Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีฝึกสมาธิเพื่อให้เรียนหนังสือเก่ง (พระอาจารย์เส็ง ปุสโส) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.พ.2007, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๖ : วิธีฝึกสมาธิเพื่อให้เรียนหนังสือเก่ง
โ ด ย : ห้องสมาธิธรรมะไทย
พระอาจารย์เส็ง ปุสโส

นักเรียน นิสิต นักศึกษาทั้งหลาย ที่ปรารถนาจะเรียนหนังสือเก่ง มีความทรงจำดี เรื่อง
"สมาธิ" นี้จะทอดทิ้งไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร ?
ก็เพราะว่า "สมาธิ" นี้จะเป็นตัวที่เข้าไปช่วย ทำให้สมองปลอดโปร่ง ความทรงจำดีจะเป็น
ไปได้ยังไง ?

เป็นไปได้สิครับ คิดกันดูง่ายๆ เวลาที่จิตใจสับสน คิดโน่น คิดนี่ ถ้าเราจะเรียนหนังสือหรือ
หรืออ่านตำรา เราจะรู้เรื่องไหม ?..ไม่รู้เรื่องแน่ บางทีอ่านไปตั้งนานก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก
อย่างนี้เป็นเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะจิตใจขาดสมาธิ

เราจะสังเกตเห็นได้ว่า นักเรียนที่เรียนหนังสือเก่งนั้น พวกนี้มักจะมีสมาธิดีเป็นพิเศษ
เวลาเรียนหนังสือหรือท่องตำรา ก็จะทำอย่างตั้งอกตั้งใจ มีสมาธิต่อการเรียน หรือต่อตำราที่
กำลังท่องจริงๆ จึงสามารถทำให้จดจำเนื้อหาในตำราได้อย่างแม่นยำชักจะสนใจแล้วใช่ไหม
ล่ะครับ เอาเลย สนใจก็ต้องลองกันเลย....ขอให้นักเรียนนักศึกษาจงปฏิบัติดังต่อไปนี้นะครับ
เมื่อตื่นนอนมา ให้รีบชาร์จพลังแก่สมองก่อนเป็นอันดับแรก ชาร์จยังไง ?ให้ชาร์จโดยการนั่ง
สมาธิ ตั้งสติอยู่ที่ลมหาย ใจเข้า-ออก พร้อมกับภาวนาว่า พุท-โธ กำกับไปด้วยหายใจเข้านึก
"พุท" ...หายใจออกนึก "โธ" ทำอย่างนี้สัก ๕ นาที ๑๐ นาที แล้วจึงค่อยลุกจากที่นอน ไป
อาบน้ำ ทานข้าว แล้วไป โรงเรียน เมื่อเข้าชั้นเรียนก่อนที่จะเริ่มเรียน ก็ควรตั้งสติกำหนด ลม
หายใจตามแบบเดิมอีกสักระยะหนึ่ง มันจะช่วยทำให้สมองปลอดโปร่งขึ้น แต่การตั้งสติ
กำหนดลมหายใจ หรือทำสมาธิในห้องเรียนนี้ ไม่ต้องถึงขนาดอยู่ในท่าขัดสมาธิขาขวาทับ
ขาซ้าย มือขวาวางทับมือซ้ายหรอกครับ ให้นั่งตาม ปกตินั่นแหละ และไม่จำเป็นต้องหลับตา
ด้วย ลืมตาก็ทำได้ เป็นแต่เพียงให้มีสติรู้ลมหายใจอยู่ทุกระยะเท่านั้น นึกแต่ลมหายใจอย่าง
เดียว อย่างอื่นไม่นึก ไม่คิด ทำจิตให้ว่าง เมื่อจบวิชาหนึ่ง จะขึ้นวิชาใหม่ ก็ให้ใช้แบบเดิมอีก
เพื่อขจัดความยุ่งเหยิงทางจิตใจออกไป และเพื่อให้จิตใจเกิดความพร้อมในการที่จะรับเอา
เนื้อหาสาระของวิชาใหม่ เวลาที่ทำการบ้าน แล้วเกิดคิดไม่ออกสมองตื้อ ก็ให้รีบหยุด แล้วทำ
ความสงบในทันที ทำไปจนกว่าความเครียดทางสมองจะคลาย จิตใจรู้สึกปลอดโปร่ง จึงค่อย
ใช้ความคิดต่อไปใหม่

การทำอย่างนี้ จะช่วยทำให้การคิดและการตัดสินใจดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะกับ
การเรียนหนังสือเท่านั้น แม้แต่การทำงานที่ต้องใช้สมอง ก็สามารถเอาวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้ได้
เช่นกัน อ้อ! แล้วก่อนนอนอย่าลืมนะครับ ให้ทำสมาธิไปด้วย ตั้งสติกำหนดลมหายใจไปจนกว่า
จะหลับ หากทำได้เช่นนี้โดยสม่ำเสมอก็เชื่อได้แน่ว่า การเรียนของหนูๆน้องๆ จะต้องดีขึ้นกว่า
แต่ก่อนอย่างแน่นอนฉะนั้น ถ้าอยากเรียนดี ก็อย่าหนีการทำสมาธิ นะครับ
 

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง