Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โพธิญาณพฤกษา : ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 12:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้


ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)


ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โกณฑัญญพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 พระนามว่า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สาละใหญ่

ต้นสาละใหญ่ (ต้นสาละอินเดีย) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Shorea robusta C.F. Gaertn.” อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นมหาสาละ” มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซาล” (Sal, Sal of India) เป็นไม้พันธุ์ที่อยู่ในตระกูลยาง มีมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ำยมุนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 10-25 เมตร และสามารถสูงได้ถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ

เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

Image

สาละใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียมักนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย คือ ยางใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น, ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น

สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Shorea siamensis Miq.” และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี 14-18 คู่ ผลมีเส้นที่ปีก 7-9 เส้น และไม่มีขนปกคลุม

Image

รวมทั้งยังเข้าใจว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นสาละ (ลังกา) หรือต้นลูกปืนใหญ่ หรือต้นแคนนอนบอล ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Couroupita guianensis Aubl.” มีดอกขนาดใหญ่สีแดงอมส้ม ซึ่งมีผู้นำมาจากประเทศศรีลังกา และได้รับการบอกเล่ามาว่าเป็นต้นสาละ ดังนั้น ในบางแห่งจึงได้เขียนบอกไว้ว่า ต้นสาละ (ลังกา) เพื่อป้องกันความสับสนนั่นเอง

ในประเทศไทย หลวงบุเรศรบำรุงการ ได้นำเอาต้นสาละใหญ่หรือต้นซาลมาถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น กับได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต.กระทิงลาย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีก 1 ต้น

อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละใหญ่มาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อ.งาว จ.ลำปาง

พระพุทธทาสภิกขุ ก็ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำมาปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จ.สระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผลเพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร

Image

ต้นสาละอินเดียกับพระพุทธศาสนา

สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า “Sal” เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้

ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ

ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ (ที่การคลอดบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิง) เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้ “สาละใหญ่”

พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบันคือตำบล “รุมมินเด” แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”

ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้และแสดงธรรมเทศนา

เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฏว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละใหญ่ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ร่มเงาต้นโพธิ์ และได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุณยามสาม ณ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี

ครั้นวันเพ็ญเดือน 8 สองเดือนหลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละใหญ่อันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยจึงเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ตอนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เมื่อมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก ได้เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญเดือน 6 วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช ได้ประทับในบริเวณสาลวโณทยาน พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละใหญ่ 2 ต้น แล้วพระองค์ก็ทรงเอนพระวรกายลง ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้าย โดยพระปรัศว์เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน

Image
[ต้นสาละอินเดีย ในป่าดั้งเดิมของประเทศอินเดีย]


มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2007, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
Image
[ต้นสาละลังกา]
......................................................


ต้นสาละลังกา (Cannon-ball Tree)

ต้นสาละ มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ ต้นสาละใหญ่หรือต้นสาละอินเดีย (Sal of India) และต้นสาละลังกา (Cannon-ball Tree)

ต้นสาละ (ลังกา) หรือต้นลูกปืนใหญ่ หรือต้นแคนนอนบอล (Cannon-ball Tree) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Couroupita guianensis Aubl.” เป็นพืชอยู่ในวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae (ปัจจุบัน จิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae)

สาละลังกา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ Guiana และประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปเอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในสวนพฤกษศาสตร์

เป็นพันธุ์ไม้นำมาจากประเทศคิวบา ศรีลังกาได้มาปลูกประมาณปี พ.ศ.2422 ส่วนประเทศไทยปลูกเมื่อปี พ.ศ.2500 เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามปลายกิ่งรูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ มน ขอบใบจักตื้นๆ

Image
[ใบของต้นสาละลังกา]


ดอกช่อใหญ่ ยาว ออกตามโคนต้น ดอกสีชมพูอมเหลืองและแดง กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น กลีบดอก 4-6 กลีบ แข็ง หักง่าย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. โคนของเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นรูปโค้ง ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ผลแห้งเปลือกแข็ง ผิวสีน้ำตาลปนแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. ผลสุกมีกลิ่นเหม็น ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่ ออกดอกเกือบตลอดปี ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

ต้นสาละลังกากับพระพุทธศาสนา

ถือว่าเป็นต้นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา เนื่องจากชาวลังกาเห็นว่าดอกมีลักษณะสวยและมีกลิ่นหอมจึงนำไปถวายพระ อีกทั้งนิยมปลูกภายในวัดมากกว่าตามอาคารบ้านเรือน

Image
[ผลแห้งของต้นสาละลังกา]


......................................................

สาธุ รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(1) ผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2548 14:35 น.
(2) http://www.rspg.thaigov.net/


เทียน ต้นสาละ ที่คนไทยสับสนและเข้าใจผิด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=38065
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชอบดอก ของต้นสาละ(ลังกา) มากค่ะ พบเห็นครั้งแรกที่ วัดอัมพวัน
จ.สิงห์บุรี ดูเผิน ๆ เหมือนดอกบัวกำลังบาน สวยมาก ๆ ขอบคุณเว็บมาสเตอร์ ที่นำข้อมูลมาลงให้ได้ความรู้ค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 11:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สุนันท์
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 05 เม.ย. 2008
ตอบ: 126
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 9:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวยมาก เจ้าคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง