพระองค์ว่า บาปเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่สิ่งติดต่อกันได้ ใครทำบาปคนนั้นก็ได้บาป ใครไม่ทำบาปก็รอดตัวไป พ่อทำบาปก็เรื่องของพ่อ ลูกทำบาปก็เรื่องของลูก คนละคนกัน เปรียบเหมือนพ่อกินข้าวพ่อก็อิ่ม ลูกไม่ได้กินลูกก็หิว หรือลูกกินข้าวลูกก็อิ่ม พ่อไม่ได้กินพ่อก็หิว ไม่ใช่พ่อกินข้าวอยู่ที่บ้าน ลูกอยู่บนยอดเขาแล้วจะอิ่มไปด้วย เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำใครได้

ดังนั้นตามความเห็นของพระพุทธศาสนา บาปจึงเกิดที่ตัวคนทำเอง คือเกิดที่ใจของคนทำ ใครไปทำชั่ว บาปก็กัดกร่อนใจของคนนั้นให้เสียคุณภาพ เศร้าหมองขุ่นมัวไป ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานไป ไม่เกี่ยวกับคนอื่น

วิ ธี ล้ า ง บ า ป

เมื่อทัศนะในเรื่องกำเนิดบาปต่างกันดังกล่าว วิธีล้างบาปในศาสนาที่มีพระเจ้า กับการแก้ไขพฤติกรรม ในพระพุทธศาสนา จึงห่างกันราวฟ้ากับดิน ศาสนาที่เชื่อพระเจ้า เชื่อผู้สร้าง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ สอนว่าพระเจ้าทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาด ที่จะยกเลิกบาปให้ใครๆ ได้โดยการไถ่บาป ขออย่างเดียวให้ผู้นั้น ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าก็แล้วกัน

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกหาใครเสมอเหมือนมิได้ ตรัสสอนว่า

“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องเฉพาะตัว”

“นาญฺโญ อฏฺฐ วิโสธเย ใครจะไถ่บาป ทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้” ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๗


พระพุทธวจนะทั้งหมดนี้ปฏิเสธทัศนะที่ว่า บาปของคนหนึ่งจะตกทอดไปยังอีกคนหนึ่งได้ และปฏิเสธลัทธิที่ว่า บาปที่คนหนึ่งทำแล้วจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาไถ่ถอนให้ได้

ในพระพุทธศาสนามีวิธีการแก้ไขบาปอกุศลที่เคยพลาดพลั้งกระทำไป ได้อย่างมีเหตุผลดังนี้

สมมุติว่าเรามีเกลืออยู่ช้อนหนึ่ง ใส่ลงไปในน้ำ ๑ แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลเป็นอย่างไร

“ก็เค็ม”

ถ้าเอาน้ำแก้วนี้ใส่ลงในถังน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็ม ชิมดูเป็นอย่างไร

“ก็แค่กร่อยๆ”

ถ้าเอาน้ำในถังนี้ใส่ลงในแท็งก์น้ำฝนใบใหญ่ ชิมดูเป็นอย่างไร

“ก็จืดสนิท”

“เกลือหายไปไหนหรือเปล่า”

“เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม”

“แล้วทำไมไม่เค็ม”

“ก็เพราะน้ำในแท็งก์มีปริมาณมาก มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือจนกระทั่งหมดฤทธิ์ เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็ม ภาษาพระท่านเรียก อัพโพหาริก หมายความว่า มีเหมือนไม่มี คือเกลือนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี”

เช่นกัน วิธีแก้ไขบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การหยุดทำบาป แล้วตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้บุญกุศลนั้นมาทำให้ผลบาปทุเลาลงไป การทำบุญอุปมาเสมือนเติมน้ำ ทำบาปอุปมาเสมือนเติมเกลือ เมื่อเราทำบาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไป ไม่มีใครไถ่บาปแทนได้ แต่เราจะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มาก เพื่อมาทำให้บาปมีฤทธิ์น้อยลงหรือให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้

ง ด เ ว้ น จ า ก บ า ป ห ม า ย ค ว า ม ว่ า อ ย่ า ง ไ ร ?

งด หมายถึง สิ่งใดที่เคยทำแล้วหยุดเสีย เลิกเสีย

เว้น หมายถึง สิ่งใดที่ไม่เคยทำ ก็ไม่ยอมทำเลย

งดเว้นจากบาป จึงหมายความว่า การกระทำใดก็ตามทั้ง กาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจ ทำให้ใจเศร้าหมอง ถ้าเราเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็จะเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

สิ่ ง ที่ ทำ แ ล้ ว เ ป็ น บ า ป

คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

๑. ฆ่าสัตว์ เช่น ฆ่าคน ยิงนกตกปลา รวมถึงทรมานสัตว์

๒. ลักทรัพย์ เช่น ลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง หลอกลวง คอร์รัปชั่น

๓. ประพฤติผิดในกาม เช่น เป็นชู้ ฉุดคร่า อนาจาร

๔. พูดเท็จ เช่น พูดโกหก พูดเสริมความ ทำหลักฐานเท็จ

๕. พูดส่อเสียด เช่น พูดยุยงให้เขาแตกกัน ใส่ร้ายป้ายสี

๖. พูดคำหยาบ เช่น ด่า ประชด แช่งชักหักกระดูก ว่ากระทบ

๗. พูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดพล่าม พูดเหลวไหล พูดโอ้อวด

๘. คิดโลภมาก เช่น อยากได้ในทางทุจริต เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่น

๙. คิดพยาบาท เช่น คิดอาฆาต คิดแก้แค้น คิดปองร้าย

๑๐. มีความเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าตายแล้วสูญ เห็นว่ากฎแห่งกรรมไม่มี

วิ ธี ง ด เ ว้ น จ า ก บ า ป ใ ห้ สำ เ ร็ จ

คนเราประกอบขึ้นด้วยกายและใจ โดยใจจะเป็นผู้คอยควบคุมกายให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่ใจต้องการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

“ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใครมีใจชั่วเสียแล้ว การพูดการกระทำของเขา ก็ย่อมชั่วตามไปด้วย เพราะการพูดชั่วทำชั่วนั้น ความทุกข์ก็ย่อมตามสนองเขา เหมือนวงล้อเกวียน ที่หมุนเวียนตามบดขยี้รอยเท้าโค ที่ลากมันไป

แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำ ก็ย่อมบริสุทธิ์ตามไปด้วย เพราะการพูด การกระทำ ที่บริสุทธิ์ดีงามนั้น ความสุขก็ย่อมตามสนองเขาเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากร่างฉะนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๑/๑๕


ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาหาความสุขความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงต้องฝึกใจตนเองให้งดเว้นบาป ซึ่งทำได้โดย ต้องฝึกให้ใจมีหิริโอตตัปปะเสียก่อน

หิ ริ โ อ ต ตั ป ป ะ คื อ อ ะ ไ ร ?

หิริ คือความละอายบาป ถึงไม่มีใครรู้แต่นึกแล้วกินแหนงแคลงใจ ไม่สบายใจ เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวผลของบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผล เป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป

สมมุติว่าเราเห็นเหล็กชิ้นหนึ่งเปื้อนอุจจาระอยู่ เราไม่อยากจับต้อง รังเกียจว่าอุจจาระจะมาเปื้อนมือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ หิริ คือความละอายต่อบาป

สมมุติว่าเราเห็นเหล็กท่อนหนึ่งเผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัวไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่า ความร้อนจะลวกเผาไหม้มือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อผลของบาป

“สัตบุรุษ ผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก” ขุ.ชา.เอก.๒๗/๖/๓

เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ เ กิ ด หิ ริ

๑. คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล “เรานี่มีบุญอุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ ทำไมต้องมาขโมยเขากิน นั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน ทำไมต้องมาแย่งผัวแย่งเมียเขา ไม่ใช่หมูหมากาไก่ ในฤดูผสมพันธุ์นี่ เรานี่มันชาติคน เป็นมนุษย์สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว” พอคำนึงถึงชาติตระกูล หิริก็เกิดขึ้น

๒. คำนึงถึงอายุ “โธ่เอ๋ย ! เราก็แก่ป่านนี้แล้ว จะมานั่งเกี้ยวเด็กสาวๆ คราวลูกคราวหลานอยู่ได้อย่างไร โธ่เอ๋ย! เราก็แก่ป่านนี้แล้วจะมาขโมยของเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างไร” พอคำนึงถึงวัย หิริก็เกิดขึ้น

๓. คำนึงถึงความดีที่เคยทำ “เราก็เคยมีความองอาจกล้าหาญ ทำความดีมาก็มากแล้ว ทำไมจะต้องมาทำความชั่วเสียตอนนี้ล่ะ ไม่เอาละ ไม่ยอม ทำความชั่วละ” พอคำนึงถึงความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น

๔. คำนึงถึงความเป็นพหูสูต “ดูซิ...เราก็มีความรู้ขนาดนี้แล้ว รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ รู้สารพัดจะรู้แล้วจะมาทำความชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงความเป็นพหูสูต หิริก็เกิดขึ้น

๕. คำนึงถึงพระศาสดา “เราเองก็ลูกพระพุทธเจ้า พระองค์สู้ทนเหนื่อยยาก ตรัสรู้ธรรมแล้วทรงสั่งสอน อบรมพวกเราต่อๆ กันมา เราจะละเลยคำสอน ของพระองค์ไปทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น

๖. คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษา “ฮึ ! เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกัน ครู อาจารย์สู้อบรมสั่งสอนมา ชื่อเสียงสถาบันของเราก็โด่งดังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญ แล้วเราจะมาทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงครูอาจารย์ สำนักเรียน หิริก็เกิดขึ้น

เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ เ กิ ด โ อ ต ตั ป ป ะ

๑. กลัวคนอื่นติ “นี่ถ้าเราขืนไปขโมยของเขาเข้า คนอื่นรู้คงเอาไปพูดกันทั่ว ชื่อเสียงที่เราอุตส่าห์สร้างมาอย่างดี คงพังพินาศหมดคราวนี้เอง” เมื่อกลัวว่าคนอื่นเขาจะติเอา โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

๒. กลัวการลงโทษ “อย่าดีกว่า ขืนไปฆ่าเขาเข้า บาปกรรมตามทัน ตำรวจจับได้ มีหวังติดคุกตลอดชีวิตแน่” เมื่อกลัวว่าบาปจะส่งผลให้ถูกลงโทษ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

๓. กลัวการเกิดในทุคติ “ไม่เอาละ ขืนไปขโมยของเขาอีกหน่อยต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ไม่ทำดีกว่า” เมื่อกลัวว่าจะต้องไปเกิดในทุคติ โอตตัปปะก็เกิดขึ้นจึงไม่ยอมทำบาป

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

การทำชั่ว เหมือนการเดินตามกระแสน้ำ เดินไปได้ง่าย ทุกคนพร้อมที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามกระแสกิเลสอยู่แล้ว ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ยอมตกเป็นทาสของกิเลส กระทำสิ่งต่างๆ ตามอำนาจของความอยาก ก็จะประสบทุกข์ในบั้นปลาย

การทำดี เหมือนการเดินทวนกระแสน้ำ เดินลำบาก ต้องใช้ความอดทน ใช้ความมานะพยายาม ต้องระมัดระวังไม่ให้ลื่นล้ม การทำความดีเป็นการทวนกระแสกิเลสในตัว ไม่ทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจ คำนึงถึงความ ถูกความดีเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมเป็นทาสของความอยาก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ ใช้ความมานะพยายามสูง แต่จะประสบสุขในบั้นปลาย

การทำกลางๆ เหมือนยืนอยู่เฉยๆ กลางกระแสน้ำ ไม่ช้าก็ถูกกระแส น้ำพัดพาไปได้ คนที่คิดว่า “ฉันอยู่ของฉันอย่างนี้ก็ดีแล้ว ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร แต่ความดีฉันก็ไม่สนใจที่จะทำ” เข้าทำนองบุญก็ไม่ทำ กรรมก็ไม่สร้าง วัดก็ไม่เข้า เหล้าก็ไม่กิน เขาย่อมจะมีโอกาสเผลอไปทำความชั่วได้ในไม่ช้า เพราะใจของคนเรา พร้อมที่จะไหลเลื่อนลงไปในที่ต่ำ ตามอำนาจกิเลสอยู่แล้ว ผู้ที่คิดอย่างนี้จึงเป็นคนประมาทอย่างยิ่ง

ดังนั้นเราชาวพุทธทั้งหลาย นอกจากจะต้องพยายามงดเว้นบาป เพื่อป้องกันใจของเรา ไม่ให้ไหลเลื่อนไปทางต่ำแล้ว จะต้องหมั่นยกใจของเราให้สูงอยู่เสมอ ด้วยการขวนขวายสร้างสมบุญกุศลอยู่เป็นนิจ คือการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ง ด เ ว้ น บ า ป

๑. ทำให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย

๒. ทำให้เกิดมหากุศลตามมา

๓. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน

๔. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท

๕. ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

๖. ทำให้จิตใจผ่องใส พร้อมที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงต่อไป ฯลฯ

“บัณฑิตเห็นภัยในนรกทั้งหลายแล้ว พึงงดเว้นบาปทั้งหลายเสีย พึงสมาทานอริยธรรมแล้วงดเว้น เมื่อความบากบั่นมีอยู่ ชนไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ และรู้อยู่ไม่พึงพูดมุสา ไม่พึงหยิบฉวยของที่เขาไม่ให้ พึงเป็นผู้ยินดีด้วยภรรยาของตน พึงงดภรรยาของคนอื่น และไม่พึงดื่มเมรัยสุราอันยังจิตให้หลง” อง.ปญฺจก.๒๒/๑๗๙/๒๓๘


จบมงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
นั่งกินเหล้า

Image
ขาดความละอาย
............................................................



มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

“ไม้ขีดเพียงก้านเดียว
อาจเผาผลาญเมืองทั้งเมืองให้มอดไหม้ไปได้ฉันใด
น้ำเมาเพียงเล็กน้อย
ก็อาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่างของเราได้ฉันนั้น”


สำ ร ว ม จ า ก ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า ห ม า ย ถึ ง อ ะ ไ ร ?

น้ำเมา โดยทั่วไปหมายถึงเหล้า แต่ในที่นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั้งสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด

ดื่ม ในที่นี้หมายถึง การทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่า จะโดยวิธี ดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด ก็ตาม

สำรวม หมายถึง ระมัดระวังในนัยหนึ่ง และเว้นขาดในอีกนัยหนึ่ง

เ ห ตุ ที่ ใ ช้ คำ ว่ า สำ ร ว ม

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกอฮอล์ เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้ จับต้องก็ไม่ได้ คนตายแล้ว เอาแอลกอฮอล์มาเช็ดล้างศพก็ไม่ได้ ถือเป็นของบาป

แต่ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น เพราะทรงมองเห็นว่า เหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์ แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น มอร์ฟีนใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้า สกัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้รักษาโรค คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรส ไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่ อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้ว หาข้ออ้าง นำเหล้ามาทั้งขวดเอายาใส่ไปนิดหน่อย อย่างนั้นใช้ไม่ได้

โดยสรุป สำรวมจากการดื่มน้ำเมาจึงหมายถึง การระมัดระวังเมื่อต้องใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม

โ ท ษ ข อ ง ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปโทษของการดื่มสุราไว้ ๖ ประการ คือ

๑. ทำให้เสียทรัพย์ เพราะไหนจะต้องซื้อเหล้ามาดื่มเอง ไหนจะต้องเลี้ยงเพื่อน งานการก็ไม่ได้ทำ ดังนี้แม้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าติดเหล้าก็อาจจะล่มจมได้

๒. ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพราะดื่มเหล้าแล้วขาดสติไม่สามารถ ควบคุมตนเองได้ จะเห็นได้ว่า ในวงเหล้ามักจะมีเรื่องชกต่อย ตีรันฟันแทงอยู่เสมอ เพื่อนรักกันพอเหล้าเข้าปาก ประเดี๋ยวเดียวก็ทะเลาะกัน ฆ่ากันเสียแล้ว

๓. ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง ทั้งโรคตับแข็ง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตในสมองแตก โรคทางระบบประสาท ฯลฯ

๔. ทำให้เสียชื่อเสียง เพราะไปทำสิ่งที่ไม่ดีเข้า ใครรู้ว่าเป็นคนขี้เมาก็จะดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครไว้วางใจ

๕. ทำให้แสดงกิริยาที่อุจาดขาดความละอาย พอเมาแล้วอะไรที่ไม่กล้าทำก็ทำได้ จะนอนอยู่กลางถนน จะเอะอะโวยวาย จะถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ ทำได้ทั้งนั้น

๖. ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย พอเมาแล้ว จะคิดอะไรก็คิดไม่ออก อ่านหนังสือก็ไม่ถูก พูดจาวกวน พอดื่มหนักๆ เข้าอีกหน่อยก็กลายเป็นคนหลงลืม ปัญญาเสื่อม

“เหล้าจึงผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง ผลาญทรัพย์ ผลาญไมตรี ผลาญสุขภาพ ผลาญเกียรติยศ ผลาญศักดิ์ศรี ผลาญสติปัญญา”

การดื่มเหล้านั้น อาจทำให้เกิดความสุขได้บ้างสำหรับคนที่ติด แต่เป็นความสุขหลอกๆ บนความทุกข์ เหล้าทำให้เพลิดเพลิน แต่เป็นการเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า

การดื่มน้ำเมา นอกจากจะเป็นการมอมเมาตัวเองวันแล้ววันเล่า ยังเป็น การบั่นทอนทุกสิ่งทุกอย่าง ของตนเองอีกด้วย แม้ที่สุดความสุขทางใจที่คนเมาเห็นว่า ตนได้จากการเสพสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็เป็นความสุขจอมปลอม

โ ท ษ ข้ า ม ภ พ ข้ า ม ช า ติ ข อ ง ก า ร ดื่ ม สุ ร า

เหล้าไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

๑. ทำให้เกิดเป็นคนใบ้ พวกนี้ตายในขณะเมาเหล้า คนที่เมาเหล้ากำลังได้ที่ ลิ้นจุกปากกันทั้งนั้น พูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง “แบะๆ” พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ กรรมยังติดตามมาเลยเป็นใบ้

๒. ทำให้เกิดเป็นคนบ้า พวกนี้ภพในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน เวรนั้นติดตัวมา ในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยิน เสียงคนมากระซิบบ้าง เห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง

๓. ทำให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน พวกที่ดื่มเหล้าจัดๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้ว ด้วยเวรสุรานี้ ก็ส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน

๔. ทำให้เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พวกนี้ดื่มเหล้าเมาจัดๆ ก็ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคน พอตายเข้า ก็ได้เกิดมาคลานสมใจนึก

วิ ธี เ ลิ ก เ ห ล้ า ใ ห้ ไ ด้ เ ด็ ด ข า ด

๑. ตรองให้เห็นโทษ ว่าสุรามีโทษมหันต์ดังได้กล่าวมาแล้ว

๒. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหรือกับพระภิกษุ

๓. สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้าตัวอย่าง ขนไปทิ้งให้หมด ถือเป็นของเสนียด นำอัปมงคลมาสู่บ้าน

๔. นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มาก ว่าเราเป็นชาวพุทธ เป็นลูกพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครู เป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้สำเร็จ

๕. เพื่อนขี้เหล้าขี้ยาทั้งหลาย พยายามหลีกเลี่ยงออกห่าง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็มาชวนเราไปดื่มเหล้าอีก ข้อนี้สำคัญที่สุด ตราบใดยังคลุกคลี สนิทสนมกับเพื่อนขี้เหล้าอยู่ ยากจะเลิกเหล้าได้

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร สำ ร ว ม จ า ก ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า

๑. ทำให้เป็นคนมีสติดี

๒. ทำให้ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา

๓. ทำให้ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท

๔. ทำให้รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว

๕. ทำให้ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน

๖. ทำให้มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง

๗. ทำให้มีชื่อเสียง เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป

๘. ทำให้ไม่หลงทำร้ายผู้มีพระคุณ

๙. ทำให้มีหิริโอตตัปปะ

๑๐. ทำให้มีความเห็นถูก มีปัญญามาก

๑๑. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

Image
ทะเลาะวิวาท

Image
งานการไม่เสร็จ
............................................................



จบมงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

Image
หมั่นไปวัดเพื่อศึกษาธรรม
............................................................



มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

“ในการก่อสร้างอาคาร
จำเป็นต้องมีเสาเป็นหลักค้ำจุนตัวอาคารไว้ฉันใด
ในการสร้างความดีทุกชนิด
ก็จำเป็นต้องมีความไม่ประมาท
เป็นแกนหลักรองรับฉันนั้น”


ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท คื อ อ ะ ไ ร ?

ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา

ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง กล่าวได้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด เมื่อสรุปแล้วก็คือคำสอนให้เราไม่ประมาท ดังจะเห็นได้จากปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจะเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” (มหาปรินิพพานสูตร) ที.ม.๑๐/๑๔๓/๑๘๐

ไ ม่ ป ร ะ ม า ท ใ น ธ ร ร ม ห ม า ย ค ว า ม ว่ า อ ย่ า ง ไ ร ?

คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาแปลเอาความท่านแปลว่าเหตุ หมายถึงต้นเหตุ ข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกข้อ ถ้าดูให้ดีแล้วล้วนแต่เป็นคำบอกเหตุทั้งสิ้นคือ บอกว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนั้น หรือไม่ก็บอกว่าผลอย่างนี้เกิดมาจากเหตุอย่างนั้น เช่น ความขยันหมั่นเพียรเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ความเกียจคร้านเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม

ดังนั้น ไม่ประมาทในธรรม จึงหมายถึง ไม่ประมาทในเหตุ ให้มีสติรอบคอบ ตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้บังเกิดผลดีตามมานั่นเอง

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ผู้ ที่ ยั ง ป ร ะ ม า ท อ ยู่

๑. พวกกุสีตะ คือพวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี เป็นพวกเกียจคร้าน เช่น เวลาเรียนไม่ตั้งใจเรียนแต่อยากสอบได้ งานการไม่ทำ แต่ความดีความชอบจะเอา ไม่ทำประโยชน์แก่ใคร แต่อยากให้คนทั้งหลายนิยมชมชอบ ทานศีลภาวนาไม่ปฏิบัติ แต่อยากไปสวรรค์ไปนิพพาน ฯลฯ

๒. พวกทุจริตะ คือพวกทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี เป็นพวกทำอะไรตามอำเภอใจ แต่อยากได้ผลดี เช่น ทำงานเหลวไหลเสียหาย แต่พอถึงเวลาพิจารณาผลงานอยากได้เงินเดือนเพิ่ม ๒ ขั้น ปากเสียเที่ยวด่าว่าชาวบ้านทั่วเมือง แต่อยากให้ทุกคนรักตัว ฯลฯ

๓. พวกสิถิละ คือพวกทำเหตุดีเล็กน้อยแต่จะเอาผลดีมากๆ เป็นพวกค้ากำไรเกินควร เช่น จุดธูป ๓ ดอกบูชาพระ แต่จะเอาสวรรค์วิมาน มีนางฟ้าเทวดาคอยรับใช้นับหมื่นนับแสน อ่านหนังสือแค่ ๑ ชั่วโมง แต่จะเอาที่ ๑ ในชั้น เลี้ยงข้าวเขาจานหนึ่ง แต่จะให้เขาจงรักภักดีต่อตัวเองไปจนตาย

รวมความแล้วผู้ที่ยังประมาทอยู่มี ๓ จำพวก คือพวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุเลวแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมาก ส่วนผู้ไม่ประมาทในธรรม มีคุณสมบัติตรงข้ามกับคน ๓ จำพวกดังกล่าว คือจะต้องไม่เป็นคนดูเบาในการทำเหตุ ต้องทำแต่เหตุที่ดี ทำให้เต็มที่ และทำให้สมผล ผู้ที่ไม่ประมาททุกคนจะต้องมีสติอยู่เสมอ

ส ติ คื อ อ ะ ไ ร ?

สติ คือความระลึกนึกได้ถึงความผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้

ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับ ก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

ห น้ า ที่ ข อ ง ส ติ

๑. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือระแวงในสิ่งที่ควรระแวง และระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต

ความระแวง หมายถึง ความกริ่งเกรงล่วงหน้าว่าจะมีความเสียหาย อันใดเกิดขึ้น เช่น คนขับรถขณะฝนกำลังตกถนนลื่น ก็ระแวงว่ารถจะคว่ำ ระแวงว่าจะมีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิด

ส่วนความระวัง คือการป้องกันไม่ให้ภัยชนิดนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ลดความเร็วลง ตั้งใจขับมากขึ้น อย่างนี้เป็นต้น

๒. สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไป ในสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มีสติยับยั้งตัวเองไว้ว่าอย่าไป เพราะเป็นโทษต่อตัวเอง ฯลฯ

๓. สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรค “นอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี”

๔. สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือเมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้วก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ

๕. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

๖. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร

คำ อุ ป ม า ส ติ

สติเสมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ คือคนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง ท่านจึงเปรียบสติเสมือนเสาหลัก

สติเสมือนนายประตู เพราะจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่างๆ ที่จะผ่านเข้ามากระทบใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนเฝ้าดูถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อนปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน

สติเสมือนขุนคลัง เพราะคอยตรวจตราอยู่ทุกเมื่อ ว่าของที่ได้เข้ามาและใช้ออกไปมีเท่าไร งบบุญงบบาปของเราเป็นอย่างไร ตรวจตราดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ยอมให้ตัวเองเป็นหนี้บาป

สติเสมือนหางเสือ เพราะจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเรา ให้มุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่หลงไปทำในสิ่งที่ไม่ควร เหมือนคอยระมัดระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น

ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ส ติ

๑. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น จะดูหนังสือก็สนใจ คิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิใจก็จรดนิ่ง สงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เพราะฉะนั้น “ที่ใดมีสติ ที่นั่นมีสมาธิ ที่ใดมีสมาธิ ที่นั่นมีสติ”

๒. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม

๓. ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระมีพลัง แต่มีสติควบคุม เสมือนเรือที่มีหางเสือควบคุมอย่างดี ย่อมสามารถแล่นตรงไปใน ทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่วกวน

๔. ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริบูรณ์

๕. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติจึงไม่เผลอไปเกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์

ก า ร ฝึ ก ส ติ ใ ห้ เ ป็ น ค น ไ ม่ ป ร ะ ม า ท

๑. มีสติระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้า ก็มีสติระลึกได้ทันทีว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาปหรือไม่ ถ้าเป็นบาปก็ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

๒. มีสติระลึกถึงการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะทำอะไรก็มีสติระลึกได้เสมอว่า สิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบุญเป็นกุศลหรือไม่ ถ้าเป็นกุศลจึงทำ

๓. มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน นั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลย เพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิเช่นนั้น

๔. มีสติระลึกถึงความทุกข์ อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในวัฏฏสงสารอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่าถ้าเรายังต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่อย่างนี้ ก็ต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป จึงหาโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อให้เข้านิพพานให้ได้เร็วที่สุดจะได้หมดทุกข์ เมื่อระลึกเช่นนี้บ่อยๆ ย่อมไม่หลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่กำหนัด ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองได้ในที่สุด

๕. มีสติระลึกถึงกรรมฐานภาวนาที่จะละราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาด จากสันดานอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้น ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ ว่าใจของเราจะเข้มแข็งทรงพลัง เอาชนะความทะยานอยากต่างๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุดคือ การฝึกทำสมาธิ จึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

สิ่ ง ที่ ไ ม่ ค ว ร ป ร ะ ม า ท อ ย่ า ง ยิ่ ง

๑. ไม่ประมาทในเวลา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า “วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่” อย่ามัวเมาทำในสิ่งไร้สาระ เช่น เล่นไพ่ คุยโม้ ดูแฟชั่น ให้เร่งรีบทำงานให้เต็มที่แข่งกับเวลา เพราะเวลามีน้อย เมื่อกลืนกินชีวิตไปแล้วก็เรียกกลับคืนไม่ได้

๒. ไม่ประมาทในวัย มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าตัวยังเป็นเด็กอยู่ จึงเที่ยวเล่นเพลิดเพลินไปวันๆ หนึ่ง เพราะถ้านับอายุตั้งแต่ชาติแรกๆ จนถึงบัดนี้ แต่ละคนต่างมีอายุคนละหลายกัปป์แล้ว

๓. ไม่ประมาทในความไม่มีโรค มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิด ว่าเราจะแข็งแรงอยู่อย่างนี้ตลอดไป ถ้ากรรมชั่วในอดีตตามมาทันอาจป่วยเป็นโรค ไม่สบายเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่นี้ ต้องรีบขวนขวายสร้างความดีให้เต็มที่

๔. ไม่ประมาทในชีวิต มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเรายังมี ชีวิตอยู่สุขสบายดี เราจะยังมีชีวิตอยู่อีกนาน เพราะจริงๆ แล้วเราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า จึงเร่งรีบขวนขวายในการละความชั่ว สร้างความดีและทำจิตใจให้ผ่องใสอย่างเต็มที่ ทุกรูปแบบ ทุกโอกาส

๕. ไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่าจะทำงานทุกอย่าง ที่มาถึงมือให้ดีที่สุด ทำอย่างทุ่มเทไม่ออมมือ ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ไม่ท้อถอย ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

๖. ไม่ประมาทในการศึกษา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะขวนขวายหาความรู้อย่างเต็มที่ อะไรที่ควรอ่านควรท่องก็จะรีบอ่านรีบท่องโดยไม่แชเชือน ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจไขปัญหาชีวิต

๗. ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอไม่ย่อท้อ โดยเริ่มตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่รอจนแก่ค่อยเข้าวัด จะฟังเทศน์ก็หูตึงฟังไม่ถนัด จะนั่งสมาธิก็ปวดเมื่อยขัดยอกไปหมด ลุกก็โอยนั่งก็โอย เมื่อระลึกได้เช่นนี้จึงมีความเพียรใส่ใจในการปฏิบัติธรรม เพราะทราบ ดีว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้า และเป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดแห่งชีวิต คือนิพพาน

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ไ ม่ ป ร ะ ม า ท ใ น ธ ร ร ม

๑. ทำให้ได้รับมหากุศล

๒. ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ตายสมดังพุทธวจนะ

๓. ทำให้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ

๔. ทำให้คลายจากความทุกข์

๕. ทำให้เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี

๖. ย่อมมีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่นๆ

๗. ย่อมได้รับความสุขในการดำรงชีพ

๘. เป็นผู้ตื่นตัว ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี

๙. ความชั่วความไม่ดีต่างๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยเร็ว ฯลฯ

“ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘

“เวลาใด บัณฑิตกันความประมาทออกได้ด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้น เขานับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท คือปัญญา ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชนผู้โง่เขลา ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา มองลงมาเห็นฝูงชน ที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘


Image
ประมาทในโรค

Image
ประมาทในวัย
............................................................



จบมงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
แสดงความเคารพพระบรมสารีริกธาตุ
............................................................



มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ

“เมื่อจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใด
เราจำเป็นต้องรู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนฉันใด
ผู้ที่จะรับประโยชน์จากบุคคลอื่นได้
ก็จำเป็นต้องมีความเคารพต่อบุคคลทั้งหลายก่อนฉันนั้น
เป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไกลฉันใด
ความเป็นพหูสูต
ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการบุกเบิก
สร้างความเจริญให้แก่ชีวิตฉันนั้น”


ค ว า ม เ ค า ร พ คื อ อ ะ ไ ร ?

ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้

แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้น ทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ ของผู้มีปัญญาเท่านั้น

เช่นกัน คนทั้งหลายในโลกต่างก็มีคุณความดีในตัวต่างๆ กันไป มาก บ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน ผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การที่จะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่น ก็ทำได้ยาก ยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้าง ความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คนๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคน ถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว...ใคร ? ตัวเอง

คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออก ก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอด เอาความดีของเขาเข้ามาสู่ตัวเอง

ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น จึงจัดเป็นคนพิเศษจริงๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากความถือตัวต่างๆ เปิดกว้างพร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน คนชนิดนี้คือ คนที่มีความเคารพ

สิ่ ง ที่ ค ว ร เ ค า ร พ อ ย่ า ง ยิ่ ง

ในโลกนี้มีคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน และอื่นๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้เรามีความเคารพ ไม่ดูเบา ตระหนักในสิ่งมีคุณค่าที่สำคัญ ๗ ประการ ได้แก่

๑. ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. ให้มีความเคารพในพระธรรม

๓. ให้มีความเคารพในพระสงฆ์

๔. ให้มีความเคารพในการศึกษา

๕. ให้มีความเคารพในสมาธิ

๖. ให้มีความเคารพในความไม่ประมาท

๗. ให้มีความเคารพในการต้อนรับแขก

ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตระหนักถึงพระคุณความ ดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งกล่าวโดยย่อ ได้แก่ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

สมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็แสดงความเคารพโดย

๑. เข้าเฝ้าทั้ง ๓ กาล คือเช้า กลางวัน เย็น

๒. เมื่อพระองค์ไม่สวมรองเท้าจงกรม เราจะไม่สวมรองเท้าจงกรม

๓. เมื่อพระองค์จงกรมในที่ต่ำ เราจะไม่จงกรมในที่สูงกว่า

๔. เมื่อพระองค์ประทับในที่ต่ำ เราจะไม่อยู่ในที่สูงกว่า

๕. ไม่ห่มผ้าคลุมบ่าทั้งสอง ในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๖. ไม่สวมรองเท้าในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๗. ไม่กางร่มในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๘. ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

สมัยเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วก็แสดงความเคารพโดย

๑. ไปไหว้พระเจดีย์ตามโอกาส

๒. ไปไหว้สังเวชนียสถาน คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ตามโอกาส

๓. เคารพพระพุทธรูป

๔. เคารพเขตพุทธาวาส คือเขตโบสถ์

๕. ไม่สวมรองเท้าในลานพระเจดีย์

๖. ไม่กางร่มในลานพระเจดีย์

๗. เมื่อเดินใกล้พระเจดีย์ ไม่เดินไปพูดไป

๘. เมื่อเข้าในเขตอุโบสถ ก็ถอดรองเท้า หุบร่ม ไม่ทำอาการต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความกระด้าง หยาบคาย

๙. ปฏิบัติตนตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

ความเคารพในพระธรรม คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาล ของพระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

๑. เมื่อมีประกาศแสดงธรรมก็ไปฟัง

๒. ฟังธรรมด้วยความสงบ สำรวม ตั้งใจ

๓. ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งคุยกัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน ขณะฟังธรรม

๔. ไม่วางหนังสือธรรมะไว้ในที่ต่ำ

๕. ไม่ดูหมิ่นพระธรรม

๖. บอกธรรม สอนธรรม ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด

ความเคารพในพระสงฆ์ คือตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

๑. กราบไหว้ โดยกิริยาอาการเรียบร้อย

๒. นั่งเรียบร้อย ไม่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก

๓. ไม่สวมรองเท้า ไม่กางร่ม ในที่ประชุมสงฆ์

๔. ไม่คะนองมือคะนองเท้าต่อหน้าท่าน

๕. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่แสดงธรรม

๖. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม

๗. ไม่เดิน ยืน นั่ง เบียดพระเถระ

๘. แลดูท่านด้วยจิตเลื่อมใส

๙. ต้อนรับท่านด้วยไทยธรรม

ความเคารพในการศึกษา คือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม จะศึกษาเรื่องใดก็ศึกษาให้ถึงแก่น ให้เข้าใจจริงๆ ไม่ทำเหยาะ แหยะ บำรุงการศึกษา สนับสนุนการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม

ความเคารพในสมาธิ คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของ การทำสมาธิ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างความดีทั้งหลาย เป็นการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด ทำให้รู้และเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากในไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า “ศีลจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย แล้วสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาซึ่งเป็นเครื่องพาเราให้บรรลุนิพพาน” จะเห็นว่าเรารักษาศีลก็เพื่อไม่ให้ไปทำความชั่ว ทำให้ใจไม่เศร้าหมองเป็นสมาธิได้ง่าย และปัญญาก็เกิดจากสมาธิ สมาธิจึงเป็นหัวใจหลักในการทำความดีทุกชนิด แม้การกำจัดกิเลสเข้าสู่นิพพาน

“สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ ฯ สมาหิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ ฯ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง” สํ.ข.๑๗/๒๗/๑๘

มีบางคนพยายามจะเข้าถึงธรรม โดยการอ่านและฟังธรรม โดยไม่ยอมทำสมาธิ ซึ่งแม้เขาจะอ่าน จะท่องธรรมะได้มากเพียงใด ก็ย่อมไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรมได้เลย เพราะความรู้ธรรมจากการอ่านการท่องนั้น เป็นเพียงพื้นฐานความรู้เท่านั้น จะบังเกิดผลเป็นดวงปัญญารู้แจ้ง สว่างไสว ต่อเมื่อได้นำไปปฏิบัติ ด้วยการทำสมาธิอย่างยิ่งยวดแล้วเท่านั้น

ยังมีบางคนกล่าวว่า การทำสมาธิเป็นส่วนเกินบ้าง เป็นการเสียเวลาเปล่าบ้าง ถ้าพบใครที่กล่าวเช่นนี้ก็พึงทราบทันทีว่าเขากล่าวตู่พุทธพจน์เสียแล้ว เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ไม่ควรคบเพราะเขายกตัวของเขาเอง เขาผยองคิดว่าตนเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ใช้ไม่ได้

ความเคารพในความไม่ประมาท คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีสติกำกับตัวในการทำงานต่างๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึกสติเพื่อให้ไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอยู่เนืองๆ มิได้ขาด

ความเคารพในการต้อนรับแขก คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับแขก ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู ปกติคนเราจะให้ดีพร้อม ทำอะไรถูกใจคนทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ อาจมีช่องว่างรอยโหว่ มีข้อบกพร่องบ้าง การต้อนรับแขกนี้จะเป็นการปิดช่องว่างรอยโหว่ในตัว ทำให้ได้มิตรเพิ่ม เราจึงต้องให้ ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ ๒ ประการ ดังนี้

๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหารน้ำดื่ม เลี้ยงดู อย่างดี ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ฯลฯ

๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม เช่น สนทนาธรรมกัน แนะนำธรรมะให้แก่กัน ฯลฯ

นอกจากตัวเราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการต้อนรับแขกแล้ว แม้คนในบ้านก็ต้องฝึกให้ต้อนรับแขกเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นจะพลาดไป เช่น ข้าราชการผู้ใหญ่บางคน ตนเองต้อนรับแขกได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ได้ฝึกคนในบ้านไว้ เวลาตนเองไม่อยู่มีแขกมาหาที่บ้าน เด็กและคนรับใช้พูดจากับเขาไม่ดี ทำให้เขาผูกใจเจ็บ คิดว่าเจ้าของบ้านยุยงส่งเสริม จึงหาทางโจมตี จนต้องเสียผู้เสียคนมาก็มากต่อมากแล้ว โดยที่ตนเองก็ไม่รู้สาเหตุว่าเขาเป็นศัตรูเพราะอะไร

เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคน สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน ในโลกนี้มีหลายแสนหลายล้านอย่าง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราสนใจอย่างจริงจัง ๗ อย่าง ดังนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง ๗ ประการนี้ มีความสำคัญเพียงใดโปรดคิดดู

สิ่งที่ควรเคารพทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง เมื่อเราสามารถตรอง จนตระหนักถึงคุณ ของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง ทั้ง ๗ ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรอง ถึงความดีของสิ่งอื่นๆ ได้ชัดเจนและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริง และทำได้จริงผู้หนึ่ง

เมื่อฝึกตนเองให้มากด้วยความเคารพแล้ว ในไม่ช้านิสัยชอบจับผิดผู้อื่น ก็จะค่อยๆ หายไป เจอใครก็จะคอยมองแต่คุณความดีของเขา ต่อไปความชั่วทั้งหลายเราก็จะนึกไม่ออก นึกออกแต่ความดี และวิธีทำความดีเท่านั้น ตัวเราก็จะกลายเป็นที่รวมแห่งความดี เหมือนทะเลเป็นที่รวมของน้ำฉะนั้น

ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม เ ค า ร พ

การแสดงความเคารพ คือการแสดงความตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เราเคารพด้วยใจจริง ให้ปรากฏชัดแก่บุคคลทั่วไป ด้วยการแสดง ออกทางกาย วาจา มีอยู่หลายวิธี เช่น หลีกทางให้ ลุกขึ้นยืนต้อนรับ การให้ที่นั่งแก่ท่าน การประนมมือเวลาพูดกับท่าน การกราบ การไหว้ การขออนุญาตก่อนทำกิจต่างๆ การวันทยาวุธ การวันทยหัตถ์ การยิงสลุต การลดธง ฯลฯ

การแสดงความเคารพที่ถูกต้องตามหลักธรรม หมายถึง การแสดง ออกเพราะตระหนักในคุณความดี ของสิ่งที่เคารพด้วยใจจริง นักเรียนที่คำนับครูเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกตัดคะแนนความประพฤติ ทหารที่ทำวันทยหัตถ์ ผู้บังคับบัญชาตามกฎระเบียบ หรือทำเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ อย่างนี้ไม่จัดว่า เป็นความเคารพ เป็นแต่เพียงวินัยอย่างหนึ่งเท่านั้น

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเคารพ คือการตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น ซึ่งผู้ที่จะตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่นได้ จะต้อง มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อนคือมีปัญญา ความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร

และเมื่อเราแสดงความเคารพออกไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรู้ทันทีว่า “อ้อ ! คนนี้เขามีคุณธรรมสูง มีความเคารพและมีแววปัญญา” เขาก็เกิดความตระหนักในความดีของเรา และแสดงกิริยาเคารพต่อเราที่เรียกว่า รับเคารพ

แต่ถ้าผู้ใด เมื่อมีคนมาแสดงความเคารพแล้วเฉยเสีย ไม่แสดงความเคารพตอบ ผู้นั้นจัดเป็นคนน่าตำหนิอย่างยิ่ง เพราะการเฉยเสียนั้นเท่ากับบอกให้ชาวโลกรู้ว่า “ตัวข้านี้ แสนจะโง่เง่า หามีปัญญาพอที่จะเห็นคุณความดีในตัวท่านไม่” เท่านั้นเอง

คนที่ไม่อยากแสดงความเคารพคนอื่น หรือเมินเฉยต่อการเคารพตอบ มักเป็นเพราะเข้าใจว่าการแสดงกิริยาเคารพออกมานั้น เป็นการลดสง่าราศรีของ ตนแล้วเอาไปเพิ่มให้แก่คนอื่น เลยเกิดความเสียดายเกรงว่าตัวเองจะไม่ใหญ่โต หรือเกรงว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่าตัวเองใหญ่โต ซึ่งเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม เ ค า ร พ

๑. ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ

๒. ทำให้ได้รับความสุขกาย สบายใจ

๓. ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย

๔. ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย

๕. ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้

๖. ทำให้สติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท

๗. ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง

๘. ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ

๙. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“ภิกษุมีพระศาสดาเป็นที่เคารพ ๑ มีพระธรรมเป็นที่เคารพ ๑ มีความเคารพในพระสงฆ์อย่างแรงกล้า ๑ มีความเคารพในสมาธิ ๑ มีความเพียรเคารพยิ่ง ในไตรสิกขา ๑ มีความเคารพในความไม่ประมาท ๑ มีความเคารพในปฏิสันถาร ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ในที่ใกล้นิพพานทีเดียว” องฺ.สตฺตก.๒๓/๒๙/๒๙-๓๐


จบมงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้ที่ขวางทางเดิน
............................................................



มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน

“มหาสมุทรซึ่งเป็นที่ไหลมารวมกันของน้ำจากทุกสารทิศ
จะต้องมีระดับพื้นที่
ต่ำกว่าพื้นที่ตรงต้นน้ำทั้งหลายฉันใด
ผู้ที่ต้องการจะรับการถ่ายทอดคุณความดีจากบุคคลทั้งหลาย
ก็จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนก่อนฉันนั้น”


ค ว า ม ถ่ อ ม ต น คื อ อ ะ ไ ร ?

ความถ่อมตน มาจากภาษาบาลีว่า นิวาโต

วาโต แปลว่า ลม พองลม

นิ แปลว่า ไม่มี ออก

นิวาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือเอามานะทิฏฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตน ไม่เบ่ง ไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง ร ะ ห ว่ า ง ค ว า ม เ ค า ร พ กั บ ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

ความเคารพ เป็นการปรารภผู้อื่น คือตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยจ้องหาข้อดีของเขา ไม่จับผิด สามารถประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง แล้วแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ

ความถ่อมตน เป็นการปรารภตนเอง คือคอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเอง สามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่อวดดื้อถือดี สามารถน้อมตัวลง เพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่

คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนก็ได้ เช่น บางคนเมื่อพบคนดี ก็ตระหนักในความดี ความสามารถของเขา คือมีความเคารพ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าจะให้อ่อนเข้าไปหาเขาทำไม่ได้ ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย แล้วใจของตัวก็พองรับทันทีว่า “ถึงเอ็งจะแน่ แต่ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน” ใจของเขาจะพองเหมือน อึ่งอ่างพองลม คอยแต่คิดว่า “ข้าวิเศษกว่า” ทุกที

สิ่ ง ที่ ค น ทั่ ว ไ ป ห ล ง ถื อ เ อ า ทำ ใ ห้ ถื อ ตั ว

๑. ชาติตระกูล เช่น คิดว่า “ตระกูลฉันนี้เป็นตระกูลใหญ่ เชื้อสายผู้ดีเก่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย กี่รุ่นกี่รุ่นมีชื่อเสียงโด่งดังมาตลอด คนอื่นจะมาเทียบฉันได้อย่างไร” เมื่อหลงถือว่าตนมีชาติตระกูลสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๒. ทรัพย์สมบัติ เช่น คิดว่า “เฮอะ ! ทรัพย์สินเงินทองของฉันมีมาก มาย จะซื้อจะหาอะไรก็ได้อย่างใจ ไม่เห็นจะต้องไปง้อ ไปเกรงใจใคร” เมื่อหลง ถือว่าตนมีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๓. รูปร่างหน้าตา เช่น คิดว่า “ฮึ ! ฉันนี้สวยน้อยหน้าใครเสียเมื่อไหร่ ดูซี ผิวก็ละเอียด จมูกก็โด่ง ตาก็กลม นางงามจักรวาลที่ว่าสวยๆ ลองมาเทียบกันดูสักทีเถอะน่า ไม่แน่หรอกว่าใครสวยกว่ากัน” เมื่อหลงถือว่า ตนมีรูปร่างหน้าตาดีกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๔. ความรู้ความสามารถ เช่น คิดว่า “ฉันนี้ความรู้ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาที่ไหนที่ว่ายากๆ กวาดมาหมดแล้ว ฝีมือก็แน่กว่าใคร ใครๆ ก็สู้ฉันไม่ได้” เมื่อหลงถือว่าตนมีความรู้ความสามารถสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๕. ยศตำแหน่ง เช่น คิดว่า “ฮึ ! ฉันนี้มันชั้นผู้อำนวยการกอง อธิบดี ปลัดกระทรวง ซี ๘ ซี ๙ ซี ๑๐ ซี ๑๑ แล้ว ใครจะมาแน่เท่าฉัน” เมื่อหลงถือว่าตนมียศตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๖. บริวาร เช่น คิดว่า “เฮอะ ! สมัครพรรคพวก ลูกน้องฉันมีเยอะแยะใครจะกล้ามาหือ ใครจะกล้ามากำเริบเสิบสาน” เมื่อหลงถือว่าตนมีบริวารมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

คนทั่วไปมักหลงยึดเอาสิ่งต่างๆ ๖ ประการนี้ เป็นข้อถือดีของตัว ไม่เคยคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่ว่านั้น มันจะเป็นของเราตลอดไปหรือไม่ จีรังยั่งยืนหรือเปล่า ที่ว่าหล่อๆ สวยๆ พออายุสักหกสิบเจ็ดสิบจะมีใครอยากมอง เศรษฐี มหาเศรษฐี ทำการค้าผิดพลาดเข้า ล่มจมกลายเป็นยาจกภายในวันเดียวก็มีตัวอย่างมามากแล้ว และถึงจะเป็นเศรษฐีไปจนตายก็ใช่ว่าจะขนเงินขนทองไปปรโลกด้วยได้เมื่อไหร่ ถ้าไม่รู้จักสร้างคุณงามความดี ถึงมีเงินทองมากเท่าไหร่ก็ไม่พ้นทุกข์ไปได้ ยิ่งรวยมากก็ยิ่งทุกข์มาก ทั้งหา ห่วง หวง ยศตำแหน่ง บริวารนั้นก็มิใช่ว่าจะคงอยู่กับเราอย่างนั้นตลอดไป ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ไม่ใช่เป็นของเราจริงๆ เป็นเพียงสิ่งสมมุติกันขึ้นเพื่อให้คนในสังคมทำงานตามหน้าที่ของตนเท่านั้น สิ่งที่จะคงอยู่กับตัวเราอย่างแน่นอน และช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ คือความดีในตัวของเราต่างหาก

และการที่เราถือตัวเย่อหยิ่งทะนงตนนั้น มันทำให้อะไรในตัวเราดีขึ้นบ้าง จะทำให้คนอื่นนับถือว่า ตัวเรายิ่งใหญ่ก็หามิได้ รังแต่จะทำให้เขาเกลียดชังเหม็นหน้า เหมือนคนอยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวอ้วนท้วนสมบูรณ์ จึงอมลมเข้าเต็มปากทำให้แก้มตุ่ย ใครเห็นเข้าแทนที่จะชม เขาก็มีแต่จะหัวเราะเยาะ และขืนอมลมอยู่อย่างนั้น ข้าวก็กินไม่ได้ น้ำก็กินไม่ได้ ตัวก็มีแต่จะผอมซูบซีดลงทุกที

แท้จริง ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องนับถือจากคนอื่นทั้งกายและใจนั้น จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างเต็มที่เท่านั้น ผู้ที่ฉลาด จึงไม่ควรหลงยึดเอาสิ่งเหล่านี้ มาทำให้ตนเกิดความถือตัว

โ ท ษ ข อ ง ก า ร อ ว ด ดื้ อ ถื อ ดี

๑. ทำให้เสียตน เพราะเป็นคนรับความดีจากคนอื่นไม่ได้ กลัวเสียเกียรติ ประเมินค่าตนสูงกว่าความเป็นจริง คิดแต่ว่าเราดีอยู่แล้ว ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้ โบราณท่านจึงมีคำสอนเตือนใจไว้ว่า “ลูกท่านหลานเธอ ลูกเจ้าบ้านหลานเจ้าวัด มักจะเอาดีไม่ค่อยได้” เพราะมักจะติดนิสัยอวดดีถือตัว ยโสโอหัง จึงไม่มีใครอยากแนะนำสั่งสอนให้ ทำผิดก็ไม่มีใครอยากเตือน สุดท้ายก็คบอยู่แต่กับพวกประจบสอพลอ ทำผิดถลำลึกไปทุกทีจนสุดทางแก้

๒. ทำให้เสียมิตร เพราะเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ที่ไม่ควรถือก็ถือ ไม่ควรโกรธก็โกรธ จึงไม่มีใครอยากคบด้วย คนพวกนี้ถึงแม้ในเบื้องต้นอยากจะ ทำความดี แต่ทำไปได้ไม่กี่น้ำก็จอดเพราะไม่มีคนสนับสนุน เป็นเหมือนเจดีย์ฐานแคบ ไม่สามารถสร้างให้สูงขึ้นไปได้

๓. ทำให้เสียหมู่คณะ เพราะเป็นคนอวดเบ่ง จะเอาแต่อภิสิทธิ์ ทำให้เสียระเบียบวินัย หมู่คณะแตกแยก

หมู่คณะใดที่สมาชิกมีความอ่อนน้อมถ่อมตน แม้บางครั้งจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง แต่ไม่นานก็สามารถสมานสามัคคี ป้องกันอันตรายทั้งหลายได้โดยง่าย เหมือนดินเหนียวในท้องนายามหน้าแล้ง ก็แตกระแหงเป็น ร่องลึก ดูเหมือนไม่มีทางที่จะประสานรวมกันได้อีกแล้ว แต่พอฝนตกลงมาซู่เดียว ก็สามารถประสานคืนเป็นผืนเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์

ส่วนหมู่คณะใดที่สมาชิกมีความถือตัวจัด จึงไม่มีทางที่หมู่คณะนั้นจะเกิดความสมานสามัคคีกันได้ เหมือนดินทรายที่แม้ฝนจะตกจนน้ำท่วมฟ้าก็ไม่มีทางประสานรวมกันได้สนิท เช่นประเทศอินเดียในอดีต ซึ่งพลเมืองมีความถือตัวจัด แบ่งชั้นวรรณะกันอย่างหนัก แม้เพียงคนวรรณะสูงไปเห็นคนวรรณะต่ำ เห็น คนจัณฑาลเข้าก็ต้องรีบไปเอาน้ำล้างตา เพราะกลัวเสนียดจัญไรจะติด เพราะถือตัวกันอย่างนี้ พอถึงคราวมีข้าศึกรุกราน เลยไม่มีใครช่วยใครกำจัดศัตรู ปล่อยให้ศัตรูเข้ายึดครองประเทศโดยง่าย พวกคนวรรณะต่ำก็คิดว่าดีแล้ว คนวรรณะสูงๆ จะได้รู้สึกเสียบ้าง คนวรรณะสูงด้วยกันเองก็ยังถือตัวทะเลาะรบ กันเอง เพราะถือตัวกันอย่างนี้ แม้มีพลเมืองมากหลายร้อยล้านคนก็ยังตกเป็น เมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งส่งทหารมาเพียงแค่หยิบมือเดียว

“นระใดกระด้างโดยชาติ กระด้างโดยทรัพย์ และกระด้างโดยโคตร ย่อมดูหมิ่นแม้ญาติของตน กรรม ๔ อย่างของนระนั้น เป็นทางแห่งความเสื่อม” (ปราภวสูตร) ขุ.สุ.๒๕/๓๐๔/๓๔๗

วิ ธี แ ก้ ค ว า ม อ ว ด ดื้ อ ถื อ ดี

๑. ต้องคบกัลยาณมิตร คือคบคนดี จะได้คอยแนะนำเตือนสติเรา ให้ประเมินค่าของตนเองถูกต้องตามความเป็นจริง คอยแนะนำปลูกสร้างนิสัยดีๆ ให้กับเรา ไม่คบคนประจบสอพลอ ซึ่งจะพาเราไปในทางเสีย นอกจากนี้จะต้องแสดงความเคารพบูชาบุคคลที่ควรบูชาเสมอๆ เราจะได้ตระหนักเสมอว่า ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่าเรายังมีอยู่

๒. ต้องมีโยนิโสมนสิการ คือรู้จักคิดไตร่ตรองเอง เช่น พิจารณาว่า คนเราไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ถึงจะเก่งอย่างไรในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกัน ตัวเราเองก็ไม่ได้วิเศษกว่าคนอื่นเลย ขณะเดียวกัน สิ่งใดที่เป็นข้อถือตัวของเรา เช่น ชาติตระกูล ฐานะ รูปร่างหน้าตา ตำแหน่งหน้าที่การงาน บริวาร ให้หมั่นนำสิ่งนั้นมาพิจารณาเนืองๆ ว่า สิ่งเหล่านั้นก็ไม่เที่ยงแท้ ไม่จีรังยั่งยืน ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไปเช่นเดียวกัน

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ผู้ มี ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

ผู้มีความถ่อมตน จะเป็นผู้ที่รู้คุณค่าของตนตามความเป็นจริง เจียมเนื้อเจียมตัว ทำให้มีลักษณะอาการแสดงออก ที่ดีเด่นกว่าคนทั้งหลาย ๓ ประการ ดังนี้

๑. มีกิริยาอ่อนน้อม คือไม่ลดตัวลงจนเกินควร และไม่ถือตัวจนเกินงาม มีกิริยาอันเป็นที่รัก อ่อนโยนละมุนละไมต่อคนทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยและผู้เสมอกัน รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน มีคุณสมบัติผู้ดี สำหรับแสดงแก่คนทั้งหลายโดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกว่าเขาจะมีฐานะสูงกว่าหรือต่ำกว่าตน สงบเสงี่ยม แต่ก็มีความองอาจ ผึ่งผายในตัว

๒. มีวาจาอ่อนหวาน คือมีคำพูดที่ไพเราะน่าฟัง ออกมาจากใจที่ใสสะอาดนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่พูดโอ้อวดยกตัว และไม่พูดกล่าวโทษลบหลู่ ทับถมคนอื่น เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดต่อใคร ย่อมออกวาจาขอโทษเสมอ เมื่อผู้ใดแสดงคุณต่อตนอย่างไรก็ออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ ไม่พูดเยาะเย้ยถากถาง ผู้ทำผิดพลาด ไม่ใช้วาจาข่มขู่ผู้อื่น เห็นใครทำดีก็ชมเชยสรรเสริญจากใจจริง

๓. มีใจอ่อนโยน คือมีใจนอบน้อม ละมุนละม่อม ถ่อมตัว มีใจอ่อนละไมแต่มิใช่อ่อนแอ มีใจเข้มแข็งแต่มิใช่แข็งกระด้าง ไม่นิยมอวดกำลังความสามารถ แต่พยายามฝึกตนเองให้มีความสามารถ ถือคติว่า “จงมีแรงเหมือนยักษ์ แต่อย่าใช้แรงอย่างยักษ์” ไม่ถือความคิดของตัวเป็นใหญ่ มีใจเปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น รู้จักลดหย่อนผ่อนผันแก่กัน ถือคติว่า “ไม้ลำเดียวยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ สิบคนสิบความรู้ สิบคนสิบความคิด แม้สิบคนก็สิบความเห็น” เมื่อใครเขาไม่เห็นพ้องกับตนก็ไม่ด่วนโกรธ แล้วค่อยๆ ปรับ ความคิดเห็นเข้าหากัน โดยยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแกนกลาง

ตั ว อ ย่ า ง ผู้ มี ค ว า ม อ่ อ น น้ อ ม ถ่ อ ม ต น

ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรถูกพระภิกษุรูปหนึ่งใส่ความว่า ทะนงตนว่าเป็นอัครสาวกแล้วแกล้งมาเดินกระทบตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระสารีบุตรในที่ประชุมสงฆ์ว่าเป็นจริงหรือไม่

พระสารีบุตรทูลตอบว่า ภิกษุที่มิได้มีสติประคองจิตไว้ในกาย ก็จะพึงกระทบเพื่อนสพรหมจารี แล้วจากไปโดยไม่ขอโทษเป็นแน่ แต่ตัวท่านเองนั้น ทำใจเสมือนแผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม และผ้าขี้ริ้ว ที่จะต้องพบกับของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างอยู่เสมอ และเสมือนเด็กจัณฑาลที่พลัดเข้าไปในหมู่บ้าน หรือเหมือนโคที่เขาหักเสียแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะแกล้วกล้าอาจหาญได้แต่อย่างใด ท่านมีแต่ความเบื่อระอา ร่างกายอันเปื่อยเน่าน่ารังเกียจนี้ ที่ยังต้องดูแลประคับประคองอยู่ ประดุจต้องประคองถาดมันข้นที่มีช่องทะลุถึง ๙ ช่อง และมีน้ำมันรั่วไหลออกอยู่เสมอ ย่อมไม่มีใจที่จะไปกระด้างถือตัวกับใครได้

ลองพิจารณาดูเถิดว่า ขนาดพระสารีบุตร ซึ่งก่อนบวชก็ร่ำเรียนจนเจนจบในวิชา ๑๘ ประการมาแล้ว เปรียบสมัยนี้ก็เท่ากับได้ปริญญา ๑๘ สาขา บวชแล้วก็ได้เป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีความอ่อนน้อมถ่อมตนถึงเพียงนี้ มีความเจียมตัวอยู่ตลอดเวลา เปรียบตนเองเหมือนผ้าขี้ริ้วเก่าๆ เหมือนโคที่เขาขาดแล้ว เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดในอินเดียสมัยนั้น ไม่มีความถือตัวทะนงตนแม้แต่น้อย แล้วพวกเราซึ่งยังเป็นปุถุชนธรรมดาๆ อยู่นี่ล่ะ มีดีอะไรมากนักหนาจึงจะมาถือตัวกัน

เมื่อพระสารีบุตรกล่าวอยู่เช่นนี้ พระภิกษุรูปนั้นก็เกิดความเร่าร้อนในสรีระเหมือนมีไฟมาเผาตัว อดรนทนอยู่ไม่ได้ ต้องลุกขึ้นขอโทษพระสารีบุตร และยอมรับสารภาพต่อหมู่สงฆ์ว่ากล่าวตู่ใส่ความพระสารีบุตร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญพระสารีบุตรว่า “มีใจมั่นคงเหมือนแผ่นดิน เหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้คงที่และมีวัตรดี เป็นผู้ใสสะอาดปราศจากกิเลส เหมือนน้ำที่ไม่มีฝุ่นหรือโคลนตม สังสารวัฏย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่นนี้”

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

๑. ทำให้อยู่เป็นสุข ไม่มีศัตรู

๒. ทำให้น่ารัก น่านับถือ น่าเคารพกราบไหว้

๓. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

๔. ทำให้ได้กัลยาณมิตร

๕. ทำให้สามารถถ่ายทอดคุณความดีจากผู้อื่นได้

๖. ทำให้ได้ที่พึ่งทั้งภพนี้ภพหน้า

๗. ทำให้ไม่ประมาท ตั้งอยู่ในธรรม

๘. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“บุคคลผู้เป็นบัณฑิตถึงพร้อมด้วยศีล ละเอียด มีปฏิภาณไหวพริบ ประพฤติถ่อมตน และไม่กระด้างเช่นนั้น ย่อมได้ยศ” ที.ปา.๑๑/๒๐๕/๒๐๖


จบมงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
มีของกินมากมายแต่จะหากินอีก

Image
ทำนา

Image
ประกอบอาชีพกสิกรรม พออยู่พอกิน
............................................................



มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ

“น้ำแม้เพียงน้อย ก็สามารถทำให้แก้วน้ำเต็มบริบูรณ์ได้
ตรงข้าม แม้มีน้ำมากมหาศาล
ก็ไม่สามารถทำให้มหาสมุทรเต็มบริบูรณ์
ในทำนองเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองแม้เพียงน้อย
ก็สามารถยังใจของผู้มีความสันโดษ
ให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความพอใจ
ตรงข้าม แม้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใด
ใจของผู้ที่ไม่มีความสันโดษ
ก็ยังเร่าร้อน กระวนกระวาย กระหายอยากได้อยู่นั่นเอง”


สั น โ ด ษ คื อ อ ะ ไ ร ?

สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ สัน แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่า ยินดี ชอบใจ พอใจ อิ่มใจ จุใจ สุขใจ กับของของตน ความหมายโดยย่อคือ ให้รู้จักพอ รู้จักประมาณ

เรื่องสันโดษนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก เข้าใจกันว่าสันโดษทำให้ยากจนบ้างละ เข้าใจว่าสันโดษทำให้เกียจคร้านบ้างละ เข้าใจว่าสันโดษ ขัดขวางความเจริญบ้างละ ขอให้เรามาพิจารณากันต่อไปว่า ความเข้าใจของคนทั้งหลายนั้น เป็นจริงหรือไม่ ลักษณะสันโดษที่แท้จริงเป็นอย่างไร มีคุณหรือโทษ

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค ว า ม สั น โ ด ษ

ผู้ที่จัดว่าเป็นผู้มีความสันโดษ จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ

๑. สเกนสันโดษ ยินดีกับของของตน

๒. สันเตนสันโดษ ยินดีกับสิ่งที่ได้มา

๓. สเมนสันโดษ ยินดีโดยมีใจสม่ำเสมอ

ยินดีกับของของตน หมายถึง ยินดีกับสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว พอใจกับของของตนไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ของเรา ลูกเมียของเรา งานของเรา ประเทศชาติของเรา ถึงจะมีข้อบกพร่องอย่างไรก็ค่อยๆ แก้ไขกันไปให้ดีขึ้น ไม่คิดไขว่คว้าแย่งชิงเอาของคนอื่นเขามาเป็นของตน

ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนมีความพอใจในงานของตน ตั้งใจทำงานด้วยความขยันขันแข็ง รอบคอบ ละเอียดลออเป็นที่ติดใจของลูกค้า สามารถเก็บหอมรอมริบทีละเล็กละน้อยจนตั้งตัวได้ กิจการขยายใหญ่โต ก็มีตัวอย่างให้เห็น

บุคคลเมื่อพอใจในสิ่งใด เขาย่อมก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในสิ่งนั้น ความพอใจจะเป็นพลังหนุน ให้เกิดความพยายาม ส่วนความไม่พอใจจะทำให้คนเหนื่อยหน่าย ระอิดระอา

ความยินดีในของของตนนี้ จะเป็นเครื่องกำจัดความเกียจคร้านเบื่อหน่าย และโลภอยากได้ของผู้อื่น มาเป็นของตน

ยินดีกับสิ่งที่ได้มา หมายถึง ยินดีกับของส่วนที่ตนได้มา คือเมื่อแสวงหาประโยชน์อันใด ทุ่มเทสติปัญญาความสามารถ ทำไปเต็มที่แล้ว ได้เท่าไรก็พอใจเท่านั้น อาจจะได้ไม่ถึงเป้า ประณีตสวยงามไม่ถึงเป้า ก็พอใจยินดีเพียงแค่นั้น ไม่ถึงกับกระวนกระวายเป็นทุกข์ เพราะได้ไม่สมอยาก ไม่เป็นคนชนิดที่ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา

คนที่ขาดลักษณะสันโดษข้อนี้ มักเป็นคนดูถูกโชควาสนาของตนเอง พยายามใส่ไฟตนเองให้เดือดร้อนจนได้ แทนที่จะชอบส่วนที่ได้กลับนึกเกลียดชังรำคาญใจ แล้วเอาความชอบใจไปฝากไว้กับส่วนที่ตัวไม่ได้

คนทอดแหหาปลาที่ขาดลักษณะสันโดษข้อนี้ มักจะคิดเสมอว่าปลาตัวที่หลุดมือลงน้ำตัวโตกว่าตัวที่จับได้ เกลียดปลาตัวที่จับได้ แต่พอใจปลาตัวที่หลุดมือ ผลที่สุดก็ต้องกินปลาตัวที่เกลียด แล้วเฝ้าทุกข์ใจ เสียดายปลาตัวที่หลุดมือ คนประเภทนี้ไม่มีหวังได้กินปลาอร่อยๆ จนตาย เพราะคิดเสมอว่า ตัวที่อร่อยที่สุด คือตัวที่จับไม่ได้

ยินดีโดยมีใจสม่ำเสมอ หมายถึง ไม่รู้สึกดีใจจนเกินไปในเมื่อได้พบสิ่งที่ถูกใจ และไม่เสียใจจนเกินไป เมื่อต้องประสบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง สั น โ ด ษ

สันโดษมี ๓ อย่างคือ

๑. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้
๒. ยถาพลสันโดษ ยินดีสิ่งที่ควรแก่สมรรถภาพ
๓. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีสิ่งที่ควรแก่ฐานะ

ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมา ก็พอใจอย่างนั้น ไม่เสียใจถ้าได้ไม่เท่าที่ต้องการ แต่ขวนขวายสร้างเหตุให้ดีที่สุด และให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เช่น เป็นข้าราชการ ขยันทำงาน ตั้งใจว่าน่าจะได้เลื่อนขั้นสัก ๒ ขั้น แต่ถ้าเกิดได้เลื่อนแค่ขั้นเดียว ก็ไม่เสียใจ พอใจว่าได้เลื่อนขึ้นมา ๑ ขั้น ก็ทำงานสร้างประโยชน์ได้มากกว่าเดิมแล้ว จากนั้นก็ตั้งใจทำงานในหน้าที่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ยินดีสิ่งที่ควรแก่สมรรถภาพ คือคนเรามีความสามารถไม่เท่ากัน ทั้งกำลังกาย กำลังความคิด กำลังใจ กำลังความดี ก็ต้องรู้ว่ากำลังของตนเองมีแค่ไหน และแสวงหาหรือยอมรับ เฉพาะของที่ควรแก่ สมรรถภาพของตนเองเท่านั้น ไม่เป็นคนตีราคาตัวเองผิด คิดเอาง่ายๆ ตื้นๆ ว่าเขาเป็นอะไร ตัวก็จะเป็นได้อย่างเขาทุกอย่าง เข้าทำนอง “เห็นเขานั่งคานหาม เอามือประสานก้น” ความสามารถเป็นได้แค่รัฐมนตรี ก็ไม่ดิ้นรนไปเป็นนายกฯ

ยินดีสิ่งที่ควรแก่ฐานะ คือให้พิจารณาว่าเรามีฐานะเป็นอะไร นักบวช ชาวบ้าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย ครู นักเรียน นายพัน นายร้อย นายสิบ อธิบดี เสมียน ฯลฯ แล้วก็แสวงหาหรือยอมรับแต่ของที่ควรกับฐานะของตน ไม่เป็นคนใฝ่สูง เกินศักดิ์ เช่น เราเป็นผู้น้อยก็ไม่ควรใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่หรูหราราคาแพง เกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา เพราะอาจทำให้เกิดความหมั่นไส้อิจฉาริษยา และไม่เป็นผลดีกับตัวเรา ไม่เป็นคนประเภทจมไม่ลง

สันโดษทุกประเภทจะต้องประกอบด้วยศีลธรรม คือของใดก็ตามแม้เราจะได้มา แต่ถ้าไปยินดีกับของนั้นแล้ว จะทำให้เราผิดศีลธรรม เสียชื่อเสียง เสียเกียรติยศ เสียศักดิ์ศรี ก็ไม่ควรยินดีกับของสิ่งนั้น เช่น ของที่ลักปล้นฉ้อโกง เขามา ของที่เป็นสินจ้างในทางที่ผิด ไม่เป็นคนลุแก่อำนาจความมักได้

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

คนจำนวนมากเข้าใจสันโดษผิด คิดว่าสันโดษคือการไม่ทำอะไร หรือการพอใจอยู่คนเดียว แต่ความจริง

การไม่ทำอะไรนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า โกสัชชะ คือเกียจคร้าน ไม่ เรียกว่าสันโดษ

การพอใจอยู่คนเดียวนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า ปวิวิตตะ ไม่เรียกว่า สันโดษ

คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องสันโดษนั้น ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้าน ท้อถอย ไม่ทำการงาน หรือทำงานเรื่อยๆ เฉื่อยแฉะ เป็นภัยต่อ ความเจริญความก้าวหน้าอย่างที่เข้าใจกัน ตรงกันข้าม มงคลข้อนี้ชี้ให้เห็นอย่าง เด่นชัดว่า ถ้าแต่ละคนรู้จักสถานภาพของตนเอง สำนึกในฐานะ ความสามารถ และความมีคุณธรรมของตนอยู่เสมอแล้ว ความมีสันโดษจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จะทำให้ทุกคนพอใจกับของของตน พอใจกับของที่ตนได้มา และพอใจกับของที่สมควรแก่ตน จะไม่มีการเบียดเบียน แก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยา ให้ร้ายป้ายสี ฉ้อโกงกัน ฯลฯ

การแก่งแย่งชิงดีกันจนถึงทำลายกัน ใส่ร้ายป้ายสีกัน การทุจริตและมิจฉาชีพต่างๆ ที่ระบาดในสังคมทุกวันนี้ก็เพราะใจของคนเหล่านั้นไม่มีสันโดษ มุ่งจะเอาแต่ได้ ไม่คำนึงถึงผิดชอบชั่วดี ความเห็นแก่ตัวของผู้มีอำนาจ การ กอบโกยฉวยโอกาสของพ่อค้านักธุรกิจ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนส่วนมาก ความเร่าร้อนใจเพราะโลภจัด ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จนกลายเป็นมัวเมาในวัตถุ ทะเยอทะยานจนเกินกำลังความสามารถของตน ได้มาโดยสุจริตไม่ทันใจ ก็ลงมือประกอบการทุจริตต่างๆ เพื่อสนองความอยากอันเผาลนจิตใจอยู่ ดำเนินชีวิตไปอย่างไร้เหตุผล ก็เพราะขาดสันโดษนั่นเอง

การพัฒนาสังคมจำเป็นต้องมีทั้งสันโดษและความเพียร เพราะความเพียรพยายาม ที่ไม่มีสันโดษควบคุม ย่อมเกินพอดี และนำไปสู่ทางที่ผิดได้ง่าย ล่อแหลมต่ออันตรายเหมือนรถไม่มีเบรคหรือเบรคแตก ย่อมวิ่งเลยขีดที่ต้องการไป ตกหลุมตกบ่อลงเหวข้างทางได้ง่าย บังคับให้หยุดไม่ได้ตามความปรารถนา

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “สันโดษเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นไปเพื่อความเจริญสุขทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมประเทศชาติ หัวใจของผู้มีความสันโดษเท่านั้น จึงจะเหมาะแก่การปลูกฝังคุณธรรมอื่นๆ และคนมีสันโดษเท่านั้นจึงจะทำความดีได้ยั่งยืนไม่จืดจาง และทำดีด้วยความสุจริตใจ ที่สังคมพัฒนาไปได้ช้า เพราะคนขาดสันโดษต่างหาก หาใช่เพราะคนมีสันโดษไม่”

สิ่ ง ที่ ค น ทั่ ว ไ ป ไ ม่ รู้ จั ก พ อ

คนทั่วไปไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งต่อไปนี้

๑. อำนาจวาสนา เช่น เป็นผู้อำนวยการกองก็ไม่พอ อยากเป็นอธิบดี หรือเป็นผู้แทนราษฎรก็ไม่พอ อยากเป็นรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่ความสามารถไม่ถึง

๒. ทรัพย์สมบัติ เช่น มีบ้านหลังเล็กก็ไม่พอ อยากจะได้บ้านหลังใหญ่ มีเงินล้านก็ไม่พอ อยากจะได้เงินสิบล้าน

๓. อาหาร เช่น มีอาหารธรรมดารับประทานก็ไม่พอ ยังอยากจะไปรับประทานอาหารแพงๆ ตามภัตตาคารหรูๆ เกินฐานะ เกินความจำเป็น

๔. กามคุณ เช่น มีสามีหรือภรรยาแล้วก็ไม่พอ อยากจะมีใหม่อีก

วิธีสร้างความสุข สร้างความเจริญก้าวหน้า ต้องเริ่มด้วยการรู้จักพอใจ กับสิ่งที่ตัวมีอยู่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ไม่ไขว่คว้าทะเยอทะยานจนเกินเหตุ เช่น เป็นหัวหน้าแผนก ถ้าอยากมีความสุขความก้าวหน้า ก็ให้พอใจในตำแหน่งของตนแล้วตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ความสุขก็เกิด ความเจริญก้าวหน้า ก็จะมีมาเอง เป็นสามีหรือภรรยาอยากมีความสุขก็ให้พอใจในคู่ครองของตน แล้วทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ความสงบสุขในครอบครัวก็จะมีมาเอง ไม่ใช่เที่ยววิ่งวุ่นมีบ้านเล็กบ้านน้อย ยิ่งมีก็ยิ่งทุกข์ หาความสุขไม่ได้สักที

โบราณท่านผูกเรื่องสอนใจไว้ว่า มีสุนัขอดโซตัวหนึ่งเดินพลัดหลงทาง เข้ามาในบ้าน เจ้าของบ้านสงสาร หาน้ำข้าวให้กิน พอกินน้ำข้าวได้ ๗ วัน วันที่ ๘ จะกินข้าว พอเจ้าของบ้านหาข้าวให้กิน กินข้าวได้ ๗ วัน วันที่ ๘ จะกินกับ พอเจ้าของบ้านหากับให้กิน กินกับได้ ๗ วัน วันที่ ๘ จะขึ้นโต๊ะกินร่วมกับเจ้าของบ้าน จึงถูกไล่เผ่นออกจากบ้าน เพราะมันเป็นโรคไม่รู้จักพอ โรคชนิดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์ ทั้งในหญิงและชาย ทั้งในคนจนและคนรวย ทั้งในคนมีความรู้และคนไม่มีความรู้

สั น โ ด ษ เ ป็ น ต้ น ท า ง แ ห่ ง ค ว า ม สุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร ?

ความสุขในโลกนี้อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. สามิสสุข เป็นความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุหรือสิ่งภายนอก มาตอบสนองความต้องการทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความคิดอยากต่างๆ จัดเป็นความสุขขั้นหยาบ เพราะมีทุกข์เจือปนมากตลอดเวลา มีอาการคือ

๑.๑ ต้องแส่หาดิ้นรนกระวนกระวาย เป็นอาการนำหน้า เนื่องจากของทั้งหลายหาได้ยาก มีจำกัด

๑.๒ เมื่อได้มาก็ต้องระวัง รักษา ยึดติด คับแคบ อึดอัด หวงแหน ผูกพัน กลัวสูญหาย

๑.๓ ถ้าไม่ได้มา ถูกขัดขวางก็ขัดใจ คิดทำลาย คิดอาฆาต พยาบาท จองเวร

๒. นิรามิสสุข เป็นความสุขภายในที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอกมาสนองความอยาก เป็นความสุขขณะที่ใจมีลักษณะ

สะอาด ไม่มีกิเลสปน

สงบ ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย

เสรี เป็นอิสระ โปร่งเบา ไม่คับแคบ

สว่างไสว ประกอบด้วยปัญญา เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

สมบูรณ์ ไม่มีความรู้สึกขาดแคลน ไม่รู้สึกบกพร่อง ไม่ว้าเหว่ มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานอิ่มเอิบอยู่ภายใน

นิรามิสสุขจึงเป็นความสุขที่แท้จริง เป็นภาวะสุขที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ตามมา ซ้ำยังช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ด้วย ผู้ที่จะมีนิรามิสสุขได้จะต้องมีสภาพใจที่สงบไม่ดิ้นรน คือมีความสันโดษเสียก่อน ยิ่งสันโดษต่อสามิสสุขมากเท่าไร ก็ยิ่งได้นิรามิสสุขมากขึ้นเท่านั้น

ก า ร ห า เ ลี้ ย ง ชี พ อ ย่ า ง มี สั น โ ด ษ

ในการดำรงชีพ พระพุทธศาสนามุ่งให้ทุกคนหาปัจจัย ๔ หล่อเลี้ยงร่างกาย พอเพียงเพื่อให้สังขารนี้สามารถดำรงอยู่ได้ตามอัตภาพ จากนั้นก็ใช้ร่างกายนี้สร้างความดีต่างๆ ให้เต็มที่ทุกรูปแบบทุกโอกาส มิได้มุ่งหมายให้คนเราดิ้นรนไขว่คว้าทะเยอทะยานจนเกินเหตุ เพื่อให้มีวัตถุต่างๆ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ไว้บำรุงบำเรอตน

เพราะฉะนั้นความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มิใช่วัดด้วยการมีทรัพย์สินเต็มท้องพระคลังหรือเต็มล้นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่อยู่ที่ไม่มี คนอดอยากยากไร้และอยู่ที่คุณภาพชีวิตของประชาชนต่างหาก

ห ลั ก ป ฏิ บั ติ เ กี่ ย ว กั บ ท รั พ ย์ สิ น

๑. การแสวงหา ต้องหามาโดยชอบธรรม ไม่ข่มเหงรังแกใคร ไม่ทำผิดกฎหมาย ผิดประเพณี ผิดศีล ผิดธรรม

๒. การใช้ ไม่เป็นคนตระหนี่และก็ไม่ฟุ่มเฟือย ให้รู้จักใช้ทรัพย์เลี้ยงตนและคนเกี่ยวข้องให้เป็นสุข รู้จักทำทาน เผื่อแผ่ แบ่งปัน ใช้ทรัพย์ทำสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

๓. ทัศนคติเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ถือว่าทรัพย์สินเงินทองเป็นพระเจ้า แต่ให้ถือว่าเป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตเท่านั้น

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ค น จ น

คนจนในโลกนี้มีอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่

๑. จนเพราะไม่มี คือคนที่ขัดสนทรัพย์ มีทรัพย์น้อย จัดว่าเป็นคน “จนชั่วคราว” ถ้าหากทำมาหากินถูกช่องทาง ย่อมมีโอกาสรวยได้

๒. จนเพราะไม่พอ คือคนที่มีทรัพย์มากแต่ไม่รู้จักพอ จัดว่าเป็นคน “จนถาวร” เป็นเศรษฐีอนาถา ต้องจนจนตาย

สันโดษ คือการรู้จักพอ จึงเป็นคุณธรรมที่มหัศจรรย์ สามารถทำให้คนเลิกเบียดเบียนกัน เลิกฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เลิกสะเพร่า เลิกสงคราม ทำให้คนอิ่มใจได้แม้มีทรัพย์ มียศ มีตำแหน่งน้อย และทำให้คนรวยเป็นเศรษฐีได้โดยสมบูรณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ ความสันโดษเป็นยอดทรัพย์” ขุ.ธ.๒๕/๒๕/๔๒

วิ ธี ฝึ ก ใ ห้ มี สั น โ ด ษ

๑. ให้หมั่นพิจารณาถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย อยู่ตลอดเวลา ว่าเราจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ ถึงดิ้นรนหาเงินทองมากเท่าไร ก็นำติดตัวไปไม่ได้ เมื่อพิจารณาบ่อยเข้าความโลภก็จะลดลง แล้วความสันโดษก็จะเกิดขึ้น

๒. ให้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน เป็นการฝึกสันโดษขั้นพื้นฐานที่เราต้องปฏิบัติอยู่ทุกวัน

๓. ให้หมั่นให้ทานอยู่เสมอๆ เป็นการฆ่าความตระหนี่ ความโลภในตัวไปทีละน้อยๆ เมื่อทำบ่อยๆ เข้า ความสันโดษก็จะเกิดขึ้น

๔. ให้หมั่นรักษาศีล โดยเฉพาะศีล ๘ ผู้ที่รักษาศีล ๘ จะช่วยให้เกิดความสันโดษในหลายเรื่อง เช่น ศีลข้อ ๓ ทำให้สันโดษในกามคุณ ศีลข้อ ๖ ทำให้สันโดษในเรื่องอาหาร ศีลข้อ ๗ ทำให้สันโดษในเรื่องเครื่องนุ่งห่ม การแต่งเนื้อแต่งตัว และศีลข้อ ๘ ทำให้สันโดษในเรื่องที่อยู่อาศัยที่หลับนอน

๕. ให้หมั่นทำสมาธิเป็นประจำ เมื่อทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอจิตใจก็จะสงบนุ่มนวลขึ้น ความอยากเด่น อยากดัง หรืออยากได้ในทางที่ไม่ชอบก็จะค่อยๆ หายไป

วิ ธี ฝึ ก สั น โ ด ษ ใ น สั ง ค ม ไ ท ย

สังคมไทยตั้งแต่โบราณ มีวิธีฝึกสันโดษได้ผลดีเยี่ยมอย่างหนึ่งก็คือ การบวช แม้จะเป็นการบวชช่วงสั้นเพียงพรรษาเดียวก็ตาม

เพราะผู้บวชจะมีโอกาสสัมผัสกับความสุขชนิดไม่อิงวัตถุ เป็นความสุขใจที่เกิดจากความพอ เกิดจากความสงบภายใน ซึ่งในชีวิตประจำวันหาโอกาส ทำได้ยาก

นอกจากนั้น ผู้บวชเป็นพระภิกษุยังจะได้สัมผัสกับชีวิตที่เรียบง่ายของพระภิกษุ ซึ่งมีเครื่องนุ่งห่มครองกายเพียงผ้า ๓ ผืน มีบาตรเพียง ๑ ใบ บิณฑบาต เลี้ยงชีพ ข้าวของเครื่องใช้มีเพียงบริขาร ๘ จะได้สัมผัสความสุขจากการไม่มีห่วง ไม่มีการสะสม ไม่ถูกผูกมัดจากวัตถุ มีอิสระโปร่งเบา เหมือนนกน้อยในอากาศ เมื่อเปรียบเทียบกับความสุขหยาบๆ หลอกๆ ในขณะที่เป็นฆราวาสซึ่งเป็นสุขปนทุกข์ ต้องแสวงหาวัตถุต่างๆ ต้องเป็นห่วงและหวงแหนอยู่ตลอดเวลา วิถีชีวิตแบบพระภิกษุจะช่วยให้บุคคลเข้าใจถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของการมีสันโดษ

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี สั น โ ด ษ

๑. ทำให้ตัดกังวลต่างๆ เสียได้

๒. ทำให้ออกห่างจากอกุศลกรรม

๓. ทำให้มีความสบายกายสบายใจ

๔. ทำให้พ้นจากความผิด พบแต่สิ่งถูกต้อง

๕. ทำให้ศีลธรรมเกิดในใจได้ง่าย

๖. ทำให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

๗. ทำให้มีกำลังใจสูง เมื่อรู้ว่าสิ่งใดไม่ดีก็ไม่ฝ่าฝืนทำ

๘. นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน

๙. ทำให้มีโอกาสกระทำแต่สิ่งดีๆ ยิ่งๆ ขึ้น

๑๐. ได้ชื่อว่านำพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ฯลฯ

“ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลสันโดษ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป” องฺ.เอก.๒๐/๖๖/๑๔


จบมงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
อวยพรให้ลูกยามทำนา

Image
ทำนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นการตอบแทน
............................................................



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู

“คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นโลก
แม้ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างอยู่ฉันใด
คนใจบอด ย่อมมองไม่เห็นพระคุณ
แม้จะได้รับความเมตตากรุณาจากผู้มีอุปการคุณฉันนั้น”


ค ว า ม ก ตั ญ ญู คื อ อ ะ ไ ร ?

ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย

อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึงความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญ ที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และตั้งใจสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

รวมความแล้ว กตัญญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก

สิ่ ง ที่ ค ว ร ก ตั ญ ญู

สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีคุณแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่

๑. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมาก น้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั่นเอง

๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี

มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า

“อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถาก เปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”

๔. กตัญญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อม ในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

๕. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง

ค ว า ม ก ตั ญ ญู จ ำ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม ดี ?

การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู

ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลาย ครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เฮฮา ดูน่าสนุกกว่ามาก แต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ลำบากลำบนในการทำมาหากิน เพื่อส่งเสียให้เราได้เล่าเรียน ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พอคิดได้เท่านี้ ความกตัญญูก็จะเกิดขึ้น มีแรงสู้ มีกำลังใจ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้มุมานะ ตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ให้คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ได้อายโดยเด็ดขาด

แม้ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา แน่นอนว่าในการทำงานนั้น จะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน คนเราหลายคนก็หลายความเห็น ต่างคนก็ต่างตั้งใจดีกันทั้งนั้น แต่ความคิดความอ่านความสามารถอาจไม่เท่ากัน และบางครั้งก็เกิดทิฏฐิมานะ คิดไปว่า “ถึงแกจะหนึ่ง แต่ฉันก็แน่เหมือนกัน” ทำให้ไม่ยอมกัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต่างก็กำลังฝึกฝนตนเองอยู่ กิเลสในตัวก็ยังมี ยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นถ้าไม่รู้จักควบคุมให้ดี จึงมีโอกาสขัดใจกันได้ หรือบางทีออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะ ก็พบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย พูดนินทาว่าร้าย เยาะเย้ยถากถางเอาบ้าง เพราะเหตุนี้จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมหลายๆ คน เบื่อหน่ายท้อถอยและเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย

แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้น เพียงแต่นึกว่า ที่ตัวเราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะ รู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสียสละ อุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้า จนตรัสรู้หลักอริยสัจจ์ คือความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา

เมื่อคิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายาม ที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไป ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปป์ ว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปป์หนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร สูง ๑๖ กิโลเมตร ทุก ๑๐๐ ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมด เรียบเสมอพื้นดิน ระยะเวลานั้นเท่ากับกัปป์หนึ่ง ; ๑ อสงไขย = ๑๐๑๔๐ คือจำนวนที่มีเลข ๑ และมีเลข ๐ ต่อท้าย ๑๔๐ ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม ก ตั ญ ญู

๑. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้

๒. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก

๓. ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท

๔. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ

๕. ทำให้เกิดขันติ

๖. ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี

๗. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี

๘. ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม

๙. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ

๑๐. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย

๑๑. ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย

๑๒. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“บุคคลผู้อกตัญญู ย่อมถึงอนิฏฐผล มีนินทาเป็นต้น ส่วนบุคคลผู้กตัญญู แม้พระ ศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ” มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๓๗๘ หน้า ๒๙๓


จบมงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
คนนั่งฟังธรรม
............................................................



มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล

“กระจกเงาสามารถสะท้อนให้เห็นความสวยงาม
หรือขี้ริ้วของร่างกายเราได้ฉันใด
การฟังธรรมตามกาล
ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความดีงาม
หรือความบกพร่องในตัวเราได้ฉันนั้น”


ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล ห ม า ย ถึ ง อ ะ ไ ร ?

การฟังธรรมตามกาล คือการขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้น มาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มี คุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร

เช่น เมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความกตัญญูแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาสำรวจดูใจของตนเองทันทีว่า เรามีความกตัญญูไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร เมื่อฟังธรรมแล้วสำรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรจึงจะดี

ก า ล ที่ ค ว ร ฟั ง ธ ร ร ม

๑. วันธรรมสวนะ คือวันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ ๗ วัน/ครั้ง ทั้งนี้ เพราะธรรมดาคนเราเมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก ๗ วัน ชักจะเลือนๆ ครู อาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ๗ วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง

๒. เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือเมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ

ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

๒.๑ เมื่อกามวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ เรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ

๒.๒ เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศศักดิ์ศรีก็ตาม

๒.๓ เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือเมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา

เมื่อใดที่ความคิดทั้ง ๓ ประเภทนี้เกิดขึ้น ให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้นอาจไปทำผิดพลาดเข้าได้

๓. เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือเมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรมมาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน

คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ผู้ แ ส ด ง ธ ร ร ม ที่ ดี

“อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลย ผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง จะต้องอยู่ในธรรมถึง ๕ ประการ”

นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี ๕ ประการ คือ

๑. ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่อง ไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง

๑.๑ มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอที่จะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง

๑.๒ มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้สภาพจิตใจของผู้ฟังว่า ควรรู้อะไรก่อนอะไรหลัง

๑.๓ ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้า ทำอะไรมีแผน ไม่ดูเบา ไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจ

ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้

๒. ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อ ผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหนประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้

๓. ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปี่ยมในใจ ถ้าพูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะต้องพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดีต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยชน์แก่ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที

๔. ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ ไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไรก็ไม่ถือเป็นอารมณ์ แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่ แต่งานของคนธรรมดาสามัญ ก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ลงได้เอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็ เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว

๕. ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่าง เรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็น การกระทำผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ

เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์ และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติ ควบคุมผู้ทำการสอนพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาได้ยากในศาสนาอื่นๆ

คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ผู้ ฟั ง ธ ร ร ม ที่ ดี

๑. ไม่ลบหลู่คุณท่าน คือไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถหรือคุณธรรมของผู้แสดงธรรม

“โธ่ พระเด็กๆ เรานี่ฟังหลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้ว มาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร” อย่าคิดอย่างนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนถึงสิ่งต่อไปนี้ไว้ว่าอย่าดูแคลน

๑.๑ อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยัง น้อยก็เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราช ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปีเศษ ปกครองถึงค่อนโลก

๑.๒ อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้

๑.๓ อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะไม้ขีดก้านเดียวอาจเผาเมืองได้

๑.๔ อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูป แม้อายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ ๗ ขวบ ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว

๒. ไม่คิดแข่งดี ไม่ยกตนข่มท่าน

“ถึงท่านจะเป็นพระ แต่เราก็จบปริญญาตรี โท เอก มาแล้ว รู้จักโลกมามากกว่าท่านเยอะ แถมอายุมากกว่าอีก” อย่าคิดอย่างนั้น

ถ้าเรามัวคิดว่าเราเก่ง เราดีกว่าผู้แสดงธรรม ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังสิ่งที่เป็นความรู้หรือแง่คิดดีๆ ที่ควรได้รับจากการฟังธรรม เหมือนอุรุเวลกัสสปะ ที่มัวคิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ เหนือกว่าพระพุทธองค์ จึงไม่ได้ฟังธรรมจากพระองค์ จนสุดท้าย เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเตือนให้เลิกหลงตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์ จึงได้คิด และตั้งใจฟังธรรมจากพระองค์ด้วยความเคารพ ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

๓. ไม่จับผิด ไม่มีจิตกระด้าง เพราะในการฟังธรรมนั้น ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไรก็สามารถน้อมใจตามไป ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้น แต่ถ้าเรามัวจับผิดผู้แสดงธรรมว่า เทศน์ตรงนี้ก็ไม่ถูก ตรงนี้ก็ไม่เหมือนกับที่เราเคยฟังมา ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็ ใจเราจะไม่มีสมาธิในการฟังธรรม และจะไม่สามารถน้อมใจตามไป จนเกิดความรู้ความเข้าใจได้เลย

๔. มีปัญญา คือฉลาด รู้จักพิจารณาไตร่ตรองตามธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นอย่างแยบคาย ทำให้มีความแตกฉาน เข้าใจธรรมได้รวดเร็วและลึกซึ้ง ส่วนผู้ที่ทำความเข้าใจได้ช้า ก็อย่าดูแคลนตัวเองว่าโง่ จนไม่สามารถรองรับธรรมได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด แม้จะฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภายหน้า เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย

๕. ไม่ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

“โธ่ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ เข้าใจแล้วน่ะ ไม่ต้องอธิบายให้ฟังอีกก็ได้” อย่าคิดอย่างนั้น

การฟังธรรมนั้นมีคุณประโยชน์มาก แม้เป็นสิ่งที่รู้แล้วเข้าใจแล้ว เมื่อฟังซ้ำอีก ย่อมได้ความแตกฉานในธรรมมากยิ่งขึ้น เหมือนพระมหากัปปินะฟังธรรมจากพระพุทธองค์ครั้งแรก ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และเมื่อได้ฟังพระองค์แสดงธรรมเรื่องเดิมซ้ำอีก ก็บรรลุธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นพระอรหันต์

อุ ป นิ สั ย จ า ก ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม

อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชินที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไปเป็นพื้นใจในภายหน้า

การฟังธรรม จะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเรา แล้วเป็นเครื่องอุดหนุน ให้เรามีความเจริญรุ่งเรือง และเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรมแล้ว พยายามศึกษา ทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ ๔ ประการ คือ

๑. เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก มีปัญญารู้ธรรมได้รวดเร็ว สามารถระลึกถึงธรรมได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

๒. เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก เมื่อมีภิกษุผู้มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรม ก็จะระลึกถึงธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

๓. เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก แม้ไม่มีภิกษุผู้มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรม แต่เมื่อได้ฟังเทพบุตรแสดงธรรม ก็จะระลึกถึงธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

๔. เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก แม้ไม่มีภิกษุผู้มีฤทธิ์หรือเทพบุตรมาแสดงธรรม แต่เมื่อได้ยินคำตักเตือนจากเพื่อนเทพบุตรด้วยกัน ก็สามารถระลึกธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมาย ของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้าได้ยินใครสวดมนต์ ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะมีอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล

๑. เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาก่อน

๒. เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน และสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

๓. เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

๔. เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือกิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้ มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิต วกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสีย ประคองความเห็นที่ถูกไว้

๕. เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น เพราะการฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเรา เลิกละจากความคิดฟุ้งซ่าน ในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

“ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จรดกระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา” สํ.ม.๑๙/๔๙๒/๑๓๔


จบมงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
อดทนต่อการทำมาหากิน
............................................................



มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน

“หญ้าแม้เป็นพืชต้นเล็กๆ แต่เพราะมีความทนทรหด
จึงสามารถแพร่พันธุ์ไปได้ทั่วโลกฉันใด
คนเราแม้กำลังทรัพย์ กำลังความรู้ ความสามารถจะยังน้อย
แต่ถ้ามีความอดทนแล้ว ย่อมสามารถฝึกฝนตนเอง
ให้ประสบความสุขความสำเร็จในชีวิตได้ฉันนั้น”


ค ว า ม อ ด ท น คื อ อ ะ ไ ร ?

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่ง ด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของสกปรก หรือของหอม ของดีงามก็ตาม

งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้ นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมข้อหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมข้อนั้นคือ ขันติ

ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรม สำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้นทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

ลั ก ษ ณ ะ ค ว า ม อ ด ท น ที่ ถู ก ต้ อ ง

๑. มีความอดกลั้น คือเมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจสนใจแต่ในเรื่อง ที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือสามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้าย ทำอันตราย ด้วยอำนาจแห่งความโกรธนั้น ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน มีคำตรัสของท้าวสักกะ เป็นข้อเตือนใจอยู่ว่า

“ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธก่อนแล้ว ผู้นั้นกลับเป็นคนเลวกว่าผู้ที่โกรธก่อน ผู้ที่ไม่โกรธต่อบุคคลผู้กำลังโกรธอยู่ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ชนะสงครามอันชนะได้ยากยิ่ง” สํ.ส.๑๕/๘๓๕/๓๒๕

๓. ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหล ด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของเรา

๔. มีใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือมีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ ไม่พยาบาท ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบาน

ลักษณะความอดทนนั้น โบราณท่านสอนลูกหลานไว้ย่อๆ ว่า

“ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย”

คนบางคนขี้เกียจทำงาน บางคนขี้เกียจเรียนหนังสือ บางคนเกะกะเกเร พอมีผู้ว่ากล่าวตักเตือนก็เฉยเสีย แล้วบอกว่าตนเองกำลังบำเพ็ญขันติบารมี อย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด ตีความหมายของขันติผิดไป ขันติไม่ได้หมายถึงการตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้น

พวกที่จนก็ทนจนต่อไป ไม่ขวนขวายทำมาหากิน จัดเป็นพวกตายด้าน

พวกที่โง่ก็ทนโง่ไป ใครสอนให้ก็ไม่เอา จัดเป็นพวกดื้อด้าน

พวกที่ชั่วแล้วก็ชั่วอีก ใครห้ามก็ไม่ฟัง จัดเป็นพวกดื้อดึง

ลักษณะที่สำคัญยิ่งของขันติ คือตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น จะต้อง มีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

เราสรุปลักษณะของขันติโดยย่อได้ดังนี้

๑. อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
๒. อดทนทำความดีต่อไป
๓. อดทนรักษาใจไว้ให้ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ค ว า ม อ ด ท น

ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบได้เป็น ๔ ประเภท คือ

๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เป็นการอดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ความหนาว ความร้อน ฝนตก แดดออก ฯลฯ ก็อดทนทำงานเรื่อยไป ไม่ใช่เอาแต่โทษเทวดาฟ้าดิน หรืออ้างเหตุเหล่านี้แล้วไม่ทำงาน

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย ความไม่สบายกายของเราเอง ความปวด ความเมื่อย ผู้ที่ขาดความอดทนประเภทนี้ เวลาเจ็บป่วยจะร้องครวญคราง พร่ำเพ้อรำพัน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ผู้รักษาพยาบาลทำอะไรไม่ทันใจหรือไม่ถูกใจ ก็โกรธง่าย พวกนี้จึงต้องป่วยเป็น ๒ เท่า คือนอกจากจะป่วยกายที่เป็นอยู่แล้ว ยังต้องป่วยใจแถมเข้าไปด้วย ทำตัวเป็นที่เบื่อหน่ายแก่ชนทั้งหลาย

๓. อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากคำพูดที่ไม่ชอบใจ กิริยามารยาทที่ไม่งาม การบีบคั้นทั้งจากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง ความอยุติธรรมต่างๆ ในสังคม ระบบงานต่างๆ ที่ไม่คล่องตัว ฯลฯ

คนทั้งหลายในโลกแตกต่างกันมากโดยอัธยาศัยใจคอ โอกาสที่จะได้อย่างใจเรานั้นอย่าพึงคิด เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มเข้าหมู่คนหรือมีคนตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไป ให้เตรียมขันติไว้ต่อต้านความเจ็บใจ

๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำแต่ไม่สมควรทำ เช่น อดทนไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพสิ่งเสพย์ติด ไม่รับสินบน ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ผิดลูกเมียเขา ไม่เห่อยศ ไม่บ้าอำนาจ ไม่ขี้โอ่ ไม่ขี้อวด เป็นต้น

การอดทนข้อนี้ทำได้ยากที่สุด โบราณเปรียบไว้ว่า

“เขาด่าแล้วไม่โกรธ ว่ายากแล้ว เขาชมแล้วไม่ยิ้ม ยากยิ่งกว่า”

วิ ธี ฝึ ก ใ ห้ มี ค ว า ม อ ด ท น

๑. ต้องคำนึงถึงหิริโอตตัปปะให้มาก เมื่อมีความละอายและเกรงกลัว ต่อบาปอย่างเต็มที่ ความอดทนย่อมจะเกิดขึ้น ดังตัวอย่างในเรื่องของพระเตมีย์ใบ้

เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ มีอยู่ชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นโอรสกษัตริย์นามว่าพระเตมีย์ ขณะอายุได้ ๖-๗ ขวบ ได้เห็นพระราชบิดา สั่งประหารโจรโดยใช้ไฟครอกให้ตาย ด้วยบุญบารมีที่ทำมาดีแล้ว ทำให้พระเตมีย์ระลึกชาติได้ว่า ภพในอดีตพระองค์ก็เคยเป็นกษัตริย์ และก็เคยประหารโจร ทำให้ต้องตกนรกอยู่ช้านาน จึงคิดว่า ถ้าชาตินี้เราต้องเป็นกษัตริย์อีก ก็ต้องฆ่าโจรอีก แล้วก็จะตกนรกอีก

ตั้งแต่วันนั้นมา พระเตมีย์จึงแกล้งทำเป็นใบ้ ทำเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่าตนพิการ จะได้ไม่ต้องเป็นกษัตริย์ พระราชบิดาจะเอาขนมเอาของเล่นมาล่อ ก็ไม่สนใจ จะเอามดมาไต่เอาไรมากัด เอาไฟมาเผารอบตัวให้ร้อน เอาช้างมาทำท่าจะแทงก็เฉย ครั้นถึงวัยหนุ่ม เอาสาวๆ สวยๆ มาล่อ ก็เฉย เพราะคำนึงถึงภัยในนรก หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นเต็มที่ จึงมีความอดทนอยู่ได้

นานวันเข้าพระราชบิดาเห็นว่า ถ้าเอาพระเตมีย์ไว้ก็จะเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง จึงสั่งให้คนนำไปประหารเสียนอกเมือง เมื่อออกมาพ้นเมืองแล้ว พระเตมีย์ก็แสดงตัวว่าไม่ได้พิการแต่อย่างใด มีพละกำลังสมบูรณ์พร้อม แล้วก็ออกบวช ต่อมาพระราชบิดา ญาติพี่น้อง ประชาชนก็ได้ออกบวชตามไปด้วย และได้สำเร็จฌานสมาบัติกันเป็นจำนวนมาก

๒. ต้องรู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น คือนึกเสียว่าที่เขาทำแก่เราอย่างนั้นน่ะดีแล้ว เช่น เขาด่าก็นึกเสียว่าดีกว่าเขาตี เขาตีก็นึกเสียว่า ดีกว่าเขาฆ่า เมียที่มีชู้ยังดีกว่าเมียที่ฆ่าผัว ผัวมีเมียน้อย ก็ยังดีกว่าผัวที่ฆ่าเมีย เพราะเห็นแก่หญิงอื่น ถ้าเปรียบกับการชกมวย การสู้แบบนี้ ก็คือการหลบหมัดของคู่ต่อสู้ โดยวิธีหมอบลงต่ำ ให้หมัดเขาคร่อมหัวเราไปเสีย เราไม่เจ็บตัว ตัวอย่างในเรื่องนี้ ดูได้จากพระปุณณะเถระ

พระปุณณะเดิมเป็นชาวสุนาปรันตะ ไปค้าขายที่เมืองสาวัตถี ได้ฟังเทศน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงออกบวช

ครั้นบวชแล้วการทำสมาธิภาวนาไม่ได้ผล เพราะไม่คุ้นกับสถานที่ ท่านคิดว่าภูมิอากาศที่บ้านเดิมของท่านเ หมาะกับตัวท่านมากกว่า จึงทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสถามว่า

“เธอแน่ใจหรือปุณณะ คนชาวสุนาปรันตะนั้นดุร้ายมากนัก ทั้งหยาบคายด้วย เธอจะทนไหวหรือ”

“ไหวพระเจ้าข้า”

“นี่ปุณณะ ถ้าคนพวกนั้นเขาด่าเธอ เธอจะมีอุบายอย่างไร”

“ข้าพระองค์ก็คิดว่า ถึงเขาจะด่า ก็ยังดีกว่าเขาตบต่อยด้วยมือพระเจ้าข้า”

“ถ้าเผื่อเขาต่อยเอาล่ะ ปุณณะ”

“ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาก้อนดินขว้างเอา”

“ก็ถ้าเขาเอาก้อนดินขว้างเอาล่ะ”

“ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาไม้ตะพดตีเอา”

“เออ ถ้าเผื่อเขาหวดด้วยตะพดล่ะ”

“ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าถูกเขาแทงหรือฟันด้วยหอกดาบ”

“เอาล่ะ ถ้าเผื่อคนพวกนั้นเขาจะฆ่าเธอด้วยหอกด้วยดาบล่ะ ปุณณะ”

“ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า มันก็เป็นการดีเหมือนกันพระเจ้าข้า”

“ดีอย่างไร ปุณณะ”

“ก็คนบางพวกที่คิดอยากตาย ยังต้องเสียเวลาเที่ยวแสวงหาศัสตราวุธมาฆ่าตัวเอง แต่ข้าพระองค์มีโชคดีกว่าคนพวกนั้น ไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวหา ศัสตราวุธอย่างเขา”

“ดีมาก ปุณณะ เธอคิดได้ดีมาก เป็นอันตกลง เราอนุญาตให้เธอไปพำนัก ทำความเพียรที่ตำบลสุนาปรันตะได้”

พระปุณณะกลับไปเมืองสุนาปรันตะแล้ว ทำความเพียร ในไม่ช้าใจก็หยุดนิ่ง เข้าถึงพระธรรมกายไปตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

นี่คือเรื่องของพระปุณณะ นักอดทนตัวอย่าง ซึ่งอดทนได้โดยวิธีเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น

๓. ต้องฝึกสมาธิมากๆ เพราะทั้งขันติและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน ขันติจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ สมาธิจะก้าวหน้าก็ต้องมีขันติเป็นพื้นฐาน ขันติอุปมาเหมือนมือซ้าย สมาธิอุปมาเหมือนมือขวา จะล้างมือ มือทั้งสองข้างจะต้องช่วยกันล้าง จึงจะสะอาดดี

มีตัวอย่างของผู้มีความอดทนเป็นเลิศอีกท่านหนึ่งคือพระโลมสนาคเถระ

พระโลมสนาคเถระ เป็นพระที่ทำสมาธิจนสามารถระลึกชาติได้แต่ยังไม่หมดกิเลส วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่กลางแจ้ง พอถึงตอนเที่ยงแดดส่องเหงื่อไหลท่วมตัวท่าน พวกลูกศิษย์จึงเรียนท่านว่า

“ท่านขอรับ นิมนต์ท่านนั่งในที่ร่มเถิด อากาศเย็นดี”

พระเถระกล่าวตอบว่า

“คุณ ฉันนั่งในที่นี้ เพราะกลัวต่อความร้อนนั่นเอง”

แล้วนั่งพิจารณาอเวจีมหานรกเรื่อยไป เพราะเคยได้ตกนรกมาหลายชาติ เห็นว่าความร้อนในอเวจีที่เคยตก ร้อนกว่านี้หลายร้อยหลายพันเท่า ท่านจึงไม่ลุกหนี ตั้งใจทำสมาธิต่อไป จนในที่สุดได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

พวกเราก็ควรนำมาเป็นข้อคิดเตือนใจว่า

“ที่อ้างร้อนนักหนาวนัก ขี้เกียจภาวนา ระวังจะไปร้อนหมกไหม้ในอเวจี หนาวเสียดกระดูกในโลกันต์”

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม อ ด ท น

๑. ทำให้กุศลธรรมทุกชนิดเจริญขึ้นได้

๒. ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย

๓. ทำให้ตัดรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งหลายได้

๔. ทำให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกอิริยาบถ

๕. ชื่อว่าได้เครื่องประดับอันประเสริฐของนักปราชญ์

๖. ทำให้ศีลและสมาธิตั้งมั่น

๗. ทำให้ได้พรหมวิหารโดยง่าย

๘. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“บุคคลอดทนต่อคำของผู้สูงกว่าได้ เพราะความกลัว อดทนถ้อยคำของผู้เสมอ กันได้ เพราะเหตุแห่งความแข่งดี ส่วนผู้ใดในโลกนี้ อดทนต่อคำของคนเลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนนั้นสูงสุด” (สรภังคชาดก) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส.๒๗/๒๔๖๐/๕๓๘

Image
เกี่ยงกันซ่อมเรือไม่อดทนต่อความยากลำบาก
............................................................



จบมงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ยอมไปโรงเรียนโดยดี
............................................................



มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย

“คนเป็นอัมพาต แม้จะมีของดีวางอยู่รอบตัว
ก็ไม่อาจหยิบฉวยนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ฉันใด
คนหัวดื้อว่ายาก
แม้จะมีครูอาจารย์ดีวิเศษแค่ไหน
ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเอาวิชา คุณความดี มาใส่ตัวฉันนั้น”


ค น ว่ า ง่ า ย คื อ ใ ค ร ?

คนว่าง่ายสอนง่าย คือคนที่อดทนต่อคำสั่งสอนได้ เมื่อมีผู้รู้แนะ นำพร่ำสอนให้ ตักเตือนให้โดยชอบธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติตามคำสอนนั้น ด้วยความเคารพอ่อนน้อม ไม่คัดค้าน ไม่โต้ตอบ ไม่แก้ตัวโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น

คนบางคน อดทนอะไรได้สารพัด ทนแดดทนร้อน ทนความลำบากตรากตรำ ป่วยไข้ไม่สบายแค่ไหนก็ไม่เคยบ่น แต่ทนไม่ได้เมื่อมีใครมาแนะนำ สั่งสอนตักเตือน จะเกิดความรู้สึกคับแค้น โต้ตอบหักล้างขึ้นมาทันที เพราะ เขามีเชื้อหัวดื้อ ว่ายากสอนยากอยู่ในตัว

หากว่าเดิมเป็นคนโง่อยู่แล้ว ก็สุดแสนจะเข็น

หากว่ามีความฉลาดอยู่บ้าง ก็แสนจะตะบึงตะบัน

กลายเป็นคนอัมพาตทางใจ รับคุณความดีจากใครไม่ได้

ดังนั้น เราจงมาเป็นคนว่าง่ายสอนง่ายกันเถิด

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค น ว่ า ง่ า ย

คนว่าง่ายสอนง่ายมีลักษณะที่สังเกตได้อยู่ ๑๑ ประการ คือ

๑. ไม่กลบเกลื่อนเมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือน ไม่แก้ตัว ไม่บิดพลิ้ว ยอมรับฟังด้วยความเคารพ

๒. ไม่ยอมนิ่งเฉยเมื่อถูกตักเตือน พยายามปรับปรุงแก้ไขปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น

๓. ไม่มีจิตเพ่งคุณเพ่งโทษผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือไม่คอยจับผิดท่าน แต่รับฟังโอวาทด้วยดี

๔. เอื้อเฟื้อต่อคำสอนและต่อผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง คือยอมทำตามคำสอนนั้นและเชื่อฟังผู้สอนอย่างดี ทำให้ผู้สอนมีเมตตาเกิดกำลังใจที่จะสอนต่อๆ ไปอีก

๕. เคารพต่อคำสอนและต่อผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง ตระหนักดีว่าผู้ที่ เตือนคนอื่นนั้น นับว่าเสี่ยงต่อการถูกโกรธมาก ดังนั้นการที่มีผู้ว่ากล่าวตักเตือน เรา แสดงว่าเขาจะต้องมีคุณธรรม มีความเสียสละ มีความเมตตาปรารถนาดีต่อตัวเราจริงๆ จึงต้องมีความเคารพต่อคำสอนและตัวผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง

๖. มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างดียิ่ง ไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องโอหัง คิดว่าตัวเองดีอยู่แล้ว เก่งอยู่แล้ว

๗. มีความยินดีปรีดาต่อคำสอนนั้น ถึงกับเปล่งคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ รับฟังโอวาทนั้น คือดีใจอย่างยิ่งว่าท่านกรุณาชี้ข้อบกพร่องของเราให้เห็น จะได้รีบแก้ไข เหมือนท่านชี้ขุมทรัพย์ให้ จึงเปล่งวาจาขอบคุณไม่ขาดปาก

๘. ไม่ดื้อรั้น คือไม่ดันทุรังทำไปตามอำเภอใจทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด แต่ทำไปตามความถูกต้อง เมื่อผิดก็ยอมแก้ไขปฏิบัติไปตามสมควรแก่ธรรม

๙. ไม่ยินดีในการขัดคอ ไม่พูดสวนขึ้นทันที มีความประพฤติชอบเป็นที่พอใจ เป็นที่ปรารถนา

๑๐. มีปกติรับโอวาทเอาไว้ดีเยี่ยม ตั้งใจฟังทุกแง่ทุกมุมไม่โต้ตอบ ยิ่งไปกว่านั้นยังปวารณาตัวไว้อีกว่า ให้ว่ากล่าวสั่งสอนได้ทุกเมื่อ เห็นข้อบกพร่อง ของตนเมื่อใดก็ให้ตักเตือนได้ทันที

๑๑. เป็นผู้อดทน แม้จะถูกว่ากล่าวสั่งสอนอย่างหยาบคายหรือดุด่าอย่างไรก็ไม่โกรธ อดทนได้เสมอ เพราะนึกถึงพระคุณของท่านเป็นอารมณ์

โดยสรุปลักษณะคนว่าง่ายสอนง่าย สรุปโดยย่อได้ ๓ ประการ คือ

๑. รับฟังคำสั่งสอนด้วยดี ไม่กลบเกลื่อน ไม่แก้ตัว ไม่เถียง ไม่ขัดคอ ไม่โต้กลับ ไม่จ้องจับผิดท่าน

๒. รับทำตามคำสั่งสอนด้วยดี ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง ไม่รีรอ ไม่อิดออด กระบิดกระบวน

๓. รับรู้คุณผู้สอนอย่างดี ไม่โกรธ ไม่คิดลบหลู่คุณท่าน อดทนได้แม้ถูกว่ากล่าวสั่งสอนโดยหยาบคาย ไม่ว่าผู้สอนนั้นจะ

- เป็นผู้ใหญ่กว่า ซึ่งเราทำใจยอมรับได้ง่าย
- เป็นผู้เสมอกัน ซึ่งเราทำใจยอมรับได้ยากขึ้น
- เป็นผู้น้อยกว่า ซึ่งเราทำใจยอมรับได้ยากที่สุด

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ค น ว่ า ง่ า ย

โดยทั่วไปเรามักเข้าใจกันว่า คนที่เชื่อฟังผู้อื่น ไม่เถียง ทำตามที่ท่านสั่งสอน คือคนว่าง่าย ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะคนที่มีลักษณะดังกล่าวยังอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ตามสาเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้น ดังนี้

๑. ว่าง่ายเพราะเห็นแก่ได้ คือคนที่เห็นแก่อามิสรางวัล จึงว่าง่าย เช่น ลูกเชื่อฟังพ่อแม่เพราะอยากได้มรดก ลูกน้องเชื่อฟังเจ้านายเพราะอยากได้รางวัล พวกนี้เป็นคนว่าง่ายเทียม จัดเป็นพวก คนหัวประจบ

๒. ว่าง่ายเพราะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คือไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ใครบอกให้ทำอะไรก็ทำ ชวนเรียนหนังสือก็เรียน ชวนไปเที่ยวก็ไป ชวนดื่มเหล้าก็ดื่ม ชวนเล่นการพนันก็เล่น ชวนไปวัด ก็ไป ดึงไปไหนก็ไปด้วย เป็นพวกที่เรียกกันว่า คนหัวอ่อน เป็นคนว่าง่ายเทียมอีกเหมือนกัน จัดเป็นพวก คนโง่

๓. ว่าง่ายเพราะเห็นแก่ความดี คือคนที่ยึดถือธรรมะเป็นใหญ่ เห็นแก่ธรรมจึงว่าง่าย ต้องการปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น เมื่อมีผู้ว่ากล่าวตักเตือน ชี้ข้อบกพร่องให้จึงพร้อมรับฟังด้วยดี ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใหญ่กว่า หรือเด็กกว่าก็ตาม จัดเป็นพวก คนว่าง่ายที่แท้จริง

เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม ว่ า ย า ก

สาเหตุที่ทำให้คนเราว่ายากสอนยาก มีอยู่ ๑๖ ประการ คือ

๑. มีความปรารถนาลามก เช่น อยากรวยจึงไปค้าฝิ่น ค้าเฮโรอีน เล่นการพนัน ใครห้ามก็ไม่ฟัง อยากได้ยศได้ตำแหน่งสูงๆ จึงทับถมเพื่อนร่วมงาน กลัวเขาได้เกินหน้า ใครตักเตือนก็ไม่ฟัง

๒. ชอบยกตนข่มท่าน หลงตัวเองว่าวิเศษกว่าคนอื่น ไปถึงไหนๆ ก็คิดแต่ว่าตนเก่ง ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้ ทำให้เกิดความทะนงตน ดื้อ ใครเตือนก็ ไม่ฟัง

๓. มีนิสัยมักโกรธ พอมีใครเตือนใครสอนอะไรก็โกรธขึ้นมาทันที พอเตือนครั้งสองครั้งก็มีอาการขึ้นมาทีเดียว “รู้แล้วน่ะ มาพูดเซ้าซี้อยู่ได้ เดี๋ยวไม่ทำเลย” แล้วก็หน้าหงิกหน้างอ หน้านิ่วคิ้วขมวด คนพวกนี้ ว่ายาก

๔. มีนิสัยผูกโกรธ คือไม่ใช่โกรธธรรมดาแต่ใครทำให้โกรธหน่อยก็เก็บ ผูกติดเอาไว้ในใจเป็นปีๆ เลย คนพวกนี้ยิ้มไม่ค่อยเป็น หน้าบึ้งทั้งวัน ใครเตือนเข้าหน่อยเหมือนจะแยกเขี้ยวเข้าไล่งับทีเดียว ไม่ยอมรับฟัง

๕. มีความรังเกียจเหยียดหยามเพราะฤทธิ์โกรธ คือไม่ใช่แค่หน้าบึ้งเฉยๆ แต่พอโกรธ ใครเตือนทำให้ไม่พอใจแล้วก็แสดงอาการรังเกียจเหยียดหยามทันที เช่น กระทืบเท้าปังๆ กระแทกประตูโครมคราม สะบัดหน้าหนี ถ่มน้ำลาย ฯลฯ

๖. คิดต่อว่าต่อขาน คือพอมีใครมาตักเตือนเข้าแล้ว ก็เกิดอาการคันปากยิบๆ ขอให้ได้ต่อปากต่อคำแล้วจึงจะสมใจ เช่น ไปวัดมีคนเตือนให้แต่งตัวให้เรียบร้อย ก็ตอบทันทีว่า “หนักหัวใคร” เป็นเสียอย่างนั้น ชอบพูดคำที่ทำให้ใกล้ต่อความโกรธ ไม่รับฟังคำแนะนำตักเตือน

๗. คิดโต้แย้ง คือเมื่อมีผู้แนะนำตักเตือนให้เห็นข้อบกพร่องของตนแล้ว ก็รีบโต้แย้งแก้ตัวทันที เช่น ไปหาผู้ใหญ่แล้วแต่งตัวไม่เรียบร้อย พอมีคนเตือนเข้าก็แย้งทันทีว่า “ชอบแต่งตัวตามสบาย ไม่เสแสร้งแกล้งทำ” เป็นเสียอย่างนั้น

๘. คิดตะเพิด คือไม่สงบปากสงบคำรับเอาคำแนะนำจากผู้หวังดี แต่กลับพูดจาระรานเขา เช่น “คุณนี่ วันๆ ดีแต่นั่งจับผิดชาวบ้านเขาหรือไง” ตะเพิดเขาส่งไปเลย

๙. คิดย้อน คือนอกจากไม่ฟังแล้วยังพูดย้อนให้เขาเจ็บใจ เช่น “คุณไม่ต้องมาสอนฉันหรอกน่า ฉันรู้จักเอาตัวรอดได้ ไปสอนสามีคุณลูกคุณเถอะไป๊” พูดย้อนเขาได้แล้วจึงจะสะใจ

๑๐. คิดกลบเกลื่อน คือพอมีใครพูดถึงข้อบกพร่องของตัวก็พูดกลบเกลื่อน เฉไฉออกไปเรื่องอื่น ไม่ยอมรับ กลัวเสียหน้า

๑๑. คิดนอกเรื่อง คือเมื่อมีคนเตือนแล้ว กลับมองเจตนาเขาไปอีกแง่หนึ่ง ว่าเขาเตือนเพื่อหวังผลประโยชน์ กลายเป็นคนมองคนในแง่ร้าย จึงไม่ยอมรับฟัง

๑๒. คิดปิดบังซ่อนเงื่อน คือเมื่อไปทำอะไรผิดมาแล้วไม่ยอมเปิดเผย จึงกลายเป็นคนมีชนักติดหลัง ใครพูดอะไรนิดหน่อยก็หวาดสะดุ้ง เกรงเขาจะรู้ความผิดของตัว จึงมีใจขุ่นอยู่เสมอ ไม่เป็นอันตั้งใจฟังอะไรได้ กลายเป็นคน ว่ายากสอนยาก

๑๓. คิดลบหลู่ตีเสมอ คือเป็นคนไม่มีความกตัญญู ใครทำความดีไว้กับตัว ก็พยายามลบหลู่ตีเสมอเหยียบย่ำเขาลงไป เพราะเกรงจะเสียเกียรติจะติดหนี้บุญคุณเขา

๑๔. คิดริษยาเห็นแก่ตัวจัด คือเป็นคนใจแคบ ใครมาแนะนำอะไรก็รับไม่ได้ เกรงว่าเขาจะเหนือกว่าตัว เกรงว่าเขาจะดีกว่าตัว

๑๕. มีนิสัยโอ้อวด ไปไหนๆ ก็คุยอวดว่าตัวดี ตัวเก่ง พอคุยอวดบ่อยๆ เข้าก็จะเกิดความรู้สึกลึกๆ ในใจว่า ตัวเองเก่งแล้ว จึงไม่ยอมฟังคำเตือน ของใคร

๑๖. เป็นคนกระด้างมีมานะมาก เป็นคนชนิดคอกระด้าง คางแข็ง มีทิฏฐิ ใครมาแนะนำตักเตือนอะไรก็รับได้ยาก จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านขึ้นทันที คอแข็งเชิดหน้า ใจปิดไม่ยอมรับฟัง

วิ ธี ฝึ ก ใ ห้ เ ป็ น ค น ว่ า ง่ า ย

เมื่อเราทราบแล้วว่าที่เราเป็นคนว่ายากก็เพราะนิสัยไม่ดีทั้ง ๑๖ ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเพื่อจะให้เป็นคนว่าง่าย เราก็ต้องกำจัดนิสัยที่ไม่ดีทั้ง ๑๖ ประการนั้นให้ทุเลาเบาบางและหมดไปจากใจ ซึ่งทำได้ดังนี้

๑. หมั่นนึกถึงโทษของความเป็นคนหัวดื้อว่ายาก ว่าทำให้ไม่สามารถรับเอาความดีจากใครๆ ได้ เหมือนคนเป็นอัมพาต แม้มีของดีรอบตัวก็หยิบเอา มาใช้ไม่ได้ ถ้าหัวดื้อมากๆ ลงท้ายก็ไม่มีใครอยากสอนอยากเตือน ต้องโง่ทั้งชาติทำผิดเรื่อยไป

๒. ฝึกให้เป็นคนมากด้วยความเคารพ มองคนในแง่ดี ใครมาแนะนำ ตักเตือนเราไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม นึกขอบคุณเขาในใจ เพราะแสดงว่าเขามีความปรารถนาดีต่อเราจึงได้มาเตือน ไม่ว่าเรื่องที่เตือนนั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ก็ตามให้รับฟังไว้ก่อน ไม่ด่วนเถียงหรือนึกดูหมิ่นเหยียดหยามเขา หมั่นนึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้”

๓. ฝึกการปวารณา คือการออกปากยอมให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตน ไม่ว่าผู้นั้นจะมีอายุมากกว่า เท่ากัน หรือน้อยกว่าก็ตาม ตัวอย่างเช่น พระภิกษุมีวินัยอยู่ข้อหนึ่งว่า ในวันออกพรรษาให้มีการประชุมกันของพระภิกษุ ทั้งพระ ผู้ใหญ่และพระผู้น้อย ในวันนั้นพระทุกรูปจะกล่าวคำปวารณากัน คืออนุญาต ให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตัวเองได้ เรียกว่า วันมหาปวารณา หลักการนี้สามารถ นำมาใช้กับคนทั่วไปได้ด้วย เช่น นำมาใช้ในหน่วยงานต่างๆ หรือในครอบครัว ซึ่งเมื่อทำบ่อยๆ แล้ว จะเกิดความเคยชิน เป็นนิสัย เป็นการฝึกให้เป็นคนว่าง่าย สอนง่าย

๔. ต้องฝึกสมาธิให้มาก เพื่อให้ใจผ่องใส หนักแน่น สามารถตรองตามคำแนะนำสั่งสอนของผู้อื่น มีใจสงบเยือกเย็นพอที่จะพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้

เ รื่ อ ง น่ า รู้ เ กี่ ย ว กั บ ค น หั ว ดื้ อ

คนหัวดื้อในโลกนี้ อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ดื้อเพราะความโง่หรือความขี้เกียจ จัดเป็นพวกดื้อด้าน
๒. ดื้อเพราะทิฏฐิมานะหลงตัวเองว่ารู้แล้ว จัดเป็นพวกดื้อดึง
๓. ดื้อเพราะโทสะโกรธง่าย จัดเป็นพวกบ้า

ในการปกครองคนหัวดื้อก็มีข้อพึงสังวรอยู่คือ

๑. พวกดื้อด้าน คือดื้อเพราะฤทธิ์โง่หรือขี้เกียจนั้น พวกนี้ชอบรับคำสั่ง คือมีอะไรก็ส่งไปให้ทำได้ แต่ไม่ชอบฟังคำสอน เพราะฟังไม่รู้เรื่องบ้าง ขี้เกียจฟังบ้าง

๒. พวกดื้อดึง พวกนี้มีแววฉลาดอยู่เหมือนกัน แต่ว่ายังไม่เฉลียว รู้แค่จุดใดจุดหนึ่ง ก็คิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว คือไม่รู้ว่าตัวยังไม่รู้ เวลาใช้งาน คนพวกนี้อย่าไปบังคับ อย่าไปสั่งอย่างเดียว เขาจะไม่ค่อยยอมรับ ต้องค่อยๆ สอน ค่อยๆ อธิบายให้เข้าใจ พูดให้เข้าใจถึงประโยชน์ของงานที่ทำ ถ้าไม่ใช่ คนที่ทิฏฐิมากจนเกินไปก็จะเข้าใจและรับไปทำได้ แต่ถ้าใครหลงตัวจัดมาก พูดอย่างไรก็ไม่ฟังก็ต้องปล่อยไป

๓. พวกบ้า คือพูดอะไรผิดหน่อยก็โกรธ ฉุนเฉียวปึงปัง พวกนี้ยากจะเอามาใช้ประโยชน์ได้ รังแต่จะทำให้หมู่คณะแตกแยกรวนเร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของจิตแพทย์จัดการดีกว่า

นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสนใจอยู่อีกหน่อยว่า ในการปกครองพวกคนดื้อดึง นั้น ถ้าหากว่ากล่าวสั่งสอนในขั้นแรกแล้วเขายังไม่ฟังจะทำอย่างไร คำตอบก็คือ ในขั้นที่สองก็ให้ลงโทษ อาจพักราชการ ตัดเงินเดือน หรืออะไรก็แล้วแต่ความเหมาะสม ถ้าหากว่ายังไม่เชื่อฟัง ในทางพระพุทธศาสนามีวิธีแก้อยู่อีกอย่างหนึ่งคือ ท่านใช้คำว่า ลงพรหมทัณฑ์ บางแห่งเขาเรียก คว่ำบาตร ดังมีตัวอย่างเรื่องในสมัยพุทธกาล ดังนี้

นายฉันนะซึ่งเป็นคนตามเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงม้ากัณฐกะออกบรรพชา ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและเป็นคนหัวดื้อมาก เพราะถือตัวว่าเคยเป็นคนใกล้ชิด ใครจะสอนจะเตือนอย่างไรก็ไม่ฟัง พระอานนท์ จึงกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะทำอย่างไรดี พระบรมศาสดาจึงทรงแนะนำว่า เมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วให้ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ คือให้ภิกษุทุกรูปเลิกยุ่งเกี่ยวกับพระฉันนะ ให้ทำเหมือนกับว่าไม่มีพระฉันนะอยู่ในโลก พระฉันนะอยากจะทำอะไรก็ปล่อยให้ทำ ไม่มีใครยุ่งเกี่ยว ไม่มีใครพูดคุยด้วย ต่อจากนั้นไม่กี่วัน หลังจากไม่มีใครสนใจใยดีด้วย กลายเป็นตัวประหลาดในท่ามกลางหมู่สงฆ์ พระฉันนะก็รู้สึกสำนึกตัว สารภาพผิดต่อหมู่สงฆ์และเลิกดื้ออีกต่อไป

การที่ทุกคนเลิกเกี่ยวข้องด้วย ไม่ให้ความช่วยเหลือ และไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เรียกว่า ลงพรหมทัณฑ์

เพราะฉะนั้นถ้าในที่ทำงานไหน หรือตามโรงเรียน ตามบ้าน ถ้าเกิดมีลูกดื้อขึ้นมา ว่ายากสอนยากนัก พ่อแม่อาจจะลองลงพรหมทัณฑ์ลูกบ้างก็ได้ แก้โรคดื้อได้ชะงัดนัก แต่ว่าถ้าเกิดพ่อดื้อหรือว่าแม่ดื้อขึ้นมา ลูกขืนไปลงพรหมทัณฑ์ก็มีหวังโดนตะพด ต้องดูให้พอเหมาะพอควรเป็นกรณีๆ ไป

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร เ ป็ น ค น ว่ า ง่ า ย

๑. ทำให้เป็นที่เมตตาอยากแนะนำพร่ำสอนของคนทั้งหลาย

๒. ทำให้ได้รับโอวาท อนุสาสนี

๓. ทำให้ได้ธรรมะอันเป็นที่พึ่งแก่ตน

๔. ทำให้ละโทษทั้งปวงได้

๕. ทำให้บรรลุคุณธรรมเบื้องสูงได้โดยง่าย ฯลฯ

“บุคคลควรเห็นผู้มีปัญญา ที่คอยกล่าวคำขนาบ ชี้โทษของเราให้เห็น ว่าเป็นดุจผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบกับบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อคบแล้ว ย่อมมีแต่ดีฝ่ายเดียว ไม่มีเลวเลย” ขุ.ธ.๒๕/๑๖/๒๕

Image
หนีโรงเรียน มั่วสุม เกเร
............................................................



จบมงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
การได้พบสมณะ
............................................................



มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ

“เด็กต้องการตัวอย่างที่ดี
จากพ่อแม่ครูอาจารย์ฉันใด
ชาวโลกทั้งหลายก็ต้องการตัวอย่างที่ดี
จากสมณะฉันนั้น”


ทำ ไ ม จึ ง ต้ อ ง เ ห็ น ส ม ณ ะ ?

ความสุขทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่ ๒ ประเภท คือ

๑. ความสุขที่ต้องอิงวัตถุกามหรือกามสุข เป็นความสุขทางเนื้อหนัง เช่น ได้เห็นรูปสวยๆ ได้ฟังเพลงเพราะๆ ได้กลิ่นหอมๆ ได้กินอาหารอร่อยๆ ได้สัมผัสที่นุ่มนวล ฯลฯ จัดเป็นความสุขภายนอกที่เห็นกันได้ง่าย

๒. ความสุขที่ไม่ต้องอิงวัตถุ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาให้ใจสงบและเกิดปัญญา เป็นความสุขของผู้เข้าถึงธรรม จัดเป็นความสุข ภายใน เมื่อเทียบกันแล้ว ความสุขภายในอันเกิดจากความสงบนั้น เป็นสุขที่ เลิศกว่าอย่างเทียบไม่ได้ แต่เห็นและเข้าใจได้ยากกว่า

ความสุขภายในนั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะเราคาด คะเนไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติธรรม ยังไม่เคยพบกับความสุขชนิดนี้ ก็จะไม่คุ้น แม้อ่านจากตำราก็ยากจะเข้าใจ เช่น พระท่านบอกว่าผู้ที่รักษาศีลแล้วจะมีจิตที่ร่าเริงแจ่มใส ถ้าคนยังไม่เคยปฏิบัติธรรมจะนึกค้านทันที ว่าคนรักษาศีลจะร่าเริงได้อย่างไร จะทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็ต้องคอยระวังกลัวจะผิดศีล สู้คนไม่มีศีลไม่ได้ จะดื่มเหล้าก็ดื่มได้ จะเที่ยวก็เที่ยวได้ เห็นพวกขี้เมาร้องรำทำเพลง เชียร์มวยแทงม้าส่งเสียงกันอึงคะนึง ร่าเริงสนุกสนานกว่าตั้งเยอะ แล้วมาบอกว่ารักษาศีลแล้วจิตจะร่าเริงแจ่มใส อย่ามาหลอกกันให้ยากเลย เราไม่ยอมเชื่อหรอก

ต่อเมื่อใดได้พบคนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ เห็นคนที่รักษาศีลมาแล้ว อย่างดีเยี่ยม หน้าตาท่านก็ผ่องใส ไม่บึ้งไม่ตึง พูดจาก็ไพเราะ ถึงได้เชื่อว่า เออจริง คนที่รักษาศีลมาแล้วอย่างดี เขาร่าเริง แต่ร่าเริงอีกอย่าง ไม่เหมือนที่เราเคยเห็น ไม่เหมือนที่เราเคยรู้จัก ถึงแม้ยังไม่ปักใจเชื่อแต่อย่างน้อยก็คิดที่จะทดลองทำตาม แม้ไม่ได้ทำตามอย่างน้อยก็ฉุกคิดถึงการทำความดีบางอย่างขึ้นมาได้

คนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ คือสมณะ ซึ่งถ้าใครได้เห็นแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจให้คิดถึงธรรม เหมือนระเบิดที่จุดชนวนแล้วย่อมแสดงอานุภาพออกมาเต็มที่ สติปัญญา ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ จะได้รับการกระตุ้นจากการเห็นสมณะให้นำมาใช้สร้างความดีได้เต็มที่

ส ม ณ ะ คื อ ใ ค ร ?

สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถึง บรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนตนเองด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มาแล้วอย่างเต็มที่ จนกระทั่งมีกายวาจา ใจ สงบแล้วจากบาป สมณะทุกรูปจึงต้องเป็นบรรพชิต แต่บรรพชิตบางรูปอาจไม่ได้เป็นสมณะก็ได้

“คนเราไม่ใช่จะเป็นสมณะเพราะหัวโล้น คนที่ไม่ทำกิจวัตร มีแต่พูดพล่อยๆ มีความริษยากัน เป็นคนละโมบ จะจัดเป็นสมณะได้อย่างไร คนที่เราตถาคตเรียกว่าสมณะนั้น จะต้องเป็นผู้ระงับจากการทำบาป น้อยใหญ่เสีย” ขุ.ธ.๒๕/๒๙/๕๐

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ม ณ ะ

๑. สมณะต้องสงบกาย คือมีความสำรวม ไม่คะนอง ไม่มีกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ชกต่อย ฆ่าฟัน สะพายดาบ พกมีดพกปืน เดินขบวน หรือเฮโลยกพวกเข้าชิงดีชิงเด่น แย่งที่อยู่ที่ทำกินกัน อันเป็นกิริยาของคนไม่สงบ คนที่เป็นสมณะไม่ว่าจะเข้าที่ไหนจะอยู่ที่ไหน ย่อมจะไม่ทำความชอกช้ำแก่ใคร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชมพระโมคคัลลานะในเรื่องนี้ว่า ท่านแม้จะมีฤทธิ์เดชมาก แต่ไม่ว่าจะไปที่ใด ก็ไม่เคยทำความช้ำชอกแก่ตระกูลนั้นเลย จะบิณฑบาตรับของถวายอะไรก็ตาม ก็คอยดูว่าเขาจะเดือดร้อนไหม รับแต่พอประมาณ เปรียบเหมือนแมลงภู่บินเข้าสวน ดูดเกสรดอกไม้จนอิ่มหนำสำราญ แต่ไม่เคยทำความช้ำชอกให้แก่ดอกไม้เลย

นอกจากนี้แล้วสมณะยังต้องคำนึงถึง สมณสารูป คือจะทำอะไรต้องให้ควรแก่สมณวิสัย

๒. สมณะต้องสงบวาจา คือไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้ายใคร ไม่ยุยงใส่ร้ายป้ายสีกัน จะเป็นระหว่างพระกับพระ หรือพระกับฆราวาสก็ตาม จะทำไปโดยอ้างคณะ อ้างนิกาย อ้างวัด อ้างพวกไม่ได้ทั้งนั้น มีแต่วาจาที่เป็นอรรถเป็นธรรม ไม่ใช่วาจาเหมือนคมหอกคมดาบ แม้การพูดให้คนอื่นกระดากขวยเขิน เช่น พูดจาเกาะแกะผู้หญิงเล่นสนุกๆ ก็ผิดสมณสารูป

๓. สมณะต้องสงบใจ คือทำใจให้หยุดนิ่งเป็นสุขอยู่ภายใน สงบจากบาปกรรม ตรึกนึกถึงธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ทำเป็นสงบแต่เปลือกนอกเหมือนเสือเฒ่าจำศีล จิตใจของสมณะที่แท้ย่อมเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ไม่เป็นภัยต่อผู้ใด

การที่มีความสงบกาย วาจา ใจ ทั้ง ๓ ประการนี้ ส่งผลให้สมณะมีความสง่างามอยู่ในตัว

มีคำอยู่ ๒ คำที่ใช้ชมความงามของคน คือถ้าชมชายหนุ่มหญิงสาวทั่วไปเราใช้คำว่า สวยงาม แต่ถ้าจะชมสมณะเราใช้คำว่า สง่างาม เป็นความงามที่สง่า และยังมีความสงบเสงี่ยมอยู่ในตัว ทั้งสง่างามและสงบเสงี่ยม แต่ไม่จ๋อง ไม่กระจอกงอกง่อย เพราะมีความเชื่อมั่นในคุณธรรมที่ตนเองปฏิบัติอยู่ มีความอิ่มเอิบอยู่ในธรรม เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงอานิสงส์ของการประพฤติดีปฏิบัติชอบ

“สมณะจึงเป็นมาตรฐานความประพฤติของชาวโลกทั้งหลาย”

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ม ณ ะ ใ น เ ชิ ง ป ฏิ บั ติ

๑. สมณะต้องไม่ทำอันตรายใคร ไม่ว่าทางกายหรือทางวาจาก็ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร แม้ในความคิดก็ไม่คิดให้ร้ายใคร

๒. สมณะต้องไม่เห็นแก่ลาภ ดำรงชีพอยู่เพียงเพื่อทำความเพียร มี ความสันโดษ ไม่เป็นคนเห็นแก่กิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง

๓. สมณะต้องบำเพ็ญสมณธรรม พยายามฝึกฝนตนเอง ไม่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ กิจวัตรของสมณะ เช่น การสวดมนต์ทำวัตร การศึกษาพระธรรมวินัย กิริยามารยาทต่างๆ ตั้งใจฝึกฝนอย่างเต็มที่

๔. สมณะต้องบำเพ็ญตบะ คือทำความเพียรเพื่อกำจัดกิเลส เป็นทหารในกองทัพธรรมอย่างเต็มที่ ตั้งใจรบเอาชนะกิเลสให้ได้ ไม่ว่าจะโดยการเดินจงกรม ทำสมาธิ อยู่ธุดงค์ ก็ตาม

ช นิ ด ข อ ง ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

การเห็นของคนแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ

๑. เห็นด้วยตา เรียกว่า พบเห็น คือเห็นถึงรูปร่าง ลักษณะกิริยามารยาทอันสง่างาม และสงบของท่าน

๒. เห็นด้วยใจ เรียกว่า คิดเห็น คือนอกจากจะเห็นตัวท่านซึ่งเป็นสมณบุคคลแล้ว ยังพิจารณาตรองดูด้วยใจ จนสามารถคาดคะเนได้ถึงคุณธรรมภายใน ที่ทำให้ท่านสงบเสงี่ยม แต่สง่างามอย่างน่าอัศจรรย์ หรือเรียกว่าเห็นถึงสมณธรรมของท่าน

๓. เห็นด้วยญาณ เรียกว่า รู้เห็น คือไม่ใช่เป็นเพียงการคิดคาดคะเนถึงคุณธรรมของท่านเท่านั้น แต่เห็นด้วยญาณทัสนะ เห็นด้วยปัญญาทางธรรม ทีเดียวว่า ท่านมีคุณธรรมมากเพียงใด เป็นการเห็นของผู้ที่ปฏิบัติธรรมมาดีแล้ว จนกระทั่งเกิดญาณทัสนะ แล้วอาศัยญาณทัสนะ มองทะลุเข้าไปในใจคนอื่นได้ การเห็นชนิดนี้ชัดเจนถูกต้องแน่นอนไม่มีการผิดพลาด

กิ จ ที่ ค ว ร ทำ เ พื่ อ ใ ห้ เ กิ ด ป ร ะ โ ย ช น์ จ า ก ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

ในการเห็นสมณะนั้น ถ้าหากเห็นเพียงชั่วขณะ เช่น เห็นท่านเดินผ่านไป หรือเราเผอิญเดินไปเห็นท่าน แล้วก็ผ่านเลยไป อย่างนั้นได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเห็นสมณะ พึงกระทำดังนี้

๑. ต้องเข้าไปหา หมายถึง หมั่นเข้าใกล้ ไปมาหาสู่ท่าน เห็นคุณค่าในการเห็นสมณะ แม้งานจะยุ่งเพียงไร ก็พยายามหาเวลาเข้าไปหาท่านเสมอ เพื่อรับการถ่ายทอดคุณธรรม

๒. ต้องเข้าไปบำรุง หมายถึง เข้าไปช่วยทำกิจของท่าน เช่น ปัด กวาดเช็ดถูกุฏิ จัดหาปัจจัย ๔ ไปถวายท่าน ท่านจะได้ไม่มีภาระมาก และจะได้มีเวลามีโอกาสได้สนทนาธรรมกันมากขึ้น

๓. ตามฟัง หมายถึง ตั้งใจฟังคำเทศน์คำสอนของท่านด้วยใจจดจ่อ

๔. ตามระลึกถึงท่าน หมายถึง เมื่อพบท่านได้ฟังคำสอนของท่านแล้ว ก็ตามระลึกถึง ทั้งกิริยามารยาทของท่าน นำคำสอนโอวาทของท่านมาไตร่ตรอง พิจารณาอยู่เสมอ

๕. ตามดูตามเห็น หมายถึง ดูท่านด้วยตาเนื้อของเราด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างหนึ่ง และตามดูท่านด้วยความคิดและปัญญาทางธรรม ให้เห็นตัวสมณธรรมของท่านอีกอย่างหนึ่ง เห็นท่านทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น ไม่ดื้อรั้น

เ ห ตุ ที่ ช า ว โ ล ก อ ย า ก ใ ห้ ส ม ณ ะ หรือ พ ร ะ มี ศี ล ไ ป เ ยี่ ย ม บ้ า น

เมื่อสมณะหรือพระผู้มีศีลบริสุทธิ์เข้าสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ ประการ ดังนี้

๑. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส เพราะได้เห็นสมณะ เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์

๒. เขาย่อมพากันต้อนรับกราบไหว้ ให้อาสนะแก่สมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการเกิดในสกุลสูง

๓. เขาย่อมกำจัดมลทิน คือความตระหนี่เสียได้ ในสมณะซึ่งเข้าไป สู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้เกียรติศักดิ์อันยิ่งใหญ่

๔. เขาย่อมแจกจ่ายทาน ตามสติกำลังในสมณะผู้เข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้โภคะใหญ่

๕. เขาย่อมไต่ถาม สอบสวน ฟังธรรม จากสมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ปัญญาใหญ่

ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ เ มื่ อ พ บ ส ม ณ ะ

๑. ถ้าไทยธรรมมีอยู่ พึงต้อนรับด้วยไทยธรรมนั้นตามสมควร

๒. ถ้าไทยธรรมไม่มี พึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์

๓. ถ้าไม่สะดวกในการกราบก็ประนมมือไหว้

๔. ถ้าไหว้ไม่สะดวกก็ยืนตรง หรือแสดงความเคารพด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น หลีกทางให้

๕. อย่างน้อยที่สุด ต้องแลดูด้วยจิตเลื่อมใส

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

๑. ทำให้ได้สติ ฉุกคิดถึงบุญกุศล

๒. ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดีตามท่าน

๓. ทำให้ตาแจ่มใสดุจแก้วมณี

๔. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท

๕. ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง

๖. ทำให้ได้สมบัติ ๓ คือมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ โดยง่าย

๗. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

ตั ว อ ย่ า ง อ า นิ ส ง ส์ ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

พระสารีบุตรสมัยที่ยังเป็นกุลบุตรชื่อ อุปติสสะ เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง ได้ศึกษาศิลปวิทยาการทางโลก มาจนจบวิชา ๑๘ ประการ หลังจากสำเร็จการ ศึกษาแล้วต้องการแสวงหาโมกขธรรม จึงออกบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก เพราะขณะนั้นยังไม่พบพระพุทธศาสนา ศึกษาจนหมดแล้วก็ยังไม่สามารถปราบกิเลสในตัวได้ จึงออกท่องเที่ยวไปโดยหวังว่าอาจพบพระอรหันต์ในโลกนี้

อยู่มาวันหนึ่งไปพบพระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระอรหันต์แล้ว กำลังเดินบิณฑบาตอยู่ เห็นท่านมีผิวพรรณผ่องใส กิริยามารยาทงดงาม ท่าทางสงบสำรวม เกิดความเลื่อมใสจึงติดตามไปและจัดที่นั่งให้ฉันอาหาร รอจนท่านฉันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปกราบเรียนถามท่านว่า

“ท่านขอรับ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ ท่านตั้งใจบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร ?”

พระอัสสชิตอบว่า

“พระมหาสมณะผู้เป็นบุตรศากยราช ผู้ออกบวชจากศากยตระกูลนั้นมีอยู่ เราตั้งใจบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น”

พระสารีบุตรถามต่อว่า

“ศาสดาของท่านมีปกติสอนอย่างไร ?”

พระอัสสชิตอบว่า

“เราเป็นผู้บวชใหม่อยู่ เพิ่งเข้าสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นาน ไม่อาจแสดงธรรมให้พิสดารได้ แต่เราพอจะแสดงได้เฉพาะความย่อ

ธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้”

พระสารีบุตรท่านฟังแล้วตรองตาม ก็ได้เข้าถึงธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบันอยู่ตรงนั้นเอง

พวกเราฟังดูแล้วเป็นอย่างไร ธรรมที่พระอัสสชิทรงแสดง ฟังแล้วก็งั้นๆ ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ค่อยซาบซึ้งเท่าไร เพราะภพในอดีตพบเห็นสมณะมาก็มาก แต่ยังไม่ค่อยได้ใส่ใจ แค่พบเห็นด้วยตาเนื้อ ยังไม่ได้คิดเห็นด้วยใจ หรือรู้เห็นด้วยญาณทัศนะถึงคุณธรรมของท่าน

แต่พระสารีบุตรท่านไม่ใช่อย่างเรา ท่านเห็นสมณะข้ามภพข้ามชาติมามาก เห็นแล้วก็ไม่ใช่เพียงแค่พบเห็น แต่พยายามทั้งคิดเห็นรู้เห็นถึงคุณธรรมของท่าน พยายามตรึกตรองให้เข้าใจให้ได้ มาในภพนี้ พระอัสสชิเทศน์เพียงสั้นๆ ย่อๆ เท่านี้ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน นี่คืออานิสงส์ของการเห็นสมณะทั้งภพในอดีตและภพชาติปัจจุบัน

นอกจากนี้เราลองสังเกตถึงคุณธรรมของท่านทั้งสองต่อไปอีก พระสารีบุตรก็เป็นคนรู้จักกาลเทศะ รอปรนนิบัติจนพระอัสสชิฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงได้ถามธรรมะ พระอัสสชิเองก็มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเต็มที่ ตนเองเป็นถึงพระอรหันต์แล้ว แต่ก็ยังถ่อมตนว่ายังเป็นผู้บวชใหม่อยู่ เพิ่งเข้าสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นานยังไม่อาจแสดงธรรมโดยพิสดารได้ ได้แต่แสดงแบบย่อๆ

เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคน ใครที่นึกเอาว่าตนเองเก่งนักเก่งหนา วางก้ามวางโตน่ะ ลองถามตัวเองดูก่อนเถอะว่า คุณธรรมในตัวนั้นมีขนาดไหน เก่งกล้าสามารถจริงแล้วหรือถึงได้อวดเบ่งอย่างนั้น อย่าเลย มาฝึกฝน ตนเองให้มีคุณธรรมจริง แต่ไม่อวดตัวอวดเบ่งอย่างพระอัสสชิ และให้มีความเคารพ รู้จักเห็นสมณะอย่างพระสารีบุตรกันเถิด


จบมงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หมั่นศึกษาธรรมะ พบปะสนทนาธรรม
............................................................



มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล

“การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา
เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด
การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม
ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญา
อันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น”


ทำ ไ ม จึ ง ต้ อ ง ส น ท น า ธ ร ร ม ต า ม ก า ล ?

“ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน” สํ.ส.๑๕/๑๕๙/๕๐

นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะชีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย

ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่ คือ

๑. จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
๒. จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย

วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือการสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย

แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ

ส น ท น า ธ ร ร ม ต า ม ก า ล คื อ อ ะ ไ ร ?

การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกันระหว่างคน ๒ คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญา โดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้างๆ อยู่ ๒ ประการ คือ

๑. ธรรม หมายถึง ความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะคือความเป็นจริงตามธรรมชาติ

๒. ธรรม หมายถึง ความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตากรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดี จะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือความจริงตามธรรมชาติ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์

ค ว า ม ย า ก ใ น ก า ร ส น ท น า ธ ร ร ม

การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า คุยธรรมะ นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั่นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นาน ก็มักมีเรื่องวงแตกกันอยู่บ่อยๆ พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกัน พ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาป เพราะรู้ว่ามันจะต้องตาย ก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ

๑. คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือเมื่อเข้าใจอย่างไรแล้วก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ

๑.๑ เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
๑.๒ ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
๑.๓ เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
๑.๔ ต้องพูดด้วยจิตเมตตา
๑.๕ ต้องพูดถูกกาลเทศะ

การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว “คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ ๒-๓ คำจะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะ พอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต

๒. คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือฟังด้วยความพิจารณา รู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะให้คนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ

๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเอง ฟังไปได้สักนิดหนังตา ก็เริ่มหนักพาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่าการควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก

๒.๒ ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอย ต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ

ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชิน ฝึกเป็น คนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอรู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรมฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้

๓. คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็ จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูด ทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดี กิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด

ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ ทั้งจากคนที่สูงกว่าและต่ำกว่า มีความว่าง่าย สอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็น คือต้องเป็นคนประเภทสมณะใฝ่สงบด้วยกัน

มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมะให้คนอื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงเราก็ไม่เจ็บสักนิด ลมมันแพ้เราทุกที ทีนี้การฟังธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือชกไปก็รู้สึกเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็เหมือนกัน ใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้นเหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริงๆ เราชกเขาเขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจตลอดเวลา ถ้าไม่ระวังให้ดีอาจทนไม่ได้โกรธขึ้นมา ตนเองเลยกลายเป็นคนพาลไป

ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ ใ น ก า ร ส น ท น า ธ ร ร ม

๑. ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้ บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล ๘ มาล่วงหน้าสัก ๗ วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่ง สร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกัน หรือว่ากินเหล้าไปก็คุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

๒. ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดี ทำสมาธิจนรู้สึกเหมือนอย่างกับว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรม ใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน

๓. แต่งกายสุภาพ ทีแรกที่เราชำระศีลให้บริสุทธิ์นั้น กายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อยๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วย ถึงเวลาจะสนทนาก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ สะอาดตา ยิ่งถ้าเป็นชุดขาวได้ยิ่งดีมาก ไม่ควรใช้เสื้อผ้าสีบาดตา ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย

๔. กิริยาสุภาพ จะยืนจะเดินจะนั่งให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เช่น เดินลงส้นเท้ามาปังๆ

๕. วาจาสุภาพ คือมีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสียงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติ แต่ไม่ด่า

๖. ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ เพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ อรรถกถาหรือฎีกา* เกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่าสติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ ถ้าเราไปกล่าวค้านหรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว ประการแรก ก็ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน ประการที่ ๒ หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับ เพราะกลัวเสียหน้า มีทิฏฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้นสำหรับอรรถกถาหรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมกับขอความเห็นจากคู่สนทนา

๗. ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าวรุนแรง แต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ

๘. ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาแย้งมาอย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อน ความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด

๙. ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดัง ตั้งใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรมแล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปสร้างเวรสร้างกรรมเลย

๑๐. ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้คนอื่นเขามา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน

๑๑. ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดีหรือนินทาคนอื่นไป เช่น พูดเรื่องบาป พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่” กลายเป็นอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “อุ๊ย ! แม่คนนั้นน่ะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีคนนั้นก็ขี้เหนียว” ถามว่าใครดี “ฉัน...ฉัน” อย่างนี้ใช้ไม่ได้

๑๒. ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ เรื่องบางเรื่องแม้น่าฟัง แต่ถ้าพูดนานไปมากไป ผลที่ได้กลับจะน้อยลงกว่าพูดพอดีๆ เหมือนคนรับประทานอาหาร แม้เป็นอาหารดีรสอร่อย ถ้ารับประทานอิ่มไปจนจุกท้องเฟ้อ ทีหลังก็จะพาลขยาดไม่อยากจะรับประทานอาหารชนิดนั้นๆ

วิ ธี ส น ท น า ธ ร ร ม

โดยสรุป หลักในการสนทนาธรรมรวมได้เป็น ๓ ประการ คือ

๑. สนทนาในธรรม คือเรื่องที่จะสนทนากันต้องเป็นเรื่องธรรมะ ให้อยู่ในวงธรรมะ อย่าออกนอกวง เช่น ถ้าพูดถึงการทำความดีก็ให้สุดแค่ทำดี อย่าให้เลยไปถึงอวดดี ถ้าจะพูดถึงเรื่องการป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว ก็ให้สุดแค่ ป้องกันการทำชั่ว อย่าให้เลยไปถึงนินทาคนอื่น

๒. สนทนาด้วยธรรม คือผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ เช่น ทางกายก็มีการเคารพกันโดยฐานานุรูป ควรไหว้ก็ไหว้ ควรกราบก็กราบ อย่าคิดทะนงตัวด้วยเหตุคิดว่า มีความรู้มากกว่าเขา ในทางวาจา ก็ใช้ถ้อยคำสุภาพเรียบร้อย เป็นวาจาสุภาษิต ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกก็ชม ถ้าอีกฝ่ายผิดก็ทักโดยสุภาพ ไม่กล่าววาจาเหน็บแนมล่วงเกิน และถ้าพลาดพลั้งก็ขอโทษ ไม่ใช่สนทนากันด้วยกิเลส หรือปล่อยกิเลสออกมาโต้กันดังได้กล่าวมาแล้ว

๓. สนทนาเพื่อธรรม คือผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจของตนให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะ อวดรู้หรืออวดธรรมะ แม้บางจังหวะเราเป็นผู้แสดงความรู้ออกไป ก็คิดว่าเรา จะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้ของผู้อื่นเข้ามา มิใช่จะเพื่ออวดรู้

วิ ธี เ ลื อ ก คู่ ส น ท น า ธ ร ร ม

หลักในการเลือกคู่สนทนาธรรมมีอยู่ ๒ ประการ คือ

๑. คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรมและสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะ แม้ เป็นฆราวาสก็เป็นคนรักสงบ ไม่เป็นคนชอบอวดภูมิ ไม่ชอบโม้

๒. เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะกับบุคคลนั้นๆ เช่น คุยเรื่องพระวินัย กับผู้เชี่ยวชาญพระวินัย คุยเรื่องชาดกกับผู้เชี่ยวชาญชาดก จะสนทนาเรื่องสมาธิก็เลือกสนทนากับผู้ที่เขาฝึกสมาธิมาแล้วอย่างจริงจัง เป็นต้น

ก า ร ส น ท น า ธ ร ร ม ใ น ค ร อ บ ค รั ว

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมา ในครอบครัวไทยก็มีการสนทนาธรรมกันอยู่เป็นประจำแล้ว เช่น กลางวันพ่อแม่ออกไปทำนา ทำสวน ทำงานอื่นๆ ผู้เฒ่าปู่ย่าตายายที่อยู่บ้านก็ทำงานสานกระบุงสานตะกร้าไปบ้าง ทำงานอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ก็วิ่งเล่นกันอยู่ใกล้ๆ สักพักปู่ย่าตายายก็เรียกมาล้อมวงเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็ไม่พ้นนิทานธรรมะ เรื่องชาดกบ้าง เรื่องอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ฟังแล้วสงสัยสิ่งใดก็ซักถามกัน ทำบ่อยๆ เข้า เด็กก็ซึมซาบธรรมะไปในตัว

หรือตกเย็นตอนรับประทานอาหารก็อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา รับประทานอาหารเสร็จแล้วพ่อแม่ก็หยิบยกเรื่องธรรมะมาคุยกันบ้าง เล่าให้ลูกฟังบ้าง เป็นการสนทนาธรรมกันในครอบครัว ขณะเดียวกันก็คอยสังเกตลูกๆ ด้วย เพราะโดยธรรมชาติของตัวเด็กเองก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าในวันนั้นเขาไปทำอะไรผิดมา จะ มีพิรุธอยู่ในตัว ถ้าพ่อแม่สังเกตก็จะเห็น แล้วก็จะได้ตักเตือนสั่งสอนกัน แต่ถ้าเด็กทำผิดถึง ๓ ครั้ง แล้วยังจับไม่ได้ ก็จะไม่มีพิรุธให้เห็นอีก เพราะเด็กจะเกิดความเคยชิน และถึงจะจับได้ภายหลังก็แก้ยาก เพราะความเคยชินจนติดเป็นนิสัยแล้ว

ปัจจุบันโอกาสที่จะสนทนาธรรมกันในครอบครัวมีน้อยลง ส่วนใหญ่พอตกเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้ว พ่อแม่ลูกก็นั่งล้อมวงดูทีวี ดูวิดีโอ หรือต่างคนต่างทำกิจกรรมของตน ไม่มีโอกาสได้พูดคุยธรรมะกัน ซึ่งอันนี้เป็นข้อบกพร่อง จะทำให้พวกเราพลาดไป ถ้าพ่อแม่คนไหนอยากได้ลูกดี เป็นลูกแก้ว นำชื่อเสียงความเจริญมาสู่ตระกูล อยากให้ครอบครัวร่มเย็น อย่ามองข้ามเรื่องนี้ไป ให้รื้อฟื้นการสนทนาธรรมในครอบครัวขึ้นมาให้ได้ ถ้าเป็นประเภทอาหารเย็นพ่อไปงานเลี้ยงที่หนึ่ง แม่ไปธุระอีกที่หนึ่ง ให้ลูกๆ รับประทานอาหารกันเองหรืออยู่กับพี่เลี้ยง นั่นพลาดแล้ว ควรจัดเวลาให้ทุกคนในครอบครัว ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ สนทนาธรรมร่วมกันเป็นประจำ

พ่อแม่ที่มัวแต่คิดจะหาเงินให้ลูก แต่ลืมนึกถึงการปลูกฝังธรรมะให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก โอกาสที่ลูกจะเสียคนมีมากเหลือเกิน

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ส น ท น า ธ ร ร ม ต า ม ก า ล

๑. ทำให้จิตเป็นกุศล

๒. ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี

๓. ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

๔. ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมที่ตนยังไม่ได้ฟัง

๕. ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น

๖. ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้

๗. เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง

๘. เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

๙. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้

๑๐. ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์ ฯลฯ

Image
สนทนาธรรมผิดกาล
............................................................



จบมงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระภิกษุไม่เกิดกิเลสตามผู้มาหลอกล่อ

Image
ฆราวาสฝึกบำเพ็ญความอดทน
............................................................



มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ

“ใจของเราคุ้นกับกิเลส
เหมือนเสือคุ้นป่า ปลาคุ้นน้ำ
แล้วกิเลสก็ย้อนกลับมาเผาใจเราจนเร่าร้อนกระวนกระวาย
เราจึงต้องบำเพ็ญตบะเพื่อเผากิเลสให้มอดไหม้เสียแต่ต้นมือ
ก่อนที่กิเลสจะเผาใจเราจนวอดวาย”


ทำ ไ ม จึ ง ต้ อ ง บำ เ พ็ ญ ต บ ะ ?

ผ่านบันไดชีวิตมาแล้ว ๓๐ ขั้น เราจะพบว่า นิสัยไม่ดีความประพฤติที่ไม่ดีของตัวเรา ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ยังมีอยู่อีกมาก บางอย่างที่เราได้พยายามแก้ไขปรับปรุงแล้ว มันก็ดีขึ้นตามลำดับ เคยมักโกรธ เห็นแก่ตัว ขี้อิจฉา โอหัง ฯลฯ ก็ดีขึ้นแล้ว แต่อีกหลายๆ อย่างทั้งที่พยายามแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังไม่หายอยู่ดี เช่น กามกำเริบ รักสวยรักงาม รักความสะดวกสบายจนเกินเหตุ ง่วงเหงา ซึมเซา ท้อถอย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ฯลฯ เราจึงต้องหาวิธีที่รัดกุมยิ่งๆ ขึ้นไปมาจัดการแก้ไข แต่สิ่งที่ควรจำไว้ก่อน คือ

๑. เหตุแห่งความประพฤติไม่ดีทั้งหลาย ล้วนเกิดมาจากกิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ในใจเรา

๒. เหตุที่กำจัดกิเลสได้ยาก เป็นเพราะ

๒.๑ เรามองไม่เห็นตัวกิเลส อย่างมากก็เพียงแค่เห็นอาการของกิเลส ทำให้ไม่รู้จักกิเลสดี บางคราวถูกกิเลสโจมตีเอาแล้วก็ยังไม่รู้ตัว

๒.๒ ใจของเราคุ้นเคยกับกิเลสมาก เหมือนเสือคุ้นป่า ปลาคุ้นน้ำ ปลาพอถูกจับพ้นน้ำแล้ว มันจะดิ้นรนสุดชีวิต เพื่อหาทางกลับลงน้ำให้ได้ คนส่วนใหญ่ก็เหมือนกัน รู้สึกว่าการมีกิเลสเป็นของธรรมดา รักกิเลส พวกขี้เมาติดเหล้าเสียแล้ว ใครไปดึงขวดเหล้าออก เดี๋ยวเถอะได้ตามฆ่ากันเลย “อุ๊ย! ไม่ได้ ไม่ได้ ไอ้เหล้าขวดนี้มันเป็นกล่องดวงใจของฉันเชียวนะ” ไม่ยอมหรอก หรือบางคนใครทำอะไรขัดใจหน่อยก็โกรธ พูดจาโผงผางไปแล้วก็ภูมิใจ “นี่...มันต้องให้รู้ซะบ้าง ไม่งั้นหนอยแน่ะ ไม่เกรงใจเราเลย” ภูมิใจในความมีกิเลสของตัวเอง เป็นเสียอย่างนี้

๒.๓ เรายังขาดวิธีที่เหมาะสมไปกำจัดกิเลส ตราบใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น เราก็ยังไม่รู้วิธีกำจัดกิเลส แม้อาจจะรู้ว่ากิเลสมี แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แก้ไม่ตก และอาจหาทางออกไม่เป็นเรื่อง เช่น บูชาไฟบ้าง กราบไหว้อ้อนวอนเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าง

ในมงคลนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนวิธีกำจัดกิเลสที่เหมาะสมและ ได้ผลเด็ดขาดเฉียบพลันให้กับเรา โดยถือหลักว่า “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง”

เมื่อกิเลสมันเผาใจเราให้รุ่มร้อน เราก็ต้องเอาไฟไปเผากิเลสบ้าง แต่เป็น การเอาไฟภายในเผา วิธีการที่เอาไฟภายในเผากิเลสในตัวเองนี้เราเรียกว่า ตบะ

ตบะ แปลว่า ทำให้ร้อน หมายความรวมตั้งแต่ การเผา ลน ย่าง ต้ม ปิ้ง อบ คั่ว ผิง หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ร้อน

บำเพ็ญตบะ จึงหมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว คือ กิเลสทุกชนิดให้ร้อนตัวทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจเราไม่ติด ต้องเผ่นหนีไป แล้วใจของเราก็จะผ่องใส หมดทุกข์

การที่เราจะขับไล่สิ่งใด เราก็จะต้องทำทุกอย่างที่ฝืนความต้องการของ สิ่งนั้น เหมือนการไล่คนออกจากบ้าน เขาอยากได้เงินเราก็ต้องไม่ให้ อยากกินก็ไม่ให้กิน อยากนอนก็ไม่ให้นอน คือต้องฝืนใจเขาจึงจะออก การไล่กิเลสออกจากใจก็เหมือนกัน หลักปฏิบัติที่สำคัญ คือต้องฝืนความต้องการของกิเลส

ธุ ด ง ค วั ต ร ๑ ๓ ป ร ะ ก า ร

ในพระพุทธศาสนา มีข้อปฏิบัติที่พระภิกษุนิยมบำเพ็ญกัน เป็นการฝืนความต้องการของกิเลส เพื่อไล่กิเลสออกจากใจ มีด้วยกัน ๑๓ ประการ เรียกว่า ธุดงควัตร พระภิกษุที่บำเพ็ญธุดงควัตร เราเรียกท่านว่า พระธุดงค์ แต่ธุดงควัตรนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระภิกษุ แม้ฆราวาสก็ปฏิบัติได้เป็นบางข้อ

ธุดงควัตร ๑๓ ประการ แบ่งเป็น ๔ หมวด ให้เลือกปฏิบัติได้ตามกำลังศรัทธา คือ

ห ม ว ด ที่ ๑ เ กี่ ย ว กั บ เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ตั ว

๑. ใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่ชักมาได้เท่านั้น แม้จะได้มาทางอื่น เช่นมีคนถวายให้กับมือก็ไม่ใช้

๒. ใช้เฉพาะผ้าไตรจีวรเพียง ๓ ผืนเท่านั้น คือมีสบง จีวร สังฆาฏิ อย่างละผืน ใช้ผ้าอื่นๆ อีกนอกจาก ๓ ผืนนี้ไม่ได้

เราลองคิดดู ทำถึงขั้นนี้แล้ว กิเลสมันจะร้อนตัวสักแค่ไหน คนนิสัยขี้โอ่ อวดมั่งอวดมี รักสวยรักงามพิถีพิถันกับเครื่องแต่งตัวจนเกินเหตุ ชนิดที่เสื้อผ้าเป็นตู้ๆ ก็ยังไม่พอใจนั้น เจอธุดงค์ ๒ ข้อนี้เข้าก็สะอึกแล้ว

ห ม ว ด ที่ ๒ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร กิ น

๑. ฉันแต่อาหารที่บิณฑบาตมาได้เท่านั้น ใครจะใส่ปิ่นโตใส่หม้อแกง มาถวายที่วัดก็ไม่ฉัน บิณฑบาตมาได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น

๒. เดินบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกหรือหมู่บ้านในแนวที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ใช่มานึกๆ เอาว่า ไปบ้านนั้นจะได้มาก บ้านนี้จะได้น้อย เลยเลือกบิณฑบาตเป็นบางบ้านตามใจชอบ อย่างนั้นไม่ได้

๓. ฉันอาสนะเดียว คือถ้าฉันเสร็จ ลุกจากอาสนะแล้ว ก็ไม่รับอาหารอีก ไม่ฉันอะไรอีก ซึ่งก็เท่ากับว่าฉันวันละมื้อเดียว เรียกกันว่า “ฉันเอกา”

๔. ฉันสำรวม คือฉันอาหารในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น เอาอาหารทั้งหมด ทั้งคาวทั้งหวานใส่ลงรวมกันในบาตรแล้วฉัน

๕. เมื่อลงมือฉันแล้วไม่รับประเคนอีก ใครจะนำอาหารมาถวายให้อีกก็ไม่รับ

ทั้ง ๕ ข้อนี้เป็นตบะเกี่ยวกับการกิน ใช้แก้นิสัยตามใจปากตามใจท้อง ไม่ต้องพูดถึงว่าจะลักเขากิน โกงเขากิน แม้แต่ของที่ได้มาดีๆ นี่แหละ ก็ตัดความฟุ้งเฟ้อลง พวกนิสัยกินจุบกินจิบ จะกินนั่นจะกินนี่ พิรี้พิไรไม่รู้จักกระเป๋าของตนเอง ตลอดจนกิเลสประเภทที่ยุใจเราให้ทำผิดเพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง พอเจอธุดงค์ ๕ ข้อนี้เข้าก็งง

ห ม ว ด ที่ ๓ เ กี่ ย ว กั บ ที่ อ ยู่ อ า ศั ย

๑. อยู่ในป่านอกละแวกบ้านเท่านั้น ไม่มาอาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชน

๒. อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น ไม่อาศัยอยู่ในเรือน ไม่อาศัยนอนในกุฏิศาลา ปักกลดนอนใต้ร่มไม้กันเลย

๓. อยู่กลางแจ้งเท่านั้น ในกุฏิก็ไม่นอน ใต้ร่มไม้ก็ไม่นอนกันละ ปักกลดนอนกลางแจ้งกันเลย

๔. อยู่ในป่าช้าเท่านั้น เข้าปักกลดนอนในป่าช้ากันเลย จะนั่งนอนบน หลังโลงศพ หรือปักกลดนอนใต้ต้นไม้ในป่าช้าก็เอา

๕. อยู่ในที่ที่คนอื่นจัดให้ ไม่เลือกที่อยู่ เขาจัดให้พักที่ไหนก็พักที่นั่น โปรดพินิจดู เรื่องโกงที่โกงทาง ดื้อแพ่งเพราะที่อยู่ ไม่ต้องพูดถึงกัน เพียงแค่นิสัยติดที่ ชอบที่นอนนุ่มๆ บ้านหรูๆ เครื่องอำนวยความสะดวกพร้อม กิเลสเรื่องที่อยู่อาศัย พอเจอธุดงค์ ๕ ข้อนี้เข้าก็เผ่นหนีกันกระเจิง

ห ม ว ด ที่ ๔ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ดั ด นิ สั ย เ กี ย จ ค ร้ า น

๑. อยู่ในอิริยาบถ ๓ คือยืน เดิน นั่ง ไม่นอน ง่วงมากก็ยืน เดิน อย่างมากก็นั่งหลับแต่ไม่ยอมนอน ไม่ให้หลังแตะพื้น

หมวดที่ ๔ นี้มีอยู่ข้อเดียว พวกที่ติดนิสัยขี้เกียจ เช้าเอน เพลนอน บ่ายพักผ่อน ดึกๆ จำวัด พอเจอธุดงค์ข้อนี้เข้าก็หาย หากใครมีนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง จะลองรักษาธุดงควัตรข้อนี้ดูบ้างก็ดีเหมือนกัน จะรักษาสัก ๑ วัน ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ก็ตามกำลัง สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ ถ้าใจเริ่มสงบแล้ว การอยู่ในอิริยาบถ ๓ นี้ จะทำให้สมาธิก้าวหน้าเร็วมาก และถ้าสมาธิดีก็จะไม่ง่วง มีพระภิกษุบางรูปรักษาธุดงควัตรข้อนี้ได้นาน ๓ เดือน ๗ เดือนก็มี บางรูปรักษาตลอดชีวิต เช่น พระมหากัสสปะ ท่านอยู่ในอิริยาบถ ๓ ยืน เดิน นั่ง ไม่นอนได้ตลอดชีวิตโดยไม่ง่วงเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในธุดงคคุณ

ทั้งหมดนี้รวมเป็นธุดงควัตร ๑๓ ข้อ จัดเป็นตบะชั้นยอดในพระพุทธศาสนา ความมุ่งหมายเพื่อจะกำจัดกิเลสออกจากใจให้เด็ดขาด ในทางปฏิบัติใครจะเลือกทำข้อใดบ้างก็ได้ และจะทำในระยะใดก็ให้ตั้งใจอธิษฐานสมาทานธุดงค์เอา

ก า ร บำ เ พ็ ญ ต บ ะ ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ ำ วั น

พวกเราบางคนอาจสงสัยว่า การบำเพ็ญธุดงควัตรนั้น สำหรับผู้ที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ยังต้องทำงานทางโลกก็ยากที่จะปฏิบัติไปได้ตลอด อย่างมาก ก็หาเวลาช่วงว่างๆ สุดสัปดาห์หรือพักร้อน ไปปักกลดกัน แล้วในชีวิตประจำวันมีวิธีบำเพ็ญตบะได้หรือไม่ คำตอบ ก็คือ "ได้"

วิธีบำเพ็ญตบะในชีวิตประจำวัน เพื่อกันไม่ให้กิเลสฟุ้งขึ้นและเพื่อกำจัดกิเลสออกจากตัว ทำได้ดังนี้ คือ

๑. มีอินทรียสังวร
๒. มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม

อิ น ท รี ย สั ง ว ร

อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ คือการสำรวมระวังตนโดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับ สำรวมอย่างไร ขอให้เรามาดูอย่างนี้

คนเรานี้มีช่องทางติดต่อกับภายนอกอยู่ ๖ ทาง คือ

๑. ตา
๒. หู
๓. จมูก
๔. ลิ้น
๕. กาย
๖. ใจ

เหมือนกับบ้านก็มีประตูหน้าต่าง เป็นทางติดต่อกับภายนอก

คนเราก็เหมือนบ้านที่มีประตูหน้าต่างอยู่ ๖ ช่องทาง สิ่งต่างๆ ภายนอก ที่เราจะรับรู้ รับทราบก็มาจาก ๖ ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้ใจของเราสงบผ่องใสก็มาจาก ๖ ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ใจของเราฟุ้งซ่าน ขุ่นมัว ก็มาจาก ๖ ทางนี้เหมือนกัน ช่องทางทั้ง ๖ นี้ นับว่ามีความสำคัญมาก เราจึงควรมารู้จักถึงธรรมชาติของช่องทางทั้ง ๖ นี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบช่องทางทั้ง ๖ ไว้ ดังนี้

๑. ตาคนเรานี้เหมือนงู งูไม่ชอบที่เรียบๆ แต่ชอบที่ที่ลึกลับซับซ้อน ตาคนเราก็เหมือนกัน ไม่ชอบดูอะไรเรียบๆ ชอบดูสิ่งที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ยิ่งสิ่งที่เขาปกปิดไว้ละก็ยิ่งชอบดู แต่อะไรที่เปิดเผยออกแล้ว ไม่ลับแล้ว ความอยากดูกลับลดลง

๒. หูคนเรานี้เหมือนจระเข้ คือชอบที่เย็นๆ อยากฟังคำพูดเย็นๆ ที่เขาชมตัว หรือคำพูดเพราะๆ ที่เขาพูดกับเรา

๓. จมูกคนเรานี้เหมือนนก คือชอบโผขึ้นไปในอากาศ พอได้กลิ่นอะไรถูกใจหน่อยก็ตามดมทีเดียวว่ามาจากไหน

๔. ลิ้นคนเรานี้เหมือนสุนัขบ้าน คือชอบลิ้มรสอาหาร วันๆ ขอให้ได้กินของอร่อยๆ เถอะ เที่ยวซอกซอนหาอาหารอร่อยๆ กินทั้งวัน ยิ่งเปิบพิสดารละก็ยิ่งชอบนัก

๕. กายคนเรานี้เหมือนสุนัขจิ้งจอก คือชอบที่อุ่นๆ ที่นุ่มๆ ชอบซุก เดี๋ยวจะไปซุกตักคนโน้น เดี๋ยวจะไปซุกตักคนนี้ ชอบอิงคนโน้น ชอบจับคนนี้

๖. ใจคนเรานี้เหมือนลิง คือชอบซน คิดโน่น คิดนี่ ประเดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านถึงเรื่องในอดีต ประเดี๋ยวก็สร้างวิมานในอากาศถึงเรื่องในอนาคต ไม่ยอมอยู่นิ่ง ไม่ยอมสงบ

อินทรียสังวร ที่ว่าสำรวมระวังตัว ก็คือระวังช่องทางทั้ง ๖ นี้ เมื่อรู้ถึงธรรมชาติของมันแล้วก็ต้องคอยระวัง ใช้สติเข้าช่วยกำกับ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู อะไรที่ไม่ควรฟังก็อย่าไปฟัง อะไรที่ไม่ควรดมก็อย่าไปดม อะไรที่ไม่ควรลิ้มชิมรสก็อย่าไปชิม อะไรที่ไม่ควรสัมผัสก็อย่าไปสัมผัส อะไรที่ไม่ควรคิดก็อย่าไปคิด หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปเห็นสิ่งที่ไม่ควรดูเข้าแล้ว ก็ให้จบแค่เห็น ไม่คิดปรุงแต่งต่อว่า สวยจริงนะ หล่อจริงนะ อะไรทำนองนี้ ต้องไม่นึกถึงโดยนิมิต หมายถึง เห็นว่าสวยไปทั้งตัว

เช่น “เออ คนนี้สวยจริงๆ” ต้องไม่นึกถึงโดยอนุพยัญชนะ หมายถึง เห็นว่าส่วนใดส่วนหนึ่งสวย เช่น “ตาสวยนะ คมปลาบเลย” หรือแขนสวย ขาสวย อะไรอย่างนี้

อินทรียสังวรนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราสู้กับกิเลสชนะหรือแพ้ก็อยู่ตรงนี้ ถ้าเรามีอินทรียสังวรดีแล้ว โอกาสที่กิเลสจะรุกรานเราก็ยาก คุณธรรมต่างๆ ที่ เราตั้งใจรักษาไว้ก็จะสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจ เหมือนบ้าน ถ้าเราใส่กุญแจ ดูแลประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว ถึงแม้ตามลิ้นชักตามตู้จะไม่ได้ใส่กุญแจก็ย่อมปลอดภัย โจรมาเอาไปไม่ได้ แต่ถ้าเราขาดการสำรวมอินทรีย์ ไปดูในสิ่งที่ไม่ควรดู ฟังในสิ่งไม่ควรฟัง ดมในสิ่งไม่ควรดม ลิ้มรสในสิ่งไม่ควรลิ้ม จับต้องสัมผัสในสิ่งที่ไม่ควรสัมผัส คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิด แม้เราจะมีความตั้งใจรักษาศีล รักษาคุณธรรมต่างๆ ดีเพียงไร ก็มีโอกาสพลาดได้มาก เหมือนบ้านที่ไม่ได้ปิดประตูหน้าต่าง แม้จะใส่กุญแจตู้ลิ้นชักดีเพียงไร ก็ย่อมไม่ปลอดภัย โจรสามารถมาลักไปได้ง่าย

วิธีที่จะทำให้อินทรียสังวรเกิดขึ้นนั้น ให้เราฝึกให้มีหิริโอตตัปปะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป โดยคำนึงถึงชาติตระกูล อายุ วิชาความรู้ ครูอาจารย์ สำนักศึกษาของเรา และอื่นๆ ดังรายละเอียดในมงคลที่ ๑๙

ท่านเปรียบเป็นลูกโซ่แห่งธรรมไว้ ดังนี้

หิริโอตตัปปะ ทำให้เกิด อินทรียสังวร

อินทรียสังวร ทำให้เกิด ศีล

ศีล ทำให้เกิด สมาธิ

สมาธิ ทำให้เกิด ปัญญา

ผู้มีอินทรียสังวรดี ศีลก็ย่อมบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์ สมาธิก็เกิดได้ง่าย สมาธิตั้งมั่น ปัญญาก็เกิดขึ้น เป็นความสว่างภายในเห็นถึงสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เห็นถึงตัวกิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน และสามารถกำจัดไปให้หมดสิ้นได้

เราทุกคนจึงควรฝึกให้มีอินทรียสังวรในตัวให้ได้

ค ว า ม เ พี ย ร ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม

คนเราส่วนใหญ่มักพอจะทราบอยู่ว่าอะไรดี อยากจะให้สิ่งที่เห็นว่าดีนั้นเกิดขึ้นกับตัว แต่ก็มักทำความดีนั้นไปได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ทั้งนี้เพราะขาดความเพียร คนเราถ้าขาดความเพียรเสียแล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็ไม่สามารถ งอกเงยขึ้นมาได้เลย

“วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร” ขุ.สุ.๒๕/๓๑๑/๓๖๑

เราลองมาดูถึงเหตุที่ทำให้พระภิกษุเกียจคร้าน และเหตุที่ทำให้พระภิกษุปรารภความเพียร ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ บางทีอาจได้ข้อคิดนำมาใช้กับตัวของเราได้

เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม เ กี ย จ ค ร้ า น ข อ ง ภิ ก ษุ

๑. รู้ว่างานมีอยู่ แต่กลัวว่าทำแล้วจะเหนื่อย จึงนอนเสียก่อน คิดว่า เอาแรงไว้ทำงาน ไม่ปรารภความเพียรเพื่อให้บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ

๒. งานได้ทำเสร็จแล้ว คิดว่าทำงานมาแล้วเหนื่อยนักจึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

๓. รู้ว่าทางที่จะต้องไปมีอยู่ แต่คิดว่าเมื่อเดินทางจะเหนื่อย จึงนอนเสียก่อน คิดว่าเอาแรงไว้เดินทาง ไม่ปรารภความเพียรฯ

๔. ได้เดินทางแล้ว คิดว่าเหนื่อยนัก จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

๕. บิณฑบาตไปไม่ได้อาหารมากตามความต้องการ คิดว่าได้อาหารน้อย ไม่มีเรี่ยวแรง ถึงทำความเพียรคงไม่ได้ดี อย่ากระนั้นเลยนอนดีกว่า จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

๖. บิณฑบาตได้อาหารมามาก คิดว่าตัวก็ฉันจนอิ่ม เนื้อตัวหนัก ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลยนอนดีกว่า จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

๗. เจ็บป่วยเล็กน้อย ก็คิดว่าพอมีเหตุจะอ้างได้แล้วว่า กลัวโรคจะกำเริบ จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

๘. หายป่วยแล้ว ก็คิดว่าเพิ่งหายป่วย ตัวเรานี้กำลังยังไม่ดี เดี๋ยวโรคจะกลับ จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม เ พี ย ร ข อ ง ภิ ก ษุ

๑. รู้ว่างานรออยู่ จึงคิดว่า เวลาทำงานจะทำสมาธิทำความเพียรก็ไม่สะดวก ตอนนี้ยังพอมีเวลา จึงรีบปรารภความเพียรเพื่อเข้าถึงคุณวิเศษที่ตนยังไม่เข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมซึ่งตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

๒. ทำงานเสร็จแล้ว จึงคิดว่า เมื่อตอนขณะทำงานการทำสมาธิก็ทำได้ไม่เต็มที่ ตอนนี้เสร็จงาน ว่างแล้วจึงรีบปรารภความเพียรฯ

๓. รู้ว่าทางที่จะต้องไปมีอยู่ จึงคิดว่า เวลาเดินทางจะทำสมาธิก็ไม่สะดวก ตอนนี้ยังไม่ได้เดินทาง ต้องรีบเอาเวลาไปปรารภความเพียรฯ

๔. เดินทางเสร็จแล้ว ก็คิดว่า เมื่อตอนเดินทางเราทำความเพียรก็ไม่สะดวกไม่เต็มที่ ตอนนี้เดินทางเสร็จแล้ว ต้องรีบปรารภความเพียรฯ

๕. บิณฑบาตได้อาหารมาน้อย ก็คิดว่า วันนี้ฉันน้อย เนื้อตัวกำลังเบาสบายเหมาะแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องรีบปรารภความเพียรฯ

๖. บิณฑบาตได้อาหารมามาก ก็คิดว่า ตอนนี้เราฉันอิ่มแล้ว กำลังมีเรี่ยวแรง อย่ากระนั้นเลย เราต้องรีบปรารภความเพียรฯ

๗. เจ็บป่วยเล็กน้อย ก็คิดว่า ต่อไปอาจป่วยหนักกว่านี้ก็ได้ ต้องรีบฉวยโอกาสที่ยังป่วยน้อยอยู่นี้ ปรารภความเพียรฯ

๘. เพิ่งหายป่วย ก็คิดว่า เราเพิ่งหายป่วย โอกาสที่จะกลับไปป่วยอีกก็มีอยู่ ต้องรีบฉวยโอกาสที่หายป่วยแล้วนี้ ทำความเพียร จึงรีบปรารภความเพียรฯ

พวกเราลองเอาหลักเหล่านี้มาเปรียบดูกับตัวเองก็แล้วกันว่า ตัวเราจัดอยู่ในประเภทไหน เกียจคร้านหรือขยัน แล้วจะปล่อยตัวเหลวไหลอย่างนั้นต่อไป หรือจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

“แม้เลือดเนื้อในกายของเราทั้งหมด จักแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที หากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจะไม่หยุดความเพียร” (ปณิธานในวันตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๖๔

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร บำ เ พ็ ญ ต บ ะ

๑. ทำให้เลิกเป็นคนเอาแต่ใจตัวได้ในเร็ววัน

๒. ทำให้คุณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นในตัว

๓. ทำให้มงคลข้อต้นๆ ทั้งหมดเกิดขึ้นกับเรา

๔. ทำให้เข้าถึงนิพพานได้เร็ว ฯลฯ

“ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ความอดทนคือความทนทาน เป็นตบะอย่างยิ่ง” ที.มหา.๑๐/๕๔/๕๗

“ชนทั้งหลายผู้ไม่ย่อท้อ พากันขุดในทะเลทราย ได้น้ำในทะเลทรายนั้นอันเป็นที่ดอน ฉันใด มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรอันเป็นกำลัง ไม่เกียจคร้าน พึงประสบความสงบแห่งใจฉันนั้น” ขุ.ชา.๒๗/๒/๑



จบมงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ประพฤติอย่างพรหม
............................................................



มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์

“ชาวสวนชาวไร่ หลังจากถางป่าเผาหญ้าแล้ว
ต้องรีบปลูกพืชผักผลไม้ที่ต้องการลงไป
ก่อนที่หญ้าจะกลับระบาดขึ้นใหม่ฉันใด
คนเราเมื่อบำเพ็ญตบะ ทำความเพียรเผากิเลสจนเบาบางลงแล้ว
ก็ต้องรีบปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ ลงในใจ
ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น
ก่อนที่กิเลสจะฟูกลับขึ้นใหม่อีกฉันนั้น”


ป ร ะ พ ฤ ติ พ ร ห ม จ ร ร ย์ คื อ อ ะ ไ ร ?

การประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติตนอย่างพระพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับ ขึ้นมาอีก จนกระทั่งหมดกิเลส ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต

ภู มิ ชั้ น ข อ ง จิ ต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า จิตของคนเราอาจแบ่งภูมิชั้นได้เป็น ๔ ระดับ ตามการฝึกฝนตนเอง คือ

๑. กามาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามารมณ์ ยังยุ่งเกี่ยวกับกามคุณอยู่ ได้แก่ ภูมิจิตของคนสามัญทั่วไป

๒. รูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปารมณ์ มีความสุขความพอใจอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ฝึกสมาธิมามากจนกระทั่งได้รูปฌาน เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่สนใจกามารมณ์ อิ่มเอิบในพรหมวิหารธรรม ซึ่งเป็นสุขประณีตกว่ากามารมณ์ เป็นเหมือนพระพรหมบนดิน ละจากโลกนี้ไปก็ จะไปเกิดเป็นรูปพรหม

๓. อรูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปารมณ์ มีความสุขอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ทำสมาธิจนกระทั่งได้อรูปฌาน มีความสุขที่ประณีตกว่าอารมณ์ของรูปฌานอีก เมื่อละจากโลกนี้ไปก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม

๔. โลกุตตรภูมิ เป็นชั้นที่พ้นโลกแล้ว ได้แก่ ภูมิจิตของอริยบุคคล มีความสุขอันละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง

ทั้ง ๔ ภูมินี้ รวมเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ

โลกียภูมิ ได้แก่
๑. กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ
๓. อรูปาวจรภูมิ

โลกุตตรภูมิ ได้แก่
๔. โลกุตตรภูมิ

ในชั้นโลกียภูมินั้น มีสุขมีทุกข์คละเคล้ากันไป และมีการยักย้ายถ่ายเทขึ้นลงได้ ผู้ที่อยู่ในอรูปาวจรภูมิ ถ้าไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ประมาท อาจตกลงมาอยู่ในกามาวจรภูมิก็ได้ ผู้อยู่ในกามาวจรภูมิ ถ้าตั้งใจทำสมาธิ อาจเลื่อนไปอยู่ รูปาวจรภูมิหรืออรูปาวจรภูมิได้ เลื่อนไปเลื่อนมาได้ตามบุญกุศล และตามผลของการปฏิบัติธรรมของตน

และในชั้นโลกียภูมินี้ ถึงจะมีความสุขก็สุขอย่างโลกีย์ ยังมีทุกข์ระคน อยู่ เหมือนอย่างที่เราเจอกัน มีลูกมีครอบครัวก็คิดว่าจะสุข พอมีจริงก็มีเรื่องกลุ้มใจให้ทุกข์จนได้ เหมือนในเวลาหน้าร้อนก็คิดว่าหน้าฝนจะสุข พอถึงหน้าฝนก็หวังว่าหน้าหนาวจะสบาย เลยไม่ทราบว่าสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน

พระท่านเปรียบความสุขทางโลกียภูมินี้ว่าเหมือนพยับแดด เราคงเคยเจอกัน ในหน้าร้อนมองไปบนถนนไกลๆ จะเห็นพยับแดดระยิบระยับอยู่ในอากาศเต็มไปหมด หรือเห็นเหมือนมีน้ำอยู่บนผิวถนน แต่พอเข้าใกล้ไปดูกลับไม่เห็นมีอะไร สุขทางโลกีย์ก็เหมือนกัน หวังไว้แต่ว่าจะเจอสุข แต่พอเจอเข้าจริงกลับกลายเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป

ด้วยเหตุนี้จิตของคนที่ตกอยู่ในโลกียภูมิ ทางพระพุทธศาสนาท่านจึงใช้คำว่า สังสารจิต แปลว่า จิตวิ่งวุ่น วิ่งสับสนวนไปเวียนมา จะวิ่งไปไหนล่ะ ก็วิ่งตะครุบสุขนะสิ แต่สุขโลกีย์มันเป็นสุขกลับกลอกหลอกหลอน จิตก็เลยกลับกลอกไปด้วย ประการสำคัญคือ สุขโลกีย์มันหนีได้ พอเราจะทันมันก็หนี เมื่อมันหนีเราก็ตาม แล้วก็ตามไม่ทันสักที

ขอให้ลองสังเกตดูเถอะ สุขโลกีย์ที่เป็นยอดสุขนั้นไม่มี เป็นร้อยตรีก็คิดว่าเป็นร้อยโทคงจะสุข พอเป็นร้อยโทก็คิดว่าเป็นร้อยเอกคงจะสุข ไล่ตามขั้นไป ร้อยเอกก็ว่าพันตรี พันตรีก็ว่าพันโท จนเป็นนายพลก็ยังคิดว่ามีสุขข้างหน้าที่ดีกว่าของตน

หากวิ่งตามตะครุบสุขเรื่อยไป จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี กี่ชาติ วิ่งตามตะครุบไปได้สุขโลกีย์มานิดหน่อย แต่คว้าติดทุกข์มาทุกที หักกลบลบหนี้ดูแล้วจะพบว่าทุกข์มากกว่าสุข และที่สำคัญ จิตที่วิ่งวุ่นสับสน มีโอกาสพลาดพลั้งได้ง่าย เหมือนคนวิ่งวุ่นสับสนนั่นแหละ มีหวังหกล้มตกหลุมตกบ่อเข้าจนได้ จิตก็เหมือนกัน วิ่งไล่จับความสุขหัวซุกหัวซุน คนที่ระวังไม่ดีหกล้มเข้าคุกเข้าตะรางก็เยอะ ถลำลงนรกอเวจีก็มาก

อุปมาความสุขในโลกียภูมิทั้ง ๓ ชั้น ได้ดังนี้

กามาวจรภูมิ เป็นสุขชั้นต่ำ ยังยุ่งเกี่ยวกับกาม สุขเหมือนเด็กเล่นขี้เล่นดิน

รูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาหน่อย สุขเหมือนคนมีงานมีการที่ถูกใจทำเพลิดเพลินไป

อรูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาอีก สุขเหมือนพ่อ แม่ ครู อาจารย์ ที่เห็นลูกซึ่งตนเลี้ยงดูอบรมมา มีความเจริญก้าวหน้า หรือเห็นงานการที่ตนทำสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ชื่นชมผลงานของตน

ศาสนาโดยทั่วไป อย่างสูงที่สุดก็สอนให้คนเราพัฒนาจิตได้ถึงขั้นอรูปารมณ์เท่านั้น เช่น ศาสนาพราหมณ์ ก็สอนให้คนมุ่งเป็นพระพรหม ยังวนเวียนอยู่ในโลกียภูมิ ขึ้นๆ ลงๆ แต่พระพุทธศาสนาของเราสอนให้คนมุ่งหน้า สู่โลกุตตรภูมิ เข้านิพพาน

ค ว า ม มุ่ ง ห ม า ย ข อ ง ก า ร ป ร ะ พ ฤ ติ พ ร ห ม จ ร ร ย์

ความมุ่งหมายสูงสุดของการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา คือให้ตัดโลกียวิสัย ตัดเยื่อใยทุกๆ อย่าง เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ และอย่างแรกที่ต้องทำก่อน คือการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อตัดกามารมณ์ แล้วจึง ตัดรูปารมณ์ อรูปารมณ์ไปตามลำดับ

สำหรับพวกเราปุถุชนทั่วๆ ไป สิ่งสำคัญที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ไม่ให้ก้าวหน้า ในการพัฒนาจิต และทำให้กิเลสฟูกลับขึ้นได้ง่ายที่สุดก็คือ กามารมณ์ ถ้าใครตัดกามารมณ์ได้ ก็มีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้อย่างรวดเร็ว การประพฤติพรหมจรรย์ในมงคลข้อนี้ จึงมุ่งเน้นการตัดกามารมณ์เป็นหลัก

เราลองมาดูถึงอุปมาโทษของกามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้

อุ ป ม า โ ท ษ ข อ ง ก า ม

๑. กามเปรียบเหมือนท่อนกระดูกเปล่า ไม่มีเนื้อและเลือดติดอยู่ เมื่อสุนัขหิวมาแทะเข้า ยิ่งแทะยิ่งเหนื่อย ยิ่งหิว อร่อยก็ไม่เต็มอยาก ไม่เต็มอิ่ม พลาดท่าแทะพลาดไปถึงฟันหักได้ พวกเราก็เหมือนกันที่หลงว่า มีคู่รักแล้วแต่งงานแล้วจะมีสุข พอมีเข้าจริงไม่เห็นจะสุขจริงสักราย ต้องมีเรื่องขัดใจให้ตะบึงตะบอนกัน ให้กลุ้มใจให้ห่วงกังวล ทั้งห่วง ทั้งหวง ทั้งหึง ไม่เว้นแต่ละวัน ที่หนักข้อถึงกับไปกระโดดน้ำตาย หรือผูกคอตายเสียก็มากต่อมาก พอจะมีสุขบ้างก็ประเดี๋ยวประด๋าว พอให้มันๆ เค็มๆ เหมือนสุนัขแทะกระดูก

๒. กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวคาบบินมา แร้ง กา หรือเหยี่ยวตัวอื่นก็จะเข้ารุมจิกแย่งเอา คือไม่เป็นของสิทธิ์ขาดแก่ตัว ผู้อื่นแย่งชิงได้ คนทั้งหลายต่างก็ต้องการหมายปอง จึงอาจต้องเข่นฆ่ากัน เป็นทุกข์แสนสาหัส เราลองสังเกตดูก็แล้วกัน ที่มีข่าวกันอยู่บ่อยๆ ทั้งฆ่ากัน ชิงรักหักสวาท น่ะ หรือรอบๆ ตัวมีบ้างไหม ที่กว่าจะได้แต่งงานกันก็ฝ่าดงมือ ฝ่าดงเท้าเสียแทบตาย ถูกตีหัวเสียก็หลายที พอแต่งแล้วก็ยังไม่แน่ เดี๋ยวใครมาแย่งไปอีกแล้ว ยิ่งสวยเท่าไร ยิ่งหล่อเท่าไร ยิ่งอันตรายเท่านั้น

๓. กามเปรียบเหมือนคนถือคบเพลิงที่ทำด้วยหญ้าลุกโพลงเดินทวนลมไป ไม่ช้าก็ต้องทิ้ง มิฉะนั้นก็โดนไหม้มือ ระหว่างเดินก็ถูกควันไฟรมหน้า ต้องทนทุกข์ทรมานย่ำแย่ คนเราที่ตกอยู่ในกามก็เหมือนกัน ต้องทนรับทุกข์จากกาม ทำงานงกๆ หาเงินเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจ ลูกจะเรียนที่ไหนดี จะเกเรหรือเปล่า เมียจะนอกใจไหม เดี๋ยวก็มีเรื่องขัดใจกัน เสร็จแล้วก็ไม่ใช่จะได้อยู่ด้วยกันตลอด เดี๋ยวอ้าว! รถชนตายเสียแล้ว อ้าว! เป็นมะเร็งตายเสียแล้ว หรือเผลอประเดี๋ยวเดียวก็ต้องแก่ตายกันเสียแล้ว ไม่ได้อยู่กันไปได้ตลอดหรอก เหมือนคบเพลิงหญ้า ถือได้ไม่นานก็ต้องทิ้ง

๔. กามเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรง ผู้ที่รักชีวิตทั้งๆ ที่รู้ว่าหากตกลงไปแล้ว ถึงไม่ตายก็สาหัส แต่ก็แปลก เหมือนมีอะไรมาพรางตาไว้ เหมือนมีแรงลึกลับมาคอยฉุดให้ลงหลุมอยู่ร่ำไป พระท่านสอน ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ก็เชื่อท่านหรอก แต่พอออกนอกวัดเจอสาวๆ สวยๆ หนุ่มรูปหล่อเข้าก็ลืมเสียแล้ว เวลาจะแต่งงานก็คิดถึงแต่ความสวยความหล่อความถูกใจ หาได้มองเห็นไปถึงความทุกข์อันจะเกิดจากกาม เกิดจากชีวิตการครองเรือนไม่

๕. กามเปรียบเหมือนความฝัน เห็นทุกอย่างเฉิดฉายอำไพ แต่ไม่นานก็ผ่านไป พอตื่นขึ้นก็ไม่เห็นมีอะไร เหลือไว้แต่ความเสียดาย คนเราที่จมอยู่ในกามก็เหมือนกัน แรกๆ ก็คุยกันกะหนุงกะหนิงน้องจ๊ะน้องจ๋า อยู่กันไม่นาน พูดคำด่าคำเสียแล้ว เผลอๆ ถึงตบตีกัน เอาซี่โครงเหน็บข้างฝาเสียเลยก็มีงานก็มากขึ้นเป็น ๒-๓ เท่า ไม่เห็นสุขเหมือนที่คิดฝันไว้ กามเหมือนความฝัน พวกเราจะเป็นคนเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ หรือจะเป็นคนยืนอยู่บนความจริง ตั้งใจฝึกฝนตนเองปฏิบัติธรรมกันล่ะ

๖. กามเปรียบเหมือนสมบัติที่ยืมเขามา เอาออกแสดงก็ดูโก้เก๋ดี ใครเห็นก็ชม แต่ก็ครอบครองไว้อย่างไม่มั่นใจ ได้เพียงชั่วคราว ไม่เป็นสิทธิ์เด็ดขาด เจ้าของตามมาพบเมื่อไรก็เอาคืนเมื่อนั้น ตัวเองก็ได้แต่ละห้อยหา พวกเราก็เหมือนกัน ไปได้แฟนสวยแฟนหล่อมาก็ภูมิใจ ไปไหนๆ ใครๆ ก็ทักว่า คู่นี้สมกันเหมือนกิ่งทองใบหยก ยืดเสียอกตั้งทีเดียว เผลอประเดี๋ยวเดียว อ้าว ! ผู้หญิงกลายเป็นยายแร้งทึ้งไปเสียแล้ว ผู้ชายไหงหัวล้านพุงพลุ้ยเสียแล้ว นี่ความหล่อความสวยมันถูกธรรมชาติ ถูกเวลาทวงกลับเสียแล้ว พวกเราจะไปหลงโง่งมงายอยู่กับของขอยืมของชั่วคราวแบบนี้หรือเปล่า

๗. กามเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดกอยู่ในป่า ใครผ่านมาเมื่อเขาอยากได้ผล จะด้วยวิธีไหนก็เอาทั้งนั้น ปีนได้ก็ปีน ปีนไม่ได้ก็สอย บางคนก็โค่นเลย ใครอยู่บนต้นลงไม่ทันก็ถูกทับตาย เบาะๆ ก็แข้งขาหัก พวกเราก็เหมือนกัน บางคนคงเคยเจอมาแล้ว เที่ยวไปจีบคนโน้นคนนี้ ยังไม่ทันได้มาเลย ถูกเตะต่อยมาบ้าง ถูกตีหัวมาบ้าง ได้แต่บ่นรู้อย่างนี้นอนอยู่บ้านดีกว่า นี่เหมือนผลไม้ในป่า ยิ่งดกยิ่งสวยแล้วก็ระวังเถอะจะเจ็บตัว

๘. กามเปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ ใครไปยุ่งเกี่ยวก็เหมือนกับเอาชีวิตให้ถูกสับ เพราะกามเป็นที่รองรับทุกข์ทั้งหลาย ทั้งกายและใจ เหมือนเขียงเป็นที่รองรับคมมีดที่สับเนื้อจนเป็นแผลนับไม่ถ้วน

๙. กามเปรียบเหมือนหอกและหลาว ทำให้เกิดทุกข์ทิ่มแทงหัวใจ เกิดความเจ็บปวดรวดร้าวมาก ใครไปพัวพันในกามแล้ว ที่จะไม่เกิดความเจ็บช้ำใจนั้นเป็นไม่มี เหมือนหอกหลาวที่เสียดแทงร่างกาย ให้เกิดทุกขเวทนาอย่างนั้น

๑๐. กามเปรียบเหมือนหัวงูพิษ เพราะกามประกอบด้วยภัยมาก ต้อง มีความหวาดระแวงต่อกันอยู่เนืองๆ ไม่อาจปลงใจได้สนิท วางจิตให้โปร่งไม่ได้ เป็นที่หวาดเสียวมาก อาจฉกให้ถึงตายได้ทุกเมื่อเหมือนหัวงูพิษ

ทั้งหมดนี้ คืออุปมาโทษของกามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ความจริงแล้วยังมีอีกมาก นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เมื่อเราเห็นกันแล้วว่ากามมีโทษมากมายถึงปานนี้ เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่มีแฟน ยังไม่ได้แต่งงาน รีบฝึกสมาธิมากๆ เข้าตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เมื่อไรใจเราสงบ ความสว่างภายในบังเกิดขึ้น เราก็มีสุขที่เหนือกว่ากามสุขอยู่แล้ว ความคิดที่จะมีคู่ก็จะหมดไปเอง ส่วนคนที่แต่งงานแล้ว ก็ไม่ต้องถึงกับหย่ากันหรอกนะ เอาเพียงแค่อย่าไปมีเมียน้อย อย่าไปมีใหม่ อย่าไปหาอะไหล่มาเสริมก็แล้วกัน แล้วก็หาเวลารักษาศีล ๘ เสียบ้างด้วย

วิ ธี ป ร ะ พ ฤ ติ พ ร ห ม จ ร ร ย์

พรหมจรรย์ชั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น รักษาศีล ๕ ไม่นอกใจภรรยา-สามี

พรหมจรรย์ชั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน คือนอกจากรักษาศีล ๕ แล้วก็ให้รักษาศีล ๘ เป็นคราวๆ ไปและฝึกให้มีพรหมวิหาร ๔

พรหมจรรย์ชั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล ๘ ตลอดชีวิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศเลย หรือออกบวชเป็นพระภิกษุ เจริญสมาธิภาวนา และปฏิบัติธรรมทุกข้อในพระพุทธศาสนาให้เต็มที่

พรหมจรรย์ทุกชั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก

“บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์ชั้นต่ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นเทพด้วยพรหมจรรย์ชั้นกลาง ย่อมหมดจด ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูงสุด” ขุ.ชา.มหา.๒๘/๕๒๖/๑๙๙

เ รื่ อ ง น่ า รู้ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร บ ว ช

ชาวพุทธเรานิยมบรรพชาอุปสมบทกันเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จัดเป็นการ ฝึกประพฤติพรหมจรรย์ ที่ได้ผลดียิ่งวิธีหนึ่ง จึงควรที่พวกเราจะได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับการบวชไว้บ้าง ดังนี้

๑. อายุขณะบวช เยาวชนเพศชาย ถ้ามีเวลา ควรหาโอกาสบรรพชาเป็นสามเณรกันสักช่วงหนึ่ง ระหว่างอายุ ๑๒-๒๐ ปี เพราะช่วงนี้ภาระยังน้อย ยังไม่ค่อยมีกังวล จะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเร็ว หรือไม่เช่นนั้นก็ควรหาเวลาที่เหมาะสมบวชเป็นพระเมื่ออายุ ๒๐-๒๕ ปี หรือเวลาอื่นที่สะดวก แต่ไม่ควรรออายุมากเกินไป เพราะสังขารจะไม่อำนวย จะลุกจะนั่งจะฝึกสมาธิก็ไม่สะดวก ยิ่งกว่านั้นเมื่อมีอายุมากแล้วมักจะมีทิฏฐิ ว่ายากสอนยาก เหมือน ไม้แก่ดัดยาก

๒. ระยะเวลาที่บวช อาจบวชในช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน หรือบวชภาคฤดูร้อน ๑-๒ เดือน บวชในเวลาที่สะดวกลางานได้ หรือบวชตลอดชีวิตก็ได้ แต่ควรบวชนานกว่า ๑ เดือน จะได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยพอสมควร

๓. การเลือกสำนักบวช ข้อนี้สำคัญมาก การบวชจะได้ผลแค่ไหนขึ้นอยู่กับสำนักบวชนี่เอง การเลือกขอให้เลือกสำนักที่มีการกวดขันการประพฤติธรรมและกวดขันพระวินัย สำนักที่ดีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จะมีการอบรมสั่งสอนพระใหม่อย่างใกล้ชิด มีการให้โอวาทเคี่ยวเข็ญให้ปฏิบัติธรรม จนไม่มีเวลาไปฟุ้งซ่านเรื่องอื่น อย่างนี้ดี ส่วนสำนักไหนปล่อยปละละเลย บวชแล้วไม่มีใครสนใจ ปล่อยให้อยู่ตามสบาย บางทีตั้งแต่บวชจนสึก พระใหม่ไม่ได้สนทนาธรรมกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์เลย อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ป่วยการบวช ที่เราบวชก็มุ่งจะฝากตัวให้ท่านอบรมให้ แต่ถ้าท่านไม่เอาใจใส่ เราบวชแล้วก็จะได้กุศลไม่เต็มที่

๔. การรักษาวินัย ต้องคิดไว้เสมอว่า เราจะเป็นพระได้เพราะวินัย ถ้าถอดวินัยออกจากตัวเสียแล้ว แม้จะโกนผมนุ่งผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระ นอกจากจะไม่ใช่พระแล้ว ชาวพุทธยังถือว่าผู้นั้นเป็นโจรปล้นศาสนาอีกด้วย เพราะฉะนั้นต้องศึกษาพระวินัยและรักษาโดยเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นสึกออกมาแล้วจะมาเสียใจจนตายว่าบวชเสียผ้าเหลืองเปล่าๆ

๕. การปฏิบัติธรรม ควรใช้เวลาในการศึกษาพระธรรมวินัย และเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่ งดคุยเฮฮาไร้สาระ

๖. การสงเคราะห์สังคม พระบวช ๓ เดือน ควรเน้นประโยชน์ตน คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นหลัก และก็หาเวลาช่วยเหลืองานหมู่คณะด้วย แต่ต้องไม่ให้เสียการปฏิบัติธรรม ถ้าจะสงเคราะห์ญาติโยม ก็ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี บิณฑบาตก็ให้เป็นระเบียบ จะเดินจะเหินมีกิริยาสำรวมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ให้ญาติโยมเขาได้เห็นเป็นตัวอย่างในความมีวินัยและความสำรวมตน

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ป ร ะ พ ฤ ติ พ ร ห ม จ ร ร ย์

๑. ทำให้ปลอดโปร่งใจ ไม่ต้องกังวลหรือระแวง

๒. ทำให้เป็นอิสระ เหมือนนกน้อยในอากาศ

๓. ทำให้มีเวลามากในการทำความดี

๔. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิตทั้งหลาย

๕. ทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญรุดหน้าไม่ถอยกลับ

๖. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย ฯลฯ

“กามทั้งหลายมีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความพอใจน้อย เป็นบ่อเกิดแห่งความทะเลาะวิวาทกัน ความชั่วเป็นอันมาก เกิดขึ้นเพราะกามเป็นเหตุ...” (นัย มหาทุกขักขันธสูตร) ม.มูล.๑๒/๑๙๘/๑๖๙-๑๗๒

Image
ผู้ไม่ประพฤติอย่างพรหม
............................................................



จบมงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
คนเกิด

Image
คนแก่ คนเจ็บ

Image
คนทุกข์ทรมาน
............................................................



มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจจ์

“เมื่อยังมองไม่เห็นฝั่ง
ผู้ที่ตกอยู่ในทะเลย่อมว่ายวนอยู่ในห้วงทะเลนั้น
โดยไม่รู้จุดหมายฉันใด
เมื่อยังมองไม่เห็นอริยสัจจ์
บุคคลก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์แห่งวัฏฏสงสาร
โดยไม่รู้จบสิ้นฉันนั้น”


แ ม่ บ ท ข อ ง ศ า ส น า

ประเทศมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นแม่บทของกฎหมายอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ทุกศาสนาในโลกต่างก็มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เป็น แม่บทของศาสนานั้นๆ

แม่บทของพระพุทธศาสนาก็คือ อริยสัจจ์ ๔

อ ริ ย สั จ จ์ ๔

อริยสัจจ์ สามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น

- คือความจริงอันประเสริฐ
- คือความจริงอันทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ

อริยสัจจ์ ๔ คือความจริงที่มีอยู่คู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้เราดู ได้แก่

๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ
๒. สมุทัย คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์

ถ้าจะเปรียบกับโรค

ทุกข์ ก็เปรียบเหมือน สภาพที่ป่วยเป็นโรค
สมุทัย ก็เปรียบเหมือน ตัวเชื้อโรค
นิโรธ ก็เปรียบเหมือน สภาพที่หายจากโรค แข็งแรงแล้ว
มรรค ก็เปรียบเหมือน ยารักษาโรคให้หายป่วย

คนทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่มีความทุกข์กันทั้งนั้น เหมือนคนป่วยแต่ก็ไม่รู้ว่าป่วยจากอะไร อะไรเป็นสาเหตุ จะแก้ไขรักษาให้หายป่วยหายทุกข์ได้อย่างไร

ในมงคลนี้ เราจะมาศึกษากันให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของชีวิต ให้รู้กันเลยว่าที่เราทุกข์ๆ กันอยู่ทุกวันนี้น่ะ มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราจะได้รีบปฏิบัติ เพื่อให้พ้นทุกข์กันเสียที

อ ริ ย สั จ จ์ ที่ ๑ ทุ ก ข์

ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ พระพุทธองค์ทรงพบความจริงว่า สรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนตกอยู่ในความทุกข์ จะเป็นมหาเศรษฐี เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็มีทุกข์ทั้งนั้น ต่างแต่เพียงว่าทุกข์มากหรือทุกข์น้อย และมีปัญญาพอที่จะรู้ตัวหรือเปล่าเท่านั้น พระองค์ได้ทรงแยกแยะให้เราเห็นว่า ความทุกข์นี้มีถึง ๑๑ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่

๑. สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ เป็นความทุกข์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องมี ทุกข์ชนิดนี้มี ๓ ประการได้แก่

๑.๑ ชาติ การเกิด
๑.๒ ชรา การแก่
๑.๓ มรณะ การตาย

ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงว่า ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ ส่วนการเกิดกลับถือว่าเป็นสุข เป็นพรพิเศษที่พระเจ้าทรงประทานมาจากสรวงสวรรค์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทำสมาธิมามาก ทรงรู้แจ้งโลกด้วยดวงปัญญาอันสว่างไสว และชี้ให้เราเห็นว่า การเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ ทุกข์ตั้งแต่ต้องขดอยู่ในท้อง พอจะคลอดก็ถูกมดลูกบีบรีดดันออกมา ศีรษะนี่ถูกผนังช่องคลอดบีบจนกระโหลกเบียดซ้อนเข้าหากัน จากหัวกลมๆ กลายเป็นรูปยาวๆ เจ็บแทบขาดใจ เพราะฉะนั้นทันทีที่คลอดออกมาได้ สิ่งแรกที่เด็กทำคือร้องจ้าสุดเสียง เพราะมันเจ็บจริงๆ และการเกิดนี่เองที่เป็นต้นเหตุ เป็นที่มาของความทุกข์อื่นๆ ทั้งปวง ถ้าเลิกเกิดได้เมื่อไหร่ก็เลิกทุกข์เมื่อนั้น

อีกอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจไขว้เขวกันก็คือ คิดว่าชราทุกข์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออายุ ๖๐-๗๐ ปี แต่จริงๆ แล้วทันทีที่เราเริ่มเกิด เราก็เริ่มแก่แล้ว ชราทุกข์เริ่มเกิดตั้งแต่ตอนนั้น และค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ในร่างกายเริ่มแก่ตัวไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ขอให้เข้าใจกันเสียใหม่ด้วย

๒. ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร เกิดกับแต่ละคนด้วยระดับที่ต่างกันไป ไม่แน่นอน เป็นความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจหย่อนสมรรถภาพ ไม่อาจทนต่อเหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบตัวเราได้ ผู้มีปัญญารู้จักฝึกควบคุมใจตนเอง ก็จะสามารถบรรเทาจากทุกข์ชนิดนี้ได้ ทุกข์จรนี้มีอยู่ ๘ ประการ ได้แก่

๒.๑ โสกะ ความโศก ความแห้งใจ ความกระวนกระวาย
๒.๒ ปริเทวะ ความคร่ำครวญรำพัน
๒.๓ ทุกขะ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
๒.๔ โทมนัสสะ ความน้อยใจ ขึ้งเคียด
๒.๕ อุปายาสะ ความท้อแท้กลุ้มใจ ความอาลัยอาวรณ์
๒.๖ อัปปิเยหิ สัมปโยคะ ความขัดข้องหมองมัว ตรอมใจ จากการ ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
๒.๗ ปิเยหิ วิปปโยคะ ความโศกเศร้าโศกาเมื่อพลัดพรากจากของรัก
๒.๘ ยัมปิจฉัง น ลภติ ความหม่นหมองจากการปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น

นี่คือผลการวิจัยเรื่องทุกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญโรค สามารถแยกแยะอาการของโรคให้เราดูได้อย่างละเอียดชัดเจน

“ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ อริยสัจจ์ คือทุกข์ อันเราพึงกำหนดรู้” สํ.ม.๑๙/๑๖๖๖/๕๒๙

อ ริ ย สั จ จ์ ที่ ๒ ส มุ ทั ย

สมุทัย คือเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ฝึกสมาธิมาน้อย หาเหตุแห่งความทุกข์ไม่เจอ จึงโทษไปต่างๆ นานา ว่าเป็นการลงโทษ ของพระเจ้าบ้าง ของผีป่าบ้าง ถ้าเป็นจริงละก็ ผีป่าตนนี้คงใจร้ายน่าดู เที่ยวไปรังแกคนโน้นคนนี้ทั้งวันให้เขามีทุกข์ หน้าคงจะหงิกอยู่ทั้งวัน

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฝึกสมาธิมามาก ใจของพระองค์จึงใสสว่าง เกิดปัญญามองเห็นความจริง อย่างชัดเจนว่า ที่เราทุกข์ๆ กันอยู่นี่ สาเหตุมาจาก ตัณหา คือความทะยานอยาก ที่มีอยู่ในใจของเราเอง แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. กามตัณหา ความอยากได้ เช่น อยากได้เงิน อยากได้ทอง อยากสนุก อยากมีเมียน้อย อยากให้คนชมเชยยกย่อง สรุปคืออยากได้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่น่าพอใจ

๒. ภวตัณหา ความอยากเป็น เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากเป็นนายพล อยากเป็นคุณหญิง ฯลฯ

๓. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็นคนแก่ อยากไม่เป็นคนขี้โรค ฯลฯ

มนุษย์เราเกิดมาจากตัณหา ลอยคออยู่ในตัณหา เคยชินกับตัณหา คุ้นเคยกันกับตัณหา จนเห็นตัณหาเป็นเพื่อนสนิท กินด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ถ้าขาดตัณหาแล้ว เขากลัวว่าจะขาดรสของชีวิตที่เคยได้ เคยอยู่ เคยเป็น แต่ตามความเป็นจริง ตัณหานั้นถ้าเป็นเพื่อนก็คือเพื่อนเทียม ที่คอยหลอกล่อนำทุกข์ มาให้เราแล้วก็ยืนหัวเราะชอบใจ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ ทรงแยกแยะสาเหตุของโรค สาเหตุของทุกข์ ให้เราเห็นว่ามาจากอะไร เชื้อโรคชนิดไหน กิเลสชนิดใด

“ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย อันเราพึงละ” สํ.ม.๑๙/๑๖๖๗/๕๒๙

อ ริ ย สั จ จ์ ที่ ๓ นิ โ ร ธ

นิโรธ คือความดับทุกข์ หมายถึง สภาพใจที่หมดกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง ทำให้หมดตัณหาจึงหมดทุกข์ มีใจหยุดนิ่งสงบตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย มีความสุขล้วนๆ

ผู้ที่ฝึกสมาธิมาน้อย หรือปฏิบัติไม่ถูกทาง ยังเข้าไม่ถึงนิพพาน จึงไม่รู้จักความหมดทุกข์ที่แท้จริง ก็มักเข้าใจกันว่า การได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์นั้น คือความหมดทุกข์ แต่แท้ที่จริงนั้น ต่อให้ได้ขึ้นสวรรค์ เป็นเทวดานางฟ้าจริงๆ ก็ยังวนเวียนอยู่แค่ในกามภพเท่านั้น สูงกว่าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ยังมีรูปพรหมอีก ๑๖ ชั้น อรูปพรหมอีก ๔ ชั้น ซึ่งก็ยังไม่หมดทุกข์ จะหมดทุกข์จริงๆ ต้องฝึกจนกระทั่งหมดตัณหา ดับความทะยานอยากต่างๆ โดยสิ้นเชิง หมดกิเลสเข้านิพพานเท่านั้น

“ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ อริยสัจจ์ คือทุกขนิโรธ อันเราพึงทำให้แจ้ง” สํ.ม.๑๙/๑๖๖๘/๕๓๐

อ ริ ย สั จ จ์ ที่ ๔ ม ร ร ค

มรรค คือวิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์ ศาสนาฝ่ายเทวนิยมมองเหตุแห่งทุกข์ไม่ออก จึงยกให้เป็นการลงโทษของสิ่งลึกลับ ของพระเจ้า ดังนั้นจึงหาวิธีพ้นทุกข์ผิดทาง ไปอ้อนวอนบวงสรวงให้พระเจ้าช่วย ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับว่า เราป่วยเป็นไข้มาเลเรีย แล้วมีคนมาบอกเราว่า ที่เราเป็นอย่างนี้เพราะมีผีจากป่าจากเขามาลงโทษเรา แล้วก็แนะให้เราเซ่นไหว้อ้อนวอนกับผีสางเหล่านั้น เพื่อให้เราหายโรค ซึ่งความจริงการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทางดับทุกข์เลย

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ เห็นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดทุกข์ชัดเจน แล้วก็ทรงสอนเราว่า ที่เราป่วยเราทุกข์ก็เพราะเจ้าตัณหาซึ่งเปรียบเหมือนเชื้อโรคนี่เอง ถ้าต้องการหายจากโรคก็ต้องกำจัดเจ้าเชื้อโรคนั้นให้หมดไป โดยพระองค์ทรงมอบยาดีไว้ให้เราใช้กำจัดเชื้อโรคนั้นด้วย ซึ่งก็คือ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ใจหยุดใจนิ่ง ปราบทุกข์ได้ รวม ๘ ประการ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เบื้องต้น คือความเห็นถูกต่างๆ เช่น เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเราจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง ฯลฯ เบื้องสูงคือเห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์

๒. สัมมาสังกัปปะ มีความคิดชอบ คือคิดออกจากกาม คิดไม่ผูก พยาบาท คิดไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกแยก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ อวดอ้างความดีของตัว หรือทับถมคนอื่น

๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และประพฤติพรหมจรรย์ เว้นจากการเสพกาม

๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือเลิกการประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด แล้วประกอบอาชีพในทางที่ถูก

๖. สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ คือเพียรป้องกันบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียรสร้างกุศลคุณความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรบำรุงกุศลคุณความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น

๗. สัมมาสติ มีความระลึกชอบ คือไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน มีสติรู้ตัวระลึกได้ หมั่นตามเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมอยู่เสมอ

๘. สัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นชอบ คือมีใจตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ตามเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จนบรรลุฌานขั้นต่างๆ ไปตามลำดับ จากสมาธิที่เป็นระดับโลกียะ ไปสู่สมาธิที่เป็นระดับโลกุตตระ

มรรคทั้ง ๘ ข้อนี้ ถ้าขยายออกไปแล้ว ก็จะได้แก่คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าย่อเข้าก็จะได้แก่ไตรสิกขา หัวใจพระพุทธศาสนา ดังนี้

ศีล แยกออกเป็น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

สมาธิ แยกออกเป็น สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ปัญญา แยกออกเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ


มรรคทั้ง ๘ ข้อนี้ ให้ปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะเป็นไปได้ขณะใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิ ทำให้เห็นอริยสัจจ์ได้อย่างชัดเจนและพ้นทุกข์ได้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตตามวิถีของเหตุผล ไม่ต้องไปวิงวอนพระเจ้าหรือใครๆ

“ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ อริยสัจจ์ คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อันเราพึงบำเพ็ญ” สํ.ม.๑๙/๑๖๖๙/๕๓๐

ก า ร เ ห็ น อ ริ ย สั จ จ์

อ่านอริยสัจจ์มาถึงตรงนี้ เรารู้แล้วว่าทุกข์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง อะไรที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้มรรคมีองค์ ๘ จำได้หมด แต่นี่ยังไม่เรียกว่าเห็นอริยสัจจ์ เป็นแต่เพียงท่องจำอริยสัจจ์ได้เท่านั้น

การเห็นอริยสัจจ์แต่ละข้อ จะต้องเห็นถึง ๓ รอบ รวม ๔ อริยสัจจ์ เท่ากับ เห็นถึง ๑๒ ครั้ง เราเรียก รอบ ๓ อาการ ๑๒ ของอริยสัจจ์

การเห็นอริยสัจจ์แปลกกว่าการเห็นอย่างอื่น คือเมื่อเห็นแล้วจะสามารถทำได้ด้วย เช่น เห็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ว่า คือตัณหา ก็จะเห็นว่าตัณหาควรละ และก็ละตัณหาได้ด้วย เป็นการเห็นที่บริบูรณ์จริงๆ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการรู้เรื่องยา จะเป็นความรู้ที่บริบูรณ์ ก็ต้องรู้อย่างนี้ คือ

รู้ว่า นี่เป็นยา
รู้ว่า ยานี้ควรกิน
รู้ว่า ยานี้เราได้กินแล้ว

การเห็นอริยสัจจ์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเห็นข้อใดข้อหนึ่ง ข้อที่เหลือก็จะเห็นหมด เช่น เมื่อเห็นทุกข์ก็จะเห็นสมุทัย นิโรธ มรรค ด้วย เห็นสมุทัย ก็จะเห็นทุกข์ นิโรธ มรรค ด้วย

จะเห็นพร้อมกันทั้งหมด เพราะไม่ใช่การเห็นด้วยตาหรือการนึกคิดเห็นธรรมดา แต่เป็นการเห็นด้วยธรรมจักษุ

อริยสัจจ์ ๔ ข้อ
- ทุกข์
- สมุทัย
- นิโรธ
- มรรค

เห็นรอบที่ ๑ ว่า

อุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์
ความสิ้นตัณหาเป็นนิโรธ
มรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

เห็นรอบที่ ๒ ว่า

ทุกข์ควรกำหนดรู้
ตัณหาควรละ
นิโรธควรทำให้แจ้ง
มรรคมีองค์ ๘ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์

เห็นรอบที่ ๓ ว่า

ทุกข์ (เรา) ได้รู้แล้ว
ตัณหา (เรา) ได้ละแล้ว
นิโรธ (เรา) ได้ทำให้แจ้งแล้ว
มรรคมีองค์ ๘ (เรา) ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว

ผู้ ที่ ส า ม า ร ถ เ ห็ น อ ริ ย สั จ จ์ ไ ด้

คนทั้งหลายอาจแบ่งตามคุณความดีในตัวได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส ได้แก่ คนทั่วไปทั้งหลาย ซึ่งก็มีดีบ้างเลวบ้างคละกันไป แม้ในคนเดียวกัน บางครั้งก็ทำดี บางทีก็ทำชั่ว

๒. โคตรภูบุคคล หมายถึงบุคคลผู้กำลังเปลี่ยนโคตร คือเปลี่ยนจากปุถุโคตรเป็นอริยโคตร ได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงโคตรภูญาณแล้ว มีกิเลสเบาบางลง เป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนเท้าซ้ายเหยียบบนโลก เท้าขวาเหยียบบนนิพพาน ถ้าตั้งใจเจริญภาวนาต่อไปก็จะขจัดกิเลสได้เป็นขั้นๆ ไปตามลำดับ เข้าถึงภูมิธรรมที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น กลายเป็นพระอริยบุคคล แต่ถ้าโคตรภูบุคคลท้อถอยในการทำความดี ไม่หมั่นเจริญภาวนาต่อไป ก็จะถอยหลังกลับมาเป็นปุถุชน เป็นผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลสอีกเช่นเดิม

๓. พระอริยบุคคล หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งสามารถกำจัดกิเลสต่างๆ ออกได้ไปตามลำดับจนหมดไปในที่สุด มีใจตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีอย่างแน่นแฟ้น ยึดมั่นในพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไม่เปลี่ยนแปลง จะไม่ถอยหลังกลับมาเป็นปุถุชนทำความชั่วอีกอย่างเด็ดขาด เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน แบ่งออกได้เป็น ๔ ระดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

ผู้ที่จะสามารถเห็นอริยสัจจ์ได้คือ ตั้งแต่โคตรภูบุคคลที่เข้าถึงโคตรภูญาณจนชำนาญแล้ว ไปจนถึงพระอริยบุคคลทุกระดับ

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร เ ห็ น อ ริ ย สั จ จ์

การเห็นอริยสัจจ์ ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์ จะเห็นได้ด้วยธรรมจักษุเท่านั้น เมื่อเราเห็นอริยสัจจ์ด้วยธรรมจักษุแล้ว เราก็จะเข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของโลกและชีวิตว่ามีแต่ทุกข์ ที่ว่า สุขๆ กันนั้น แท้ที่จริงก็คือ ช่วงขณะที่ความทุกข์น้อยลงนั่นเอง เราจะเข้าใจถึงคุณค่าของบุญกุศล อันตรายความน่าขยะแขยงของบาป เป็นความเข้าใจที่เข้าไปในใจจริงๆ

เวลามีความทุกข์หรือไปทำอะไรไม่ดีเข้า ก็จะเห็นเลยว่า บาปเกิดขึ้นที่ใจอย่างไร เราจะเห็นบาปมาหุ้มเคลือบ หมักดองใจของเราให้ดำมืดไป เหมือนลืมตามองเห็นดวงแก้วกลมใส ที่มีฝุ่นผงละอองมาเคลือบมาจับอย่างนั้น

และเวลาทำความดี ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะเห็นบุญกุศลที่เกิดขึ้นมาชำระล้าง หล่อเลี้ยงใจเราให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส สว่างไสวขึ้น เหมือนมองเห็นดวงแก้ว ที่เอาน้ำชำระล้างแล้ว สะอาดแวววาวใสบริสุทธิ์ขึ้นอย่างนั้น

เมื่อรู้เห็นเข้าใจอย่างนี้แล้ว ย่อมมีใจตั้งมั่นอยู่ในความดี หมั่นบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ มีใจหยุดนิ่ง ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เกิดปัญญาสว่างไสว รู้เห็นสิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริง กิเลสต่างๆ ก็ค่อยๆ ล่อนหลุดไปจากใจ จนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารได้

“เราและพวกท่าน ท่องเที่ยวไปแล้วในชาตินั้นๆ สิ้นระยะกาลนาน เพราะไม่เห็นอริยสัจจ์ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจจ์ ๔ เหล่านี้นั้น อันเราและพวกท่านเห็นแล้ว ตัณหาผู้นำไปสู่ภพ อันเราและพวกท่านถอนขึ้นแล้ว รากเหง้าของทุกข์ อันเราและพวกท่านตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี (แก่เราและพวกท่าน)” สํ.ม.๑๙/๑๖๙๙/๕๔๑

Image
คนตาย

Image
คนยืนมองภาพที่เกิดขึ้น
............................................................



จบมงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจจ์
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 4:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอริยบุคคล
............................................................



มงคลที่ ๓๔ ทำนิพพานให้แจ้ง

“มีที่ไหนในโลกนี้บ้าง ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง ไม่มี
เจ้าชายสิทธัตถะทำไมจึงออกบวช จะหาที่ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง
แล้วพบไหม พบแล้ว
อยู่ที่ใด นิพพาน
มีใครตามพระองค์ไปได้บ้างไหม มากมาย
แล้วนิพพานอยู่ที่ไหน นั่นซิ จึงต้องมาศึกษากัน”


นิ พ พ า น คื อ อ ะ ไ ร ?

นิพพาน มีคำแปลได้หลายอย่าง เช่น

- แปลว่า ความดับ ความสูญ คือดับกิเลส ดับทุกข์ สูญจากกิเลส สูญจากทุกข์
- แปลว่า ความพ้น คือพ้นทุกข์ พ้นจากภพสาม

นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่เจ็บตาย เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นบรมสุข เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายแห่ง อาทิเช่น

“นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพาน สุขอย่างยิ่ง” ม.ม.๑๓/๒๘๗/๒๘๑

“ความเกิดแห่งนิพพานใดย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ” ขุ.จู.๓๐/๖๕๙/๓๑๕

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์” ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๒๐๖

“โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด” ม.มูล.๑๒/๓๙๑/๔๒๑

“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น แม้ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ” วิ.จุลฺล. ภาค ๒ ๗/๔๖๑/๒๒๗

“นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่ง เป็นที่ที่ความทุกข์ดับไป” ขุ.เถร.๒๖/๓๐๙/๓๐๕


ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใด ผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง นิ พ พ า น

นิพพานมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานเป็น ทุกคนที่ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้สมบูรณ์ สามารถเข้าถึงนิพพานนี้ได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็นๆ อยู่เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้านิพพานเป็นนี้ได้ เมื่อวันที่พระองค์ตรัสรู้

นิพพานเป็น เป็นเหมือนหลุมหลบภัยในตัว เรามีทุกข์โศกโรคภัยใดๆ พอเอาใจจรดเข้าไปในนิพพาน ความทุกข์ก็จะหลุดไปหมด จะตามไปรังควาน ไปบีบคั้นใจเราไม่ได้ พระอรหันต์มีใจจรดนิ่งในนิพพานตลอดเวลา จึงไม่มีทุกข์อีกเลย

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานตาย เป็นเหตุว่างนอกภพสาม ผู้ที่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เมื่อเบญจขันธ์ดับ (กายเนื้อแตกทำลายลง) ก็จะเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานนี้

ผู้ ที่ ส า ม า ร ถ ท ำ นิ พ พ า น ใ ห้ แ จ้ ง ไ ด้

ผู้ที่จะทำนิพพานให้แจ้งได้ก็คือ พระอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคล

บางท่านอาจนึกสงสัยว่า ก็เห็นบอกว่า ผู้ละกิเลสได้แล้วจึงจะเข้านิพพานได้ แล้วตอนนี้มาบอกว่า โคตรภูบุคคลซึ่งยังไม่ได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็เข้านิพพานได้ จะไม่เป็นการขัดกันเองหรือ

คำตอบคือ ไม่ขัดกัน เพราะโคตรภูบุคคลนั้น เมื่อเอาใจจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้นก็หมดทุกข์ กิเลสทำอะไรไม่ได้ แต่ทว่าใจยังจรดอยู่ในนิพพานได้ไม่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ใจถอนออกมาก็ยังต้องมีทุกข์อยู่ เหมือนตัวของเรา ถ้าหากเป็นแขกรับเชิญไปเที่ยวพักผ่อนยังปราสาทใหญ่ ระหว่างที่พักอยู่ในนั้นก็มีความสุขสบาย แต่ก็อยู่ได้ชั่วคราวเพราะยังไม่ได้เป็นเจ้าของเอง เมื่อไหร่ครบกำหนดกลับ ก็ต้องออกจากปราสาทมาสู้เหตุการณ์ภายนอกใหม่

โ ค ต ร ภู ญ า ณ เ ห็ น นิ พ พ า น ไ ด้ แ ต่ ยั ง ตั ด กิ เ ล ส ไ ม่ ไ ด้

“ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณจะเห็นนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลสอันเป็นกิจที่ต้องทำ” สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๑๑๕

โ ค ต ร ภู ญ า ณ ล ะ กิ เ ล ส ไ ด้ ชั่ ว ค ร า ว

“การละภาวะที่มีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า ตทังคปหาน (ละชั่วคราว)” ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ หน้า ๔๓

ตั ว ข อ ง เ ร า จ ะ เ ข้ า นิ พ พ า น ไ ด้ ห รื อ ไ ม่ ?

คำตอบคือ “ได้” โดยจะต้องตั้งใจเจริญภาวนาไปจนเข้าถึงโคตรภูญาณ เป็นโคตรภูบุคคล จากนั้นฝึกต่อไปจนเข้าถึงภาวะความเป็นอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปตามลำดับ ก็จะเห็นอริยสัจจ์ และทำนิพพานให้แจ้งได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ในที่สุดก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่ยากจนเกินไปที่เราจะปฏิบัติได้ เพราะถ้ายากเกินไปแล้ว คงไม่มีพระอรหันต์เป็นล้านๆ รูปในสมัยพุทธกาล ถ้านิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปได้พระองค์เดียว คนอื่นไปไม่ได้เลย ก็จะบอกว่ายาก แต่จริงๆ แล้วมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ตั้งใจฝึกสมาธิจนเกิดปัญญาเข้านิพพานได้มากมาย แสดงว่าไม่ยากจนเกินไป แต่แน่นอนก็คงไม่ง่าย เพราะถ้าง่ายเราก็คงเข้าไปตั้งนานแล้ว

เพราะฉะนั้นตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่งเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้แล้วเข้านิพพานได้ ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหาก อย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อนว่าจะทำไม่ได้ ถ้าทำจริงแล้วต้องได้

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ท ำ นิ พ พ า น ใ ห้ แ จ้ ง

๑. ทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

๒. ทำให้จิตไม่โศก

๓. ทำให้จิตปราศจากธุลี

๔. ทำให้จิตเกษม ฯลฯ

“ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” ขุ.ธ.๒๕/๒๕/๔๒


จบมงคลที่ ๓๔ ทำนิพพานให้แจ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
คนต้องการสรรเสริญ

Image
ประจบสอพลอ

Image
คนอยากได้อยากมีทอง มีเสื้อผ้า
............................................................



มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

“ภูเขาศิลาล้วนย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
เพราะแรงลมฉันใด
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น”


จิ ต ไ ม่ ห วั่ น ไ ห ว ใ น โ ล ก ธ ร ร ม คื อ อ ะ ไ ร ?

จิตหวั่น คือความหวั่นหวาดกังวล กลัวว่าจะประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ

จิตไหว คือความปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักที่ชอบใจ

โลกธรรม คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นประจำโลก ใครๆ ก็ต้องพบ หลีก เลี่ยงไม่ได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสบ มีอยู่ ๘ ประการ แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

ก. ฝ่ายที่คนทั่วไปปรารถนาอยากได้ คือ

๑. ได้ลาภ คือการได้ผลประโยชน์ เช่น ได้ทรัพย์ ได้บุตร-ภรรยา ได้บ้าน ได้ที่ดิน ได้เพชรนิลจินดาต่างๆ เป็นต้น

๒. ได้ยศ คือการได้รับตำแหน่ง ได้รับฐานะ ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต

๓. ได้สรรเสริญ คือการได้ยินได้ฟังคำชมเชย คำยกยอ คำสดุดีที่คนอื่นให้เรา

๔. ได้สุข คือได้รับความสบายกายสบายใจ ได้ความเบิกบานร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ ยังไม่ได้ก็คิดหา ครั้น หาได้แล้วก็คิดหวง หวงมากๆ เข้าก็หึง การที่จิตมีอาการ หา-หวง-ห่วง-หึง นี่แหละ เรียกว่า จิตไหว

ข. ฝ่ายที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตน คือ

๑. เสื่อมลาภ คือผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วเสียไป เช่น เสียเงิน เสียที่อยู่ ลูกรักตายเสีย เมียรักตายจาก

๒. เสื่อมยศ คือถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ

๓. ถูกนินทา คือถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่าในที่ต่อหน้าหรือลับหลัง

๔. ตกทุกข์ คือได้รับความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางใจ

ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้วก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก

จิ ต ไ ม่ ห วั่ น ไ ห ว ใ น โ ล ก ธ ร ร ม ห ม า ย ถึ ง อ ะ ไ ร ?

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึง สภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว มีใจตั้งมั่น เกิดความมั่นคงหนักแน่นดุจขุนเขา เป็นอุเบกขาวางเฉยได้

เมื่อพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ จิตก็ไม่หวั่น

เมื่อพบกับความได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ เป็นสุข จิตก็ไม่ไหว

เพราะรู้เท่าทันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนอะไร ลาภมีได้ก็เสื่อมได้ ยศตำแหน่งใหญ่โต ก็ไม่ใช่ของเราตลอดไป สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทุกคนต้องพบทั้งนั้น และในที่สุดก็ต้องเสื่อมหายไป เป็นธรรมดาตามกฎของไตรลักษณ์

ไ ต ร ลั ก ษ ณ์

ไตรลักษณ์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือลักษณะประจำของทุกสรรพสิ่งในโลก

ของต่างๆ ในโลกก็มีคุณสมบัติต่างกันไป เช่น ทองก็มีสีออกเหลืองๆ สะท้อนแสงมีประกายแวววาว กระจกก็ใส เพชรก็แข็ง คนเราก็มีชีวิตจิตใจรู้จักคิด แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม จะมีลักษณะ ๓ ประการ ที่เหมือนกันหมดคือ

๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่หยุดอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่น บ้านเรือนก็ต้องเก่าคร่ำคร่าทรุดโทรมไป คนเราวันนี้กับเมื่อวานก็ไม่เหมือนกัน มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เป็นธรรมดา

๒. ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเป็นทุกข์ร้องไห้น้ำตาตก แต่หมายถึงการคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องแตกดับเพราะเมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้ว มันก็ต้องแตกดับ เช่น บ้านก็ต้องพัง คนเราก็ต้องตาย แม้โลกที่เราอยู่นี้ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และวันหนึ่งก็ต้องทำลายลง

๓. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาไม่ได้ เช่น ตัวเราจะบังคับไม่ให้แก่ก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้ป่วยไข้ก็ไม่ได้ บ้านบังคับไม่ให้เก่าก็ไม่ได้ และตัวของเราถ้ามาแยกธาตุกันจริงๆ แล้วก็จะพบว่าประกอบขึ้นด้วยเลือด เนื้อ กระดูก ฯลฯ เท่านั้น หาตัวตนจริงๆ ไม่เจอ เป็นเพียงการประชุมแห่งธาตุประกอบกันขึ้นมาชั่วคราว พอตายธาตุต่างๆ ก็แยกสลายจากกัน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

คนทั้งโลกมองไม่เห็นไตรลักษณ์ จึงลุ่มหลงมัวเมายินดียินร้ายหวั่นไหวในโลกธรรม ต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอดมา

ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ท่านเห็นนิพพาน ซึ่งอยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พ้นการเวียนว่ายตายเกิด มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นบรมสุขที่ไม่กลับทุกข์อีก จึงไม่ใยดีในโลกธรรม ไม่ขุ่นมัว ไม่หลงใหล ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ซึ่งเป็นของไม่เที่ยงอยู่ในกฎของไตรลักษณ์

ท่านจะได้ลาภ ได้ยศ มีคนสรรเสริญยกย่อง หรือเป็นสุข ท่านก็เฉยๆ จิตไม่ไหว

ท่านจะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้าย หรือตกทุกข์ ท่านก็เฉยๆ จิตไม่หวั่น

คนทั่วไปเวลาป่วยไข้ มักเกิดความทุกข์ทั้งกายทั้งใจ แต่ผู้ที่ทำนิพพาน ให้แจ้งแล้ว ใจจรดอยู่ในนิพพาน ไม่ว่าจะเกิดความทุกข์อะไรอันเนื่องมาจากสังขารนี้ก็ตาม ทุกข์นั้นจะหยุดอยู่แค่กาย กินเข้าไปไม่ถึงใจท่าน ท่านมีจิตที่มั่นคงตลอด

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

โบราณท่านสอนว่า อยากจะรู้ว่าใครถึงคราวตกทุกข์ได้ยากแล้วจะพิลาปรำพันโอดครวญแค่ไหน ให้ดูอย่างนี้

ถ้าคนนั้นเวลาดีใจ ได้ของถูกใจ ก็หัวเราะฮ่าๆ ก็รู้เลยว่า เมื่อถึงคราวเสียใจ เสื่อมลาภ เขาก็จะร้องไห้โฮๆ เป็นช้างร้องเชียว

ตรงกันข้าม ถ้าเวลาดีใจเขาก็แค่ยิ้มๆ ก็รู้เลยว่าถึงตอนเสียใจ อย่างมากก็คงจะแค่กัดฟัน หรือนิ่งไปสักพักแล้วก็หาย นี่เป็นอย่างนี้

ท่านจึงให้ข้อเตือนใจไว้ว่า “ถ้าดีใจก็จงยิ้มเพียงมุมปากเดียว เมื่อถึงคราวเสียใจจะได้ไม่ถึงกับร้องไห้”

และยังให้กำลังใจสำหรับผู้ตกอยู่ในความทุกข์อีกว่า “ยิ่งมืดเท่าไร แสดงว่ายิ่งดึก ยิ่งดึกเท่าไร ก็แสดงว่ายิ่งใกล้สว่าง”

เพราะฉะนั้นจะเจอความทุกข์ขนาดไหน ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาปานใด สู้ทนทำความดีไปเถิด ยิ่งเจอหนักมากขึ้นแสดงว่ามันใกล้จะพ้นแล้วละ เหมือนยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง

นอกจากนี้เราทุกคนจะต้องตั้งใจฝึกสมาธิภาวนากัน จนใจหยุดใจนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ เกิดปัญญาสว่างไสว เห็นอริยสัจจ์ ๔ และทำนิพพานให้แจ้ง ให้ได้ จึงจะมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมอย่างแท้จริง

Image
คนขออาจารย์ใบ้หวย

Image
ขูดหาเลขที่ต้นไม้

Image
คนร่อนทองในแม่น้ำ
............................................................



จบมงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ชายหญิงที่ปราศจากมลทิน
............................................................



มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก

“สัตว์ทั้งหลายแม้พญาราชสีห์
หากติดบ่วงนายพราน ก็ย่อมสิ้นกำลังและอำนาจ
ได้รับแต่ความทุกข์ทรมานฉันใด
คนทั้งหลายแม้มีฤทธิ์อำนาจมากเพียงใด
หากติดบ่วงสิเน่หา ก็ย่อมสิ้นฤทธิ์หมดอำนาจ
มีจิตโศก เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานฉันนั้น”


จิ ต โ ศ ก คื อ อ ะ ไ ร ?

คำว่า โศก มาจากภาษาบาลีว่า โสกะ แปลว่า แห้ง

จิตโศก จึงหมายถึง สภาพจิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้งหมดความชุ่มชื่น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้ง หม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด ไม่อยากทำการงาน

“เปมโต ชายตี โสโก ความโศกเกิดจากความรัก” ขุ.ธ.๒๕/๒๖/๔๓

จะเป็นรักคน สัตว์ หรือสิ่งของ ก็ทำให้เกิดความโศกได้ทั้งนั้น แต่ที่หนักก็มักจะเป็นเรื่องคน โดยเฉพาะความรักของชายหนุ่มหญิงสาว

ปกติใจของคนเราซนเหมือนลิง ชอบคิดโน่นคิดนี่ รับอารมณ์อย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวจะฟังเพลงเพราะๆ เดี๋ยวไม่เอาอีกแล้วกินขนมดีกว่า กินอิ่มแล้ว ไม่เอานอนดีกว่า เดี๋ยวเที่ยวดีกว่า เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่อยู่ในอารมณ์ใดนานๆ

แต่แปลก พอใจของเราไปเจออารมณ์รักเข้าเท่านั้นแหละ มันไม่เปลี่ยน ติดหนับเหมือนลิงติดตังเลย

พูดถึงลิงติดตัง บางท่านอาจไม่เข้าใจ ตังก็คือยางไม้ที่เขาเอาไปเคี่ยวจนเหนียวหนับ แล้วเอาไปป้ายไว้ตามต้นไม้ ตามที่ต่างๆ ไว้ดักนก ดักสัตว์เวลาสัตว์มาเกาะติดเข้าจะดิ้นไม่หลุด

ลิงเวลามาเจอตังเข้า มันจะใช้ขาข้างหนึ่งแหย่ดูตามประสาซน พอติดหนับดึงไม่ขึ้น ก็จะใช้ขาอีกข้างมาช่วยยัน ขาข้างนั้นก็ติดหนับเข้าอีก จะใช้ขาอีก ๒ ข้างมาช่วย ก็ติดตังหมดทั้ง ๔ ขา ใช้ปากช่วยดัน ปากก็ติดตังอีก ตกลงทั้ง ๔ ขา และปากติดตังแน่นอยู่อย่างนั้น ดิ้นไม่หลุด รอให้คนมาจับไป นี่ลิงติดตัง

คนเราก็เหมือนกัน ลงได้รักละก็ จะเป็นหนุ่มรักสาวหรือสาวรักหนุ่มก็ตาม ทีแรกก็บอกว่าจีบไปอย่างนั้นเอง แต่พอผ่านไปพักเดียวเท่านั้นถอนตัวไม่ออก ร้อง “ไม่เห็นหน้าเจ้า กินข้าวบ่ลง” กันเชียวละ

คำว่า เสน่ห์ ในภาษาไทยเราแปลว่า ความน่ารัก แต่คำคำนี้มาจากภาษาบาลีว่า สิเนหะ แปลว่า ยางเหนียว ตรงตัวเลย ถ้าใครมาบอกเราว่า แม่คนนั้นเสน่ห์แรงจัง ให้รู้ตัวไว้เลยว่าแม่นั่นน่ะยางเหนียวหนับเลย อย่าไปเข้าใกล้นะ เดี๋ยวติดยางเหนียวเข้าเป็นลิงติดตัง แล้วจะดิ้นไม่หลุด

ตอนรักเขายังไม่เท่าไร แต่ว่ารักเขาแล้วเขาไม่รักเราสิ หรือเมื่อความรักกลายเป็นอื่นเข้า หรือเขาตายจากเราไปก็ตาม ใจมันจะแห้งผากขึ้นมาทีเดียว แต่ก่อนเคยชอบรับอารมณ์อย่างนั้นอย่างนี้ พอถึงตอนนี้ใครจะมาร้องเพลงให้ฟังก็รำคาญ จะชวนไปเที่ยวดูหนังก็รำคาญ จะร้อง จะรำ จะเล่นอะไร รำคาญไปหมด ข้าวยังไม่อยากจะกิน ใจมันแห้งผาก ซึมเซา รับอารมณ์ไม่ไหว คืออาการที่เรียกว่า จิตโศก

บางคนอาจนึกว่า ก็แล้วถ้าความรักสมหวัง ก็คงไม่เป็นไร จิตไม่โศกละซี แต่ในความเป็นจริงน่ะ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะเราก็รู้อยู่แล้วว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แตกดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นลงว่าใครได้รักอะไรเข้าละก็ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของ ก็ให้เตรียมตัวโศกเอาไว้ได้ ถ้ารักมากก็โศกมาก รักน้อยก็โศกน้อย รักหลายๆ อย่าง ก็โศกถี่หน่อย นี่เป็นอย่างนี้ โบราณท่านสรุปเตือนสติไว้ว่า

ผู้ใดมีความรักถึง ๑๐๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑๐๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๙๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๙๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๘๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๘๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๔๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๔๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๒๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๒๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๑๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑๐
ผู้ใดมีความรักถึง ๕ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๕
ผู้ใดมีความรักถึง ๔ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๔
ผู้ใดมีความรักถึง ๓ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๓
ผู้ใดมีความรักถึง ๒ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๒
ผู้ใดมีความรักถึง ๑ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑

“ผู้ใดไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส คือความตรอมใจ ความกลุ้มใจ” ขุ.อุ.๒๕/๑๗๖/๒๒๕

โบราณท่านสรุปเป็นข้อเตือนใจไว้ว่า “มากรักก็มากน้ำตา หมดรักก็หมดน้ำตา มากรักก็มากทุกข์ หมดรักก็หมดทุกข์”

ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ

ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ขณะที่ใจท่านจรดอยู่ในนิพพาน ความรักเข้าไปรบกวนท่านไม่ได้ ตัดรักได้ ใจท่านจึงไม่แห้ง ไม่มีโศก

พวกเราปุถุชนทั่วไป แม้ยังไม่สามารถตัดรักได้เด็ดขาด แต่ถ้าหมั่นทำ สมาธิ เจริญมรณานุสติเป็นประจำ ก็จะทำให้ความรักมามีอิทธิพลเหนือใจเราไม่ได้มาก มีสติดี มีความเด็ดเดี่ยว ก็จะมีจิตโศกน้อยกว่าคนทั่วไป อาการ ไม่หนักหนาสาหัสนัก เพราะนึกถึงความตายแล้วทำให้ใจคลายออกจากรัก ซึ่งเป็นต้นทางของความโศก พอคิดว่าเราเองก็ต้องตาย จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ เท่านี้ก็เริ่มจะได้คิด ความโศกความรักเริ่มหมดไปจากใจ มีสติมาพิจารณาตนเอง ไม่ประมาท ขวนขวายในการสร้างความดี จากนั้นตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาเต็มที่ ก็จะสามารถทำนิพพานให้แจ้งได้ และตัดความรัก ตัดความโศกออกจากใจได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

“ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ อันมากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก

เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ เหล่านี้ย่อมไม่มี

ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก

เพราะเหตุนั้น ผู้ใดปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารใดในโลกไหนๆ ให้เป็นที่รักเลย” ขุ.อุ.๒๕/๑๗๖/๒๒๕-๒๒๖



จบมงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ความโศกเศร้า
............................................................



มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี

“บัวย่อมมีใบ
อันหยาดน้ำไม่อาจเกาะติดได้ฉันใด
ผู้ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
ก็ย่อมมีจิต
อันธุลีกิเลสไม่อาจเกาะติดได้ฉันนั้น”


จิ ต ป ร า ศ จ า ก ธุ ลี คื อ อ ะ ไ ร ?

ธุลี แปลว่า ฝุ่นละอองที่ละเอียดมาก ในที่นี้หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่เกาะ ซึม แทรก หุ้มใจของเราอย่างซ่อนเร้นบางๆ ทำให้ความผุดผ่อง ความใสสะอาดเสียไป ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็นไม่รู้

จิตปราศจากธุลี หมายถึง จิตที่หมดกิเลสแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด อย่างถอนรากถอนโคน ไม่มีทางฟื้นกลับเข้ามาในใจได้อีก ทำให้จิตสะอาดผ่องใส นุ่มนวลควรแก่การงาน ได้แก่จิตของพระอรหันต์

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง กิ เ ล ส

กิเลสในใจคนมีอยู่ ๓ ตระกูลใหญ่ คือตระกูลราคะ โทสะ โมหะ กิเลสแต่ละตระกูลก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ที่หยาบมากๆ เห็นได้ชัดเจนเหมือนขยะมูลฝอย และเล็กลงเหมือนฝุ่นผง จนถึงที่ละเอียดมากๆ เหมือนธุลี บางคนเจอแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นกิเลส มองไม่ออก ดังนี้

๑. ตระกูลราคะหรือโลภะ คือความกำหนัดยินดี รัก อยากได้ ในคน สัตว์ สิ่งของ หรืออารมณ์ที่น่าใคร่ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้

๑.๑ อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภอย่างแรงจนกระทั่งแสดงออกมา เช่น ปล้น จี้ ลักขโมย

๑.๒ อภิชฌา ความเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น จ้องๆ จะเอาของเขาละ แต่ยังสงวนท่าที ไม่แสดงออก

๑.๓ โลภะ ความอยากได้ในทางทุจริต อยากได้ในทางที่ไม่ชอบ แต่ยังไม่แสดงออก

๑.๔ ปาปิจฉา ความอยากได้โดยวิธีสกปรก เช่น อยากได้สตางค์เลยไปเล่นการพนัน ไม่รักษาเกียรติ ไม่รักษาชื่อเสียงของตน

๑.๕ มหิจฉา ความอยากใหญ่ ความมักมาก เช่น รับประทานอาหาร วงเดียวกันก็คว้าเอากับอร่อยๆ ไปรับประทานเสียคนเดียว ไม่เกรงใจคนอื่น ไม่ รู้จักประมาณ

๑.๖ กามราคะ ความพอใจในกาม รักเพศตรงข้าม ยังมีความรู้สึกทางเพศ หรือยังยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

๑.๗ รูปราคะ ความติดใจยินดีในอารมณ์ของรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้รูปฌานแล้ว

๑.๘ อรูปราคะ ความติดใจยินดีในอารมณ์ของอรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้อรูปฌานแล้ว

ข้อ ๑.๖-๑.๘ นี้แหละที่จัดเป็นกิเลสละเอียด ที่เรียกว่า ธุลีในตระกูลราคะ

๒. ตระกูลโทสะ คือความไม่ชอบใจ ความคิดร้าย คิดทำลายผู้ที่ทำให้ตนโกรธ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้

๒.๑ พยาบาท ความผูกอาฆาต จองเวร อยากแก้แค้น ไม่ยอมอภัย บางทีข้ามภพข้ามชาติก็ยังไม่ยอม เช่น พระเทวทัตผูกพยาบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ภพในอดีตมา

๒.๒ โทสะ ความคิดร้าย คิดทำลาย เช่น คิดจะฆ่า คิดจะเตะ คิดจะด่า คิดจะเผาบ้าน คิดจะทำให้อาย ฯลฯ

๒.๓ โกธะ ความเดือดดาลใจ คือคิดโกรธแต่ยังไม่ถึงกับคิดทำร้ายใคร

๒.๔ ปฏิฆะ ความขัดใจ เป็นความไม่พอใจลึกๆ ยังไม่ถึงกับโกรธ แต่มันขัดใจ

ข้อ ๒.๔ นี้แหละที่จัดเป็นธุลี กิเลสละเอียดในตระกูลโทสะ

๓. ตระกูลโมหะ คือความหลง เป็นอาการที่จิตมืดมน ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักบุญบาป ส่วนความไม่รู้วิทยาการต่างๆ ไม่ใช่โมหะ คนที่มีความรู้วิทยาการมากเพียงใด มีปริญญากี่ใบก็ตาม หากยังไม่รู้จักบุญบาป ไม่รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำละก็ ได้ชื่อว่าตกอยู่ในโมหะทั้งนั้น กิเลสตระกูลโมหะ มีตั้งแต่หยาบถึงละเอียดดังนี้

๓.๑ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มี เป็นต้น

๓.๒ โมหะ ความหลงผิด ความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

๓.๓ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เช่น คิดว่าร่างกายนี้เป็นของเราจริงๆ

๓.๔ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม เช่น ยังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าบุญบาปมีจริงไหม ทำสมาธิแล้วจะหมดกิเลสจริงหรือ

๓.๕ สีลัพพตปรามาส ความติดอยู่ในศีลพรตอันงมงาย เช่น เชื่อหมอดู เชื่อศาลพระภูมิ เชื่อพระเจ้า

๓.๖ มานะ ความถือตัว ถือเขาถือเรา

๓.๗ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นอาการที่จิตไหวกระเพื่อมน้อยๆ ยัง ไม่หยุดนิ่งสนิทบริบูรณ์ ไม่ได้หมายถึงความฟุ้งซ่าน ไม่รู้เหนือรู้ใต้อย่างที่คนทั่วไปเป็น

๓.๘ อวิชชา ความไม่รู้พระสัทธรรม เช่น ไม่รู้ว่าตัวเรามาจากไหน เกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน

ตั้งแต่ข้อ ๓.๓-๓.๘ เป็นธุลี กิเลสอย่างละเอียดในตระกูลโมหะ

โดยสรุป ธุลี หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๓ ตระกูล รวม ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ
๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา

ทั้ง ๑๐ ประการนี้เรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ พระโสดาบันจะสามารถละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ มีความเชื่อมั่นในคุณของพระรัตนตรัยเต็มที่ ไม่มีความลังเลเลย ส่วนพระสกิทาคามีก็ละได้ ๓ ข้อแรก เช่นเดียวกับพระโสดาบัน แต่กิเลสข้อที่เหลือเบาบางลง ส่วนพระอนาคามีละได้เพิ่มอีก ๒ ข้อ คือกามราคะและปฏิฆะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ละสังโยชน์ธุลีกิเลสทั้ง ๑๐ ประการ ได้อย่างสิ้นเชิง มีจิตผ่องใส บริสุทธิ์ตลอด

ร ะ ดั บ โ ท ษ ข อ ง กิ เ ล ส ทั้ ง ๓ ต ร ะ กู ล

ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า คนจะรักกัน อยู่กันฉันสามีภรรยา ถือว่าไม่ผิดศีลธรรม ขออย่าไปนอกใจหรือไปมีชู้ก็แล้วกัน โทษของราคะไม่ค่อยหนักนัก แต่การจะเลิกนั้นยากมาก คลายช้า คนลองรักกันแค่ไม่เห็นหน้าไม่กี่วันก็ทำท่าจะตายเอาให้ได้ บางทีตายแล้วเกิดใหม่ใจยังผูกพันกันอยู่เลย จะให้เลิกรักเลิกยาก

โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว เวลาโกรธขัดใจขึ้นมาฆ่ากันได้ บางทีถึงขนาดฆ่าพ่อฆ่าแม่ ทำอนันตริยกรรมก็ยังได้ มีโทษมาก แต่ทว่าคลายเร็ว ถ้าเขามาขอโทษขอโพย เอาอกเอาใจไม่นานก็หาย โทสะคลายเร็วอย่างนี้

โมหะ มีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย ความหลง ความไม่รู้พระสัทธรรมนี้มีโทษมาก ทำให้เราหลงไปทำบาปตกนรกเสียย่ำแย่ เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทนทุกข์กันตลอดมาก็เพราะโมหะนี่เอง และแถมเจ้าโมหะความหลงนี้ยังคลายช้าอีกด้วย คนลงไม่รู้จักบุญไม่รู้จักบาปละก็ กว่าจะแก้ได้ท่านว่าหืดขึ้นคอเลย บางทีก็ต้องรอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อๆ ไปโน้นมาโปรด ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะแก้หายหรือเปล่า

ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ

เราต้องทราบว่ากิเลสทั้ง ๓ ตระกูลนี้ มันฟู มันงอกงามได้ เช่น คนบางคนเดิมอาจจะเป็นคนไม่โลภอะไร พอใจอยู่กับของของตน แต่ไม่ระวังตัว เผลอไปหน่อยเดียว มีลาภยศมาล่อมากๆ เข้า อาจกลายเป็นคนโลภไปทำบาป ทำชั่วเพราะความอยากได้ก็มี บางคนเดิมอาจเป็นคนใจเย็น แต่ถูกยุถูกแหย่มากๆ เข้ากิเลสก็อาจงอกงาม กลายเป็นคนเจ้าโทสะไปได้เหมือนกัน หรือเดิม ก็เป็นคนธรรมดาทั่วไป เข้าใจธรรมะบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง บุญบาปก็แค่สงสัยว่า มีหรือไม่ แต่ไปคบคนพาลเข้ากลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป ปฏิเสธ นรกสวรรค์ คิดว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณต่อตัวเอง เป็นไปได้เหมือนกัน

เราจึงต้องระวังตัว ไม่ประมาทในการทำความดี ตั้งใจทำสมาธิภาวนาไปตามลำดับไม่ย่อท้อ สักวันหนึ่งก็คงจะทำใจหยุดใจนิ่งเกิดปัญญา เห็นอริยสัจจ์ ทำนิพพานให้แจ้ง และกำจัดธุลีกิเลสทั้งหลาย ให้ล่อนหลุดไปจากใจ เป็นพระอรหันต์เข้าถึงสุขอันเป็นอมตะได้เหมือนกัน

“ผู้ใดกำจัดโลภะได้แล้ว ไม่โลภในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ความโลภย่อมหมดไปจากใจผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว ผู้ใดกำจัดโทสะได้แล้ว ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะย่อมหมดไปจากใจผู้นั้น เหมือนผลตาลสุกหล่นจากขั้ว ผู้ใดกำจัดโมหะได้แล้ว ไม่หลงในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ผู้นั้นย่อมกำจัดความหลงได้ เหมือนอาทิตย์อุทัย ขจัดความมืดให้หมดไปฉะนั้น” ขุ.อิติ.๒๕/๒๖๘/๒๙๕-๒๙๖


จบมงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง