Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขมิ้นกับปูน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 1:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขมิ้นกับปูน เป็นของ 2 สิ่งที่ไม่ว่ายังไงก็ไม่อาจรวมกันได้ จนเป็นที่มาของสุภาษิตที่ หมายถึง คน 2 กลุ่มที่มีแนวคิดต่างกัน และไม่ยอมร่วมคบค้าสมาคมกัน ต่อมาได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ขมิ้นกับปูน

เนื้อเรื่องในภาพยนตร์กล่าวถึง พระยาอภิบาล เป็นอดีตข้าราชการที่ซื่อสัตย์ และจงรักภักดี ในยุคช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ไม่อาจทนต่อพฤติกรรมของข้าราชการบางกลุ่ม ที่พระยาอภิบาล รู้สึกว่า ไม่จริงใจ ไม่จงรักภักดี และชอบสร้างภาพ ที่สำคัญข้าราชการกลุ่มนี้ มีบ้านอยู่ข้างๆ กันเลย จึงเป็นศัตรูกัน

เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างเข้มข้นขึ้นเรื่อย จนกระทั่งหลานชายของกลุ่มนี้มาขอหลานสาวของพระยาอภิบาล โดยบอกว่าเขาชื่นชมในความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีของพระยาอภิบาล แต่ก็มีข้อตำหนิ

พระยาอภิบาล เริ่มไม่พอใจว่า ตนเองไม่มีข้อเสียใดให้ใครมาตำหนิได้

หลานคนนั้นจึงพูดว่า ท่านรังเกียจข้าราชการที่ไม่เหมือนท่านไปหมดทุกคน แล้วจะไปช่วยบ้านเมืองแก้ไขได้อย่างไร ถ้าเป็นผมจะเข้าไปคบค้าสมาคมกับทุกๆคน แล้วถ้าใครดี ผมก็ยกย่อง ถ้าใครไม่ดี ผมก็ตำหนิ ว่าคุณต้องปรับปรุงอย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนที่ผมมาหาท่านนี่ไง

สรุปสุดท้ายพระยาอภิบาลยอมรับ

คนหลายคน พอได้เห็นหรือได้ยิน พระภิกษุ ก็รังเกียจ ว่าเป็นกาฝากสังคม หรือ พอได้ยินคำว่า นักการเมือง เศรษฐี ก็รังเกียจว่าหลอกลวง ไม่จริงใจ จึงไม่สมาคมด้วย

แต่ผมว่า เราควรจะเข้าไปศึกษา เช่น พระภิกษุสงฆ์ เป็นกาฝากสังคมจริงหรือไม่ นักการเมือง เศรษฐี ไม่มีดี จริงหรือไม่ ถ้าใครเป็นเราก็ตักเตือน ถ้าไม่เชื่อถึงจะเลือกที่จะไม่สมาคมด้วย น่าจะเหมาะกว่า

เพราะเศรษฐี หรือนักการเมือง ภพในอดีต เขาย่อมจะต้องสร้างคุณความดี มาพอสมควรจึงมีบุญมาเป็นเศรษฐี หรือ ผู้นำได้ เพียงแต่ชาตินี้บางคนไม่รู้เรื่องกฏแห่งกรรม ถ้าเขารู้ ผมว่ารับรองว่า เขาต้องอยากพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ไม่แพ้อาชีพอื่นๆ เหมือนกัน
 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 2:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนหลายคน พอได้เห็นหรือได้ยิน พระภิกษุ ก็รังเกียจ

ว่าเป็นกาฝากสังคม หรือ พอได้ยินคำว่า นักการเมือง

เศรษฐี ก็รังเกียจว่าหลอกลวง ไม่จริงใจ จึงไม่สมาคมด้วย





ที่พูดมาเห็นมีแต่คนเข้าหาทั้งนั้นเลยค่ะ



ไม่เห็นมีใครวิ่งหนี ท่านๆๆๆ สี่ประเภทนี้เลย



หรือมีค่ะ ?



ก็ถูกอย่างนั้นหล่ะค่ะ ถ้าปัจจุบัน อยู่ดี ได้ดี เจริญดี

แสดงได้ว่า เคยทำเหตุในอดีตไว้มาดี



ถ้าทุกคนรู้งี้ ไม่มีใครไม่ทำความดีแหงๆ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 5:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องศรัทธา ศรัทธามีหลายระดับ เมื่อศรัทธายังคลอนแคลน ก็มีทัศนะอย่างหนึ่ง ความรู้หรือปัญญาระดับต้นๆ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง



การคิดว่าพระควรจะเป็นอย่างนั้นหรืออย่างนี้ หรือไม่ควรเป็นอย่างนั้น การตั้งเป้าแบบนี้ทำให้ศรัทธาเสื่อมและศรัทธาเจริญก็ได้ คือแล้วแต่จะพบพระตามที่ตนชอบหรือตนชัง แต่ถ้าศรัทธามั่นคงแล้ว จะไม่ตั้งเป้าว่าพระที่ตนพบจะเป็นอย่างไร แต่จะตั้งเป้าที่ตนเองก่อนว่าจะมั่นคงในศรัทธาในศาสนาอย่างไร



คือตั้งเป้าที่ตนเองเป็นหลักว่าจะมีความมั่นคงได้อย่างไร แล้วรักษาศรัทธาของตนเองไว้ ไม่พึ่งบุคคลอื่น คือการสั่งสมบุญก็พึ่งตนเองกระทำที่ตนเองก่อน ส่วนพระเป็นส่วนประกอบของบุญว่าเราทำที่เนื้อนาบุญ แต่ถึงไม่มีพระเราจะรักษาศีลของเรา รักษาจิตของเราอะไรอย่างนี้ และเราจะเพียรภาวนา แม้ไม่มีพระเราก็ทำโดยตนเองได้ และศึกษาพระธรรมเอง แต่ถ้ามีพระเราก็พอใจจะฟังเทศน์ ถ้าพระเทศน์ไม่เก่ง เราจะบอกว่าให้พระอ่านใบลานหรือหนังสือ แล้วเราจะนั่งฟังโดยเคารพ



ที่วัดตอนเย็นที่ผมไปมีผู้ไปวัดประจำสี่ห้าคน และมีพระบวชใหม่ท่านทำอะไรไม่เป็น แต่พวกเราสวดพระปริตไม่ต้องเปิดหนังสือ สวดธรรมจักก็ไม่ต้องเปิด แต่พระบวชใม่อาจสึกในสิบห้าวัน ท่านต้องเปิดบทสวดพุทธคุณอ่าน เวลาพระแก่พรรษาไม่อยู่ ท่านจะต้องเทศน์เพราะเป็นกติกาของวัด พวกฆราวาสก็บอกพระหรืออาราธนาให้ท่านอ่านใบลาน แล้วนั่งฟังโดยเคารพ ให้ครบองค์ประกอบของการฟังธรรม ผู้เทศน์และผู้ฟังก็ได้บุญ แม้ที่ฟังแล้วกี่ครั้งก็ฟังได้ นี่เป็นการทำตามหน้าที่เพื่อให้พระศาสนาได้สืบทอดต่อไป หน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา เป็นอย่างนั้ ต้องทำนุบำรุงศาสนา ถามว่าพระเป็นอย่างไร ก็มีทั้งดีและไม่ดี จะให้ดีไปหมดนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นพระสงฆ์บริบูรณ์อยู่ แต่ศีลอาจไม่บริบูรณ์ไปบ้าง ก็ถือว่าไม่เป็นไร



ความศรัทธาหรือไม่ศรัทธาต้องขึ้นกับเราด้วย ขึ้นกับการปฏิบัติของพระด้วย แต่เราต้องมีความมั่นคงในระดับหนึ่งก่อน เราต้องเข้าใจว่าในชีวิตเราเราอยากได้สิ่งดีๆ สิ่งที่พอใจ แต่ความจริงเราจะไม่ได้อะไรตามต้องการเสียทุกอย่าง เราแค่มีพระสงฆ์ให้ไหว้กราบ มีพระสงฆ์รักษาศีล และมีพระสงฆ์ดีๆบ้าง ก้พอแล้ว แต่เราทำตัวของเราให้ดีอย่างไร ต้องมานั่งคิด



แต่ความศรัทธาจะเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อเราปฏิบัติด้วยตนเอง และพบเห็นความจริงว่าชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิดจริง กรรมมีจริง ศรัทธาจะเกิดมากและไม่ถอยเลย ผมมีศรัทธามากเมื่อภาวนา แล้วถอดจิตออกไปจากร่างกายได้ในปี 2532 ต่อมาเห็นอะไรหลายอย่าง ในเรื่องของกรรมที่ทำไว้ในอดีต เมื่อเห็นอย่างนี้ก็เห็นว่าชีวิตที่ดำเนินอยู่ในโลกเป็นสิ่งจอมปลอม ไร้สาระมากๆ แล้วก็นึกว่าสิ่งที่มีค่าของมนุษย์ก็คือการทำบุญ เมื่อถามว่าบุญจะทำอย่างไร จิตก็มีคำตอบตามความเป็นจริง เช่นว่าการให้ทาน จิตมันตอบว่าก็ให้ไปให้หมดอย่าเสียดาย ชีวิตไม่มีอะไรต้องหวงเป็นของเรา ให้พยายามทำอย่างนั้น แต่เราก็ยังเสียดายอยู่ แต่ก็เห็นว่าจะต้องทำไปถึงตัดความเสียดายทั้งปวงให้ได้ เพราะเห็นคำตอบแล้วว่าบุญเป็นอย่างนั้น ไปฟังพระเทศน์เรื่องการทำบุญ เรากลับคิดว่าบุญต้องทำให้มากกว่านั้นอีกจึงจะเป็นบุญแท้จริง เราเห็นไปมากกว่านั้น คือศรัทธาก็มีมากกว่าหนักแน่นกว่า



แต่ก่อนภาวนาได้สมาธิแล้ว แต่ยังไม่มาก ไม่เห็นของจริง ศรัทธายังไม่มาก ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ จิตไม่มีคำตอบที่สงสัยให้เข้าใจได้เลย เมื่อเราเห็นด้วยตนเองในเรื่องกรรม เรื่องของนรก เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด พอเข้าใจเห็นชัดแล้ว ศรัทธาก็เปลี่ยน แต่ไปทำคนอื่นให้มีศรัทธามากเหมือนเราเขายังไม่เห็น ไม่สามารถทำได้มาก แต่คนอื่นๆเขาก็ศรัทธา แต่มองไม่เห็นว่าในที่สุดเราต้องสละอะไรหมดจนไม่เหลืออะไรเลย นี่เราเห็นชัด แต่คนอื่นไม่เห็น เราเห็นว่าพระเวสสันดรทำถูกต้องที่สุด และต้องทำมากกว่านั้นก็ต้องทำ บุญจะบริสุทธิ์บริบูรณ์เมื่อเราทำได้อย่างนั้น จิตมันบอกให้ทำเช่นนั้นชัดเจน จิตของเราเมื่อรู้มันจะแนะนำและมีคำตอบให้เราปราศจากความสงสัย ไม่ต้องไปถามบุคคลอื่น ไม่ต้องไปหาอาจารย์สอน เราทำตามที่พระพุทธเจ้าสอน และพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของเรา และไม่พึ่งใคร นอกจากใจจะมั่นคงต่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว แนบแน่นไปตลอดอย่างนี้ แต่ก็เคารพภิกษุสงฆ์ แม้สงฆ์สมมุติที่บวชเพียงวันเดียว



ความศรัทธาจึงมีหลายระดับ บางคนมีศรัทธาแต่มีเงื่อนไขด้วย ถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขก็จะเสื่อมศรัทธา ถามว่าถ้าเสื่อมศรัทธาใครเสียประโยชน์ คำตอบก็คือตัวเราเองเป็นผู้เสียประโยชน์ ถ้าเราทำให้เรามีศรัทธาเราก็จะได้ประโยชน์ ดังนั้นความศรัทธามีประโยชน์แก่ตนเอง ไม่ควรทำตนให้เสียศรัทธา ถ้าศรัทธาจะลดไปบ้างก็ต้องรักษาบำรุงศรัทธาให้มีอยู่ อย่าให้สูญไปเป็นอันขาด



ความศรัทธา ความเพียร หรือธรรมใดที่เราจะปฏิบัติ อย่าไปผูกไว้กับบุคคลอื่น เอาเราเป็นผู้สร้างความดีให้ตัวเองให้ได้ เราจะทำได้เท่าไรก็พอใจไปก่อน แล้วค่อยทำให้มากขึ้นตามลำดับ ให้นึกว่าชาตินี้เราทำจนสุดความสามารถแล้ว ก็ทำได้แค่นี้จะเอาอย่างไร สิ่งที่เราทำไม่ได้ เราจะไปทำต่ออีกในชาติหน้า เราไม่หยุด ไม่พอใจในความดีว่าพอแล้ว มากแล้ว ให้นึกและตั้งไว้ในจิต เพราะคนเรามีกำลังไม่เท่ากัน มีอุปสรรคต่างๆแตกต่างกัน สำคัญคือความไม่ย่อท้อ การเห็นคุณค่าว่าการทำดีนี่ถูกต้องแน่นอน และเราจะใช้เวลาที่พอมีในโลกทำด้วยตนเอง สะสมไปเรื่อยๆตามกำลัง



ถ้าคนที่มักจะมองสิ่งที่พบว่าเป็นสิ่งไม่ดี แล้วชอบตั้งเงื่อนไข และเอาแต่ตำหนิ แต่ตัวเองจะให้ถวายทานก็ถูกเงื่อนไขขัดขวาง เงื่อนไขนี่คือมาร คือกรรมของพวกเขาที่ขวางอยู่ในจิต คืออกุศลที่เขาไม่ได้ชำระให้บางเบา มันขวาง ทำให้มีทัศนะคติที่เกิดอุปสรรคแก่ตนเอง ขัดขวางการทำความดีของเขาเอง นี่คือสิ่งที่น่ากลัว อกุศลที่เป็นมารนั่นน่ากลัว แต่เขาก็ไม่รู้ เพราะยึดถือทัศนะคติที่เขาคิดว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง ทั้งที่เป็นมิจฉาทิฐิ ถ้าพูดอย่างนี้เขาโกรธ โทสะกลายเป็นไฟ เราไปพูดก็ทำให้โทสะเกิดขึ้น จึงต้องหลีกเลี่ยง



คนที่อยู่ในโลกเครื่องคิดของเขาจะเอาโลกเป็นหลัก เพราะยังเข้าไม่ถึงธรรมเบื้องต้น ประสบการณ์ต่างๆอาจสอนคนได้ ทำให้คนคิดได้ แต่คนในโลกมากมายยังไม่กล้าตั้งเป้าหมายในพระนิพพาน เขาตั้งเป้าหมายที่จะเอาดีในโลก เขาคิดว่างานปรับปรุงโลกเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่เชื่อว่าจะพบกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันไม่มีใครบังคับได้ เขามุ่งมั่นว่าจะปรับปรุงโลกได้ สังขารของเขาปรุงแต่งไปแบบนั้น เขาไม่เห็นกฏของกรรมว่าเป็นจริง เช่นคนป่วยเป็นมะเร็งจะพูดว่าเพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ได้รับสารพิษจากมนุษย์สร้างขึ้นมาก ไม่เชื่อว่าเกิดจากกรรมที่ตนเองทำ เขาเชื่อตามที่วิทยาศาสตร์สอนให้เชื่อ แต่ศาสนาเราสอนว่าถ้าแผ่เมตตาแล้วไม่มีพิษจากยาพิษ นั่นหมายความว่าถ้าเข้าจตุตถฌานแล้วแผ่เมตตาเราสามารถกินไซยาไนด์ก็ไม่เป็นพิษ เพราะเมตตาระงับเวร ยาพิษก็เปลี่ยนธาตุที่เป็นพิษไม่ให้เป็นพิษ แต่เมื่อคนเราเข้าจตุตถฌานไม่ได้กินยาพิษก็ต้องตายเท่านั้น



คือคนเป็นเศรษฐีเกิดจากบุญที่เขาทำทานมามากแล้วให้ผลในชาตินั้น ถ้าเขาไม่ทำทานก็ไม่สามารถเสวยสุขได้ แม้จะว่าเขาเอาเปรียบสังคม แต่ถ้าไม่มีผลทานก็ไม่สามารถจะรวยจากการได้เปรียบนั้นได้เลย ถ้าเขาทำไม่ดีในชาตินี้ ผลกรรมก็เป็นของเขาในอนาคต มันวนเวียนกันในความดีชั่ว ความดีนี้ต้องหมายถึงบุญจึงจะดีมาก หมายถึงกุศลก็คือศีล ทาน ภาวนา บุญกิริยาวัตถุสิบเหล่านี้ ถ้านักการเมืองเศรษฐีชอบทำไม่ดี เพราะกามสุขในโลกบดบังตาเขา เราก็เป็นอย่างนั้นถ้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบๆนั้น เราในอนาคตเป็นคนไม่ดีได้ ถ้าเราไม่พยายามอบรมตนเองให้ดี เราสามารถทำชั่วได้อีก เมื่อกรรมชั่วเข้ามาทำให้เราเห็นผิดเป็นชอบ ดังนั้นไม่ควรมีเงื่อนไขต่อผู้อื่น ต้องช่วยเอาตนเองให้รอดพ้นจากความยากลำบากในการอยู่ในภพชาติ ตนเป็นที่พึ่งของตนจริงๆ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญกับคุณโอ่ด้วยนะครับ ที่ผมเคยฟังพระเทศน์มา

1. ในเรื่องการให้ทานคุณโอ่ ให้เหมือนอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์เลย คือ ให้หมดจากใจไม่เสียดายในภายหลัง เหมือน หม้อน้ำที่คว่ำลงจนน้ำออกไปหมด

2. คุณโอ่ทำสมาธิภาวนาในเบื้องต้นยังไม่มาก แต่ต่อมาทำมากเข้าๆ ศรัทธาก็เพิ่มพูนขึ้น มั่นคงในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น สมดัง พุทธวาจา ในสมาธิสูตรว่า "สมาธิ อันบุคคลกระทำให้มากเข้าไว้ ย่อมเป็นไปเพื่อความพักผ่อนสำราญในปัจจุบัน เพื่อญาณทัสนะ เพื่อสติสัมปชัญญะ และเพื่อความสิ้นอาสวะ"

3. คุณโอ่ขยายความเกี่ยวกับเศรษฐีและนักการเมืองแทนผมได้ดีแล้วครับ คงจะตอบคุณamai ได้ว่า คนที่เอาแต่เข้าใกล้โดยไม่รู้ความจริงของชีวิตนั้น ย่อมหลงไปสร้างบาปกรรมเพิ่มตามเศรษฐีและนักการเมืองผู้ไม่รู้อีกหลายคน แล้วก็ต้องไปรับผลกรรมนั้น แต่คนที่ปฏิเสธไม่ยุ่งเลย บางทีใจก็อาจห่างไกลจากเมตตาธรรม ซึ่งเป็นธรรมค้ำจุนโลกได้ ทำให้เมตตาบารมีจะหย่อนไปดังนั้นต้องเข้าใกล้ด้วยธรรมะ ดูว่าเขามีศีลหรือไม่ เขาเข้าใจโลกและชีวิตบ้างหรือไม่ พอจะแนะนำได้หรือไม่เป็นต้น

4. ส่วนที่คุณ amai บอกว่า ถ้าทุกคนรู้ว่า ทำดีได้ดี ก็ไม่มีใครทำชั่วหรอก ก็ใช่แล้วครับ เพราะที่ผมพูดว่า ทุกคนล้วนมีความดี แต่เขาไม่รู้ จึงไม่ได้ทำต่อนั้น ผมพูดตามพุทธวาจาครับว่า

"จิตเดิมของมนุษย์นั้นล้วนประภัสสร (ผ่องใส) แต่ที่เศร้าหมองเพราะกิเลสเข้ามาครอบงำ" และหัวหน้าของกิเลสทุกตัวก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้จริง) นั่นเอง ดังนั้นเราอย่าได้ปฏิเสธทั้งหมด หรือวิ่งเข้าหาทั้งหมด เพราะทุกคนมีความดี แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นกับความรู้จริงมากหรือน้อยครับ

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง