Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิหมุนเป็นอย่างไร ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีที่ 2

'''''''''''''ก่อนฝึกให้หาตำแหน่งของใจก่อน โดยใช้มือทาบหน้าอกด้านซ้าย จะรู้สึกหัวใจเต้น ตำแหน่งนี้คือฐานใจ ซึ่งเป็นอายตนะภายใน เมื่อรู้ตำแหน่งแล้ว คลายมือออกจากหน้าอก หลับตาแล้วใช้ความรู้สึกหาตำแหน่งของใจกำหนดให้แม่นยำ เมื่อรู้ตำแหน่งดีแล้ว ก็เริ่มขั้นตอนต่อไป คือ การคลายอารมณ์ โดยปรับลมหายใจเข้าออกให้ยาวกว่าการหายใจตามปกติ แต่ไม่ยาวเกินไป แล้วให้เอาความรู้สึกมาไว้ที่ปลายจมูก ขณะที่หายใจเข้าออกให้นึกถึงแต่ลมหายใจออกอย่างเดียว พร้อมกับปล่อยวางตัวตน เหตุการณ์อดีต อนาคต ความนึกคิด ความรู้สึก และ อารมณ์ให้ไหลออกไปกับลมหายใจออกสู่อากาศว่างๆ นอกตัวเรา หรือดันขึ้นไปตามลำเส้นแสงออกสู่อวกาศ

''''''''''''' เมื่อคลายอารมณ์ได้พอสมควรแล้ว ก็ปรับภาวะจิตใหม่ โดยนึกมาที่ลมหายใจเข้าออก ปรับการหายใจให้เป็นปกติไม่สั้นยาวเกินไป ให้มีสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้

'''''''''''''จากนั้นหาจุดภายในโพรงจมูกที่ลมหายใจเข้าออก กระทบมากที่สุดคือ ฐานอารมณ์ เมื่อหาพบแล้ว รวมความรู้สึกมาวางทับที่จุดนี้เบาๆ วางทับลงจนความรู้สึกแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกันกับฐานอารมณ์ จากนั้นค่อยๆ ปรับลมหายใจเข้าออกให้ไหลผ่านฐานอารมณ์น้อยลง สั้นลง ละเอียดขึ้น ทำไปจนกระทั่งเห็นว่าลมละเอียดมาก ความนึกคิดที่เคยมีก็เบาบางลงมาก ไม่สามารถรบกวนจิตให้นึกคิดตามได้อีก อันเป็นภาวะจิตในระดับปฐมฌาน

''''''''''''' เมื่อเกิดความสงบที่ฐานอารมณ์แล้ว จากนั้นให้ค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกจากฐานอารมณ์ ลงมาที่ฐานใจอย่างช้าๆ เมื่อมาถึงฐานใจ ให้วางความรู้สึกทับลงที่ฐานใจเบาๆ วางลงไปจนความรู้สึกแนบแน่นสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับฐานใจ และคอยประคองความรู้สึกให้หยุดนิ่งอยู่กับฐานใจอย่างเดียว ในขั้นตอนนี้เราก็สามารถทำจิตให้สงบ ให้สงบลึกเข้าไปกว่าปฐมฌานได้ เพื่อลดกำลังของความนึกคิด และลมหายใจที่จะมารบกวนจิตให้เหลือน้อยที่สุด

''''''''''''' หลังจากทำใจให้สงบโดยรวมความรู้สึกให้นิ่งอยู่ที่ฐานใจแล้ว จากนั้นให้เราถอนความรู้สึกจากความสงบออกมา โดยการนึกถึงลมหายใจเข้าออก สืบลมหายใจเข้าออกอย่างเบาๆ และยาวขึ้น เป็นการหายใจด้วยลมที่ละเอียด ให้ลมไหลผ่านเข้าออกหัวใจ ให้เต็มที่ให้เป็นที่สบาย ไม่ปรับลมให้นิ่งเช่นผ่านมา เมื่อถอนความรู้สึกออกจากความสงบแล้ว แต่ความรู้สึกก็ยังอยู่ที่ฐานใจอยู่

''''''''''''' จากนั้นหยุดหายใจสักครู่หนึ่งแล้วค่อยๆ เลื่อนความ รู้สึกจากหัวใจ ขึ้นไปไว้ที่ฐานอารมณ์ เพื่อมารับความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ฐานอารมณ์ หรือทำได้อีกวิธีหนึ่งคือไม่ต้องหยุดหายใจแต่ให้หาจังหวะ ในขณะหายใจออกให้เลื่อนความรู้สึกจากฐานใจขึ้นไปที่ฐานอารมณ์ซึ่งก็จะรู้สึกว่าจะเลื่อนความรู้สึกขึ้นมาง่ายกว่าเพราะมีแรงดันจากลมหายใจออกพยุงความรู้สึกให้เคลื่อนตัวลอยขึ้นมาด้วย มาถึงตอนนี้เราก็จะรู้ตำเหน่งของฐานใจกับฐานอารมณ์

'''''''''''''จากนั้น ในจังหวะที่หายใจเข้า ให้เคลื่อนความรู้สึก จากฐานอารมณ์ เข้าไปยังฐานใจ พอหายใจออกให้เคลื่อนความรู้สึก จากฐานใจออกมาที่ฐานอารมณ์ ซึ่งสำหรับการนึกเคลื่อนความรู้สึกไปมาระหว่างฐานอารมณ์ กับ ฐานใจนี้ จะนึกเคลื่อนความรู้สึก เป็นเส้นตรง เป็นวงรี หรือ วงกลมก็ได้แล้วแต่ความถนัด หายใจเข้านึกไปที่หัวใจ หายใจออกนึกไปที่จมูก ทำเช่นนี้หมุนวนไปเรื่อยๆ พร้อมกับทำตัวเราให้อ่อนๆ ผ่อนคลายปล่อยวางร่างกายเราให้เต็มที่ ไม่สนใจความมีตัวตนของร่างกาย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไปกับความนึกและลมหายใจ ให้จังหวะการหายใจที่ร่วมกับความนึก เคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน

'''''''''''''สำหรับอาการที่จะเกิดตามมาและวิธีการที่จะทำต่อไปก็จะเหมือนกับวิธีที่หนึ่ง


วิธีที่ 3

''''''''''''' เมื่อนั่งสมาธิในท่านั่งสมาธิตามปกติ หรือท่าใดท่าหนึ่งที่สะดวกแก่การทำสมาธิแล้ว ก่อนฝึกสมาธิให้หาตำแหน่งของฐานใจก่อน โดยใช้มือทาบหน้าอกด้านซ้าย จะรู้สึกหัวใจเต้น ตำแหน่งนี้คือฐานใจ ซึ่งเป็นอายตนะภายใน เมื่อรู้ตำแหน่งแล้ว ก็เริ่มขั้นตอนต่อไป คือ การคลายอารมณ์โดยปรับลมหายใจเข้าออกให้ยาวกว่าการหายใจตามปกติ แต่ไม่ยาวเกินไป แล้วให้เอาความรู้สึกมาไว้ที่ปลายจมูก ขณะที่หายใจเข้าออกให้นึกถึงแต่ลมหายใจออกอย่างเดียว พร้อมกับปล่อยวางตัวตน เหตุการณ์อดีต อนาคต ความนึกคิด ความรู้สึก และ อารมณ์ให้ไหลออกไปกับลมหายใจออกสู่อากาศว่างๆ นอกตัวเรา หรือดันขึ้นไปตามลำเส้นแสงออกสู่อวกาศ

''''''''''''' เมื่อคลายอารมณ์ได้พอสมควร ก็ปรับภาวะจิตใหม่ โดยนึกมาที่ลมหายใจเข้าออก ปรับการหายใจให้เป็นปกติไม่สั้นยาวเกินไป ให้มีสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ จากนั้นหาจุดภายในโพรงจมูกที่ลมหายใจเข้าออก กระทบมากที่สุดคือ ฐานอารมณ์ เมื่อหาพบแล้ว รวมความรู้สึกมาวางทับที่จุดนี้เบาๆ จนกำหนดจุดฐานอารมณ์ได้ชัดเจน
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

'''''''''''''จากนั้นทำอารมณ์ให้เป็นปกติ โดยเจริญสติให้เห็นการเกิดดับที่ฐานอารมณ์ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมา วิธีการใดวิธีการหนึ่ง

เช่น

การเจริญสติแบบเกิดดับ
''''''''''''' เมื่อได้ตำเหน่งฐานอารมณ์แล้วรวมความรู้สึกที่ฐานอารมณ์จนอารมณ์สงบ เมื่อทำอารมณ์ให้สงบแล้ว ถอนความรู้สึกจากความสงบออกมา โดยนึกถึงลมหายใจเข้าออก แล้วมาดูลมหายใจเข้าออกที่มากระทบที่ฐานอารมณ์ ฐานอารมณ์ที่เคยเห็นเป็นความรู้สึกนิ่ง ก็จะเห็นเป็นความเคลื่อนไหว มีแรงดึงเข้าผลักออก สืบต่อที่ฐานอารมณ์นี้เป็นจังหวะ ๆ เกิด ดับ เกิด ดับ ให้เราเอาจิตเข้ามาร่วมกับการเกิดดับ เพื่อทำอารมณ์ให้เป็นปกติ

การเจริญสติแบบนับเลข
''''''''''''' เมื่อได้ตำเหน่งฐานอารมณ์แล้วรวมความรู้สึกที่ฐานอารมณ์จนอารมณ์สงบ หลังจากทำอารมณ์ให้สงบ ให้ถอนความรู้สึกจากความสงบออกมา โดยนึกถึงลมหายใจเข้าออก ไม่ปรับลมให้นิ่ง หายใจเบาๆ ดูลมเข้าออกที่ชนฐานอารมณ์ แล้วนึกนับเลขเข้ามาชนฐานอารมณ์ที่นิ่งอยู่ นับเลข 1- 100 วนเข้ามาชนจุดนี้เป็นจังหวะละ 1 วินาที จนเห็นฐานอารมณ์เคลื่อนไหว มีแรงสืบต่อ เกิด ดับ เป็นจังหวะ ก็เอาความรู้สึกร่วมกับแรงสืบต่อที่เกิดขึ้น พร้อมกับนับเลขตามไป เพื่อทำอารมณ์ให้เป็นปกติ

การเจริญสติโดยใช้คำบริกรรม
'''''''''''''เมื่อได้ตำเหน่งฐานอารมณ์แล้วรวมความรู้สึกที่ฐานอารมณ์จนอารมณ์สงบ หลังจากทำอารมณ์ให้สงบ ให้ถอนความรู้สึกจากความสงบออกมา โดยนึกถึงลมหายใจเข้าออก ไม่ปรับลมให้นิ่ง หายใจเบาๆ ดูลมเข้าออกที่ชนฐานอารมณ์ แล้วนึกคำบริกรรมเข้ามาชนฐานอารมณ์ที่นิ่งอยู่ เป็นจังหวะ วินาทีละ 2 หรือ 4 คำ จนเห็นฐานอารมณ์เคลื่อนไหว มีแรงสืบต่อ เกิด ดับ เป็นจังหวะ ก็เอาความรู้สึกร่วมกับแรงสืบต่อที่เกิดขึ้น พร้อมกับนึกคำบริกรรมตามไป เพื่อทำอารมณ์ให้เป็นปกติ

การเจริญสติแบบใช้ชีพจร
'''''''''''''เมื่อได้ตำเหน่งฐานอารมณ์แล้วเลื่อนความรู้สึกมาที่ข้อมือซ้ายเอานิ้วชี้มือขวาแตะข้อมือซ้าย ให้ความรู้สึกอยู่กับแรงสืบต่อของชีพจรสักครู่ จากนั้นค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกมาที่ฐานอารมณ์ แต่ความรู้สึกที่ข้อมือก็ให้ร่วมกับการเต้นของชีพจรอยู่ จนแรงสืบต่อที่ข้อมือสะเทือนถึงฐานอารมณ์ หรือเชื่อมต่อแรงสันตติที่ฐานอารมณ์ จนเห็นที่ฐานอารมณ์เคลื่อนไหว เกิดแรงสืบต่อ เกิดดับ เหมือนกับที่ข้อมือให้ก็ละความรู้สึกจากชีพจรที่ข้อมือ เอาความรู้สึกมาร่วมกับแรงสืบต่อที่ฐานอารมณ์ เพื่อทำอารมณ์ให้เป็นปกติ

''''''''''''' เมื่อทำอารมณ์ให้เป็นปกติ เห็นแรงสืบต่อที่ฐานอารมณ์แล้ว ให้สังเกตดูแรงสืบต่อที่เกิดขึ้นให้ละเอียดขึ้น จะเห็นแรงสืบต่อเคลื่อนไหวหมุนวนกลับไปกลับมาในระยะทางสั้นๆ คือแรงจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง ถอนตัวออกมา แล้วเคลื่อนตัวเข้าไปใหม่ แล้วก็ถอนตัวออกมาอีก ดึงเข้า ผลักออก หรือ อาจจะเห็นแรงเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง ขึ้นลง ขึ้นลง

''''''''''''' เมื่อเห็นดังนี้แล้วให้เอารู้สึกร่วมเข้าไปกับแรงสืบต่อ ใส่เจตนาร่วมเข้าไปเบาๆก่อน ทำตัวเบาๆ ผ่อนคลายความรู้สึกจากร่างกายตัวตน เมื่อทำดังนี้แล้ว จะพบว่าระยะของแรงสืบต่อที่เคลื่อนกลับไปมาจะค่อยๆ ขยายตัว กว้างออก กว้างออก พร้อมๆ กับแรงสืบต่อที่แรงขึ้น แรงสืบต่อจะเริ่มกลายเป็นแรงเหวี่ยง ศรีษะของเราจะเริ่มเคลื่อนไหวตามแรงเหวี่ยงโยกไปมาช้าๆ เราก็ใส่เจตนาเอาความรู้สึกร่วมเข้าไปกับแรงเหวี่ยงให้มากขึ้น ร่างกายจะถูกแรงเหวี่ยงเหนี่ยวนำให้เคลื่อนไหวโยกไปมา จากนั้นให้ค่อยๆ นึกน้อมชักนำแรงเหวี่ยงให้ขยาย ระยะจนมาผ่านที่ฐานใจ ให้แรงเหวี่ยงหมุนวนจากฐานใจไปที่ฐานอารมณ์ จากฐานอารมณ์ไปหาฐานใจ ประคองแรงเหวี่ยงให้หมุนวนผ่านไปมาระหว่างสองจุดนี้ จนคล่องตัว แล้วปรับรอบการหมุนแต่ละรอบให้เท่ากับ 1 วินาที

''''''''''''' เมื่อการหมุนคล่องตัวดีแล้วก็คลายความรู้สึกและเจตนาที่เข้าไปร่วมกับการหมุนลง ให้ความรู้สึกและร่างกายเคลื่อนไหวคล้อยตามการหมุนไปเท่านั้น หากการหมุนอ่อนกำลังลงก็ใส่เจตนาร่วมเข้าไปกับการหมุนอีกเพื่อให้การหมุนเคลื่อนตัวต่อไป

''''''''''''' อีกวิธีหนึ่งไม่ต้องนึกน้อมชักนำแรงเหวี่ยงให้มาผ่านที่ฐานใจ ให้ตามแรงเหวี่ยงไปเรื่อยๆดูการหมุนไปเรื่อยๆแรงเหวี่ยงมันจะเหวี่ยงตัวเข้ามาหาฐานใจเองเพราะการหมุนวนระหว่างอายตนะภายนอก กับภายใน จะทำงานสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นปกติอยู่แล้วแต่วิธีนี้อาจจะใช้เวลามากกว่าวิธีนำแรงเหวี่ยงมาผ่านที่ฐานใจ

''''''''''''' การฝึกในขั้นนี้ ก็ให้เราฝึกเพื่อให้เห็น ให้สัมผัสแรงหมุนที่เกิดขึ้นภายในให้คล่อง ให้เห็นการหมุนระหว่าง ฐานอารมณ์ กับ ฐานใจได้ต่อเนื่องทุกขณะจิต จนเมื่อเห็นว่านั่งสมาธิเพียงพอแล้ว ก็คลายจิตออกจากสมาธิ โดยนึกกำหนดที่จะคลายออกมาก่อน แล้วนึกถึงลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าออกให้ยาวขึ้น หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้จิตตามลมหายใจเข้าออก จิตจะถอนตัวออกมาจากสมาธิ แรงสันตติหายไป จนมาสู่ภาวะปกติ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2007, 9:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ Nirvana คุณฝึกหมุนมาด้วยตนเองบ้างไหมครับนี่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง