Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กินยาแปลกๆ แบบนี้ดีจริงหรือ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 5:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ภญ.อัมพร จันทรอาภรณ์กุล

จากประสบการณ์ในการจ่ายยาให้ผู้ป่วย ซึ่งปกติดิฉันจะแนะนำการกินยา เวลาในการใช้ยา
การใช้ยา เทคนิคพิเศษในการใช้ยาบางประเภท ความต่อเนื่องในการใช้ยา และเรื่องโรคที่เขาเป็นอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ดิฉันเริ่มคิดว่าขาดไม่ได้อีกประการคือ การระมัดระวังไม่ให้ใช้ยาแบบพิสดารเกินกว่าที่แนะนำ เนื่องจากพบว่า

มีหลายรายมีวิธีกินยาแบบประหลาดๆ
ซึ่งหลายๆ ครั้งเป็นเพียงความเชื่อผิดๆ
แต่ทำให้ได้รับผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาแบบแปลกๆ เหล่านั้น


ตัวอย่างเช่น

• กินยากับน้ำอัดลม หรือน้ำที่ผสมแก๊ส เพราะเชื่อว่ายาจะได้แตกตัวเร็วขึ้น หายจากโรคหรืออาการที่เป็นอยู่เร็วขึ้น

• ผสมยากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้เหมือนกับการทำยาดองเหล้า คือ น่าจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น แรงขึ้น

• กินยาพร้อมอาหาร บางคนกลืนยายากเลยใช้วิธีกินยาพร้อมอาหาร โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อน แล้วเอาเม็ดยาวางลงไปแล้วกลืนไปพร้อมอาหารคำนั้นๆ

• บดยา หรือเคี้ยวยา วิธีนี้พบได้บ่อยมาก เพราะส่วนใหญ่ทำไปเพราะให้ยาแตกตัวและดูดซึมได้เร็วขึ้น บางรายก็ทำไปเพื่อให้กินยาได้ง่ายขึ้น

• หักยา พบได้บ้างกรณีที่ยายาเม็ดใหญ่มากๆ โดยมักจะบอกว่าถ้าไม่หักก็กินลำบาก

• ละลายยาแล้วกิน เหตุผลคล้ายกับวิธีอื่นๆ คือ ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น หรือให้กลืนได้ง่าย

• ถอดปลอกแคปซูลยาออก ก่อนกิน บางคนกลืนแคปซูลแล้วติดคอ บางคนก็กลัวว่าถ้าแคปซูลไม่ละลายแล้วยาจะออกมาได้อย่างไร ก็เลยถอดปลอกแคปซูลออกผสมน้ำดื่ม บ้างก็คิดไปเองว่ายาจะออกฤทธิ์ช้า เลยจัดการถอดปลอกออกก่อนแล้วกินผงยาแทน

• เจาะเปลือกแคปซูลแล้วบีบยาที่เป็นน้ำภายในออกมากิน อันนี้พบได้บ้าง ส่วนใหญ่คือต้องการให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น

• ใช้ฟันกัดเม็ดยา เพราะต้องการความรวดเร็ว จึงใช้ฟันกัด

วิธีกินยาต่างๆ ที่เล่าไปข้างต้นนั้นก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดเสมอไปหรอกนะคะ เนื่องจากยาบางตัวก็สามารถบดเคี้ยวได้ แต่ยาบางตัวห้ามเลย ดังนั้นบทความสั้นๆ นี้ก็เพียงแต่จะย้ำให้คุณทั้งหลายได้ทราบว่า ยาแผนปัจจุบันที่มีในท้องตลาดที่แพทย์สั่งจ่ายให้นั้น หรือที่คุณไปหาซื้อตามร้านขายยา การผลิตยาของบริษัทยานั้นได้มีการวิจัยปรับปรุง และพัฒนาอย่างมากมายก่อนถึงมือคุณ เพื่อให้การออกฤทธิ์ดีที่สุดตามเป้าหมายการรักษาแต่ละโรค

ดังนั้นการที่คุณพยายามไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำส่งยา ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยาได้

กรณียาแคปซูล ยาเม็ดเคลือบฟิล์ม หรือยาเม็ดเคลือบน้ำตาล

ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มีการกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่ดีเอาไว้ หากไปบดหรือทำให้แตกหัก ก็แค่ทำให้คุณต้องทนกับรสหรือกลิ่นแย่ๆ ที่ซ่อนอยู่ ยิ่งทำให้ไม่อยากกินยา แต่สำหรับกรณียาที่ถูกออกแบบให้มีการออกฤทธิ์ ปล่อยตัวยาอย่างช้าๆ สม่ำเสมอตลอดทั้งวัน

เช่นยาที่รับประทานวันละครั้ง นั่นหมายถึง คุณสามารถกินครั้งเดียว แต่มีผลการรักษาตลอดทั้งวัน หากนำยาไปกินแบบพิสดารมาก เช่น บด หรือหัก ก็อาจทำให้ได้รับพิษจากยา เพราะการทำให้เม็ดยาแตก จะทำให้ยาถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว ภายในช่วงเวลาสั้นๆ

ก่อนที่ยาจะถึงมือเรานั้นได้ย่อมผ่านการวิจัยและพัฒนามาอย่างมาก

ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการรักษาโรค การพัฒนาสูตรตำรับยาเพื่อให้มีการแตกตัว การละลาย การดูดซึมที่ดี และมีลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สี กลิ่น รส ที่น่าใช้ ดังนั้นคุณมิต้องกังวลเกี่ยวกับการแตกตัวของยา เอาง่ายๆ หากนำยาธรรมดามาสักเม็ดแล้วโยนลงไปในน้ำแก้วธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น เพียงไม่กี่นาทีแล้วใช้ช้อนคนน้ำสักหน่อย คุณก็จะพบว่ายาส่วนใหญ่จะละลายหรือแตกตัวหมดแล้ว ยกเว้นยาบางประเภทเท่านั้นที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษให้ยามีการปลดปล่อยยาเนิ่นนาน

คุณอาจพบว่ายาไม่ละลายเลย เพราะยาอยู่ภายในเปลือกเม็ดยาที่เห็นพอโดนน้ำ ยาภายในเม็ดจะค่อยๆ ถูกดันผ่านรูเล็กๆ ที่เปลือกนอกซึ่งยาบางตัวก็มองด้วยตาเปล่าเห็น บางทีรูเล็กมากก็มองไม่เห็น

แต่การออกแบบเช่นนี้จะทำให้คุณได้ยาอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าเม็ดยาด้านนอกจะไม่ละลายก็ตาม ตัวอย่างยาประเภทนี้ ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคหัวใจบางตัว นอกจากนี้ยาในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการเคลือบต่างๆ ให้ยาไม่ละลายในกระเพาะแต่ไปเริ่มละลายที่ลำไส้เล็ก เช่น ยาเม็ดแอสไพริน เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

การนำยาไปบดหรือละลายยา ก็เท่ากับทำลายสมบัติพิเศษที่ผู้วิจัยอุตส่าห์พัฒนาขึ้นมา แทนที่คุณจะได้รับผลที่ดีที่สุดก็กลายเป็นได้รับผลเสียจากยานั้นแทน

การบดยา นอกจากจะทำให้ยาเสียคุณสมบัติพิเศษไป ยังทำให้กินยาก ได้รับรู้รสชาติที่ไม่ดีของตัวยาแล้วอาจจะได้ยาไม่ครบปริมาณที่แพทย์ต้องการก็ได้ ถ้ากินผงยาไม่ครบทั้งหมด

ส่วน การกินยากับน้ำอุ่น จัดอาจจะทำให้ยาละลายเร็วขึ้นอีกนิดนึง แต่ก็มีปัญหาว่ายาพวกแคปซูลอาจจะละลายแล้วไปติดที่หลอดอาหารกลืนไม่ลงได้

การแช่หรือละลายยาในน้ำร้อนก่อนกิน อันนี้ก็มีปัญหาแน่กับตัวยาที่ไม่ทนต่ออุณหภูมิสูงๆ และอาจเสื่อมสภาพได้ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ ไม่ได้ผลการรักษา การกินยาละลายน้ำร้อนจึงเท่ากับไม่ได้กินยาเลยมีค่าไม่ต่างกับการกินแป้ง

ส่วน การถอดปลอกยาออก ยาส่วนใหญ่ที่ใส่แคปซูลเวลาละลายเป็นผงแล้ว จะมีกลิ่นรสชาติที่แย่มาก จึงต้องกลบรสและกลิ่นด้วยการนำผงยาบรรจุในแคปซูล อันนี้มีตัวอย่างว่าบางคนกลับมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลื่นไส้อาเจียนมากหลังกินยา จนคิดว่าแพ้ยาที่ให้ไป แต่ปรากฏว่าเมื่อสอบถามก็ได้ความว่า

ได้ทำการแกะปลอกแคปซูลออกก่อนกิน แล้วเทผงยาเข้าปาก ทำให้ได้รับรู้กลิ่นและรสที่ไม่ดีของตัวยาจึงอาเจียนออกมาหมด พอแนะนำให้กินยาทั้งแคปซูลก็ไม่มีอาการอีกเลย

และสำหรับการกัดเม็ดยาด้วยฟัน อันนี้แปลกแต่จริงค่ะ มีบางคนขี้เกียจใช้มีดตัดยา บ้างก็บ่นว่ายาแข็ง เลยใช้ฟันกัดครึ่งซะเลย ซึ่งอันที่จริงแล้วถ้าตัวยาทนความชื้น (จากน้ำลาย) ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ายานั้นไม่ทนกับความชื้นพอใช้ฟันกัดไปยาก็ถูกน้ำลาย อีกครึ่งเม็ดที่เหลืออาจติดน้ำลายไปด้วย พอใส่กลับไปในขวดหรือซองยาทั้งๆ ที่ชื้นจากน้ำลายก็พาลทำให้ยาส่วนนั้นเสื่อมสภาพได้ ประสิทธิภาพในการรักษาโรคก็ลดลงไปด้วย

กรณีตัวอย่าง

• ยาลดความดันโลหิต สำหรับยาความดันโลหิตสูงที่ชื่อว่า Adalat CR? (Nifedipine)
และ Cardil? (Diltiazem) ผู้ที่กินเข้าไปพบว่ามีเม็ดยาลอยปนออกมากับอุจจาระขณะถ่าย จึงเข้าใจว่ายาไม่ละลายน้ำจึงเอาไปบดก่อนกิน จนทำให้ยาออกฤทธิ์รวดเร็วมากเกินไป ผลคือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากความดันโลหิตตกอย่างรวดเร็ว เหตุเนื่องจากยาทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ ถูกออกแบบมาให้ออกฤทธิ์เนิ่นนาน เม็ดยาที่เห็นปนออกมากับอุจจาระจึงเป็นเพียงตัวนำส่งยาที่ไม่ละลาย แต่ตัวยาได้ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ร่างกายไปหมดแล้ว

• ยาขยายหลอดลม สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืด Theodur? (Theophylline) สมัยก่อนยาตัวนี้มีแต่แบบใช้หยดเข้าหลอดเลือดดำ การปรับขนาดยานั้นทำได้ยากและเสี่ยงต่อการเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรง ถ้าให้เกินขนาด เช่น คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ปวดศีรษะ มือสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบยาเป็นยาเม็ดให้ค่อยๆ แตกตัวและปลดปล่อยตัวยาอย่างช้าๆ ทำให้การเกิดผลแทรกซ้อนจากยาลดลง

แต่มีบางคนที่ไม่ทราบผลข้างเคียงดังกล่าว เมื่อนำยาไปบดก่อนกินก็เท่ากับทำให้ยาปลดปล่อยตัวยาออกมาอย่างรวดเร็ว จนเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดพิษของยารุนแรง หากมาพบแพทย์ไม่ทันเวลาก็อาจเสียชีวิตได้

• ยาแอสไพริน ผู้สูงอายุรายหนึ่งต้องกินยาเม็ดเคลือบแอสไพริน เพื่อป้องกันเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน ต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยความที่กลัวยาไม่ละลายเพราะเห็นเคลือบไว้ จึงนำไปบดก่อนกินทำให้หลังจากกินยาได้ 1 เดือน มีปัญหาเรื่องถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ จากภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื่องจากยากกัดกระเพาะ

ปัจจุบันบางบริษัทมีการออกแบบเม็ดยาแอสไพริน ให้มีฟิล์มเคลือบเพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ที่เรียกว่า enteric coated aspirin ดังนั้นการบดยาจึงทำลายฟิล์มที่เคือบยาไว้ ทำให้มีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร การอาการคลื่นไส้และปวดท้องเพิ่มขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเพราะเหตุใดรายนี้จึงเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

• ยาฆ่าเชื้อ หรือยาแก้อักเสบ มีคนที่เป็นโรคติดเชื้อในโพรงไซนัสรายหนึ่งได้นำยา Amoxycilline/Clavulanic acid (Augmentin?) ไปบดละลายน้ำร้อนแล้วกิน เหตุผลที่ทำเช่นนี้เพราะเม็ดยาใหญ่กลืนไม่ลง จึงนำไปละลายน้ำร้อนก่อน ดังนั้นแม้กินยาเช่นนี้จนยาหมดแต่อาการไซนัสอักเสบก็ยังไม่หาย จนแพทย์ต้องเปลี่ยนยาให้เพราะเชื้อดื้อยา

สาเหตุที่ไม่หายจากโรคเนื่องจากตัวยานี้ไม่ทนต่อความร้อน เมื่อนำไปละลายในน้ำร้อนจึงทำให้ได้รับผลการรักษาจากยาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางที่ดีสำหรับควรแจ้งแพทย์ตั้งแต่รับยาว่า ไม่สามารถกินยาได้แพทย์จะได้เปลี่ยนเป็นยาน้ำหรือเลือกยาที่เม็ดเล็กกว่าให้แทน

นอกจากกรณีเหล่านี้แล้วยังมีอีกมากมายนักที่มีวิธีกินยาแบบแปลกๆ ด้วยที่ไม่รู้และไม่เข้าใจ ดังนั้นการกินยาควรกินตามที่ระบุมาให้ ถ้ายาตัวไหนระบุให้เคี้ยวก่อนกลืน เช่น ยาขับลมแก้ท้องอืดแน่นท้อง ยาลดกรดในกระเพาะอาหารบางตัว ก็ให้บดเคี้ยวได้ตามสบาย

และกรณีของการกินร่วมกับอาหาร แอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลม ก็เช่นกันก็ควรถามให้แน่ใจเสียก่อนว่าทำได้หรือไม่ เพราะยาประเภทยาฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยากับอาหารหรือนม ก็อาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้น้อยลงหรือไม่ออกฤทธิ์เลย จึงไม่ได้ผลทางการรักษา นอกจากนี้ยาบางตัวก็เกิดปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เมื่อกินร่วมกันจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

หากคุณสงสัยอะไรที่นอกเหนือจากที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ข้อความที่ระบุบนฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาแล้ว คุณควรปรึกษาเภสัชกรให้แน่ใจก่อนว่ากระทำได้หรือไม่นะคะ เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้ยาสูงสุด


คัดลอกจาก...
http://women.sanook.com/health/know_eat/knoweat_40204.php

ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today
Image
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง