Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นางสงกรานต์ คำพยากรณ์...คติในตำนาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2007, 10:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับสงกรานต์ เทศกาลที่มีสีสันความหมายลึกซึ้ง
ซึ่งไม่เพียงแค่ความสนุกสนานเล่นสาดน้ำเปียกปอน
ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทยยังเป็นช่วงเวลาสำคัญ
ของการกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว
การทำบุญสร้างกุศล เยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่ ฯลฯ

จากประเพณีสงกรานต์ที่มีความหมาย
ตลอดสัปดาห์วาไรตี้ตามติดนำสาระสำคัญของประเพณี
สีสันบรรยากาศเทศกาลสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ วันครอบครัว
ตลอดจนสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยวรวมทั้งการกล่าวขานถึง
นางสงกรานต์ คำพยากรณ์ มาบอกเล่า

สมัยก่อนที่ยังไม่มีปฏิทิน การจะรู้ว่าวันสงกรานต์ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่
หรือวันเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ตรงกับวันใด
กล่าวกันว่าต้องรอโหรคำนวณ จากนั้นราชการจะออกประกาศ
สงกรานต์แจ้งให้ทราบกันซึ่งในประกาศสงกรานต์นอกจากจะทราบถึง
วันเวลาเปลี่ยนศักราชใหม่ วันมงคล อวมงคล
ยังมีเกณฑ์น้ำฝนของแต่ละปีแจ้งไว้ ฯลฯ
ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
ของประชาชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมส่วนใหญ่

Image

นอกจากนี้อีกสิ่งที่เป็นที่สนใจ คือ นางสงกรานต์ คำพยากรณ์
อย่างถ้านางสงกรานต์นั่งนกยูงจะทราบได้ว่า
วันมหาสงกรานต์ปีนั้นตรงกับวันเสาร์และเวลาเปลี่ยนศักราชใหม่
จะอยู่ในช่วงเที่ยงถึงค่ำ เป็นต้นและเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ
จากส่วนหนึ่งในหนังสือนางสงกรานต์คือใคร
เรื่องราวมโหธรเทวี นางสงกรานต์ปีกุน ฯลฯ
ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เผยแพร่ไว้
กล่าวว่า นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์
เล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว
โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์


ตามตำนานเล่าว่า “ท้าวกบิลพรหมแพ้ตอบปริศนาแก่ธรรมบาลกุมาร
จึงต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา
แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด
ก็จะเป็นอันตรายไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดิน หรือในน้ำ
ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ
และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี เขาไกรลาส
ครั้นถึงกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์
เทพธิดาทั้งเจ็ดจะทรงพาหนะของตน ผลัดกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่
โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ
จึงได้ชื่อว่า นางสงกรานต์
ส่วนท้าวกบิลพรหม โดยนัยคือ พระอาทิตย์ เพราะกบิล หมายถึง สีแดง”

Image

นางสงกรานต์จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะต่างกัน

วันอาทิตย์ นาม นางทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค
หรือปัทมราช (พลอยสีแดง) ภักษาหารมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร
หัตถ์ซ้ายถือสังข์ มีครุฑเป็นพาหนะ

วันจันทร์ นาม นางโคราคะ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา (ไข่มุก)
ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือ ไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ

วันอังคาร นาม นางรากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา
ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนู มีสุกรเป็นพาหนะ

วันพุธ นาม นางมณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์
ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ

วันพฤหัสบดี นาม นางกิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต
ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ

วันศุกร์ นาม นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม
ภักษาหารกล้วยน้ำว้า หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ มีกระบือเป็นพาหนะ

วันเสาร์ นาม นางมโหธร ทัดดอกสามหาว (ผักตบ) เครื่องประดับนิลรัตน์
ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูงเป็นพาหนะ

Image

อิริยาบถที่นางสงกรานต์ขี่พาหนะมา
จะเป็นการบอกถึงช่วงเวลาพระอาทิตย์เคลื่อนสู่ราศีเมษ
เวลาใดของวันมหาสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ซึ่งมีด้วยกัน 4 ท่า


ยืนบนพาหนะ หมายถึง พระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ
ในระหว่างเวลารุ่งเช้าจนถึงเที่ยง
นั่งบนพาหนะ หมายถึง ช่วงเที่ยงจนถึงค่ำ
นอนลืมตาบนพาหนะ หมายถึง ช่วงค่ำไปจนถึงเที่ยงคืน
นอนหลับตาบนพาหนะ หมายถึง เที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า


ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับอิริยาบถของนางสงกรานต์นั้น กล่าวกันว่า
ถ้ายืนมา จะเกิดความเดือดร้อน เจ็บไข้
ถ้านั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ
นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข
และถ้านอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรือง เป็นต้น


ส่วนคำว่า สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้นหรือเคลื่อนย้าย
หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง
ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน แต่เมื่อใดก็ตามที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษ
โบราณถือว่าเป็นการเคลื่อนย้ายครั้งสำคัญ เรียกว่า มหาสงกรานต์
เพราะถือว่าเป็นการเคลื่อนเข้าสู่วันปีใหม่อันเป็นการนับตามคติเดิม
ซึ่งมักจะตกอยู่ในราววันที่ 13, 14, 15 เมษายน ซึ่งแต่ละวันจะมีชื่อเรียกต่างกัน

Image

อย่าง วันที่ 13 เมษายน จะเรียกว่า วันมหาสงกรานต์

วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา วันที่พระอาทิตย์เริ่มอยู่เข้าที่เข้าทางในราศีเมษ

ส่วนใน วันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่
ซึ่งทั้งสามวันนี้กำหนดเรียกแบบตายตัวเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ


แต่หากดูตามประกาศสงกรานต์ การคำนวณทางโหราศาสตร์จะเห็นว่า
วันดังกล่าวอาจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้างในบางปี
อย่างปีนี้ตามที่มีการกล่าวถึง วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์
ตรงกับวันเสาร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12 นาฬิกา 36 นาที 37 วินาที
นางสงกรานต์ นามว่า มโหธรเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบ)
อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย
พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล
เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูงเป็นพาหนะ

Image

วันอาทิตย์เป็นวันเนา
และวันจันทร์ที่ 16 เมษายน เวลา 16 นาฬิกา 40 นาที 48 วินาที
เปลี่ยนจุลศักราช เป็น 1369 เป็นวันเถลิงศก

ซึ่งจากอิริยาบถของนางสงกรานต์เชื่อกันว่า
ถ้านั่งมาจะเกิดความเจ็บป่วยไข้
ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ เป็นต้น


จากคำพยากรณ์ ตำนานนางสงกรานต์
คติความเชื่อที่กล่าวขานกันมานั้น มีคุณค่าเสมือนเป็นการเตือนสติ
ให้ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ได้รู้ระวังป้องกันแก้ไข


ขณะที่สงกรานต์ปีนี้ซึ่งมีวันหยุดยาว ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดใกล้ไกล
ควรระมัดระวัง เตรียมตัวให้พร้อม รวมทั้ง
ไม่ลืมคุณค่ารักษาสาระสำคัญสงกรานต์ประเพณีที่งดงามน่าภาคภูมิใจ

Image

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

ทีมวาไรตี้ (พงษ์พรรณ บุญเลิศ)
คัดลอกจาก...
http://www.sanook.com

ขอขอบคุณบทความดีๆ
จาก...หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 20 เม.ย.2007, 8:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวัสดียามเช้าครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 11:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 8:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๑

ปีนี้ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๓ เมษายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๑๘ นาฬิกา ๒๔ นาที
ปีชวด เทวดาผู้ชาย ธาตุน้ำ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๗๐ ทางจันทรคติ
เป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติ เป็นอธิกสุรทิน
อธิกสุรทิน คือ ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วัน
สัมฤทธิศก คือ ปีที่จุลศักราชลงท้ายด้วย ๐ ศูนย์
นางสงกรานต์ ทรงนามว่า ทุงสะเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม
อาภรณ์แก้วปัทมราค ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร
พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังครุฑ เป็นพาหนะ

วันที่ ๑๕ เมษายน เวลา ๒๒ นาฬิกา ๕๓ นาที ๒๔ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น ๑๓๗๐ ปีนี้ วันพุธเป็นธงชัย วันอังคารเป็นอธิบดี วันอังคารเป็นอุบาทว์ วันพฤหัสบดีเป็นโลกาวินาศ

ปีนี้ วันอาทิตย์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า
ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหินพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า
นาคให้น้ำ ๔ ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อวิบัติ ข้าวกล้าในภูมินา
จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีวาโย (ลม) น้ำน้อย

จากประกาศสงกรานต์ข้างต้น และดูตามคำพยากรณ์โบราณ จะเห็นได้ว่า วันมหาสงกรานต์ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ท่านว่าพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้งอกงามนัก ส่วนวันจันทร์เป็นวันเนา มักจะเกิดความไข้ต่างๆ เกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ วันอังคารเป็นวันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล ส่วนทางล้านนาว่า ถ้าวันสังกรานต์ล่อง (หรือวันมหาสงกรานต์) ตรงกับวันอาทิตย์แล้ว ปีนั้นข้าวหมากเกลือจักแพง คนจักเป็นพยาธิ ข้าศึกจะมีแก่บ้านเมือง หนอนแมลงจักกินพืชไร่ แถมนางสงกรานต์ท่านเสด็จมา “ท่านั่ง” ซึ่งอิริยาบถนี้ เขาก็ว่าจะนำมาซึ่งความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย และจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ

อ่านโดยรวมแล้ว ดูท่าว่าจากวันปีใหม่สากลจนถึงปีใหม่แบบไทย คือวันสงกรานต์ปีนี้ มีแต่เรื่องชวนหดหู่ไม่น้อย ส่วนดีมีนิดเดียว และแม้จะไม่ดูคำทำนาย แต่จากสภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนดินฟ้าอากาศที่ผ่านมาก็บ่งบอกอนาคตได้อยู่แล้ว ยิ่งมีความเชื่อสมัยก่อนมาตอกย้ำเช่นข้างต้น หลายคนคงแทบหมดหวัง หรือเกิดอาการท้อแท้ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปดูนางทุงสะเทวี นางสงกรานต์ปีหนูนี้ ถ้าอ่านให้ดีจะพบว่า พระนางนั้นนอกจากจะดูไม่ดุแล้ว ยังทรงครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ผู้เป็นหนึ่งในสามมหาเทพของพราหมณ์ และในพระหัตถ์ยังทรงจักรและสังข์ ที่เป็นอาวุธของพระนารายณ์อีกเช่นกัน

ดังนั้น หากจะมองในด้านบวก นางทุงสะเทวีก็เป็นเสมือน “นอมินี” ของพระนารายณ์ ที่ทรงมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองโลก และปราบปรามเหล่ายักษ์อสูรที่คอยมาสร้างความเดือดร้อนแก่มนุษย์ ส่วนภักษาหารที่เป็นผลมะเดื่อนี้ ทางฮินดูถือเป็นไม้มงคล และตามหลักวิทยาศาสตร์ก็เป็นผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง สัตว์ต่างๆ จึงชอบกินผลมะเดื่อ อีกทั้งเปลือก ราก และผลของมะเดื่อ ก็มีสรรพคุณทางยา โดยสามารถแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล ถอนพิษไข้ และเป็นยาระบายอีกด้วย ดังนั้น หากเรามีความเชื่อมั่นว่า “เมืองไทยไม่สิ้นคนดี” พร้อมยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต คือ รู้จัก “พอ” ในการกิน การอยู่ และใช้ชีวิตแล้ว ก็เชื่อว่า เหล่ามารทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากระบบทุนนิยม บริโภคนิยม ฯลฯ ก็มิอาจมาทำร้ายเราได้

Image

คำทำนายเกี่ยวกับวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มีว่า

๑. ถ้า วันอาทิตย์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ

๒. ถ้า วันจันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ

๓. ถ้า วันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล

๔. ถ้า วันพุธ เป็นวัน มหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ

๕. ถ้า วันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์ ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม

๖. ถ้า วันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก

๗. ถ้า วันเสาร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู

นอกจากนี้ ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความเชื่อทางล้านนา อีกตำราว่า

ถ้าวันมหาสงกรานต์ตรงกับ วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ นางแพงศรี ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ (เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย ไม้ยางเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่ ถ้าวันมหาสงกรานต์ตรงกับ วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา ปีนั้นงูจักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาแก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้เดื่อเกลี้ยง หากตรงกับ วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษสเทวี ปีนั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย (ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อยช้าง หากตรงกับ วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มันทะ ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ ไม้สะเดา เป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้คราม

ถ้าตรงกับ วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญาเทพ ปีนั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ ไม้สักเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวาว ถ้าตรงกับ วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ ริญโท ปีนั้น ฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทธา หากตรงกับ วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ สามาเทวี ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆ จักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง

Image


โดย อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม เอื้อเฟื้อข้อมูลคำทำนายสงกรานต์ ปี ๒๕๕๑
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 05 เม.ย.2012, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง