Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิทานมงคลธรรม (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2007, 2:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

นิทานมงคลธรรม
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก



๏ พระเทวทัตกับเจ้าชายอชาตศัตรู

เรื่องนี้รู้กันเป็นส่วนมากอยู่แล้ว ขอเล่าสั้นๆ

พระเทวทัตอยากเป็นใหญ่ อยากให้ญาติโยมนับถือเหมือนนับถือพระอัครสาวกและพระผู้ใหญ่อื่นๆ จึงไปคบหากับเจ้าชายอชาตศัตรู และทำการล้างสมองเจ้าชาย ให้ยึดราชบัลลังก์พระราชบิดา (พระเจ้าพิมพิสาร) อชาตศัตรูจับพระราชบิดาขังคุกจนสิ้นพระชนม์ เทวทัตเองหวังจะเป็นใหญ่ หาวิธีกำจัดพระพุทธองค์ต่างๆ นานา แต่ก็ล้มเหลว ในที่สุดจึงถูกแผ่นดินสูบ

อชาตศัตรูหลังจากได้บัลลังก์แล้วก็บรรทมไม่หลับ สำนึกได้ว่าตนได้ก่ออนันตริยกรรมยากที่จะแก้ไขเสียแล้ว จึงไปกราบขอขมาพระพุทธองค์ ฟังพระธรรมเทศนา ถวายตนเป็นสาวกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต

อชาตศัตรูฟังธรรมจากพระพุทธองค์ แทนที่จะบรรลุมรรคผล แต่เพราะได้ "ขุดรากถอนโคนตนเอง" แล้ว จึงได้อย่างมากเพียงศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย พระพุทธองค์ตรัสว่า นี้เพราะผลแห่งการคบคนพาลสันดานชั่วอย่างเช่นเทวทัต อชาตศัตรูจึงถลำลงลึก ดีที่พระพุทธองค์มาฉุดช่วยไว้ได้ จึงพอทุเลาเบาบางลงได้บ้าง

พระพุทธวจนะตรัสเตือนไว้ว่า "ไม่พึงคบคนเลว ไม่พึงคบคนต่ำช้า พึงคบคนดี พึงคบคนสูงสุด"

คำหลังทรงใช้ว่า "ปุริสุตตม" บุรุษที่สูงสุด หมายถึงคนที่ดีที่สุด สูงด้วยคุณธรรม ไม่ใช่สูง 180 นิ้ว อะไรทำนองนั้นหนา ขอรับ...



๏ ดาบสสอนบุตร

พระสิริมังคลาจารย์ยกมาสาธก เพื่อเตือนสติว่า การคบคนพาลไม่ดี มีแต่โทษ ไม่มีคุณเลย อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องดาบสสอนบุตร เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในอดีตกาลอันยาวนานโพ้น (เมื่อมีคำว่า โพ้น แสดงว่ายาวมาก ไกลมาก ขอรับ)

ดาบสท่านหนึ่ง บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์ โอวาทที่ดาบสสอนลูกเป็นประจำ คือ อย่าคบคนพาลเป็นอันขาด

วันหนึ่งเมื่อบุตรชายเรียนศิลปวิทยาจนสำเร็จแล้ว อยากจะไปใช้ชีวิตในเมืองหลวงเยี่ยงสามัญชนทั่วไป ไปลาบิดา บิดาก็อนุญาต ก่อนไปได้ให้โอวาทบุตรว่า...

ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกายวาจาใจ เจ้าไปจากที่นี้แล้วพบผู้นั้น เจ้าจงคบหาท่าน ประพฤติตนเหมือนบุตรเชื่อฟังบิดา

ผู้ใดเป็นคนประพฤติธรรม แม้เป็นคนประพฤติธรรมปานนั้นก็ไม่หยิ่ง ไม่โอ้อวดคนอื่นว่าตนเป็นคนประพฤติธรรม เจ้าไปจากที่นี้แล้ว จงคบหาท่านผู้นั้น

ลูกเอ๋ย ถ้าแม้นว่าพื้นชมพูทวีปจะไร้มนุษย์ไซร้ เจ้าก็อย่าคบคนกลับกลอก ตลบตะแลง รักง่ายหน่ายเร็ว จงหลีกคนชั่วนั้นให้ห่างไกล ดุจคนขี้ขลาดหลีกอสรพิษร้าย ดุจคนเกลียดคูถ หลีกหนทางอันเปื้อนคูถ ดุจคนเดินทางหลีกทางอันขรุขระ

ลูกเอ๋ย ความฉิบหายทั้งหลาย มักเกิดขึ้นแก่ผู้ที่คบคนพาลสันดานชั่วแท้ เจ้าอย่าไปคบหาคนพาลเลยนะลูก เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาล นำมาแต่ทุกข์ ให้ห่างคนพาลไว้ทุกเวลา ดุจดังห่างจากศัตรูอันร้ายกาจ

ลูกเอ๋ย พ่อขอร้อง เจ้าจงจำคำของพ่อไว้ให้ดี เจ้าอย่าคบหากับคนพาลสันดานชั่วเป็นอันขาด เพราะการคบหากับคนพาลสันดานชั่ว มีแต่ทางพินาศและฉิบหาย

ฟังโอวาทนี้แล้วคงเห็นลึกถึงความรู้สึกภายในใจของผู้เป็นพ่อใช่ไหมครับ สั่งแล้วสั่งอีก อย่าคบคนชั่ว อย่ามั่วคนผิด เพราะคบกเฬวรากพวกนี้มีแต่เสียคน เหม็นตั้งแต่ยังไม่ตายก็มีครับ...


๏ คนเกลียดคนพาลที่สุด

ดาบสท่านหนึ่งบำเพ็ญพรตอย่างเคร่งครัด กินผลไม้ที่หล่นจากต้น เมื่อผลไม้หมดแล้ว ก็เอาใบมันมากินหรือต้มน้ำดื่มจนร่างกายซูบผอม ท้าวสักกะเทวราชต้องการจะทดสอบความเคร่งครัดของดาบส จึงจำแลงกายเป็นคนชรา ยืนแสดงอาการขออาหาร ดาบสก็เอาใบไม้ที่กำลังต้มน้ำดื่มมาให้จนหมด วันที่สองวันที่สามก็ทำอย่างนี้ จนพระอินทร์เธอเห็นใจ จึงสำแดงตัวแล้วกล่าวว่า เห็นความแน่วแน่ของดาบสแล้ว จะให้พร อยากได้พรอะไรให้เอ่ยปากขอได้ จะประทานให้ดังประสงค์

ดาบสว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขอเพียงข้อเดียวคือ อย่าได้เห็น อย่าได้ยิน อย่าได้คบ อย่าได้สนทนากับคนพาลเลย

พระอินทร์จึงถามว่า คนพาลมาทำอะไรให้ท่านเจ็บช้ำน้ำใจหรือ ท่านจึงไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ยิน และไม่อยากคบหา

ดาบสตอบว่า คนพาลไม่ได้มาทำอะไรให้เจ็บใจดอก แต่คนพาลนั้น ปัญญาทราม ชอบแนะนำในสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ และขวนขวายในสิ่งที่มิใช่ธุระ

คนพาลแนะนำยาก เขาพูดด้วยดีๆ ก็โกรธ คนพาลไม่รับรู้ระเบียบวินัย คนพรรค์นี้ไม่เห็นเสียเลยดีกว่า

เออ แน่ะ อะไรจะปานนั้น...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2007, 3:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ นกแขกเต้าสองตัว

มีนกแขกเต้าอยู่สองตัว พ่อแม่เดียวกัน เขาว่านกพันธุ์นี้พูดได้ ทำนองนกแก้วนกขุนทองนั้นแหละ บังเอิญคราวหนึ่งเกิดพายุหมุน (ลมหัวด้วน) พัดพานกทั้งสองตัวไปคนละทิศคนละทาง

ตัวหนึ่งไปตกใกล้ที่อยู่ของพวกโจร ตกลงมายังกองหอกกองดาบพอดี พวกโจรมาพบเข้าจึงเอามันไปเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า "สัตติคุมพะ" (แปลว่า ไอ้หอก เพราะตกลงใกล้ที่เก็บอาวุธ)

พวกโจรนั้นก็รู้กันอยู่แล้ว ยังชีพด้วยการปล้นฆ่า วันๆ ก็วางแผนว่าจะไปปล้นที่ไหน อย่างไร กิริยาอาการก็ไม่สำรวมพูดจากันแต่เรื่องฆ่าๆ ปล้นๆ มึงมาพาโวย นกมันก็เลียนเสียงพูดของพวกโจร

อีกตัวหนึ่งไปตกที่สวนดอกไม้ของพวกฤาษี พวกฤาษีจึงเอาไปเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อ "ปุบผกะ" (แปลว่า ไอ้ดอกไม้) อาศรมของพวกฤาษี พวกนักพรตก็จะพูดจาแต่ถ้อยคำอันไพเราะ นกก็จำไว้ และเลียนเสียงตาม

อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าปัญจาละเสด็จไปล่าเนื้อ พลัดหลงกับข้าราชบริพาร เสด็จไปองค์เดียว ทรงพักผ่อนใต้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งกลางป่า พลันทรงสะดุ้งตื่น เพราะมีเสียงร้องว่า "ฆ่ามันเลย ปล้นมันเลย" ทรงนึกว่าพวกโจรจักมาปล้น ทรงหันไปตามเสียงที่ได้ยิน ก็ทอดพระเนตรเห็นนกตัวน้อยร้องเสียงคน จึงเสด็จต่อไปเพราะขืนอยู่พวกโจรอาจตามมาได้

เสด็จไปถึงอาศรมของฤาษี ขณะนั้นพวกฤาษีไม่อยู่ มีนกแขกเต้าตัวเดียวเฝ้าอยู่ นกเห็นมีคนเดินเข้ามา ก็ร้องต้อนรับอย่างสุภาพว่า "สวาคะตัม" (แปลว่า ยินดีต้อนรับๆ)

พระราชาทรงพอพระทัย ที่ได้ยินเสียงนกร้องปฏิสันถารเช่นนั้น เมื่อพวกฤาษีกลับมา จึงทรงเล่าเรื่องนกทั้งสองให้พวกฤาษีทราบ

พวกฤาษีจึงถวายพระพรว่า นกแขกเต้าสองตัวนี้ เดิมอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียว ภายหลังถูกพายุพัดพาไปตกคนละที่ ตัวนั้นอยู่กับพวกโจร จึงกล่าววาจาหยาบเลียนแบบพวกโจร ส่วนตัวนี้อยู่กับพวกอาตมา จึงพูดจาไพเราะดังที่เห็นนี้


๏ ม้ามงคล

ม้าทรงพระราชาพระองค์หนึ่ง มีคนเลี้ยงชื่อ สิริทัต เป็นคนขาเดี้ยง เดินกะโผลกกะเผลก เวลาคนเลี้ยงม้าจูงม้า แกก็เดินกะเผลกตามลักษณะของคนขาเดี้ยง ม้าเดินตามหลัง เห็นเจ้านายเดินอย่างนั้น จึงกระทำตามบ้าง

จนวันหนึ่ง พระราชาทรงสังเกตเห็นม้าเดินผิดปกติ จึงรับสั่งให้ตามสัตวแพทย์มาตรวจว่าม้าป่วยเป็นโรคอะไร สัตวแพทย์ตรวจเช็กอาการโดยละเอียดก็ไม่พบอะไรผิดปกติ พระราชารับสั่งว่า มันต้องมีสิ ไม่อย่างนั้น ม้าข้ามันจะเดินขาเดี้ยงอย่างนั้นได้อย่างไร ตรวจดูให้ดีอีกครั้งซิ สัตวแพทย์ก็ตรวจโดยละเอียดอีกก็ไม่พบสาเหตุ มึนอยู่ตั้งนาน พลันสายตาเหลือบเห็นคนเลี้ยงม้าโขยกเขยกเข้ามา ก็นึกได้ จึงกราบทูลพระราชาให้ลองเปลี่ยนคนเลี้ยงม้าดู ม้าอาจจะอาการดีขึ้นก็ได้

เมื่อเปลี่ยนคนเลี้ยงม้าให้เป็นคนขาดีแล้ว สักพักเท่านั้นม้าของพระราชาก็เดินเป็นปกติ ไม่เดินขาเดี้ยงอีกต่อไป

เล่านิทานเรื่องนี้แล้ว ผู้แต่งคัมภีร์ก็สรุปว่า...

นี่แหละคืออิทธิพลของการอยู่ใกล้ชิดกัน

ม้าขาไม่เดี้ยง แต่คนเลี้ยงขาเดี้ยง ม้าก็เลยเดินตามคนเลี้ยงที่ขาเดี้ยง นานวันเข้าก็เลยกลายเป็นม้าขาเดี้ยงไปด้วย

เรื่องมันก็เป็นประการฉะนี้แล...


๏ ช้างมหิฬามุข

ช้างทรงของพระราชาเมืองพาราณสี (คราวนี้ พระเจ้าพรหมทัต เจ้าเก่าครับ) ชื่อ มหิฬามุข เป็นช้างมงคล ช้างดี สงบเสงี่ยม กิริยามารยาทเรียบร้อย เชื่อฟังควาญช้าง ภาษาบาลีท่านใช้คำสูงว่า

"เป็นช้างที่มีศีล สมบูรณ์ด้วยมารยาท ไม่เบียดเบียนใคร"

วันหนึ่ง พวกโจรมาวางแผนการปล้นอยู่ข้างๆ โรงช้างเสียงโจรพูดกันได้ยินไปถึงพญาช้างว่า ต้องไม่ปรานีมัน ฆ่ามันเลย กระทืบมันเลย ถ้าใครขัดขืนก็ฆ่ามันให้ตายเลย

คงมิใช่ครั้งเดียวดอกครับ พวกโจรห้าร้อยนั้นคงมาซ่องสุมปรึกษาหารือกัน ณ จุดนั้นบ่อย จนพญาช้างจำได้ ช้างได้ยินดังนั้น ก็คิดว่าพวกนี้มาสอนเราให้ทำอย่างนั้น

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มหิฬามุขที่เคยแสนจะเรียบร้อย สงบเสงี่ยม ก็กลับกลายเป็นคนละคน พอนายควาญช้างมา จะพามันไปให้พระราชาทรง มันก็เฉย ไม่ทำตามเหมือนเคย ครั้นพอเคี่ยวเข็ญมันมากเข้า มันก็โมโห จับควาญช้างฟาดกับพื้นดิ้นตายในทันที

ควาญคนไหนก็เอามันไม่อยู่ จนร่ำลือกันว่าช้างนั้นดุร้ายทั้งๆ ที่ไม่ตกมัน แต่อาการมันก็เสมือนตกมัน ปุโรหิตที่ปรึกษาพระราชาพิจารณาหาสาเหตุที่ช้างกลายเป็นเช่นนั้นอยู่นาน ในที่สุดก็สันนิษฐานว่า ช้างอาจได้รู้ได้เห็นตัวอย่างที่ไม่ดีก็ได้ จึงกราบทูลพระราชาให้ทดลองดู โดยนิมนต์สมณะชีพราหมณ์ผู้ทรงศีล มานั่งเทศน์นั่งสอนใกล้ๆ โรงช้างนั้นติดต่อกันหลายวัน พระคุณเจ้าก็เทศนาว่าด้วย ศีล มารยาท ต้องมี กาย วาจา ใจ สงบไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่าใคร ควรมีมารยาทงดงามอ่อนน้อมถ่อมตน ว่านอนสอนง่าย อะไรประมาณนี้

พญาช้างได้ยินบ่อยๆ ก็คิดว่า พวกนี้ต้องการให้เราทำอย่างนี้ จึงทำตาม ไม่ดุร้าย ไม่ฆ่าใครอีกต่อไป ควาญสั่งให้ทำอะไรก็ทำตาม...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2007, 10:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ปริพาชกไหว้แพะ

ปริพาชกคนหนึ่งโง่แกมหยิ่งคนหนึ่ง เดินเข้าไปยังเมืองพาราณสี ผ่านไปยังสถานชนแพะ (คงคล้ายๆ กับสถานที่ชนวัว ชนไก่ อะไรทำนองนั้น) ที่มีคนสัญจรไปมาคับคั่ง

แพะตัวหนึ่ง เห็นปริพาชก ต้องการจะขวิดให้ถนัด จึงย่อกายลง

"แหม แพะตัวนี้ฉลาดจริง คนในที่นี้มากมายยังรู้จักว่าเราเป็นใคร แพะตัวนี้ตัวเดียวรู้ว่าเราเป็นผู้ทรงศีล" นึกว่าแพะมันก้มไหว้ตน จึงประนมมือรับ ประชาชนตะโกนบอกปริพาชกว่า "สาธุจี (พระคุณเจ้า) แพะกำลังจะขวิดท่าน รีบหนีไป"

"ใครว่า แพะมันไหว้เราต่างหาก" ปริพาชกตอบอย่างอารมณ์ดี

"สัตว์หน้าขนไว้ใจได้ที่ไหน สาธุจี รีบหนีไปเถอะ"

พระคุณเจ้าไม่สนใจ ยืนประนมมือรับไหว้แพะอยู่ แพะมันวิ่งเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอาเขาเสยร่างปริพาชกลอยขึ้นแล้วตกลงพื้นดิน แกครวญครางด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัสก่อนสิ้นใจตาย

"ใครก็ตามบูชา (เคารพนับถือ) คนชั่วที่ไม่ควรบูชา ย่อมจะถูกคนชั่วนั้นทำร้ายเอา เหมือนเราผู้โง่เขลา ยกมือไหว้แพะโดนแพะขวิดเอา นอนรอความตายอยู่ ณ บัดนี้"

นี้วาทะสุดท้ายของปริพาชกไหว้แพะ ก่อนสิ้นชีวิต ความก็แจ่มแจ้งแล้ว เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศการบ้านการเมือง ที่มีการเลือกตั้งออกบ่อย ขอ "คอมเมนต์" เพิ่มเติมสักเล็กน้อย

นักเลือกตั้งทั้งหลายมักจะอ้างตนว่าเป็นคนดี เสนอหน้ามาให้ประชาชนเลือก แจกโน่นแจกนี่ สัญญาโน่นสัญญานี่ ทั้งๆ ที่กฎหมายห้าม แต่เขามีวิธีการเลี่ยงบาลีกันอย่างเฉลียวฉลาด

หน้าที่ของประชาชนก็คือต้องใช้วิจารณญาณดูให้ดีหน่อยเถอะครับ คนที่ว่าตนดีๆ นั้นมันดีจริงหรือไม่ ดีอย่างไร สมควรที่จะ "ยกย่อง" ให้ปรากฏไหม สมควรจะเลือกเข้าสภาไหม

นักการเมืองประเภท "ปริพาชกไหว้แพะ" ก็ป่วยการเลือกเข้ามา เป็นอัปมงคลมากกว่ามงคล ส.ว.สมัครเข้ามาเพื่อถอดถอนนักการเมืองที่ทุจริต แต่ก็โดนถอดเสียเอง ก็ไม่ไหวเช่นเดียวกัน คุณว่าไหมขอรับ...


๏ การอยู่ในถิ่นเหมาะสม

มงคลต่อไป ภาษาพระว่า "อยู่ในประเทศที่เหมาะ" ประเทศก็คือ "ถิ่น" อยู่ในประเทศที่เหมาะ ก็คืออยู่ในถิ่นที่เหมาะ เหมาะกับอะไร เหมาะกับการดำรงชีวิต เหมาะกับพฤติกรรมนั่นแล

สมมติว่าจะค้าขาย เช่น ขายก๋วยเตี๋ยว ก็จะต้องมองหา "ทำเล" ที่จะค้าขาย ตรงไหนมีผู้คนผ่านไปมามาก ก็ตั้งร้านตรงนั้น รับรองค้าขายเจริญรุ่งเรือง

พระอรรถกถาจารย์เน้นว่า อยู่ถิ่นที่เหมาะทำให้เจริญนั้น มุ่งเน้นความเจริญด้วยคุณธรรม มากกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ คือ อยู่ในถิ่นที่จะมีโอกาสได้ "อนุตตริยะ" (สิ่งยอดเยี่ยม) 6 อย่าง คือ ได้เห็นยอดเยี่ยม เช่น เห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังยอดเยี่ยม เช่น ได้ฟังธรรม ได้ลาภยอดเยี่ยม เช่น ได้บรรลุธรรม ได้การศึกษายอดเยี่ยม เช่น ได้ฝึกฝนอบรมตน ได้ปรนบัติยอดเยี่ยม เช่น ได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า และได้รำลึกยอดเยี่ยม เช่น ได้ระลึกพระรัตนตรัย


๏ วักกลิมาณพ

ชายหนุ่มชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เห็นพระพุทธเจ้าแล้วติดใจในรูปสมบัติอันงามสง่าของพระองค์ จึงติดใจมาขอบวชอยู่ด้วย เพื่อมีโอกาสเฝ้าดูพระสิริโฉม พระพุทธองค์ก็ไม่ตรัสอะไร

อยู่มาระยะหนึ่ง พระองค์ตรัสกับท่านแรงๆ ว่า "วักกลิประโยชน์อะไรด้วยการดูร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ ผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นเรา ผู้เห็นเราชื่อว่าเห็นธรรม" จึงขับไล่เธอออกจากสำนัก

พระวักกลิน้อยใจ จึงหนีไปคิดจะปลงชีพตัวเอง แต่พระพุทธองค์เสด็จไปช่วยได้ทัน ในที่สุด วักกลิได้บรรลุพระอรหัตตผล

นี้แสดงว่า วักกลิอยู่ถิ่นที่เหมาะสม ได้มีโอกาสรับใช้พระพุทธเจ้า ได้ฝึกฝนตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ได้รำลึกถึงความดีของพระพุทธองค์ และได้บรรลุมรรคผล


๏ นางวิสาขา

นางเป็นสะใภ้ของตระกูลที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาถึงจะอยู่ในเมืองหลวง แต่ก็นับว่าไม่ใช่ปฏิรูปเทศ

ในกาลต่อมาด้วยความสามารถของนาง นางได้แปรถิ่นที่ไม่เหมาะ ให้กลายเป็นถิ่นที่เหมาะขึ้นมาจนได้ คือ นางพูดกับพระที่มาบิณฑบาต ขณะที่พ่อของสามีกำลังรับประทานอาหารอยู่และไม่ยินดีใส่บาตรว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด คุณพ่อของดิฉันกำลังกิน "ของเก่า"

ทำเอาเศรษฐีโกรธมาก แต่เมื่อนางอธิบายว่า กินของเก่าคือ ที่ได้เกิดมาร่ำรวยในปัจจุบัน ก็เพราะบุญเก่าที่สร้างสมไว้ มาบัดนี้ไม่ทำบุญใหม่เพิ่มเติมเลย อาศัยบุญเก่าเท่านั้น เศรษฐีจึงสำนึกตน หันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา และสนับสนุนศรีสะใภ้ให้ทำบุญทำกุศลตามศรัทธาด้วย ไม่กีดขวางอีกต่อไป


๏ การทำบุญไว้ในปางก่อน

มงคลข้อต่อไป การมีความดีเป็นทุนเดิม หมายถึง ทำบุญมากสร้างสมความดีมาแต่อดีตมาก ความดีงามที่เราสะสมไว้แต่ปางก่อน จะดลบันดาลให้เรามีความเจริญ

เรียนหนังสือมาด้วยกัน ผลัดกันสอบได้ที่หนึ่งกับที่สองเสมอ จบการศึกษาแล้วได้เข้าทำงาน ได้เงินเดือนเริ่มต้นเท่ากัน เหตุการณ์ผ่านไปสักระยะหนึ่ง คนหนึ่งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน อีกคนหนึ่ง "แป้ก" อยู่ในตำแหน่งเดิม

ถามว่ามีอะไรที่ทำให้สองคนแตกต่างกัน ตอบว่ามีบุญ หรือคุณงามความดีสะสมมาไม่เท่ากัน ภาษาไทยเรียกว่า วาสนาไม่ถึง บุญเก่ามีไม่พอ (บุญเก่าไม่จำเป็นต้องเป็นบุญในชาติก่อนเสมอไป ความดีงามที่มีอยู่ในชาตินี้แหละ กำลังจะได้รับแต่งตั้ง แต่มีคนติงว่าคุณสมบัติไม่เหมาะ) เลยกินแห้ว


๏ ไก่ขี้โม้

ณ เทวาลัยนอกเมืองแห่งหนึ่ง มีไก่หลายตัวอาศัยอยู่ คืนหนึ่งไก่ตัวที่จับอยู่ข้างบนถ่ายรดไก่อีกตัวข้างล่าง

"ใครขี้รดหัวข้าวะ" เสียงถามด้วยความโกรธ

"ทานโทษเพื่อน ไม่ทันระวัง แต่ไม่เป็นไรดอก ข้ามิใช่ไก่ธรรมดา ใครได้กินข้า จะได้กหาปณะพันหนึ่งไม่ทันข้ามวัน"

"กระจอก ถ้าใครกินเนื้อสันข้า จะได้เป็นพระราชา ใครกินเนื้อติดหนัง จะได้เป็นเสนาบดี ถ้าเป็นหญิงจะได้เป็นพระมเหสี ใครกินเนื้อติดกระดูก จะได้เป็นขุนคลัง ถ้าเป็นพระจะได้เป็นพระอาจารย์ พระราชา" ไก่ตัวบนคุยบ้าง

คนหาฟืนคนหนึ่งกลับจากป่าไม่ทันประตูเมืองปิด จึงอาศัยนอนที่เทวาลัยนั้น ได้ยินดังนั้น จึงย่องขึ้นไปจับไก่ตัวบน เอาไปฆ่าย่างอย่างดี แล้วชวนภรรยาไปอาบน้ำชำระกาย ก่อนกิน วางถาดไก่ย่างไว้บนฝั่ง อาบน้ำพลางครึ้มอกครึ้มใจ จะได้เป็นพระราชามหากษัตริย์ บังเอิญขณะนั้น ถาดใส่ไก่ย่างถูกลมพัดแรงลงไปยังแม่น้ำ ลอยไปตามกระแสน้ำ

นายควาญช้างกำลังให้ช้างอาบน้ำอยู่ทางใต้น้ำ เห็นเข้าจึงนำถาดไก่ย่างกลับไปบ้าน กำลังจะกินให้อร่อย ดาบสรูปหนึ่งที่เป็นผู้คุ้นเคยกับครอบครัวของนายครวญช้าง รู้ว่าอะไรเป็นอะไรจึงรีบไปที่บ้านนายควาญช้าง เขาจึงนำไก่ย่างไปถวายท่าน ดาบสฉันเฉพาะเนื้อติดกระดูก แบ่งเนื้อสันให้นายควาญช้าง และเนื้อติดหนังให้ภรรยานายควาญช้าง ก่อนจากไปได้พูดเป็นปริศนาว่า "รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี ไม่นานโยมทั้งสองจะโชคดี"

สามวันต่อมา ข้าศึกยกทัพมาโจมตีเมืองหลวง พระราชาคิดพิลึกอย่างไรไม่รู้ให้นายควาญช้างแต่งตัวเป็นพระราชา พระองค์เองปลอมเป็นทหารเลว ออกรบกับทหารทั้งหลาย บังเอิญสิ้นพระชนม์ในสนามรบ

พอสงครามสงบ เหล่าเสนามาตย์เห็นว่า ไหนๆ นายควาญช้างก็ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์แล้ว สมควรให้เขาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงยกนายควาญช้างขึ้นเป็นพระราชาปกครองบ้านเมืองสืบแทน

นิทานประเภท "ราชรถ" มาเกย
แต่ก่อนมีมากมายหลายเรื่อง แต่พิเคราะห์ให้ดี
คนที่ราชรถจะมาเกยได้ ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม
เนื่องจากได้สร้างบุญกุศลไว้มาก
คนตัดฟืนมองเห็นตำแหน่งใหญ่โตอยู่แค่เอื้อม
แต่ก็ชวดได้เป็น...
อย่างนี้พระท่านว่าไม่มี "ปุพเพกตปุญญตา"
แปลว่า บุญไม่ถึงครับ




มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2007, 10:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การคบบัณฑิต

เมื่อไม่ให้คบคนพาลสันดานชั่วแล้ว ท่านก็บอกให้คบบัณฑิต ซึ่งบัณฑิตในที่นี้มิได้หมายถึงคนคงแก่เรียน ได้ดีกรีสูงๆ ไม่เกี่ยวกัน ท่านหมายถึงคนที่คิดดี พูดดี ทำดี และคนที่ดำรงชีวิตโดยใช้ปัญญา

คนที่เป็นบัณฑิตอีกทัศนะหนึ่ง คือ คนที่ทำเป้าหมาย 2 ประการสมบูรณ์ เป้าหมายระดับพื้นฐาน คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ (พึ่งตนได้ในทางเศรษฐกิจ) เป้าหมายชั้นที่สอง คือ สัมปรายิกัตถะ (เจริญด้วยคุณธรรม) ท่านไม่หมายสูงไปถึงคนที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เพราะหายาก ใครพบก็นับว่าเป็นบุญของผู้นั้น

ที่ท่านว่าคบบัณฑิตเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ ก็เพราะบัณฑิตจะไม่ทำตนและคนที่ทำตามคำสอนของตนถึงความพินาศฉิบหาย ตรงกันข้าม กลับได้ความสำเร็จและความสุข ขอนำนิทานของท่านมาประกอบดังนี้

มหาสุตตโสม

เรื่องนี้ค่อนข้างยาว พระสิริมังคลาจารย์นำมากล่าวเฉพาะคำคมที่นันทพราหมณ์สอน มหาสุตตโสมว่า การคบกับสัตบุรุษนั้นคุ้มครองเขาได้ดีกว่าสมาคมกับพวกอสัตบุรุษมากมายเสียอีก

เรื่องมีอยู่ว่า พระราชาเมืองพาราณสีชอบเสวยเนื้อทุกวันขาดไม่ได้ พ่อครัวก็ปิ้งเนื้อถวายทุกวัน วันหนึ่งเป็นวันพระหาเนื้อไม่ได้ จึงไปตัดเอาขาคนที่ตายใหม่ๆ ในป่าช้ามาย่างมาปิ้งอย่างดีถวาย พระราชาติดใจในรสเนื้อ จึงซักถามจนได้ความจริงว่าเป็นเนื้อมนุษย์ จึงสั่งให้พ่อครัวไปหามาให้เสวยทุกวัน จนนักโทษในคุกหมด

หลังจากนั้น จึงสั่งให้พ่อครัวดักจับคน ฆ่าเอาเนื้อส่วนที่ดีๆ มาปรุงอาหารถวาย จนลือทั่วเมืองว่าเกิดมีโจรอำมหิตฆ่าคนเพื่อเฉือนเอาเนื้อไปกิน เสนาบดีจึงวางแผนจับได้ สืบไปจนกระทั่งรู้ความจริงว่าพระราชาเป็นตัวการสั่งให้พ่อครัวทำ

เสนาบดีจึงขอร้องให้พระราชาเลิกเสวยเนื้อคน แต่ไม่สำเร็จจนกระทั่งต้องเนรเทศออกจากเมือง เมื่อออกจากเมืองไป เธอก็ไล่จับคนกินเนื้อ จนได้ชื่อว่า มหาโจรโปริสาท (โจรกินคน) เป็นที่หวาดกลัวของประชาชน

วันหนึ่งมหาโจรโปริสาทไปจับพราหมณ์ที่กำลังจะข้ามน้ำเอาใส่บ่าแบกหนีไป ชายฉกรรจ์ที่รับจ้างพราหมณ์จะพาข้ามน้ำวิ่งตาม โปริสาทเหยียบตอไม้แหลม ตอไม้ทะลุฝ่าเท้าเลือดอาบจึงปล่อยพราหมณ์ แกโขยกเขยกหนีรอดไปจนได้ ไปพักอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ บวงสรวงเทพบนต้นไม้ว่า ถ้าแผลหายเร็วๆ จะนำเอากษัตริย์จากพระนครทั้งหลายมาเซ่นไหว้บูชา บังเอิญไม่ถึงเจ็ดวันแผลก็หาย แกก็เข้าใจว่า เป็นเพราะอานุภาพเทวดา

จึงไปจับเอากษัตริย์จากเมืองต่างๆ มาผูกเท้าแขวนให้ศีรษะห้อยลง เทวดาที่สิงอยู่บนต้นไม้เห็นความทารุณของโปริสาทจึงจำแลงกายเป็นนักบวช โปริสาทคิดว่านักบวชก็เท่ากับกษัตริย์จับมาเซ่นเทพเจ้าก็คงจะดีเหมือนกัน จึงวิ่งไล่จับ ไล่เท่าไรก็ไม่ทันนักบวชนั้นจึงสำแดงตนว่าคือเทพบนต้นไม้ใหญ่ จึงสั่งว่ายังขาดพระราชาอีกองค์ คือ มหาสุตตโสม ให้ไปนำตัวมา ไม่อย่างนั้นพิธีกรรมนั้นจักไม่สมบูรณ์

โปริสาทจึงไปจับมหาสุตตโสม แต่มหาสุตตโสมรับปากจะฟังธรรมจากพราหมณ์ในวันรุ่งขึ้น มหาสุตตโสมจึงขอให้โปริสาทปล่อยกลับไปฟังธรรมก่อน เสร็จแล้วจะกลับมา โปริสาทขอคำมั่นว่าจะมาแน่ๆ จึงปล่อยตัวไป

และแล้ว โปริสาทก็ต้องทึ่งในความเป็นผู้มีสัจจะของมหาสุตตโสม ที่กลับมาตามสัญญา มหาสุตตโสมกล่าวสอนให้โปริสาทเลิกกันเนื้อมนุษย์ ด้วยการยกเหตุผล และเล่าเรื่องในอดีตมาประกอบ โปริสาทขอฟังธรรมที่มหาสุตตโสมเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อไปฟังว่าดีอย่างไร มหาสุตตโสมจึงกล่าวให้ฟัง โปริสาทจึงพอใจและจะให้พร ขอให้มหาสุตตโสมขอมา 4 ข้อ

มหาสุตตโสมขอให้โปริสาทมีอายุยืนปราศจากโรค ข้อสอง ขอให้ปล่อยกษัตริย์ทั้งหลายที่จับตัวมา ข้อสาม ขอให้ส่งกษัตริย์เหล่านั้นคืนเมือง ข้อสี่ ขอให้โปริสาทเลิกกินเนื้อมนุษย์ เมื่อโปริสาทอิดออด ไม่กล้าให้พรข้อสุดท้าย มหาสุตตโสมก็ท้วงว่าไม่ควรเสียสัจจะ ตัวท่านเองยังรักษาสัจจะ แล้วโปริสาทก็เคยเป็นกษัตริย์ จะทำลายสัจจะเสียย่อมหาควรไม่ โปริสาทจึงให้พรทั้งสี่ตามที่ขอ ในที่สุดกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนมีศีลธรรม เลิกกันเนื้อมนุษย์ และไม่ทำบาปอีกต่อไป

สรุปว่า การคบบัณฑิตเช่นมหาสุตตโสมนั้น ทำให้คนชั่วคนบาปเลิกทำชั่ว มีสุคติเป็นไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้แล



มีต่อ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 21 เม.ย.2007, 7:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การตั้งตนไว้ชอบ

มงคลข้อต่อไป ข้อที่ว่า "การตั้งตนไว้ชอบ" เป็นมงคลสูงสุด

การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอย่างไรเป็นมงคล (เหตุให้เจริญ) อย่างไร

พระอรรถกถาจารย์ท่านขยายความให้เข้าใจดีว่า "ตน" ก็คือจิต ตั้งตนก็คือตั้งจิตของเรานั้นแล กล่าวคือ ให้ตั้งอยู่ในศรัทธา ศีล สุตะ และจาคะ ปัญญา นั้นเอง ฝึกฝนตนเองให้เปี่ยมด้วยคุณธรรมเหล่านี้ รับรองว่าเจริญแน่นอน ขอยกนิทานมาสาธกดังนี้

หมู่โจรห้าร้อย

โจรปล้นฆ่าคนมาจำนวนมาก วันหนึ่งถูกชาวบ้านหมู่ใหญ่รวบรวมกำลังต่อสู้ เมื่อสู้ชาวบ้านไม่ได้ จึงหนีเอาตัวรอด ไปพบพระภิกษุรูปหนึ่ง ขอให้ท่านช่วยเป็นที่พึ่งให้ด้วย เพราะชาวบ้านจำนวนมากกำลังไล่ล่า พระภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ที่พึ่งอื่นไม่มีนอกจากศีลเท่านั้น พวกเธอจงถือศีล 5 ให้บริบูรณ์ จะปลอดภัย

พวกโจรห้าร้อยก็สมาทานศีลห้า และรักษาศีลห้าอย่างเคร่งครัด พวกชาวบ้านตามมาพบเข้า จึงจับโจรเหล่านั้นฆ่าตายอย่างง่ายดาย (เพราะพวกโจรไม่ต่อสู้) โจรห้าร้อยตายไปไปเกิดเป็นเทวบุตรบนสรวงสวรรค์

จุติจากสวรรค์แล้วมาเกิดในตระกูลชาวประมง วันหนึ่งจับปลาทองที่มีกลิ่นปากเหม็นได้ จึงนำไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล

พระเจ้าปเสนทิโกศลนำปลาไปแสดงให้พระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ดู พอปลาอ้าปากหาวเท่านั้น กลิ่นเหม็นฟุ้งตลบไปทั่วพระนคร (พูดเว่อร์ไปหน่อย) พระพุทธองค์จึงตรัสบอกบุรพกรรมของปลาทองปากเหม็นให้ที่ประชุมทราบ

ชาวประมง อดีตโจรห้าร้อยได้ฟังก็สลดใจ เลิกละอาชีพประมง ออกบวชเป็นพระ บำเพ็ญสมาธิวิปัสสนา ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

สรุปตรงนี้ก็คือ อดีตโจรห้าร้อยตั้งตนอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ก็ย่อมได้รับอานิสงส์ คือ เกิดในสวรรค์และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

ในนิทานนี้ เอ่ยถึงนิทานย่อยอยู่เรื่องหนึ่ง คือ ปลาทองปากเหม็น นี่แสดงว่า ตั้งตนไว้ผิด ย่อมได้ความเสื่อมขนาดหนักดังปลาพิลึกตัวนี้

ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีพี่น้องสามคน ออกบวชในพระพุทธศาสนา ภิกษุและภิกษุณีผู้น้องเรียนพุทธวจนะจนเชี่ยวชาญเป็นพหูสูต เมื่อรู้มากก็มีทิฐิมานะมาก หนักข้อถึงขนาดดูหมิ่นภิกษุผู้ทรงศีลทรงธรรมอื่นๆ แค่นั้นยังไม่พอ ยังอวดตนว่าได้รู้พระธรรมเอง ไม่ได้เรียนมาจากไหน ลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสดาทำนองว่าข้านี้ใหญ่ที่สุด เก่งที่สุด ไม่มีใครเกิน

ภิกษุณีน้องสาวก็สนับสนุน และปฏิบัติเยี่ยงเดียวกัน ในขณะที่ภิกษุน้องชายไม่เห็นด้วย ไปตักเตือนให้พี่ชายและน้องสาวสำนึกตัวให้ดีว่า พวกตนเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ประพฤติในธรรมวินัยของพระองค์ ไม่ควรลืมตน ทำการลบหลู่ดูหมิ่นพระรัตนตรัย

แต่สองพี่น้องไม่ฟัง ยังคงฮึกเหิมอย่างนั้น จนสิ้นอายุขัยตายไปแล้วก็ไปตกนรกหมกไหม้เป็นเวลานาน

มาพุทธกัปนี้ ภิกษุผู้พี่ใหญ่มาเกิดเป็นปลาทองสวยงามมาก ถูกชาวประมงจับได้ นำไปถวายพระราชา พระราชานำไปแสดงให้พระพุทธองค์ชม พร้อมทูลถามความเป็นมาของปลาทองปากเหม็น

พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ปลานี้เกิดมามีผิวทอง เพราะตอนบวชได้มีใจเลื่อมใสมาแต่ต้น ประพฤติพรหมจรรย์มา อานิสงส์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์จึงทำให้มีสีทองอร่าม แต่ภิกษุนั้นเรียนธรรมที่พระตถาคตแสดงจนเป็นพหูสูต กลับปฏิเสธว่าไม่ได้เรียนรู้จากใคร แถมยังคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าบางเรื่องบางประเด็นด้วย จึงบันดาลให้มาเกิดเป็นปลาทองปากเหม็น

นี้แสดงว่า การตั้งตนไว้ผิด ย่อมนำมาซึ่งความวิบัติด้วยประการฉะนี้แล...


ภรรยาพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิ

พราหมณ์มีภรรยาสาวสวยคนหนึ่ง สองคนนับถือคนละศาสนา พราหมณ์นับถือศาสนาพราหมณ์ พราหมณีเป็นพุทธสาวิกา แต่ก็อยู่กันมาด้วยความสงบพอสมควร เพราะฝ่ายภรรยาประนีประนอม สามีให้ช่วยทำบุญ เช่น เลี้ยงพราหมณ์ เซ่นไหว้ตามประเพณีพราหมณ์ เธอก็ทำ แม้ว่าสามีจะไม่สนใจพระพุทธศาสนา ก็ไม่ว่าอะไร ปล่อยให้เขาทำไปตามศรัทธา

มีอย่างเดียวที่สามีไม่ยินยอม ก็คือ เวลาอยู่ต่อหน้าพวกพราหมณ์ อย่าเอ่ยชื่อถึงพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์สาวก ให้พวกพราหมณ์ระคายหู

แต่ก็อย่างว่า คนที่เคยสวดมนต์นมัสการพระรัตนตรัยอย่างสม่ำเสมอนั้น ย่อมจะพลั้งเผลอบ้าง เวลาสะดุดหรือจะล้ม เธอก็หลุดอุทานออกมาว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต" หลุดออกมาทีไรก็ถูกสามีตะเพิดทุกที

วันหนึ่ง สามีจะเลี้ยงพระ พราหมณ์กำชับภรรยาว่า เวลาเลี้ยงพระของเขาอยู่นั้น อย่าเผลอเอ่ยถึงพระของนางเป็นอันขาด นางก็รับปากรับคำเป็นอย่างดี

ขณะยกถาดอาหารจะไปถวายพระพราหมณ์ นางก็สะดุดล้มลง จึงอุทานว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต"

พระพราหมณ์กำลังสวาปามอาหารอยู่ ก็บ่นว่า วันนี้บุญไม่เป็นบุญเสียแล้ว พวกเราได้ยินเสียงกาลกิณีเต็มสองหู จึงลุกจากอาสนะเดินหนีไปพร้อมกัน พลางหันหน้ากลับมาด่าพราหมณ์เจ้าภาพอย่างเสียๆ หายๆ

พราหมณ์เสียใจมากที่พิธีทำบุญถูกยกเลิกกลางคัน โกรธภรรยาหัวฟัดหัวเหวี่ยง ลงจากเรือนไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อต่อว่าเป็นต้นเหตุให้ภรรยาหลงใหล และทำให้ขายหน้า

ไปถึงก็ด่าฉอดๆ ด่าจนรู้สึกหายเหนื่อยแล้ว เห็นพระพุทธเจ้าประทับนิ่ง ไม่ตอบโต้อะไร จึงถามว่า สมณะโคดม คนเราฆ่าอะไรได้จึงจะเป็นสุข พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมีแต่ก่อทุกข์ ก่อเวรภัย ฆ่าความโกรธในใจเราสิ จึงจะมีความสุขสงบเย็นได้

พราหมณ์พิจารณาตามกระแสพระดำรัส และเห็นดีด้วย เพราะตอนที่ตนโกรธ เห็นช้างเท่าหมูนั้น จิตใจมันร้อนรุ่ม กระวนกระวาย หัวอกแทบจะระเบิด แต่พอความโกรธมันสงบลง มันผ่อนคลาย เบาสบาย จึงไม่คิดด่าใครอีกต่อไป

ขอบวชเป็นสาวกพระพุทธศาสนา ไม่ช้าไม่นานเขาก็อยู่เหนือความโกรธ ได้บรรลุภาวะที่ดับเย็นสนิทแล้วแล...


พราหมณ์ขี้เหนียว

ในเมืองแห่งหนึ่ง มีพราหมณ์อภิมหามัจฉริยะ (จอมมหาขี้เหนียว) อยู่อย่างปอนๆ ใส่เสื้อผ้าราคาถูก กินอาหารพื้นๆ ราคาถูก ไม่มีเสียละที่จะขึ้นเหลา สั่งหูฉลาม ซุปเยื่อไผ่แพงๆ รสชาติอร่อยๆ มากิน ไม่ใช่ไม่อยาก แต่อยาก เห็นคนอื่นกินแล้วน้ำลายไหล แต่สามารถควบคุมความอยากของตนเอาไว้ได้

วันหนึ่งเดินทางกลับจากเฝ้าพระมหากษัตริย์ แวะเยี่ยมบ้านเศรษฐีน้อย (คือ มีหุ้นน้อยกว่าตัวเอง ซึ่งมีมากเสียจนจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่) เห็นเศรษฐีน้อยบริโภคข้าวมธุปายาสอย่างดี ส่งกลิ่นหอมโชยมาต้องจมูกจนน้ำลายสอ อนุเศรษฐีจึงร้องเชิญว่า "ท่านเศรษฐี เชิญทานข้าวด้วยกัน ข้าวปายาสกำลังร้อนเชียวเชิญครับๆ"

เศรษฐีกลืนน้ำลายเอื๊อก อยากกิน แต่นึกถึงวันข้างหน้าว่า ถ้าเรากินของเขาในวันนี้ วันหน้าเราก็จะต้องเลี้ยงเขาตอบ ทรัพย์เราก็จะร่อยหรอไปเปล่าๆ ว่าแล้วก็สั่นศีรษะดิกๆ ไม่ยอมกิน ทั้งๆ ที่ใจอยากกินแทบจะขาด

จึงรีบลงจากเรือนของเศรษฐีน้อยๆ ถึงบ้านก็ไม่กินอะไรนอนห่มผ้าคลุมโปง ครางหงิงๆ

ภรรยาทราบเรื่องสามีป่วยเพราะอยากกินข้าวมธุปายาสจึงร้องด้วยความสงสารว่า โถ พ่อ เรื่องแค่นี้ก็ทุกข์ร้อนด้วย เราไปซื้อข้าวมาหุงมธุปายาสกินเองก็ได้ จะเอาแค่ไหน เลี้ยงคนทั้งซอยก็ย่อมได้ สามีตาเหลือก ร้องว่า อย่าเชียวนะ เปลือง "ถ้าเช่นนั้นเลี้ยงเฉพาะเราสองคนก็ได้" สามีกล่าวต่อว่า เธอเกี่ยวอะไรด้วย เปลืองเปล่าๆ ให้ฉันกินคนเดียว

"ถ้างั้นพี่จัดการเอง ขี้เหนียวแม้กับเมีย ไม่ยุ่งด้วยแล้ว"

สามีจึงหาเครื่องปรุงข้าวมธุปายาส ออกไปหาทำเลหุงข้าวมธุปายาสใกล้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง ในป่าละเมาะนอกเมือง คิดว่าคงไม่มีใครมาเห็นและขอส่วนแบ่ง

ท้าวสักกะเทวราช ผู้เคยเป็นพ่อของตาพราหมณ์ขี้เหนียวจึงจำแลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าหูหนวกเดินมาใกล้ๆ ร้องถามว่า ใครทำอะไรอยู่ เห็นควันไฟ สงสัยว่ากำลังหุงข้าวเลี้ยงพราหมณ์ใช่ไหม ฉันขอรับเศษข้าวของพวกพราหมณ์ด้วยจะได้ไหม

พราหมณ์ขี้เหนียวร้องลั่น ไม่ใช่ๆ อย่าเข้ามา ไม่มีการเลี้ยงพราหมณ์ดอก "ว่าไงนะ จะหุงกินเองหรือ ถ้างั้นขอกินด้วยคน ไม่กินมากดอก"

พราหมณ์ขี้เหนียวร้องลั่น "ไม่ใช่โว้ย ไอ้แก่หูหนวก ไปที่อื่น"

ร้องอย่างไรพราหมณ์เฒ่าก็ทำท่าไม่ได้ยิน เดินเข้ามาจนได้แล้วกล่าวโศลกว่า...

"มีน้อยควรให้น้อย มีปานกลางควรให้ปานกลาง มีมากแล้วค่อยให้มาก จงให้ทานด้วย กินเองด้วย กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข"

พราหมณ์ขี้เหนียวกล่าวว่า ท่านพูดเข้าที ถ้าเช่นนั้นเราจะแบ่งให้นิดหน่อย จากนั้นปัญจสิขเทพบุตรก็มากล่าวโศลกว่า

ผู้ใดเมื่อแขกนั่งแล้วกินอาหารคนเดียว ผู้นั้นนับว่ากลืนกินเบ็ด หย่อนลงด้วยสายยาวๆ ท่านโกสิยะ เราขอเตือนสติท่านจงให้ทานด้วย จงกินด้วย ผู้ใดเมื่อแขกนั่งแล้วกินคนเดียว ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุข"

พราหมณ์กล่าวว่า "ท่านก็กล่าวเข้าที นั่งลง เราจะให้หน่อยหนึ่ง"

จากนั้นมาตุลีเทพบุตรก็มากล่าวโศลกว่า...

ใครรำลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง ทำการเซ่นสรวงแก่เทพทั้งหลาย ที่ท่าพหุกา ท่าคยา ท่าโทณะ หรือท่าใดก็ตาม ย่อมจะได้อานิสงส์บ้าง ท่านโกสิยะ เราขอเตือนสติท่าน จงให้ทานด้วย จงกินเองด้วย ผู้ใดเมื่อแขกนั่งแล้วกินอาหารคนเดียว ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุข

เศรษฐีขี้เหนียวกล่าวว่า ท่านก็พูดเข้าที นั่งลง ท่านจะได้หน่อยหนึ่ง

เศรษฐีขี้เหนียว กำลังเผชิญกับอาคันตุกะผู้เหนียวกว่าไม่ยอมไปไหน นั่งรอส่วนแบ่งอยู่ด้วยกัน 5 คน คือ พระอินทร์จำแลงเป็นพราหมณ์เฒ่า สุริยเทพบุตร จันทเทพบุตร มาตุลีเทพบุตร และปัญจสิขเทพบุตร ต่างก็จำแลงกายเป็นหนุ่มหล่อมาขอส่วนแบ่ง

เศรษฐียกหม้อมธุปายาสลงจากเตา กล่าวว่า พวกท่านจงเอาใบตองมา คิดให้คนละกระทงใบตองก็พอวะ จะได้ไม่เปลือง อาคันตุกะทั้ง 5 ยื่นมือเปล่าออกไป ใบตองตึงขนาดใหญ่มาอยู่ที่มือทันที เศรษฐีว่าใบไม้นั้นใหญ่ไป เอาใบตะเคียนก็พอ อาคันตุกะขอเอาใบตะเคียนมา แต่กลายเป็นใบตะเคียนยักษ์โตขนาดโล่ทหาร

เศรษฐีจำใจเอาทัพพีตักให้คนละเล็กละน้อย ตักไปๆ ข้าวมธุปายาสพร่องลง เหลือติดหม้อนิดหน่อย เล่นเอาเจ้าภาพใจแป้วดูจะกินอิ่มหรือเปล่านี่ อะไรทำนองนี้

ขณะนั้น ปัญจสิขเทพบุตรจำแลงกายเป็นสุนัขตัวใหญ่เดินเข้ามาจะถ่ายปัสสาวะใส่ข้าวมธุปายาส อาคันตุกะทั้งหลายก็เอามือปิดกระทงของตนไว้ เศรษฐีก็รีบปิด แต่สุนัขก็ถ่ายรดมือแกจนได้

แกโกรธถือท่อนไม้ไล่ตีสุนัข มันวิ่งเร็วจนตามไม่ทัน วกมาปัสสาวะในหม้อข้าวมธุปายาสจนได้ คราวนี้สุนัขกลับเป็นผู้ไล่กัดเศรษฐี เศรษฐีหนีสุนัขแล้วมาขอให้อาคันตุกะทั้งหลายช่วยไล่สุนัขไป

อาคันตุกะทั้งหมดก็ลอยขึ้นในอากาศ สำแดงตนให้ปรากฏ แกตกใจ ถามว่าพวกท่านเป็นใคร พระอินทร์กล่าวว่า นี้คือสุริยะเทพบุตร นี้คือจันทะเทพบุตร นี้มาตุลีเทพบุตร ส่วนสุนัขที่เยี่ยวใส่หม้อข้าวท่านคือปัญจสิขเทพบุตร ส่วนเราคือสักกะเทวราช

พวกเราเห็นว่าท่านขี้เหนียวนัก มีทรัพย์สินเงินทองก็ไม่ใช้สอยเอง ไม่เลี้ยงดูบุตรภรรยา และคนที่ควรเลี้ยงอย่างดี ที่เหลือก็ไม่จุนเจือสังคม บุญทานก็ไม่เคยทำ ท่านตายไปจะตกนรกหมกไหม้ เราจึงมาเตือนท่าน ท่านยกท่านขึ้นจากนรก

ว่าแล้วก็หายวับไป เศรษฐีนึกสลดใจที่ตนไม่ทำประโยชน์อะไรให้แก่ตน คนอื่น และสังคม เพราะความขี้เหนียว รีบกลับบ้านประกาศให้ขนข้าวของจากคลังให้ทานแก่ยากจนวณิพกทั้งหลาย สร้างโรงทานสี่มุมเมืองเป็นการใหญ่ กลายเป็นคนละคนไปเลย

จากนั้นไม่นาน เศรษฐีสร้างศาลาริมป่าหิมพานต์ ออกบวชเป็นนักพรต บำเพ็ญศีลภาวนาอย่างเคร่งครัด ตายไปไปเกิดเป็นเทพบริวารของท้าวสักกะเทวราช ท้าวสักกะเห็นหน้าก็จำได้ กล่าวอนุโมทนาในการกระทำของอดีตเศรษฐี ประทานนางเทพกัญญา นามว่า หิริเทวี ให้ปรนนิบัติ

จุติจากสวรรค์แล้วมาเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี ในสมัยพุทธกาลนี้ ด้วยอุปนิสัยที่มีมาแต่ปางก่อน เขาเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า บวชมาแล้วเป็นพระที่ยินดีในการบริจาคทาน บิณฑบาตได้มาแล้ว ถ้าปฏิคาหก (ผู้รับทาน) มีอยู่ใกล้ ก็ไม่ยอมฉันภัตตาหารที่ได้มานอกจากจะให้แก่ปฏิคาหก

พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญภิกษุรูปนั้นว่า เป็นผู้มีจิตใจเอื้ออารี เปี่ยมด้วยสาราณียธรรม แล้วตรัสเล่าสุธาโภชนชกดกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง

เรื่องก็จบลงเพียงเท่านี้ ท่านพระอรรถกถาจารย์นำนิทานเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเพื่อแสดงว่า คนที่ตั้งตนไว้ผิด ภายหลังตั้งตนไว้ถูกอย่างเช่นเศรษฐีขี้เหนียวคนนี้ ภายหลังละทิ้งนิสัย "ตังเม" กลายเป็นคนใจบุญสุนทาน ก็ได้รับอานิสงส์มากมายดังกล่าวมา



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2007, 12:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การตั้งใจฟังโดยมาก

มงคลข้อต่อไปเกี่ยวกับ พาหุสัจจะ ความเป็นพหูสูต คือ คนที่ฟังมาก ศึกษามาก พูดให้เข้าใจคือ ผู้คงแก่เรียน พระพุทธเจ้าตรัสว่า การเป็นคนคงแก่เรียนเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ เพราะคนที่รู้ข้อมูลมากๆ ข้อมูลเหล่านั้นย่อมเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการนำมาพิจารณาเพื่อเกิดปัญญาอย่างแท้จริง

พาหุสัจจะ การได้ศึกษามาก การมีข้อมูลมาก ยังมิใช่ปัญญาแท้จริงถ้าจะเป็นปัญญาก็แค่อนุโลมเท่านั้น การมีความรู้ระดับพาหุสัจจะไม่จำเป็นจะต้องบรรลุมรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าผู้บรรลุมรรค ผล นิพพานมีพาหุสัจจะเป็นพื้นฐานก็ย่อมมีประโยชน์ เพราะจะได้อาศัยความรู้ในเชิงวิชาการนั้นอธิบายประสบการณ์โดยตรงให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ขอนำนิทานมาสาธกสักเรื่องดังนี้

พระอานนท์พุทธอนุชา

พระอานนท์...เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธเจ้า ออกบวชพร้อมกับเจ้าศากยะ เจ้าโกลิยะ และนายภูษามาลา รวมทั้งหมด 67 คน

บวชมาแล้วก็มีความอุตสาหะ พยายามศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างดียิ่ง ได้บรรลุโสดาปัตติผล ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากตอนที่คณะสงฆ์สรรหาบุคคลเพื่อมารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากถาวร

พระสงฆ์ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่นี้ เพราะไม่มีใครสามารถทำได้ดีเท่ากับท่านพระอานนท์

พระอานนท์ขอเสนอเงื่อนไข 8 ข้อ สามในแปดข้อนั้นมีใจความว่า...

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาที่ใด ขอให้พระพุทธองค์พาท่านไปด้วย

ถ้าไม่มีโอกาสไปฟัง เมื่อกลับมาแล้วขอให้พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ฟังซ้ำด้วย

ถ้าท่านเกิดมีความสงสัยในเรื่องใด ขอให้ประทานอนุญาตให้เข้าเฝ้าทูลถามให้หายสงสัยเมื่อนั้น

เงื่อนไขเหล่านี้ทำให้ท่านพระอานนท์ได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธองค์มากกว่าพระสาวกรูปใด เรียกได้ว่าไม่มีหัวข้อธรรมใดที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ประชาชนจะหลุดรอดมันสมองของท่านพระอานนท์ไปได้ ท่านได้บันทึกไว้ในมันสมองของท่านหมดทุกเรื่อง ท่านจึงเป็นผู้รอบรู้ทรงจำพระพุทธวจนะได้มากที่สุด

คุณสมบัตินี้เองที่พระมหากัสสปะมองข้ามไม่ได้ เมื่อท่านพระมหากัสสปะดำริทำสังคายนาครั้งที่ 1 รวบรวมพระอรหันต์ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทาได้ 499 รูป ยังขาดอีกรูปจึงจะครบ 500 ตามที่ตั้งใจไว้ ท่านจำต้องเว้น "ที่นั่ง" นี้ไว้เพื่อพระอานนท์

ตอนนั้นพระอานนท์ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ท่านมหากัสสปะจะรับก็ไม่ได้ เพราะคุณสมบัติยังไม่ครบ แต่จะเว้นท่านไม่เอาท่านมาร่วมเลยก็ยิ่งไม่ได้ใหญ่ เพราะการทำสังคายนาครั้งนี้ขาดพระอานนท์รูปเดียวก็จะไม่สำเร็จสมบูรณ์

เมื่อพระอานนท์รู้ตัวว่าท่านมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับงานใหญ่เช่นนี้ ท่านจึงตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญเพียร (ความหมายก็คือคร่ำเคร่งฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นการใหญ่ ไม่พักไม่ผ่อนติดต่อกันหลายวัน) จนเหนื่อยอ่อน

คืนวันหนึ่ง ขณะนั่งสมาธิ เดินจงกรมติดต่อกัน จนเวลาล่วงเลยตีหนึ่งสองยาม ท่านรู้สึกเมื่อยล้าต้องการจะพักสักเล็กน้อยแล้วค่อยมาทำต่อ พอท่านนั่งลงจะเอนกายลงพักผ่อน เท้าข้างหนึ่งยังไม่พ้นพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ท่านก็เกิด "ความสว่างโพลงภายใน" คือ บรรลุพระอรหัตตผลทันที

การบรรลุพระอรหัตตผลของท่านจึงพ้นจากอิริยาบถทั้งสี่ คือจะอยู่ในระหว่างนั่งก็ไม่ใช่ ยืนก็ไม่ใช่ เดินก็ไม่ใช่ นอนก็ไม่ใช่

ในการทำสังคายนาครั้งนั้นพระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ท่านได้เล่าให้ฟังถึงข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่ต่างๆ แก่ที่ประชุมสงฆ์ โดยไม่ผิดเพี้ยนเลย

ความเป็นผู้ฟังมาก จำได้มาก ของพระอานนท์ จึงเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเองและพระพุทธศาสนาโดยรวม ด้วยประการฉะนี้...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 27 เม.ย.2007, 7:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การศึกษาศิลปวิทยา

มงคลข้อต่อไปเกี่ยวกับ ศิลปะเป็นเหตุให้บรรลุถึงความเจริญ

เมื่อพระบาลีท่านใช้คำว่า "สิปปะ" (ศิลปะ)

ดูเหมือนว่าท่านจำเพาะเจาะจงหมายถึง "ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ" ไม่ใช่เฉพาะเรื่องจิตรกรรม ประติมากรรม ฯลฯ หากรวมถึงวิชาการทุกชนิดรู้ธรรมดาๆ ไม่เรียกว่ามีศิลปะ

ต้องรู้ลึกซึ้งถึงกึ๋นและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จึงจะเรียกว่า "มีศิลปะ" ความเชี่ยวชาญอย่างนี้แม้จะวิชาหรือสาขาเดียวก็ยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย

ดังครูสุนทรภู่กล่าวไว้ว่า "รู้อะไรให้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"

นี้แหละครับ สิปปัญจะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ลองฟังนิทานเรื่องนี้ดูครับ...

บุรุษเปลี้ย

บุรุษเปลี้ยคือคนแคระครับ แกเรียนศิลปะการดีดก้อนกรวดจนเชี่ยวชาญ ไม่ใช่แค่ดีดก้อนกรวดเล่นนะครับ แกสามารถเอาก้อนกรวดเล็กๆ ดีดใส่ใบไม้บนต้นไม้ ฉลุเป็นรูปสัตว์นานาชนิดได้สวยสดงดงามมาก ความเชี่ยวชาญระดับนี้ถึงจะมีรูปร่างแคระแต่ก็อาศัยยังชีพได้สบาย

แกก็รับจ้างเด็กๆ ดีดฉลุเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามที่เด็กขอร้อง ได้ค่าจ้างทีละเล็กละน้อยพอยังชีพตามประสาคนยากจน

ความเก่งกาจของบุรุษเปลี้ยลือกระฉ่อนไปไกลถึงพระกรรณของพระราชา พระราชาทรงมีปัญหาที่แก้ไม่ตกมาเป็นเวลานานพอได้ยินเรื่องบุรุษเปลี้ยดีดกรวดก็ทรงนึกอะไรขึ้นมาได้ รับสั่งให้มหาดเล็กไปตามหาบุรุษเปลี้ยผู้นั้นทันที

ปัญหาอะไรหรือครับที่รบกวนพระราชหฤทัยของพระราชาจนถึงต้องสั่งให้ตามหาบุรุษเปลี้ย ปัญหาก็คือ ในพระราชสำนักมีปุโรหิตอยู่คนหนึ่ง มีความรู้ความสามารถดีมาก ทุกอย่างดีหมดแต่เสียตรงที่แกเป็นคนพูดมาก ลงได้พูดแล้วล่ะก็หยุดยาก จนพระราชาทรงรำคาญพระราชหฤทัย แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะให้ปุโรหิตปากมากสงบปากสงบคำได้

บุรุษเปลี้ยคนนี้แหละจะช่วยได้ มหาดเล็กจึงไปตามหาบุรุษเปลี้ยที่ชนบท นำตัวมาเข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ตรัสกับบุรุษเปลี้ยว่า ในวังมีคนพูดมากอยู่คนหนึ่ง เธอทำอย่างไรก็ได้ให้เจ้าหมอนั่นมันสงบปากให้ได้

เมื่อบุรุษเปลี้ยกราบทูลว่าแกไม่สามารถทำได้ เพราะชั่วชีวิตแกก็รู้แต่วิชาดีดกรวดฉลุรูปสัตว์อย่างเดียว

"เอ็งก็ลองเอาวิชาดีดกรวดอะไรของเอ็งดีดอะไรสักอย่างเข้าปากปุโรหิตเวลามันอ้าปากพูดชีวะ" พระราชาทรงแนะนำ

บุรุษเปลี้ยจึงไปเตรียมมูลแพะ (ขี้แพะ) มาไว้ แล้วก็นั่งอยู่หลังม่านด้านหลังพระที่นั่ง เมื่อปุโรหิตเข้าเฝ้าถวายคำปรึกษา ปุโรหิตกำลังอ้าปากจะพูดบุรุษเปลี้ยก็ดีดขี้แพะด้วยความฉับไวเข้าปาก ปุโรหิตก็กลืนเอื๊อกเข้าลำคอไป ก็นึกว่ากลืนน้ำลาย พออ้าปากทีก็ดีดฉับเข้าไปอีกหนึ่งเอื๊อก อ้าอีกทีก็อีกเอื๊อก กว่าจะพูดจบก็รู้สึกว่าหนักท้องทีเดียว

พระราชาตรัสถามว่า "เป็นไงท่านปุโรหิต วันนี้กินขี้แพะไปกี่ก้อน เต็มพุงเชียวนะ ฮะฮะฮ่าฮ่า" ทรงพระสรวลด้วยความสำเริงสำราญพระราชหฤทัยยิ่งนัก

ตั้งแต่นั้นต่อมาปุโรหิตผู้ "ทอล์กคะถีพ" กลับกลายเป็นคนพูดน้อย สงบปากสงบคำดีมาก แทบจะเรียกว่า "ถีบ" ยังไม่ "ทอล์ก" เลย

บุรุษเปลี้ยได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลอย่างงาม จนกลายเป็นเสี่ยเปลี้ยไปในบัดดล เพราะความเป็นผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการดีดก้อนกรวดเพียงอย่างเดียวแท้ๆ ที่บุรุษเปลี้ยแกได้อยู่ดีมีสุขถึงปานนี้

แต่ต้องระวังอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อมีความเชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตาม ต้องใช้ในทางที่ถูกต้อง สุจริต ยุติธรรม หาไม่แล้วจะประสบกับหายนะเอาได้ ดังนิทานเรื่องที่สอง


บุรุษนิรนาม

บุรุษนิรนามคนหนึ่งเรียนศิลปะดีดก้อนกรวดจากจอมยุทธ์แคระจนเชี่ยวชาญ อาจารย์แคระกำชับว่าศิลปะนี้อย่านำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น เบียดเบียนหรือฆ่าผู้อื่น บุรุษนิรนามก็รับปากอย่างดี

แต่ด้วยความคะนอง วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งออกจากณาณสมาบัติเดินบิณฑบาตอยู่ บุรุษนิรนามอยากทดสอบความแม่นยำของตน กำลังมองหาเป้าเคลื่อนที่อยู่ พอเห็นพระปัจเจกพุทธะเดินมาก็คิดว่า ธรรมดาสมณะไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีครอบครัว ถึงเราดีดกรวดใส่หูตาย คงไม่มีใครทราบ คิดแล้วก็ดีดก้อนกรวดเข้าหูซ้ายทะลุออกหูขวาด้วยความชำนาญ

พระปัจเจกพุทธเจ้าทนความเจ็บปวดไม่ไหว จึงได้ล้มลงมรณภาพ ณ ที่นั้นเอง ไม่มีใครทราบว่าพระท่านมรณภาพอย่างปัจจุบันทันด่วนเพราะอะไร เห็นแต่เลือดไหลออกจากหูทั้งสองดังท่อน้ำแตก แต่ไม่ทราบสาเหตุ

ในเวลาต่อมา บุรุษนิรนามนั้นยังไปคุยอวดความเก่งของตัวว่าตัวเองนั้นมือแม่นขนาดไหน ขนาดดีดก้อนกรวดใส่หูพระรูปหนึ่งเข้าหูซ้ายทะลุหูขวายังกะจับวาง ไม่บอกไม่มีใครรู้นะว่าเป็นฝีมือของเขาเอง

ประชาชนพอทราบเรื่องเข้าก็พากันรุมประชาทัณฑ์จนตาย

นี่เพียงแค่ก้อนกรวดธรรมดาๆ ถ้าดีดเก่ง เชี่ยวชาญอย่างบุรุษเปลี้ยก็สามารถเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าให้ใช้ความเก่งนั้นในทางที่ผิด ก็ย่อมประสบหายนะดุจดังชายคนที่สองในเรื่องนี้แล



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 6:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การมีวินัยที่ฝึกดีแล้ว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า...ภิกษุที่ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้ถูกสิ่งที่เห็นที่ได้ยิน ยั่วยวน ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน ไม่ยินดียินร้าย ก็อยู่รอดปลอดภัย ดุจเต่ารอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น

ดังนิทานเรื่องต่อไปนี้ เกี่ยวกับพระที่ไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่ใช่พระภิกษุ แต่เป็นฤาษี นามว่า หาริตดาบส

หาริตดาบส

คราวหนึ่งพระราชาต้องไปปราบกบฏที่ชายแดน รับสั่งให้พระมเหสีสาวสวยช่วยดูแลอาหารบิณฑบาตให้พระคุณเจ้าแทน เหตุการณ์ก็เป็นไปตามปกติ

อยู่มาวันหนึ่ง หลังจากเตรียมสำรับกับข้าวจะถวายพระแล้ว มเหสีก็ทรงสรงสนานเสร็จ และก็กำลังแต่งองค์ทรงเครื่องอยู่

หลวงพ่อฤาษีท่านมาเร็วไปหน่อย เหาะลงมายังตำหนักลดเพดานลงมาเรื่อยๆ เสียงปะทะผ้า "คากรอง" (เครื่องนุ่งห่มของฤาษี) ดังพับๆๆ พระมเหสีตกใจผุดลุกขึ้นจะเข้าไปในห้องส่าหรีหลุด ขณะพระมเหสีกำลังแต่งองค์ทรงเครื่องอยู่

หลวงพ่อแลเห็นพอดี เสียสำรวม หล่นตุ๊บลง ดีว่าใกล้ถึงพื้นอยู่แล้ว ไม่เป็นไรมาก จากนั้นตำราก็ว่าไว้สั้นๆ ว่า "แล้วทั้งสองก็ถึงศีลวิบัติ" understood ว่างั้นเถอะ ฉันเสร็จฌานเสื่อม ต้องเดินกลับ เหตุการณ์ก็เป็นมาเรื่อยๆ จนเสียงลือแซดไปหมด แฟ็กซ์บ้าง มือถือบ้าง ทำงานหนัก ว่างั้นเถอะ

พระราชาเสด็จกลับมาทรงทราบเรื่อง ก็ไปจับเข่าฤาษีถามว่า จริงหรือเปล่าที่เขาลือกัน ฤาษีแกก็ชื่อดีนะ ตอบว่า "จริงขอถวายพระพร" อาตมาเสียสำรวมไปหน่อย

ขอโอกาสสักพัก ว่าแล้วก็ปิดประตูกระท่อม นั่งเข้าฌานสักพักหนึ่งก็บรรลุฌานขั้นสูง ไม่เสื่อมอีกต่อไป แล้วเปิดประตูกระท่อมออกมาแสดงธรรมให้พระราชาฟัง เรื่องการไม่สำรวมระวังในกาม มันทำให้ชีวิตพรหมจรรย์มัวหมอง เสียพระ เสียผู้เสียคน อาตมาก็เกือบไปแล้ว ว่าอย่างนั้น


นักเลงจอมขี้โกง

ในอดีตกาล นักเลงสกาคนหนึ่งชอบมาเล่นสกากับพระโพธิสัตว์ และเวลาแกเล่นได้ติดๆ กัน แกก็หาเรื่องเลิกเล่นเสียดื้อๆ อย่างนั้น อ้างโน่นอ้างนี่ แต่พอเวลาแกแล่นทำท่าว่าจะเสียก็แกล้งอีก เช่น แกล้งอมลูกสกาแล้วบอกว่าลูกสกาหายไม่ครบ เล่นไม่ได้แล้ว เลิกกันเถอะ อะไรทำนองนี้

พระโพธิสัตว์รู้นิสัยขี้โกงของนักเลงสกาคนนี้ดี

วันต่อมาจึงเอาลูกสกาทั้งหมดอาบยาพิษ ตากให้แห้งแล้วแห้งอีก จนไม่รู้ว่ามียาพิษเคลือบอยู่

วันหนึ่งขณะเล่นสกากับจอมขี้โกง จอมขี้โกงทำท่าว่าจะแพ้จึงใส่ลูกสกาเข้าปากอม ยังไม่ทันพูดว่าสกาหายก็ตาเหลือก น้ำลายฟูมปาก ล้มลงทันที

พระโพธิสัตว์อาศัยความกรุณา จึงเอายาแก้พิษมากรอกปากให้ดื่ม ให้สำรอกยาพิษออกมา จนหายในที่สุด

แล้วให้คติธรรมว่า คนเราควรมีวินัย (คือมีศีล) คนที่ไม่มีวินัยจะประสบกับความหายนะเช่นนี้ เท่ากับบอกว่า ถ้าข้าไม่ช่วยเอาไว้เอ็งมีหวังตายแหงๆ ว่าอย่างนั้นเถอะ


ฤาษีไร้วินัยที่ฝึกฝนดีแล้ว

ฤาษี 2 รูป รูปหนึ่งมีอายุมาก มีกิริยามารยาทที่ได้รับการฝึกฝนมาดีแล้ว ส่วนอีกรูปหนึ่งยังหนุ่ม ไม่ค่อยจะสงบสำรวมสมกับเป็นเพศนักพรตสักเท่าไหร่ อยากจะทำอะไรก็ทำ อยากจะกินอะไรก็กิน อยากจะพูดอะไรก็พูด ไม่รู้จักกาลเทศะ เรียกว่าเป็นคนประเภท "ครูบาอาจารย์มรณะตั้งแต่บวชใหม่ๆ" ไม่รู้จักระมัดระวังกายวาจา คือ บวชปั๊บอุปัชฌาย์อาจารย์ก็ตาม เลยไม่มีเวลาสอน

ฤาษีผู้สงบสำรวมก็ช่วยสอน ช่วยเตือน แต่เธอก็ไม่ฟัง ยังคงจุ้นจ้านอยู่เหมือนเดิม

วันหนึ่งฤาษีผู้สำรวมได้ยกโศลกที่มีข้อความกินใจมาว่าให้ฟัง มีความว่า...

"ถ้าความรู้และวินัยที่ฝึกฝนดีแล้วไม่มีอยู่ในคนใด คนนั้นก็ไม่ต่างกับควายตาบอด เที่ยวมะงุมมะงาหราอยู่ในป่า หาทางออกจากป่าไม่ได้"

ได้ฟังคำพูด "ปรัชญา" อย่างนี้ทำให้ฤาษีรูปนี้เกิดความละอายว่า เราปฏิญาณตนว่าจะถือเพศนักพรต ประพฤติวัตรเคร่งครัดเพื่อขูดเกลากิเลสให้เบาบาง แค่ศีลหรือวินัยพื้นฐานยังทำไม่ได้ ให้เขาต้องตำหนิ น่าอายจริงหนอ

ว่าแล้วก็ก้มลงกราบขอโทษฤาษีอีกรูปผู้อาวุโส ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิด บำเพ็ญบารมี และทำตามโอวาทของฤาษีโพธิสัตว์ เพ่งกสิณจนกระทั่งได้ฌานในที่สุด

เรื่องนี้เล่าไว้ใน คันธารชาดก ต้องการจะบอกว่าศีลก็คือวินัย วินัยก็คือศีล วินัยของชาวบ้านแค่ศีล 5 ก็เกินพอ ของพระก็ 227 ข้อก็เกินพอ แต่นั่นเป็นเพียงตัวบทกฎหมาย แต่ความมีศีลมีวินัยก็คือ อายชั่วกลัวบาป พัฒนาตนให้เจริญด้วยคุณธรรม ละสิ่งที่ควรละ พัฒนาสิ่งที่ควรพัฒนา ได้พอสมควรนั่นแหละเรียกว่า ผู้มีวินัยที่ฝึกฝนอบรมมาดี...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 6:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ วาจาที่เป็นสุภาษิต

วาจาสุภาษิต คือ พูดดี ตามหลักวจีกรรมที่เป็นกุศล 4 คือ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ถึงจะพูดตามวจีสุจริต 4 ครบ ก็ต้องดูองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย จึงจะเรียกว่า "พูดดีจริง" คือ

พูดถูกกาละ พูดคำจริง
พูดสุภาพ พูดคำมีประโยชน์
พูดด้วยเมตตา

พระท่านว่า ศีลนี้แลรักษายาก เพราะมันขาดง่าย อยู่บ้านเฉยๆ ก็ขาดศีลข้อ 4 แล้ว เช่น เสียงโทรศัพท์ดัง ลูกชายรับ แล้วหันมาถามพ่อว่า "พ่อ คุณ...โทร.มา" พ่อเกลียดขี้หน้าไอ้หมอนั่นอยู่แล้ว บอกกับลูกชายว่า "บอกไปว่าพ่อไม่อยู่" นี่แค่นี้ก็ผิดศีลแล้วล่ะ แล้วถ้าลูกมันยังเล็กอยู่ อย่าบอกลูกอย่างนี้นะ เดี๋ยวหน้าแตก "คุณพ่อบอกว่าคุณพ่อไม่อยู่ค่ะ"

คนพูดดีและไม่ดี

ลูกเศรษฐี 4 คน เพื่อนซี้กัน กินเที่ยวเล่นสนุกด้วยกันเชียร์บอลด้วยกัน ไปฟังเพลงด้วยกัน เข้าเธคด้วยกัน ว่างั้นเถอะ

วันหนึ่งนายพราน บรรทุกเนื้อผ่านมาเต็มเกวียน จะมาขายในเมือง ลูกเศรษฐีพันล้านคนแรกกล่าวกับนายพรานว่า...

"เฮ้ย ไอ้นายพราน ขอเนื้อข้าสักชิ้นซีวะ"

"วาจาของท่านนั้น หยาบคายดุจพังผืดไม่มีผิด จงเอาเนื้อพังผืดไป" นายพรานกล่าว แล้วเฉือนพังผืดให้ คนที่สองพูดว่า

"พี่ครับ ขอเนื้อผมบ้างได้ไหม"

"พี่น้องเปรียบเสมือนแขนขา ขาดพี่น้องคนเราก็โดดเดี่ยววาจาของท่านดุจแขนขา จงเอาเนื้อขาไป"

ว่าแล้วนายพรานก็ตัดขาเนื้อให้ไปหนึ่งขา

คนที่สามพูดว่า...

"คุณพ่อครับ ขอเนื้อผมบ้าง"

"ใครได้ยินคำว่าพ่อ หัวใจย่อมหวั่นไหวด้วยความรักลูก คำพูดของท่านดุจหัวใจ จงเอาเนื้อหัวใจไป"

ว่าแล้วก็เฉือนหัวใจเนื้อให้ไป

คนสุดท้ายกล่าวว่า...

"สหายเอ๋ย ขอเนื้อเราบ้างเถอะ"

นายพรานดีใจ พูดว่า "ใครไม่มีเพื่อน คนนั้นย่อมโดดเดี่ยว หมู่บ้านใดไม่มีเพื่อน หมู่บ้านนั้นเป็นเสมือนบ้านร้าง เพื่อนพูดถูกใจเรา เรายกเนื้อให้หมดทั้งเล่มเกวียนเลย"

ว่ากันว่า ทั้ง 5 คนนั้นต่อมาเป็นเพื่อนรักกันตลอดชีวิต

นี้คือตัวอย่างของการรู้จักใช้คำพูด พูดดีก็ได้ประโยชน์ พูดไม่ดีก็เสียประโยชน์ เผลอๆ โดนเตะปากแตก ดังคำพังเพยว่า "พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี"


เจ้าหนุ่มคารมดี

ชายหนุ่มรูปหล่อคนหนึ่ง เห็นพ่อเฒ่าศีรษะบางคนหนึ่งจูงวัวมาสองตัว จึงร้องถามไปว่า...

"พ่อผมดกปกหัว พ่อจะจูงวัวไปไหน"

"บ๊ะ ไอ้หนุ่มนี้พูดจาดีแฮะ" พ่อเฒ่าคิด

จึงร้องตอบไปว่า

"พ่อเอย พ่อพูดถูกเข้าหู วัวทั้งคู่พ่อยกให้" ให้วัวไอ้หนุ่มเลย ใจป้ำปานนั้น

เจ้าหนุ่มจูงวัวเดินไป ลูกสาวพ่อเฒ่าเห็นจำได้ว่าวัวของพ่อตน จึงร้องถามว่า "พ่อรูปหล่อไปทั้งตัว พ่อได้วัวมาจากไหน"

ชายหนุ่มก็ตอบว่า "แม่อกตั้งดังดอกบัว ไอ้หัวล้านรูปชั่วมันยกให้"

สาวได้ยินก็โกรธแทนพ่อ หนอย มันมาด่าพ่อปานนี้ พ่อยังให้วัวมันไป จึงรีบไปถามพ่อว่า พ่อให้วัวไอ้หนุ่มมันไปทำไม พ่อตอบว่า ไอ้หนุ่มมันคนดีนะลูก มันพูดเพราะๆ

"เพราะกะผีอะไรพ่อ มันด่าว่าพ่อหัวล้านรูปชั่ว"

ลูกสาวรายงาน

"ถึงยังงั้นเชียวรึ หนอย พอลับหลังข้ามันด่าข้าเรอะ"

ว่าแล้วพ่อเฒ่าก็คว้าปะฏักวิ่งตามไปทัน

ชายหนุ่มเห็นท่าไม่ดี จึงร้องไปว่า

"พ่อผมตกปกหลัง พ่อจะละล้าละลังไปข้างไหน"

"บ๊ะ มันพูดไพเราะนี่หว่า" พ่อเฒ่าคิด จึงตอบไปว่า "ลูกเอยลูกรัก พ่อลืมปะฏักจะเอามาให้" แล้วก็ให้ปะฏักให้ไอ้หนุ่มไป

กลับถึงเรือน ลูกสาวรู้ว่าพ่อโดนหลอกอีก จึงคว้าแขนพ่อตามไป เจ้าหนุ่มเห็นดังนั้นจึงร้องตะโกนเสียงดังฟังชัดว่า...

"พ่อผมตกปกเกล้า พ่อจะจูงลูกสาวไปข้างไหน"

พ่อเฒ่าหัวล้านดีใจที่ได้ยินมธุรสวาจาอีก จึงร้องตอบไปว่า

"ลูกเอย ลูกแก้ว พ่อแก่แล้ว พ่อจะยกลูกสาวให้"

เป็นอันว่าเจ้าหนุ่มรูปหล่อคารมดี ได้ลูกสาวของพ่อเฒ่าเป็นภรรยาด้วยประการฉะนี้แล...


คนพูดส่อเสียด

ในวัดแห่งหนึ่งมีพระเถระสองรูป รูปหนึ่งพรรษา 60 รูป ที่สองพรรษา 59 อยู่ด้วยฉันพี่น้อง รักใคร่กลมเกลียวกันมาก

อยู่มาวันหนึ่ง พระนักเทศน์รูปหนึ่งมายังอาวาสนั้น เห็นพระเถระทั้งสองปรองดองกันดีเหลือเกิน ที่สำคัญเหล่าญาติโยมก็เลื่อมใสถวายจตุปัจจัยให้ท่านอยู่อย่างพอเพียง

พระนักเทศน์เกิดอิจฉาและโลภอยากเป็นเจ้าอาวาสเสียเอง ลาภผลจะได้ตกเป็นของตน

วันดีคืนดีก็เข้าไปประจบประแจงพระเถระเจ้าอาวาส แล้วก็ใส่ไฟว่า "พระเดชพระคุณที่เคารพ ความจริงผมไม่อยากกราบเรียนให้ท่านทราบ แต่ก็อดเป็นห่วงมิได้" ครั้นพระเถระถามว่าเรื่องอะไร ก็ตอบอ้อมแอ้มๆ หลังจากทำท่าไม่อยากพูดสักพักหนึ่ง

"พระเถระน้องชายท่าน นินทาท่านอย่างนี้ๆ (ว่าหนักถึงขั้นว่า ท่านแกล้งทำสำรวมจริยาวัตรเรียบร้อย แต่ภายในใจเต็มไปด้วยกิเลส ผิดศีลร้ายแรง)

แล้วก็นำคำพูดอย่างเดียวกันไปเป่าหูพระเถระผู้น้อง

แรกๆ ก็ยังไม่เชื่อ แต่เมื่อถูกเป่าหูเข้าบ่อยๆ พระเถระทั้งสองรูปก็กินแหนงแคลงใจกัน ต่างก็แยกทางกันไปอยู่ที่อื่น ทิ้งวัดให้พระนักเทศน์หน้าแหลมอยู่เพียงรูปเดียว ด้วยความอิ่มเอมเปรมปรีดิ์ในแผนการใส่ร้ายป้ายสีอันสกปรกของตน

กาลเวลาผ่านไป พระเถระสองพี่น้องได้พบกัน จับเข่าถามกันว่า ทำไมท่านว่าผมอย่างนั้นๆ แต่ละรูปก็บอกว่าไม่ได้ว่าอะไรเลย จึงรู้ว่าถูกพระนักเทศน์ยุยงให้แตกกัน จึง "แสดงโทษกันและกัน" สำนวนพระครับ ความหมายก็คือขอขมากัน

พระเถระผู้เฒ่าและพระเถระผู้น้องจูงมือกันกลับมาวัดเดิมชี้หน้าพระนักเทศน์ว่า ท่านเป็นอลัชชี ปลิ้นปล้อน หลอกลวง อาศัยผ้าเหลืองสร้างความร่ำรวยแก่ตน เอาความดีใส่ตัว แต่เอาความชั่วให้คนอื่น ทำให้เราซึ่งอยู่ด้วยกันมาอย่างสมานฉันท์ต้องกินแหนงแคลงใจกัน วาจายุแยงของท่านมันช่างร้ายกาจนัก ท่านไม่สมควรอยู่ในอาวาสนี้ จะไปไหนก็ไป

พระนักเทศน์ผู้พหูสูตก็เลยต้องถูกขับไล่ไปจากวัด

ปิสุณวาจา ก่อให้เกิดโทษมหาศาลดังนี้แล


โทษของการพูดคำหยาบ

โคนันทวิสาลเห็นเจ้านายของตนลำบาก อยากจะช่วยเหลือให้มีโภคทรัพย์บ้าง จึงบอกอุบายให้พราหมณ์ พราหมณ์เห็นด้วยจึงไปท้าพนันกับเพื่อนว่าโคนันทวิสาลของแกมีกำลังมาก สามารถลากเกวียนที่ผูกติดกันได้ถึง 100 เล่ม

ใครจะเชื่อ โควินทเศรษฐีจึงรับคำท้า เดิมพันจำนวนพันกหาปณะ พอถึงวันแข่ง พราหมณ์นั่งเกวียนแล้วก็ร้องว่า

"เฮ้ย ไอ้โคโกง เข็นไปเร็วๆ ซีวะ"

โคนันทวิสาลรู้สึกเสียใจที่นายพูดไม่ไพเราะ จึงไม่ยอมลากเกวียน ทำให้พราหมณ์เสียพนัน เมื่อเสียเงินก็เลยเศร้าโศกเสียใจไม่เป็นอันกินอันนอน โคนันทวิสาลเกิดความสงสาร จึงเข้าไปปลอบโยนว่า "นาย ที่ท่านแพ้มิใช่เพราะข้าพเจ้านะ แต่เพราะท่านเรียกข้าพเจ้าว่า ไอ้โคโกง ข้าพเจ้าจึงไม่ยอมลากเกวียน ต่อไปให้พนันใหม่ แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าว่าไอ้โคโกงเป็นอันขาด ให้พูดด้วยวาจาอันไพเราะ แล้วข้าพเจ้าจะทำเงินให้แก่ท่านมากกว่าเดิมหลายเท่า"

พราหมณ์คิดตรึกตรองอยู่นานกว่าจะตัดสินใจท้าพนันเป็นครั้งที่สอง เดิมพันคราวนี้สองพันกหาปณะ คราวนี้พราหมณ์แกพูดแบบแจ๋วหวานเจี๊ยบเลย

"พ่อนันทวิสาลผู้เจริญ พ่อจงโปรดเข็นเกวียนไปเถิด"

ผลเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านคงจะทราบดี

สรุปก็คือ การพูดไพเราะนั้น อย่าว่าแต่คนเลย สัตว์เองก็ชอบ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ค.2007, 7:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา

บุตรของครอบครัวมีอันจะกินคนหนึ่ง เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า บวชแล้วก็จากบ้านเกิดเมืองนอนไปปฏิบัติธรรมในป่าเป็นเวลา 5 ปี หารู้ไม่ว่าครอบครัวของตนเกิดวิกฤต ทรัพย์สินร่อยหรอลงไป บิดาตายพี่น้องแยกย้ายกันไป เหลือแต่โยมมารดาคนเดียว ต้องอยู่อย่างแร้นแค้น

ภิกษุหนุ่มทราบภายหลัง มีความวิตกกังวลถึงแม่ ตนเองปลีกเอาตัวรอดคนเดียวนั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง ยิ่งคิดมาก การปฏิบัติธรรมก็ไม่ก้าวหน้า จึงตัดสินใจจะสึกเพื่อดูแลแม่

ก่อนไปหาแม่ได้เข้ากราบทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า การเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นพระภิกษุก็เลี้ยงได้ไม่จำเป็นต้องลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุหนุ่มดีใจที่ไม่ต้องสึก เวลาไปบิณฑบาต ได้ข้าวปลาอาหารที่มีผู้ใส่บาตร ท่านก็เอาไปให้มารดาแล้วก็กลับวัด วันไหนได้ข้าวมาก็ให้โยมแม่มาก และตนเอาแต่น้อย แต่วันไหนได้น้อย ก็ให้โยมแม่หมด ตนเองก็อดฉัน

ได้ผ้าที่เขาถวายมา ก็นำไปให้โยมแม่เย็บทำผ้านุ่งผ้าห่ม ส่วนตนเองก็ใช้จีวรเก่าขาด จนกระทั่งร่างกายซูบผอมไป

พระภิกษุทั้งหลายเห็นท่านซูบผอม ผิวพรรณไม่ผ่องใส จึงถามว่าเป็นอะไร ท่านก็เล่าให้ฟัง แทนที่ท่านเหล่านั้นจะยินดีด้วยกลับติเตียนท่านต่างๆ นานา หาว่าทำลายศรัทธาของชาวบ้าน ชาวบ้านเขาใส่บาตรให้พระฉัน กลับเอาไปให้แม่กิน

จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ภิกษุหนุ่มมาเฝ้า ตรัสถามว่า เธอบิณฑบาตเอาข้าวไปเลี้ยงมารดาหรือ ภิกษุหนุ่มกราบทูลว่า พระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ประทานสาธุการ 3 ครั้งว่า "สาธุ สาธุ สาธุ" แล้วตรัสให้ได้ยินโดยทั่วกันว่า "ดีแล้ว ภิกษุเธอได้ดำเนินตามมรรคที่ถูกต้องแล้ว ภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงมารดาบิดาเป็น "วงศ์" (ธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติ) ของบัณฑิตทั้งหลาย


สุวรรณสาม

คนที่มีความกตัญญูกตเวที เลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดียิ่งจนได้รับการบันทึกไว้ให้เอาเยี่ยงอย่าง ที่รู้จักกันโดยทั่วไปนั้นก็คือ สุวรรณสามโพธิสัตว์

เมื่อครั้ง พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นสุวรรณสามโพธิสัตว์ ท่านบวชเป็นดาบส เลี้ยงบิดามารดาผู้ตาบอดทั้งสองคน ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นที่ยิ่ง

สุวรรณสามนั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา ในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ท่านจึงเป็นที่รักของเหล่าเทพยดา แม้กระทั่งเหล่ามฤคชาติทั้งหลายก็มาห้อมล้อมเป็นบริวารท่าน เวลาท่านไปตักน้ำที่ท่าน้ำมาให้บิดามารดาตักอาบและดื่มกิน บรรดาหมู่เนื้อก็ตามท่านเป็นพรวน

ในช่วงนั้น พระเจ้าปิลยักษ์ผู้ครองเมืองพาราณสี ออกไปล่าเนื้อแต่ลำพัง ผ่านไปยังท่าน้ำใกล้อาศรมของสุวรรณสาม เห็นรอยเท้าเนื้อเดินขึ้นลงท่าน้ำมากมาย จึงกระหยิ่มในใจว่า ตนได้พบเหยื่ออันโอชะแล้ว จึงแอบซุ่มดูลาดเลา

ดาบสหนุ่มลงมาอาบน้ำ แลเตรียมตักน้ำไปให้บิดามารดาด้วย ติดตามด้วยฝูงมฤคชาติมากมาย พระราชาซึ่งแอบซ่อนอยู่จึงโก่งธนู ตั้งใจจะยิงเนื้อตัวหนึ่ง แต่ลูกธนูแล่นไปเสียบอกดาบสหนุ่มเต็มรัก ฝูงเนื้อตื่นตกใจแตกฮือหนีไป

พระโพธิสัตว์ล้มลง สายตาสอดส่ายหาผู้ที่ยิงตน พลางเปล่งวาจาด้วยสำเนียงไพเราะถามออกไปว่า ท่านผู้เจริญท่านใดหนอ ที่เป็นผู้ยิงข้าพเจ้า

พระราชาในคราบพรานป่า ได้ยินคำพูดของพระโพธิสัตว์ก็สะดุ้งพระทัย "ท่านผู้นี้ แม้ถูกเรายิงยังไม่มีจิตโกรธขึ้งเลย ร้องเรียกเราด้วยวาจาไพเราะ โอหนอ เราทำกรรมหนักแล้ว"

ว่าแล้วก็รีบเข้าไปประคองร่างพระโพธิสัตว์ผู้สลบไสลด้วยลูกศรกำซาบยาพิษ ทรงคร่ำครวญสำนึกในความผิดของตนอย่างน่าสงสาร

เทวธิดาตนหนึ่งมิได้ปรากฏตัวเปล่งเสียงลอยมาจากอากาศว่า "มหาราชเจ้า ท่านได้ทำผิดอันยิ่งใหญ่แล้ว ถ้าพ่อสามตายท่านต้องเลี้ยงดูบิดามารดาที่ตาบอดของพ่อสาม"

พระเจ้าปิลยักษ์ได้สดับดังนั้น จึงไปยังอาศรม ไปนำบิดามารดาของดาบสหนุ่มมายังดาบสผู้นอนสลบไสลอยู่ แล้วเล่าความให้ฟังจนหมดสิ้น บิดามารดาทั้งสองของดาบสหนุ่มได้กล่าวสัตยาธิษฐานว่า...

"พ่อสามนี้ ปกติเป็นคนประพฤติธรรมเสมอ ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้ ขอให้พิษในกายของพ่อสามบุตรชายของข้าพเจ้าจงหายไปเถิด"

เทพยดาได้กล่าวสัจคาถาว่า "เราอยู่ที่เขาคันธมาทน์นี้มาช้านาน ใครๆ ที่จักเป็นที่รักของเราเหมือนพ่อสามนี้ไม่มีเลย ด้วยการกล่าววาจานี้ ขอพิษในกายของพ่อสามจงสูญหายไป"

จบสัจวาจาของเทพยดา ได้เกิดความอัศจรรย์ 3 อย่างพร้อมกัน คือ (1) ดาบสหนุ่มหายโรค (2) พ่อแม่ของดาบสหนุ่มกลับมองเห็นดุจแต่ก่อน (3) รุ่งอรุโณทัยพอดี

พระโพธิสัตว์เมื่อหายจากโรคแล้ว ได้ให้โอวาทแก่พระเจ้าปิลยักษ์ว่า...

"นรชนที่เลี้ยงบิดามารดาโดยธรรม แม้เทพยดาทั้งหลายก็ย่อมช่วยเหลือเขา นักปราชญ์ทั้งหลายก็สรรเสริญในโลกนี้ เขาละไปแล้ว (คือตายไปแล้ว) ย่อมเกิดในสวรรค์"

จากนั้นพระโพธิสัตว์ได้สอนจริยธรรมสำหรับนักปกครองแก่พระราชา ความว่า...

"ขอพระองค์จงประพฤติธรรมในพระราชบิดาพระราชมารดาในพระโอรส และพระชายา

ขอพระองค์จงประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์ทั้งหลายในสัตว์พาหนะ และในพลนิกายทั้งหลาย

ในชาวแว่นแคว้นและชนบททั้งหลาย ในสมณชีพราหมณ์ทั้งหลาย ในหมู่เนื้อและนกทั้งหลาย

ธรรมที่พระองค์ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ พระองค์ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์

ขอพระองค์ประพฤติธรรมเถิด เทพยดา อินทร์ พรหม บรรลุทิพย์ได้เพราะการประพฤติธรรม ขอพระองค์อย่าประมาทในธรรมเลย"

คำว่า "ประพฤติธรรม" หมายถึง ทำหน้าที่ในฐานะผู้ปกครองประเทศให้ดี ให้สุจริตยุติธรรม สรุปสั้นๆ ดังพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เมื่อคราวขึ้นครองราชย์ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" นั้นแหละครับ

นิทานชาดกเรื่องนี้ชี้ถึงอานิสงส์ หรือคุณประโยชน์ของการบำรุงบิดามารดาผู้ให้กำเนิด เลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วเราจะอยู่สุขปลอดภัย นี้แลที่ท่านว่า "เป็นมงคลอันอุดม" แล



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 6:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ มิตตวินทุกะ

เรื่องนี้ว่ากันว่าเกิดขึ้นก่อนสมัยพุทธกาล แต่เป็นเรื่องที่กินใจคน เพราะบันทึกความเป็นคนชั่ว เนรคุณไว้ครบถ้วนบริบูรณ์ เตือนคนภายหลังไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง

เด็กหนุ่มชื่อ มิตตวินทุกะ เป็นถึงลูกคนร่ำรวย แต่นิสัยเกเรตั้งแต่เด็ก ชอบลักเล็กขโมยน้อย ทั้งที่พ่อแม่ตัวเองก็ร่ำรวย บิดาเป็นถึงพระโสดาบัน แต่ก็ไม่สามารถสั่งสอนลูกตัวเองให้เป็นคนดีได้ สาเหตุใหญ่ก็คือแม่เข้าข้างมาตั้งแต่เล็ก เพราะรักมากนั้นเอง

ต่อมาหลังจากบิดาสิ้นชีวิตแล้ว มิตตวินทุกะถูกพรรคพวกชักชวนไปค้าขายทางเรือ ใจจริงคงอยากห่างบ้านไปเที่ยวผจญภัยอยู่แล้ว จึงขออนุญาตแม่ว่าจะไปค้าขายต่างเมือง แม่ก็บอกว่าทรัพย์สมบัติเราก็มีมากพอแล้ว ลูกอย่าไปลำบากเลย ลูกเป็นทรัพย์สินทั้งหมดของแม่เลยนะ

"ยังไงฉันก็จะไป เพราะฉันรับปากกับเพื่อนไว้แล้ว"

เด็กหนุ่มยืนกราน

"อย่าไปเลยลูก แม่ก็มีลูกคนเดียวเท่านั้น หลังจากพ่อสิ้นไปแล้ว แม่ไม่มีใครอื่นเลย นอกจากลูก" แม่อ้อนวอน

เขาขืนจะไปท่าเดียว กล่าวว่า "แม่ห้ามฉันไม่ได้ดอก จะไปซะอย่าง" แม้ถูกแม่ดึงมือไว้ก็สลัดมือออก ตีแม่ล้มลง แม่ก็ยังกอดขาลูกร้องว่า อย่าไปเลยลูกๆ เมื่อเกิดรำคาญที่ถูกห้ามจึงเตะแม่เข้าเต็มรัก แล้วก็รีบลงจากเรือนไป โดยไม่หันมาแลแม้แต่น้อยว่าแม่ของตนนอนดิ้นครวญครางด้วยความเจ็บปวด

เขาแล่นเรือไปในมหาสมุทร ในวันที่ 7 ด้วยบาปของนายมิตตวิทุกะ ก็เกิดเหตุอาเภศ เรือกลับหยุดแล่นเสียเฉยๆ พนักงานเรือแก้ไขอย่างไรก็ไม่สามารถจะให้เรือวิ่งไปได้ จึงปรึกษากันว่า สงสัยจะมีคนกาลกิณีอยู่ในเรือกระมัง

กรรมวิธีหาคนกาลกิณีก็เกิดขึ้น เขาแจกสลากให้ทุกคนจับ โดยกาเครื่องหมายกาลกิณีไว้ในสลากใบหนึ่ง เมื่อทุกคนจับแล้วนำมาเปิดดูทีละคนๆ สลากกาลกิณีตกที่มือนายมิตตวินทุกะ

เพื่อความแน่นอน จึงได้มีการทดสอบแบบเดียวกันนี้ถึง 3 ครั้ง คนในเรือทั้งหมดจึงตกลงลอยแพนายมิตตวินทุกะ แพพาเขาไปยังเกาะแห่งหนึ่ง มองเห็นเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร มีประตู 4 ประตู วิจิตรสวยงามมาก นับว่าเป็นนรกขุมหนึ่ง ชื่ออุสสทะนรก แต่นายคนนี้มองเห็นเป็นเมืองที่สวยงาม

เขาเดินชมนั่นชมนี่เพลิน เห็นสัตว์นรกตนหนึ่ง มีจักรคมกริบทูนอยู่บนศีรษะ ถูกจักรบดศีรษะ ได้รับความเจ็บปวดร้องครวญครางอยู่

นายมิตตวินทุกะมองเห็นศีรษะสัตว์นรกเป็นดอกปทุมใหญ่ เห็นเครื่องจองจำ 5 อย่างที่อก เป็นเครื่องประดับอก โลหิตที่ไหลออกมาจากสรีระของสัตว์นรกนั้น เห็นเป็นจันทน์เครื่องลูบไล้กาย เสียงร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด ฟังเป็นเสียงขับเพลงที่ไพเราะอย่างยิ่ง

เขาเดินเข้าไปใกล้กล่าวว่า

"บุรุษผู้เจริญ ดอกปทุมสวยจัง ขอข้าได้ไหม"

"ท่านเอ๋ย มิใช่ดอกปทุม มันเป็นจักรอันคม บดร่างข้าให้เจ็บปวดทรมานอยู่นี้ ท่านไม่เห็นหรือ" สัตว์นรกกล่าวตอบ

"ท่านแสร้งพูดให้เห็นอย่างอื่น ทั้งที่ก็ปรากฏอยู่ชัดๆ ว่า ดอกปทุมสวยงาม ท่านไม่ปรารถนาจะให้ข้าก็ว่ามาเถิด" เขากล่าว

สัตว์นรกนั้นคิดว่า เห็นทีกรรมเราจักสิ้นแล้ว บุรุษคนนี้มารับกรรมแทน จึงโยนจักรให้พร้อมร้องว่า "เชิญท่านผู้เจริญรับเอาดอกปทุมอันสวยงามเถิด"

จักรได้หมุนบดศีรษะของนายมิตตวินทุกะ จนเลือดไหลโซมร่าง เขาได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส เสวยทุกข์อยู่ในนรกยาวนาน กว่าจะสิ้นกรรมชั่ว คือ ตบต่อยทุบตีมารดาบังเกิดเกล้า

คำพังเพยไทยที่ว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" หมายถึงเห็นความชั่วเป็นสิ่งดี เห็นความผิดเป็นสิ่งถูก อาจจะมีที่ไปที่มาจากเรื่องนี้ก็ได้กระมังครับ

ขออย่าให้ผู้คนทั้งหลายเห็นกงจักรเป็นดอกบัวเลย จะได้มีแต่สิริมงคลเกิดขึ้นในชีวิต...



มีต่อ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 6:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การสงเคราะห์บุตร-ภรรยา

มงคลต่อไป คือ สงเคราะห์บุตร-ภรรยา

สงเคราะห์บุตร ก็คือ ทำหน้าที่ต่อบุตร 5 ประการ คือ ห้ามบุตรจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้การศึกษาที่ดี หาสามีภรรยาที่เหมาะสมให้ มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันควร

สงเคราะห์ภรรยา คือ ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ในบ้านเรือนให้ ให้เสื้อผ้าและเครื่องประดับตามโอกาสอันควร

พระสิริมังคลาจารย์ท่านยกนิทานมาประกอบเรื่องเดียว คือ หญิงนอกใจสามี นิทานสั้นๆ ไม่น่าสนใจ ผมจึงไม่นำมาเล่า ขอเปลี่ยนเป็นเรื่องบุตรเกเร ที่พ่อต้องใช้วิทยายุทธ์ทุกอย่างกว่าจะให้เขากลับตัวเป็นคนดี ขอเริ่มเลยนะครับ


จ้างบุตรฟังธรรม

อนาถบิณฑิกะเศรษฐี เศรษฐีใจบุญชาวเมืองสาวัตถี เป็นพุทธสาวกผู้เคร่งครัด ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแข็งขัน ท่านมีบุตรชายโทนนามว่า กาละ ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรเลย พ่อแม่พี่สาวน้องสาว ต่างเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด ทำบุญทำทาน เข้าวัดฟังธรรมกันหมด มีแต่นายกาละคนเดียวที่ไม่สนใจ เอาแต่เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา คบเพื่อนอันธพาล สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่อนาถบิณฑิกะเศรษฐีผู้เป็นบิดามาก

เศรษฐีนั้นเป็นทายกตัวอย่าง เป็นผู้นำชาวบ้านทำบุญกุศลย่อมร้อนใจเป็นธรรมดา เมื่อคำนึงว่าตัวเองสามารถชักนำใครต่อใครให้ศรัทธาเลื่อมใสในทางบุญทางกุศล แต่กลับไม่มีปัญญาอบรมลูกของตัวเองให้เป็นคนดีได้

วันหนึ่งจึงเรียกลูกชายมา กล่าวกับลูกชายว่า "ลูกอยากได้เงินใช่ไหม"

"อยากได้ครับ" เขารีบตอบ

"พ่อจะให้ลูกจำนวนมากทีเดียวแหละ แต่ขอให้ลูกไปวัดฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าทุกวัน ตกลงไหม"

"ตกลงครับ" เขาคิด แค่ไปนั่งฟังเทศน์ ทนๆ เอาหน่อยเดี๋ยวก็ได้ตังค์

ตั้งแต่วันนั้นมา นายกาละก็ไปวัดฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าทุกวัน เขาเลือก "ทำเล" ที่เหมาะ แล้วก็นั่งพิงเสาหลับสบาย เมื่อพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบ ก็ตื่นพอดี รีบกลับบ้านไปทวงค่าจ้างจากพ่อได้เงินไปเที่ยวสบายแฮ

เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างนี้เป็นเดือน นายกาละก็ไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรม ยังคงเที่ยวเตร่สำเริงสำราญเช่นเดิม รสพระธรรมที่เขาไปฟังทุกวัน มิได้ซึมซับหัวใจเขาแม้แต่น้อย เพราะมิได้ตั้งใจฟัง เข้าหูซ้ายออกหูขวา หรือไม่เข้าสักหูเลย (เพราะมัวแต่นั่งหลับ)

เศรษฐีผู้พ่อก็คิดหาอุบายใหม่ คราวนี้บอกว่าจะขึ้นค่าจ้างให้มากกว่าเดิม แต่ต้องจำคำเทศน์ของพระพุทธเจ้ามาเล่าให้ฟัง จำได้มากก็จะได้เงินค่าจ้างมาก

เขาตั้งอกตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา จำได้วันละบทสองบทก็รับเงินจากพ่อไปตามเนื้องาน ว่าอย่างนั้นเถอะ

หลายสัปดาห์ผ่านไป พระธรรมก็ค่อยๆ ซึมซับเข้าในจิตวิญญาณเขาทีละนิดละหน่อยโดยไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าทรงทราบความเปลี่ยนแปลงภายในใจของเขาดี

วันหนึ่ง ทรงเห็นว่านายกาละมี "อินทรีย์แก่กล้าแล้ว" (ภาษาพระ แปลว่า มีความพร้อมที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว) พระองค์ทรงบันดาลให้นายกาละหลงลืม พอจำได้ตอนหนึ่งแล้วกำหนดจะจำตอนต่อไป จำตอนต่อไปได้ก็ลืมตอนต้น เป็นอย่างนี้ไปจนทรงแสดงจบ

พอพระธรรมเทศนาจบลง ที่เขาลืมไปแล้วก็กลับจำได้หมด เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง "สว่างโพลงภายใน" ใจทันที ว่ากันว่า นายกาละนั่งฟังธรรมตั้งแต่ค่ำจนจวนสว่าง จบพระธรรมเทศนาเขาก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล

พอรุ่งเช้าเขานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้าน เขาอุ้มบาตรเดินนำหน้าพระพุทธองค์ตรงไปยังบ้าน

เศรษฐีผู้พ่อเห็นท่าทางของลูกชายวันนี้ผิดแปลกไปจากวันอื่นๆ ก็นึกฉงนอยู่ในใจ นายกาละกุลีกุจอปรนนิบัติพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ โดยมิได้สนใจค่าจ้างดังวันก่อน

เศรษฐีก็นำห่อกหาปณะ (เงิน) มาวางไว้ต่อหน้าลูกชายบอกว่า "เอ้า นี่ค่าจ้างฟังธรรมของลูก" นายกาละอายหน้าแดงโบ้ยให้พ่อนำห่อกหาปณะออกไป

พระพุทธเจ้าตรัสกับเศรษฐีว่า "คหบดี ลูกชายของท่านไม่ยินดีในทรัพย์สินเงินทองหรือสมบัติทางโลกใดๆ แล้ว บัดนี้ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลแล้ว"

พระองค์ตรัสพระคาถาสั้นๆ ว่า

"ยิ่งกว่าเอกราชย์ทั่วทั้งปฐพี ยิ่งกว่าขึ้นสวรรคาลัย ยิ่งกว่าอธิปไตยในโลกทั้งปวง คือ โสดาปัตติผล"

ตั้งแต่นั้นมา ลูกชายเกเรของพ่อคนนี้ไม่เกเรอีกต่อไปแล้ว เธอได้สัมผัสรสแห่งอมตธรรม เป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบันแล้ว ไม่มีทางหวนกลับสู่ที่ต่ำอีกต่อไป

ที่น่าคิดก็คือ "การจ้างให้ลูกฟังธรรม" เป็นเทคนิควิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายน่าจะลองใช้วิธีนี้ดู หลังจากใช้สารพัดวิธีแล้วยังไม่สำเร็จ เด็กมันอยากได้เงินก็ย่อมเต็มใจทำ แต่พอนานๆ เข้าพระธรรมอาจซึมซับใจลึกไปเรื่อยๆ จนละอายที่จะรับค่าจ้างอย่างนายกาละบุตรอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ได้ ใครจะไปรู้ ไม่ลองไม่รู้ครับ...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การงานไม่อากูล

ต่อไปเป็นมงคลข้อว่า อนากุลา จ กมฺมนฺตา (การงานไม่อากูลเป็นมงคลสูงสุด) การงานไม่อากูลคืออย่างไร ? งานที่ไม่ปฏิกูลเน่าเหม็นหรืออย่างไร ไม่ใช่

ความจริงคำนี้ท่านหมายถึง การงานที่ไม่คั่งค้างแบบดินพอกหางหมู เมื่อมีงานมาต้องรีบทำทันทีให้เสร็จตามกำหนด อย่างนี้เรียกว่า การงานไม่อากูล

พุทธภาษิตบทหนึ่งเข้ากับเรื่องนี้ได้ก็คือ "ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺ ฐาตา วินฺทเต ธนํ คือ ผู้ทำการเหมาะ เอาการเอางาน ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้"

ครับ หาได้ไม่ยากเย็นด้วย กลายเป็นเศรษฐีทันตาเห็น

ขอยกนิทานประกอบดังนี้...

จูฬกเศรษฐีกับคนใช้

วันหนึ่งจูฬกเศรษฐี แห่งเมืองพาราณสี เดินทางไปพระราชสำนัก เพื่อเข้าเฝ้าพระราชา ติดตามด้วยคนรับใช้คนหนึ่งระหว่างทางพบหนูตายตัวหนึ่ง จึงเอ่ยขึ้นว่า...

"คนที่มีสายตายาวไกล เอาหนูตายตัวนี้ไป อาจหาเงินได้พอเลี้ยงครอบครัวและรับใช้ประเทศชาติได้"

เพียงหนูตายตัวเดียวนี่นะ จะบันดาลผลไพศาลอะไรปานนั้น คนรับใช้คิด พอดีเศรษฐีพูดต่อว่า ข้าตรวจดูฤกษ์ยามแล้วเวลาที่ข้าพบหนูตายเป็นฤกษ์งามยามดี ใครก็ได้ที่เอาหนูตัวนี้ไปจะเจริญรุ่งเรือง

อัศจรรย์ปานนี้ ใครมันจะไปเอา คนรับใช้คิด เขาจึงเอาหนูตายตัวนั้นติดตัวไป ได้มาแล้วก็มานั่งคิดว่า เอ จะเอาไปทำอะไร เอาละวะ เอาไปขายดีกว่า ว่าแล้วเขาก็นไปขายในตลาดเพื่อเป็นอาหารแมว คนเลี้ยงแมวให้เงินมากากณิกหนึ่ง แกก็เอาเงินนั้นไปซื้อน้ำอ้อยหม้อหนึ่ง เอาไปแจกจ่ายให้ช่างทำดอกไม้ซึ่งไปเก็บดอกไม้ในสวนกลับมาให้ดื่มฟรีคนละจอกสองจอก พวกช่างดอกไม้ก็เห็นในความมีน้ำใจ จึงแบ่งดอกไม้ให้เขาส่วนหนึ่ง

เขาขายดอกไม้เหล่านั้นได้เงินมา 8 กหาปณะ กำลังคิดอยู่ว่าจะเอาเงินนี้ไป "ต่อทุน" อย่างไร บังเอิญคืนหนึ่งมีพายุฝนกระหน่ำต้นไม้โค่นล้มระเนระนาด โดยเฉพาะพระราชอุทยาน ต้นไม้โดนพายุไม้โค่นล้มจำนวนมาก คนเฝ้าอุทยานไม่อาจขนไม้ไปทิ้งได้

บุรุษหนุ่มจึงไปเสนอตัวขอขนต้นไม้ให้ แต่ขอแบ่งเศษไม้ไปทำฟืนบ้าง คนเฝ้าอุทยานบอกว่า ท่านเอาไปหมดเลย ขอแต่ให้ขนออกจากสวนให้หมด

เขาไปซื้อน้ำอ้อยมาแจกเด็กๆ ที่วิ่งเล่นอยู่ ขอแรงให้ช่วยขนไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย มัดเป็นมัดๆ ขนไปกองไว้ที่ประตูอุทยาน ช่างหม้อหลวงซื้อฟืนเหล่านั้นด้วยเงิน 16 กหาปณะ และแถมตุ่มน้ำให้หลายใบ

เขาตั้งตุ่มน้ำไว้ที่ประตูพระนคร บริการคนขนหญ้า 500 คนด้วยน้ำเป็นประจำ จนพวกคนขนหญ้าพูดกับเขาว่า "ท่านมีอุปการคุณแก่พวกเรามาก จะให้พวกเราช่วยอะไรได้บ้าง" เขากล่าวว่า เอาไว้ก่อน ถ้าข้าพเจ้ามีธุระจะไหว้วานท่านแล้วจะบอก

บุรุษหนุ่มวิสัยทัศน์กว้างไกลรายนี้ ไปตีสนิทกับพ่อค้าผู้ประกอบการทั้งทางน้ำและทางบก จนรู้จักสนิทสนมกันดี วันหนึ่งพวกพ่อค้าทางบกมาบอกข่าวว่า พรุ่งนี้พ่อค้าม้า 500 ตัว จะนำม้าเข้าเมือง เขาได้ยินดังนั้นจึงรีบไปหาพวกคนขนหญ้า ขอหญ้าจากพวกเขาคนละฟ่อน แล้วขอร้องพวกเขาว่า เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้ขายหญ้า ขอพวกท่านอย่าเพิ่งขาย พวกคนขนหญ้าเขาก็ยินยอม เพราะบุรุษนี้มีบุญคุณต่อเขา เขาขายหญ้าให้พ่อค้าม้าเหล่านั้นได้เงินมา 500 กหาปณะ

จากนั้นมาไม่นาน เขาก็หันไปติดต่อประสานงานค้าขายกับพวกพ่อค้าเรือ ด้วยความชาญฉลาดและไหวพริบของเขา ทำให้เขาได้เงินมากมาถึง 200,000 กหาปณะ มีฐานะร่ำรวยขึ้นชั่วเวลาไม่นาน

เขานึกถึงบุญคุณของจูฬกเศรษฐี จึงนำเงินหนึ่งแสนบาทไปให้ และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง เศรษฐีไม่รับเงินนั้น คิดว่า "หนุ่มคนนี้ไม่ควรเป็นคนรับใช้เราอีกต่อไป" จึงยกธิดาให้แต่งงานกับเขา

เป็นอันว่า เด็กหนุ่มผู้ขยัน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้เป็นทั้งเศรษฐี และลูกเขยเศรษฐี ด้วยประการฉะนี้แล...


มาณพเกียจคร้าน

เป็นเรื่องราวของลูกเศรษฐีเมืองพาราณสี พ่อเป็นคนเข้าวัดฟังธรรม รักษาศีลห้านิจศีล ลูกเองตอนแรกๆ ก็มีแววว่าจะเป็นเด็กดี แต่เนื่องจากเป็นคนหัวอ่อน จึงถูกเพื่อนชักจูงได้ง่าย บรรดาเพื่อนๆ ก็ล้วนแต่เป็นนักท่องเที่ยวผับเที่ยวเธคกันทั้งนั้น ชวนแกไปเที่ยวไปดื่ม แกก็ไปกับเขาอย่างว่าง่าย

แรกๆ แกก็ดื่มไม่เป็น เพราะพ่อสอนว่าอย่าแตะต้องสุราเมรัย แกก็เชื่อฟังคำสอนของพ่อ เพื่อนรินเหล้าให้ก็ไม่ยอมแตะแม้แต่จิบเดียว เพื่อนๆ จึงร่วมกันวางแผนให้เขาดื่มเหล้าจนได้โดยให้เอาใบบัวมาทำเป็นรูปกระทง เจาะรู เอาจ่อปาก แล้วเทน้ำใสๆ ลงดื่มทีละหยดๆ บอกแกว่าน้ำหวานจากใบบัวอร่อยมาก ให้เขาลองชิมดู

มาณพหนุ่มพาซื่อ ลองดูบ้าง ปรากฏว่ารสน้ำจากใบบัวมีรสชาติแปลกประหลาดซาบซ่าเสียนี่กระไร ดื่มไปหลายกระทงก็ยังไม่พอ ปากก็เรียกร้อง "เอามาอีกๆ"

"หมดแล้ว" เพื่อนๆ บอก

"อะไร ทำไมหมดเร็วนัก" มาณพหนุ่มถาม

"น้ำใบบัวน่ะไม่หมดดอก แต่เงินหมด ไม่มีเงินจะซื้อ"

เรื่องเล็ก เอานี่ไป ว่าแล้วก็ควักเหรียญกษาปณ์ให้ถุงเบ้อเร่อเท่อ ให้เพื่อนไปหาน้ำจากใบบัวมาดื่ม

กว่าจะรู้ว่าน้ำจากใบบัวที่แท้นั้นก็คือสุรา เขาก็ติดเสียจนงอมแงมแล้ว ถอนตัวไม่ขึ้น กลายเป็นนักดื่มคอทองแดงในเวลาไม่นาน พ่อแม่ทักท้วงอย่างไรก็ไม่ฟัง เงินทองก็ร่อยหรอเพราะไปซื้อสุรายาเมามาเลี้ยงเพื่อนๆ

พ่อของเขาเมื่อได้ตระหนักแล้วว่า ลูกชายของตัวเกิดมาเพื่อล้างผลาญทรัพย์สมบัติ จึงฟ้องต่อศาลตัดขาดจากความเป็นพ่อลูกกัน เนรเทศเขาออกจากบ้าน เขาก็ระเหเร่ร่อนเที่ยวกินเที่ยวดื่มกับเพื่อนๆ ไป สักพักหนึ่งเมื่อเงินหมด เพื่อนๆ ก็หดหายไปด้วย เหลืออยู่ตัวคนเดียว

สมกับโคลงสุภาษิตโลกนิติว่า "เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้วแหนงหนี" ยังไงยังงั้น

ในที่สุดก็ต้องถือกะลาเที่ยวขอทาน และจบชีวิตลงอย่างโดดเดี่ยวเดียวดายข้างฝาเรือคนอื่น ตายอย่างหมากลางถนนว่ากันอย่างนั้นเถิด

อาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ ท่านสรุปท้ายด้วยคำคมว่า...

"ผู้หลับในกลางวันเป็นปกติ
เกลียดการลุกขึ้นในกลางคืน
เมาเป็นนิตย์ เป็นนักเลง ไม่อาจครองเรือนได้"

"ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยมาณพผู้ทิ้งงานด้วยอ้างว่า เวลานี้หนาวนัก เวลานี้ร้อนนัก เวลานี้เย็นนัก"



มีต่อ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 6:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การให้ทาน

มงคลข้อต่อไปคือทาน การให้ การให้นั้นแบ่งได้หลายประเภท ที่รู้กันส่วนมาก คือ อามิสทาน (สิ่งของ) ธรรมทาน (ให้ธรรมะ) และ อภัยทาน (ให้ความไม่มีภัย ให้ชีวิต)

พูดถึงทาน นึกถึงคำอีกคำหนึ่ง คือ จาคะ หรือ ปริจจาคะ สองคำนี้ใช้แทนกันได้ ในที่ใดใช้คำเดียวว่า "ทาน" ในที่นั้นย่อมคลุมถึงความหมายของ "จาคะ" ด้วย แต่ถ้าทั้งสองคำมาด้วยกัน ทาน หมายถึงให้สิ่งของ ปริจจาคะ หมายถึงเสียสละกิเลส

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ก็ว่า "จาคะ" หมายถึงสละความหวงแหนสิ่งของที่ตนมีออกจากใจ หรือ "การตัดใจ" นั่นเอง ทาน หมายถึงกิริยาอาการที่ยื่นสิ่งของนั้นให้หลังจากตัดใจแล้ว แต่ถ้าใช้คำว่า ทาน หรือจาคะ โดดๆ ก็รวมทั้งสองความหมายนั้นอยู่ในคำเดียวกัน

มีพุทธวจนะพูดถึงสาเหตุที่คนให้ทานแตกต่างกัน บางคนให้ทานเพราะหวังผล มีจิตผูกพันกันจึงให้ หวังสะสมจึงให้ คิดว่าจากโลกนี้ไปแล้วจะได้กินได้ใช้

บางคนให้ด้วยคิดว่า พ่อแม่ปู่ย่าตายายเคยทำกันมา ไม่ควรให้เสียจารีตประเพณี บางคนให้ด้วยคิดว่า เรามีอยู่มีกิน ควรแบ่งปันให้คนอื่นที่เขาไม่มีอยู่ไม่มีกิน บางคนให้ด้วยคิดว่า การให้ของตนนั้นเป็นเกียรติยศ บางคนให้ด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ท่าน จิตใจจะโสมนัสแช่มชื่น บางคนให้โดยฐานเป็นอลังการเป็นบริขารของจิต (หมายถึงเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้ดีขึ้น ยกระดับจิตให้มีคุณภาพขึ้น)

ท่านชอบให้ทานแบบไหน ก็เลือกเอาตามสบายเถิด

มาฟังนิทานกันดีกว่า...

นางอุมมาทันตี

หญิงยากจนคนหนึ่งรับจ้างทำงานอยู่ 3 ปี จึงได้ผ้าเนื้อดีย้อมด้วยดอกคำมาผืนหนึ่ง ขณะคิดว่าจะตัดเสื้อผ้าใช้เองแลเห็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่งถูกโจรลักจีวรไป จึงฉีกผ้านั้นถวายพระท่านไปครึ่งหนึ่ง เมื่อพระคุณเจ้านุ่งห่มผ้านั้นแล้วมีผิวพรรณผ่องใส นางก็มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง ตั้งจิตอธิษฐานว่า

"ด้วยการถวายผ้านี้ ดิฉันเกิดในชาติใด ภพใด ในภายภาคหน้า ขอให้มีรูปร่างสวยงามหาใครเปรียบมิได้ ชายใดเห็นแล้วหลงรักทันที"

สำเร็จตามปรารถนาครับ นางสิ้นชีพแล้วไปเกิดเป็นเทพธิดาแสนสวยบนสวรรค์ สร้างความโกลาหลปั่นป่วนทั่วสวรรค์เพราะเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายต่างต้องการนางไปอภิรมย์ จุติจากสวรรค์ ก็ได้ไปเกิดเป็นลูกสาวแสนสวยของเศรษฐีเมืองอริฏฐะ แคว้นสีพีรัฐ

ใครๆ ได้ยลโฉมก็คลั่งไคล้ใหลหลง ไม่สามารถดำรงคงสติอยู่ได้ นางจึงมีชื่อว่า อุมมาทันตี (ทำให้คนหลงใหล)

เศรษฐีไม่เห็นใครเหมาะสมกับนาง จึงเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสีพี ขอยกบุตรสาวให้ พระราชารับสั่งให้พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในการดูโหงวเฮ้งไปดูนางก่อน

พราหมณ์ทั้ง 8 ไปเห็นนางเท่านั้น ต่างก็มองตาค้าง โอ้โฮ ทำไมสวยอย่างนี้ เมื่อนางได้นำข้าวปลามาให้รับประทานพราหมณ์ทั้ง 8 ต่างก็ไม่เป็นอันกินข้าว ได้แต่จ้องมองนาง ตักข้าวเข้าปากผิดๆ ถูกๆ ข้าวหกเรี่ยราด จนนางโมโหว่า "นี่หรือพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญดูลักษณะคน เซอะๆ ซะๆ ยังกับบ้าใบ้ไสหัวไป"

นางสั่งไล่พราหมณ์เหล่านั้นไป ทำให้พวกเขาเจ็บใจมากที่ถูกดูหมิ่น จึงไปกราบทูลพระราชาว่า นางงามที่ว่านั้นมิได้งามจริงดังเล่าลือดอก "งามแต่รูปจูบไม่หอม" ที่แท้นางเป็นกาลกิณีบ้านเมือง ขืนเอามาไว้ในราชสำนักจะมีแต่ความวิบัติ พะย่ะค่ะ

พระราชาเลยเลิกคิดจะนำนางเข้าวัง ผู้เป็นพ่อจึงยกนางให้เป็นภรรยาของเสนาบดี วันหนึ่งพระราชาเสด็จเลียบพระนครซึ่งจะต้องผ่านมาที่บ้านเสนาบดีด้วย เสนาบดีผู้สามีสั่งภรรยาว่าให้หลบอยู่แต่ในบ้าน อย่าโผล่หน้ามาให้พระราชาเห็นเป็นอันขาดสั่งแล้วก็เข้าวังไป

พระเจ้ากรุงสีพีขึ้นทรงช้างมงคล เสด็จเลียบพระนครไปตามลำดับ ตอนพลบค่ำได้เสด็จผ่านมาทางคฤหาสน์เสนาบดี นางอุมมาทันตีแอบมองทางหน้าต่างเพื่อชมขบวนเสด็จ บังเอิญพระราชาแหงนพระพักตร์สอดส่ายสายพระเนตรมาทางหน้าต่าง ทอดพระเนตรเห็นนางพอดี เกิดปฏิพัทธ์ในพระราชหฤทัย เสด็จกลับไปวังแล้ว มิอาจเสวย มิอาจบรรทมได้ตามปกติ เพราะพิษรักแรกพบ ว่าอย่างนั้นเถิด

เสนาบดีรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ จึงออกอุบายให้คนใช้คนสนิทคนหนึ่งไปหลบอยู่ในโพรงต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งใกล้กับเทวาลัย ซักซ้อมกันอย่างดี รู้กันสองคน

วันหนึ่งเสนาบดีก็ไปยังเทวาลัย กล่าวดังๆ ว่า

"ข้าแต่เทวะผู้ประเสริฐ ระยะนี้พระราชาของข้า ไม่ทรงพระสำราญ มิอาจเสวย มิอาจบรรทมได้ตามปกติ ไม่ทราบว่าเกิดเภทภัยอันใด จะแก้ไขอย่างไร"

เสียงเทวะ (ปลอม) ดังก้องมาจากโพรงไม้ใกล้ๆ ว่า "พระราชาของเจ้าเกิดปฏิพัทธ์ในภรรยาของเจ้า อยากได้นางเป็นมเหสี ถ้าไม่ได้นาง พระราชาจักสวรรคตภายใน 7 วันนี้ เจ้าจะคิดเห็นประการใด สุดแต่เจ้าเถิด"

เสนาบดีเข้าเฝ้าพระราชา และกราบทูลคำพูดของเทวะผู้ประเสริฐให้พระองค์ทรงทราบ และยินดีถวายนางอุมมาทันตีภรรยาของตน เพื่อรักษาพระชนม์ชีพของพระราชาไว้

เบื้องแรกพระราชาก็ปลื้มพระราชหฤทัยที่จะได้นางมาเป็นสมบัติ ซึ้งในความจงรักภักดีของเสนาบดี ที่ยอมสละได้แม้กระทั่งของรักของหวงที่สุด แต่คิดไปคิดมา เกิดความละอายพระทัยว่าพฤติกรรมของพระองค์รู้ไปถึงไหนอายไปถึงนั่น วิญญูชนติเตียนเทวดาไม่ชื่นชม พรหมไม่สรรเสริญ อย่างแน่นอน

จึงรับสั่งขอบคุณในความจงรักภักดีของเสนาบดี แต่ทรงรับไว้ไม่ได้

เรื่องนี้จบลงด้วยความชื่นชมในพระราชาเมืองสีพี ที่มีหิริโอตตัปปะ ไม่รับภรรยาของคนอื่น ทั้งที่สามียินดียกให้ คุณธรรมอย่างนี้หายากครับ

เรื่องนี้ผู้รจนาคัมภีร์ต้องการชี้ว่า การถวายทานด้วยความเลื่อมใส ย่อมได้อานิสงส์ตามปรารถนาแล...


ลูกสาวนายมาลาการ

ในเมืองสาวัตถี มีธิดานายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้) อายุ 16 ปี มีรูปงาม เฉลียวฉลาด มีบุญมาก วันหนึ่งนางเอาขนมกุมมาสสามชิ้นใส่ตะกร้าดอกไม้ ไปสู่สวนดอกไม้ เห็นพระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระนครพร้อมภิกษุสงฆ์ก็ดีใจ เอาขนมกุมมาสใส่บาตร เจริญปีติพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ยืนอยู่ ณ มุมหนึ่ง

พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงแย้มพระสรวลพระอานนท์เห็นดังนั้นจึงกราบทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระสรวลพระพุทธองค์ตรัสว่า "อานนท์ กุมารีคนนี้จะได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล ในวันนี้ทีเดียว ด้วยการถวายขนมกุมมาสนี้"

นางไปยังสวนดอกไม้ เก็บดอกไม้ใส่ตะกร้าพลางร้องเพลงด้วยความสำราญใจ หารู้ไม่ว่ามีบุรุษแปลกหน้ายืนแอบฟังอยู่

บุรุษที่ว่านี้เป็นถึงพระราชานามว่าปเสนทิโกศล พระองค์สู้รบกับพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระเจ้าหลาน ด้วยความขัดแย้งบางอย่างที่ติดพันกันมานาน บังเอิญทรงพ่ายแพ้ เสด็จหนีมาได้ยินเสียงร้องเพลงแว่วมาจากสวนดอกไม้ จึงทรงชักม้าที่นั่งมายังสวน ทอดพระเนตรเห็นหญิงสาวเจ้าของเสียงเพลง ก็ทรงมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ จึงเสด็จเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วย

และทรงทราบว่านางยังไม่มีเจ้าของ จึงให้นางขึ้นม้าทรงเสด็จเข้าวังด้วย ทรงส่งราชบุรุษไปยังตระกูลของนายมาลาการจัดการสู่ขอตามประเพณี และสถาปนาในตำแหน่งใหญ่โต ชนิดที่ใครคาดคิดไม่ถึง นี่เป็นเพราะผลแห่งการถวายขนมกุมมาสแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใส ทานที่ถวายแด่พระพุทธองค์ จึงบันดาลผลปัจจุบันทันตาเห็นด้วยประการฉะนี้แล



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ค.2007, 6:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประพฤติเป็นธรรม

คราวนี้ถึงข้อที่ว่า การประพฤติธรรมเป็นมงคลอันสูงสุด หัวข้อฟังดูกว้างๆ ประพฤติธรรม คือ ประพฤติธรรมข้อไหน หรือประพฤติธรรมอย่างไร เพราะเวลาพูดลอยๆ ว่า "ธรรม" หมายความได้หลายอย่างอย่างที่จะรัดกุมที่สุดก็เห็นจะเป็น "ความถูกต้องดีงาม" ในที่นี้การประพฤติถูกต้องดีงามนั้นประพฤติอย่างไร ยิ่งพูดไปก็ยิ่งงง เอาอย่างนี้ดีกว่า ลองไปดูพระอรรกถาจารย์ผู้แต่งหนังสือดีกว่า ฉบับ original หรือ "เจ้าเก่า" เขาว่าไว้อย่างไร ท่านว่าดังนี้ครับ...

การประพฤติธรรม ในที่นี้คือประพฤติธรรมที่กายสุจริต 3 วจี สุจริต 4 และ มโนสุจริต 3

กายสุจริต 3 ก็คือ ไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ลักไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินคนอื่น ไม่ผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของรักของหวงของคนอื่น

วจีสุจริต 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดจาส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ

มโนสุจริต 3 คือ ไม่คิดพยาบาทเบียดเบียนใคร ไม่คิดละโมบจ้องจะเอาของคนอื่น มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ผู้ประพฤติความถูกต้องดีงามในด้านกาย วาจา ใจ ดังกล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่าเป็นผู้ประพฤติธรรม ผลได้อันเป็นมงคลสูงสุดก็คือ ความอยู่ดีมีสุขในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องห่วงว่าจะไปหัวหกก้นขวิดที่ไหน "ไปดี" แน่นอน พระท่านว่ามีสุคติโลกทรัพย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ไม่เหมือนกับพวกที่เมายาบ้า จี้ตัวประกัน ฆ่าเขาจนสิ้นชีพก่อนที่ตำรวจจะช่วยทัน พวกนี้ยมบาลถามหาตั้งแต่ยังไม่ตายแล้ว "เมื่อไรมันจะมาเยี่ยมเสียทีวะ ข้าจะได้เตรียมต้อนรับให้สมเกียรติ"

พระมิลกเถระ

พระคุณเจ้ารูปนี้เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์นั้น ได้กระทำการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมามาก

วันหนึ่งบริโภคเนื้อปิ้งไปแล้ว เกิดกระหายน้ำ เห็นหม้อน้ำตั้งอยู่ใกล้ๆ ณ ที่นั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอยู่ จึงไปเปิดหม้อน้ำเพื่อจะดื่ม แต่ไม่มีน้ำเหลืออยู่ จึงโกรธด่าพระว่า "ท่านฉันแล้วก็นอนหรือไง ไม่ตักน้ำใส่ตุ่ม ดูสินี่เราจะดื่มก็ไม่มีสักหยด"

พระเถระคิดว่า "เอ เราก็ตักน้ำเต็มตุ่มเมื่อกี้นี้เอง ไฉนประสกนายนี้จึงบอกว่าไม่มีน้ำ" จึงเดินไปเปิดดูก็เห็นตุ่ม จึงเอาสังข์ตักน้ำให้เขาดื่มจนอิ่ม

เขาดื่มน้ำแล้วเกิดความสลดใจว่า...เราคงทำบาปมามากหม้อน้ำเต็มๆ ยังมองไม่เห็นน้ำ เราตายไปแล้วชะตากรรมจะเป็นเช่นไรหนอ คงไม่พ้นนรกแน่นอน จึงตัดสินใจขอบวชในสำนักของพระเถระ

พระเถระให้กรรมฐาน ให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ล้วนเป็นของไม่สะอาด เธอนั่งพิจารณาอย่างไรๆ ก็เห็นแต่บรรดาเนื้อที่ตนฆ่า เห็นสถานที่ฆ่า เห็นมีด เห็นเลือด เจริญกรรมฐานอย่างไรก็ไม่สำเร็จ

เมื่อเธอไปเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ท่านจึงให้ไปตัดไม้มะเดื่อสดมากองไว้ ให้เอาไฟจุดเผา ภิกษุใหม่ใส่ไฟสุมเข้าทั้ง 4 ด้าน ก็ไม่สามารถจุดไฟได้ อาจารย์จึงบอกว่า ถ้าเช่นนั้น เธอหลีกไป เราจะจุดเอง ว่าแล้วก็นั่งเข้าสมาบัติ บันดาลให้ไฟจากอเวจีลุกไหม้กองไม้มะเดื่อทันที

เขาเห็นไฟอเวจี ขนลุกพองสยองเกล้า คิดว่า ถ้าเราสึกไปแล้วเราคงถูกไฟอเวจีเผาอย่างแน่นอน จึงกราบเรียนพระเถระว่า กระผมขอตั้งใจปฏิบัติธรรมภายใต้การสั่งสอนอบรมของท่านอาจารย์ อาจารย์บอกว่า ได้ ตั้งแต่นี้ไปเธอต้องปฏิบัติธรรมอย่างเข้มงวด พยายามฝ่าไฟอเวจีออกไปให้ได้

พระหนุ่มเจริญวิปัสสนากรรมฐานวันแล้ววันเล่า อย่างพากเพียรต่อเนื่อง จิตก็ค่อยๆ เข้าที่หยั่งลึกลงตามลำดับ

วันหนึ่งเธอกรองน้ำดื่ม แล้ววางหม้อน้ำไว้ที่ขา ยืนคอยให้น้ำสะเด็ดขาดสาย ได้ยินเสียงอาจารย์สอนแว่วมาว่า...

"ยศย่อมเจริญแก่ผู้หมั่นขยัน มีสติ มีการงานสะอาดใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ สำรวมระวังอยู่โดยธรรม ไม่ประมาท"

เธอคิดว่า คนไม่ประมาทก็เป็นเช่นเรา คนหมั่นขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ก็เป็นเช่นเรา คนสำรวมระวัง เป็นอยู่โดยธรรม ก็เป็นเช่นเรา

ความหมายตรงนี้ก็คือ เธอเมื่อพิจารณาตัวเองแล้ว เห็นว่ากำลังปฏิบัติตนได้ตามที่อาจารย์กล่าว แล้วมีความปีติปลื้มใจแล้วยืนอยู่นั้นแหละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในที่สุดก็สามารถตัดวงจรของกิเลส ได้บรรลุพระอรหัตตผล ฉะนี้แล...


นายโคฆาต

กระทาชายนายหนึ่ง แกชอบกินเนื้อเป็นชีวิตจิตใจ ในชีวิตนี้ไม่มีโอกาสเป็นนักมังสวิรัติเป็นอันขาด ว่าอย่างนั้นเถอะ

แกเลี้ยงโคไว้มากมาย เพราะแกชอบเนื้อโคเป็นพิเศษ โดยเฉพาะลิ้นโค เฉือนมาสดๆ ย่างอย่างดี กินกับน้ำพรรค์หยั่งว่าเจ้าประคุณเอ๋ยเห็นสวรรค์รำไร

วันหนึ่งเป็นวันพระ แม่ครัวหาเนื้อมาทำอาหารให้นายไม่ได้จึงเอาอย่างอื่นมาทำให้เจ้านาย เจ้านายกลับมาจากงาน กำลังหิวเชียว สั่งให้ยกสำรับกับข้าวมาตั้ง เปิดฝาดูเห็นมีแต่อย่างอื่นไม่มีเนื้อสักชิ้น จึงถามว่า ทำไมไม่มีเนื้อวะ

"วันนี้ วันพระ เจ้านาย" คนครัวบอก

"วันพระ มันเกี่ยวอะไรกับกระเพาะของข้า" นายชักยัวะ

"วันพระเขาไม่ฆ่าสัตว์ จึงไม่มีเนื้อขายเจ้าค่ะ" แม่ครัวกล่าวตอบ ท่าทางหวาดๆ กลัวชามข้าวบินใส่กบาล

เจ้านายไม่ยอม จะกินเนื้อให้ได้ จึงคว้ามีดคมกริบ เดินลงเรือนเข้าไปยังคอกโค จับปากโคตัวหนึ่งงัดขึ้นดึงลิ้นมันออกมาเฉือนลิ้นขาดฉับ เสียงวัวร้องด้วยความเจ็บปวด ได้ยินไปทั่วทั้งบริเวณ เขาหัวเราะฮ่าๆ กูไม่อดแล้วโว้ย สั่งให้แม่ครัวไปปิ้งมาให้ด่วน พยาธิในท้องกำลังร้องแล้ว

เลือดออกจากปากโคไม่หยุด จนในที่สุดมันหมอบตายอยู่ตรงนั้น เจ้านายไม่สน ลิ้นปิ้งหอมฉุยกำลังถูกยกมาเทียบ ล่อน้ำลายสออยู่พอดี

เขายกลิ้นปิ้งเข้าปากกัดกร้วมด้วยความหิว เวรกรรมสิ้นดีกลับกัดลิ้นตนเองขาด เลือดกระฉูดออกมา อาจเป็นด้วยผลกรรมทันตาเห็นก็ได้ บันดาลให้เลือดเขาไหลไม่หยุด เขาร้องด้วยความเจ็บปวดทรมาน

ดิ้นไปมาอยู่พักใหญ่ ก็สิ้นใจตายไปตามโคผู้น่าสงสาร

ไม่ต้องถามว่า ตายแล้วเขาไปไหน โน่น ไปเป็นศิษย์ของยมบาลในนรกโน่นแหละครับ....


นายจุนทสูกริก

ถ้าเป็นคนไทย ควรจะเรียกว่า นายจุ่น หรือ เจ้าสัวจุ่น นายจุ่นแกชอบกินหมูเป็นชีวิตจิตใจ เลี้ยงเอง ฆ่าเอง กินเอง ไปซื้อตามตลาดมันไม่อร่อย เสี่ยงต่อโรคภัย

แกชอบกินหมูหัน หมูหันของแกตำรับพิสดารไม่เหมือนใคร แกจะเลือกเอาหมูรุ่นๆ มาฆ่าโดยวิธีทุบให้น่วม ไม่ให้เลือดออก เสร็จแล้วเอาน้ำร้อนกรอกปาก รีดขี้ออกให้หมด ล้างให้สะอาด เอาน้ำร้อนลวก ขูดหนังออกให้หมดแล้วย่างไฟ เรียกว่า ทำหมูหันตำรับพิเศษ ย่างสุกได้ที่แล้วยกลงหั่นเนื้อกินเอร็ดอร่อย

แกกินอย่างนี้แทบทุกวัน แน่นอน หมูรุ่นๆ ถูกแกฆ่าทำอาหารแต่ละครั้ง ก็ร้องอี๊ดอ๊าดๆ ด้วยความเจ็บปวดทรมานได้ยินไปทั่วบ้าน จนชาวบ้านเขาชาชินกับเสียงนั้นแล้ว

วันหนึ่งนายจุ่นล้มป่วยด้วยโรคหาสาเหตุมิได้ อาการทรุดหนักอย่างรวดเร็ว มีอาการเพ้อคลั่ง คลานสี่ขาและส่งเสียงร้องครวญครางเหมือนหมูถูกทุบ ลูกหลานต้องจับมัดไว้กับเสาบ้าน กระนั้นก็ยังดิ้นทุรนทุรายจนเชือกขาด คลานร้องเป็นเสียงหมูถูกทุบเป็นที่เวทนาของผู้พบเห็น

เขาทรมานอยู่ 7 วัน จึงขาดใจตาย วันที่แกจะตายนั้นเป็นวันพระ พระคุณเจ้าจากพระวิหารเชตวันเข้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินเสียงนายจุ่นทะร้องเหมือนเสียงหมูถูกทุบอย่างทรมาน นึกว่านายจุ่นทะแกฆ่าหมูเหมือนเคย ได้แต่ปลงสังเวชกลับไปวัดกราบทูลพระพุทธองค์ว่า...

"นายจุ่นทะฆ่าหมูไม่เว้นแม้แต่วันธรรมสวนะ (วันพระ) พระพุทธเจ้าข้า"

พระพุทธองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นายจุ่นทะเธอมิได้ฆ่าหมู เสียงที่พวกเธอได้ยินนั้นเป็นเสียงของเขาเอง เขาถูกกรรมตามทัน ร้องเหมือนหมูถูกทุบ ทำกาละ (ตาย) แล้ว หลังจากพวกเธอกลับมาไม่นาน"

ครับ บาปกรรม ใครทำใครได้ ตอนบาปมันไม่ให้ผลก็กร่างได้อยู่ ถึงวันนั้นเมื่อใด ก็คงเอามือกุมขมับกลัวใครเขาจะมาลั่นไกใส่สมองกระจุยกระจาย ดุจดังที่ตัวทำกับคนอื่น...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 5:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การสงเคราะห์ญาติ

มงคลชัยต่อไป คือ สงเคราะห์ญาติ ญาติ คือ พี่น้องสืบเชื้อสายวงศ์วานทั้งฝ่ายบิดาและมารดา

การสงเคราะห์ ก็คือ การช่วยเหลือ อุดหนุนเจือจุน ด้วยอามิสสิ่งของบ้าง ด้วยธรรมะบ้าง คือ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่พวกเขาบ้างตามโอกาสอันควร

การสงเคราะห์ญาติเช่นนี้ เป็นการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีงามเป็นเหตุให้มีความรักใคร่ปรองดองกันในหมู่ญาติ มีความอบอุ่นอย่างยิ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด

พระพุทธเจ้าเองยังทรงนับว่าการอนุเคราะห์พระประยุรญาติ เป็นพุทธจริยาวัตรอย่างหนึ่งในสามอย่าง และก็ทรงบำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ ดังจะยกนิทานมาเล่าต่อไป

พญาสุนัข

สุนัขที่ว่าเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิด เป็นหัวหน้าฝูงสุนัขอยู่ในป่าช้านอกเมือง วันหนึ่งเมื่อฝนตกหนัก หนังหุ้มรถ และเชือกหนังที่ผูกรถเปียกน้ำ พวกสุนัขภายในวังก็พากันมากัดมาแทะเป็นอาหารหมด

นายสารถีกราบทูลพระราชาว่า สุนัขนอกเมืองมุดอุโมงค์เข้ามากัดหนังหุ้มราชรถหมด พระราชาทรงพระพิโรธ สั่งให้ฆ่าสุนัขป่าทุกตัวที่พบ พญาสุนัขโพธิสัตว์เห็นว่าความหายนะกำลังมาสู่ญาติๆ ของตน จึงตัดสินใจเข้าวังเพื่อช่วยเหลือญาติๆ ของตน

ก่อนเข้าไป พระโพธิสัตว์ได้แผ่เมตตาจิตไปยังพระราชาข้าราชบริพารและคนทั้งปวงที่พบเห็น ด้วยอำนาจเมตตาจิตของพระโพธิสัตว์ ไม่มีใครขัดขวางและคิดทำอันตราย พระโพธิสัตว์จึงเล็ดลอดไปจนได้พบกับพระราชา

พระโพธิสัตว์นั่งที่ท้องพระโรงต่อพระพักตร์พระราชา พวกราชบุรุษเห็นเข้าก็จะเข้ามาไล่ พระราชารับสั่งให้ถอยไป ไม่ต้องทำอันตรายพระโพธิสัตว์

"ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งให้ฆ่าสุนัขทั้งหลายหรือ" พระโพธิสัตว์ทูลถามพระราชา

พระราชารับสั่งว่า "ใช่ เราสั่งให้ฆ่าเอง เพราะพวกมันมากัดหนังหุ้มรถของเรา"

"พระองค์รับสั่งให้ฆ่าสุนัขทั้งหมดหรือยกเว้นบ้าง"

"ฆ่าเฉพาะสุนัขนอกวัง ยกเว้นสุนัขในวัง"

"พระองค์ทรงรู้หรือว่าสุนัขตัวไหนผิด หรือไม่ผิด"

"ข้อนั้นเราไม่รู้ดอก แต่เราเชื่อตามที่นายสารถีเขาบอกให้ทราบ"

"เมื่อยังไม่ทราบแน่ชัด การสั่งฆ่าสุนัขป่า เว้นสุนัขในวังนั้นเป็นการอคติ เพราะความหลงไม่รู้จริง ไม่เที่ยงธรรมสมกับที่เป็นผู้ปกครองประเทศ น่าจะสืบสวนไตร่ตรองให้ถ่องแท้ก่อนเพื่อกันความผิดพลาด"

สุนัขโพธิสัตว์ได้ที ก็แสดงธรรมโปรดพระราชาเป็นการใหญ่ถ้าเป็นเรื่องจริงคงโดนเตะร้องเอ๋งไปแล้ว แล้วก็กล่าวต่อว่า...

"ความข้อนี้ก็น่าสงสัยอยู่ สุนัขนอกวังไม่สามารถเข้ามาในวังได้ เพราะมีรั้วรอบขอบชิด จะว่ามุดอุโมงค์เข้ามาก็ยากที่จะเข้ามาได้ เพราะปากอุโมงค์มีตาข่ายกั้นอยู่ หนังหุ้มราชรถทั้งหลายคงจะถูกสุนัขในพระราชวังนั้นแหละครับกัดกิน หาใช่สัตว์อื่นไม่ ถ้าจะให้รู้จริง ให้เอายาให้สุนัขในวังกินแล้วสำรอกออกมา ก็จะสามารถรู้ได้ทันที"

พระราชาได้พระสติ รับสั่งให้สำรวจอุโมงค์ทุกแห่ง ปรากฏว่ามีตาข่ายปิดไว้อย่างแน่นหนา ไม่มีสัตว์ใดสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ จึงยอมรับความจริงไปชั้นหนึ่ง ขั้นต่อไป รับสั่งให้เอายากรอกปากสุนัขในวังทุกตัว สักพักหนึ่งพวกมันก็สำรอกเอาหนังหุ้มและผูกราชรถออกมา ความจริงปรากฏเป็นขั้นที่สองแล้ว พระราชาจึงทรงยอมรับว่า พระองค์ได้ผิดพลาดแล้ว

ตั้งแต่วันนั้นมาพระราชาได้พระราชทานอภัยทานแก่สุนัขรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วย แถมยังพระราชทานอาหารแก่สุนัขป่าบริวารของพระโพธิสัตว์เป็นประจำอีกด้วย

พญาสุนัขได้สงเคราะห์ญาติของตน ด้วยประการฉะนี้...


พญากา

คราวที่แล้วเล่านิทานสุนัขโพธิสัตว์ สงเคราะห์ญาติของตน คราวนี้ก็เป็นเรื่องพญากา เรื่องมีว่า พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญากา อาศัยอยู่ในป่าใกล้เมืองพาราณสี (เมืองอื่นไม่ค่อยดังเหมือนเมืองนี้) พร้อมกับญาติพี่น้องเป็นฝูง

วันหนึ่งพราหมณ์ปุโรหิตคนหนึ่งเดินกลับเข้าเมืองหลังจากอาบน้ำที่ท่าน้ำ ขณะนั้นกาสองตัวเห็นพราหมณ์เดินมา กาตัวหนึ่งพูดว่า ตนจะขี้รดหัวพราหมณ์คนนี้ให้ดู อีกตัวห้ามว่า อย่าไปตอแยกับเขา เขาเป็นถึงปุโรหิต เขาโกรธขึ้นมาจะลำบาก

กาตัวนั้นไม่เชื่อ จึงบินไปถ่ายลงบนศีรษะพราหมณ์ทันที แล้วก็ร้องกากาหนีไป พราหมณ์โกรธจนหน้าเขียว ผูกอาฆาตว่าไอ้กาจัญไร กูเจอมึงที่ไหนจะฆ่าให้สมแค้น พราหมณ์แกไม่ผูกอาฆาตเฉพาะกาตัวที่ขี้รดหัวแก เพราะแกเองก็จำไม่ได้ แต่แกอาฆาตไปหมดทุกตัว

ขณะกำลังวางแผนอยู่ว่าจะแก้แค้นพวกกานี้อย่างไร ก็เกิดเหตุอย่างหนึ่งขึ้น คือ สตรีนางหนึ่งตากข้าวเปลือกไว้แล้วนั่งเฝ้าอยู่ แพะตัวหนึ่งมากินข้าวเปลือก นางจึงเอาดุ้นไฟตีแพะ ไฟไหม้ขนแพะ แพะวิ่งไปเอาสีข้างถูกระท่อมหญ้าข้างโรงช้าง ไฟไหม้กระท่อมหญ้า แล้วลามไปไหม้โรงช้างหลวง ไหม้ช้างเป็นแผลเหวอะหวะ

สัตวแพทย์ไม่สามารถรักษาแผลให้หายขาดในเร็ววันได้ ปุโรหิตจึงเข้าไปกราบทูลพระราชาว่า ยาที่รักษาแผลช้างได้วิเศษนัก คือ น้ำมันเหลวของกา พระราชาจึงรับสั่งให้ฆ่ากาทั้งหลายทุกตัวที่พบเห็น เพื่อเอาน้ำมันเหลวมารักษาช้าง

ราชบุรุษก็ฆ่ากาตายทีละตัวสองตัว ในไม่ช้าก็ตายเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้น้ำมันเหลวจากกาแม้แต่นิดเดียว ภัยอันใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นแก่ฝูงกาแล้ว

พญากาโพธิสัตว์คิดจะช่วยเหลือญาติของตนให้พ้นภัย จึงหาทางแอบไปพบพระราชาจนได้ในวันหนึ่ง เกาะอยู่ในที่สมควรแล้วกราบทูลพระราชาว่า...

"ข้าแต่มหาราช พระองค์ก็ทรงทราบอยู่แล้วมิใช่หรือว่ากาทั้งหลายไม่มีน้ำมันเหลว เพราะเหตุสองประการ คือ

(1) กามีจิตสะดุ้งหวาดภัยเป็นนิตย์

(2) มนุษย์ทั้งหลายคอยเบียดเบียนกาเป็นนิตย์

กาจึงไม่มีน้ำมันเหลว ไม่มีมาแล้วในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตก็จักไม่มี

"ข้าแต่มหาราช เรื่องนี้มีเลศนัย คือ ปุโรหิตของพระองค์นั้นมีความอาฆาตต่อฝูงกาด้วยเหตุส่วนตัว และคิดจะกำจัดพวกกาให้สูญพันธุ์ จึงกราบทูลพระองค์เช่นนั้น ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงใช้ดุลยพินิจด้วยเถิด พระเจ้าข้า"

พระราชาทรงใคร่ครวญดู ก็ทรงรู้ความจริงตามที่พญากากราบทูล จึงขอโทษพญากา และทรงให้คำมั่นว่าจะไม่ให้ใครฆ่าฝูงกาอีกต่อไป

จากนั้นก็ประกาศพระราชทานอภัยทานแก่พวกกา รวมทั้งสัตว์อื่นๆ ด้วย และพระราชทานอาหารแก่ฝูงกาเป็นประจำ

นี้ก็คือเรื่องหนึ่งที่สัตว์ช่วยเหลือญาติของตนให้พ้นภัย


พระพุทธองค์สงเคราะห์ญาติ

พระพุทธองค์ทรงอนุเคราะห์ช่วยเหลือพระประยุรญาติหลายครั้งหลายครา อาทิ...

ครั้งหนึ่ง...ทรงระงับสงครามแย่งน้ำ

เนื่องจากศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ทั้งสอง มีนิวาสถานอยู่ริมฝั่งน้ำโรหิณีทั้งสองข้าง และต่างก็อาศัยน้ำในแม่น้ำนี้ทำการเกษตรกรรม กษัตริย์เมืองกบิลพัสดุ์ และเมืองเทวทหะ เขาทำนากันนะครับ พุทธประวัติเล่าถึงฤดูทำนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแรกนาขวัญด้วยพระองค์เอง

เนื่องจากน้ำในแม่น้ำโรหิณี บางปีก็น้อย ปีไหนน้ำน้อยก็ไม่ค่อยเพียงพอสำหรับการทำนา ผู้คนทั้งสองฝั่งก็กระทบกระทั่งกัน การแย่งน้ำกันมีมาเรื่อยๆ มิใช่เพิ่งจะมีหลังพระพุทธองค์เสด็จออกผนวช ก่อนหน้านั้นก็ประทุครั้งหนึ่งแล้ว ถึงขั้นจะทำสงครามกับฝ่ายโกลิยะ แต่ในที่สุดได้มติยกเลิก

และแล้วสงครามก็เกิดขึ้นจริงๆ หลังจากยับยั้งไว้หลายครั้งหลายครา กองทัพทั้งสองเมืองก็ยกออกมาเพื่อสู้รบกัน กะให้รู้ดำรู้แดงกันเสียทีว่าใครยิ่งใหญ่กว่ากัน ขณะจะประจัญบานกันอยู่นั้น พระพุทธองค์เสด็จมาพอดี

ทรงเรียกแม่ทัพนายกองทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็พระประยุรญาติของพระพุทธองค์ทั้งนั้น มาตรัสถามเชิงตำหนิว่า

"มหาบพิตรทั้งหลาย พวกท่านทำอะไรกัน"

"สู้รบกัน พระพุทธเจ้าข้า" เสียงกราบทูลอ้อมแอ้ม

"รู้แล้วละว่าสู้รบกัน จะสู้รบกันไปทำไม" ตรัสถามอีก

"เพื่อเอาน้ำไปทำนา พระเจ้าข้า"

"แค่เอาน้ำไปทำนา แบ่งกันคนละครึ่งไม่ได้หรือ ทำไมต้องถึงกับรบราฆ่าฟันกัน"

"ไม่มีฝ่ายไหนยอม พระเจ้าข้า ต่างฝ่ายก็จะเอามากกว่า" สีเสียงหนึ่งลอดเข้ามา

พระพุทธองค์ตรัสเตือนสติว่า

"มหาบพิตรทั้งหลาย พวกท่านคิดดูซิเลือดซึ่งไหลนองเพราะการสู้รบครั้งนี้ กับน้ำในแม่น้ำ อย่างไหนมีค่ามากกว่ากัน ถ้าจะสูญเสีย อะไรจะสูญเสียมากกว่ากัน"

"เลือดมีค่ามากกว่า และจะสูญเสียมากกว่า พระเจ้าข้า" เสียงตอบหลังจากนิ่งไปครู่ใหญ่

"แล้วทำไมพวกท่านจึงยอมเสียเลือดเสียเนื้อ เพราะเรื่องเล็กน้อยเพียงแค่นี้ จงหยุดเสียเถอะ"

กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายก็ยอมฟังแต่โดยดี ยกทัพกลับไปในที่สุดสงครามเลือดซึ่งทำท่าว่าจะเกิดขึ้น ก็ระงับไป เพราะพระเมตตาบารมีของพระพุทธองค์ทรงช่วยไว้

เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทในการสงเคราะห์พระญาติของพระพุทธองค์เด่นชัด เด่นชัดจนต้องสร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับชาวพุทธ เป็นพระพุทธรูปในท่าทรงยืนยกพระหัตถ์ขวาทำท่าห้ามปราม

ครอบครัวไหนญาติพี่น้องไม่ปรองดอง น่าจะนำพระปางห้ามญาติไปบูชานะครับ จะได้เลิกทะเลาะเบาะแว้งกัน...


ทรงห้ามพระเจ้าวิฑูฑภะ

เมื่อครั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งเป็นนายของเหล่าศากยะทรงส่งคณะทูตไปขอขัตติยนารี จากศากยวงศ์ เพื่ออภิเษกสมรสเป็นอัครมเหสี พวกศากยะที่หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีและสายเลือดอันบริสุทธิ์ของตน ส่งลูกสาวนางทาสีอันเกิดแต่เจ้าชายมหานามให้เรียกว่า "ย้อมแมวขาย" นั้นแหละครับ

ตอนหลังความแตก เจ้าชายน้อยพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเยี่ยมพระเจ้าตาที่เมืองกบิลพัสดุ์ ถูกพวกศากยะดูหมิ่นขนาดหนัก หาว่าเป็นลูกนางทาสี เวลาเจ้าชายน้อยลุกจากที่นั่ง เขาจะเอาน้ำนมมาราดขัดเสนียดจัญไรออก เจ้าชายน้อยผูกอาฆาตในใจว่า "ฝากไว้ก่อนเถอะ ต่อไปกูมีอำนาจมาเมื่อใด กูจะเอาเลือดในลำคอพวกนี้ล้างตีนกูให้สมแค้น"

พระเจ้าปเสนทิโกศลหลังจากทราบเรื่อง ก็ทรงพิโรธ สั่งปลดทั้งแม่และลูกออกจากตำแหน่ง ที่ได้พระพุทธองค์มาทรงช่วยไว้ ทรงอธิบายว่าสายเลือดข้างแม่ไม่สำคัญ โอรสกษัตริย์อันเกิดแต่สตรี ชาวนา ทาสี วณิพก ยาจก อะไรก็ตาม ก็มีสายเลือดของกษัตริย์วันยังค่ำ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเชื่อพระพุทธเจ้าจึงคืนตำแหน่งอัครมเหสีและรัชทายาทให้แก่แม่ลูกตามเดิม

พระพุทธองค์ทรงช่วยไว้ครั้งหนึ่ง

เมื่อเจ้าชายวิฑูฑภะเจริญวัยมา ความแค้นที่มีมาตั้งแต่ครั้งไปเยี่ยมพระเจ้าตาที่เมืองกบิลพัสดุ์ นับวันแต่จะรุนแรงขึ้นคิดหาโอกาสแก้แค้นให้ได้สักวัน เมื่อได้ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาแล้ว ก็ยกทัพไปเพื่อจะฆ่าฟันพวกศากยะชำระความแค้นเสียที

พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าขืนปล่อยไปตามนั้น พระประยุรญาติทั้งหลายจะถูกฆ่าตาย เพราะอำนาจความแค้นของวิฑูฑภะจึงเสด็จมาห้ามไว้ วิธีห้ามของพระพุทธองค์ก็ทรงทำทางอ้อม คือประทับใต้ใบไม้ที่ใบโปร่งแสงแดดส่องได้ ดักทางที่วิฑูฑภะจะเสด็จผ่านมา พระเจ้าวิฑูฑภะเห็นพระพุทธองค์ก็เสด็จไปถวายบังคมกราบทูลถามว่า "ทำไมพระองค์ประทับใต้ไม้เงาโปร่ง ไม่ประทับใต้ต้นโน้น (ทรงชี้ไปอีกต้นหนึ่ง อยู่เขตแดนเมืองสาวัตถี) ร่มเงาหนาทึบเย็นสบายกว่า"

พระพุทธองค์ตรัสว่า "มหาบพิตร ร่มเงาของญาติย่อมเย็นสบายกว่า"

ได้ฟังดังนั้น พระเจ้าวิฑูฑภะทรงทราบทันทีว่า พระพุทธองค์เสด็จมาห้าม จึงกราบถวายบังคมแล้ว สั่งกองทัพกลับเมืองสาวัตถี

ต่อมาความแค้นประทุขึ้นมาอีก ก็ยกมาอีก พบพระพุทธองค์ ณ จุดเดิม ก็ยกทัพกลับ เป็นเช่นนี้สามครั้งสามครา พอถึงครั้งที่สี พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นกรรมเก่าของพวกศากยะ แรงเกินกว่าจะห้ามไว้ได้ ถึงจะเสด็จไปห้ามอีก วิฑูฑภะก็คงไม่ฟัง จึงปล่อยไปตามวิถีที่มันควรจะเป็นไป

พระเจ้าวิฑูฑภะไม่เห็นพระพุทธเจ้า ก็รีบยกทัพเข้าโจมตีเมืองกบิลพัสดุ์ สั่งฆ่าทุกคนที่เห็น ไม่ยกเว้นแม้แต่ลูกเล็กเด็กแดง

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์พระญาติของพระองค์เท่าที่จะทรงทำได้ ห้ามทัพไม่ให้ยกไปฆ่าฟันสามครั้งสามครา ต่อเมื่อทรงรู้ว่าห้ามอะไรห้ามได้ แต่ห้ามกรรมของคนนั้นไม่ได้ จึงทรงปล่อยไปตามวิถีที่มันควรจะเป็นไป...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 08 มิ.ย.2007, 7:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การงานที่ไม่มีโทษ

มงคลข้อต่อไป คือ อนวัชกรรม (การกระทำที่ไม่มีโทษ) การกระทำหรือการงานที่ไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่ประโยชน์ พูดกว้างๆ การงานอะไรก็ได้ที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม

ปุโรหิตรับสินบน

ในเมืองพาราณสี มีปุโรหิตคนหนึ่ง พระราชาทรงแต่งตั้งให้ว่าอรรถคดีอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากทำหน้าที่ที่ปรึกษาทั่วไป ปุโรหิตคนนี้ภาษาบาลีท่านใช้สำนวนว่า "เป็นผู้กินเนื้อหลังของคนอื่น" คล้ายๆ คำพังเพยไทยว่า "ทำนาบนหลังคน" คือการแสวงหาความร่ำรวยบนความเดือดร้อนของคนอื่น ในกรณีว่า อรรถคดีนี้แกก็กินสินบน "ทำคนผิดให้เป็นคนถูก ทำคนถูกให้เป็นคนผิด" คอร์รัปชั่นฉิบหายวายวอด อย่างนั้นเถอะ

วันหนึ่งเขาเข้าเฝ้าพระราชา บังเอิญวันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระราชาตรัสถามเขาว่า ท่านอาจารย์ ท่านสมาทานอุโบสถศีลบ้างหรือเปล่า

เขากราบทูลว่า "สมาทาน พระเจ้าข้า"

เมื่อตอนเขากลับ อำมาตย์อีกคนหนึ่งซึ่งเฝ้าอยู่ด้วย เดินตามหลังเขาไปกล่าวตำหนิว่า "ท่านปุโรหิตไม่เคยรักษาอุโบสถเลย ผมทราบ ทำไมท่านกราบทูลพระราชาเช่นนั้น"

ปุโรหิตกล่าวว่า "ถึงผมไม่เคยรักษาศีลอุโบสถ แต่คืนนี้ผมตั้งใจจะรักษา"

"เวลาสมาทานศีลล่วงไปแล้วหลายเพลา" อำมาตย์คนเดิมกล่าว

"ไม่เป็นไร ผมสมาทานศีลอุโบสถสายไปหน่อยก็คงจะได้อานิสงส์กึ่งหนึ่ง ก็ยังนับว่าดี" ปุโรหิตกล่าว แล้วเขาก็ทำจริงๆ ไปถึงบ้านก็เอาน้ำบ้วนปากสมาทานศีลอุโบสถ ปฏิเสธอาหารตลอดทั้งคืน

ในวันอุโบสถอีกวันหนึ่ง มีสตรีนางหนึ่งต้องขึ้นศาล ถึงเวลาสมาทานศีลอุโบสถ ไม่มีโอกาสรับประทานอาหารก่อน ก็เตรียมจะบ้วนปากสมาทานศีล ปุโรหิตทราบเรื่องเข้า จึงให้ผลมะม่วงแก่เธอ บอกว่าให้นางกินมะม่วงนี้ก่อนแล้วค่อยสมาทานศีลอุโบสถ ความดีที่เขาทำก็มีเพียงรักษาศีลอุโบสถครั้งหนึ่ง และให้ทานคือมะม่วงผลหนึ่งนี้เท่านั้น นอกนั้นก็มีแต่ "กินหลังของคนอื่นๆ"

เมื่อเขาตายไปไปเกิดเป็น "เวมานิกเปรต" (เปรตมีวิมาน) ตอนกลางวันเขาจะต้องเสวยผลกรรมชั่วที่เขาได้กระทำไว้ คือร่างกายจะโตสูงเท่าต้นตาล มีนิ้วงอกออกมาจากมือข้างละนิ้ว มีเล็บแหลมยาวโค้ง คมกริบ แล้วเขาก็เอาเล็บขีดข่วนตัวเองก้อนเนื้อและเลือดสดๆ ก็ติดมากับเล็บ ร้องคร่ำครวญด้วยความเจ็บปวด ยิ่งเจ็บก็ยิ่งข่วนลึกลงตามลำดับ (เพราะผลกรรม)

แต่พอตกกลางคืน เขาก็พ้นจากสภาพทรมาน มีเสื้อผ้าอาภรณ์สวยหรูอยู่บนวิมานอันโอ่อ่ามโหฬาร ท่ามกลางป่ามะม่วงอันรื่นรมย์กว้างใหญ่ไพศาล เสวยสุขอันเป็นทิพย์ตลอดทั้งคืน

ที่เขาได้วิมานสวยหรูในป่ามะม่วงกว้างใหญ่น่ารื่นรมย์ยิ่งเพราะผลแห่งการให้มะม่วงเป็นทานแก่สตรีผู้รักษาศีลอุโบสถ แต่ที่เขาต้องได้รับทุกข์ทรมานด้วยการขีดข่วนเนื้อตัวเอง ก็เพราะบาปกรรมที่เป็นผู้พิพากษารับสินบน ที่เขาได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ในวิมานในเวลากลางคืน ก็เพราะผลแห่งการรักษาศีลอุโบสถในเวลากลางคืน...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 5:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สำรวมการดื่มน้ำเมา

การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา (มชฺชปาน จ สญูญโม) คำว่า สัญญะโม (สำรวม) หลายท่านพยายามแปลว่า ดื่มของเมาได้ แต่ให้ระวังอย่าดื่มจนเกินขนาดจนเสียสติ เปิดตำราดูแล้วท่านไม่ว่าอย่างนั้น ท่านว่าให้งดเว้นเลยทีเดียว ดุจเดียวกับงดเว้นจากบาป

สุราคือน้ำดื่มที่กลั่นแล้ว เมรัยคือน้ำดื่มที่ไม่ได้กลั่น รวมไปถึงของหมักดองอื่นๆ ด้วย รวมทั้งยาบ้า ยาอี ฝิ่น กัญชา กะแช่ ข้าวหมากก็รวมด้วย รวมเรียกว่าเมรัยทั้งหมดแหละครับ

ทางพระพุทธศาสนาถือว่า สุราเมรัย "เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท" คือ เป็นเหตุให้ประมาทและขาดสติ ท่านจึงห้ามมิให้ดื่ม ถ้าดื่มบ่อยๆ ก็จะติดเป็นนิสัย และเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้การดื่มสุราเมรัยจึงเป็น "อบายมุข" (ปากทางแห่งความฉิบหาย)

สุราเมรัยมีโทษอย่างไรนั้น ย่อมเป็นที่ทราบกันดี

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นอบายมุข ทางแห่งความฉิบหาย และท่านตรัสโทษของการดื่มสุราเมรัยไว้ 6 ประการ คือ

1. ทำให้เสียทรัพย์สินเงินทอง
2. เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท
3. ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ
4. เป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
5. ทำให้ไม่รู้จักอับอาย
6. ทำให้สติปัญญาเสื่อม

โทษของสุราเมรัย 6 ประการนี้ ไม่มีใครกล้าปฏิเสธ เพราะว่ามันเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น...

โทษของสุรา

ในอดีตกาล พรานป่าชาวเมืองพาราณสี นามว่า สุระเข้าป่าล่าสัตว์เป็นนิตย์

วันหนึ่งสังเกตเห็นฝูงนกกินน้ำที่คาคบไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง แล้วก็มีอาการเมา ตกลงมายังพื้นดิน เวลาผ่านไปสักพักก็สร่างเมาบินต่อไปได้เหมือนเดิม จึงสงสัยเป็นกำลังว่าเพราะอะไร เลยปีนต้นไม้ขึ้นไปดู ก็เห็นแอ่งน้ำใหญ่ มีสีและกลิ่นประหลาด จึงเอานิ้วจิ้มดูด รสชาติแปลกประหลาดมาก ไม่เคยได้ลิ้มรสมาก่อนเลยจึงตักใส่กระบอกนำลงมาดื่ม

เห็นนกเมาน้ำพรรค์อย่างว่าตกลงมา ก็จับเอาไปฆ่า ย่างไฟอย่างดี กินกับน้ำวิเศษนี้ รู้สึกเอร็ดอร่อยเป็นอย่างยิ่ง นี้แลคือที่มาของ "กับแกล้ม" กินเหล้าต้องมีกับแกล้มด้วย

น้ำวิเศษนี้ นายพรานดื่มเข้าไปแล้วนิสัยจะเปลี่ยน คือจะมีความกล้าหาญ ไม่กลัวใคร ฟ้อนรำเฉิบๆ สนุกสนาน ท่านว่าเหตุนี้แล น้ำดื่มจึงชื่อว่าสุรา ความหมายก็คือ

(1) เป็นดื่มน้ำที่นายสุระค้นพบคนแรก
(2) เป็นน้ำดื่มที่ทำให้กล้าหาญ

ว่ากันว่าพรานสุระแกดื่มกินอยู่คนเดียว ไม่ยอมบอกใคร

วันหนึ่งเดินไปพบฤๅษีนามว่า วรุณ อยู่ที่อาศรมในป่า จึงเอากระบอกน้ำสุราไปถวาย พร้อมทั้งกับแกล้มอย่างดี หลวงพ่อฤๅษีได้ดื่มน้ำสุรา ก็ติดใจในรสชาติอันวิเศษ จึงขอแจมด้วย สั่งนายพรานว่า วันหลังให้เอามาให้ดื่มอีก

ทั้งพระทั้งโยมก็ตั้งวงล่อสุรากันเป็นประจำ ยามแดดร่มลมตก เพราะเหตุนี้แล สุราจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วารุณี (แปลว่าน้ำที่วรุณฤๅษีชอบใจ)

สองคนเกิดความคิดว่า น่าจะหาเลี้ยงชีพอย่างสบายด้วยการผลิตน้ำอมฤตนี้เผยแพร่ จึงพากันศึกษาสูตรสุรา สังเกตจากโพรงไม้ที่ค้นพบน้ำนี้ครั้งแรกนั่นแหละ ว่ามีส่วนผสมของอะไรบ้าง เมล็ดข้าวฟ่าง ลูกเดือย ผลไม้...ฯลฯ ก็นำเอาสิ่งเหล่านั้นมาหมักจนเกิดเป็นส่าน้ำเมา ทดลองกันอยู่นานพอสมควร จนกระทั่งได้รสชาติอยู่ตัว เอร็ดอร่อยไม่แพ้ของเดิม คราวนี้ผลิตกันจนเป็นล่ำเป็นสัน เป็นอุตสาหกรรมประจำอาศรมเลยทีเดียว

ทั้งสองชวนกันขนไหสุราไปยังเมืองปัจจันตนคร นำน้ำวิเศษเข้าถวายพระราชา พระราชาเสวยเพียงจอกสองจอกเท่านั้นก็ชอบพระทัย คราวนี้หยุดไม่อยู่ เสวยจนกระทั่งเมา สร่างเมาก็รับสั่งหาน้ำวิเศษมาเสวยอีก

สุราที่นำไปถวาย ภายในเวลาไม่ช้าไม่นานก็หมด จึงรับสั่งให้ทั้งสองคนผลิตน้ำวิเศษให้มากๆ ให้พอดื่ม เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ทั้งสองคนก็ตั้งโรงงานย่อยๆ ผลิตสุราขึ้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าไม่ช้าไม่นาน ไม่เฉพาะแต่พระราชาเท่านั้นประชาชนทั้งหลายก็พลอยได้มีโอกาสดื่มด้วย และติดกันเป็นแถว ความนิยมในการดื่มสุราก็แพร่หลายไปทั่วประเทศ

นายสุระและฤๅษีวรุณ ผลิตสุราได้ที่แล้ว คิดจะหาทางร่ำรวย จึงวางแผน คือ เดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ แนะนำสินค้าวิเศษให้คนได้ลิ้มลอง และผลิตขายให้พวกเขาดื่ม จากเมืองนี้ไปเมืองโน้น จนกระทั่งมนุษย์โลกทั้งหมดรู้จักสุราและดื่มสุราเป็น ว่ากันอย่างนั้น

ทั้งสองคนเดินทางไปยังเมืองสาวัตถี เอาสุราไปถวายพระราชา นามว่า สรรพมิตร เมื่อพระราชาเสวยแล้วก็ทรงชอบพระทัย รับสั่งให้ทั้งสองผลิตให้เสวยมากๆ ทั้งสองก็หาวัตถุดิบมาต้มกลั่นกันอย่างเอางานเอาการ ใส่ตุ่มเป็นร้อยๆ ใบ เอาฝาปิดไว้อย่างดี ตั้งเรียงรายไว้ รอเวลาให้มัน "ได้ที่" ก่อนที่จะนำไปดื่ม

บังเอิญว่าน้ำในตุ่มมันล้นไหลลามปากตุ่ม บรรดาแมวและหนูทั้งหลายก็มาเลียกินน้ำนั้น ต่างก็เมาตกตุ่มสลบไสลเป็นจำนวนมาก พวกราชบุรุษเป็นเหตุการณ์นั้น ก็ไปกราบทูลพระราชาว่าพ่อค้าต่างเมืองสองคนนั้น สงสัยว่าจะผลิตยาพิษเพื่อฆ่าพระราชาและชาวเมือง เพราะแมวและหนูกินน้ำที่ว่านั้นแล้วตายไปเป็นจำนวนมากเลย

ความจริงแมวและหนูมันไม่ตาย เพียงแต่เมา พอสร่างเมาแล้วมันก็วิ่งหนีไป แต่พระราชาและพวกราชบุรุษไม่เห็นตอนนั้นทั้งสองคนจึงเรียกไปสอบสวน และถูกสั่งประหารชีวิต ราชบุรุษที่ได้รับคำสั่งให้ไปทุบทำลายไหสุราทิ้ง เห็นแมวและหนูทั้งหลายที่คิดว่ามันตายแล้วกลับฟื้นวิ่งไปตามเดิม จึงไปกราบทูลพระราชา พระราชาสั่งระงับไม่ให้ทุบทิ้ง ลองให้มหาดเล็กดื่มดูก็ไม่เห็นเป็นอะไร จึงเชื่อว่าน้ำนี้ดื่มแล้วทำให้เมาเฉยๆ ไม่ถึงกับตาย

พระองค์ก็เลยได้ครอบครองลิขสิทธิ์ สมบัติคือไหสุราทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล

พอพระเจ้าสรรพมิตรทรงทราบว่าสุรานั้นมิใช่ยาพิษ เพราะแมวและหนูมันเมาแล้วพอสร่างเมามันก็กระโดดโลดเต้นได้ตามเดิมจึงรับสั่งให้ปลูกพลับพลา ที่ท้องสนามหลวง ประดับตกแต่งสวยหรู ทำนองลานเบียร์ในกรุงสมัยปัจจุบันนี้แหละ แวดล้อมด้วยเหล่าเสนามาตย์น้อยใหญ่ เตรียมเสวยสุราเป็นการใหญ่

แต่ยังไม่ทันได้ลงมือก็มีคนมาขัดจังหวะ พระอินทร์ทราบว่า พระราชาและประชาชนชาวเมืองกำลังจะตกเป็นทาสสุรา ต้องรีบไปห้าม หาไม่แล้วเมืองนี้ทั้งเมืองจะกลายเป็นเมืองปีศาจสุราเพราะเมื่อเจ้าผู้ครองนครกลายเป็นปีศาจสุราเสียเองแล้ว เหล่าเสนามาตย์ก็จะเอาอย่าง

พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์ ถือหม้อสุราขนาดย่อมๆ เหาะลอยมาจากนภากาศ มาเมื่อไรไม่มีใครสังเกตเห็นมาปรากฏตัวต่อหน้าพระที่นั่ง ประกาศว่า จงซื้อหม้อใบนี้เถิด จงซื้อหม้อใบนี้เถิด

พระเจ้าสรรพมิตรตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มาเล่นกลลอยอยู่ในอากาศ ประกาศว่าจงซื้อหม้อใบนี้เถิด หม้ออะไรของท่าน มันดีอย่างไรหรือ

พรมหมณ์แปลงกายกล่าวว่า "หม้อนี้มิใช่หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน มิใช่หม้อน้ำอ้อย มิใช่หม้อน้ำผึ้ง แต่เป็นหม้อน้ำวิเศษที่มีโทษอย่างมหาศาล"

อ้าว หม้อมีโทษจะมาประกาศขายทำไม พระเจ้าสรรพมิตรทรงสงสัย มิทันได้เอ่ยวาจาถาม พราหมณ์แปลงกายก็กล่าวว่า

๐ ดื่มสุราใดแล้ว พึงเดินสะเปะสะปะ ตกเหว ตกบ่อ ตกหลุมน้ำครำ และหลุมโสโครก ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว ไม่มีความคิด เที่ยวไปเหมือนโคเมา ฟ้อนรำขับร้องไม่เป็นภาษามนุษย์ น่าอเนจอนาถ ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว เปลือยกายล่อนจ้อน มีจิตฟั่นเฟือน นอนตื่นสาย เที่ยวตามตรอกซอกซอยน้อยใหญ่ ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว จะลุกจะเดินก็งกงันๆ หัวสั่นคลอน ฟ้อนรำเหมือนหุ่นไม้ ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว นอนให้ไฟเผาบ้าง ถูกสุนัขจิ้งจอกกัดกินบ้าง ถูกจองจำ ถูกฆ่า เสื่อมสมบัติ ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว พูดสิ่งไม่ควรพูด แก้ผ้าผ่อน ทั้งที่อยู่ที่ประชุมชน กลิ้งเกลือกจมอาเจียนสกปรกสิ้นดี ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว ฮึกเหิม มีนัยน์ตาขุ่นมัว นึกว่าแผ่นดินทั้งหมดเป็นของตน แม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้เรืองอำนาจก็หาทัดเทียมตนไม่ ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว ถือตัวและดูหมิ่นคนอื่น ก่อการทะเลาะวิวาท ผิวพรรณทราม ที่อยู่ของเขาเป็นที่ซ่องสุมของพวกนักเลง ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว ทำสกุลที่มีทรัพย์นับอเนกอนันต์ต้องย่อยยับ ไร้ทายาทสืบสกุล ท่านจึงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว แม้ว่าจะมีฐานะมั่นคงเพียงใด ก็ทำเรือกสวนไร่นา ทรัพย์สินเงินทอง พินาศไปในชั่วเวลาไม่นาน ท่านจงซื้อหม้อบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

พราหมณ์แปลงกายได้สาธยายโทษของสุราแก่พระเจ้าสรรพมิตรยืดยาว ได้กล่าวต่อไปอีกว่า...

๐ บุรุษดื่มสุราใดแล้ว กลายเป็นคนจิตใจร้ายกาจ ดุด่าบิดามารดา ข่มเหงข้าทาสบริวาร ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ สตรีดื่มสุราใดแล้ว กลายเป็นหญิงใจร้าย ดุด่าพ่อผัวแม่ผัว ข่มเหงข้าทาสบริวาร ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว เบียดเบียนสมณะหรือพรมหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทำตัวให้เข้าสู่อบาย เพราะการเบียดเบียนผู้ทรงศีล ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว ทำชั่วทางกาย วาจา ใจ ไปสู่นรกเพราะทุจริต ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ ดื่มสุราใดแล้ว แม้ในกาลก่อนจะเป็นผู้ใจบุญสุนทานไม่กล่าวเท็จเลย แต่กลับเป็นคนโกหกหลอกลวงได้ ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

๐ คนรับใช้ดื่มสุราใดแล้ว เมื่อมีกิจที่พึงทำไม่ทำ ถูกเขาซักถามก็ไม่รู้เรื่อง ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

ตำนานเก่าเล่าว่า กษัตริย์พี่น้องสิบพระองค์ดื่มสุราใดแล้วร้องรำทำเพลงสนุกสนาน ริมฝั่งแม่น้ำ แล้วก็ประหัตประหารกันสิ้นชีวิตอย่างอนาถริมฝั่งน้ำนั่นแล ท่านจงซื้อหม้ออันบรรจุน้ำสุรานี้เถิด

พวกเทพในกาลก่อน ถือว่าตนเที่ยงแท้ ดื่มสุราใดแล้วมึนเมา หล่นจากสวรรค์ น้ำเมาเช่นนี้ปราศจากประโยชน์ ดูก่อนกษัตริย์ บุคคลเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ยังจะคิดดื่มสุรานี้หรือ

ในหม้อนี้ มิใช่นม น้ำส้ม น้ำผึ้ง ดูก่อนกษัตริย์ ท่านทราบชัดอย่างนี้แล้ว จงซื้อไปเถิด ดูก่อน สรรพมิตร ของที่อยู่ในหม้อนี้มีลักษณะดังที่ข้าพเจ้าพรรณนามานี้แล

พระเจ้าสรรพมิตรฟังพราหมณ์แปลงกายสาธยายโทษของสุรามายาวเหยียด ฟังไปๆ ก็ได้คิดขึ้นมา โอ้ สุราที่ข้ากำลังจะตั้งวงดื่มนี้ มันมีโทษมากมายปานนี้เชียวหรือ จึงกล่าวตอบพราหมณ์แปลงกายว่า...

"ท่านไม่ใช่บิดามารดาของข้าพเจ้า แต่กลับเป็นห่วงเป็นใยมาบอกโทษของสุรา เตือนมิให้ข้าพเจ้าดื่ม ข้าพเจ้าเชื่อคำของท่าน ข้าพเจ้าจะให้หมู่บ้านส่วยสี่ตำบล ทาสี ทาสา อย่างละหนึ่งร้อย โคเจ็ดร้อย รถเทียมม้าอาชาไนยสิบคัน เป็นของกำนัลแก่ท่าน

พราหมณ์แปลงกายบอกว่า ข้าพเจ้ามาบอกท่านด้วยความปรารถนาดีอันบริสุทธิ์ มิได้หวังผลตอบแทนใดๆ เชิญท่านรับของกำนัลคืนไปเถิด ว่าแล้วก็หายวับไปกับตา

เพราะฉะนั้น การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา จึงเป็นมงคลอันสูงสุด ดังนี้แล


บุตรเศรษฐี

บุตรเศรษฐีจะว่าเป็นผู้มีบุญก็ได้ เพราะเป็นผู้ "คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด" บางคนก็คาบวัสดุขนาดใหญ่ เช่น พานเงินพานทอง (แท้ๆ ไม่ปลอม) มาเกิด หมายถึงเป็นคนสร้างบุญไว้มากแต่ปางก่อน มาชาตินี้จึงสบายตั้งแต่เกิด จะว่าแกมีบาปก็ได้ เพราะบุญเก่าพาให้มาเกิดในตระกูลดี ร่ำรวย แต่ถ้าแกประมาทไม่ประพฤติตัวดีสมกับที่เกิดมาดี แกก็จะกลายเป็นคนที่ไร้ค่า ไร้ศักยภาพ

รู้จักแต่ใช้จ่ายทรัพย์สินที่พ่อแม่หามาให้ ไม่รู้จักค่าของเงินไม่รู้จักสร้างสรรค์ จริงอยู่ ทรัพย์มหาศาลนั้นกินชั่วโคตรก็อาจไม่หมด แต่ที่หมดเกลี้ยงไม่เหลือหลอก่อนทรัพย์ คือ "ความเป็นคนที่รู้จักพึ่งพาตนเอง" คนพวกนี้ บางคนใส่รองเท้าเองไม่เป็นต้องพึ่งคนใช้ ถ้าวันหนึ่งข้างหน้า (ใครจะไปรู้) ไม่มีคนใช้แล้วแกจะใส่เป็นไหมเนี่ย น่าสงสัยจัง

ดูบุตรเศรษฐีมหาศาลคนนี้เป็นตัวอย่าง แกเป็นลูกโทนเกิดมาท่ามกลางทรัพย์สินมหาศาล ใครจะคิดว่าชีวิตจะผันแปรแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ของพรรค์นี้มันไม่แน่ใช่ไหมนาย

วันหนึ่งบุตรเศรษฐีเดินกลับจากธุระนอกเมือง ติดตามด้วยบอดี้การ์ดหลายนาย ผ่านชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังดื่มเหล้าฉลองกันอย่างสนุกสนาน แกก็เดินเลี่ยงไป เพราะพ่อแม่เคยบอกว่าอย่าคบคนแปลกหน้า

หนึ่งในกลุ่มหนุ่มนั้นกระซิบกับพวกว่า "เฮ้ย นั่นมันนายดวงมเหศักดิ์ ลูกเศรษฐีฉฬะภิญโญ มิใช่หรือวะ"

"ใช่ แล้วทำไม" อีกคนถามขึ้น

"ไม่ทำไมดอก อยากจะให้แกดื่มเหล้าหน่อย ช่วยเรียกแกหน่อย" ว่าแล้วก็รินเหล้าใส่กระทงใบบัว ถือเข้าไปหาบุตรเศรษฐี กล่าวด้วยความนอบน้อมว่า...

"คุณชายครับ กรุณาให้เกียรติพวกเรา ดื่มน้ำใบบัวนี้สักหน่อยนะครับ" แล้วยื่นกระทงใบบัวบรรจุสุราให้

บุตรเศรษฐีรับมาดื่มเพื่อมิให้เสียไมตรี หมดไปกระทงหนึ่งรู้สึกว่ารสมันซาบซ่าไปทั่วสรรพางค์ ไม่เคยลิ้มมาก่อน นักเลงหนุ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง จึงรีบยื่นกระทงที่สองให้ เสี่ยหนุ่มรับมาดื่มอย่างรวดเร็ว พวกบอดี้การ์ดเห็นไม่ได้ความ จึงพากันดึงเจ้านายออกจากวงเหล้า พากลับบ้าน

จากนั้นมา เสี่ยหนุ่มก็มีอันต้องเดินผ่านวงเหล้านั้นเรื่อยและได้รับเชิญให้ดื่มครั้งละกระทงสองกระทงเสมอ มิไยลูกน้องจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง เวลาผ่านไปไม่นาน เสี่ยแกก็กลายมาเป็นขาประจำ ณ ร้านเหล้าแห่งนั้น

วันหนึ่งขณะกำลังดื่มกันสนุกสนาน เสี่ยแกเรียกหาน้ำอมฤตมาดื่มไม่ขาดระยะ เสียงใครคนหนึ่งร้องบอกว่า น้ำไหหมดแล้วครับ เจ้านาย (ตอนนี้ไม่ใส่กระทงใบบัวแล้วครับ บรรจุไหเลยเรียกสั้นๆ ว่า น้ำไห)

"อ๋าย หมดได้ยังไงวะ ข้าเห็นตั้งเรียงรายอยู่หลายไห"

"ที่จริงมีอยู่ แต่ไม่มีเงินซื้อครับ เจ้านาย"

"บ้าชัดๆ พวกแกเห็นข้าเป็นอะไร ข้านี่แหละเว้ย ลูกฉฬะภิญโญ เศรษฐีบารมีคับบ้านนี้เมืองนี้ ไอ้นี่วอนเสียแล้ว เอ้าเอาเงินนี้ไปซื้อมา" เสี่ยควักกษาปณ์ฟ่อนใหญ่ให้ไป (กหาปณะหรือกษาปณ์ เป็นเงินตราของชมพูทวีปครับ)

ดวงมเหศักดิ์ บุตรฉฬะภิญโญมหาเศรษฐี แกตั้งวงดื่มน้ำอมฤตทุกวัน พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ตักเตือนอย่างไรก็ไม่ฟัง บรรดานักเลงน้อยใหญ่ได้กลายมาเป็นบริวารแกหมดสิ้น เมื่อพ่อแม่สิ้นชีวิต แกก็ได้รับมรดกทั้งหมด เพราะเป็นลูกชายโทน แกใช้จ่ายทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย ชั่วเวลาเพียงไม่กี่ปี ทรัพย์สินที่มีก็หมดเกลี้ยง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

จะไม่หมดได้อย่างไร มีแต่จ่ายๆๆ ไม่มีหามาใหม่เลย แถมถูกบริษัทบริวารยักยอกไปคนละเล็กละน้อยอีกต่างหาก ต่อให้มีทรัพย์กองเท่าภูเขาก็ต้องมีวันหมด

โคลงโลกนิติว่า "เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้วแหนงหนี..." นั้นเป็นความจริง เมื่อทรัพย์หมดเพื่อนก็หายหน้าไปหมด เหลือแต่เสี่ยขี้เมากับลูกน้องไม่กี่คน แม้ลูกน้องไม่กี่คนนั้น ในที่สุดก็อันตรธานเหลือแต่แกคนเดียว

ท้ายที่สุดก็ต้องขอทานเขากิน อาศัยเศษอาหารที่ผู้ใจบุญให้ยังชีพไปวันๆ มาถึงตอนนี้แล้ว ไม่มีใครจำแกได้แล้ว วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ในเมือง ทอดพระเนตรเห็นเขานั่งพิงกำแพงกินอาหารที่ขอทานได้มา ทรงแย้มพระโอษฐ์

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามว่าทรงแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุไร พระองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นขอทานคนนั้นไหม" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าเห็น จึงตรัสต่อไปว่า

"ตถาถตจำได้ว่า เขาผู้นั้นเป็นบุตรเศรษฐีมหาศาลแห่งเมืองนี้ แต่ทำตัวไม่ดี ทรัพย์ที่มีจึงหมดสิ้น กลายมาเป็นขอทานในที่สุด จึงไม่ควรที่ใครจะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง"

พระพุทธองค์ได้ตรัสคาถา (โศลก) สอนใจว่า

เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม ไม่ทำตัวให้ดี และ
ไม่หาทรัพย์ไว้ พอถึงวัยแก่เฒ่า คนผู้
เกียจคร้าน ย่อมนั่งซบเซา เหมือนนก
กระเรียนแก่จับเจ่าอยู่ข้างริมสระที่ไร้ปลา
พวกเขาย่อมนอนทุกข์ ทอดถอนใจรำพึง
ถึงความหลัง เหมือนธนูหัก ใช้ยิงอะไร
ก็ไม่ได้...

นี้คือตัวอย่างหนึ่งของชีวิตที่ปล่อยให้เป็นทาสของสุราจนกระทั่งหมดเนื้อหมดตัว



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2007, 7:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ไม่ประมาทในธรรม

มงคลต่อไป คือ อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ คือ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

แปลแล้วก็ต้องขยายความ "ความไม่ประมาท" หมายถึง การเป็นอยู่อย่างมีสติกำกับตลอดเวลา หรือไม่เผอเรอ ธรรมทั้งหลายหมายถึงสิ่งเหล่านี้ คือ การรักษาศีล, การบำเพ็ญเพียร, สัปปุริสธรรม 7 โพธิปักขิยธรรม 37

คนที่ไม่ประมาทมักทำอะไรไม่ค่อยผิดพลาด เพราะเขามีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนที่ไม่ประมาทไม่มีวันตาย คนประมาทถึงมีชีวิตอยู่ก็เสมือนคนตายแล้ว

นี้เป็นความจริงอย่างที่สุดครับ...

ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา พระองค์ทรงประกาศให้รู้ทั่วกันว่า อีกสามเดือนข้างหน้า พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหล่าพระสาวกจำนวนมากต่างก็ประชุมปรึกษาหารือกันว่า พระพุทธองค์จะจากไปแล้ว พวกเราจะไม่ได้มีโอกาสเห็นพระพุทธองค์อีกแล้ว เพราะฉะนั้น พวกเราไม่ควรประมาท ควรไปเฝ้าพระองค์ทุกวัน

ในขณะที่พระจำนวนมากไปคอยเฝ้าแทนพระพุทธองค์ทุกเช้าเย็น มีภิกษุรูปหนึ่งไม่ไปเฝ้าพระองค์เลย คิดว่าอีกไม่นานพระบรมศาสดาจะปรินิพพานแล้ว เราควรรีบปฏิบัติให้ได้บรรลุธรรมก่อนที่พระองค์จะจากไป จึงเร่งบำเพ็ญสมาธิวิปัสสนา จนบรรลุพระอรหันต์ พระอื่นๆ หาว่าท่านเป็นคนอกตัญญู ไม่สำนึกในพระคุณของพระพุทธองค์ ขนาดรู้ว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพานแล้ว ยังไม่ยอมมาปรนนิบัติรับใช้อีก

พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตรัสกับพวกเธอว่า ภิกษุรูปนั้นทำถูกแล้ว เธอมิได้ประมาท รีบปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลนับว่าได้อยู่ใกล้ชิดตถาคตยิ่งกว่าพวกเธอที่มาเฝ้าเราตถาคตทุกวันเสียอีก อย่างพวกเธอนี้ถึงเกาะชายจีวรตถาคตก็หาได้อยู่ใกล้ชิดตถาคตไม่

พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า...

"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"

เพราะฉะนั้น ถ้าอยากอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า ต้องไม่ประมาทในการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 7:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความเคารพ

มงคลต่อไป คือ ความเคารพ เป็นมงคลสูงสุด

ความเคารพเป็น (คารวะ) เป็นนามธรรม อธิบายให้เข้าใจได้ยาก ผู้รู้ท่านจึงอธิบายในแง่ของรูปธรรม คือ ทำ "ความเคารพ" ให้เป็น "การเคารพ"

การเคารพแบ่งเป็นหลายขั้นตอน คือ อัญชลีกรณะ หรืออัญชลี คือ การประนมมือ, นมัสการ หรือวันทา คือ การไหว้, อภิวาท คือ การ

กราบ, อุฏฐานะ หรือปัจจุปัฏฐานะ คือ การยืนรับ

การแสดงความเคารพเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความมีอารยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้อภิวาทกราบไหว้ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิเป็นนิตย์ย่อมเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

สัตว์สามสหาย

ในป่าหิมพานต์มีสัตว์เป็นสหายกันสามตัว คือ ลิง ช้าง นกกระทา สัตว์ทั้งสามอยู่ด้วยกันโดยไม่มีใครเคารพใคร วันหนึ่งจึงปรึกษากันว่า พวกเราต่างคนต่างอยู่อย่างนี้ไม่เหมาะ ควรจะแสดงความเคารพกันตามลำดับอาวุโส

เมื่อเกิดคำถามขึ้นว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเกิดก่อนใคร

ลิงเจ้าปัญญาจึงเสนอว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน พวกเราเห็นต้นไทรต้นนั้นไหม ใครเห็นต้นไทรนั้นตั้งแต่เมื่อใด ใครเห็นก่อน คนนั้นก็เป็นผู้อาวุโส

ช้างบอกว่า ข้าเห็นต้นไทรต้นนั้นตั้งแต่ข้ายังเป็นลูกช้าง เวลาข้าเดินข้ามหน่อไทร ใบของมันยังระสะดือข้าเลย แสดงว่าข้าแก่กว่า

ลิงบอกว่า ข้าก็เห็นมันมาตั้งแต่ข้าเป็นลิงตัวน้อยๆ ข้ายังเด็ดใบมันทิ้งเลย แม่ห้ามข้าแทบไม่ทัน แสดงว่าข้าแก่กว่าแน่นอน

นกกระทากล่าวว่า แต่ก่อนต้นไทรมิได้อยู่ตรงนี้ พวกท่านรู้ไหมว่าว่ามันอยู่ที่ไหน

"ที่ไหน" อีกสองตัวถาม

"อยู่ห่างจากนี้ไปสามสี่โยชน์ ข้ากินผลไทรจากต้นใหญ่โน้น บินผ่านมาตรงนี้ขี้ลงตรงนี้พอดี ต้นไทรต้นนี้เกิดจากเมล็ดไทรที่ข้าขี้ไว้ แสดงว่าข้าแก่กว่าพวกท่าน"

ช้างและลิงทั้งสองต่างก็ยอมรับว่านกกระทาแก่กว่า จึงแสดงความเคารพนกระทาในฐานะผู้อาวุโส และอยู่ด้วยกันในป่าอย่างสมัครสมานสามัคคี จนสิ้นชีวิต

ไม่มีใครรู้ว่า นกกระทาเจ้าเล่ห์หลอกให้สหายสองตัวหลงเชื่อหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ ประเด็นอยู่ที่ว่าการแสดงความเคารพนอบน้อมต่อผู้มีวัยวุฒิ เป็นมงคลอย่างยิ่ง

พระพุทธองค์ทรงเล่านิทานจบแล้ว ก็ทรงหนไปตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า สัตว์เดียรฉานมันยังเคารพกันตามลำดับอาวุโสเลย พวกเธอควรจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ให้มาก ไม่อย่างนั้นอายสัตว์เดียรฉานมัน...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง