Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ท่องแดนธรรม ที่ “พุทธมณฑล” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2004, 3:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
บรรยากาศตะวันลับฟ้า
ที่ด้านหน้าองค์พระประธานแห่งพุทธมณฑล



ท่องแดนธรรม ที่ “พุทธมณฑล”

“พุทธมณฑล” จ.นครปฐม ดินแดนธรรมที่เป็นดังปูชนียสถานและศูนย์กลางทางพุทธศาสนา ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นที่จัดงานในวันสำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว พุทธมณฑลยังเป็นสถานที่พักผ่อนในบรรยากาศที่เป็นกุศล ในบรรยากาศที่ร่มรื่นน่าเที่ยวไม่น้อย

โดยในเนื้อที่ 2,500 ไร่ ของพุทธมณฑลนั้น จะโดดเด่นด้วยองค์ประธานของพุทธมณฑล ที่เปรียบดังสัญลักษณ์ของพุทธมณฑล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ที่ประยุกต์มาจากพระพุทธรูปปางลีลาของสมัยสุโขทัย ออกแบบสร้างโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี องค์พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริดมีขนาดสูง 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว)

Image
วิหาร อาคารที่สร้างเป็นหลังแรกในพุทธมณฑล


นอกจากนี้ภายในบริเวณพุทธมณฑลยังมี คือ วิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดเท่าต้นแบบ เป็นอาคารที่สร้างเป็นหลังแรกในพุทธมณฑล ส่วนด้านทิศเหนือมี หอประชุมทางพุทธศาสนา ใช้เพื่อการประชุมทางพุทธศาสนา มีห้องประชุมใหญ่บรรจุได้ถึง 1,250 ที่นั่ง

ถัดไปก็เป็น พิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บริเวณสวนธรรม ซึ่งใช้เป็นสถานที่แสดงโบราณวัตถุ จัดนิทรรศการ การบรรยายธรรม เสวนาธรรม และการบริการต่างๆ แต่ขณะนี้ยังขาดโบราณวัตถุที่จะนำมาจัดแสดง ซึ่งหากผู้ใดอยากจะบริจาคศิลปวัตถุทางพุทธศาสนาเพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นก็สามารถจะบริจาคได้

Image
พระมหาวิหาร


ส่วนที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่ไปพุทธมณฑล ควรจะต้องไปชม พระมหาวิหาร ที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก จารึกพระไตรปิฎกทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ บนหินอ่อนขนาดใหญ่จำนวน 1,418 แผ่น รวมทั้ง มีภาพวาดพุทธประวัติอยู่ด้านบนโดยรอบ

มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าแผ่นดินกำเนิดพระบรมศาสดา ถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดได้ไปกราบไหว้สังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือสถานที่พระพุทธองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ถือว่าเป็นผู้มีบุญ เพราะเหตุนี้ในแต่ละปีจึงมีชาวพุทธทั่วโลกหลั่งไหลกันไปนมัสการสถานที่เหล่านั้น แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเดินทางไปไกลได้ถึงประเทศอินเดียและเนปาล จึงได้มีการจำลองสถานที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบลมาไว้ที่พุทธมณฑล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้และระลึกถึงพระพุทธเจ้า โดยสังเวชนียสถาน 4 ตำบลนั้น สร้างอยู่รอบองค์พระประธานพุทธมณฑลตามทิศทางพุทธประวัติ มีพื้นที่ตำบลละ 50 ไร่ ล้อมรอบด้วยคูน้ำ ตกแต่งด้วยต้นไม้ดอกไม้ที่ร่มรื่นสวยงาม

Image
ธรรมจักรศิลาที่ตำบลปฐมเทศนา


ตำบลแรกอยู่ด้านขวามือของพระพุทธรูปคือ ตำบลตรัสรู้ สร้างเป็นดอกบัวที่ประทับนั่ง มีรอยแยก 4 รอย เพื่อให้ระลึกว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 เป็นหมวดธรรมแรกในพระพุทธศาสนา ถัดจากนั้นเป็น ตำบลปฐมเทศนา สร้างเป็นธรรมจักรศิลาแทนการแสดงธรรมครั้งแรกคือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และรูปแท่นที่นั่งของปัญจวัคคีย์ทั้งห้า

ตำบลถัดไปคือ ตำบลประสูติ ทำด้วยศิลาขนาดใหญ่แกะสลักเป็นรูปดอกบัวกำลังแย้มบาน 7 ดอก ช่วงบนแกะสลักลายรูปพระพุทธบาท กลางฝ่าพระบาทสลักชื่อแคว้นต่างๆ 7 แคว้น ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระธรรมคำสั่งสอนรวม 7 แคว้น

และสุดท้ายที่ ตำบลปรินิพพาน สร้างเป็นพระแท่นไสยาสน์ทำด้วยศิลา ด้านข้างแกะสลักเป็นดอกและใบสาละร่วง ซึ่งเปรียบเหมือนร่วงมาจากสวรรค์ ด้านหน้ามีรูปแท่นที่นั่งของพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก และสุภัททะปริพาชก สาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า ใครที่ไปยังตำบลนี้อย่าเผลอคิดว่าเป็นแท่นนั่งกราบพระพุทธเจ้าล่ะ

Image
พระไตรปิฎกหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ส่วนบริเวณอื่นๆ ของพุทธมณฑลที่น่าสนใจก็มีสวนไม้ไทยต่างๆ เช่น สวนสมเด็จ สวนสมุนไพร สวนเวฬุวัน สวนตะโก สวนตาล ฯลฯ ซึ่งมีทั้งความสวยงามและความร่มรื่นสงบเงียบเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ต้นไม้ในพุทธมณฑลทั้งหมดมีประมาณห้าหมื่นกว่าต้น ล้วนแต่เป็นต้นไม้ที่อยู่ในพุทธประวัติ ต้นไม้ต้นแรกที่ปลูกคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อปี 2526 โดยสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ตำบลตรัสรู้ นอกจากนี้จะเห็นป้ายชื่อของสถาบันต่างๆ ที่มาร่วมปลูกต้นไม้ตั้งเรียงรายตามจุดต่างๆ ทั่วบริเวณ

ณ ที่นี่ยังมีเกาะสุนัข ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลสุนัขที่เจ้าของเอามาปล่อยไว้ ปัจจุบันมีสุนัขอยู่จำนวนมาก เห็นสภาพแต่ละตัวแล้วก็น่าสงสาร แม้จะผู้มีจิตเมตตาบริจาคเงินเพื่อเป็นค่าอาหารและค่ายารักษา แต่ก็ยังไม่พอกับจำนวนของสุนัขที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เจ้าของสุนัขที่กำลังคิดจะตัดหางปล่อยวัดสัตว์เพื่อนยากอยู่ก็น่าจะคิดทบทวนความดีก่อนจะทิ้งพวกเขา ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เป็นภาระของพุทธมณฑลหรือคนอื่นๆ

Image
หอประชุมทางพระพุทธศาสนา


แต่อย่างที่บอกว่าพุทธมณฑลเป็นมากกว่าสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงได้เห็นผู้คนมากมายหลากหลาย ไม่เว้นแม้แต่ชาวต่างชาติ ไปที่พุทธมณฑลปีละหลายล้านคน สถิติเมื่อปี พ.ศ.2546 ที่ผ่านมามีมากถึง 4 ล้านกว่าคน โดยส่วนใหญ่จะมาเป็นหมู่คณะเพื่อสักการะองค์พระ ทัศนศึกษา ปฏิบัติธรรม ที่มาแบบครอบครัว หรือมาเดี่ยวมาคู่ก็มาก

จึงได้เห็นภาพผู้คนในอิริยาบถต่างๆ ในบริเวณทั่วไปของพุทธมณฑล ทั้งพักผ่อนรับอากาศสดชื่น ให้อาหารปลา ทานข้าวปิคนิค หรือแม้แต่ออกกำลังกาย แม้ว่าพุทธมณฑลจะเปิดกว้างต้อนรับทุกๆ คนที่ต้องพักผ่อน ดังนั้นคนที่มาก็จึงต้องพักผ่อนในบรรยากาศที่เป็นกุศล ไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายหรือสร้างความเสื่อมเสียแก่สถานที่ เพียงเท่านี้ก็ย่อมจะได้รับความอิ่มใจจากการได้ทำบุญ ความร่มรื่นในบรรยากาศพักผ่อนที่แสนสบาย และความรู้จากสถานที่พุทธประวัติต่างๆ ช่วยเติมเต็มให้วันหยุดนี้เป็นวันที่มีความสุขได้อย่างล้นเหลือไปอีกนาน...

Image
ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนจำนวนมากจะมาเวียนเทียนกันที่พุทธมณฑล



พุทธมณฑล สร้างในสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาครบ 2,500 ปี ในวันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 เพื่อให้เป็นดังปูชนียสถานและศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในเขตตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล และเขตตำบลบางกระทึก อ.สามพราน อยู่ห่างจากตัวเมืองนครปฐมไปทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ประมาณ 30 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางสาย 124, 125, 84, 84 ก, ปอ.84 ก, ปอ.16, ปอ.539 ผ่าน สอบถามเส้นทางได้ที่ 184 และมีรถตู้ผ่านโดยขึ้นที่พาต้าปิ่นเกล้า ลงหน้าพุทธมณฑล ค่ารถ 15 บาท เปิดตั้งแต่เวลา 05.00-19.00 นาฬิกา

ขอแนะนำสักนิดว่าพื้นที่ของพุทธมณฑลค่อนข้างจะกว้างขวาง ดังนั้นถ้ามีรถส่วนตัวก็จะสะดวกในการเที่ยวชมยิ่งขึ้น และสำหรับผู้ที่เข้าไปยังพุทธมณฑล มีข้อพึงปฏิบัติโดยหลักใหญ่ก็คือ ควรให้ความเคารพแก่สถานที่ แต่มีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มด้วยว่า ที่นี่ห้ามนำรถทุกชนิดเข้ามาหัดขับ และควรจะขับรถในความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และยังเป็นกุศโลบายที่ให้ทุกคนได้มองเห็นและอ่านป้ายต่างๆ ได้โดยไม่เลยผ่านออกนอกเส้นทาง

Image
เหล่าผู้มาเยือนพุทธมณฑล
ไหว้พระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคล



สำหรับโรงเรียนที่จัดทัศนศึกษาหรือคณะต่างๆ ที่ต้องการเข้าเที่ยวชม สามารถติดต่อล่วงหน้าเพื่อขอวิทยากรบรรยายพิเศษได้ที่สำนักงานพุทธมณฑล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้พุทธมลฑลยังได้จัดโครงการเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยชัยมงคล และเจริญจิตตภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยจัดต่อเนื่องระยะยาวเป็นเวลา 2 ปี ณ ลานพุทธมณฑล ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00-18.00 นาฬิกา ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานพุทธมณฑล โทรศัพท์ 0-2441-9009 และ 0-2441-9012-3


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2547 10:12 น.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พระประธานพุทธมณฑล (พระศรีศากยะทศพลญาณฯ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19724

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ซึ้ง สุดยอดเลยครับ สาธุ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2008, 6:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระประธานพุทธมณฑล
‘พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์’

‘พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์’ นามของพระประธานประจำพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม มีศัพท์ทางพุทธศาสตร์ 2 คำปรากฏอยู่ในนามนี้ “ศรีศากยะ” มาจากคำว่า ศากย, ศากยะ ความหมาย [สากกะยะ] น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่าศากยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย). สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์วงศ์นี้ ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย

“ทศพลญาณ” พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง)

Image

1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร)

2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ)

3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง)

4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง)

5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน)

Image

6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่)

7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย)

8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)

9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม)

10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)

‘พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์’ เป็นนามพระราชทาน ประดิษฐานใจกลางพุทธมณฑล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงเททองพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2524 ระหว่างกำลังดำเนินการสร้างอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการสร้างองค์พระพุทธรูปด้วย

Image

พระศรีศากยะทศพลญาณฯ เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกล พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์

โดยประยุกต์พุทธลักษณะมาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้นพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า

ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์เทวโลก เมื่อออกพรรษามหาปวารณาแล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “เทโวโรหณสมาคม”

พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธสืบเนื่องมาจวบกาลปัจจุบัน

Image


- หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
ปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6498
- สารานุกรมไทยฉบับเยาชน เล่มที่ 29
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง