Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...บ่อเกิดแห่งความสุข (สุขสมุทัย)...(อาจารย์วศิน อินทสระ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2007, 12:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมและทรรศนะชีวิต :
บ่อเกิดแห่งความสุข (สุขสมุทัย) ตอนที่ 1

อาจารย์วศิน อินทสระ


Image

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

บ่อเกิดแห่งความสุข (สุข สมุทัย)
สิ่งใดออกจากผู้ใด สิ่งนั้นย่อมกลับเข้าหาผู้นั้น
เหมือนลำต้น ดอกและใบของต้นไม้
ย่อมแสดงถึงเมล็ดพันธุ์ของมัน


ความปรารถนาของมนุษย์แม้จะมีมากมายหลายอย่างก็จริง
แต่ไม่พ้นไปจากจุดหมายปลายทาง
คือ ต้องการพบความสุข
และอยู่กับความสุขให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อีกประการหนึ่ง ต้องการหลีกเลี่ยงความทุกข์
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เป็นความต้องการฝ่ายลบ
ส่วนความต้องการความสุขเป็นฝ่ายบวก

แต่สุขทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นเอง มันมีเหตุปัจจัยให้เกิด


ฝ่ายทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ทุกขสมุทัย
เป็นอริยสัจข้อที่ 2 คือ เหตุให้เกิดทุกข์
ทรงชี้ไปที่ตัณหาหรือกิเลสว่า เป็นส่าเชื้อของทุกข์

อีกนัยหนึ่ง เหตุแห่งทุกข์ คือ บาป
มนุษย์สร้างเวรกรรม ทำบาปมากเท่าใด
ทุกข์ก็ติดตามมากเท่านั้น
เพราะได้หว่านเมล็ดพืชแห่งทุกข์ไว้แล้ว
รอแต่จะผลิดอกออกผลเท่านั้น


มนุษย์เราเมื่อหว่านเมล็ดพืชแห่งชีวิต
คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
มักไม่ค่อยระวัง สักแต่ว่าหว่านลงไป
แต่พอผลิดอกออกผลเป็นความทุกข์
จึงร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดว่าไม่น่าเลย
รู้อย่างนี้ไม่ทำดีกว่า

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

"ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะมันตามแผดเผาภายหลังได้"
และว่า

"ถ้าท่านทั้งหลายกลัวต่อทุกข์
ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายแล้ว
ท่านอย่าทำบาปทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
ถ้าท่านทั้งหลายจักทำบาปหรือว่าจะทำ
ก็จะไม่พ้นจากความทุกข์ ไม่ว่าจะหนีไปที่ใดก็ตาม" (25/115/150)


ต้นเหตุที่จะให้พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ มีโดยย่อว่า
เด็กเป็นจำนวนมาก พากันจับปลาระหว่างเมืองสาวัตถีกับวัดเชตวัน
พระศาสดาเสด็จออกจากวัดเชตวันเข้าเมืองสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต
ทอดพระเนตรเห็นเด็กจำนวนมากกำลังจับปลา เบียดเบียนปลาอยู่
จึงเสด็จเข้าไปหาและตรัสว่า
"พวกเธอกลัวต่อความทุกข์
ความทุกข์ไม่เป็นที่รักของพวกเธอ หรือไม่ ?"
พวกเด็กราบทูลว่า "ไม่ชอบความทุกข์เลย"

พระศาสดาจึงตรัสข้อความดังกล่าวแล้ว
พิจารณาดูสังคมของเรา ตลอดถึงสังคมโลก
ร้องระงมด้วยความกลัวทุกข์
ทั้งที่มาถึงแล้วและคิดว่าจะมีมาในภายหน้า
แต่สังคมของเราไม่ค่อยกลัวบาปอันเป็นต้นตอของทุกข์

เหมือนคนกลัวแก่ เจ็บ ตาย แต่ชอบความเกิด
ซึ่งเป็นต้นทางและเป็นเหตุตรงแห่งทุกข์ทั้ง 3 ประการนั้น

เราชื่นชมโสมนัสต่อความเกิดหรือผู้เกิด
มิได้เฉลียวใจสักนิดว่า นั่นคือ การชื่นชมต่อทุกข์
ซึ่งดักรออยู่ข้างหน้า

ความฟุ่มเฟือย เป็นบาปอย่างหนึ่งของสังคม
ถ้าสังคมยังฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เพลิดเพลินสนุกสนาน
และหาความสุขบนความทุกข์ยากแร้นแค้นของผู้อื่นอยู่
สังคมย่อมไม่สามารถประสบสันติสุขที่แท้จริง
จะมีบ้างก็แต่ความสุขอันฉาบฉวย จอมปลอม
พร้อมที่จะมอบทุกข์ให้ผลตอบแทน เหมือนคนกินขนมเจือยาพิษ


สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ด้วยการนำทุกข์ให้ผู้อื่นผู้นั้นระคนด้วยเวร
ย่อมไม่พ้นจากเวร" (25/31/53)


คนไทยชอบพูดว่าเวรกรรม เวรกรรมแท้ๆ เวลาประสบเคราะห์ร้าย
พจนานุกรมไทยให้ความหมายคำว่า เวร
ว่า ความพยาบาทกัน, ปองร้ายกัน,
บาป นี่คือ ความหมายทางธรรม
ส่วนความหมายธรรมดา คือ การผลัดเปลี่ยนวันทำงาน
เช่น อยู่เวร เข้าเวร-ออกเวร เป็นต้น

โดยนัยนี้ น่าจะต้องมีกรรม คือ การกระทำก่อน แล้วจึงมีเวร
คือ ทำกรรมอันเป็นบาปหรือเป็นเหตุให้พยาบาทปองร้ายกัน

เรามองเห็นคนในสังคมปองร้ายกันมากมาย
อันสืบเนื่องมาจากกรรมที่เป็นบาป
เพราะความโลภบ้าง โกรธบ้าง หลงบ้างเป็นรากเหง้าอยู่

ถ้าไม่มีกรรมอันเป็นบาป ก็ไม่มีเวร หรืออาจพ้นจากเวรไปทีเดียว
สุภาษิตที่ว่า ทุกฺขโต ทุกฺขฐานํ ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
ในทางกลับกัน ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว หรือ สุขโต สุขฐานํ

ไม่ว่าจะมองในแง่จิตวิทยา หรือ ในมุมมองของศาสนาทุกศาสนา
สิ่งใดออกจากผู้ใด สิ่งนั้นย่อมกลับเข้าหาผู้นั้น
ผู้คิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ย่อมได้รับผลร้าย
ผู้คิดดี ทำดี พูดดี ย่อมได้รับผลดี
เหมือนลำต้น ดอกและใบของต้นไม้
ย่อมแสดงถึงเมล็ดพันธุ์ของมัน อย่าได้สงสัยเลย


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


คัดลอกจาก...
ผู้จัดการออนไลน์


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2007, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"คนในสังคมปองร้ายกันมากมาย อันสืบเนื่องมาจากกรรมที่เป็นบาป"

พร้อมทั้ง ความอาฆาต พยาบาท และอิจฉาริษยากัน


สาธุครับ... สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง