Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สงครามอินฺทปญฺโญ/ผักบาปเท่ากินเนื้อ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2007, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สงครามอินฺทปญฺโญ/ผักบาปเท่ากินเนื้อ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


สงครามอินฺทปญฺโญ

พรรษานี้ เป็นพรรษาแห่งสงคราม สงครามที่ขับเคี่ยวกันมา 10 กว่าวันแล้ว คือสงครามระหว่างอินฺทปญฺโญภิกฺขุ กับ ลิ้นของพระมหาเงื่อม อาหารธรรมชาติ มีผัก-มัน-ผลไม้ ปนกันในยุคต้น, ต่อมาผลไม้ล้วนๆ, ต่อมาผักล้วน, นี่เป็นสนามแห่งสงคราม ปรากฏผลว่าอินฺทปญฺโญภิกขุเป็นฝ่ายรุกเรื่อยในการชนะลิ้น, และยังได้ความรู้อย่างดีในเรื่องอาหารธรรมชาติแปลกๆ ทุกวัน ต่อไปก็เปิดการสงครามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามแต่จะมีข้าศึกชนิดไหนมา เมื่อกายรู้สึกเจ็บหรือคัน มักจะลูบหรือเกาไปถูกยุงหรือมด บอบช้ำไปแม้ไม่ตาย เนื่องแต่ก่อนๆ โดยตบมันทีเดียว ติดมาเป็นฆราวาส, เพื่อชนะสงครามอันนี้ จึงมีการรบด้วยหลักว่า ทำยุงตายหรือบอบช้ำไปตัวหนึ่งด้วยการสะเพร่าเช่นนั้นแล้วจะให้ยุงกัดคราวหนึ่งไม่ต่ำกว่า 200 ตัว และไม่ต่ำกว่า 20 นาทีในป่ารก

ถ้าขี้เกียจ จะรบมันด้วยการนั่งให้สว่างคาที่ ถ้าหิว จะรบมันด้วยการกวาดลานให้มากจนไม่หิว ถ้าเพลียโหย จะเดินจงกรมอย่างแรงๆ 4-5 ร้อยเที่ยว ถ้าขลาดมาท่าไหน จะอยู่ในท่านั้นให้หนักขึ้น จนกว่าจะไม่ขลาด ถ้ารักชอบ จะเทหรือทุบค่อยสิ่งนั้นทันที, หรือเพ่งให้เห็นความเลวของมัน ถ้าอร่อย จงเจือน้ำ หรือทิ้งส่วนนั้นเสีย ถ้าไม่อร่อยจงกินจนรู้สึกว่าเฉยหรืออร่อยโดยสันโดษ ถ้าเพลินในอารมณ์ จงคิดจนเห็นอนัตตา มิฉะนั้นอย่าลุก และยังมีการทำอย่างตรงข้าม (anti) อย่างอื่นอีก โดยแนวเดียวกัน

พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งการชนะ ! จงชนะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้เถิด จะก้าวหน้าในมรรคแห่งพุทธศาสนา สิ่งทั้งหลายอยู่ที่ใจสำเร็จมาแต่ใจ ใจเป็นนายเป็นประธาน จงชนะหัวหน้านี้ โดยมีใจที่แข็งและดีไว้เถิด, สมาธิหรือปัญญาก็เป็นอันเจริญอย่างได้ผลดีที่สุดไปในนั้นพร้อมเสร็จ ในที่แข็ง ไปฝึกสมาธิย่อมได้ง่าย เพราะมันได้อยู่แล้ว ปัญญาก็ปรากฏอยู่แล้ว มีแต่จะค่อยขยายตัวเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น ท่านทั้งหลาย จงรบ ! จงชนะ ! จงชนะสงครามตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ! สิ่งทั้งหลายที่เป็นมารและทุกข์จะหมดไปตามส่วนที่ชนะแล้วเสมอ


ผักบาปเท่ากินเนื้อ

การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการพร่าชีวิตแล้ว การกินผักก็เป็นบาปเท่ากัน เพราะผักก็มีชีวิต มีปราณ เหมือนกับสัตว์ที่มีโลหิตอุ่นทั้งหลาย, และยิ่งกว่านั้น พืชผักทั้งหลายก็มีเวทนา สัญญา วิญญาณ ด้วยเหมือนกัน ขอให้เพ่งดูสิกขาบทที่หนึ่ง ที่ปาณาติปาตา เวรมณี, แปลว่า เว้นจากการทำสิ่งที่มีปราณ (ปาณ) ให้ตกล่วง พระองค์ทรงห้ามทำสิ่งมีปราณให้ตกล่วง จึงทรงปรับโทษภิกขุผู้ฆ่าต้นไม้เป็นปาจิตตีย์เท่ากับฆ่าสัตว์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการฆ่าต้นไม้ บาปเท่าการฆ่าสัตว์ ถ้าการกินเนื้อเป็นการส่งเสริมปาณาติบาต ขาดเมตตา การกินผักก็ต้องบาปเท่ากันทีเดียว

นักปรัชญาครั้งพุทธกาล, ครั้งอินเดียเต็มไปด้วยนักบำเพ็ญตบะ, เขาก็เคยถือกันมาแล้วว่าสิ่งเหล่านี้มีปราณ บางพวกยังถือยิ่งขึ้นไปกว่านั้นคือถึงกับถือว่า เม็ดกรวดเม็ดทราย อะไรๆ ก็มีปราณ มีเวทนา, ไม่ยอมกระทบกระทั่งสิ่งใดหมดโดยไม่จำเป็น เพราะเป็นบาป, นี่คือวัตรแห่งติตถคณาจารย์โดยมาก อันพระองค์ตรัสว่าตึงเกินไป, พวกนี้เลือกในการรับอาหารอย่างแรง จนหามาบริโภคได้ยาก พระพุทธองค์ไม่ทรงหมายถึงอย่างนั้น หมายเพียงที่มีชีวิตและมีปราณจริงๆ แต่พืชทั้งหลายที่ยังเป็นอยู่นั้น มีปราณแน่ ถ้าถือตรงตามหลัก ก็ต้องเป็นบาปด้วย เว้นไว้แต่มีข้อยกเว้นเป็นพิเศษ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยพบเลย, แต่เห็นชัดเจนอยู่ว่า ทรงวางโทษการฆ่าต้นไม้เท่าการฆ่าสัตว์แก่ภิกขุ และทรงวางบัญญัติกลาง ว่าห้ามไม่ให้ทำสิ่งมีปราณให้ตกล่วง, หาได้ทรงบัญญัติว่า ห้ามทำสิ่งที่มีเวทนา มีสัญญา มีวิญญาณอะไรไม่ เมื่อต้นไม้มีทั้งปราณและวิญญาณและเวทนา ฯลฯ แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้เข้าใจว่าเป็นบาปเท่ากัน

ที่อ้างง่าย เช่นต้นไม้รู้จักเป็นรู้จักตาย นี่คือความมีปราณแห่งต้นไม้รู้จักขึ้นแข่งขันกัน, รู้จักเอนไปหาแสงตะวัน, รู้จักหลบอันตรายที่หลบได้ รู้จักนอน รู้จักคุมกำเนิดสืบพันธุ์, รู้จักปิดหุบเมื่อมีของมากระทบกระทั่ง (หญ้าไมยราบ), รู้จักกินตัวแมลงที่ตกเข้าไปในข่าย (ด้วยปิดฝาถุงแล้วส่งน้ำย่อยออกมา), ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่แสดงว่า มันมีเวทนาและวิญญาณ ทำนองเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย เป็นแต่อ่อนแก่กว่ากัน เพราะอายตนะ (ทางติดต่อแห่งวิญญาณ) แปลกกันเท่านั้น ถ้าการกินผักไม่บาปเพราะไม่เป็นการฆ่าแล้ว การกินฟองไข่ที่ยังไม่มีเวทนาวิญญาณก็ไม่บาปอย่างเดียวกันกระมัง ยิ่งกว่านั้นฆ่าสัตว์บางชนิดเช่นแมงกะพรุนในทะเลเป็นต้น ย่อมไม่บาปด้วยละกระมัง เพราะมันหาเวทนาและวิญญาณแทบไม่พบ เหมือนผักอยู่เหมือนกัน ต้นไม้หินใต้ทะเลบางชนิด (Coral) ก็รับรองกันว่าเกือบเป็นสัตว์หรือสัตว์ ไม่ใช่พืชแท้ เพราะมีอาการค่อนมาข้างสัตว์มาก เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเหตุผลบ่งว่า พืชทั้งหลายมีปราณ มีเวทนา มีวิญญาณ แต่อ่อนแก่กว่ากันเท่านั้น ชีววิทยาสอนให้เรารู้ชัดเจนอยู่แล้วว่า สิ่งทั้งหลายค่อยกลายมาเป็นลำดับๆ จากทรามที่สุดมาจนถึงประณีตที่สุด เช่นไคลกลายเป็นพืช พืชกลายสืบมาเป็นสัตว์เลวๆ ต่ำๆ สัตว์เลวๆ ต่ำๆ ค่อยๆ กลายมาเป็นสัตว์สูงขึ้น จนถึงลิง และในที่สุดกลายเป็นมนุษย์ หลักนี้ไม่ค้านกันแม้แต่เล็กน้อย กับหลักกรรมและปัจจัย 24 อย่างของพระพุทธองค์ เข้ากันได้สนิทโดยประการทั้งปวง จึงเป็นอันว่าสัตว์และพืชเป็นสิ่งมีรูปนามทำนองเดียวกัน แปลกกันก็แต่อ่อนแก่กว่ากัน เป็นบุรพภาคของกันเป็นลำดับๆ เท่านั้นเอง

เมื่อกินผักบาป เพราะฆ่าสิ่งมีปราณ เช่นเดียวกับกินเนื้อแล้วเราจะกินอะไรกันเล่า มองเห็นอยู่อย่างเดียวคือเนื้อในแห่งผลไม้ (อย่าให้ทำลายเมล็ด) เท่านั้น ที่พอจะเรียกได้ว่าไม่มีปราณหรือวิญญาณอย่าฆ่าต้น กินแต่ผลที่หล่นเอง ก็เป็นการบริสุทธิ์ดี ไม่มีข้อรังเกียจส่วนใดเลย

แต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบรมครูแห่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบดีว่าเราควรทำอย่างไรในข้อนี้ การที่ทรงห้ามว่า อย่าทำสัตว์มีปราณให้ตกล่วงนั้นเพียงพอแล้ว ไม่ต้องห้ามมาถึงการบริโภค นอกจากเขาฆ่าอุทิศเจาะจง การไม่กินสิ่งที่เขาฆ่าอุทิศเจาะจง ก็เพื่อความบริสุทธิ์ปราศจากความรังเกียจใจ เพราะฉะนั้นจึงถือเอาความรังเกียจเป็นใหญ่จะเห็นหรือไม่เห็นไม่เป็นประมาณ เอาความจริงเป็นใหญ่ เพราะกรรมเป็นของเฉพาะตน ใครฆ่าใครบาป แต่ผู้ฆ่าอาจมีการแบ่งปันได้เสมอ เมื่อผู้รับแบ่งไม่ได้สมรู้ยินดีเป็นใจด้วย จะเป็นบาปอะไร ถ้าเป็นบาปการกินผักก็เป็นบาป และไม่ต้องกินอะไรกันนอกจากผลไม้ อย่างไรจะถูกแท้ โปรดวินิจฉัยดูด้วย การเพ่งตรองโดยกรรมฐานฝ่ายเมตตาทำให้เกิดความรู้สึกอันนี้แก่ข้าพเจ้า จึงเขียนไว้



>>>>> จบ >>>>>



หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 29
คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง