Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ....เดิน จงกรม ทำไม.... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2007, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

- ยังมีผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจว่า เดินจงกรมทำไม เดินกันเพื่ออะไร แต่อวดตนว่ารู้ ได้

แนะนำบุคคลอื่นในที่สาธารณะให้เข้าใจผิดเพี้ยนตามตนไปด้วย เท่ากับว่าสร้างตราบาปต่อผู้

มีจิตศรัทธาในการเดินจงกรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการปฏิบัติกรรมฐาน

มีว่า....

คุณเมลิสา

เดินจงกรมก็ควรรู้ว่าเดินเพื่ออะไร หลักใหญ่ก็คือเดินแบบสมถะหรือวิปัสนา

แบบสมถะ ก็คือ การน้อมอยู่ที่อารมณ์เดียว เช่นอยู่กับคำบริกรรม, อยู่กับสัมผัสกระทบเท้า ฯลฯ

แบบวิปัสนา เดินๆ อยู่ (เดินแบบปกตินี่แหละ) พอจิตแวบไปที่การกระทบที่เท้าก็ให้รู้, จิตแวบออกไปคิดก็ให้รู้, เดินแล้วเกิดปีติก็ให้รู้ หรือที่คุณบอกว่าจิตไม่เอาคำบริกรรม ก็ให้รู้ เกิดความยินดีตรงนี้ก็ให้รู้ รู้ไปอย่างเดียว แล้วปล่อยวาง จิตก็จะเกิดที่นั่นที่นี่ไปไม่หยุดก็ตามรู้ไปไม่หยุดเช่นกัน

ส่วนจะกำหนดหนอๆหรือไม่นั่น ก็ลองดูเอาทั้งสองทาง แต่ควรรู้ไว้ว่ากำหนดเพื่ออะไร ถ้าคิดว่าเพื่อให้ตามทันการปรุงแต่ง แวบแรกที่เรารู้ว่าเกิดการปรุงแต่งแล้ว และตั้งใจจะกำหนดหนอๆ ไปจับมัน ตอนนั้นมันก็ทันแล้วนี่ แล้วจะไปหาคำบัญญัติมากำหนดซ้ำอีกเพื่ออะไร หรือพูดง่ายๆ ให้เห็นภาพ การที่คุณรู้ว่าต้องกำหนดหนอๆแล้วนะเพราะเห็นการปรุงแต่งบางอย่างแล้ว นั่นก็คือคุณเห็นการปรุงแต่งนั้นๆเกิดขึ้นแล้ว ก็หมดงานของการตามรู้แล้ว
ก็ขอให้รู้ไว้ว่าพระศาสดาเราไม่ได้สอนตรงนี้ ถ้าดีจริงจะพลาดจากปัญญาของพระองค์ท่านหรอกหรือ....

จากคุณ : หมูหยอง [ ตอบ: 31 ม.ค. 50 10:33


ดูได้ที่ลิงค์นี้...
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=359
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2007, 10:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-จุดประสงค์ในการเดินจงกรมที่ถูกต้อง จำสั้นๆ ว่า เดินเพื่อให้จิตเกิดสมาธิและเกิด

วิปัสสนาปัญญา ในที่สุด โดยใช้ร่างกาย (รูป) เป็นเหมือนอุปกรณ์สำหรับฝึก คู่กับการนั่งฝึก

ดูอธิบายที่นี่...
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=380
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ.2007, 6:41 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2007, 10:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เดินจงกรมก็ควรรู้ว่าเดินเพื่ออะไร หลักใหญ่ก็คือเดินแบบสมถะ หรือ วิปัสสนา

-ความเห็นข้างบน เป็นมิจฉาทิฐิ คือเห็นผิด เห็นการเดินเป็นสมถะ เห็นการเดินเป็นวิปัสสนา เหมือนบางสำนักเห็นการนั่งเป็นสมาธิ

-“เดินจงกรม” เดิน+จงกรม...เดิน ก็คือการเดิน ไม่ใช่วิ่ง แต่จะวิ่งก็ได้ ขอให้สติตามทันการวิ่งนั้นเรื่อยไป

-เดินจงกรม เดินแบบมีสติรู้ตัวอยู่กับการก้าวไปทีละก้าว ๆ ของตน

-จงกรม เป็นสันสกฤต บาลีเป็น จงฺกม สำเร็จเป็น จงฺกมติ แปลว่า ย่อมก้าวไป ย่อมเดินไป หรือ เดินไปเดินมาอยู่

-ไม่ใช่เห็นผิดเป็นชอบ เห็นการเดินเป็นสมถะหรือเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างนั้นนะ คิดอย่างนั้นผิด

เพราะฉะนั้นที่เห็นว่า....เดินจงกรมก็ควรรู้ว่าเดินเพื่ออะไร หลักใหญ่ก็คือเดินแบบสมถะ หรือ วิปัสสนา

-จึงผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง

-พระพุทธเจ้าก็มิได้ตรัสว่า จงกรม เป็นแบบสมถะหรือวิปัสสนาดังที่กล่าวมา หรือมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มใดเลย

ดูที่ลิงค์นี้....
http://www.geocities.com/dhammakosa/43/432119.html


- เมื่อเริ่มต้นผิดพลาดแล้ว ความดำริที่จะทำการอะไรๆ ต่อไปก็พลาดเป้าหมด เพราะเป็นมิจฉาสังกัปปะไปแล้ว เช่นที่ว่า

อยู่กับคำบริกรรม

- ความเห็นเช่นนี้ก็เพี้ยน

-การเจริญวิปัสสนากรรมฐานท่านใช้ร่างกายตนนี่ (รูป) และนาม (ความคิด,ความรู้สึก) เป็นอารมณ์ เป็นที่ระลึก สร้างสติสัมปชัญญะ (=สติปัฏฐาน=สัมมาสติ)

-ส่วนคำบริกรรม เป็นต้น ว่าซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เป็นอุบายตรึงจิตให้อยู่กับร่างกายที่เคลื่อนไหว คือเท้าซ้าย เท้าขวา เป็นต้น ที่ก้าวเดินไป และเป็นอุบายตรึงจิตให้อยู่กับนาม เวทนา จิต ธรรม
ไม่ใช่อยู่กับคำบริกรรมอย่างที่เข้าใจซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละราวเลย

เทียบเคียงเดินกับการนั่งที่นี่...

http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=112

ดูเขาเดินแบบวิปัสสนากันบ้าง....
แบบวิปัสนา เดิน ๆ อยู่...พอจิตแวบไปที่การกระทบที่เท้าก็ให้รู้... ฯลฯ...

-นี่ก็เข้าใจผิดอีก คือมองความคิดที่วิ่งไปเกาะตรงนั้นกระทบตรงนี้ ว่าเป็นวิปัสสนา

วิปัสสนา แปลว่า การเห็นแจ้งในรูปและนาม ได้แก่ การรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ คือ วิปัสสนา

หมายความว่าท่านใช้ทั้งรูปและนาม เป็นสนามฝึก อันใดเกิดปรากฏชัดก็กำหนดรู้อันนั้น ซึ่งที่จริงก็ได้แก่ฝึกหัดดัดจิตตามหลักสติปัฏฐาน ๔ มีร่างกาย เวทนา จิต และธรรม นั่นเองเป็นสนามฝึก

-หากใช้แต่นามโดด ๆ จิตจะเคว้งคว้าง ไม่มีที่ยึดที่เกาะ เมื่อกระทบกับอนิฏฐารมณ์แรง ๆ แล้ว ทนกับอารมณ์นั่นไม่ได้ หรือตามดูไม่ทัน ความคิดจะเตลิดไปตามอนิฏฐารมณ์นั้น...

กว่าจะรู้สึกตัวมันก็ดับไปแล้ว...ลองสังเกตดู
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ.2007, 6:41 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2007, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2007, 10:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปรมัตถ์จริงๆ ไม่มี ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มี ไม่รู้ว่ามันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอน แต่มีสภาวะอยู่ สภาวะปรมัตถ์อันนั้น เลือกไม่ได้ว่ามันยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอนนั่นคือ ปรมัตถธรรมแต่ว่าผู้ปฏิบัติจะให้เข้าไปถึงจุดสภาวธรรมเหล่านั้นจริงๆ มันทำไม่ได้ เข้าไม่ถึงก็อาศัยสมมุติไปก่อน อาศัยสมมุติ ว่ายืน ว่าเดิน ว่านั่ง ว่านอน พยายามดู กายยืน กายเดิน กายนั่ง กายนอน สัมผัสปรมัตถ์บ้าง สัมผัสสมมุติบ้าง จิตมันก็เป็นสมาธิ เพราะว่า กายยืน เดิน นั่ง นอน นี่มันก็เป็นกรรมฐานให้จิตมาจดจ่ออยู่ที่กาย ไม่คิดเรื่องอื่น นั่งอยู่ก็นึกมารู้ที่กายนั่ง ท่าทางของกายที่นั่ง จิตไม่ไปเรื่องอื่น ยืนก็มีสติรู้อยู่ที่กายยืน เดินก็มีสติรู้อยู่กับกายที่มันก้าวไป ก้าวเท้าขวา ก้าวเท้าซ้าย จิตไม่ไปเรื่องอื่นเป็นสมาธิ นอนก็เอาจิตมารู้ที่กายที่นอนอยู่

ทีนี้บางคนดูอย่างนี้ก็ยังไม่อยู่ก็ต้องเอาบัญญัติที่เป็นชื่อเข้ามาใส่อีก อ้าวกำหนดไปนะว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ พอเอ่ยชื่อขวามันก็นึกถึงขาขวา พอว่าซ้ายก็นึกถึงขาซ้ายทีนี้คำบัญญัติเหล่านี้ช่วยให้จิตอยู่กับกายขึ้น หรือว่ากำหนดพุทโธ เหยียบเท้าขวาว่า พุท ก้าวเท้าซ้ายว่าโธ พอนึกพุทโธก็นึกถึงขาได้อีก หรือนั่งก็กำหนดภาวนาว่า นั่งเป็นรูปรู้เป็นนาม ยืนเป็นรูปรู้เป็นนาม เป็นคำบริกรรมกำกับก็ได้ แต่มันยังไม่ถึงวิปัสสนา เป็นเรื่องทำให้เกิดสมาธิ ถึงแม้ว่าเราจะบริกรรมว่า ยืนเป็นรูปรู้เป็นนาม ก้าวเป็นรูป นอนเป็นรูป รู้เป็นนาม เราได้บริกรรมชื่อของรูปนาม แต่มันไม่เห็นรูปนามจริง ได้แต่เรียกชื่อเอา แต่ก็ยังเป็นกรรมฐานอยู่ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานให้เกิดสมาธิได้ ในเมื่อเราทำจิตให้อยู่กับกายยืน เดิน นั่ง นอน ดีขึ้นๆ จึงกำหนดให้ลึกซึ้งลงไปอีกถึง ความรู้สึกว่าขณะที่มันยืน เดิน นั่ง นอน มันก็มีเย็น มีร้อน มีตึง มีไหว มีแข็ง มีอ่อน เป็นความรู้สึกอยู่ นั้นละเป็นปรมัตถธรรม

..... ธรรมบรรยาย ตอนที่ 5 ธรรมกับชีวิต.....โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

ศึกษาได้ตามลิ้งค์ค่ะ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7058
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.พ.2007, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นปรมัตถ์หรอยางง

-การที่จะเห็นปรมัตถ์ต้องมีเหตุปัจจัยพร้อม (คือปฏิบัติถูกทาง) จึงจะเห็นปรมัตถ์ที่ว่านั้นได้ ปฏิบัติก็ต้องอาศัยบัญญัติไปก่อน เกาะบัญญัติไปก่อน คือร่างกายและจิตใจนี่เอง ซึ่งท่านเปรียบเสมือนเรือหรือแพ ซึ่งใช้ขี่ข้ามไปฝั่งอันเกษม เมื่อถึงฝั่งแล้ว (=เห็นปรมัตถ์ หรือ เห็นไตรลักณ์ด้วยสัมมาปัญญาแล้ว) ท่านว่าไม่จำต้องแบกหรือเทินไป คือมันวางได้เองแล้ว คือวางขันธ์

หรือจะพูดเสียใหม่ว่า เห็นไตรลักษณ์ก็ได้อันเดียวกัน ถ้าไม่มีเหตุได้ปัจจัยพร้อมแล้วก็ไม่เห็นทั้งที่ไตรลักษณ์มีอยู่แล้ว

ปรมัตถ์ที่ว่าก็คือธรรมชาติล้วนๆแท้ๆ ไม่เห็นไตรลักษณ์ก็ไม่เห็นปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ก็เห็นไตรลักษณ์ เห็นไตรลักษณ์ก็เท่ากับเห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นปฏิจจสมุปบาทก็เท่ากับเห็นอริยสัจ ๔ เห็นอริยสัจ ๔ ก็เท่ากับเห็นนิพพาน จบเอวัง

แต่ทั้งหลายทั้งปวง ต้องอาศัยบัญญัติเกาะไป คือเกาะรูป-นามไปปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔

ปรมัตถ์หรือไตรลักษณ์ ( แล้วแต่จะหยิบมุมใดมาพูด) มันมีอยู่ของมันเองแล้ว ซึ่งไม่เกี่ยวกับคน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตถาคตจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตามสิ่งเหล่านั้นมันมีอยู่แล้ว

คนจะพูดอย่างไรก็พูดได้ นั่งพูดนั่งคุยกันไปตามจริต แต่ความจริงหรือปรมัตถ์ต่างจากจินตนาการเอาของคน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.พ.2007, 2:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าแนะนำอยู่ตรง "หนอ" ก็ให้เข้าใจว่ายังไม่ถึงวิปัสสนาที่แท้จริง ไม่ควรแนะนำให้สับสน กล่าวถึงขณะแต่ยังติด "หนอ" ก็ยังไม่ใช่ ปรมัตถ์ล้วนๆไม่ติดหนอ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.พ.2007, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีครับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆกัน ทำความเข้าใจกันได้

-แต่ไม่พึงนำแต่ “หนอ” มาอันเดียวเดี๋ยวสับสน ยกองค์กรรมฐานที่กำหนดรู้นั้นๆ มาด้วย
คำบริกรรมตามสภาพเหมือนเครื่องตรึงจิตให้อยู่กับอารมณ์ได้ดีขึ้น หนักแน่นขึ้น ไม่เลื่อนลอย

ดูพุทโธเป็นตัวอย่างก่อน
เรา พุทโธๆ กัน ก็มิใช่ ใช้พุทโธลอย ๆ แต่ใช้ลมหายใจเป็นกรรมฐานหรือเป็นที่ทำงานของจิต
พร้อมกับบริกรรม พุทโธ ๆ ตามลมหายใจเข้าออก

กสิณทุกประเภทที่ท่านอธิบายในวิสุทธิมรรคก็มีคำบริกรรมตามชื่อกสิณทุกอย่างเช่น ปถวีกสิณ (กสิณดิน) ก็ก็บริกรรมตามชื่อดิน ปถวี กสิณังๆ
นึกดูดีดีนะ

ต่อไป พองหนอ ยุบหนอบ้าง
พอง คืออาการพองของท้อง ซึ่งเราสูดลมหายใจเข้าไปแล้วท้องพองขึ้น ท่านก็เอาอาการท้องที่พองขึ้นนั้นเป็นกรรมฐานหรือเป็นที่ทำงานของจิต “พองหนอ” ซึ่งตรง "พุทโธ" หายใจเข้า “พุท”

ยุบ คืออาการของท้องซึ่งแฟบหรือยุบลง ซึ่งเราหายใจออก ท่านก็ยึดเอาอาการยุบของท้องนั้นเองเป็นกรรมฐานหรือเป็นที่ทำงานของจิต “ยุบหนอ” ตรงกับ "พุทโธ" หายใจออก-โธ

หายใจเข้า “พุท”
หายใจออก “โธ”
พุทโธ ๆๆๆ สาระเท่านี้ก่อน

ท้องพอง “พองหนอ”

ท้องยุบ “ยุบหนอ” สาระเท่านี้ก่อน
ค่อยๆทำความเข้าใจทีละน้อยๆ ทีละประเด็นๆไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.พ.2007, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอคำอธิบายคำว่า วิปัสสนา โดยละเอียดจากผู้ถามก่อนว่า อย่างไรถึง

ไหน เห็นอะไรจึงเรียกว่า วิปัสสนา

ใช้อะไรเปนอารมณ์ระลึกรู้ ในการปฏิบัติกรรมฐาน

และคำว่ากรรมฐานหมายถึงอะไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.พ.2007, 6:29 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2007, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถามต่ออีกนะ ว่าปรมัตถธรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

รีบๆตอบ เพื่อที่...จะได้ตอบคำถามต่อให้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2007, 1:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความรู้สึกว่าขณะที่มันยืน เดิน นั่ง นอน มันก็มีเย็น มีร้อน มีตึง มีไหว มีแข็ง มีอ่อน เป็นความรู้สึกอยู่ นั้นละเป็นปรมัตถธรรม

เย็น= อาบน้ำมาใหม่ ๆ หรือหน้าหนาว จับร่างกายดูรู้สึกเย็นๆ อย่างนี้เป็นปรมัตถรรมหรือยาง
ร้อน= ตากแดดนานๆ หรือพิงไฟนานๆ เอามือจับร่างกายดูรู้สึกร้อนๆ อย่างนี้เป็น
ปรมัตถธรรมหรือยาง
ฯลฯ
แข็ง=จับกระดูกข้อศอก/เข่า รู้สึกแข็งๆ อย่างนี้เป็นปรมัตถธรรมหรอยาง

-รีบเข้ามาตอบคำถามทั้งหมดด้วย จะได้อธิบายธรรมต่อให้อีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2007, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-องค์ ธรรมคือศรัทธา หรือความเชื่อ เป็นองค์ธรรมสำคัญในเบื้องตน ถ้าคนไม่มีศรัทธาไม่มีความเชื่อต่อสิ่งใดหรือบุคคลใดแล้ว ก็ไม่เริ่มต้นทำงานอะไรๆ
หรือทำก็ทำแบบแกนๆ ทำแบบขอไปที เพราะตนไม่เชื่อไม่ศรัทธาต่องานนั้น ต่อบุคคลนั้น

-ศรัทธา มีความสำคัญในเบื้องก็จริง แต่ศรัทธาก็มีจุดบกพร่อง ถ้าคนเชื่ออะไร หรือบุคคลใดโดยขาดปัญญา ขาดการพิจารณาโดยรอบคอบด้วยเหตุด้วยผลแล้ว อาจเป็นความงมงายเชื่อผิดๆได้ เพราะฉะนั้นหมวดธรรมหลายๆ หมวด เมื่อเริ่มต้นด้วยศรัทธาแล้ว ปิดท้ายด้วยปัญญาเสมอ เช่น...อินทรีย์ ๕ คือ ๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์ ๓. สตินทรีย์ ๔.ปัญญินทรีย์. เป็นต้น

ศรัทธา ความเชื่อบุคคล หรือสิ่งผิดๆ การปฏิบัติก็ผิด จะทำอะไรก็ผิด ลองดูการปฏิบัติผิดของคนกลุ่มหนึ่งที่นี่
http://www.siripong.net/webboard/show.php?Category=0&No=335

ดูวิธีนั่งสั่นฌานเขาดิ การตอบสั่นฌานของเจ้าสำนักซึ่งสอนสาวกเขาด้วย ขำ แล้วจะเห็นเหตุผลข้างต้นว่าทำไมท่าน...จึงจัดปัญญาไว้ท้ายหมวดธรรมเมื่อมีศรัทธานำหน้า เพราะศรัทธาโด่ๆ จะถูกจูงไปแบบผิดๆ รู้ผิดทั้งคนสอน และคนเดินตาม

ในเมืองไทยยังมีอีกหลายแห่ง หลายสำนัก ปฏิบัติกรรมฐานผิด ซึ่งไม่ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้า

ในเบื้องต้นควรเข้าใจว่า ปฏิบัติเพื่อลดละกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ....เมื่อกิเลสเครื่องหมองใจลดลงก็ได้บุญมหาศาล และยังตรงกับความมุ่งหมายเดิมของพระศาสดาด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2007, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าแนะนำอยู่ตรง "หนอ" ก็ให้เข้าใจว่ายังไม่ถึงวิปัสสนาที่แท้จริง ไม่ควรแนะนำให้สับสน กล่าวถึงขณะแต่ยังติด "หนอ" ก็ยังไม่ใช่ ปรมัตถ์ล้วนๆไม่ติดหนอ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน

ท่านเจ้าของข้อความนี้ ตอบคำถามที่ถามไว้ให้ด้วย แล้วจะอธิบายประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตไว้นี้ให้ เอาให้เคลีย์เลย รออยู่นะ
เข้ามาอ่าน อ่านแล้วตอบด้วย พูดตอบตามความเข้าใจของตนทีเดียว ที่ตนปฏิบัติอยู่ทีเดียว ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด

คิดว่าถูก ไม่ต้องกลัวผิด ถ้าผิดพึงแก้ไข จะได้ถูก ไม่ใช่สิ่งน่าอายอะไรเลย พระพุทธเจ้ากลับสรรเสริญสะด้วยซ้ำ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2007, 5:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-สำหรับคนสามัญทั่วไป ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สำคัญยิ่ง เป็นอุปกรณ์ชักนำให้เดินหน้าต่อไป เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ทำให้การก้าวหน้าไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่า บางคราวผู้มีปัญญามากกว่า แต่ขาดความเชื่อมั่น กลับประสบความสำเร็จช้ากว่าผู้มีปัญญาด้อยกว่าแต่ศรัทธาแรงกล้า

-ในกรณีที่ศรัทธานั้นไปตรงกับสิ่งที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นการทุ่นแรงทุ่นเวลาไปในตัว
ตรงกันข้าม ถ้าศรัทธาเกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการทำให้เขว ยิ่งหลงช้าหนักขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ดี ศรัทธาในพุทธธรรม มีเหตุผลเป็นฐานรองรับ มีปัญญาคอบควบคุม จึงยากที่จะผิด นอกจากสุดวิสัยจริงๆ
และก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ไม่ดิ่งไปในทางที่ผิด เพราะคอยรับรู้เหตุผลค้นคว้าและทดลองอยู่ตลอดเวลา
การขาดศรัทธาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ชะงัก ไม่ก้าวหน้าต่อไปในทิศทางที่ต้องการ

การขาดศรัทธา มีความสงสัย แคลงใจ ไม่เชื่อมั่น จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาปัญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย สิ่งที่ต้องทำในกรณีนี้ก็คือ ต้องปลูกศรัทธา และกำจัดความสงสัยแคลงใจ

แต่การปลูกศรัทธาในที่นี้มิได้หมายถึงการยอมรับ และมอบความไว้วางใจให้โดยไม่เคารพในคุณค่าแห่งปัญญาของตน แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ทดสอบด้วยปัญญาของตน ให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย

วิธีทดสอบนั้น นอกจากในพุทธพจน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีพุทธพจน์แสดงตัวอย่างการคิดสอบสวนก่อนที่จะเกิดศรัทธาอีก
เช่น ในข้อความต่อไปนี้ ซึ่งเป็นคำสอนให้คิดสอบสวน แม้แต่องค์พระพุทธเจ้าเองจะนำมาพอเป็นตัวอย่างพอเป็นที่สังเกต ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุตรวจสอบ เมื่อไม่รู้วิธีกำหนดวาระจิตของผู้อื่น พึงกระทำการพิจารณาตรวจสอบในตถาคต เพื่อทราบว่า พระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะ หรือไม่”

“ภิกษุตรวจสอบ เมื่อไม่รู้วิธีกำหนดวาระจิตของผู้อื่น พึงพิจารณาตรวจสอบในตถาคตในธรรม ๒ อย่าง คือ ในสิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยตา และ หู ว่า

-ที่พึงรู้ได้ด้วยตาและหู ธรรมที่เศร้าหมอง มีแก่ตถาคต หรือหาไม่ เมื่อเธอพิจารณาตรวจสอบตถาคตนั้น ก็ทราบได้ว่า ธรรมที่พึงรู้ได้ด้วยตาและหูที่เศร้าหมองของตถาคตไม่มี

-จากนั้น เธอก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า เท่าที่พึงรู้ด้วยตาและหู ธรรมที่ (ชั่วบ้าง ดีบ้าง) ปนๆกันบ้าง มีแก่ตถาคตหรือหาไม่ เมื่อเธอพิจารณาตรวจสอบตถาคตนั้น ก็ทราบได้ว่า เท่าที่พึงรู้ได้ด้วยตาและหู ธรรมที่ (ดีบ้าง ชั่วบ้าง) ปนๆ กันไปของตถาคตไม่มี

"ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น พึงสอบถามตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า เท่าที่ได้รู้ด้วยตาและหู ธรรมที่เศร้าหมองมีแค่ตถาคตหรือหาไม่ ตถาคตเมื่อตอบแม้ ก็จะตอบแก้ว่า...ไม่มี

ถามว่า ธรรมที่ (ดีบ้าง ชั่วบ้าง) ปนๆ กันไป มีแก่ตถาคตหรือไม่ ตถาคตเมื่อตอบแก้ ก็จะตอบแก้ว่า...ไม่มี

ถามว่า ธรรมที่สะอาดหมดจด มีแก่ตถาคตหรือหาไม่ ตถาคตเมื่อตอบแก้ก็จะตอบแก้ว่า...มี เรามีธรรมที่สะอาดหมดจดนั้นเป็นทางดำเนิน และเราจะเป็นผู้มีตัณหาเพราะเหตุนั้นก็หาไม่

-ศาสดา ผู้กล่าวได้อย่างนี้แล สาวกจึงควรเข้าไปหาเพื่อสดับธรรม

-พึงสังเกตว่า แม้แต่ความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ถูกถือว่าเป็นบาปหรือความชั่วเลย

ถือว่าเป็นเพียงสิ่งที่ต้องแก้ไขให้รู้แน่ชัดลงไป จนหมดสงสัยด้วยวิธีการแห่งปัญญา และยังส่งเสริมให้ใช้ความคิดสอบสวนพิจารณาตรวจสอบอีกด้วย

เมื่อมีผู้ใดประกาศตัวเองแสดงความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะประทานความเห็นชอบ จะทรงสอบสวนก่อนว่า ศรัทธาปสาทะของเขามีเหตุผลเป็นมูลฐานหรือไม่ ดังเรื่องพระสารีบุตร...


-ปัจจุบันมีลัทธิความเชื่อแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย ในอนาคตก็คงมากมี
ฉะนั้น ควรตรวจสอบโดยยึดหลักพุทธวจนะดังกล่าวไว้ แล้วนำไปตรวจสอบดู ว่าเขาแนะนำกันสอนกันอย่างไร อย่างที่พระศาสดาให้แนวทางไว้หรือไม่ เป็นไปเพื่อระงับดับทุกข์หรือไม่
มิใช่หลงเชื่อเพียงคำโฆษณาโดยเอาศาสนาบังหน้า

ตัวอย่างศรัทธา หรือ ความเชื่อใคร หรืออะไรๆ ผิดๆ เป็นเหตุให้ประพฤติผิดปฏิบัติผิดทาง ที่นี่

http://www.siripong.net/webboard/show.php?Category=0&No=335
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ.2007, 4:05 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2007, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เชิญห้องสนทนาโดยตรง

http://www.dhammajak.net/chat/set.php
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2007, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง