Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสมันนตปัฏฐานอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
torneng
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2007
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 10:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสมันตปัฏฐานอย่างไรจึงเกิดฉัพพรรณรังสี พวยพุ่งออกจากพระสรีระฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 11:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมันตปัฏฐาน
ว่าด้วยสมันตปัฏฐาน ๒๔
ปัฏฐานที่ประชุมสมันตปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ คือ ปัฏฐาน ๖ ในธรรมอนุโลม. ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปฏิโลม. ปัฏฐาน ๖ ในธรรมอนุโลมปัจจนีย. ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปัจจนิยานุโลม.
ชื่อว่า มหาปกรณ์ (ปกรณ์ใหญ่).

ว่าด้วยการเปรียบกับสาคร
บัดนี้ เพื่อการรู้แจ้งถึงความที่พระอภิธรรมนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง พึงทราบสาคร (ทะเล) ๔ คือ
๑. สังสารสาคร (สาคร คือ สงสาร)
๒. ชลสาคร (สาคร คือ น้ำมหาสมุทร)
๓. นยสาคร (สาคร คือ นัย)
๔. ญาณสาคร (สาคร คือ พระญาณ)

บรรดาสาครทั้ง ๔ นั้น ชื่อว่า สังสารสาคร คือ สังสารวัฏที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ
อพฺโภจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ซึ่งกำลังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.
นี้ชื่อว่า สังสารสาคร.

สังสารสาครนี้นั้น เพราะเหตุที่เงื่อนเบื้องต้นของ ความเกิดขึ้นแห่งสัตว์เหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ คือ ไม่มีกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาแล้ว ในที่สุดเพียงร้อยปีเท่านั้น เพียงพันปีเท่านั้น เพียงแสนปีเท่านั้น เพียงร้อยกัปเท่านั้น เพียงพันกัปเท่านั้น เพียงแสนกัปเท่านั้น ในกาลก่อนแต่นี้มิได้มีเลย ดังนี้. หรือว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ในกาลแห่งพระราชาพระนามโน้น ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามโน้น ในกาลก่อนแต่นั้นไม่มีเลย ดังนี้ แต่ว่า มีโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนเบื้องต้นแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี ดังนี้ (องฺ ทสก. ๒๔. ๖๑/๑๒๐) การกำหนดเงื่อนมีในเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้นี้ ชื่อว่า สังสารสาคร.

มหาสมุทร พึงทราบว่า ชื่อ ชลสาคร มหาสมุทรนั้นลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ขึ้นชื่อว่า การประมาณน้ำในมหาสมุทรนั้น ว่ามีเท่านี้ คือ มีน้ำร้อยอาฬหกะ พันอาฬหกะ (อาฬหกะ ชื่อมาตราตวงในบาลี คือ ๔ นาฬีเท่ากับ ๑ อาฬหกะ) (นาฬี หมายถึง ทะนาน) หรือแสนอาฬหกะไม่ได้เลย. โดยที่แท้ ห้วงมหาสมุทรนั้น ย่อมปรากฏว่า ใครๆ พึงนับไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่โดยแท้ นี้ชื่อว่า ชลสาคร.

นัยสาคร เป็นไฉน? นัยสาครได้แก่พระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ปีติโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีความเลื่อมใสมาก มีญาณอันยิ่งแก่ผู้พิจารณา ตันติแม้ทั้งสอง. ตันติ แม้ทั้งสองเป็นไฉน? ตันติทั้งสอง คือ พระวินัยและพระอภิธรรม ปีติและโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่ภิกษุวินัยธรทั้งหลายผู้พิจารณาตันติแห่งวินัยว่า ชื่อว่า การบัญญัติสิกขาบทอันสมควรแก่โทษ ธรรมดาว่า สิกขาบทนี้ย่อมมีเพราะโทษนี้ เพราะการก้าวล่วงอันนี้ ดังนี้ และเกิดแก่ผู้พิจารณาอุตริมนุสธรรมเปยยาล แก่ผู้พิจารณานีลเปยยาล ผู้พิจารณาสัญจริตเปยยาลว่า การบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น.

ปีติและโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแม้แก่ภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งตันติแห่งพระอภิธรรมว่า พระศาสดาของเราทั้งหลาย เมื่อทรงจำแนกแม้ความแตกต่างแห่งขันธ์ แม้ความแตกต่างแห่งอายตนะ แม้ความแตกต่างแห่งธาตุ ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ กรรม วิบาก การกำหนดรูปและอรูป ธรรมอันละเอียดสุขุม ทรงกระทำแต่ละข้อในรูปธรรมและอรูปธรรมให้เป็นส่วนๆ แสดงไว้ เหมือนการนับดาวทั้งหลายในท้องฟ้า ฉะนั้น. ก็ในการเกิดขึ้นแห่งปีติโสมนัสนั้น พึงทราบแม้เรื่องดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา พระเถระชื่อว่า มหานาคติมิยติสสทัตตะ เมื่อไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยคิดว่า เราจักไหว้ต้นมหาโพธิ์ จึงนั่งที่พื้นเบื้องบนเรือแลดูมหาสมุทร. ทีนั้น ในครั้งนั้น ฝั่งโน้นไม่ปรากฏแก่ท่านเลย ฝั่งนี้ก็ไม่ปรากฏ เป็นเช่นกับแผ่นเงินอันเขาแผ่ออก และเช่นกับเครื่องลาดทำด้วยดอกมะลิ ฉะนั้น. ท่านคิดว่า กำลังคลื่นของมหาสมุทรมีกำลังหรือหนอ หรือว่า นยมุข (เนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้) ในสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประเภทมีกำลัง ดังนี้. ทีนั้น ปีติมีกำลังก็เกิดขึ้นแก่ท่านผู้พิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมว่า การกำหนดในมหาสมุทรย่อมปรากฏ เพราะว่า มหาสมุทรนี้ เบื้องล่างกำหนดด้วยแผ่นดิน เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ข้างหนึ่งกำหนดด้วยภูเขาจักรวาล ข้างหนึ่งกำหนดด้วยฝั่ง แต่การกำหนดสมันตปัฏฐานย่อมไม่ปรากฏ ดังนี้. ท่านข่มปีติ แล้วเจริญวิปัสสนาตามที่นั่งอยู่ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ แล้วเปล่งอุทานว่า

พระโยคีย่อมเห็นธรรมที่ลึกซึ้ง อันตรัสรู้ได้แสนยาก มีเหตุเป็นแดนเกิดขึ้น อันพระมเหสีทรงรู้ยิ่งโดยพระองค์เอง แสดงไว้โดยลำดับ โดยสิ้นเชิง ในสมันตปัฏฐานนี้เท่านั้น เหมือนกับเป็นรูปร่างทีเดียว.
นี้ชื่อว่า นยสาคร.
ญาณสาคร เป็นไฉน ?
สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณสาคร.
จริงอยู่ ญาณอื่นไม่อาจเพื่อจะรู้สาครนั้นว่า นี้ชื่อว่า สังสารสาคร นี้ชื่อ ชลสาคร นี้ชื่อ นยสาคร แต่สัพพัญญุตญาณเท่านั้นอาจเพื่อรู้ได้ เพราะฉะนั้น สัพพัญญุตญาณ จึงชื่อว่า ญาณสาคร.
บรรดาสาครทั้ง ๔ เหล่านี้ นยสาครประสงค์เอาในที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้สัพพัญญูเท่านั้น ย่อมแทงตลอดในนัยสาครนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ประทับนั่งที่ควงไม้โพธิ์ทรงแทงตลอดนัยสาครนี้ เมื่อทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์แทงตลอดแล้ว ประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์ว่า เมื่อเราเสาะแสวงหาธรรมนี้หนอ ล่วงไปถึง ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ภายหลังเรานั่ง ณ บัลลังก์นี้ จึงยังกิเลส ๑,๕๐๐ ให้สิ้นไปแล้วแทงตลอดได้ ดังนี้ ลำดับนั้น จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ ประทับยืนแลดูบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ด้วยพระเนตรอันไม่กระพริบ ด้วยพระดำริว่า สัพพัญญุตญาณ เราแทงตลอดแล้ว ณ บัลลังก์นี้หนอ ดังนี้.

ลำดับนั้น เหล่าเทวดาทั้งหลายมีความปริวิตกเกิดขึ้นว่า แม้ในวันนี้ พระสิทธัตถะพึงทำกิจที่ควรทำเป็นแน่ จึงยังไม่ละความอาลัยในบัลลังก์ ดังนี้. พระศาสดาทรงทราบวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะยังวิตกของเทวดาเหล่านั้นให้สงบ จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสแสดงยมกปาฏิหาริย์.

จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงทำที่มหาโพธิบัลลังก์ก็ดี ที่สมาคมแห่งพระญาติก็ดี ที่สมาคมปาฏลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์ ที่ทำที่ควงไม้คัณฑามพฤกษ์นั่นแหละ ครั้นทรงทำปาฏิหาริย์อย่างนี้แล้ว จึงเสด็จลงจากอากาศ แล้วเสด็จจงกรมตลอดสัปดาห์ ในระหว่างแห่งบัลลังก์และสถานที่อันพระองค์ประทับยืนอยู่แล้ว ก็ใน ๒๑ วันเหล่านี้ แม้วันหนึ่ง รัศมีทั้งหลายมิได้ออกจากสรีระของพระศาสดา แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับนั่งในเรือนแก้วในทิศพายัพ ชื่อว่า เรือนแก้ว มิใช่เรือนที่สำเร็จด้วยรัตนะ แต่บัณฑิตพึงทราบ สถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ ว่า เป็นเรือนแก้ว.

บรรดาปกรณ์ทั้ง ๗ นั้น แม้เมื่อทรงพิจารณาธรรมสังคณี รัศมีทั้งหลายก็ไม่ซ่านออกไปจากพระสรีระ เมื่อพิจารณาวิภังคปกรณ์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุปกรณ์ และยมกปกรณ์ รัศมีทั้งหลายก็มิได้ซ่านออกไปจากพระสรีระ แต่เมื่อใด ก้าวลงสู่มหาปกรณ์เริ่มพิจารณาว่า เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย ดังนี้ เมื่อนั้น สัพพัญญุตญาณโดยความเป็นอันเดียวกันของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พิจารณาสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประการ ย่อมได้โอกาส (ช่อง) ในมหาปกรณ์นั่นแหละ เปรียบเหมือนปลาใหญ่ ชื่อว่า ติมิรปิงคละ ย่อมได้โอกาสโดยความเป็นอันเดียวกันในมหาสมุทรอันลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์นั่นแหละ ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมได้โอกาสในมหาปกรณ์ โดยความเป็นอันเดียวกัน นั่นแหละ.

..สมันตปัฏฐาน จบ.

http://84000.org/tipitaka/read100/smanta24_read.php
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 10:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในพระธัมมสังคณีภาคหนึ่งเล่มที่ ๑ คัมภีร์ที่ ๑ ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
บรรยายไว้ว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง เริ่มตั้งแต่พระคัมภีร์ที่ ๑ - ๖ เป็นการแสดงให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของปรมัตถธรรมทั้งปวง ในระยะนั้นไม่มีความพิสดารแปลกประหลาด
แต่อย่างใด

แต่เมื่อทรงแสดงคัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน อันเป็นพระอภิธรรมประเสริฐยิ่ง
ทรงปลื้มปิติและยินดีอย่างล้นพ้น จึงบังเกิดพระฉัพพรรณรังสี


พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมนั้นอยู่ถึง ๗ วัน
ด้วยสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ทุก ๆ พระองค์

ฉัพพรรณรังสีดังกล่าวนี้มี ๖ สี ได้แก่
สีเขียว ขาว แดง เหลือง ม่วง และประภัสสร (เลื่อมพราย) ท่านอุปมาลักษณะไว้ว่า

สีเขียว - นิลกะ
สีเขียวเข้มเหมือนดอกอัญชัน ดอกสามหาว กลีบบัวเขียวที่ซ่านออกไปจากพระเกศา คือ
ผม และพระมัสสุ (หนวด) ออกมาจากสีเขียวแห่งพระเนตรทั้งสอง

สีขาว - โอทาตะ
สีขาวเหมือนแผ่นเงิน เหมือนน้ำนม และดอกโกมุท ดอกย่านทราย และมลิวัลย์
ซ่านออกมาจากพระอัฐิ (กระดูก) พระทนต์ (ฟัน) และสีขาวออกจากพระเนตรทั้งสอง

สีแดง - โลหิต
แดงเหมือนสีตะวันทอง สีผ้ากัมพล ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว ดอกชบา ที่ออกมาจากพระมังสะ (สีเนื้อ) พระโลหิต (สีเลือด) ซ่านออกมาจากพระเนตรทั้งสอง

สีเหลือง - ปิตะ
สีเหมือนแผ่นทองคำ สีเหลืองเหมือนผงขมิ้น ดอกกรรณิการ์ที่ซ่านออกมาจากพระฉวีวรรณ (ผิว)

สีม่วง - มันชิถะ
เหมือนสีเท้าหงส์ที่เรียกว่า หงสบาท สีดอกหงอนไก่ สีม่วงแดง ที่ซ่านออกมาจากพระสรีระ
(ร่างกาย)

สีประภัสสร – สีเลื่อมพราย
เหมือนสีแก้วผลึกที่เรียกว่า สีเลื่อมประภัสสร ออกมาจากพระสรีระเช่นกัน

ฉัพพรรณรังสีที่ซ่านออกมาหลังจากทรงพิจารณาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
มาถึงคัมภีร์มหาปัฏฐาน


ในเบื้องต้นฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกายไปสู่เบื้องล่าง
จากมหาปฐพีใหญ่ อันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นลอดทะลุแผ่นดิน
ลงไปจับน้ำในแผ่นดินหนาถึงสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นเมื่อเจาะทะลุลมแล้ว
แล่นลงไปสู่อัชฎากาส อากาศว่างๆ ภายใต้ลม

ฉัพพรรณรังสีที่แผ่ไปสู่เบื้องบนแผ่ไปตั้งแต่มนุษย์และเทวภูมิ ๖
จากนั้นแผ่ไปยังพรหมโลก ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชา จนถึงชั้นสุทธาวาส ๕
แล้วแล่นไปสู่อัชฎากาส

ฉัพพรรณรังสีที่ไปสู่เบื้องขวาอันหาที่สุดมิได้ ไม่มีรัศมีใดๆ ที่เทียบเท่าได้เลย
แม้รัศมีของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และเทวดาทั้งหลายก็มิอาจเปรียบได้

ฉัพพรรณรังสีที่ปรากฏในบรรดาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์นั้น
จะให้ผู้อื่นมองเห็นหรือมองไม่ให้เห็นก็ได้
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์มหาปัฏฐานแล้ว
จะเป็นเหตุให้เกิดฉัพพรรณรังสี รัศมีซ่านออกจากพระวรกายด้วยความบริสุทธิ์

อนึ่ง การที่รัศมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ได้ตลอดเวลาก็ด้วยอำนาจแห่งพุทธวิสัย
คือ พระเดช ๕ ประการ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ

๑. ศีลเดช ทรงมีกาย วาจา เรียบร้อย มีศีลวินัยดียอดเยี่ยม

๒. คุณเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างยอดเยี่ยมแก่สัตว์โลกทั้งปวง

๓. ปัญญาเดช ทรงมีพระปัญญาท่วมท้นด้วยพระสัพพัญญุตญาณ

๔. บุญเดช ทรงมีบุญสั่งสมตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์

๕. ธรรมเดช ทรงรู้ธรรมตามความเป็นจริง แล้วนำมาสั่งสอนให้รู้ธรรม
ตามความเป็นจริง

ด้วยอำนาจพระเดช ๕ ประการนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดฉัพพรรณรังสี

นอกจากนี้ ในคัมภีร์อรรถกถาได้กล่าวถึงประวัติของพระอภิธรรมว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วได้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข
(ความสุขที่เกิดจากวิมุตติความหลุดพ้น) ที่ควงไม้ต่างๆ ๕ สัปดาห์.

ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับนั่งขัดบัลลังก์ในทิศปัศจิมหรือทิศพายัพแห่งมหาโพธิ
ทรงพิจารณาพระอภิธรรม เหล่าเทวดาจึงทั้งหลายได้เนรมิตเรือนแก้วทางทิศพายัพ
จากต้นโพธิ์ถวายพระพุทธองค์ให้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรในเรือนแก้ว
เพื่อให้พระองค์ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และ
“สมันตปัฎฐาน” อันเป็นอนันตนัยโดยพิสดาร

(ปัฏฐาน คัมภีร์นี้เรียกว่าเป็น มหาปกรณ์ แปลว่า ปกรณ์ใหญ่ หรือว่า คัมภีร์ใหญ่
คู่กันกับปกรณ์ที่หนึ่งคือ ธัมมสังคณี ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย)เป็นต้น)

ถือกันว่าคัมภีร์ที่ ๗ ของพระอภิธรรมนี้มีอรรถะลึกซึ้งมาก
และแสดงว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้
เมื่อพิจารณาปกรณ์แรกๆมา ฉัพพรรณรังสีก็ยังไม่ปรากฏ
ต่อเมื่อมาพิจารณาปกรณ์ที่ ๗ นี้จึงปรากฏฉัพพรรณรังสีขึ้น


ทรงปฏิบัติอยู่เช่นนี้ตลอด ๗ วัน
สถานที่นี้มีชื่อว่า “รัตนฆรเจดีย์”
อันเป็นสถานที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๔
และทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ฯ ณ สถานที่นี้อยู่ ๗ วัน

สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม. พระนิพนธ์ใน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และ
ธรรมะเพื่อชีวิต เล่มที่ ๓๕ ฉบับวันมาฆบูชา ๒๕๔๖. : มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา,
วัดบุรณศิริมาตยาราม)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง