Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นครราชสีมา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2005, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดนครราชสีมา ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดนครราชสีมา
http://nakhonratchasima.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.พ.2006, 6:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ศาลาปฏิบัติธรรม สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
............................................................................



สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
หมู่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 089-777-1625


เป็นวัดสาขาของสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาหินกอง)
สี่แยกหินกอง บนเขาเทพพนมยงค์ ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230

พระสุนทรธรรมภาณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) ประธานสงฆ์

พ.ศ.2546 พระอาจารย์สมชาติ มีความประสงค์ที่จะหาสถานที่ปฏิบัติธรรมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสำนักฯ ที่จังหวัดสระบุรี มากนัก เพื่อสะดวกในการเดินทาง จนกระทั่งเมื่อปลายปี พ.ศ.2546 คุณวิชัย วนวิทย์ ผู้บริหารในเครือบริษัท ฮาตาริ กรุ๊ป ผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและในปฏิปทาข้อวัตรอันเคร่งครัดของพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต จึงได้จัดซื้อที่ดินถวายจำนวน 100 กว่าไร่ ณ บริเวณบ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)

พ.ศ.2547 ได้เริ่มก่อสร้าง กุฏิพระสงฆ์ กุฏิกรรมฐาน ศาลาปฏิบัติธรรม โรงทาน โรงครัว ห้องน้ำ ปลูกต้นไม้ และตบแต่งสถานที่ ทั้งนี้ ได้อารธานาสมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ และสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานเปิดแพรคลุมป้ายศาลาปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549

สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) ใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดฝึกอบรมและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นหลัก โดยเฉพาะจัดฝึกอบรมให้แก่พระนวกะ (นวกภิกษุ) พระภิกษุ สามเณร รวมทั้ง เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พนักงาน จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจน ข้าราชการตำรวจ ทหาร และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ

ต่อมาทางสำนักฯ ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 160 กว่าไร่

เจ้าหน้าที่ : แม่ชีนลินรัตน์ โทรศัพท์ 089-777-1625

แนวปฏิบัติ : เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนาเจริญสติกำหนดในกายตน-จิตตน มองทุกอย่างให้เห็นว่าศีลอยู่ตรงไหน ศีลคืออะไร สมาธิจิตคืออะไร จิตสงบอย่างไร เป็นปัจจัตตัง เป็นจุดที่ต้องหาเหตุ

สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) นี้ มีเนื้อที่ 160 กว่าไร่
บรรยากาศเหมือนรีสอร์ท อากาศเย็นสบาย ร่มรื่น ปลอดโปร่ง
สงบสงัด เหมาะแก่การปลีกวิเวกเพื่อปฏิบัติเจริญจิตตภาวนามากเลยค่ะ


เราอาจเลือกปฏิบัติบนศาลาร่วมกับหมู่คณะ
หรือเลือกปฏิบัติแบบเข้ม-เข้ากรรมฐาน ปิดวาจา พักในกุฏิ ก็ได้


สาขาปากช่องนี้ใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดอบรมปฏิบัติธรรมเป็นหลัก
หากเราเลือกไปปฏิบัติสาขานี้ ช่วงที่ไม่มีการจัดอบรมจะมีคนไม่มากนัก
เราสามารถเลือกปฏิบัติแบบพักในกุฏิ (เป็นหลังๆ เป็นส่วนตัว) ปิดวาจา
โดยไม่ขึ้นไปปฏิบัติบนศาลาร่วมกับหมู่คณะก็ได้ค่ะ

เข้าใจว่าเราอาจขอให้ทางเจ้าหน้าที่ของวัดช่วยส่งปิ่นโตอาหารให้หน้ากุฏิได้
หรือเราจะมาทานอาหารร่วมกับหมู่คณะที่โรงทานก็ได้ เลือกเอาตามความสะดวกค่ะ


Image
กุฏิกรรมฐาน สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
............................................................................



• การเดินทางโดยรถประจำทาง •

(1) ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต 2
สายที่ไปถึง ตลาดปากช่อง หรือ ท่ารถทัวร์อำเภอปากช่อง
แล้วเหมา รถรับจ้าง-รถกระบะ ราคาประมาณ 150-200 บาท
หรือ รถมอร์เตอร์ไซต์รับจ้าง ราคาประมาณ 100 บาท

ขอให้ไปส่งที่ สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
ระยะทางจากตลาดปากช่อง หรือท่ารถทัวร์อำเภอปากช่อง
ถึงสำนักฯ ประมาณ 14-15 กิโลเมตร

ติดต่อกับ...รถรับจ้าง-รถกระบะ
- คุณว๋ง โทรศัพท์ 084-589-4399
- คุณตุ้ย โทรศัพท์ 089-580-7223
- คุณเขียว โทรศัพท์ 089-227-6386

(2) ขึ้นรถตู้ สายที่ไปถึง ตลาดปากช่อง
รถจอดตรงซอยราชวิถี ซอย 3 ติดสวนสันติภาพ
เวลารถออก 06.00-19.00 น. ทุกวัน ค่ารถ 180 บาท
ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ 087-117-9684

กรณีนี้ เราต้องแจ้งความประสงค์ของเรา ขอให้ทางรถตู้ขับไปส่ง
ถึง สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) จะได้ไหม
หากเขายอมไปส่งให้เรา ทางรถตู้จะคิดค่าโดยสารเพิ่มอีก 100 บาท

• เส้นทางการเดินทางโดยคร่าวๆ •

กรุงเทพฯ ---> ฟาร์มโชคชัย ---> ซ้ายมือเป็นซุ้มเข้าเขตอำเภอปากช่อง
---> แยกไฟแดงที่ 2 ---> เขาแคน “ประตูสู่อีสาน” ---> เลี้ยวซ้าย
---> ทองสมบูรณ์คลับ ---> อีกประมาณ 7-8 กิโลเมตร จะเห็นป้ายขนาดใหญ่
ของวัดธารน้ำตกหลังเหว และป้ายสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)


ปัจจุบันสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีทั้งหมด 3 แห่งดังนี้

1. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาหินกอง)
หมู่ที่ 1 สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
โทรศัพท์ 036-379-428, 036-305-239

2. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (วัดป่าสว่างวีรวงศ์)
บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์ 081-600-0848

3. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 089-777-1625

เว็บไซต์สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต

http://www.sangdhamsongchevit.com/
http://www.sangdham3.com/

Image
พระสุนทรธรรมภาณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3045

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24981

รายการวิทยุธรรมะ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5862

เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/somchart.php

มีวัดไหนสงบๆ อนุญาตให้เข้าพักถือศีล 8 ช่วงปีใหม่บ้างครับ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35969

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.พ.2006, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
กุฏิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ณ วัดวะภูแก้ว
............................................................................



วัดวะภูแก้ว (วัดป่าวะภูแก้ว)
หมู่ 11 บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่
อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170
โทรศัพท์ 044-249-045,
081-062-8653, 081-999-1232


พระครูกิติวัฒนกุล (กิตติ ติกฺขวีโร)
เจ้าคณะตำบลสูงเนิน (ธ) และเจ้าอาวาสวัดวะภูแก้ว


วัดวะภูแก้ว ได้รับแต่งตั้งจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดนครราชสีมา และเป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ปฏิบัติตามแนวหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล-หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”

วัดวะภูแก้ว มีโครงการจัดอบรมวิปัสสนาตามหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรอบรมพัฒนาจิต หลักสูตรสำหรับเด็กเล็ก ฯลฯ วัดตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ ร่มรื่น สวยงาม มีอาคารอบรมขนาดใหญ่สำหรับผู้มาอบรมปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะ

Image

Image
เมื่อครั้งมีการซ่อมแซมปรับปรุงกุฏิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ณ วัดวะภูแก้ว
............................................................................



• ประวัติการสร้างวัดวะภูแก้ว •

พ.ศ. ๒๕๒๓ พระสุวรรณ อินฺทสีโล ได้เดินธุดงค์มาปักกลดโปรดชาวบ้านบริเวณน้ำตกวะภูแก้ว ชาวบ้านเกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงอาราธนานิมนต์ท่านให้สร้างวัดขึ้น ท่านจึงได้นำความไปปรึกษากับพระอาจารย์ คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ขณะนั้นท่านดำรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระชินวงศาจารย์

เมื่อหลวงพ่อพุธได้ฟังคำกราบเรียนจากพระสุวรรณนั้นแล้ว จึงได้ออกไปสำรวจดูสถานที่แต่ยังไม่ได้ตกลงใจที่จะเลือกบริเวณที่จะสร้างวัด จนกระทั่งชาวบ้านวะภูแล้วมาแสดงความจำนงขอถวายที่ดินของตนเพื่อใช้เป็นสถานที่ขอสร้างวัด และปวารณาตัวที่จะช่วยหลวงพ่อพุธสร้างวัด หลวงพ่อพุธจึงตอบตกลงโดยให้พระสุวรรณทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์ และมีองค์หลวงพ่อเป็นประธานสงฆ์

พ.ศ. ๒๕๒๘ หลวงพ่อพุธได้มีบัญชาให้ พระอาจารย์เจต ทีฆายุโก ผู้ซึ่งเป็นศิษย์จากสำนักวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา มาทำหน้าที่หัวหน้าสำนักแทนพระสุวรรณ ซึ่งลาลิกขาไป

พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อพุธที่ทำงานอยู่ที่ป่าไม้เขตนครราชสีมา ได้เป็นผู้ดำเนินงานในการติดต่อขออนุญาตกรมป่าไม้ เพื่อใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติสูงเนิน ในการก่อสร้างวัดวะภูแก้ว กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งอนุมัติพื้นที่จำนวน ๑๕ ไร่ และยกพื้นที่อีก ๓๐๐ ไร่ ให้แก่กรมการศาสนาเพื่อใช้ทำประโยชน์เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

Image

Image

Image

Image

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ กรมการศาสนา ได้อนุมัติให้ “วัดวะภูแก้ว” เป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยมี พระอาจารย์เงิน ภทฺทโก เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระภาวนาพิศาลเถร เป็นประธานสงฆ์

เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพลง หลวงพ่อพุธได้ทำหน้าที่ประธานสงฆ์และรักษาการเจ้าอาวาสมาเป็นลำดับ จนกระทั่งท่านมรณภาพลง ทางเจ้าคณะจังหวัดโดยพระราชวรญาณ (วิจิตร จิตฺตทตฺโต) จึงดำริแต่งตั้งเจ้าอาวาสองค์ใหม่เพื่อประสานงานของหลวงพ่อพุธต่อไป โดยมีความเห็นชอบแต่งตั้ง พระปลัดกิตติ ติกฺขวีโร เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมา พระปลัดกิตติ ติกฺขวีโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูกิติวัฒนกุล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

• ผู้สนใจไปปฏิบัติธรรม
ที่ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว •


การอบรมปีการศึกษา ๒๕๕๓ มีทุกสัปดาห์ เริ่มทุกวันศุกร์
- หลักสูตรเด็กเล็ก (ป.๔-ม.๑) วันศุกร์ถึงวันอาทิตย์
- หลักสูตรเด็กโต (ม.๒ ขึ้นไป) วันศุกร์ถึงวันอังคาร

เริ่มตั้งแต่ ๑ พ.ค. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม
โทร. ๐๘๕-๒๐๐-๙๕๗๕, ๐๘๖-๘๗๒-๒๒๗๕


• การเดินทาง •

โดยรถโดยสาร นั่งรถโดยสารที่สถานีหมอชิต สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มาลงที่ อ.สีคิ้ว (ต้องระบุที่ลงตั้งแต่ตอนซื้อตั๋ว) เมื่อมาถึง อ.สีคิ้ว เลยวัดหลวงพ่อโตของสรพงษ์ ชาตรี มาประมาณ ๓ กิโลเมตร เหมารถรับจ้างที่ปากทางสีคิ้ว ไปวัดวะภูแก้ว (ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร) ค่าโดยสารประมาณ ๒๐๐ บาท

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา คล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระปลัดกิตติ ติกฺขวีโร ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ในพระราชทินนามที่ พระครูกิติวัฒนกุล

• การติดต่อ •

(1) เจ้าอาวาสวัดวะภูแก้ว (พระอาจารย์กิตติ ติกขฺวีโร)
โทรศัพท์ 082-141-3890, 081-879-2086

(2) ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม
โทรศัพท์ 086-872-2275, 085-200-9575
E-mail : dr.darawan@yahoo.com

(3) Webmaster http://www.thaniyo.com
โทรศัพท์ 081-905-4000
E-mail : luangpoput@hotmail.com

Image
พระครูกิติวัฒนกุล (กิตติ ติกฺขวีโร) เจ้าอาวาสวัดวะภูแก้ว


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดวะภูแก้ว
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=874

เว็บไซต์วัดวะภูแก้ว
http://www.thaniyo.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2006, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
บูรพาจารย์เจดีย์ (เจดีย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
............................................................................



วัดป่าสาลวัน
หมู่ที่ 11 ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-254-402,
081-967-1435, 081-955-2125


พระวินัยโมลี (คำปอน สุทฺธิญาโณ)
รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต)
เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
และพระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน) อดีตเจ้าอาวาส


วัดป่าสาลวัน ตั้งอยู่ในใจกลางตัวเมืองหลังสถานีรถไฟนครราชสีมา ภายในวัดมี บูรพาจารย์เจดีย์ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เจดีย์แห่งพระกัมมัฏฐาน ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุบูรพาจารย์ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ภายในมีรูปแหมือน หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม, พระอาจารย์พร และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย และพระอริยสงฆ์ของประเทศ เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างถวายครูบาอาจารย์ เป็นถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่จะทำให้ระลึกถึงหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคลของเมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง

ธรรมจักร ข้อวัตรปฏิบัติ

วัดป่าสาลวันมีข้อวัตรปฏิบัติอันถือเป็นส่วนหนึ่งของกติกาสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ภาคเช้าก่อนรุ่งอรุณ
๐๓.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรตื่นขึ้นทำกิจของตน นุ่งห่มให้เรียบร้อยและเริ่มปฏิบัติทำความเพียรภาวนา คือเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ
๐๓.๔๕ น. ระฆังสัญญาณ พระภิกษุ สามเณรและผู้ถือศีลภาวนาทั้งหมด พร้อมกันที่ศาลาเพื่อรอทำวัตรเช้า
๐๔.๐๐ น. พระเถระเป็นผู้จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยแล้วเริ่มสวดมนต์ทำวัตรเช้า
๐๔.๓๐ น. นั่งสมาธิ
๐๕.๐๐ น. ช่วยกันปัดกวาดเช็ดถูศาลา จัดอาสนะฉัน เตรียมบาตร ผ้าปู ขาบาตร ช้อน กระติกน้ำดื่ม ขึ้นมาบนศาลาก่อน ๖ โมง

ภาคเช้าหลังรุ่งอรุณ
๐๖.๐๐ น. ระฆังสัญญาณ (เวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล) พระภิกษุ สามเณรทุกรูป พร้อมกันที่ศาลาเพื่อกราบพระประธาน แล้วแยกออกบิณฑบาตตามสายที่กำหนด (หน้าวัดและหลังวัดเป็นหลัก) เมื่อกลับจากบิณฑบาต ให้แต่ละสายกราบพระประธานอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงช่วยกันจัดอาหาร โดยแบ่งข้าว ไว้พอฉันอิ่ม จัดอาหารที่บิณฑบาตใส่ภาชนะให้เรียบร้อย

๐๗.๐๐ น. อุบาสก อุบาสิกาและญาติโยมที่มาทำบุญที่วัดเริ่มประเคนอาหารแบ่งลงใส่บาตรให้ทั่วถึงกันแล้ว พระภิกษุผู้เป็นประธานจะอนุโมทนาก่อนฉันภัตตาหาร หลังจากนั้นไวยาวัจกรดูแลเลี้ยงอาหารผู้มาทำบุญ บางโอกาสจะมีพระธรรมเทศนา

อนึ่ง พระภิกษุวัดป่าสาลวันถือธุดงควัตร ในวันหนึ่งๆ ฉันเฉพาะหนเดียว และฉันในบาตรและเมื่อพระภิกษุทุกรูปฉันเสร็จเรียบร้อยแล้วกราบพระประธานพร้อมกัน แล้วจึงนำบาตร แก้วน้ำ กระโถน ไปล้างเอง ณ ที่จัดไว้ให้ ช่วยกันทำความสะอาดศาลาให้เรียบร้อยแล้วจึงกลับกุฏิ

๐๙.๐๐-๑๓.๐๐ น. ปฏิบัติทำความเพียรภาวนา ศึกษาตำราตามหลักสูตรพระวินัย หรือท่องสวดมนต์ พระปาฏิโมกข์เป็นต้น

ภาคบ่าย
๑๓.๔๕ น. ระฆังสัญญาณพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชี พร้อมกันที่วิหารเพื่อนั่งสมาธิ
๑๕.๐๐-๑๗.๓๐ น. ปัดกวาดทำความสะอาดกุฏิ รอบบริเวณกุฏิที่อาศัย บริเวณวัด ห้องน้ำ ห้องส้วมส่วนรวมที่ใช้ร่วมกันให้สะอาด สามเณร-ตาปะขาวรดน้ำต้นไม้บริเวณวัด เวลาที่เหลือสรงน้ำเตรียมตัวทำวัตรเย็น

ภาคค่ำ
๑๗.๔๕ น. ระฆังสัญญาณพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชี พร้อมกันที่ศาลา เมื่อผู้เป็นประธานจุดธูปเทียนแล้ว เริ่มสวดมนต์ทำวัตรเย็น
๑๘.๓๐ น. นั่งสมาธิภาวนา พระเถระเทศน์อบรมให้การปฏิบัติธรรมจนถึงเวลาอันสมควร
๒๒.๐๐ น. จำวัด

หมายเหตุ :
ก) วันพระ ในวันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ มีอุบาสก อุบาสิกา มาถือศีลภาวนาและค้างคืนอยู่ที่วัด การทำวัตรเช้าเย็นจึงต้องเปลี่ยนแปลงเวลา ดังนี้
๐๘.๔๕ น. ระฆังสัญญาณทำวัตรเช้า
๐๙.๐๐ น. พร้อมกันที่วิหาร ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิภาวนาพระเถระเทศน์อบรมธรรมจนถึงเวลาอันสมควร
๑๓.๔๕ น. ระฆังสัญญาณพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชี พร้อมกันที่วิหาร นั่งสมาธิภาวนา
๑๙.๐๐ น. พร้อมกันที่วิหาร ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิภาวนา พระเถระเทศน์อบรมธรรมจนถึงเวลาอันสมควร

ข) วันพระ ในวันขึ้นและวันแรม ๑๕ ค่ำ (กึ่งเดือน) สำหรับวันนี้มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุต้องเข้าฟังปาฏิโมกข์ หากพระภิกษุรูปใดละเลยไม่ปฏิบัติตามสิกขา ให้ปรับอาบัติทุกกฏ เสร็จแล้วประธานสงฆ์อบรม

ธรรมจักร ลำดับเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน

(๑) พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม)
(๒) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
(๓) พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต)
(๔) พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
(๕) พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน)
(๖) พระวินัยโมลี (คำปอน สุทฺธิญาโณ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

หมายเหตุ : พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน) เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา และรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) ได้มรณภาพอย่างสงบแล้ว ด้วยโรคประจำตัว เมื่อวันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๕.๓๐ น. ณ โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๗

เว็บไซต์วัดป่าสาลวัน
http://www.thaniyo.com/
http://www.thaniyo.net/

Image
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม)

Image
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

Image
พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน)

Image
พระวินัยโมลี (คำปอน สุทฺธิญาโณ)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2379

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19481

ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=50583

รวมคำสอน “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” วัดป่าสาลวัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=40915

ประมวลภาพ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” วัดป่าสาลวัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=28489

หลวงพ่อเพิ่ม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา มรณภาพแล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43192

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2006, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงพ่อขาวตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขากลางป่าเขียว
............................................................................



วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
บ้านกลางดง ต.กลางดง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30320
โทรศัพท์ 044-361-667-8


พระราชวิมลญาณ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ)
เจ้าอาวาสวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม รูปปัจจุบัน
และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง (ธรรมยุต)


พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนทโร)
หรือหลวงปู่เมตตาหลวง
อดีตเจ้าอาวาส

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว) อันเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธสกลสีมามงคล” หรือ “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” พระพุทธรูปนั่งปางประทานพรสีขาวบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อยู่ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ารับฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และร่วมทำวัตรกับพระสงฆ์ทุกวัน (เช้า 03.00 น., เย็น 17.30 น.) หรือรับฟังพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัด ทั้งเป็นบุคคลหรือหมู่คณะ ทางวัดยินดีต้อนรับ พร้อมจัดเตรียมที่พักเพื่ออำนวยความสะดวกให้ กรุณาติดต่อล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 044-361-667-8

พระราชวิมลญาณ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้แปล พระคาถาเมตตาหลวง นับจากคำปรารภเริ่มกรณียเมตตาสูตร ดังนี้คือ

ยสฺสานุภาวโต ยกฺขา ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการอันพิลึก
เนว เทสฺเสนฺติ ภีสนํ เพราะอานุภาพแห่งเมตตาปริตรอันใด
ยมฺหิ เจวานุยุญชนฺโต อนึ่งบุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน
รตฺตินฺทิวมตนฺทิโต และกลางคืนฝักใฝ่ในพระเมตตาปริตรอันใด
สุขํ สุปติ สุตุโต จ จะหลับและหลับแล้วก็เป็นสุข
ปาปํ กิญจิ น ปสฺลติ ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกใดๆ
เอวมาทิคุณูเปตํ เราทั้งหลายจงสวดเมตตา
ปริตฺตนฺตมฺภณาม เห ปริตรอันนั้นเป็นประกอบไปด้วยคุณมีอย่างนี้ เป็นต้น เทอญ


หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา คล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามที่ พระราชวิมลญาณ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

Image
หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนทโร)

Image
พระราชวิมลญาณ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24696

‘พระพุทธสกลสีมามงคล’ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38901

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2006, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดแดนสงบอาสภาราม
เลขที่ 99 ซอย 19 ถ.มิตรภาพ บ้านใหม่
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-214-823,
044-214-866, 089-716-4903


พระครูภาวนาวิสิฐ (ศรีสิวรรณ สิริสุวณฺโณ) เจ้าอาวาส

วัดเป็นศูนย์วิปัสสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งมีการจัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตลอดทั้งปี
ปฏิบัติแนวยุบหนอ-พองหนอ ของคุณแม่สิริ กรินชัย


สำหรับสาธุชนท่านที่ต้องการเรียนรู้วิธีการนั่งวิปัสสนาอย่างถูกต้อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
ทางวัดป่าแดนสงบได้จัดให้มีการอบรมการเจริญวิปัสสนาให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ

(1) โครงการเจริญวิปัสสนา เป็นหลักสูตรอบรมพิเศษเข้มข้น
เพื่อผลิตวิปัสสนาจารย์และวิทยากรด้านวิปัสสนากรรมฐาน
(เปิดอบรมปีละ 3 ครั้ง เท่านั้น)


การรับสมัครและระเบียบปฏิบัติ
1. สมัครก่อนเปิดการอบรม โดยตนเองหรือทางโทรศัพท์
2. ลงทะเบียนในวันเปิดอบรมระหว่างเวลา 08.00-12.00 น.
3. แต่งกายสีขาว ไม่สวมเสื้อรัดรูป และไม่ใช้กางเกงขาสั้น
4. เตรียมเครื่องแต่งกายให้พอใช้ 10 วัน เพราะไม่มีการซักผ้า
5. ต้องไปถึงที่อบรมให้ทันปฐมนิเทศ
6. หลังจากเปิดทำการอบรมแล้วไม่รับสมัคร
7. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวและยาประจำตัวไปให้พร้อม

หลักการในการอบรม
1. สมาทานศีล 8
2. สวดมนต์แผ่เมตตา
3. เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐาน 4
4. เจริญศีล สมาธิ ปัญญา เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดอิริยาบถต่างๆ
5. หลักสูตรในการอบรมใช้วิปัสสนาภูมิ 6
6. สอบอารมณ์ กับพระวิปัสสนาจารย์ทุกวัน
7. ฟังธรรมบรรยาย
8. ปฏิบัติตามตารางอบรม ปฏิบัติรวมกันที่ศาลาปฏิบัติธรรม
(ในวันแรกจะใช้ระยะเดินและนั่งเท่านั้น
วันต่อไปเมื่อส่งอารมณ์แล้วอยู่ในดุลยพินิจของพระวิปัสสนาจารย์
โยคีอาจใช้ระยะการเดินและนั่งไม่เท่ากัน เป็นไปตามสภาวธรรมของแต่ละท่าน)
9. ไม่ควรให้ญาติมาเยี่ยม หรือติดต่อกับคนภายนอก
10. เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการอบรมควรตรงเวลาและอยู่ครบ 10 วัน

ตารางเวลาการอบรม
ภาคเช้า

03.30-04.00 น. สัญญาณระฆัง ทำสรีระกิจ
04.00-05.30 น. ปฏิบัติ
05.30-07.00 น. สวดมนต์
07.00-08.30 น. รับประทานอาหารเช้า
08.30-11.00 น. ปฏิบัติ
11.00-12.30 น. รับประทานอาหารเพล

ภาคบ่าย
12.30-13.30 น. ปฏิบัติ
13.30-16.00 น. สอบอารมณ์
16.00-17.30 น. พักผ่อน ทำสรีรกิจ

ภาคค่ำ
17.30-18.30 น. สวดมนต์ แผ่เมตตา
18.30-21.00 น. ปฏิบัติ
21.00 น. พักผ่อน

อำนวยการสอนโดย
- หลวงพ่อพระครูภาวนาวิสิฐ ประธาน
- พระมหาบุญจวน อาภากโร
- พระวิปัสสนาจารย์

(2) โครงการเจริญวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข
(เปิดอบรมปีละ 8 ครั้ง เท่านั้น)


การรับสมัครและระเบียบปฏิบัติ
1. ติดต่อกับทางวัด สมัครก่อนเปิดการอบรม โดยตนเองหรือทางโทรศัพท์
2. ลงทะเบียนในวันเปิดอบรมเวลา 08.00 น.
พิธีเปิดอบรมเวลา 13.00 น. วันสุดท้ายปิดอบรมเวลา 16.30 น.
3. แต่งกายสีขาว ไม่สวมเสื้อรัดรูป และไม่ใช้กางเกงขาสั้น
4. เตรียมเครื่องแต่งกายให้พอใช้ 7 วัน เพราะไม่มีการซักผ้า
5. ไม่ควรให้ญาติมาเยี่ยม หรือติดต่อกับคนภายนอก
6. เข้าปฏิบัติให้ครบ 7 คืน 8 วัน
7. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวและยาประจำตัวไปให้พร้อม
8. ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน

ตารางเวลาการอบรม
ภาคเช้า

04.00 น. ตื่นนอน
04.30 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
05.30 น. ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
08.30 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

ภาคบ่าย
13.00 น. ปฏิบัติธรรม
14.30 น. ดื่มน้ำปานะ สอบอารมณ์
16.30 น. พักผ่อน ทำธุรกิจ

ภาคค่ำ
17.30 น. สวดมนต์เย็น ฟังธรรมบรรยาย
19.00 น. พักดื่มน้ำปานะ
19.15 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
20.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

ผู้อำนวยการฝึกอบรม
- หลวงพ่อพระครูภาวนาวิสิฐ
ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เจ้าอาวาสวัดสมเด็จแดนสงบอาสภาราม

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดแดนสงบอาสภาราม
http://www.dansangob.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.พ.2007, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่ทา จารุธัมโม อดีตเจ้าอาวาส

Image
หลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
............................................................................



วัดถ้ำซับมืด
เลขที่ 2 หมู่ 20 บ้านซับมืด
ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


หลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

หลวงปู่ทา จารุธัมโม อดีตเจ้าอาวาส


วัดถ้ำซับมืด เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภาวนาบท “พุทโธ” เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีสภาพป่าสมบูรณ์ มีถ้ำลึก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม บำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

เทียน ประวัติวัดถ้ำซับมืด

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ นายอินตา สุขแสวง ได้บุกเบิกถางป่าเพื่อทำไร่ ได้พบถ้ำ ๓ ถ้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่านานาชนิด มืดครึ้มตลอดทั้งวัน มีน้ำซับ (น้ำผุด) จากแอ่งหิน ชาวบ้านที่มาทำไร่ได้อาศัยใช้สอยดื่มกิน เนื่องด้วยบริเวณดังกล่าวเป็นถ้ำมีน้ำซับ ป่าไม้หนาแน่นมืดครึ้มตลอดวัน ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ถ้ำซับมืด”

หลังจากนั้น ๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๐) หลวงปู่สีลา อิสฺสโร วัดป่าโพธิ์ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ได้เดินธุดงค์ผ่านมา เห็นสถานที่แห่งนี้วิเวกเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงอยู่พักปักกลดบำเพ็ญเพียรภาวนา นายอินตา สุขแสวง และชาวบ้าน เกิดศรัทธานิมนต์ท่านอยู่จำพรรษา และยกที่ดินให้เป็นที่พักสงฆ์ ชาวบ้านได้ช่วยกันปรับปรุงถ้ำให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ และสร้างศาลา ๑ หลังไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศล มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่เคยขาด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระครูญาณโศภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี) วัดป่าสูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา พระอาจารย์ใหญ่ของหลวงปู่สีลา อิสฺสโร หลวงปู่ทา จารุธมฺโม และพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) ท่านได้มาจำพรรษาอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม และพัฒนาวัดเรื่อยมา ขณะนี้ พระครูญาณโศภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี) หลวงปู่สีลา อิสฺสโร และหลวงปู่ทา จารุธมฺโม ได้มรณภาพแล้ว เหลือแต่เพียงพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) เท่านั้น

วัดถ้ำซับมืด ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒๐ บ้านซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นวัดราษฏร์ฝ่ายอรัญวาสี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเป็นที่ตั้งวัดถ้ำซับมืด จำนวน ๕๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทิศเหนือจรดภูเขา ทิศใต้จรดภูเขา ทิศตะวันออกจรดไร่ชาวบ้าน และทิศตะวันตกจรดภูเขา ปัจจุบัน มีพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) เป็นเจ้าอาวาส

“พระครูสังวรวีรธรรม” หรือ “หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม” (ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สิริอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๕๗) ท่านเกิดในตระกูล ขันติวงษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ บ้านหนองขาม หมู่ที่ ๑๐ ต.เสียว อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ท่านเป็นบุตรของนายเบ้า-นางต่อม ขันติวงษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

ครั้นอายุได้ ๒๕ ปี ท่านเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดวิสุทธิโสภณ ต.เป๊าะ อ.บึงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๔.๒๕ น. โดยมี พระครูวิจารย์พุทธิธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเกลี้ยง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุสญฺญโม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีความสำรวมดี


Image
แผนที่วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทา “พระครูญาณโศภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42792

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ทา จารุธัมโม” วัดถ้ำซับมืด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=45441

ประมวลภาพ “หลวงปู่ทา จารุธัมโม” วัดถ้ำซับมืด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21510

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม” วัดถ้ำซับมืด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=48566

รายละเอียดเกี่ยวกับหลวงปู่ทา จารุธัมโม
http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1486

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 10:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน
(วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน)
หมู่ 1 ต.โป่งตาลอง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


หลวงพ่ออุทัย สิริธโร เจ้าอาวาส

เนื่องจากได้มีสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระศาสนา ถวายที่ดินซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แด่ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อจัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนา หลวงตามหาบัว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน” โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ท่านได้พูดถึงวัดแห่งนี้ว่า “...อยู่นั่นก็จุดกลางทางที่จะขึ้นเขาใหญ่นั่นแหละ เห็นว่าเหมาะ ให้มีกรรมฐานตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติอรรถธรรมอยู่เป็นย่านๆ...”

Image

Image

Image

ทั้งนี้ หลวงตามหาบัวท่านได้เมตตามอบหมายให้ หลวงพ่ออุทัย สิริธโร เจ้าอาวาสวัดถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย (ในขณะนั้น) มาเป็นประธานสงฆ์และเจ้าอาวาส รับหน้าที่ดูแลและพัฒนา “วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน” แห่งนี้ เพื่อให้เป็นสถานที่เผยแผ่หลักธรรมขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นที่ฝึกอบรมสอนเจริญสมาธิบำเพ็ญภาวนาให้แก่เหล่านักปฏิบัติทั้งหลายที่ตั้งใจฝึกปฏิบัติ เพื่อให้สามารถสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาและคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มั่นคง คือปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง เพื่อให้รู้แจ้งในธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงสืบไป

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน”

• การเดินทาง •

จากกรุงเทพมหานคร ใช้ถนนพหลโยธินจนถึงจังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพ, ถึงแยกต่างระดับที่อำเภอปากช่อง ให้เข้าแยกต่างระดับตามป้ายไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (ถนนธนะรัชต์) จนกระทั่งถึง กม. 23 (ก่อนถึงด่านเข้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไม่กี่ร้อยเมตร) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย นม. 3052 (ทางไปอำเภอวังน้ำเขียว) ประมาณ 22 กิโลเมตร จะเห็นป้าย วัดมกุฏคีรีวัน ด้านขวามือ ให้เลยไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะเห็นทางเข้า “วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน” อยู่ทางด้านขวามือ

Image
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image
หลวงพ่ออุทัย สิริธโร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18664

ประวัติและปฏิปทา “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24738

ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่ออุทัย สิริธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44078

เว็บไซต์หลวงพ่ออุทัย สิริธโร
http://www.lp-uthai.com/
http://www.lp-uthaiphuwua.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2007, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระครูโชติวัตรวิมล (หลวงพ่อสมัย สมโย)
............................................................................



วัดคลองตาลอง
สำนักปฏิบัติธรรมวัดคลองตาลอง
หมู่ 1 บ้านคลองตาลอง ต.ปากช่อง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 085-104-2935,
081-977-7891, 086-248-8165


พระครูโชติวัตรวิมล (หลวงพ่อสมัย สมโย)
เจ้าคณะตำบลขนงพระ เขต 2 และเจ้าอาวาสวัดคลองตาลอง


• ประวัติความเป็นมาของวัด •

วัดคลองตาลอง มีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 12 งาน หลวงพ่อประเทืองท่านได้ไปพบพราหมณ์สว่าง กรัพนานนท์ ซึ่งท่านถือนุ่งขาวห่มขาว ชอบทำบุญกุศล หลวงพ่อประเทืองท่านจึงชักชวนพราหมณ์สว่าง มาที่ ณ บ้านบันไดม้า และท่านได้นำพราหมณ์สว่าง ชมบริเวณที่จะสร้างวัด ซึ่งอยู่บนเขามีทิวทัศน์สวยงาม พราหมร์สว่าง ท่านพอใจและตกลงใจสร้างวัดนี้ขึ้นมีชื่อเรียกวัดนี้ว่า วัดคลองตาลอง และได้รับแต่งตั้งให้วัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ.2484 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2536

ผู้ปกครองวัด (พ.ศ.2484-ปัจจุบัน)
1. หลวงพ่อประเทือง พ.ศ.2484-2530
2. พระอธิการสว่าง สุขกาโม พ.ศ.2530-2537
3. พระครูโชติวัตรวิมล พ.ศ.2537-ปัจจุบัน

เสนาสนะภายในวัด
(1) อุโบสถ (2) วิหาร (3) ศาลาวิปัสสนาสว่างจิต (4) ศาลาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
(5) กุฏิสงฆ์ 17 หลัง (6) ห้องน้ำห้องสุขา (7) โรงปั้มน้ำบาดาล (8) แท็งค์น้ำบาดาล

มีสถานีรถไฟบันไดม้าตั้งอยู่ใกล้ๆ “วัดคลองตาลอง” โดยวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขา
ด้านล่างเป็น “วัดบันไดม้า” ซึ่งทั้ง 2 วัดนี้มีความร่มรื่นดี แต่วัดคลองตาลองจะมีฆราวาสมาปฏิบัติ
หลวงพ่อท่านใช้แนวหลวงพ่อพุทธทาส เป็นแนวทางการสอนกึ่งวิปัสสนา สัปปายะทุกด้าน
ทางขึ้นวัดสะดวก ราดยาง ขึ้นไปสามารถมองเห็นเขาใหญ่ และวัดวชิราลงกรณ์วราราม

Image

• สำนักปฏิบัติธรรมวัดคลองตาลอง •

มีการจัดโครงการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้งคอร์สของวัดและคอร์สของหน่วยงาน เป็นประจำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ทางวัดขอเชิญสาธุชนท่านที่สนใจร่วมสวดมนต์โต้รุ้งทุกวันพระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2550 และเสริมสร้างบารมีให้กับตนเองและครอบครัว โดยเริ่มสวดมนต์ตั้งแต่เวลา 18.00-06.00 น. (6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเช้า) นำสวดโดยพระครูโชติวัตรวิมล (หลวงพ่อสมัย สมโย)

• ระเบียบการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน •

1. ต้องเป็นผู้มีจิตศรัทธา และสุขภาพแข็งแรง (ทานอาหารเพียงมื้อเดียว)
2. ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องเลิกสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น บุหรี่ เป็นต้น
3. ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องปิดวาจาตลอดเวลา (เว้นพระอาจารย์สอบอารมณ์หรือเจ็บไข้)
4. ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องยอมทำตามพระอาจารย์อย่างเคร่งครัด และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบ
5. ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด (โทรศัพท์มือถือ)

ทั้งนี้ วัดคลองตาลอง เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดคลองตาลอง
http://www.chotiwatwimol.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 2:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดป่าภูหายหลง
หมู่ 11 บ้านซับสำราญ ต.วังกะทะ
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) เจ้าอาวาส

วัดป่าภูหายหลง เป็นวัดในปฏิปทา หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

ประวัติวัดป่าภูหายหลง : เมื่อประมาณ 60-70 ปีที่แล้ว สภาพภูมิประเทศแถบวัดป่าภูหายหลงแห่งนี้ ซี่งประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 3 แห่งคือ หมู่บ้านซับสำราญ หมู่บ้านเขากอย และหมู่บ้านเพิ่มสมบัติ มีลักษณะเป็นเทือกเขาและป่าทึบ การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง ทำให้โอกาสในการทำบุญของชาวบ้านลดน้อยลงตามไปด้วยเนื่องจากวัดที่มีอยู่ในละแวกนั้นก็อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งห่างไกลกันมาก นานๆ ครั้งจึงจะมีพระธุดงค์ที่แสวงหาความวิเวกมาโปรดชาวบ้านพอให้ได้ปิติในผลบุญบ้าง

Image

ต่อมาได้มีพระรูปหนึ่งเดินธุดงค์ผ่านมา ชื่อ พระอาจารย์หลง (ไม่ทราบฉายา) ชาวบ้านเกิดความศรัทธายิ่งและอยากให้ท่านเป็นหลักของจิตใจ จึงได้อาราธนาพระอาจารย์หลงให้ท่านจำพรรษาที่ภูเขากอย (บางคนก็เรียกว่าภูเขาหลงเนื่องจากเป็นชื่อที่ปรากฏในแผนที่ทหาร) โดยชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสนาสนะเป็นที่พักสงฆ์ และทำทางขี้นลงเขาให้พระภิกษุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดภูเขากอย เมื่อปี พ.ศ.2482

ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านได้ผลัดเวียนกันขึ้นมาดูแลวัดและอุปัฐากพระภิกษุสงฆ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การพัฒนาก็มีมากขึ้นตามไปด้วยทั้งการพัฒนาวัดและการพัฒนาทางด้านจิตใจของชาวบ้านเนื่องจากพากันขึ้นมาบำเพ็ญบุญปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 นิคมสร้างตนเองลำตะคอง กรมประชาสงเคราะห์ได้เข้ามาจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนเพื่อทำการเกษตร แต่เนื่องจากวัดภูเขากอยได้ตั้งขึ้นมาก่อนและด้วยพื้นที่ของภูเขามีความลาดชันสูง ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทางนิคมสร้างตนเองจึงได้เว้นพื้นที่ของภูเขากอยทั้งหมดให้กับทางวัดได้ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ ดูแลรักษา และพัฒนาให้เกิดสาธารณะประโยชน์กับ 3 หมู่บ้าน

Image

ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดป่าภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร ได้มีโอกาสมาพำนักที่วัดแห่งนี้ ซึ่งสภาพตอนนั้นเป็นทุ่งหญ้าคา มีต้นไม้เล็กๆ ขึ้นประปราย เสนาสนะมีเพียงกุฏิและศาลาหลังเล็กๆ ไม่มีพระประจำวัดนานแล้ว ชาวบ้านนำโดยผู้ใหญ่ประหัส ทองจันเอกจึงได้อาราธนาพระอาจารย์ประพันธ์ให้เป็นหลักศาสนาและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน

พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล จึงได้ตั้งชื่อวัดขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลว่า วัดป่าภูหายหลง อันมีความหมายว่า เป็นดินแดนแห่งความหลุดพ้นจากความหลงทั้งปวง นั่นหมายถึงพุทธบริษัท 4 ที่มาปฏิบัติธรรมจะมองโลกตามความเป็นจริง ไม่หลงมัวเมาอยู่ในกิเลสตัณหา โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลง) หลุดพ้นจากความทุกข์ ความไม่เที่ยง และความไม่มีตัวตน (ความหลงในอัตตา) ก้าวข้ามล่วงพ้นทะเลหลง มุ่งตรงสู่พระนิพพานต่อไป

Image
พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม)
............................................................................
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2007, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม
............................................................................



วัดป่ารัตนวัน
(สาขาวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี)
บ้านคลองปลากั้ง ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370


พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธัมโม เจ้าอาวาส

วัดป่ารัตนวัน เป็นวัดป่าปฏิบัติสายพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) สาขาวัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (วัดหลวงพ่ออุทัย สิริธโร) แต่วัดป่ารัตนวันจะเลยไปออกอีก 30 กิโลเมตร เป็นวัดป่าที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติจิตตภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รวมคำสอน “พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=45914

ประมวลภาพพิธีกฐินวัดป่ารัตนวัน
http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1290
http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1291

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

Image

Image

Image
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วัดเทพาลัย
เลขที่ 234 หมู่ 9 ต.เทพาลัย
อ.คง จ.นครราชสีมา 30260
โทรศัพท์ 044-754-691


พระครูวิสุทธิภาวนาญาณ (หลวงพ่อจิต จิตฺตปญโญ) เจ้าอาวาส

เว็บไซต์วัดเทพาลัย
http://www.tapalai.com/

E-Mail : wattapalai@tapalai.com


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดประมวลราษฎร์
บ้านระกาย ต.จอหอ
อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310


พระครูสุนทรคุณวัตร (ปญฺญาธโร) เจ้าอาวาส


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดทั้ง 2 แห่งนี้ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำนักปฏิบัติธรรมพุทธชาติ
หมู่ 8 บ้านไทยสามัคคี ต.ไทยสามัคคี
อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370
โทรศัพท์ 089-766-2373

Email : Karagetu@hotmail.com

พระอาจารย์สมศักดิ์ อภิปุญฺโณ ประธานสงฆ์

สำนักปฏิบัติธรรมพุทธชาติ ก่อตั้งมาประมาณกว่า 10 ปี บนเนื้อที่ 6 ไร่

ถือการธุดงค์เป็นวัตร จัดปฏิบัติธรรมระหว่างวันที่
1 - 10 มกราคม
1 - 10 กุมภาพันธ์
1 - 10 มีนาคม
1 - 10 เมษายน
1 - 10 พฤษภาคม
1 - 10 มิถุนายน
1 - 10 กรกฎาคม
1 - 10 สิงหาคม
1 - 10 กันยายน
1 - 10 ตุลาคม
1 - 10 พฤศจิกายน
1 - 10 ธันวาคม

รับพระภิกษุ และแม่ชี และสตรีทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไป
ผู้ต้องการพ้นทุกข์จากวัฏฏะสงสาร รับรุ่นละ 50 ท่านเท่านั้น

สิ่งที่มีบริการให้
1. มีทุนการศึกษาให้เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี-โท-เอก ทั้งพระภิกษุและแม่ชี
2. มีบริขาร ชุดกันหนาว และเต้น/กลดให้
3. บิณฑบาตรเป็นวัตร และฉันในบาตรเป็นวัตร
4. การอบรมธรรมะภาคปฏิบัติและทฤษฎี
5. มีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงให้สำหรับแม่ชีและสตรีทั่วไป
ผู้ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา รับวุฒิ ม. 3 ขึ้นไป อายุไม่เกิน 40 ปี
สาขาพิษณุโลก
สาขาสระบุรี
สาขาขอนแก่น
สาขานครราชสีมา
สาขาชัยภูมิ
สาขาลพบุรี
สาขาน่าน
สาขาชลบุรี

ตารางปฏิบัติธรรมประจำวัน
04.00-06.00....สมาบัติ 3
06.00-08.30...อาหารเช้า
08.30-11.00...จิตตกรีฑา...ฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8...รวม 14 ขั้นตอน ปฏิบัติตามพระไตรปิฎก
11.00-13.00...อาหารเพล
13.00-14.00...จงกรม
14.00-16.00...โลกุตตรฌาน 4...
(โสดาปัตติมัคค/สกทาคามีมัคค/อนาคามีมัคค/อรหัคคมัคค..ปฏิบัติตามพระไตรปิกทุกขั้นตอน)
16.00-18.00...น้ำปานะ../..อาบน้ำ (คฤหัสถ์อนุญาตให้ทานอาหารเย็นได้)
18.00-20.00...เจริญวสี 5 (ความชำนาญในการเข้าฌาน-ทรงอารมณ์ฌาน)
20.00-22.00...สนทนาธรรม (ท่านถาม-เราตอบ)
22.00-04.00....นอน

สิ่งที่มีบริการให้
1. ความเป็นกัลยาณมิตรจากเพื่อนพรหมจรรย์
2. อาหารเครื่องดื่ม-น้ำดื่ม-น้ำอาบ
3. มีห้องพัก-ห้องนอนรวม และ มุ้ง-หรือกลด-หรือเต๊นท์ให้
4. วัดอยู่ท่ามกลางป่าไม้และภูเขาธรรมชาติสวยงาม
5. สามารถมาปฏิบัติเพียง 1 ชั่วโมง หรือ 1 วันก็ได้ ปฏิบัติเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคลได้

สิ่งที่จะต้องเตรียมมา
1. ยาสำหรับโรคประจำตัวของตน
2. ชุดสีสุภาพ 2-3 ชุด
3. สุภาพสตรีต้องสวมกางเกงขายาว ขณะฝึกฌานสมาบัติ 8
4. ความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจที่จะบรรลุธรรม

การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถตู้สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปักธงชัย
รถตู้จอดข้างหน้าโรงพยาบาลราชวิถี มาลงที่โรงแรมวังน้ำเขียว วิว นครราชสีมา
เดินเข้ามาอีกประมาณ 1 กิโลเมตร สำนักฯ จะอยู่ฝั่งตรงกันข้าม
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บ้านกรินชัย
เลขที่ 277 ถ.โพธิ์กลาง
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-242-559


บ้านกรินชัย มีการจัดอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฎฐาน 4)
ตามแนวของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.ybat.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
............................................................................



วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม (วัดป่าทรัพย์ทวี)
[สำนักปฏิบัติธรรมบ้านบุเจ้าคุณ]
หมู่ 10 บ้านบุเจ้าคุณ ต.วังหมี
อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370


หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม ประธานสงฆ์


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดป่าทรัพย์ทวี จ.นครราชสีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3122
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=9&t=51991

รวมคำสอน “หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม” วัดป่าทรัพย์ทวี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47448

ประมวลภาพ “หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม” วัดป่าทรัพย์ทวี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=37258

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วัดปอแดง
ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150
โทรศัพท์ 081-222-2841


พระครูถานกิจโกศล เจ้าอาวาส

วัดปอแดง เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม
หมู่ 6 ต.หมูสี
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


ก่อนขึ้นเขาใหญ่ให้เลี้ยวไปเส้นเขาเขียว ขับรถไปประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นสาขาของวัดสังฆทาน จ.นนทบุรี เนื้อที่วัดเยอะมาก ตอนนี้กำลังสร้างอุโบสถในถ้ำ หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ ดำริจะให้วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุและสาธุชนทั่วไป


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2. วัดเขาพรหมจรรย์
เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


ขับรถเข้าไปเส้นเขาใหญ่ ก่อนถึงให้เลี้ยวขวาไปเหวปลากั้ง ประมาณ 10 กิโลเมตร ทางนี้จะอ้อม ถ้ามาถึงมวกเหล็กตอนขึ้นเนินประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางกลับรถไปทางลัดเขาใหญ่ ถ้าขับรถไปเส้นนี้ก็ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงซึ่งใกล้กว่ากันถึง 30 กิโลเมตร และไปเขาใหญ่ไวด้วย ถ้าเข้าทางวัดวชิราฯ จะเป็นทางลูกรัง ปนกันราดยาง ระยะทาง 20 กิโลเมตร ไกลไม่แนะนำ หลวงพ่อใจดีมาก ถ้ำอยู่บนยอดเขา สวยมากๆ เหมาะแก่การทำวิปัสสนา ซึ่งเป็นวัดธรรมยุต ส่วนใหญ่ใช้การภาวนาตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3. วัดถ้ำเขาวง
หมู่ 7 ต.หนองน้ำแดง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


ถ้ามาทางถนนมิตรภาพถัดจากฟาร์มโชคชัยมา ก็จะเป็นทางเข้าวัดวชิราลงกรณ์ ขับเข้าไปเส้นนี้ไป 8 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดถ้ำเขาวง วัดติดถนน เป็นวัดปฏิบัติตามแนวหลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ถ้ำที่นี่สวยมากๆ มีผู้ไปปฏิบัติธรรมกันประจำ เน้นหนักการนั่งสมาธิ ตามแนวหลวงพ่อสด


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4. วัดวชิราลงกรณ์วราราม (พระอารามหลวง)
ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


วัดวชิราลงกรณ์ เป็นพระอารามหลวง (วัดหลวง) มีมณฑปหินอ่อน ด้านในมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และถัดไปก็มีหลวงพ่อพระใหญปางนาคปรก อยู่ใกล้ๆ กัน เข้าปฏิบัติแบบพึ่งตนเอง ก็ติดต่อกับหลวงพ่อเจ้าอาวาสได้ครับ อากาศดี และเงียบด้วยครับ ด้านหลังเขา อาหารสะดวก


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

5. วัดถ้ำไตรรัตน์ (วัดถ้ำแก้วสารพัดนึก)
หมู่ 1 บ้านหนองน้ำแดง ต.หนองน้ำแดง
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


วัดนี้อยู่ห่างจากวัดวชิราลงกรณ์ 1.5 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีถ้ำสวยมาก และเป็นวัดที่เก็บค่าบำรุงในการลงดูถ้ำ ตอนแรกผมก็คิดว่าทำไมต้องเก็บเงินด้วย แต่พอลงไปชมถ้ำแล้ว ก็น่าจะเก็บเพราะถ้ำลึกมากๆ เดินประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้ไฟฟ้ามากๆ เดินไปทะลุอีกทาง ไปอีกทาง สวยจริงๆ ในความซับซ้อน เทียบกับถ้ำทั้งหมดแล้ว ถ้ำที่นี่จัดได้ว่าคุ้มกับค่าเข้าชมจริงๆ ซึ่งเป็นการทำบุญบำรุงวัด วัดนี้เป็นวัดธรรมยุต หลวงพ่อใจดี มีลานปฏิบัติกว้างขวาง ถ้าเราไม่ติดเรื่องเที่ยวแล้ว ที่นี้ก็มีสถานที่เข้าพักเพื่อปฏิบัติธรรมด้วยเช่นกัน


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เท่านี้ก่อนนะครับ จะมาอัพเดทให้อีกนะครับ ที่จริงมีวัดอีกมากเลย แต่ที่นำมาเป็นสถานที่ท่านจะไปทำกัมมัฏฐานวิปัสสนาได้ ซึ่งหลวงพ่อ หลวงปู่แต่ละท่านก็ยินดีต้อนรับทุกท่าน ไม่ต้องหนักใจการทำบุญครับ ถวายปัจจัยก็ได้ ไม่ถวายก็ได้ ผม (sonthwal@hotmail.com) ไปบ่อยครับ บางทีก็มีตังค์ก็ถวาย ไม่มีก็ไปใช้แรงถวายแทน พระท่านยินดีด้วยครับ สนับสนุนผู้ปฏิบัติทุกท่านให้ถึงนิพพานครับ คราวหน้าจะมาลงสถานที่กราบไหว้ อันมีรอยพระพุทธบาท ถ้ำสวยๆ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ ผมเองยังตะลึง ใกล้บ้านเรามัวแต่ไปเที่ยวไกล ถึงเชียงใหม่ เชียงราย เดี๋ยวนี้ผมเลยเที่ยวไปตามวัดใกล้บ้าน ซึ่งก็พบช้างเผือกพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เยอะมาก แต่บางท่านก็ไม่ให้เปิดเผยวัด เนื่องจากจะเป็นการรบกวนการภาวนาของท่าน

สาธุ

นำข้อมูลมาจาก : sonthwal@hotmail.com
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2011, 8:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อาศรมมาตา
เลขที่ 67 หมู่ 7 ต.ภูหลวง
อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150
โทรศัพท์ 081-913-5031,
085-770-2550, 087-040-4562
อีเมล :
ashrammata@gmail.com,
t_ashram_mata@hotmail.com


อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก)
เจ้าสำนักอาศรมมาตา และประธานกองทุนบุญนิธิอาศรมมาตา

แม่ชี ดร.ไพเราะ ทิพยทัศน์ อาจารย์ผู้สอนและวิทยากร


“อาศรมมาตา” ที่พักภาวนาเพื่อพัฒนาจิต
เป็นธรรมสถานที่เหมาะแก่ “สุภาพสตรี” นักปฏิบัติ-นักภาวนา


Image

Image
อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก)
เจ้าสำนักอาศรมมาตา และประธานกองทุนบุญนิธิอาศรมมาตา



• อาศรมมาตา ที่พักภาวนาเพื่อพัฒนาจิต •

อาศรมมาตา คือ ธรรมสถาน เอื้อเฟื้อ เจือจาน เพื่อท่านสตรี
พักบำเพ็ญ ภาวนา รักษาจิตนี้ เพิ่มพูน ความดี ตามวิถี พุทธธรรม


จากแรงบันดาลใจและจิตสำนึกที่จะสนับสนุนการปฏิบัติธรรมของผู้หญิง ให้มีสถานที่สับปายะและปลอดภัย อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก) จึงซื้อที่ดินบนเขาภูหลวงประมาณ 100 ไร่ (ประมาณ 40 เอเคอร์) สร้างที่พักปฏิบัติธรรมสำหรับเพื่อนสตรี ไม่จำกัดเชื้อชาติ สถานที่นี้เป็นป่าที่สมบูรณ์ งดงาม เหมาะในการบำเพ็ญเพียรภาวนา รวมทั้งยังเป็นที่เหมาะสมสำหรับการธุดงค์ของผู้หญิง ซึ่งไม่ควรจาริกธุดงค์รอนแรมไปตามป่าเขาเช่นเดียวกับพระภิกษุ

อาศรมมาตา คือชื่อของสถานที่ดังกล่าว ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996) โดยเงินส่วนตัวของอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก) และญาติพี่น้อง เป็นต้น โดยใน 8 ปีแรก ไม่มีการขอรับบริจาคจากบุคคลอื่นแต่อย่างใดเลย จนกระทั่งในปี พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) จึงได้มีการจัดตั้ง กองทุนบุญนิธิอาศรมมาตา และเริ่มรับบริจาคจากผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ที่มีจิตศรัทธาที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของอาศรมมาตา สถานที่แห่งนี้มีการพัฒนาทั้งกายและจิตใจ สำหรับทางด้านความเป็นอยู่ อาศรมมาตาได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ดังต่อไปนี้

เรื่องอาหาร
อาศรมมาตาจัดให้ทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งส่วนหนึ่งทางอาศรมมาตาปลูกผัก และผลไม้บางชนิด ขึ้นเอง โดยใช้สารอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมักเอง และไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ผัก-ผลไม้ของเราจึงบริสุทธิ์ ปราศจากพิษของสารเคมี อันได้แก่ ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี และอื่นๆ สำหรับเศษอาหารที่เหลือ เราก็นำมาหมักเพื่อผลิตสารจุลินทรีย์ที่เรียกว่า อี เอ็ม ซึ่งนำไปทำเป็นปุ๋ยน้ำสำหรับผักและผลไม้ชนิดต่างๆ เมื่อหมักแล้วเราก็นำมาทำน้ำยาล้างจาน หรือน้ำยาดับกลิ่น เศษผักและผลไม้บางส่วนที่เหลือก็นำไปเป็นอาหารของปลา เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างสันโดษ มักน้อย เรียบง่าย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เรื่องอากาศ
เนื่องจากอาศรมมาตาอยู่ห่างจากชุมชนมากพอสมควรและอยู่บนภูเขา ทำให้เราได้รับอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีมลพิษ อีกทั้งเราก็ดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเราแยกขยะแล้วนำไปให้เทศบาลกำจัดต่อ และเราก็ไม่เผาใบไม้แต่เรานำใบไม้มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ประหยัดเงินไปได้มาก รวมทั้งก็ไม่ทำลายอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่เราอาศัย ตลอดจนมีการปลูกต้นไม้ป่าเสริมทดแทนในพื้นที่ที่ป่าถูกทำลาย ทำให้เราได้รับออกซิเจนมากขึ้น และต้นไม้ยังช่วยดูดซึมสารพิษในอากาศ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

เรื่องการออกกำลังกาย
ในการปฏิบัติธรรมทางจิต อาศรมมาตาไม่ละเลยที่จะพัฒนากายให้แข็งแรง เช่น มีกิจกรรมการเดินธุดงค์จากเขตที่ 1 ถึงเขตที่ 4 ซึ่งมีความยาวประมาณ 1 ไมล์ ผ่านป่าไม้ที่ร่มรื่น การเดินจงกรมรอบกุฏิ หรือในป่าที่มีอยู่ทุกเขต การบริหารกายโดยการทำโยคะ ซึ่งมีครูสอนโยคะมาแนะนำผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ การทำโยคะเป็นการบริหารกายพร้อมกับการฝึกลมปราณไปด้วย จึงไม่ขัดกับการปฏิบัติธรรม

เรื่องสุขภาพอนามัย
อาศรมมาตาเน้นเรื่องสุขภาพอนามัย ความสะอาดของสถานที่ กุฏิ และเสื้อผ้า ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเป็นผู้สันโดษ มักน้อย เรียบง่าย ทั้งเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน และที่อยู่อาศัย ตามตัวอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางอาศรมมาตามีผู้บริจาคเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ซึ่งนอกจากจะใช้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ยังช่วยดูแลให้ยาแก่ชุมชนในหมู่บ้านใกล้ๆ อาศรมมาตาด้วย

เรื่องการอนุรักษ์และปลูกป่า
อาศรมมาตาได้ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน ซึ่งทำลายป่าแล้วปลูกมันสำปะหลังบ้าง ปลูกยูคาลิปตัสบ้าง ทำให้ป่าบนภูเขาที่อาศรมมาตาตั้งอยู่ถูกบุกรุกหลายพันไร่ โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก) จึงได้ดำเนินการซื้อที่ดินที่ถูกบุกรกแล้วขุดต้นยูคาลิปตัสออกไป ทำการปลูกต้นไม้ป่าจำนวนมากกว่า ๑๐๐ ชนิดตามดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้ประชาชนช่วยกันปลูกป่าให้มากที่สุด ทดแทนป่าที่ถูกทำลายไปกว่า 80 % ขณะนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของที่ดินได้ใช้ปลูกป่าและต้นไม้ป่า เติบโตมากพอสมควร ทำให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าที่หายาก เช่น กระรอกขาว ไก่ป่า นกสวยๆ หลายชนิด ฯลฯ รวมทั้งใช้เป็นที่เดินจงกรมและนั่งสมาธิของผู้ปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี

แนวทางการพัฒนาจิต
อาศรมมาตาใช้ สติปัฏฐาน 4 เป็นแนวปฏิบัติ ได้มีการจัดอบรมเป็นคณะ ปีละ 3-4 ครั้ง ระหว่าง 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมจำนวนประมาณ 200 คน ระยะเวลาในการปฏิบัติประมาณ 5-7 วัน และยังได้เชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หลายๆ แบบ มาให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติอีกด้วย ส่วนใครจะมาปลีกปฏิบัติเป็นส่วนตัว หรือเป็นคณะเล็กๆ ก็มาพักได้ตลอดปี

แนวทางสติปัฏฐาน 4 คือการพิจารณา (1) กายในกาย (2) เวทนาในเวทนา (3) จิตในจิต (4) ธรรมในธรรม มีเทคนิคต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น อานาปานสติ, การดูความรู้สึกตัว, การดูพระไตรลักษณ์ของเวทนา หรือการดูความไม่เที่ยงของจิต ทุกๆ เทคนิคอยู่ในสติปัฏฐาน 4 ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็ถือว่าถูกทาง คือ ทำให้จิตเข้าไปเห็นอริยสัจ จนปล่อยวางความทุกข์

บทสรุป
อาศรมมาตาได้ดำเนินงานมาแล้วกว่า 11 ปี มี การพัฒนากายและสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ส่วนที่เราเน้นมาก คือ การพัฒนาจิต ตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่าเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากความทุกข์ได้

ในปัจจุบัน มีผู้เข้ามาใช้สถานที่ของอาศรมมาตา ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ทางอาศรมมาตายินดีที่จะต้อนรับทุกท่านที่จะเข้ามาปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านตรัสการสรรเสริญการปฏิบัติบูชาว่า ประเสริฐกว่าอามิสบูชา ขอให้เราชาวพุทธทุกท่านมุ่งมั่นในการเดินทางเข้าสู่ความพ้นทุกข์ คือ ความไม่เห็นแก่ตัว แล้วเราก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่น คือ ทำประโยชน์ท่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ตน ซึ่งในพระพุทธพจน์กล่าวว่า ถึงแม้เราจะทำประโยชน์ให้ผู้อื่นได้มากมาย แต่ขาดการพัฒนาจิตซึ่งเป็นประโยชน์ตน พระองค์ก็ไม่สรรเสริญ

อาณาบริเวณเขตของอาศรมมาตา แบ่งออกเป็น 4 เขต ดังนี้
เขต 1 เป็นสำนักงาน ครัวหลัก สถานที่ปฏิบัติธรรม มีน้ำ มีไฟ มีที่พักหลายหลังด้วยกัน
เขต 2 เป็นเขตปฏิบัติธรรม ระดับ 2 มีที่พัก แยกเป็นหลังๆ
มีห้องนอน ห้องน้ำ มีน้ำ แต่ไม่มีไฟ มีเทียนให้
เขต 3 เป็นเขตปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า ห้องกรงน้ำ บ้านเป็นหลังอยู่ในป่า ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ
ห้องน้ำ ห้องครัว อยู่ด้านนอกของที่พัก เป็นการฝึกจิต อยู่ตัวคนเดียว ในที่จำกัดบริเวณ
เขต 4 เป็นเขตป่า มีบ้านพักอยู่ในป่า มีน้ำ ไม่มีไฟ
บ้านพักกระจายอยู่ในเขตป่า บ้านแต่ละหลังห่างกันออกไปคนละมุม

ในแต่ละปี อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก) จะเมตตาเปิดอาศรมมาตา
กราบนิมนต์หรือเชิญครูบาอาจารย์มาให้การอบรมธรรมะแก่กัลยาณมิตร ฯลฯ
ผู้สนใจในการปฏิบัติเป็นครั้งคราว ปีละหลายครั้งๆ ละ 5-10 วัน
โดยเป็นกระจายข่าวในกลุ่มกัลยาณมิตร เพื่อนฝูง ญาติมิตร ที่รู้จัก
มีผู้เข้าปฏิบัติเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 15-30 คน
แม้อาศรมมาตาจะเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ไม่ได้เปิดรับบุคคลทั่วไป
แต่อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก) ได้เมตตาเปิดโอกาสให้
ผู้หญิงที่มีความตั้งใจจริง สามารถขออนุญาตเข้าไปใช้สถานที่ในการเข้าพักภาวนา
อยู่ปฏิบัติภาวนา เก็บอารมณ์ ดูจิตใจตนเอง ในช่วงที่ไม่มีการจัดคอร์สปฏิบัติธรรม

Image

Image

• การอบรม •

จัดอบรมเป็นคณะ ปีละ 5-6 ครั้ง ครั้งละ 5-7 วัน
มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หลายๆ แบบ มาให้คำแนะนำ
ผู้มาปฏิบัติเป็นส่วนตัว หรือเป็นคณะเล็กๆ มาพักได้ตลอดปี


• การเข้ารับการอบรม •

1. รับเฉพาะอุบาสิกาและนักบวชสตรี
2. สำหรับผู้ชายและพระภิกษุ ต้องได้รับอนุญาตพิเศษเป็นรายๆ ไป
3. สำหรับผู้มาใหม่ ต้องมีผู้ปฏิบัติธรรมในอาศรมมาตาหรือกรรมการของอาศรมมาตาเป็นผู้แนะนำ
และรับรองความประพฤติ หรือเจ้าของอาศรมมาตาอนุญาตเป็นรายๆ ไป จึงจะเข้าพักได้
4. สำหรับผู้มาใหม่ เข้าพักปฏิบัติได้ไม่เกิน 10 วัน
5. สำหรับผู้เคยพักและไม่เคยทำผิดระเบียบ พักได้ไม่เกิน 1 เดือน
ถ้าจะอยู่พักปฏิบัตินานกว่า 1 เดือน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของอาศรมมาตาก่อน
6. เข้าพักในกุฏิที่เจ้าหน้าที่อาศรมมาตาจัดให้เท่านั้น (ห้ามเลือกกุฏิเอง)


• การปฏิบัติ-การแต่งกาย •

1. ให้สมาทานศีล 8
2. ให้ทานอาหารมังสวิรัติ วันละ 2 มื้อ
3. ให้แต่งกายชุดขาว
4. ควรนำไฟฉาย, รองเท้าแตะ, ร่ม (ในฤดูฝน), ของใช้ส่วนตัว
และยารักษาโรค มาให้พร้อม (อาศรมมาตามีกุฏิพร้อมเครื่องนอนให้)


Image

Image

• ระเบียบปฏิบัติ •

1. ห้ามเก็บอาหารไว้บนที่พัก (ยกเว้นผู้อยู่ประจำบางท่านที่ได้รับอนุญาตพิเศษ)
2. ห้ามพูดคุยในระหว่างรับประทานอาหาร ควรมีสติสำรวม
3. รู้จักประมาณในการบริโภค ถ้าอาหารเหลือ ห้ามทิ้งเศษอาหารให้กับสัตว์
ควรใส่ถุงพลาสติคเพื่อนำไปทิ้งหรือกลบทิ้ง
4. ไม่คลุกคลีพูดคุยกัน หรือพูดเสียงดัง ควรสนทนาในที่จัดไว้ในเวลาที่จัดไว้
(ในห้องทานอาหาร ห้องสมุด หรือห้องสวดมนต์
ระหว่างเวลา 12.00-13.00 น. และ 17.00-18.00 น. เท่านั้น)
5. ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในครัวโดยเด็ดขาด
ทางอาศรมมาตามีเจ้าหน้าที่แผนกทำอาหารเรียบร้อยแล้ว
ห้ามไปสั่งเจ้าหน้าที่ให้ทำอาหารพิเศษให้กับตนเอง หรือลงมือทำอาการตามกิเลสของตนเอง
6. ห้ามนำของมีค่าหรือเงินทองไว้ในกุฏิในระหว่างปฏิบัติธรรม
ต้องฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ มิฉะนั้นหากหาย อาศรมจะไม่รับผิดชอบ
7. ห้ามเลี้ยงหมา แมว นกพิราบโดยเด็ดขาด
8. ทำความสะอาดกุฏิบริเวณรอบๆ ที่พักทุกวันด้วยความมีสติ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ากรรมฐาน
ควรดูแลรดน้ำต้นไม้บริเวณรอบกุฏิหรือที่ได้รับมอบหมาย เป็นการผ่อนคลายจากการปฏิบัติ
9. ในระหว่างเข้าปฏิบัติธรรม ห้ามออกนอกสถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
จากเจ้าของอาศรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
10. สำหรับผู้เข้ากรรมฐาน (ในเขตที่ 2 และที่ 3) ต้องทำตามระเบียบปฏิบัติในการเข้ากรรมฐาน
ที่ติดไว้ในห้องกรรมฐานเพิ่มเติมอีกด้วย
11. ในเขตที่ 1 ถ้ายังต้องการฟังเทปธรรมะ ควรใช้หูฟังหรือเปิดให้ค่อยที่สุด
เพื่อมิให้เป็นการรบกวนผู้อื่นและให้เกิดความเงียบสงัด สมกับเป็นที่ปฏิบัติธรรม
12. ห้ามให้เงินทองกับเจ้าหน้าที่ เพราะเขาดูแลผู้มาปฏิบัติธรรมทุกคนเหมือนกันหมด
และถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ของเราก็จะได้บุญคือความสุขใจ
เพราะเขาได้ทำงานตามหน้าที่ จึงเป็นการช่วยในการปฏิบัติธรรมของเขาด้วย
(ยกเว้นการให้ของเล็กๆ น้อยๆ และได้ขออนุญาตเจ้าของอาศรมแล้ว)
13. การบริจาคสมทบในกองทุนบุญนิธิอาศรมมาตา
บริจาคได้ที่กรรมการบุญนิธิ และขอรับในอนุโมทนาด้วยทุกครั้ง
(ใบอนุโมทนาของกองทุนบุญนิธิไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีสรรพากรได้)
14. ก่อนกลับควรซักปลอกหมอน ตากเสื่อ หมอน ผ้าห่ม เก็บของใช้เข้าที่เดิม
ปิดประตูบานเกล็ดทุกบาน และอย่าลืมคืนกุญแจกุฏิแก่เจ้าหน้าที่ด้วย


Image

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่อาศรมมาตา ที่พักภาวนาเพื่อพัฒนาจิต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18602

เว็บไซต์อาศรมมาตา
http://www.ashrammata.krubpom.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง