Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ใครรู้เรื่องของสัญญากรรมบ้าง ช่วยอธิบายที อยากทราบ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
nao7309
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 ธ.ค. 2004
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 10:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความรู้สึกของเรา เราว่าเจ้าตัวนี้แหละที่เป็นเครื่องผูกชาวบ้าน ใครต่อใครก็ไม่รู้ให้ต้องมาเจอกัน และก็ออกจะวุ่นวายกันไปหมด ชดใช้กรรม แก้กรรม อโหสิกรรมกันให้วุ่นไปหมด เราก็เลยอยากรู้ว่า แท้ที่จริงแล้วเจ้าตัวนี้สามารถที่จะแก้ไข หรือช่วยเหลือชาวบ้านชาวช่องทั้งหลายให้เห็นแสงแห่งพระธรรมได้อย่างไรบ้าง เพราะบางทีเราก็เบื่อๆ กับคนบางคนที่พูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง (หรือรู้แต่แกล้งเป็นไม่รู้แฮะ) อยากชวนเพื่อนเข้าวัด ก็ไม่กล้าเอ่ยปาก กลัวหาว่าเรางมงาย อีกอย่างอายุก็ห่างกันเยอะมาก เลยชักลังเล และกำลังตัดสินใจว่าจะคบเจ้าเพื่อนคนนี้ต่อไปนี้หรือไม่ มึนจริงๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ถามนี่ถามเรื่องอะไรครับ? เพราะอ่านแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆ
 
nao7309
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 ธ.ค. 2004
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ถามก็คือเรื่องของสัญญากรรมว่าคืออะไร แตกต่างจากวิบากกรรมหรือไม่ อย่างไร ถ้าทราบก็รบกวนช่วยอธิบายด้วย ไม่มีอะไรมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 9:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัญญาแปลว่าความจำได้หมายรู้ หรือเป็นความจำ หรือเป็นเรื่องของการเก็บเรื่องราวเอาไว้ก็คงได้ กรรมนั้นแปลว่าการกระทำ วิบากแปลว่าผลของกรรม

คำว่ากรรมหมายถึงการกระทำที่เป็นกลางๆ เป็นการกระทำดี รวมทั้งการกระทำชั่วที่เรียกว่ากรรมชั่ว ถ้าบอกอย่างนี้ไม่ทราบคุณพอเข้าใจในสิ่งที่ถามหรือไม่ ถ้ายังสงสัยอะไรที่เป็นเหตุให้เกิดความสงสัยเรื่องนี้
 
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 10:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ผมคิดว่าส่งจิตไว้ควบคุมสติของเราให้ดี และปฏิบัติให้ดีที่สุด ส่วนผลจะเป็นอย่างไรคงต้องถืออุเบกขา บางครั้งเรายังไม่สามารถสั่งจิตหรือเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ ฉะนั้นเราจะไปหวังให้ชาวบ้านเป็นอย่างที่เราหวังคงไม่ได้ เรื่องอนาคตบางครั้งไม่รู้จะดีกว่า ขอปัญญาในธรรมจงบังเกิดแก่ท่านครับ
 
nao7309
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 ธ.ค. 2004
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 10:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณโอ่มากที่อธิบาย ใช้ได้เลย แต่ยังไม่ สะ-ใจ ช่วยขยายความและยกตัวอย่างอีกสักนิดก็จะดีนะ



เพราะฉะนั้นคำว่า สัญญากรรม ก็น่าจะหมายถึง การกระทำที่จิตนั้นรับได้หมายรู้ว่า หรือบันทึกเอาไว้ในจิตก่อนที่ตนเองจะสิ้นลมว่าเคยทำอะไรกันไว้ ซึ่งเป็นได้ทั้งกรรมดี และกรรมที่ไม่ดี และส่งผลต่อชีวิตหรือการกระทำต่างๆ ในชาตินี้หรือภพนี้อย่างไรบ้าง เช่น ไม่ว่าจะทำการอะไรแล้วเกิดติดขัด นั้นย่อมหมายความว่า ในอดีตเราเคยไปขัดขวางเขาเช่นนั้นกระมัง หรือชีวิตมีแต่ความสุข ก็เพราะในชาติภพที่แล้ว ตนเองเคยประกอบกรรมดี ช่วยเหลือชาวบ้านชาวช่องเอาไว้มากกระมัง



จากเท่าที่วิเคราะห์และสังเกตุดู สัญญากรรม ออกจะเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนพอสมควร อันที่จริงอยากจะศึกษาให้ลึกซึ้งมากๆ เพราะอาจจะตอบคำถามหรือเข้าใจวิถีชีวิตของคนแต่ละคนได้มากกว่านี้ก็เป็นได้ และอาจจะนำเอาประโยชน์อันเกิดจากความเข้าใจของเราไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้และช่วยเหลือให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและปรับสภาพของชีวิตให้มีความเป็นอยู่และเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ที่ตนเองต้องประสพ ได้ง่ายขึ้น



รบกวนคุณโอ่ ช่วยแนะนำด้วย หรือมีหนังสือดีๆ หรือผู้ที่บรรยายเรื่องของสัญญากรรมที่ไหน ช่วนแนะนำด้วยจะได้ติดตาม เพราะสมัยนี้น่าจะศึกษาเรื่องทำนองให้เข้าใจให้มากๆ จะได้เข้าใจโลกใบนี้และผู้คนให้มากขึ้น

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 4:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองอ่านดูก่อนนะครับ คัดจากพจนานุกรมที่ลิ้งค์กับเวบนี้มาให้ดู



กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว” - 1.Karma; Kamma; a volitional action; action; deed; good and bad volition. 2.work; job; activity; transaction.



กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ ๑.อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล ๒.กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล



กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ ๑.กายกรรม การกระทำทางกาย ๒.วจีกรรม การกระทำทางวาจา ๓.มโนกรรม การกระทำทางใจ



กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ข้างล่างนี่ก็เป็นอีกคำหนึ่งคือ สันตติ ควรจะทำความเข้าใจว่าการสืบต่อหรือการเก็บความจำของการกระทำไว้ในจิต คือสัญญาขันธ์เกิดดับอยู่ตลอด เหมือนจิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับก็ถ่ายทอดการกระทำที่จำไว้นั้นไปยังจิตดวงต่อไปอยู่ตลอดเวลา แม้เราตายแล้วนามนี้ก็เกิดดับอยู่ตลอด เหมือนดวงไฟหลายดวงเรียงร้อยกันดวงหนึ่งดับ แล้วส่งแสงไปให้ดวงต่อไปสว่างแว้บ แล้วดับส่งความสว่างไปสู่ดวงใหม่ จิตใจมีสภาพทำนองเดียงกันนี้ แต่มีความเร็วจนเราไม่รู้ถึงการเกิดดับนี้



เรื่องผลกรรมให้ทำความเข้าใจกรรมสิบสองไปก่อน



หนังสือเรื่องกรรมมีมาก มีหนังสือเล่มเล็กๆของสมเด็จพระสังฆราช เขียนไว้อ่านได้เพลินเข้าใจได้ง่าย ของคุณวศิน อินทสระก็มีแต่จำชื่อไม่ได้ ไปหาที่ร้านหนังสือดูก็ได้





สันตติ การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2005, 3:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรจะคิดตามความเป็นจริง และใจชีวิตตามความเป็นจริงตามกรรมว่า เราเกิดมาเพื่อรับวิบากคือผลของกรรมทั้งดีและชั่ว และเราก็สร้างกรรมใหม่ๆทั้งดีและชั่วตลอดเวลา



วิบากกรรมที่เราได้รับนั้น เราได้ทำไว้ก่อนแล้ว เป็นสิ่งที่เราเลือกไม่ได้ แม้วิบากกรรมชั่วเป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนาจะได้รับ เมื่อกรรมนั้นสนอง เราไม่สามารถจะหลีกหนีได้ ถ้าเราสามารถหลีกหนีวิบากกรรมได้โดยไม่ต้องรับกรรมแล้ว ใครๆสามารถหนีพ้นวิบากกรรมชั่วได้หมด ไม่ต้องรับกรรมและคนก็ทำชั่วโดยไม่ต้องเกรงกลัวบาป หลักศาสนาที่สอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วก็ไม่เป็นวามจริง



การที่เราจะรับกรรมคือผลวิบากนั้นๆอย่างไรในตอนไหนนั้น รวมทั้งในชาติไหนด้วยนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุหลายอย่าง แต่เหตุสำคัญก็คือแรงเจตนาของกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วว่ามากเท่าใดหนึ่ง ผลของบาปบุญนั้นมากหรือน้อยนั่นและคือแรงกรรม ลักษณะกรรมที่ทำที่ส่งผลมากหรือน้อยรวมกับกำลังเจตนานั่นแหละคือกำลังของกรรมที่จะให้ผลในช่วงเวลาชาติต่างๆของชีวิตที่เกิดในภพต่างๆ



ถ้าเราไปเกิดในทุคติก็จะทำให้ผลกรรมชั่วที่เคยทำในที่ต่างๆมารวมกันมาก เมือนไปเกิดในสุคติสวรรค์ก็จะทำให้กรรมดีไปรวมกันให้ผลมาก ในโลกมนุษย์นั้นมีทั้งผลกรรมดีและชั่วจะให้ผลแรงมากได้ทั้งสองฝ่าย



ส่วนกรรมที่นำเราไปเกิดนั้นคือกรรมที่เราคิดเวลาก่อนตาย เพราะในหลายขณะจิตที่คิดช่วงสุดท้ายนั้นมีผลนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าปฏิสนธิไปเกิดใหม่ กรรมที่ไปเกิดนั้นสามารถไปเกิดในที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ อันทำให้ประสบความสุขทุกข์ที่ต่างกัน แต่ในชีวิตคนเราหรือสัตว์ที่ไปเกิดตามที่ต่างๆ จะไปเกิดที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม กรรมอื่นๆที่เป็นดีหรือชั่วก็ตามมาตลอดและพยายามเข้าไปให้ผลในแต่ละช่วงชีวิตของเรา กรรมไหนมีกำลังแรงมากก็มีโอกาสในการให้ผลมาก



ชีวิตของเราขึ้นลงดีชั่วนั้นไปตามกรรมตามกำลังแรงของกรรมนั้นจะให้ผล เพราะฉะนั้นคิวของกรรมที่จะมาให้ผลต่อตัวเรานั้น ขึ้นกับการกระทำของเราเองที่จะทำให้เกิดการจัดคิวของกรรมที่จะมาสนองเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปได้



เมื่อเป็นดังนี้แล้วการใช้ชีวิตในโลกไม่ควรประมาท ควรสร้างศรัทธาที่จะทำความดีให้เกิดแก่ตนเองให้มาก ตักตวงประโยชน์แห่งความดีหรือบุญกุศลอันคนที่เกิดมามีกำลัง มีโอกาสที่จะทำได้ให้มากเอาไว้ก่อน ส่วนงานอื่นๆนั้นให้ทำเพียงพอที่เราจะอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนโลกได้ก็พอแล้ว แม้บาปบุญของเราจะมีอีกที่ยังไม่ได้มาสนอง แต่อย่าไปมั่นใจและคิดว่าบุญที่เราได้เคยทำไว้ก็มี แต่บุญนั้นยังมาไม่ถึงและยังไม่มีโอกาสสนอง เราควรรอบุญของเราดังนี้ นี่คือสิ่งที่ไม่ควรคิดเป็นอย่างยิ่ง



เราควรคิดอย่างไม่ประมาทว่าบาปที่เราทำนั้นยังมี และอาจมาสนองเราตอนไหนก็ได้ แต่บุญขงเรานั้นมีกำลังน้อย เราต้องสร้างให้มีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ สะสมบุญไว้เป็นพลัง เป็นเสบียงกรังในการเดินทางไกลไปสู่พระนิพพาน เพราะคนในโลกนี้มีแต่ความประมาท เราจะเป็นผู้ไม่ประมาท จะสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ตัวเองให้สูงสุด รักษาศรัทธานั้นไว้มิให้เปลี่ยนไป



เราจะต้องเตือนตนเองให้ความเพียรที่จะทำกุศลกรรมอยู่เสมอ เพราะนอกจากตัวเราแล้ว ก็ไม่มีใครเลยจะรักเราเท่าเรารักตนเอง ดังนั้นเราจะต้องเตือนตนเอง ต้องคิดในลักษณะอย่างนี้จึงทำให้เกิดศรัทธาและความเพียรอยู่เสมอได้ เพราะถ้าเราไม่เตือนตนเอง ไม่ยังกุศลให้เกิดขึ้นในจิตแล้ว ความเพียรเรานั้นก็จะย่อหย่อน แล้วคิดว่าวันนี้จะทำบุญหรือไม่ก็ได้ งนอื่นสำคัญจะทำก่อนก็มี ค่อยทำวันหลังก็ได้ อาจขี้เกียจบ้าง คิดว่าบุญทำไว้มากแล้ว และเปรียบเทียบกับคนทั่วไปที่ไม่ทำบุญว่าเราทำไว้มาก คิดอย่างนี้ก็ประมาท ควรดูว่าศรัทธาของเรามากขึ้นหรือไม่



เราสร้างความเพียรความตั้งใจอย่างไร ศีลของเราวันนี้กับเมื่อวาน กับปีก่อนๆแตกต่างกันหรือไม่ เรามีจิตใจสงบและอยู่ในศีลแล้วตลอดเวลาหรือไม่ ทำให้ยิ่งไปกวานั้นคือระลึกคุณของศีลได้มากขึ้นหรือไม่ กระทำอินทรีย์สังวรคือใจมีศีลอันประณีตอยู่ตลอดเวลาได้มากหรือไม่ เพราะเรามีเวลาคิดอยู่ตลอดเอาเวลานั้นมาชำระศีลและประพฤติธรรมให้มากขึ้น เมื่อเราตั้งใจอย่างนี้กำลังแห่งกุศลก็เข้มแข็งขึ้น เหมือนคนออกกำลังกายที่สร้างกล้ามเนื้อความแข็งแรงแก่ร่างกาย



คนทำบุญก็สร้างความแข็งแรงและกล้ามเนื้อแก่ใจ กำลังใจก็แข็งแรงด้วยธรรมปฏิบัติที่มากขึ้น เราสามารถทำตนเองให้เป็นอย่างนั้นได้ ด้วยการที่เราอบรมตนเองอยู่เสมอนั่นเอง คือปฏิบัติให้เป็นหน้าที่แล้วเราก็จะไม่สนใจเรื่องของการจะได้รับผลกรรมอย่างไร ไม่ว่าทุกข์หรือสุขเราสามารถรับได้หมด แม้ความทุกข์เข้ามาเราก็ทนทาน และเห็นทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา ไม่โศกเศร้า ไม่ร้องไห้ ไม่มีความเสียใจในสิ่งร้ายๆ เพราะมองเห็นเป็นธรรมดาไป อันนี้เป็นเรื่องการฝึกชีวิตของเราเอง



ถ้าเราไปสนใจเรื่องผลกรรม และคิดว่าไม่ช้าจะโชคดี จะมีความสุข เราก็หวังผลอันต่ำๆแห่งความสุขอันแสนเลวในโลกนี้ เหมือนคนที่ใช้ชีวิตอันสนุกสนาน อันน่ารังเกียจ อันเรียกว่าไว่โง่อยู่ในโลกอย่างนี้ เราก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากโลกที่เราอุตส่าห์มาเกิดที่นี่ แล้วเราก็ตกอยู่ในความประมาท เพราะไม่ช้าราก็ต้องตาย เราอาจเจ็บป่วย อาจช่วยตนเองไม่ได้ อาจพลาดโอกาสที่จะสร้างความดีหรือบุญกุศลได้ เพราะเหตุของความประมาท แล้วนำไปสู่ความเสียใจเมื่อสายไปแล้วที่จะสร้างกรรมดีดังนี้





คิดว่าเพียงรู้เรื่องบุญบาปแล้วเชื่อในเรื่องนี้ดีกว่า พยายามพิจารณาเข้าใจเรื่องชีวิตที่เราเกิดมาให้มากขึ้นดีกว่า
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2005, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่งได้ชื่อหนังสือของคุณ วศิน อินทสระ ชื่อ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
 
nao7309
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 ธ.ค. 2004
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2005, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณโอ่ มากที่อุตส่าห์ช่วยหาคำตอบ แต่ที่ตอบกลับมาช้าเพราะ monitor มีปัญหาและนำเครื่องไปซ่อมมาด้วย เพิ่งจะได้คืน แต่จอภาพก็ไม่เหมือนเดิมแต่ก็ชั่งเถอะ เอาไว้นำไปซ่อมใหม่ช่วงไม่อยู่เมืองไทยดีกว่า



แต่ก่อนอื่นขอขอบคุณอีกครั้งกับคำตอบของคุณโอ่ ทำให้เข้าใจอะไรๆ ได้อีกเยอะ และก็ชอบมากด้วย จะได้ไปหาหนังสือที่คุณแนะนำมาอ่านบ้าง เพราะเรื่องของสัญญากรรม เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและน่าจะเข้าข่ายของกฏแห่งกรรมด้วยเช่นกัน การที่คุณตอบกระทู้และมีคนมาเปิดอ่านก็เป็นวิทยาทานอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้บางท่านอาจจะมีปัญหาอย่างที่เรามีจะได้เข้าใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน ขออนุโมทนาสาธุในกุศลด้วยจริงๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2005, 3:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าต้องการเข้าใจหลักกรรมให้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ขอให้หาอ่านเรื่องปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีหลายท่านเขียนไว้ เชื่นในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และปฏิจจสมุปบาท ของท่านพุทธทาสภิกขุ ของท่านสมเด็จพระสังฆราชปัจจุบัน ก็รจนาไว้อ่านเข้าใจดีมาก เคยอ่านต่อเนื่องในหนังสือ "ธรรมจักษุ" และควรดูเรื่องเดียวกันนี้ในหนังสือ "พุทธธรรม"ด้วย



ความเข้าใจเรื่องกรรมนี่จะเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ถ้าทำความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทในแง่มุมต่างๆ



ถ้าศึกษาทำความเข้าใจก็คงได้ความรู้ในเรื่องนี้ แต่เรื่องกรรมมีความลึกซึ้ง ประสบการณ์นั้นอาจมีความแตกต่างมากกว่าตำรามาก ควรปฏิบัติธรรมด้วยเพื่อจะรู้ในภาคปฏิบัติด้วยตนเอง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง