Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศาสนากับสังคมการเมืองในเวียดนาม (ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 7:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ศาสนากับสังคมการเมืองในเวียดนาม
โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์



เวียดนามในระยะแรกครอบครองพื้นที่เพียงสันดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำแดง ซึ่งเป็นใจกลางของเวียดนามเหนือเท่านั้น ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชรัฐนี้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งอาณาจักรจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty) ซึ่งชาวจีนเรียกว่า "หนานเย่" (Nan-yueh) หรือ "หนานเวียด" (Nan-viet) ในระยะเวลากว่า 1,000 ปีภายใต้การปกครองของจีน เวียดนามคุ้นเคยกับสถาบันการเมืองและสังคม ระบบการเขียน การศึกษา และศิลปวัฒนธรรมแบบจีน

เวียดนามได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายาน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เวียดนามแตกต่างไปจากเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์ พุทธศาสนามหายานได้ผสมผสานกับปรัชญาขงจื๊อและเต๋า รวมทั้งความเชื่อท้องถิ่นของเวียดนาม พุทธศาสนามหายานในเวียดนามไม่ได้พัฒนาเครือข่ายของสถาบันสงฆ์อันอาจก่อให้เกิดพลังทางการเมือง ดังที่ปรากฏในพุทธศาสนาเถรวาท

อิทธิพลของจีนที่มีต่อเวียดนามขึ้นถึงระดับสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถัง (T"ang Dynasty, ค.ศ.618-907) อย่างไรก็ตามเวียดนามไม่เคยสูญเสียความรู้สึกแห่งรัฐชาติของตน ในปี ค.ศ.939 ระหว่างที่เกิดความยุ่งเหยิงทางการเมืองในประเทศจีน เวียดนามได้ฉวยโอกาสนั้นประกาศอิสรภาพและจัดตั้งรัฐเวียดนามขึ้น

หลังการประกาศอิสรภาพ ประวัติศาสตร์เวียดนามมีลักษณะเด่นสองประการ ประการแรกเวียดนามได้พัฒนารัฐขงจื๊อและเจริญรอยตามแบบอย่างวัฒนธรรมจีน โดยมีรูปแบบรัฐบาลคล้ายคลึงกับจีนเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น พระจักรพรรดิเวียดนามที่กรุงฮานอย (Hanoi) อันเป็นเมืองหลวง ทรงบริหารเหล่าข้าราชการที่ได้รับการศึกษาจากตำราขงจื๊อ กฎหมาย โครงสร้างการบริหาร วรรณคดี และศิลปกรรมล้วนตามอย่างจีนทั้งสิ้น ขณะที่ชนชั้นที่มีการศึกษามักนิยมใช้ภาษาจีนมากกว่าภาษาเวียดนาม ประการที่สอง เวียดนามได้แผ่ขยายอิทธิพลลงมาทางใต้อันก่อให้เกิดความตึงเครียดทางวัฒนธรรมขึ้น

ดินแดนทางทิศใต้ของเวียดนามมิได้อยู่ในเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมขงจื๊อแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาชนกลุ่มน้อยต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่บนที่ราบสูงของเวียดนาม (Montagnard) ทำให้เกิดความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชาวเหนือกับชาวใต้ขึ้นในเวียดนาม โดยชาวเหนือส่วนใหญ่มีอุปนิสัยอนุรักษ์ เชื่อฟังกลุ่ม สงวนท่าที และเคารพชีวิตทางสติปัญญา ส่วนชาวใต้ชอบออกสังคม รักอิสระ อุปนิสัยเปิดเผย และชอบเลือกแนวทางศาสนาด้วยตนเอง

การฟื้นฟูวัฒนธรรมขงจื๊อ

สภาพทางภูมิศาสตร์ของเวียดนามที่มีลักษณะแคบเรียวยาวตามชายฝั่งทะเล (ความยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร) ทำให้พระจักรพรรดิเกียลอง (Gia Long, ครองราชย์ ค.ศ.1802-1820) ทรงเห็นถึงความยากลำบากในด้านการปกครองและการป้องกันประเทศ จึงทรงย้ายเมืองหลวงจากฮานอย มาอยู่ที่เมืองเว้ (Hue) ทางตอนกลางของประเทศ โดยทรงสร้างพระราชวังตามแบบอย่างพระราชวังในกรุงปักกิ่ง (เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น)

จากทศวรรษที่ 1830 เป็นต้นมา ได้เกิดกบฏขึ้นบ่อยครั้งเพื่อต่อต้านการบริหารงานแบบขุนนางจีนเก่าที่เก็บภาษีสูงแต่ไร้ประสิทธิภาพ การฟื้นฟูแบบฉบับลัทธิขงจื๊อก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลขุนนางรับมือกับการท้าทายจากตะวันตกได้อย่างจริงจัง ชนชั้นปัญญาชนบางคนเริ่มเห็นถึงความจำเป็นในการศึกษาตะวันตก แต่ก็เป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเท่านั้น พระจักรพรรดิเทียวทรี (Thieu Tri, ครองราชย์ ค.ศ.1841-47) และพระจักรพรรดิทูดัก (Tu Duc, ครองราชย์ ค.ศ.1847-83) ทรงดำเนินวิเทโศบายผิดพลาดอย่างมหันต์ ด้วยการเผชิญหน้ากับตะวันตกและปราบปรามศาสนาคริสต์

มิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสได้แสดงบทบาทในเวียดนาม มาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 ภายในกลางศตวรรษที่ 19 ประมาณกันว่ามีคาทอลิกในเวียดนามถึง 450,000 คน รัฐบาลเวียดนามหวั่นเกรงศาสนาที่มีการจัดตั้งในรูปองค์กรทุกประเภท ว่าจะเป็นภัยต่ออำนาจรัฐในแบบฉบับขงจื๊อ และศาสนาคริสต์ดูเหมือนว่าจะเป็นภัยในลักษณะนั้น การรณรงค์ปราบปรามจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง มีบาทหลวงและชาวคริสต์หลายพันคนเสียชีวิต และหมู่บ้านชาวคริสต์ถูกทำลาย การปราบปรามนี้สร้างความตกตะลึงแก่ชาวคาทอลิกในฝรั่งเศส และกลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศสในการเข้ายึดครองเวียดนาม

วัฒนธรรมและสังคมการเมืองเวียดนามยุคสมัยใหม่

ในยุคอาณานิคม เวียดนามกลายเป็นดินแดนแห่งความสับสนอลหม่านทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม การพังทลายของรัฐบาลในแบบฉบับขงจื๊อ และชัยชนะของ "ความป่าเถื่อน" จากตะวันตก ทำให้ความเชื่อและค่านิยมในขนบประเพณีดั้งเดิมของเวียดนามเกิดปัญหา ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางของเวียดนามเริ่มศึกษาตามแบบตะวันตกอย่างกระตือรือร้น (แทนที่การศึกษาในแบบฉบับขงจื๊อดั้งเดิม)

ความแตกแยกทางสังคมวัฒนธรรมได้เกิดขึ้นในเวียดนาม บ้างก็เลือกวิธีคิดและการแสดงออกแบบตะวันตก บ้างก็มองไปที่จีนเพื่อสร้างโลกในแบบฉบับขงจื๊อขึ้นมาใหม่ บ้างก็มองไปที่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ 1920 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม อักษรโรมันช่วยให้วรรณกรรมสมัยใหม่ของเวียดนามเติบโตขึ้นอย่างน่าประทับใจ ทำให้หนังสือพิมพ์และหนังสือทางการเมืองเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ความเคลื่อนไหวที่เด่นที่สุด (ในแง่จำนวน) ในหมู่ประชาชนเวียดนาม ได้แก่ ความเคลื่อนไหวทางศาสนา เจาได (Cao Dai) นิกายทางศาสนาที่ตั้งขึ้นทางตอนใต้ในปี ค.ศ.1925 โดยอ้างว่าจะรวมตะวันออก ตะวันตก และเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามเข้าด้วยกัน มีสานุศิษย์กว่า 1 ล้านคนในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ขณะนั้น พุทธศาสนานิกายฮวาเฮา (Hoa Hao) ก็มีสานุศิษย์เป็นจำนวนมากทางตอนใต้เช่นเดียวกัน และศาสนาคริสต์ก็อ้างว่ามีผู้ติดตามถึงร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ประมาณ 30 ล้านคน ในขณะนั้น) ความเคลื่อนไหวทางศาสนาเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ขบวนการชาตินิยมเวียดนามในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ระหว่างสงครามเวียดนาม โลกต้องตกตะลึงเมื่อพระภิกษุในพุทธศาสนาจำนวนหนึ่งได้เผาตัวตายเพื่อประท้วงสงครามและรัฐบาล ผู้นำชาวพุทธได้สร้างขบวนการต่อสู้ทางการเมือง โดยใช้ปรัชญาการเมืองและสังคมตามหลักการของพุทธศาสนา เรียกร้องให้ยุติสงครามและนำสันติภาพกลับคืนสู่ประเทศ ขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของชาวพุทธเวียดนามนี้เรียกกันว่า "พุทธสังคมนิยม" (Buddhist Socialism)

อิทธิพลของตะวันตกในรูปของอาณานิคมฝรั่งเศสและการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางประวัติศาสตร์และการแบ่งแยกในสังคมเวียดนาม ลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชาชน โดยสัญญาที่จะนำเอกราชมาสู่ประเทศ กับความสมานฉันท์และความยุติธรรมมาสู่สังคม ประสบความสำเร็จในประการแรกแต่ล้มเหลวในประการหลัง ปัจจุบันเวียดนามภายใต้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยอมรับระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม ในปี พ.ศ.2538 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงถึงร้อยละ 8 ต่อปีอย่างต่อเนื่อง เวียดนามได้กลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญในหมู่ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ หน้าต่างความจริง
วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10620
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 9:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 1:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือนคุณก้อนหิน เอ้ย ก้อนดิน จ้า

สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง