Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทุกครั้งที่สวดมนต์ เรามักจะนอนไม่หลับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
natty
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 5:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมัยที่เรา เรียน มัถยม เราต้องนอนที่โรงเรียนเพราะเป็นโรงเรียนประจำ ที่นี่จะมีรุ่นพี่ สอนให้พวกเรา สวดมนต์ก่อนนอนเสมอ ปรากฏว่า หลังจากที่เราสวดมนต์เสร็จแล้วนอน เราจะรู้สึกว่า ไม่สบาย กระสับกระสน วุ่นวาย เหมือนมีอะไร วนเวียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเรา ตลอดเวลา คืนนั้นเรานอนไม่หลับ และกลัว จนต้องปลุกเพื่อนให้อยู่เป็นเพื่อน พอวันที่ 2 เราก็ต้องสวดมนต์ก่อนนอนเหมือนเดิมอีก ผลก็คือ มันเป็นเหมือน วันแรก ทุกอย่าง เราเลยเล่าให้เพือนฟัง เพื่อนก็เลย บอกให้เราทดสอบโดยการ ที่ คืนต่อไป ลองไม่ต้อง สวดมนต์ดู ผลจะเป็นอย่างไร ปรากฏว่า เรานอนหลับปกติ ไม่มีความรู้สึกแบบนั้นเลย เราก็งง มากๆ ไม่เข้าใจว่า เกิดอะไร ขึ้น จากนั้นเลยก็ลองพิสูจน์อีกครั้งโดยการ ที่คืนต่อมาก็ สวดมนต์ เหมือนเดิม ผลก็เกิดเหมือนเดิม อีกคือเรานอนไม่หลับ เราเลย เลิก สวดมนต์ก่อนนอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ ทุกวันนี้ เรียน จบแล้ว ทำงาน แล้ว ย้ายมาอยู่กทม. มีครั้งหนึ่ง ลองทำการสวดมนต์ก่อนนอน ดู อยากรู้ว่า มันจะเป็นเหมือนเดิมหรือเปล่า ปรากฏว่า เป็นจริงๆๆ

เราไม่เข้าใจ ว่าทำไมเราถึงรุ้สึกแบบนั้น มีใครที่เป็นแบบนี้มั้ย หรือมีเหตุการณ์อะไรแปลกๆๆ แบบนี้ มั้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ศีลดีจริงหนอ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 9:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาจจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรมาขอส่วนบุญก็ได้มั้ง
สวดมนต์แล้วควรขออโหสิกรรม และแผ่เมตตาด้วยนะครับ
 
happiness center
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 12:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืม ครับผม เป็นอาการที่เเปลกๆ ดีครับ สวดมนต์เเล้ว นอนไม่หลับ เหมือนกับการนั่งสมาธิเเล้ว นอนไม่หลับของผมเลย เเต่การนั่งสมาธิของผม เป็นเเล้วก็หาย ทำบ่อยๆ นะ ทำก่อนนอน
อันที่จริงผมว่า การสวดมนต์ ส่วนมากมักจะทำให้เราสบายใจมากกว่า เเละทำให้นอนหลับสบายดี เเต่อาการนอนไม่หลับเเน่ ถ้าจะว่าเป็นเพราะการสวดมนต์นั้น มันไม่เเน่เสมอไปหรอกนะ ลองทำบ่อยๆ ดีกว่า เเละสวดมนต์ไม่ควรจะต่ำกว่า สิบนาที อาการเหล่านี้จะหายไปครับ
ลองดูครับ เป็นยังไงบอกด้วยครับผม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ไก่งวง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 12:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมก็เคยเป็นครับ เห็นจะจริงอย่างที่ คห2 ว่าครับ เพราะปัจจุบันนี้หลังสวดมนต์ทุกครั้งผมจะนั่งหลับตาสักพักและแผ่ภาวนาว่า ขอให้เป็นสุขเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ทุกครั้ง
หลังจากนั้นผมมีความรู้สึกว่า นอนหลับสนิทมากและชีวิตเริ่มดีขึ้น และเรามีสมาธิมากขึ้นด้วยครับ
 
บิ้ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 8:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาจเป็นเพราะเจ้ากรรมนายเวรอย่างที่เขาว่าค่ะ
แผ่เมตตาให้เขา ขออโหสิกรรมให้เขา
ทำบุญอุทิศส่วนบุญให้เขา

เพราะหากว่าเรายังจองเวรอยู่กับเขาอยู่ เขาก็จะไม่ลดละจากเรา
ฉะนั้น หากเราจะทำอะไรให้ได้ดีสักอย่าง เขาก็จะขัดขวางเราทุกอย่างที่เขาทำได้
ทางที่ดีคือ ทำบุญ แผ่เมตตา อุทิศส่วนบุญให้เขาค่ะ
 
เพื่อนช่วยคิด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 11:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แผ่เมตตาแล้วหลับสบายยย ครับ
 
natty
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราไม่เคยเชื่อเรือง เจ้ากรรมนายเวร เลย นะ ไม่ได้ลบลู่แต่ไม่คิดจริงจังกับเรื่องแบบนี้ไง แต่มีครั้งนึง เพื่อนเคยเล่าให้ฟัง ขณะที่เรานอนหลับอยู่ในห้อง คนเดียว (หอพัก เป็นห้องรวม ) เขาเคยเห็น เราคุยกับใครคนหนึ่งทั้งๆที่ห้องนั้น ไม่มีคนอยู่เลย เพื่อนขึ้นมาตามไปกินข้าวเลยเห็น เขาก็ งงว่าเราคุยกับใครอยู่ ทั้งๆที่ไม่มีคนอื่นเลย พอเขาเล่าให้ฟัง เราก็ยัง งง เพราะเราไม่รู้เรื่องเลย เราหลับแท้ๆๆจะไปคุยกับใครได้

เล่าประสบการณ์ให้ฟังกันคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 8:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองสวดเป็นภาษาไทยดูนะครับ

หาได้จากมนต์พิธี แปล

การสวดมนต์ให้ดี ให้เกิดปิติ อยู่ที่จิตขณะสวดด้วย ควรสวดมนต์ด้วยจิตที่สงบ ครับ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2007, 1:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเรื่องที่แปลกมากครับ เพิ่งเคยได้ยิน

วิธีแก้ก็มีอยู่ครับ ลองทำดูนะครับ

1. ขอให้คุณ สวดมนต์ดูครับ แล้ว เวลาที่เราสวดให้ จิตใจ จดจ่ออยู่กับ บทที่เราสวด
ถ้าคุณทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับบทสวด จิตของคุณจะเริ่มสงบลง ครับ

2. หลังจากที่คุณสวดมนต์ เสร็จแล้ว ให้แผ่เมตตา ต่อไปครับ
หลักการ แผ่เมตตาก็ง่ายๆ ครับ ว่าตามนี้ครับ ขออำนาจแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงค์... ขอบุญกุศลของข้าพเจ้าที่ได้ กระทำมา ทั้งในอดีก และ ปัจจุบัน ขอบุญกุศลเหล้านั้น จงมีแก่..... คุณจะให้ใคร ก็ ว่าไป ครับ ยิ้ม

3. หลังจากที่คุณ ทำเสร็จไป 2 ข้อแล้ว คุณก็นอนได้เลย ครับ
เวลานอน ก็ ขอให้คุณ ดูจิต ของเราไป ครับ
ว่ามันคิดอะไร ไปไหนบ้าง ให้ตามรู้ไปเรื่อยๆครับ ถ้ามัน วุ่นวายมาก ก็ให้ ดูลมหายใจเราครับ ให้เขา ก็รู้ .... ออกก็รู้.... หรือจะ กำหนดลม ด้วยการ เข้า พุธ ออก โธ .. ก็ได้ ครับ หรือจะกำหนด คำอื่นก็ได้ครับ แล้วแต่ชอบ....

4. ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผลก็ขอให้มีความพยายาม ในการทำ ใน 3 ขั้นตอนนี้ ต่อไปครับ .. ทำทุกวันครับ ถ้าคุณมีความตั้งใจจริง.... ผมเชื่อว่าคุณจะนอนหลับ ได้ อย่างเป็นสุข แน่นอนครับ.. สาธุ

* ไม่มีคำแนะนำไหนดีที่สุด มีแต่ ผู้ที่อ่าน แล้วเอาไปปฏิบัติ ให้เกิดผล จึงจะดีที่สุด *
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 11:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัย
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ครูหนุ่ม
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 ส.ค. 2008
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พวกที่เขาไม่ชอบการสวดมนต์ คือ พวกที่ภพภูมิต่ำๆ พวกเปรต ผี ปิศาจ เขาอึดอัด กระวนกระวายเมื่อได้ยินเราสวดมนต์ เปรียบง่ายๆ คือถ้าเราไม่ชอบเสียงใดเสียงหนึ่ง เราจะรู้สึกยังไงถ้ามีใครมาทำเสียงนั้นให้เราได้ยินและเราจะบอกเขาให้หยุดก็บอกไม่ได้เมื่อบอกไม่ได้ก็ต้องหาวิธีอย่างใดก็ได้เพื่อทำให้เขาหยุดเสียงนั้นใช่ไหม ก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่จะทำให้คุณหยุดสวดก็คือ ทำให้คุณหงุดหงิด รู้สึกไม่ดีเวลาสวด
พวกที่ชอบการสวดมนต์ก็มี คือ พวกเทพ ทั้งหลาย พวกที่ภพภูมิสูงๆ เช่น อินทร์ พรหม เป็นต้น

พวกที่อยู่ใกล้มนุษย์มากที่สุดก็พวก เปรต ผี ปิศาจ และเทวดาชั้นต่ำๆ
และพวกเหล่านี้ก็จะติดตามคนทุกคนที่เป็นญาติซึ่งมีจำนวนมากน้อนต่างกัน ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่เกิดอาการอย่างที่ว่ามา แก้ไขก็ไม่ยาก ให้ทำบุญแล้วอุทิศให้ พอเขาได้บุญจากเราเขาก็จะมีสภาวะที่ดีขึ้นละเอียดขึ้น จากเปรต อาจกลายเป็นเทพเลยก็ได้ แล้วพวกเขาจะดูแลรักษาเรา
ส่วนการสวดมนต์ก็ได้บุญเช่นกัน แต่เป็นบุญที่มีสภาวะที่ละเอียด พวกภูมิต่ำๆ รับได้ยาก ฉะนั้นการสวดมนต์แล้วแผ่เมตตา จึงสำเร็จผลดีแก่พวกเทพชั้นสูงๆ ขึ้นไปเท่านั้น พวกต่ำๆ รับได้ยากมากหรือแทบไม่ได้เลย เมื่อเขาไม่ได้บุญจากเราเขาก็ก่อกวนท่านเป็นธรรมดา เพราะท่านก่อกวนเขาด้วยการสวดมนต์ เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุ ถ้ารู้จักเหตุก็แก้ไขให้ถูกต้องผลก็จะออกมาดีเอง พี่น้อง ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือน่าอัศจรรย์อะไร
 

_________________
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปในที่ที่ดี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
tanaphomcinta
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 127
ที่อยู่ (จังหวัด): 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทดรองเอามนต์นี้ไปสวดดู เพราะทุกคนที่เอาสวดแล้วได้ผลทุกรายแต่จะยาวพอสมควร เราเริ่มสวดทีแรกขนาดอ่านหนังสือคล่อง สวดอยู่หนึ่งชั่วโมงสี่สิบห้านาที ทุกวันนี้ สิบหานาที ทั้งสองบทเลยนะ
ก่อนจะสวดต้องหาขันธ์ ห้า และ ขันธ์ แปด ขึ้นหิ้งพระก่อนนะ สงสัยก็โทรถามได้ 087.771.6364 พระครูอมรศีลวิสุทธิ์
มะหาทิพย์พระมนต์ (มนต์ใหญ่)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่าสามครั้งก่อนสวด)
ชะยะ ชะยะ ปะฐะวีสัพพัง ชะยะ สัตถา ระหะตะปัง
ชะยะ ชะยะ ปัจเจกกะสัมพุทธัง ชะยะ อิสิมะเหสสุรัง
อินโทจะ เวนะเตยโย จะ กุเวโร วารุโณปิ จะ
อัคคิ วาโย ปะชุนโณ จะ กุเวโร จะตุโลกะปาละโก
ชะยะ ชะยะ หะโรหะรินเทวา ชะยะ พรหมมา ธะตะรัฏฐะกัง
ชะยะ ชะยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จันทิมาระวิ
อัฏฐาระสะ มะหาเทวา สิทธิตาปะสะอาทะโย
อะสีติ สาวะกา สัพเพ ชะยะ ลาภาภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม )
ชะยะ ชะยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะทะสะ ปาโล จะ เชยยะกัง
เอเตนะ ชะยะ สิทธิเตเชนะ ชะยะโสตถี ภะวันตุ เต(สวดให้ตัวเองว่า เม )
อัฏฐาธิกะสะตัง ยัสสะ มังคะลัง จะระณัททะวะเย
จักกะลักขะณะสัมปันนัง นะเมตัง โลกะนายะกัง
อิมินา มังคะละเตเชนะ สัพพะสัตตะหิเตสิโน
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ ชะยะโสตถี ภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ มะมัง รักขันตุ สัพพะทา
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะสิทธี ภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะสิทธี ภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
สัพพะสัตรู วิธังเสนตุ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีลาเนกขัมมะปัญญาวิริยัญจะขันตี
สัจจาธิฏฐานา สะหะเมตตุเปกขา ยุทธายะโว คัณหะถะ อาวุธานิ
ปาระมิโย วิทิตตะวานะ โพธิสัตตัสสะ สันติกัง
เกสะระราชา วะ อาคัณฉุง โพธิสัตตัสสะ สันติกัง
มะยัง ปะระมิตา โยธา จะระเณนะ ตะยาภะตา
อัชชะ ทัสสามะ เต จีรัง ชะยะภัททัง นะมัตถุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักกะยานัง นันทิวัฒฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
พุทโธ จะ มัชฌิโม เสฏโฐ สารีบุตโต จะ ทักขิเณ
ปัจฉิเม ปิจะ อานันโท อุตตะเร โมคคัลลานะโก
โกณฑัญโญ ปูระภาเค จะ พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
อุปาลี หะระติฏฐาเน อาคะเณยเย จ กัสสะโป
ราหุโล เจวะ อิสาเณ สัพเพเต พุทธะมังคะลา
โย ญัตตะวา ปูชิโต โลเก นิททุกโข นิรูปัททะโว
มะหาเทโว มะหาเตโช ชะยะโสตถี ภะวันตุ เต(สวดให้ตัวเองว่า เม)
ปะทุมุตตะโร จะ ปุระพายัง อาคะเณยเย จะ เรวัตโต
ทักขิเณ กัสสะโป พุทโธ หะระติเย สุมังคะโล
ปัจฉิเม พุทธะสิขี จะ พายัพเพ จะ เมธังกะโร
อุตตะเร สากะยะมุนี เจวะ อิสาเณ สะระณังกะโร
ปะฐะวียัง กะกุสันโธ อากาเส จะ ทีปังกะโร
เอเต ทะสะ ทิสา พุทธา ราชะธัมมัสสะ ปูชิตา
นัตถิ โรคะภะยัง โสกัง เขมัง สัทปัตติทายะกัง
ทุกขะโรคะภะยัง นัตถิ สัพพะสัตตรู วิธังเสนตุ
เตสัญญาเณนะ สีเลนะ สังยะเมนะ ทะเมนะ จะ
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อะนาคะตัสสะ พุทธัสสะ เมตเตยยัสสะ ยัสสะสิโน
มะหาเทโว มะหาเตโช สัพพะโสตถี ภะวันตุ เต (สวดให้ตัวเองว่า เม)
นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนสะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวะ
ตะถาคะตัง อะระหันต์ตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา
กินนุ สัตตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุททา ชีวันโต นะ สุขขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ
นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนสะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวะ
ตะถาคะตัง อะระหันต์ตัง สุริโย สะระณัง คะโต
ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา
โยอันธะกาเร ตะมะสีปะภังกะโรเวโรจะโน มัณฑะลิ อุคคะเตโช
มา ราหุ คิลิ จะรัง อันตะลิกเขปะชัง มะมะ ราหุปะมุญจะสุริยันติ
กินนุ สัตตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุททา ชีวันโต นะ สุขขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสะ นะโม สังฆัสสะ เสยยะทิทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ เหฏฐิมา จะ อุปะริมา จะ วิตถาริกา จะ ติริยัญจะ สัพเพสัตตา สัพเพปานา สัพเพภูตาสัพเพปุคคะลา สัพเพอัตตะภาวะปริยาปันนา สัพพาอิตถิโย สัพเพปุริสา สัพเพ อะริยา สัพเพอะนะริยา สัพเพเทวา สัพเพมะนุสสา สัพเพวินิปาติกา สะจิตตะกา อะจิตตะกา สะชีวิกา สัพเพอะเวราโหนตุ อัพพะยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ ทีฆายุกา โหนตุ อะโรคา โหนตุ สัมปัตติ สะมิชฌันตุ สุขังอัตตานัง ปะริหะรันตุสัพเพ มังรักขันตุ จุปททะวา ฯ
ชะลัฏฐา วา ถะลัฏฐา วา อากาโสปิจะ อันตะลิกเข
ปัพพะตัฏฐา สะมุททา จะ รักขันติ จะ ละตาสิโน
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
สุริยัง จันทะอังคารัง พุทธะพะฤหัสสะปะติฏฐิตา
สุกะระโส ระราหูเกโส นะวัคคะระหา จะ สัพพะโส
เตสังพาเลนะ เตเสนะ อานุภาเวนะ เตนะ จะ
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
เจตะระวิสาขะเชฏเฐ จะ อาสาเธ สะวะเน ตะถา
ภัททะปาเท จะ อาสุชเช กัตติเก มิคะสะริเก
ปุสเส มาเฆ ผัคคุเณ จะ โลกังปาเลนติ ธัมมะตา
เอเต ทะวาทะสะ จะ มาเส อานุภาเวนะ มะหาภูตา
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
มูสิโก อุสะโภ พะยัคโฆ สะโส นาโค จะ สัปปะโก
อัสสา เมณโฑ กะปิ เจวะ กุกฏุโฏ สะวานะสุกะโร
เอเต ทะวาทะสะ นักขัตตา โลกัง ปาเลนติ ธัมมะตา
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อัสสะยุโช ภะระณี จะ กัตติตา โรหินีปิ จะ
มิคะสิรัญจะ อัทรัญ จะ ปุนัพเพสุ ปุสสาปิ จะ
อะกิเลโส จะ มาโฆ จะ ปุพพา จะ ผัคคุณี ตะถา
อุตตะระผัคคุณี เจวะ หัตถะจิตตา จะ สาติ จะ
วิสาขันลาธะเชฏฐะ- มูละปุพพัตตะระสาฬะหะตา
เอกะวีสะติ นักขัตตา ปะภายันติ ทิเน ทิเน
เมสสะพะฤสะพะเมถุนา กะระกะฏาสีหะกัญญะกา
ตุละพิจิกธะนูเจวะ มังกะรากุมภะมินนะภา
เอเต ทะวาทะสะ จะ ราสี อานุภาเวนะ เตนะ จะ
เตปิ ตัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
ระตะนานิ จะ วะสันติ โชติกัสสะ ยะถา ฆะเร
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
กาญจะนานิ จะ วัสสันตุ เมณฑะกัสสะ ยะถา ฆะเร
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
ธะนะสารานิ ปะวัสสันตุ ธะนัญชะยัสสะ ยะถา ฆะเร
สา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
ธะนะสารานิ ปะวัสสันตุ อุคคะตัสสะ ยะถา ฆะเร
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
กาญจะนาชัลละสังกาเส โชติกัสสะ ยะถา ฆะเร
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
สัพพะธะนานิ ปะวัสสันตุ จิตตะกัสสะ ยะถา ฆะเร
มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว
กะหาปะณานิ ปะวัสสันตุ เมณฑะกัสสะ ยะถา ฆะเร
อักขะรัสสาริ นามะ อิสิ หิมะวันเต วะสิ ตะทา
สิทธิวิชชาธะรา สัพเพ เทวานัง ปูชิตา สะทา
พุทธา ปัจเจกะพุทธา จะ อะระหันตา อินทะเทวะตา
พรหมมะอิสิมุนี เจวะ ทะวาทะสะ รักขันติ สะทา
สิทธิวิชชาธะรา สัพเพ ทะวาทะสะ รักขันติ สะทา
พุทธะสาวัง คุณัง วิชชัง พะละเตชัญจะ วิริยัง
สิทธิกัมมะธัมมะสัจจัง พินพานัง โมกขะขุยหะกัง
ทานัง สีลัญจะ ปัญญาจะนิกขัมมะปุญญัง ภาคะยัง ตะปัง
ยะสัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติ เทสะนา
เอเต โสฬะสะ ธัมมา พุทธา-เทวา สะรันติ จะ
ปัจเจกะอะระหันตา จะ อินมา เทวา สะพรัหมะกา
อิสิ มุนิ จะ ราชาโน ปุริโส จะ วิชชาธะรา
สัพเพ โลกาธิปะติเทวา โสฬะสะภะวะพรหมมุนา
อะหะโย จะ สัปปา เจวะ อัสโส เมณโฑ จะ กุกกุโฏ
โคมะหิงสา ตะถา หะตา ติรัจฉานาคะกัณฐะกา
กูโป ปะปาโต โสพพะโภ จะ อุภะโต ภะคะวะโต ปิจะ
ภัตโต วัสสะตุ ราชา จะ โจระโก อัคคะโปตะโก
สัสสะมาราจะ นาโค จะ คะรุโฬ สุวะกินนะโก
มะหะโต เทวะเทโว จะ กุเวโร มะนุสโสปิ จะ
อะมะนุสโส จะ ยักโข จะ มะหายักโข จะ รักขะโส
มะหานาโค ปิสาเจวะ มัคโค กุมภัณฑะโกปิจะ
สิทธิวิชชาธะรา สัพเพ สมหัง ปิตัญจะ วายุกัง
อุปะกายะนิปาตัญ จะ สัพเพ จะ ปิยะมิตตะโก
สัพเพ สัตตา จะ ยักขา จะ เมตตะจิตตา สะทา ภะเว
เอกะปัญญา จะ สัพเพเต สัพเพ รักขันตุ ตัง สะทา
อะหัง ลาภัง จะ ลาภานัง สักกาโร ปูชิโต สะทา
สัพเพ เทวา มะนุสสา จะ ปิยา รักขันตุ มัง สะทา
คามัง เทสัญจะ นะคะรัง นะที ภูมิ จะ ปัพพะตัง
วะนะสะมุททะมัฏฐานัง สัพเพ รักขันตุ ตัง สะทา
สิทธิพุทธา สิทธิธัมมา สิทธิสังฆา จะ อุตตะมา
สิทธิอัฏฐาระสะ มะหาเทวา จะตุโลกะปาลา จะ เทวะตา
สิทธิปัจเจกะสัมพุทธา สิทธิสัพพัญญูสาวะกา
สิทธิราโม สิทธิเทวา สิทธิยักโข จะ รักขะโส
สิทธิวิชชาธะรา สัพเพ สิทธิอิสิ มะเหสสุรา
สิทธิปัพพะตะเทวานัง สิทธิการะณะเทวะตา
สิทธิปาสาทะเทวานัง สิทธิเจติยะเทวะตา
สิทธิโพธิรุกขะเทวะตา สิทธิสะรีระธาตุโย
พุทธะรูปัญจะ สัพเพสัง สัพพะรูปัญจะ เทวะตา
สิทธิติณณัง จะ รุกขานัง วะสิยา ฆะระเทวะตา
สิทธิชะละถะละตา จะ สิทธิอากาสะเทวะตา
สิทธิมุนี จะ ราชาโน สิทธิปุริสะลักขะโณ
สิทธิภูมมัฏฐะเทวะตา สิทธิกัมมะภะลัง วะรัง
สิทธิปาทา อะปาทา จะ สิทธิปาทา จะตุปาทะกา
พะหุปาทา จะ สัตตา จะ สิทธิปักขา จะ วายุกัง
เอเตนะ สิทธิเตเชนะ ชะยะโสตถี ภะวันตุ (เต) สวดให้ตัวเองว่า (เม)
เอเตนะ สิทธิเตเชนะ มะมังรักขันตุ สัพพะทา
เอเตนะ สิทธิเตเชนะ สัพพะสิทธิ ภะวันตุ (เต) สวดให้ตัวเองว่า (เม)
สัพพะสัตรู วิธังเสนตุ สัพพะโสตถี ภะวันตุ (เต) สวดให้ตัวเองว่า (เม)
โยสังฆามัง วะ คัจฉันโต สะรันโต ทิพพะมันตะระกัง
ชะยะพะลัง สุขัง ลาภัง สัพพะสัตรู วิธังเสนตุ
ปุตตะกามา สัพเพ ปุตตัง ธะนะกามา สัพเพ ธะนัง
อะธิการัง ละเภยยาหัง ปุริโส ปัณฑิตโตปิ จะ
ราชา อิตถี จะ เศฏฐี จะ ปุริโส ปัณฑิตโตปิ จะ
สีโห พะยัคโฆ วะราโหจะ อัสสะเมณโฑ จะ สุภะโร
โคมะหิงสา ตะถา หัตถี ติรัจฉานานุกัณฐะกา
สัพเพ สัตรู อัญญะโลหัง ตามะพะกัง สัพพะติปุกัง
อัตกิ อัญเญ จะ กุรุเต จักกะรานักขาปะริสะกัง
โก ชะโน ทัณฑะนาสายะสัณหัง อัคคิ จะ วายุกัง
ขัคคะเสลัญจะมัตติกัง ยันตะระภาสานะสาตตะระกัง
อัญเญ จะ ตุมหากัง กัตตะวา มันตะระมายา นิโยชิตัง
เอเตนะ สิทธิเตเชนะ มะมัง รักขันตุ สัพพะทา
เอเตนะ สิทธิเตเชนะ สัพพะสิทธี (เต) สวดให้ตัวเองว่า (เม)
ทุกขะโรคะภะยัง เวรา โสกาสันตุ จุปัททะวา
อันตะรายานิ อะเนกานิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิ ภาคะยัง สุขัง พะลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ ยะ สะวาโหมิ สัพ
พะทาสะวาหายะ ฯฯฯ
ท่านใดสวดได้เป็นประจำทุกเช้าเย็นจะเป็นได้ทั้งเมตตามหานิยมและมหาอุตไปในตัวเองท่านบอกไว้ในต้นฉบับว่า แม่ทับนายกองสมัยก่อนจะออกศึกต้องสวดก่อนแล้วออกศึก สามารถคุ้มครองได้ทั้งกองทับ และผู้นำมาเผยแพร่นี้ก็เคยสวด ชินบัญชรมาก่อน หยอดกัณพระไตรปิฏก ก็เคยสวดมา แต่ไม่เหมือนสวด พระมหาทิพย์พระมนต์ นี้เลย เห็นผลมาแล้วจึงนำมาบอกต่อ ลองดู ถ้าวดด้วยความศรัทธา จะเห็นผลภายใน 7 วัน จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดแต่ตัวเองหรือครอบครัวก็ได้ อย่างไรแล้วโทรบอกด้วย 087.771.6364 พระครูอมรศีลวิสุทธิ์ สวดเมตตาใหญ่ด้วยนะ

เมตตาพรหมะวิหาระภาวะนา (เมตตาใหญ่)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
เอวะเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ฯ สาวัตถิยัง วิหระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ ฯ อาราเม ฯ ตัตตะระ โข ภะคะวา ฯ ภิกขู อามันเตสิ ฯ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโว จะ ฯ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา ฯ อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ฯ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ฯ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ ฯเอกาทะสานิสังสาปาฏิกังขา ฯ
กะตะเม เอกาทะสะ (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินนัง ปัสสะติ(๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วาสัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวัฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ(๙) มุขะวัณโณ วิปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬะโห กาลังกะโรติ (๑๑) อุตตะริงอัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ ฯ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา ฯ อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ฯ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ฯ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ ฯ เอกา ทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯกะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๒) สัพเพปานาอะเวราอัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๓) สัพเพ ภูตาอะเวราอัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๔) สัพเพปุคคะลาอะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๖)สัพพาอิตถิโยอะเวราอัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
(๗) สัพเพปุริสาอะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
(๘)สัพเพอะริยาอะเวราอัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๙) สัพเพอะนะริยาอะเวราอัพพะยาปัชฌาอะนีฆาสุขีอัตตานังปะริหะรันตุ
(๑๐)สัพเพเทวาอะเวราอัพพะยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๑๑) สัพเพ มะนุสสาอะเวราอัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ (๑๒)สัพเพ วินิปาติกาอะเวราอัพพะยาปัชฌาอะนีฆาสุขีอัตตานังปะริหะรันตูติฯ อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ สัตตา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ สัตตา ฯ อะเวรา อัพ
พะยาปัชฌา อะนี ฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ สัตตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌา อะนี ฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ สัตตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌา อะนี ฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ฯ สัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย ปานา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปานา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนี ฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปานา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปานาฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปานาฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปานา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย ปุคคะลา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ฯ ปุคคะลา อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย อัตตะภาวะปะริยาปัน
นาอะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา
อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา
อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา
อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา ฯ
อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา ฯ
อะเวรา อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย อิตถิโย ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อิตถิโยฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อิตถิโยฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย ปุริสา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปุริสาฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปุริสา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ ปุริสา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย อะริยา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะริยา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะริยา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะริยา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย อะนะริยา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา ฯอะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพเหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยาฯอะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพอุปะริมายะทิสายะ อะนะริยา ฯอะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย เทวา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ เทวา ฯอะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ เทวา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ เทวา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา ฯอะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา อัพพะ
ยาปัชฌาอะนีฆาสุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพอุปะริมายะทิสายะ มะนุสสา ฯ อะเวรา อัพพะยาปัชฌา
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนุทิสาย วินิปาติกาา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌาอะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา ฯ อะเวรา
อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา ฯอะเวราอัพพะยาปัชฌา
อะนีฆาสุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพอุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา ฯอะเวราอัพพะยาปัชฌา
อะนีฆาสุขี อัตตานังปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตตะวา ฯ อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง วัตเชตตะวา ฯ อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัตเชตตะวา ฯ อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัตเชตตะวา ฯ อะปะริยา ทาเนนะ วิเหสัง วัตเชตตะวา ฯ อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ ฯ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ ฯ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ ฯ มาทุขิตัตตาติ ฯ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต ฯ เมตตายะตีติ ฯ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ ฯ เจโต สัพพะยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ ฯ มุจจะตีติ ฯ วิมุตติ ฯ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ ฯ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯฯฯ จบเท่านี้
สวดภาวนาทุกวันแล้วจะเห็นผลเองผู้ใดสวดได้ทุกวันผู้นั้นจะมีเทวดาคอยคุ่มครองรักษาตลอดเวลา เป็นได้ทั้งเมตตามหานิยมเป็นได้ทั่งมหาอุตร กันได้ทั้งผีสางนางไม้ ไม่ให้มารังแกเรา
ด้วยความปรารถนาดีหวังให้ทุกท่านมีความสุขทั่วหน้า จาก พระครูอมรศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแก้งกอย บ้านโนนคูณ ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ๓๖๑๘๐โทร.๐๘๗.๗๗๑.๖๓๖๔



หมายเหตุ เป็นการเอาหนังสือสองเล่มมาเข้าอยู่ด้วยกัน
คลายความสงสัยในเรื่องชาติหน้ามีจริงหรือไม่หนังสือนี้เรียกว่า
ปรโลก
โดย พระราชสุทธาจารย์ (ตอนมรณภาพเป็นพระเทพสุทธาจารย์)
(นามเดิม หลวงพ่อโชติ คุณฺณสมฺปนฺโน)
เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์วราราม
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
บอกเล่าด้วยปากของท่านเอง
บัดนี้ เพื่อที่จะได้ช่วยคลี่คลายในความสงสัยที่ว่า เราทั้งหลายได้เคยเกิดมาแล้วเหมือนกัน เป็นเครื่องยืนยันว่าเราทั้งหลายมิใช้เพิ่งจะมาเกิดชาตินี้ชาติเดียว ข้าพเจ้าจึงขอเล่าชีวประวัติของข้าพเจ้าให้ฟังสักเล็กน้อย ตามความรู้สึกและที่จำได้ ตามที่ตนได้เป็นมาแล้ว คือภาวะและฐานะของข้าพเจ้าในเวลานี้ เป็นที่พระราชสุทธาจารย์ ก่อนที่จะเป็นพระราชสุทธาจารย์ก็เคยเป็นพระธรรมฐิติญาณ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเป็นพระธรรมฐิติญาณ ข้าพเจ้าก็ได้เป็นพระครูคุณสารสัมบันมาแล้ว ก่อนที่ข้าพเจ้าจะได้เป็นพระครูคุณสารสัมบัน ข้าพเจ้าก็ได้เป็นพระมหาโชติมาแล้ว ก่อนที่จะได้เป็นพระมหาโชติ ข้าพเจ้าก็ได้เป็นพระสมุห์โชติมาแล้ว (ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมฐิติญาณ องค์ก่อน(สังทอง พันเพ็ง นาควรเถระ) (วัดสุทธจินดา นครราชสีมา) ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเป็นพระสมุห์โชติ ข้าพเจ้าก็เคยเป็นพระภิกษุโชติมาก่อน ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเป็นภิกษุโชติ ก็เคยเป็นสามเณรโชติมาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นสามเณรโชติ ก็เคยเป็นนายโชติมาก่อน ก่อนจะเป็นนายโชติก็เคยเป็นเด็กชายโชติมาก่อน ก่อนที่จะเป็นนายโชติก็เคยเป็นหนูโชติมาก่อน ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องของนายแป๊ะ นางเหรียญ นามสกุล เมืองไทย อยู่ที่บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองอยู่ทางทิศไต้ จังหวัดสุรินทร์ ตะวันตกถนนไปอำเภอปราสาท ระว่างกิโลเมตรที่ ๑๔-๑๕ มีถนนซอยเข้าไปประมาณกิโลเมตรเศษ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเป็นหนูโชตินั้น ข้าพเจ้าเคยเป็นนายเล็ง พี่ชายของนางเหรียญ ซึ่งเป็นมารดาของข้าพเจ้าในบัดนี้ เหตุที่ข้าพเจ้าข้าพเจ้าจะได้มาเป็นลูกคนสุดท้องของนางเหรียญนี้ก็มีเรื่องดังนี้คือเมื่อปีวอกพ.ศ๒๔๕๑ข้าพเจ้าอายุได้ ๔๕ ปี มีบุตรสามคนด้วยกัน ในปีนั้นข้าพเจ้านายเล็งก็ได้เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะมาเป็นเวลาหลายเดือนเหมือนกัน ในระว่างนั้น พี่น้องสองคนนี้ฝันเห็นกันเสมอและทราบว่า นับแต่เวลาที่นางเหรียญตั้งครรภ์ครั้งนี้ก็ให้มีจิตเลื่อมใสใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สนใจในการบำเพ็ญสมาธิภาวนาเจริญสมถธรรมกรรมฐานมากขึ้นๆ คล้ายกับที่เรียกว่าแพ้ท้อง แต่แทนที่จะแพ้ไปในทางที่ให้อยากกินส้มกินเปรี้ยวอะไรอย่างที่เคยมีลูกคนก่อนๆ ก็กลับเป็นให้อยากไปในทางถือศีลกินเพลอยากไปบวชชี เมื่อจวนจะเข้าพรรษาในปีนั้น อดรนทนไม่ได้จึงได้อำลามารดาและสามีทั้งๆที่อุ้มท้องประครองครรภ์ก็อุตส่าห์ไปโกนผมนุ่งห่มผ้าขาวบวชเป็นชี ไปขึ้นธรรมบำเพ็ญภาวนากับบรรดาสัปบุรุษทั้งหลาย ต่างก็ได้พากันปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ ตั้งแต่ต้นพรรษาของปี ๒๔๕๑ นั้น ในสำนักของอาจารย์แอกวัดตะเคียน ตะวันออกสถานีลำชีประมาณหนึ่งกิโลเมตร ตะวันตกเมืองสุรินทร์เจ็ดกิโลเมตร จากบ้านกระทม ตำบลนาบัวไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เมื่อนางเหรียญไปขึ้นธรรมบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่วัดนั้น ข้าพเจ้านายเล็งก็นอนป่วยอยู่ที่บ้าน แต่ความรู้สึกของข้าพเจ้าว่าได้ไปตามรู้เห็นกิจการ ที่นางเหรียญเขาไปขึ้นธรรมบำเพ็ญภาวนานั้นตลอดเวลา ตั้งต้นแต่เขาออกจากบ้านไปถึงวัดแล้ว ก็พากันถือดอกไม้ธูปเทียนขึ้นไปมอบกายถวายตัวต่อท่านพระอาจารย์ รับกรรมฐานตามระเบียบ อาจารย์ก็สั่งให้ทุกคนเตรียมเครื่องสักการะคั่วข้าวตอกดอกไม้ ฟั่นเทียน และทำที่สำหรับบูชาพระตามลัทธิของอาจารย์ในสมัยนั้นและตลอดเวลาที่นางเหรียญเข้าบำเพ็ญสมถธรรมกรรมฐานอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็ได้รู้เห็นอยู่ด้วย อาการที่รู้เห็นนั้นปรากฏว่าข้าพเจ้าอยู่แต่ข้างหลังเขาตลอดเวลา ห่างกันวาหนึ่งเป็นปกติ แต่ไม่เคยพูดกับเขา ไม่เคยช่วยทำอะไร ตาของข้าพเจ้าดูเหมือนไม่เคยกระพริบเลย มีแต่คอยจับจ้องดูเขาอยู่อย่างนั้น จนลืมสังเกตตัวเองว่าเราอยู่อย่างไร แต่ก็ปรากฏว่า ตัวเองอยู่ห่างเขาระยะห่างหนึ่งวาเท่านั้น ตลอดเวลาแม้ในขณะที่เขาภาวนาต่อหน้าที่บูชาพระ ข้าพเจ้าก็ดูเขาอยู่ข้างหลัง ขณะนั้นเขาจุดเทียนใหญ่บูชาอยู่คู่หนึ่ง ธูปสามดอกลดลงมาอีกบาตรน้ำมนต์รอบปากบาตรนั้นมีเทียนผึ่ง ๕ เล่ม น้ำหนักเล่มละหนึ่งบาท และตามเล่มเทียนนั้น มีเงินด้วงติดตามลำต้นสามลูกด้วยกัน เรียกว่าลูกสะกด เมื่อเขาจุดทั้งหมดแล้ว ก็มีการสวดมนต์ไหว้พระและภาวนาต่อไป ในไม่ช้าเท่าไร ไฟก็กินเทียนไปถึงลูกสะกดหล่นลงไปในบาตรน้ำมนต์เสียงดังต๋อม เขาก็ประนมมือขึ้นพร้อมกับเปล่งเสียงว่าสาธุแล้ววางมือหลับตาภาวนาต่อไป จนกว่าธูปเทียนจะหมดจึงพัก พอเช้าขึ้นได้อรุณก็พากันไปบอกเล่าต่ออาจารย์ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้จนถึงวันขึ้นแปดค่ำเดือน ๑๑ จึงได้ทำพิธีฉลองแล้วเลิกรากันไป ข้าพเจ้าก็ได้รู้เห็นเป็นลำดับมา ครั้นถึงวันเขากลับ ข้าพเจ้ารู้สึกสบสนจนจำไม่ได้ จนกระทั้งวันแรมสามค่ำเวลาบ่ายสามโมง ข้าพเจ้านายเล็งก็รู้สึกแจ่มใส จำได้ว่าขณะนี้ตัวกำลังป่วย เวลานั้นมีญาติผู้หญิงสามคนรวมกันเป็นสี่กับเจ้าของบ้าน ข้าพเจ้าลืมตาขึ้นได้เห็นและได้ยินเขาสนทนาไต่ถามกันอยู่ เมื่อสามทุ่มเมื่อคืนนี้นางเหรียญเขาอยู่ไฟเป็นลูกผู้ชายหน้าตาจิ้มลิ้มแฉล้มแช่มช้อยน่ารักน่าเอ็นดู ข้าพเจ้านึกว่าถ้าเราอยู่ดีสบายก็จะไปเยี่ยมเขาด้วย แต่นี้เราไม่สบายก็เลยไปไม่ได้ ก็ได้แต่นอนฟังเขาคุยกัน ขณะนั้นข้าพเจ้ารู้สึกเมื่อยมากอยากจะพลิกตัวเพื่อหาความสบาย แต่ครั้นจะเรียกเขาช่วยก็เห็นว่าเขากำลังคุยกัน และเสียงตัวเองจะเรียกเขาก็ไม่ออกด้วย จึงพยายามพลิกตัวเองผีนหน้าไปหาฝา ครั้นพลิกไปแล้วก็ทรงตัวอยู่ไม่ได้ก็คืนกับมาเป็นหงายก็นึกว่าเอาละ เอาความสบายเพียงเท่านี้ก่อน จึงถอนหายใจยาวสองสามทีก็รู้สึกสบายโล่งอกโล่งใจ แล้วก็ปล่อยให้หลับไปจะได้สบายกว่านี้ เมื่อคิดเช่นนั้นแล้วก็หลับตาลงไป ในลำดับนั้นเองก็รู้สึกสบายดีหายเจ็บหายไข้ มีเรี่ยวแรงกระฉับกระเฉงว่องไวคล่องแคล่วเบาเนื้อเบาตัวดีอกดีใจ จึงรีบลุกขึ้นไปร่วมวงคุยกับญาติที่เขากำลังคุยกันอยู่ แต่นี้ไม่มีไครมองหน้าเราเลย ข้าพเจ้าจึงไปจับมือกระตุกแขนคนโน้นคนนี้ เพื่อให้เขาหันหน้ามาหาเราเขาก็ไม่หันมาสักคน ทันใดนั้นเขาจะกลับบ้าน เพราะเป็นเวลาที่จะต้องรีบไปหุงหาอาหารประจำวัน คนหนึ่งนั้นเขาจึงรีบไปจับดูที่ปลายเท้าของนายเล็ง ขณะนั้นข้าพเจ้าอยู่ข้างหลังเขา พยายามยึดมือถือไหล่เขาพร้อมกับตะโกนดังๆว่า ฉันอยู่นี้ ฉันไม่เป็นอะไร ฉันสบายดีแล้วไม่ต้องกลัว ไม่ต้องตกใจ อย่าพากันว้าวุ่นไป ฉันไม่เป็นอะไรดอก แต่ก็สุดวิสัยที่จะให้เขาเข้าใจได้ เขาจึงร้องห่มร้องไห้กันเสียงเกรียวกราววุ่นวายไป ขณะนั้นเขาก็วิ่งไปบอกญาติพี่น้องบ้านใกล้บ้านไกลมากันเป็นแถวๆ ตอนนี้รู้สึกหูไวตาไว และตัวก็ไวใครจะเข้ามาจากทางทิศไหน ข้าพเจ้าเป็นต้องได้ไปต้อนรับทั่วถึงกันทุกคน แม้จะมาพร้อมกันทั้งสองสามทางก็ตาม หูได้ยินอะไรก็ชัด ตาได้เห็นอะไรก็ชัด ไกลก็เหมือนใกล้เพราะมีความไวและรวดเร็วมาก ตัวไปถึงที่นั้นๆพร้อมๆกับได้ยินหรือได้เห็นนั้นทันที จะรู้สึกทวนลมหรืออะไรบ้างก็ไม่มี และในขณะที่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกตัวเองอีกอย่างหนึ่งว่า เราถูกเขาอุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้าเจ้าภาพ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการจัดงานทุกอย่าง มีอำนาจบาตรใหญ่ ใครจะขัดขวางหรือก้ำเกินไม่ได้เลย แต่เท่าที่เขาทำอะไรให้ไปแล้ว ก็รู้สึกว่าถูกอกถูกใจและชอบใจเขามาก จึงหายหิวหายอยาก และเพลิดเพลินไปด้วยอารมณ์อย่างนั้นจนลืมกินลืมนอน ไม่มีเหน็ดไม่มีเหนื่อย อนึ่ง ตลอดเวลาที่เขาตั้งศพบำเพ็ญกุศล (ทราบภายหลัง ๓ วัน) ข้าพเจ้านั้นรู้สึกว่าอยู่สูงกว่าเขาชั่วคน ถ้าเขานั่งดูเหมือนว่าข้าพเจ้ายืน ถ้าเขายืนเดิน ดูเหมือนว่าข้าพเจ้ายืนหรือเดินอยู่บนอะไร ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเขาอีกต่อหนึ่ง ในขณะที่เขาแห่ศพไปเผา ข้าพเจ้าก็อยู่บนงอนเกวียน แต่ว่าเกวียนนั้นไม่มีงอน เป็นแต่ความรู้สึกของข้าพเจ้าว่าตัวเองนั้นอยู่ในระดับนั้น เมื่อเผาเสร็จแล้วเขาก็เก็บกระดูกมา นิมนต์พระมาสวดมนต์ฉลองกระดูกอีกเวลาหนึ่ง จึงเป็นอันเสร็จพิธี ตอนพระสวดมนต์จบถ้าจะประมาณเวลาก็ราวสองทุ่มกว่าๆ เวลานั้นกิจที่ข้าพเจ้าที่จะต้องกังวนด้วยการรับแขกก็เบาไปแล้ว พวงประจำงานที่เป็นผู้หญิงก็ขึ้นไปนอนบนบ้าน ที่เป็นผู้ชายก็นอน
ระเกะระกะไปตามโรงปะรำนั้น ขณะนั้นมีผู้ชายสูงอายุ ๓ คน นั่งผิงไฟกินหมากสูบุหรี่อยู่ที่ริมระเบียงปะรำนั้น เป็นการเฝ้าโรงไปในตัวด้วย ข้าพเจ้าคิดขึ้นได้ว่า ได้ยินว่านางเหรียญอยู่ไฟ เราก็ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเพราะมัวแต่มีกิจกังวลด้วยการรับแขกอยู่ เวลานี้ว่างแล้ว พอที่จะไปเยี่ยมเขาได้แล้วเวลานั้นข้าพเจ้ากำลังป้วนเปี้ยนอยู่ที่อาสนะสงฆ์ พอคิดได้เช่นนั้นก็หันหน้าไปหาบ้านของนางเหรียญ ซึ่งอยู่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๕ เส้น ยังมิทันได้ย่างท้าวก้าวเดิน ก็ไปปรากฏตัวอยู่ที่ห้องของนางเหรียญที่เขาอยู่ไฟนั้นแล้วมองไปก็ได้เห็นเป็นจริงอย่างที่เขาว่า หน้าตาจิ้มลิ้มแช่มช้อยน่ารักน่าเอ็นดูจริง ทำอย่างไรหนอจะได้เข้าไปจับ ไปจูบ ให้สมที่รักที่เอ็นดู ขณะนั้นแม่เขานอนหลับมือขวากกลูกเขาอยู่ สักครู่หนึ่งเขาตื่นลืมตาพูดขึ้นว่า คุณพี่ไปที่ทางอื่นแล้ว ที่ไหนมีความสุขความบายก็เชิญไปตามสบายเถิด อย่ามัวมาวีแวราวีระวลกับพี่น้องเลย (มีคราวนี้เท่านั้นที่มีคนเห็นข้าพเจ้าและทักทายด้วย) ข้าพเจ้านึกกระดากใจ จึงหลบไปแอบพิงฝาอยู่หน้าห้อง หันหน้าไปทางทิศเหนือ สักครู่หนึ่งคาดว่าเขาหลับไปอีกแล้ว ก็เข้าไปดูอีก เขาก็ลืมตามาว่าอีก ข้าพเจ้าก็หลบไปอยู่ที่เดิม คราวนี้เป็นคราวที่จะต้องตัดสินใจเด็ดขาดก็ยืนคิดอยู่นั้นว่า ครั้นเราจะไปก็ยังอาลัยครั้นจะอยู่ก็อยู่ไม่ได้ อย่างไรๆเราก็จะต้องไปแน่ละ แต่ก่อนที่จะไปให้ได้ดูอีกให้เต็มตา คราวนี้ไม่กล้าไปดูใกล้เกรงเขาจะว่าอีกจึงชะเง้อคอไปดู เบิกตาเต็มที่แล้วก็ตัดสินใจกลับ แต่พอหมุนตัวกลับเท่านั้น ไม่ทราบว่าเป็นอะไรเกิดรู้สึกตัวว่า ตัวหมุนยังกะลูกข่างยั้งตัวไม่อยู่ จึงเอามือป้องหูกุมศรีษะก้มหน้าหลับตาล้มสลบลงไป เข้าใจว่าตัวตายก็ตรงนั้นแหละ เพราะสิ้นสติหมดความรู้สึกที่ตรงนั้นเอง หลังจากนั้นมาจะเป็นกี่เวลาก็ไม่ทราบ รู้สึกขึ้นมาอีกทีก็แปลกใจว่า เราอยู่ที่ไหนกันหนอ พยายามรวบรวมความรู้สึกและพยายามระลึกย้อนหลังว่า เรานี้คือนายเล็งเมื่อไม่ช้ามานี้เรารู้สึกกระฉับกระเฉ่งว่องไว ก่อนแต่นั้นเราเป็นอย่างนั้นๆนึกได้ตลอด แต่บัดนี้ทำไมหนอ เราจึงมาอยู่อย่างนี้ช่วยตัวเองไม่ได้เลย รู้สึกอึดอัดใจ และพยายามนึกไปนึกมาอยู่อย่างนี้หลายเวลา ในระยะต่อมาก็รู้สึกดีใจมาก ที่ช่วยตัวเองให้พลิกคว่ำได้ ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังดีใจที่หน้าใครมาก็รู้จัก จำชื่อได้จึงพยายามโบกไม้โบกมือร้องเรียกเขาตรงชื่อ แต่ก็ได้แต่เพียงอ้อแอ้ๆ อยู่ในคอเท่านั้น อันเป็นวิสัยของทารกบางคน เขาเห็นอย่างนั้นเขาก็มาลูบคลำหรืออุ้ม เราก็ดีใจมากจึงได้ยิ้มย่องหัวเราะหาเขา ในระยะนี้รู้สึกว่ามีแต่ความดีใจมากกว่าเสียใจ ต่อมาอีกระยะหนึ่ง คือตอนหัดเดินหัดพูด วันหนึ่งยายมาหาแทนที่จะเรียกยาย ก็กลับเรียกแม่เต็มปากเต็มคำไปเลย ตามความรู้จักและรู้สึกของตัวเอง เขาจึงชี่มาทางนางเหรียญ และถามว่า อ้าว ถ้านั้นเป็นแม่แล้วนี้เป็นอะไร ข้าพเจ้าก็บอกว่า นี้ก็อี่หมาของฉัน เขาก็ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้นเองชื่ออะไรเล่า ข้าพเจ้าก็บอกว่า ฉันก็ชื่อเล็งยังไรเล่า ตามที่รู้สึกว่าเราก็เป็นนายเล็งอยู่ทั้งคนทำไมเขาไม่รู้จัก นางเหรียญจึงอุทานขึ้นว่า อ๋อ ที่ฉันเห็นพี่เล็งมาเมื่ออยู่ไฟนั้นก็เห็นจะมาเกิดด้วยนี้เอง เขาก็จึงชักต่อๆไปว่า ถ้าเช่นนั้นลูกชื่ออะไร เมียชื่ออะไร บ้านอยู่ที่ไหน เป็นต้น ข้าพเจ้าก็ตอบเขาได้หมดทุกสิ่งอย่างพวงเขาจึงยอมจำนนและตกลงปลงใจว่า นายเล็งมาเกิดจริงๆแล้ว
ในการบันทึกเรื่องนี้ผู้บันทึกเคยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่จำพรรษากับท่านมาแล้วที่วัดวชิราลงกรณ์ ซึ่งเป็นที่ๆท่านได้มรณภาพที่วัดวชิราลงกรณ์ ผู้บันทึกเคยเห็นปฏิปทาของท่านแล้วและท่านก็เคยเล่าให้ฟัง ตอนที่อยู่วัดวชิราลงกรณ์นั้นในราวปี พ.ศ ๒๕๐๗ เห็นปฏิปทาของท่านแล้วหาพระแบบท่านได้อยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฉันภัตราหาร ท่านจะนำอาหารทุกอย่างที่เป็นหวานหรือคราวก็ตาม ท่านจะนำลงในบาตร ถ้าเป็นผักมีใบเป็นเส้นเป็นต้นท่านก็จะเอามีดน้อยของท่านซอยหรือตัดใส่ลงในบาตร แล้วใช้มือห้านิ้วของท่านคนให้เข้ากัน ถ้าข้าวแข็งคนไม่เข้ากันท่านก็จะเอาน้ำร้อนเทลงไปให้คนเข้าได้ แล้วพิจารณาฉันและจะไม่พูดกับใครเลยเด็ดขาดในขณะฉัน เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วนั้นแหละใครจะคุยจะพูดอะไรท่านจะเรียกเข้ามาและพูดว่า “ มะใครจะถามอะไรจะคุยอะไรว่ามา ที่หน้าทีหลังเวลาพระฉันอยู่อย่าถามท่านมันจะเป็นบาปและพระท่านจะผิดวินัย “ พอท่านบอกแล้วทุกคนที่เคยรู้แล้วก็จะไม่มีใครถามท่านในเวลาท่านฉัน นอกจากคนที่ไม่เคยมาและยังไม่รู้ท่านก็จะเรียกมาบอกมาคุยหลังจากฉันเสร็จแล้ว นี้เป็นประวัติย่อๆของหลวงปู่โชติ หรือนายเล็ง เมืองไทย ที่ปัจจุบันนี้ท่านได้มรณภาพไปนานแล้ว ซึ่งผู้บันทึกประวัติของท่านก็ไม่ทราบว่ามรณภาพปีไหน แต่รู้ว่าอัฐิธาตุของท่านอยู่ที่วัดวชิราลงกรณ์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ฯ
ฝากไว้ให้คิด
ทุกวันนี้ ไปที่ไหนก็จะได้ยินคำว่า ทุกข์ เงินไม่พอใช้ลูกหลานว่ายากสอนยากไม่มีใครฟังเสียงใครเอาตัวรอดตัวใครตัวมัน ไม่เคยได้ยินว่าสบายมากไม่มีอะไรเลย สบายดี มีอยู่ที่เดียวเท่านั้นที่จะได้ยินคำว่า สบายมาก คือที่วัดเท่านั้น แต่ก็เป็นบางวัดและบางพระเท่านั้น เพราะบางวัดก็ปวดหัวในเรื่องหาเงินมาก่อสร้าง บางพระก็ทุกข์ใจในการหาทางรวยโดยหาเงินชื่อหวยเบอร์หรือบางที่ก็จะเห็นบ้างหาเงินส่งลูกเรียนก็มี (ตามที่เคยสำพัดมา) กลับมาคุยเรื่องทุกข์ก่อน เมื่อคนมีทุกข์ทางใจ ก็มักจะหาทางออกไม่เหมือนกัน คือหาทางแก้ทุกข์ไม่เหมือนกัน บ้างก็หาทางออกโดยการไปเข้าวัดไปปรึกษาพระสงฆ์ บ้างก็หาทางออกโดยการเข้าวัดไปกราบไหว้พระพุทธรูปพระประธาน ในอุโบสถบ้างหรือตามเจดีย์บ้าง ตามโรงพระพุทธรูปที่มีอยู่ภายในวัด บ้างก็หาดื่มเหล้านอกบ้านเพื่อจะได้หายทุกข์ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะทำให้ตัวเองหายจากความทุกข์ แต่โดยส่วนมากมักจะกินยาไม่ถูกโรคเสียมากกว่า ทำไมถึงว่ากินยาไม่ถูกโรค ก็เพราะว่าการที่คนเราเมื่อมีทุกข์นั้น โดยมากมักจะไม่ค่อยมีสติปัญญายั้งคิด หรือถ้ามีสติปัญญาก็น้อยเต็มที ในขณะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่เรียกว่าคลังแห่งปัญญา เป็นศาสนาที่สอนคนให้เป็นคนและสอนคนให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดโดยที่ไม่กลับมาทุกข์อีก แต่มักจะเห็นทางตรงกันข้าม โดยบางเรื่องที่เรามักเห็นกันจนชินตาและไม่เคยมีใครคิดทักท้วนกันเลยก็คือการที่คนเข้าวัดไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธรูป แล้วก็อ้อนวอนขอบนบานให้ช่วยโน้นช่วยนี้ โดยไม่มีใครให้คำแนะนำบอกสอนในทางที่ถูกเลย เพราะที่คนเข้าวัดไปกราบขออ้อนวอนนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดความเชื่อศรัทธาให้เกิดมีกำลังใจเท่านั้น เมื่อมีศรัทธามีความเชื่อแล้วก็ควรจะมีสติปัญญาตามมาอีกด้วย ในการต่อไปควรที่จะเข้าไปหาพระสงฆ์ที่มีความรู้มีความสามารถ และมีประวัติที่ดีงามมีคนนับถือศรัทธา เพราะการเข้าไปหาพระนั้นอย่างน้อย ท่านก็ยังมีคำพูดออกมาให้เรารู้ว่าอะไรดี อะไรถูกหรือผิด ตรงกันข้ามกับการไปกราบไหว้พระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะการที่คนเรากราบไหว้พุทธรูปก็ดีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดี นั้นเป็นแต่เพียงเราหลอกตัวเองเท่านั้น ทำไมจึงว่าหลอกตัวเอง ก็ เพราะว่า เคยมีสักคนบ้างไหมที่สิ่งเหล่าบอกท่านว่า เออ ดีแล้ว ที่เธอมากราบเราขออ้อนวอนเราๆจะให้สิ่งทีเธอต้องการ เคยมีใครได้ยินบ้างไหม แต่ถ้าเข้าไปกราบพระสงฆ์ อย่างน้อยๆ เราจะได้ยินคำว่า เจริญพรนะโยม คุณพระจงคุ้มครองโยมนะ หรือไหว้พระจงเจริญนะโยม หรือไปไหงมาไหงจึงได้มาที่นี้ มีอะไรหรือโยม และพระสงฆ์บางองค์ท่านก็สามารถแนะทางตันของผู้ที่เข้าไปหาได้ แต่บางองค์ท่านก็มองผลแระโยชน์ตัวเองเป็นหลักก็มี แต่ก็มีน้อยโดยมากท่านก็หาทางปรับทุกข์ให้คนที่เข้าไปหาได้รับความสบายใจ ไม่ใช้ว่าการที่กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธรูปเป็นสิ่งไม่ดี เพียงแต่จะชี้แนะว่าเราได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ กับที่เราคิดว่า พระพุทธรูปจะให้สิ่งที่เราต้องการ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เรา นั้นเป็นเพียงเราคิดเอาเองใช้ไหมแต่การที่เข้าไปหาพระ อย่างน้อยที่สุด เราก็มักจะได้ยินว่า มีธุระอะไรหรือโยม หรือ มีอะไรโยม หรือ ต้องการอะไรคุณโยม ถ้าเรามีทุกข์ ก็บอกไปว่า ผมมีความกลุ้มใจอยากมาหารือปรึกษาท่านครับ ท่านก็จะถามเราว่า *มีเรื่องอะไรหรือโยม หรือคุณโยม* ตามแต่พระท่านแต่ละองค์ที่ท่านถนัด แต่หลวงตาอีกองค์หนึ่งท่านมักพูดกับโยมว่า เป็นอย่างไงโยมร่างกายเราใช้มานานแล้วสบายดีหรือ ท่านจะไม่พูดว่าคุณโยมและไม่ถือตัวนั่งได้ตามสบายไม่มีคะไม่มีจ๊ะไม่มีความอ่อนหวานในคำพูดของท่านก็มีมาก บางคนก็จะบอกว่า โอย* ไม่ไหวแล้วหลวงพ่อ *ทำไมละ *ก็มันเจ็บปวดไปหมด กินไม่ได้นอนก็ไม่หลับแล้ว เอย* ใกล้จะกลับแล้วสินะ *จะกลับไปไหนหลวงพ่อก็พึ่งจะมาหาหลวงนี้จะกลับไวได้อย่างไหง “ไม่ใช้กลับในความหมายนั้น *อ้าวแล้วจะกลับแบบไหนละหลวงพ่อ “ ก็กลับไปบ้านเก่าที่เคยจากมานั้นไง * บ้านเก่าที่ไหนไม่เคยมีบ้านเก่าบ้านไหมเลยมีบ้านหลังเดียวเองแต่เกิดมา “ ไม่ใช้อย่างงั้นไม่ใช้บ้านเก่าบ้านใหม่อย่าง หมายถึงว่าเรานะใกล้วันตายเข้ามาทุกเวลาแล้วหมายถึงว่าใกล้จะตายแล้ว “ ยังหรอกหลวงพ่อขออยู่ไปอีกสักสิบกว่าปีก่อน *โยมเอย* ถ้ามัจจุราชเขาฟังเราขอร้องได้ก็จะดีนะสิ โยมควรเตรียมตัวได้แล้ว เพราะความตายไม่ได้บอกเวลาล่วงหน้าเลย จะตายวันไหนไม่มีใครรู้ได้ ทุกคนเกิดมาในโลกนี้จะต้องตายกันทั้งนั้น ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่รอดพ้นจากความตายไปได้ ตายแล้วกลับมาเกิดเป็นคนเหมือนเดิมได้ อย่างนายเล็งกลับมาเกิดเป็นหลวงปู่โชติได้ก็ดี ถ้าหากไม่ได้ทำบุญไว้มีแต่ทำบาปมากกว่าบุญก็ไม่แน่ว่าจะได้เกิดมาเป็นคนอีก *โอ๊ย จะได้มาเกิดอีกหรือหลวงพ่อ *อ้าว ก็รู้ก็เห็นอยู่แล้วว่านายเล็งกับมาเกิดเป็นเด็กชายโชติ และสุดท้ายท่านได้เป็นถึงพระเทพสุทธาจารย์ไม่รู้จักหรือ เป็นเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์ อยู่ที่อำเภอปากช่องนครราชสีมาโน้น *ไม่รู้เจ้าค่ะ *ถ้าอย่างนั้นฟังนะ*เจ้าค่ะ*พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านได้ตรัสรู้ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากทุกข์ และนำมาสั่งสอนไว้ให้ทุกคนได้รู้ ที่พระองค์ตรัสรู้ธรรมนั้นเป็นของจริงทุกสิ่งอย่าง ไม่มีการดัดแปลงแต่งตกไปจากของจริงเลย ท่านตรัสว่ามีเกิดแก่เจ็บตาย มันก็มีจริง มีสุขมีทุกข์ ก็มีจริงๆ ท่านตรัสสอนว่า คนเราแต่ละคนที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนแล้วเคยเกิดเคยตายมาแล้วไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แต่ไม่มีใครทราบได้ เพราะทุกคนมีความไม่รู้อยู่ในตัวทุกคน
(ความโง่) จึงไม่รู้ว่าตัวเองเกิดแก่เจ็บตายมาแล้วกี่ภพกี่ชาติ *ทำอย่างไรจึงจะรู้เจ้าค่ะ *พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า ศีล.สมาธิ.ปัญญา. ๓ ประการย่อๆนี้แหละจะเป็นหนทางให้คนเรารู้ได้มากน้อยตามแต่กำลังศรัทธาของแต่ละคน ศรัทธามากปฏิบัติมากก็รู้ได้มาก ศรัทธามากปฏิบัติน้อยก็รู้ได้น้อย ไม่ศรัทธาไม่เชื่อไม่ปฏิบัติเลย* ก็โง่ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้แม้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป โดยมากคนมักจะไม่ค่อยสนใจเรื่องพุทธศาสนาจะสนใจแต่เรื่องอื่นเสียมากกว่า การที่จริงแล้ว พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งปัญญาโดยแท้ เป็นศาสตร์ที่ผู้ใดเข้าไปศึกษาและปฏิบัติตามจะเห็นจริงรู้จริงตามที่ท่านตรัสไว้ สามารถพิสูตได้ เพราะมันเป็นของที่มีอยู่ตามความเป็นอย่างนั้น ใครเรียนหรือใครจะไม่เรียนไม่รู้ ความเป็นจริงมันก็เป็นจริงอยู่โดยที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากพระพุทธเจ้า และสาวกของพระองค์ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์เท่านั้น ที่พระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือ เมื่อมีเกิดแก่เจ็บตาย มันจะต้องมีไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บและไม่ตายได้ *นี้พระองค์และสาวกท่านมาเปลี่ยนแปลงตรงนี้ *เรียกว่าทวนกระแส* แต่เราท่านทั้งหลายนี้สิมีแต่ตามกระแสไม่เคยคิดทวนกระแสเหมือนอย่างท่านเลยจะมีใครสั่งสอนแนะนำอย่างไรก็ไม่สนใจ ขอให้ตามกระแสและตามใจกิเลสไปก่อน กิเลสมันพาโลภก็โลภกับมัน กิเลสมันพาหลงก็หลงกับมัน กิเลสมันพาโกรธก็โกรธกับมัน โดยเฉพาะความหลงนี้ร้ายมาก หลงว่าตัวเองสวยงาม หลงว่าตัวเองเก่งกล้าสามารถ หลงว่าตัวเองจะไม่แก่ หลงว่าตัวเองจะไม่ตายง่าย หลงว่านี้ก็ของเราเมียนี้ก็ของเราลูกนี้ก็ลูกเรา และยังหลงว่าตัวเองยังหนุ่มอยู่ยังไม่ต้องทำบุญเข้าวัดก็ได้ เอาไว้แก่ใกล้ตายก่อนค่อยเข้าวัดทำบุญก็ได้ แต่พอแก่เข้าวัดพระพานั่งสวดมนต์ทำวัตรนั่งทำสมาธิ *โอยไม่ไหวแล้วหลวงพ่อ* บางคนหลงหนักมาก ก่อนจะตาย ละเมอหลงเก็บเงินเก็บทองของมีค่าเอาไว้เหมือนจะเอาไปด้วยได้ ก็ไม่เคยเห็นหรือมีใครเอาอะไรไปได้บ้างเลยแม้แต่คนเดียว แม้แต่เงินอยู่ในปากเขายังเอาออก หรือไม่เคยเห็นเลย แก่ปานนี้แล้วน่าจะมีความสงสัยสังเกตดูบ้าง ที่ว่ามานี้โยมพอจะปล่อยจะวางได้บ้างไหม “ โอยปล่อยวางไม่ได้หรอกหลวงพ่อ ไหนจะห่วงลูกสาวไหนจะห่วงลูกชายที่ไม่เอาถ่าน แต่ละคนมันไม่มีทีท่าว่าจะได้ดังใจเลย “ แล้วโยมคิดถึงตอนที่โยมเป็นลูกของพ่อแม่แต่ก่อนนั้นโยมทำอะไรได้ดังใจพ่อแม่บ้างหรือเปล่า “ ไม่เคยเลยหลวงพ่อวันๆโดนแม่พ่อด่าไม่เว้นแต่ละวันเลย บางทียังคิดว่าพ่อแม่ไม่รักเราด้วยเพราะทำอะไรไม่เคยถูกใจพ่อแม่สัดที “ นั้นไหงหลวงพ่อนึกแล้วไม่ผิด “ ไม่ผิดอย่างไรหลวงพ่อ “ อ้าวก็ไม่ผิดที่โยมเคยทำไว้กับพ่อแม่อย่างไร ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่จะไม่รักลูก ตอนนี้พอมาเป็นพ่อแม่บ้างก็โดนเหมือนตัวเองที่ทำไว้กับพ่อแม่นะสิ ” อ๋อ มันเป็นกรรมตามทันว่างั้นเถอะหลวงพ่อ “ ก็ใช้นะสิ เพราะว่าเราได้ทำอะไรกับผู้มีพระคุณโดยฉะเพราะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่แล้วยิ่งเป็นกรรมหนัก เพราะฉะนั้นที่โยมโดนลูกไม่เชื่อฟังไม่ได้ดังใจ ก็กรรมที่เราเคยทำไว้กับคุณพ่อคุณแม่นั้นแหละตามมาให้ผลตอนนี้ เชื่อหรือยังว่าบาปมีบุญมีกรรมเวรมีจริง “เชื่อก็ได้หลวงพ่อ “ ไม่ใช้เชื่อก็ได้ ? ต้องเชื่อเข้าจิตรเข้าใจด้วย และเชื่อโดยไม่มีใครบังคับ ต้องเชื่อโดยเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย จึงจะเรียกว่าศรัทธาคือความเชื่อ เชื่อในความสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ดีรู้ชอบประกอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม เชื่อในธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็นของจริง และสามารถปฏิบัติตามได้จริง และเชื่อว่าพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยแล้ว จะเป็นผู้รู้ได้เห็นได้ ตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน นี้แหละต่อไปนี้ขอให้โยมจงเตรียมตัวก่อนที่จะตายไปจากโลกนี้ เตรียมหาเสบียงไว้คือบุญจะได้ไม่ลำบากเมื่อไปสู่ปรโลกข้างหน้า เพราะเมื่อตายไปแล้ววิญญาณเราก็จะไปตามเวรกรรมที่เราได้ทำไว้ไม่มีใครจะพ้นจากบาปกรรมที่เราทำไว้ เอาละโยมพอจะรู้และเข้าใจบางอย่างได้บ้างแล้วนะ มาหาหลวงพ่อนานแล้วพอสมควรกลับบ้านได้แล้ว หลวงพ่อไม่ได้ไล่โยมนะ ไม่เข้าใจสงสัยอะไรก็มาหาได้วันไหนก็ได้ ไม่ต้องเกรงใจนะแม้หลวงพ่อจะจำวัดอยู่ก็เรียกได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ “เออสบายใจแล้วหลวงพ่ออิฉันกราบลาแหละ “ เออโชคดีมีชัยทำใจให้สบายนะ “ เจ้าคะ “ที่ให้ข้อคิดสะกิจใจมาบางอย่างนี้ ท่านผู้อ่านจะว่าอย่างไร ถ้าหากข้อคิดที่ให้ไปนี้เป็นข้อคิดที่ผิดไปจากความเป็นจริง ไม่น่าจะเป็นไปได้ ความผิดนั้นขอให้ตกอยู่ที่เขียนเพราะความรู้น้อยจึงอาจผิดพาดได้บ้าง ขอความกรุณาท่านผู้รู้ทั้งหลายจงได้ให้ความเมตตาแก่ผู้น้อยด้วย กรุณาแนะนำบอกกล่าวได้จะถือว่าท่านเป็นผู้นำมาให้ซึ่งขุมทรัพย์แห่งปัญญาอันมหาศาล แต่ถ้าหากว่าสิ่งที่ท่านได้อ่านได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นข้อคิดที่ดีและมีประโยชน์แก่คนทั้งหลายแล้วก็ ขอยกผลคุณงามความดีทั้งหมดให้แก่บุรพาจารย์ กล่าวคือพ่อแม่คูบาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนมา ขอพ่อแม่คูบาอาจารย์จงได้รับส่วนคุณงามความดีอันนี้ด้วยเทอญ ฯ
ธุระคนพาล
วัดไม่เข้าเหล้าไม่ขาด บาตรไม่ใส่ อุ้มไก่ไม่ละ เอาหัวพระเป็นปฏิทิน
วัดจะสะอาด ต้องช่วยกันกวาดเช็ดถู
เหมือนกับบ้านของหนู ต้องช่วยกันเช็ดถูจึงจะสะอาด
วัด เหล้า ต่อ
อย่าเข้าวัดแต่กาย ใจต้องเข้า อย่ากินเหล้าเข้าวัดจะบัดสี
มีเงินทองเก็บไว้ทำความดี ชีวิตนี้จะสุขสันต์ นิรันดร
เพื่อนเพราะกินเหล้าด้วยกันนั้นมีมาก เพื่อนแต่ปากสักวาเพื่อนก็เลือนหาย
ส่วนเพื่อนใดในเมื่อกิจ เกิดมากมาย ช่วยจนตายนั้นแหละเพื่อนที่แท้เอย
ต่ออบายมุข 4
ปากวิถีสี่อย่างหนทางเสื่อม อย่าอาจเอื้อมแตะต้องของฉิบหาย
โภคทรัพย์นับอนันต์พลันวอดวาย คืออบายมุขแท้มีแต่ตรม
หนึ่งเป็นนักเลงหญิงที่เสื่อมเสีย ผิดลูกเมียคบชู้ร่วมสู่สม
แม้ในหญิงเพศยาอย่านิยม ลอบเชยชมหญิงชายร้ายเช่นกัน
สองเป็นนักเลงเหล้าเอาแต่ดื่ม เมาจนลืมหลงใหลไปเกินขั้น
เช้าก็เฮ เย็นก็ฮา สารพัน ทุกข์โทษทัณฑ์มากมายหลายประการ
สามเล่นพนันผันทรัพย์จนยับย่อย มากหรือน้อยไม่เห็นเป็นแก่นสาร
เป็นนักเลงการพนันส่อสันดาน ก่อรำคาญเคืองเข็ญอยู่เป็นนิจ
สี่คบค้าสมาคมจะสมมาย คบสหายผ่องผุดสุจริต
หากคบคนชั่วช้ามาเป็นมิตร ก็จะคิดชักพาไปในทางเลว
คนพาล – บัณฑิต
ไม่ควรคบคนพาลสันดานชั่ว จะพาตัวอัปลักษณ์เสื่อมศักดิ์ศรี
ถูกตำหนิติฉินอย่างสิ้นดี ทั้งเป็นที่ลบหลู่ของหมู่ชน
คบบัณฑิตไว้เถิดประเสริฐนัก ได้รู้จักลู่ทางสร้างกุศล
รู้ผิดชอบชั่วดีชูศรีตน เป็นมงคลอุดมสุขสมบูรณ์
คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
สุนทรภู่กล่าวไว้ให้ปวงชน สำนึกตนจะคบใครใฝ่ใจดู
จะคบคนให้ดูหน้าท่านว่าขาน จะคบพาลให้รู้สึกนึกอดสู
คบบัณฑิตเถิดหนาค่าเชิดชู พาตนสู่บัณฑิตด้วยช่วยชูวงศ์
แม้ปราศรัย กับคนพาล สันดานชั่ว ย่อมพาตัว ต่ำค่าลง หาโง่เขลา
แต่ถ้าคบบัณฑิตพาจิตเบา ความโง่เขลาสูญหายมลายไป
ผลที่ได้นั้นไซร้ไม่เหมือนกัน โปรดเลือกสรรดูเถิดเลิศสิ่งไหน
 

_________________
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง