Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงพ่อตอบปัญหาปัญญาชนตะวันตก (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2007, 2:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเสมอภาค ภิกษุณี แม่ชี

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ตสงสัยว่า
พระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องความเสมอภาค
ระหว่างเพศชายและเพศหญิงหรือไม่
การที่ประเทศไทยไม่มีภิกษุณีนั้นแสดงว่า
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่คนไทยนับถืออยู่
ไม่ให้ความสำคัญแก่สตรีเท่าเทียมกับผู้ชายใช่หรือไม่

หลวงพ่ออธิบายว่า ตามแนวความคิดเรื่องกฎแห่งกรรม
คนทุกคนไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่เกิด
เพราะมีวิบากกรรมติดตัวมาไม่เหมือนกัน
การที่สังคมตะวันตกเน้นความเสมอภาคของมวลมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดี
มีประโยชน์ ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเป็นความจริงไปไม่ได้
เช่นเดียวกัน ในกรณีที่สมมุติว่าทุกคนมีฐานะความเป็นอยู่เท่าเทียมกัน
ไม่มีใครเป็นคนรวยหรือคนจนเลย
เมื่อเราแจกเงินให้ทุกคนจำนวนเท่ากันในเวลาเช้า
ในตอนเย็นก็จะมีคนรวยคนจนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ความเสมอภาคที่แท้จริงจะเกิดมีขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อทุกคนมีกรรมเท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตามในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและการบรรลุธรรมนั้น
เพศไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด
เพราะจิตที่บรรลุธรรมไม่มีเพศหญิงหรือเพศชาย เด็กหรือผู้ใหญ่
ดังเห็นเป็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาล
ที่พระอรหันต์มีทั้งผู้ชายผู้หญิง เด็กและผู้ใหญ่
ดังนั้นในหลักการแล้วไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือผู้ใหญ่
ก็สามารถบรรลุธรรมได้ทั้งนั้น
แต่ส่วนจะประสบความสำเร็จดังกล่าวได้เมื่อไร
และด้วยวิธีใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง
เช่นความอุตสาหะและวาสนาบารมีที่สะสมมา
สำหรับที่วัดอัมพวันนั้น ทางวัดให้โอกาสแก่ผู้ชาย ผู้หญิง
เด็กและผู้ใหญ่ในการมาปฏิบัติธรรมเท่ากัน
ไม่ได้กำหนดสัดส่วนว่าผู้มาปฏิบัติกรรมฐานที่วัด
จะต้องมีสัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิงเท่าใด
ทางวัดจำกัดจำนวนผู้มาปฏิบัติธรรมที่วัด
ตามจำนวนของห้องพักที่มีอยู่
และก็พยายามขยายจำนวนห้องพักให้มากขึ้นเท่าที่ทำได้
เพื่อตอบสนองความต้องการของศาสนิกชนทั้งชายและหญิง
ในเวลานี้หลวงพ่อได้จัดตั้งสาขาของวัดอัมพวัน
ที่ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น
เพื่อประโยชน์ของพุทธศาสนิกชนทั้งสองเพศ
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่

ส่วนเรื่องของภิกษุณีนั้น การไม่มีภิกษุณีในประเทศไทย
เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์และการขาดปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
ในข้อบัญญัติที่ยึดถือกันมานาน
มากกว่าการไม่ให้ความเสมอภาคแก่สตรี
การที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ไต้หวันหรือในประเทศอื่น
มีภิกษุณีนั้น เป็นเรื่องของนิกายนั้น
ศาสนาพุทธแต่ละนิกาย มีรายละเอียดปลีกย่อย
เกี่ยวกับการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน
เราไม่ควรจะนำมากล่าวอ้างเมื่อศาสนิกชนในนิกายหนึ่งทำได้
ศาสนิกชนในอีกนิกายหนึ่งก็คงจะทำได้ด้วย


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2007, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต ยอมรับว่า ความคิดเรื่องความเสมอภาค
ในพระพุทธศาสนาไปไกลกว่าความคิดของคนตะวันตกมาก
สำหรับในวัฒนธรรมตะวันตกนั้น
ในปัจจุบันมีการพูดเรื่องความเสมอภาคระหว่างชาย - หญิง มากขึ้น
เพราะต้องการให้ผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับผู้ชาย
แม้แต่ในศาสนาคริสต์เอง
ก็มีผู้ตีความหมายคำสอนใหม่ไม่ให้เป็นไปในทำนองดูถูกดูหมิ่นสตรีเพศ
ในปัจจุบันคริสตศาสนานิการคาทอลิกในบางแห่ง
ยอมให้สตรีเป็นนักบวชที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เท่ากันกับนักบวชชาย
สำหรับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น
บางทีในอนาคตข้างหน้า
เมื่อการเรียกร้องสิทธิสตรีมีอิทธิพลมากขึ้น
พระพุทธศาสนาอาจจะจำเป็นต้องแกไขกฎระเบียบใหม่
เพื่อให้สตีสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้
สำหรับในเรื่องของแม่ชีนั้น ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต สังเกตเห็นว่า
ตามวัดต่าง ๆ มักจะมีแม่ชีอยู่จำนวนไม่น้อย
เพื่อช่วยเหลือกิจการงานของวัด
จึงสงสัยว่าในปัจจุบันแม่ชีมีสภาพเช่นใดในสังคมไทย

หลวงพ่อตอบว่า ในปัจจุบันแม่ชีมีสภาพทางสังคมดีขึ้น
เนื่องจากสังคมมองเห็นประโยชน์ที่แม่ชี
ทำให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคมมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน
ในเรื่องของการศึกษานั้น แม่ชีมีโอกาสทางการศึกษามากขึ้นเช่นกัน
เวลานี้แม่ชีที่ศึกษาจบเปรียญ ๙ ได้ก็มีอยู่
และสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ที่รับแม่ชีเข้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ก็มีมากขึ้น
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ในสังคมไทยปัจจุบันมีการยอมรับแม่ชีมากขึ้น
สถานภาพของแม่ชีไม่ได้ต่ำต้อยที่เข้าใจกัน
ส่วนแม่ชีจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเท่าไรนั้น
ขึ้นอยู่กับตัวแม่ชีเอง และงานที่ทำให้พระพุทธศาสนาและสังคม

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต กล่าวเสริมว่า ทราบจากหนังสือพิมพ์
ภาษาอังกฤษว่า เวลานี้แม่ชีจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมมากขึ้น
ทั้งในด้านการศึกษาและสังคมสงเคราะห์
แต่แม่ชีที่เป็นนักวิชาการทางพระพุทธศาสนายังมีจำนวนน้อยมาก
อย่างไรก็ตามถ้าหากแม่ชีมุ่งทำงานดังกล่าวต่อไป
และไม่ทอดทิ้งงานด้านวิชาการที่กล่าวมา
แม่ชีก็คงจะทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคม
ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอเมริกางานสังคมสงเคราะห์ที่แม่ชีทำนั้น
มีอยู่มากมายหลายอย่าง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและเด็กที่ที่ถูกทอดทิ้ง
การพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
และการสอนหนังสือตามโรงเรียนต่าง ๆ
เอกลักษณ์ของแม่ชีในศาสนาคริสต์ คือ งานสังคมสงเคราะห์
ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นงานที่แสดงความรักที่มีต่อพระเจ้า
ดังคำสอนของคริสตศาสนาที่ว่า
ผู้ใดรักพระเจ้าผู้นั้นควรอุทิศตนเพื่อความสุขของผู้อื่น


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2007, 2:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระสงฆ์ การพัฒนา ขอบเขตจำกัด

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต ทราบว่า ในปัจจุบันประเทศศรีลังกา
พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ มาก
ไม่ทราบว่าในประเทศไทยพระสงฆ์มีบทบาทดังกล่าวหรือไม่

หลวงพ่ออธิบายว่า ในประเทศไทยการที่พระสงฆ์ช่วยพัฒนาชุมชนนั้น
มีมานานหลายสิบปีแล้ว และในปัจจุบันจำนวนพระสงฆ์ที่เรียกกันว่า
"พระพัฒนา" ก็มีจำนวนมากขึ้น
การช่วยเหลือพัฒนาชุมชน ไม่ได้ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ที่ต้องการให้พระสงฆ์ช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของคนทั้งหลาย
แต่เนื่องจากคำว่า "พัฒนา" และ "ชุมชน" มีความหมายกว้างมาก

ดังนั้นปัญหาที่พระสงฆ์ ควรคิดก่อนที่จะไปร่วมพัฒนาชุมชน
ก็คือวัตถุประสงค์ วิธีการ สิ่งที่ต้องการพัฒนาและขอบเขตจำกัด
ของการช่วยเหลือชุมชน
สำหรับวัดอัมพวันนั้น การพัฒนา หมายถึง การสร้างคนให้มีคุณธรรม
จริยธรรม หรือการปลุกคนให้ตื่นจากความหลงงมงายต่างๆ
ที่เป็นอันตรายแก่ตนเองและสังคมที่อยู่
โดยการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
โครงการสร้างคนนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่พุทธศาสนิกชนเท่านั้น
แต่ให้โอกาสผู้ที่นับถือศาสนาอื่น เช่น ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
ได้มาร่วมโครงการด้วย วัดอัมพวันได้พัฒนาชุมชนในแนวทางนี้
มาเป็นระยะเวลานาน จนได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์พัฒนาวัฒนธรรม
และจริยธรรมของบุคคลอาชีพต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ชุมชนทั่วประเทศ


ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต เห็นด้วยกับความคิดของหลวงพ่อ
ที่มุ่งการพัฒนาไปที่การสร้างคนมากกว่าการสร้างวัตถุ
การสร้างถาวรวัตถุที่ใหญ่โตและใช้เงินจำนวนมากมายนั้น
มักจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมาได้ภายหลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
แต่การสร้างคนเช่นที่หลวงพ่อทำอยู่นั้น มีแต่ประโยชน์ทางเดียว
ศาสตราจารย์ไวโอเล็ตทราบว่า มีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อย
ที่ช่วยการพัฒนาชุมชนด้วยการจัดทำกิจกรรมต่างๆ
ที่ไม่ใช่การพัฒนาจิตใจ เช่น ที่วัดอัมพวันกำลังทำอยู่
ไม่ทราบว่าหลวงพ่อมีความคิดเห็นเช่นไร
การที่พระสงฆ์เข้าไปร่วมพัฒนาชุมชนนั้น
ควรมีของเขตจำกัดแค่ไหน

หลวงพ่ออธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วพระสงฆ์
ควรจะให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทางจิตใจของศาสนิกชน
มากกว่าด้านอื่น แต่ในบางชุมชน พระสงฆ์จำเป็นต้องช่วยเหลือชาวบ้าน
ในเรื่องอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ในเรื่องการฝึกอาชีพ
และการจัดตั้งสหกรณ์ ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในสังคมไทย
ไม่ว่าในสมัยใด คือ ปัญหาความยากจน
ชาวบ้านในชนบทส่วนมากอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร
และมีฐานะความเป็นอยู่แร้นแค้น
จนต้องการให้พระสงฆ์ช่วยเหลือพวกตนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นการเทศน์สั่งสอนแต่เพียงอย่างเดียว
ในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
พระสงฆ์พยายามให้ชาวบ้านช่วยเหลือกันเองให้มากที่สุด
และในขณะเดียวกันก็ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่จัดกิจกรรมต่างๆ
ให้ชาวบ้านร่วมมือกันทำ เช่น สร้างถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน
ขุดบ่อน้ำ และจัดตั้งธนาคารข้าว
หลวงพ่อมีความเห็นว่าในระยะแรกนั้น
พระสงฆ์จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือในการดำเนินการต่างๆ
ในฐานะผู้นำ และต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ไม่ขัด
กับพระธรรมวินัยด้วย นอกจากนั้นเมื่อชาวบ้านสามารถดำเนินการต่างๆ
ได้เองแล้ว พระสงฆ์ควรจะถอยออกมาและมุ่งพัฒนาชาวบ้าน
ด้านจิตใจ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน
ดังนั้นขอบเขตจำกัดของการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์
จึงอยู่ที่การไม่ทำอะไรที่ผิดพระธรรมวินัย
และการถอนตัวออกมาเมื่อชาวบ้านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2007, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต เห็นด้วยกับความคิดเห็นของหลวงพ่อ
เกี่ยวกับขอบเขตจำกัดของการช่วยพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์
ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตใจ
พระสงฆ์ไม่ใช่ "พัฒนากร" หรือ "นักสังคมสงเคราะห์" โดยอาชีพ
ดังนั้นเมื่อได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้สามารถช่วยตัวเอง
ให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นแล้ว
พระสงฆ์จึงควรจะมุ่งมาที่การพัฒนาจิตใจชาวบ้านให้ดีงาม
สัมมาชีพ เยาวชน ภูมิคุ้มกัน

ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต เข้าใจว่า ศาสนาพุทธเน้นความสำคัญ
ของ "สัมมาอาชีวะ" มากเป็นพิเศษ
เพราะมีความสัมพันธ์กับจริยธรรมของสังคม
ไม่ทราบว่าสังคมไทย ปัจจุบันนำความคิดเรื่องนี้
มาใช้มากน้อยเพียงใด

หลวงพ่อ ยอมรับว่า สัมมาอาชีพมีส่วนช่วยส่งเสริมคุณธรรม
และจริยธรรมของคนในสังคม แต่ในปัจจุบันในสังคมชาวพุทธทั่วไป
ไม่เฉพาะแต่ในสังคมไทยเท่านั้น
ผู้ประกอบอาชีพที่เป็นภัยแก่ชีวิตจิตใจของคนในสังคม
มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และถือกันว่าอาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพสุจริต
ผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ส่วนมาก มีแต่ความเห็นแก่ตัวและความโลภ
ไม่ได้คำนึงถึงสวัสดิการของคนในสังคมไทย
โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย
ดังนั้นการที่จะห้ามไม่ให้มีอาชีพดังกล่าวเลยคงจะเป็นไปไม่ได้

วิธีการสำคัญที่จะป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ถูกทำลาย
ก็คือ จะต้องใช้ความรักความเอาใจใส่ให้การศึกษา
และให้มีธรรมประจำตัว ซึ่งเป็นเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกัน
ให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนั้นครอบครัว โรงเรียน และวัด
ต่างก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้มากและควรจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง