Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม (หลวงพ่อชา สุภัทโท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2007, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท


ตามธรรมดา การที่บุคคลจะไปถึงบ้านเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวแต่นอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวก และถึงที่หมายได้

หากเดินผิดทางก็จะได้รับอุปสรรค และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรืออาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้ว จะต้องขึ้นอยู่อาศัย พักผ่อนหลับนอน เป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์

ทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา

ถ้าหากเดินเฉียดบ้าน หรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา

ข้อนี้ฉันใด การเดินทางเข้าสู่พุทธธรรมก็เหมือนกัน ทุกๆ คนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินให้กัน ต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาด สงบ สว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง

แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา มัวแต่กางแผนที่ออกดู อยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ เขาผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยให้ประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไป

ครูบาอาจารย์เป็นเพียงผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลาย เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว จะเดินหรือไม่เดิน จะได้รับผลมาน้อยเพียงใด นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน

เช่นเดียวกันกับการที่หมอให้ยาคนไข้ ถ้าคนไข้มัวแต่อ่านฉลากยา แต่ไม่เคยได้นำยานั้นไปใช้ คนไข้ก็คงอาจจะตายเปล่า และก็จะมาร้องตีโพยตีพายว่า ยาไม่ดี หมอไม่ดี เพราะมัวแต่ไปอ่านฉลากยาจนเพลิน

แต่ถ้าเขาเชื่อหมอ จะอ่านฉลากเพียงครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ถ้าลงมือกินยาตามคำสั่งหมอ ถ้าคนไข้เป็นไม่มาก เขาก็จะหายจากโรค แต่ถ้าเป็นมาก...อาการก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ ถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไป

ที่ต้องกินยามาก และบ่อยครั้ง ก็เพราะโรคของมันมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ แต่ถ้าโรคน้อยกินครั้งเดียวก็อาจจะหายได้เลย ผู้อ่านลองใช้สติปัญญาพิจารณาถ้อยคำนี้ให้ละเอียดจริงๆ จะเข้าใจได้ดี

การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

ศีล นั้นก็คือ ระเบียบควบคุมรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งชาวบ้าน และของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียวคือ เจตนา

เมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอ เพื่อควบคุมให้รู้จักละอายต่อความชั่ว ความเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควร พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควร เป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดาเมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรก และตัวเองก็สกปรก ย่อมทำให้จิตใจยึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาด ทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน

ดังนั้น เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์ เพราะกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมอง ขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2007, 3:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิก็คือ การฝึกจิตใจของเราให้ตั้งมั่น และมีความสงบ เพราะตามปกติ จิตนี้เป็นธรรมชาติ ดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำที่ชอบไหลลงสู่ที่ลุ่มเสมอ

พวกเกษตรกรทั้งหลาย เขารู้จักกั้นน้ำไว้ให้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น ทำฝาย ทำทำนบ ทำชลประทาน เหล่านี้ล้วนแต่กั้นน้ำเพื่อประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่าง และใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี้เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด

ดังนั้น จิตใจที่มีการฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์มหาศาลเช่นกัน

พระพุทธองค์ตรัสว่า...

จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนําความสุขมาให้
การฝึกจิตให้ดี ย่อมสําเร็จประโยชน์

เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามันมาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้ว เราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ

ท่านทั้งหลายก็ทราบกันแล้วว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว...ย่อมมีคุณค่ามากกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์ และพระอริยสาวก ได้เปลี่ยนจากภาวะปุถุชน มาเป็นพระอริยบุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป และท่านก็ยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆ จะกำหนด ก็เพราะว่า พระองค์และสาวก ได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น

จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ทุกสิ่งทุกอย่าง อันได้แก่การดำเนินชีวิต การประกอบกิจการงานอาชีพทุกอย่าง นอกจากนี้ก็ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรฐานะ



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือ มรรคาแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง