Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 10:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทา
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)


วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ



๏ อัตโนประวัติ

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) มีนามเดิมว่า ประยูร มีฤกษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ มีความรู้ความสามารถอย่างสูงในทางพุทธปรัชญา และทางพระพุทธศาสนา


๏ การบรรพชาและอุปสมบท

ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ขณะที่อายุได้ ๑๑ ปี ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปีเดียวกันนั้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ สอบได้ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเอก (Ph. D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นผู้มีเกียรติคุณความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ และทางด้านงานบริหารอย่างโดดเด่นท่านหนึ่งของสังคมไทย บทบาทสำคัญในทางวิชาการของท่านมีอยู่มากมาย ดังเช่น เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์พิเศษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในมหาวิทยาลัยต่างๆ


๏ งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เป็นประธานอำนวยการดำเนินการรายการธรรมะทางวิทยุเพื่อการศึกษา เป็นประธานคณะบรรณาธิการพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นประธานจัดการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แห่งโลก ครั้งที่ ๒ ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๙–๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓


๏ ประวัติการทำงาน

-- พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นอาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์

-- พ.ศ. ๒๕๒๙ - พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ

-- พ.ศ. ๒๕๓๑ - พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

-- พ.ศ. ๒๕๓๓ - พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา

-- พ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

-- พ.ศ. ๒๕๔๕ - ปัจจุบัน เป็นอธิการบดี


๏ ลำดับสมณศักดิ์

-- พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์

-- พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

-- พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

-- พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

-- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายมหานิกาย ที่ พระพรหมบัณฑิต ท่ามกลางความปีติยินดียิ่งของคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป


๏ ตำแหน่งทางคณะสงฆ์

-- เจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์ ๓ จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี

-- เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

-- เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)


๏ ตำแหน่งทางวิชาการ

-- พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา ของ มจร.

-- เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นพระเถรานุเถระรูปที่ ๒ ของประเทศไทย ที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว ก่อนหน้านี้ท่านเจ้าประคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาศาสนศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ ทั้งนี้ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คือ ผู้ทรงเกียรติคุณในวิชาประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของราชบัณฑิตทุกสำนักเห็นชอบ ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง


๏ ผลงานทางวิชาการ

มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย เป็นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ผลงานวิชาการยังได้รับการอ้างอิงในวารสาร ตำรา รวมทั้งหนังสือที่เชื่อถือได้ในวงวิชาการ และมีการนำผลงานทางวิชาการ ไปใช้ประโยชน์จนเป็นที่ยอมรับในสาขาปรัชญา ผลงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อาทิ วิมุตติมรรค ปรัชญากรีกบ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก A Buddhist Approach to Peace Buddhist Morality เป็นต้น

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นศาสตราจารย์ สายวิชาการคนแรกของประเทศไทยที่มาจากคณะสงฆ์ ที่ผ่านมามีพระสงฆ์ที่ได้เป็นศาสตราจารย์ แต่เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวสกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม


๏ สถานที่ทำงาน

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร. วังน้อย) ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา


๏ ที่พำนักจำพรรษาปัจจุบัน

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร



............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.watprayoon.org/
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2012, 5:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระทู้ในบอร์ดใหม่

ประวัติและปฏิปทา
“พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44132
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง