Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กับปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2010, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กับปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ


เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เต็มไปด้วยผู้คนกว่า ๒,๕๐๐ คน ที่มาฟังปาฐกถาธรรม “ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ” โดย พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระชื่อดังชาวเวียดนาม ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายเซน แห่งศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางพรัอมคณะนักบวชจากหมู่บ้านพลัม มาจาริกธรรมในไทย และจัดกิจกรรมแห่งสติตลอดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

รายการในวันนั้นเริ่มด้วยบทเพลงภาวนาโดยภิกษุ ภิกษุณี และอาสาสมัคร ต่อด้วยการสวดมนต์และนั่งสมาธิ จากนั้นพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ จึงได้แสดงปาฐกถาธรรม ซึ่ง “ธรรมลีลา” ขอนำบางส่วนมาถ่ายทอดไว้ ณ ที่นี้

การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันขณะ

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า “ตอนที่ฉันบวชเป็นสามเณร พระอาจารย์มอบหนังสือบทกวีแห่งสติให้ฉันท่องจำและฝึกปฏิบัติ บทแรกคือ “ตื่นนอนยามเช้า”

“ตื่นนอนเช้านี้ ฉันยิ้ม
ฉันรู้ดีว่ายังคงมี ๒๔ ชั่วโมงแห่งวันใหม่
ตั้งปณิธานใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมในทุกขณะ
และมองทุกสรรพชีวิตด้วยสายตาแห่งความรัก”


เมื่อเราท่องบทกวีแห่งสตินี้พร้อมตามลมหายใจ เราจะกลับมามีชีวิตมีชีวา เราจะตระหนักรู้ได้ทันทีว่า เรามีชีวิตที่เป็นดั่งของขวัญอีก ๒๔ ชั่วโมง เมื่อเราปฏิบัติเช่นนี้ เราเป็นสุขได้ในทันที สำหรับฉัน การมีชีวิตคือความมหัศจรรย์

ในเวียดนาม ตอนที่ฉันยังเป็นสามเณรอยู่ ภิกษุไม่ขับรถและไม่ขี่จักรยาน ฉันจึงเป็นสามเณรคนแรกในเวียดนาม ที่ใช้จักรยานในการเดินทาง ฉะนั้น ฉันจึงแต่งบทกวีเพื่อฝึกปฏิบัติการขี่จักรยาน หลังจากนั้นฉันยังเขียนกวีแห่งสติในการรับโทรศัพท์ และในการเดินลงจากเครื่องบิน เพื่อเตือนให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรในขณะนี้

การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในขณะปัจจุบัน คือคำสอนที่สำคัญมากในพุทธศาสนา เราไม่จำเป็นต้องวิ่งไปในอนาคต เพื่อแสวงหาความสุข เพียงแต่นำกายและใจมาดำรงด้วยกันอย่างตั้งมั่น เธอจะสามารถสัมผัสกับความสุขที่มีมากเพียงพออยู่แล้ว

นิพพาน ดินแดนสุขาวดี หรือความสุขดำรงอยู่ตรงนี้ในขณะปัจจุบัน หากเธอเดินในวิถีแห่งสติได้ เธอจะสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ได้ พวกเราหลายคนติดยึดกับความเศร้าโศกในอดีต ความลังเลสงสัยในอนาคต และความทุกข์ในปัจจุบัน เมื่อเรารู้วิธีการฝึกปฏิบัติ เราจะปล่อยวางความทุกข์ต่างๆ ได้

การเดินในวิถีแห่งสติเป็นการฝึกปฏิบัติที่ประเสริฐมาก ทุกย่างก้าวนำเรากลับสู่ปัจจุบันขณะ ช่วยให้เราเป็นอิสระจากอดีตและอนาคต เพียงแค่ฝึกประสานลมหายใจแห่งสติกับทุกย่างก้าวเท่านั้น

คาถาแห่งรัก ๓ ข้อ อยู่ตรงนี้เพื่อเธอที่รัก

เมื่อเธอรักใครคนหนึ่ง สิ่งที่เธอจะมอบให้กับเขาได้คือการอยู่ตรงนั้นอย่างเต็มเปี่ยม เธอจะทำอย่างนั้นได้เมื่อเธอฝึกเจริญสติ เธอมองไปยังดวงตาของคนที่เธอรักและกล่าวว่า “ที่รัก ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอ”

คุณพ่อของเด็กชายคนหนึ่งเป็นคนที่มีฐานะดี แต่ไม่มีความสุข เพราะทำงานยุ่งอยู่เสมอ เขาถามลูกชายว่า “พรุ่งนี้เป็นวันเกิดลูก ลูกอยากได้อะไร”

สิ่งที่ลูกชายขอจากคุณพ่อ คือ การอยู่ด้วยกัน หากคุณพ่อท่านนั้นฝึกเจริญสติ เขาจะสามารถมองไปยังดวงตาของลูกชายและพูดว่า

“ลูกรัก พ่ออยู่ที่นี่เพื่อลูก” ของขวัญชิ้นนี้เป็นของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เธอรัก นี่คือคาถาแห่งรักข้อแรกที่เธอฝึกได้ทุกวัน

คาถาแห่งรักข้อที่สอง คือ เธอตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของคนที่เธอรัก

“ที่รัก ฉันรู้ว่าเธออยู่ตรงนั้น ยังมีชีวิตอยู่ และฉันมีความสุขมาก” เธอจะเอ่ยคาถานี้ได้ก็ต่อเมื่อเธอดำรงอยู่กับตนเองอย่างเต็มเปี่ยมได้ ซึ่งทำให้เธอตระหนักรู้ถึงความรักของเธอที่มีต่ออีกฝ่าย และตระหนักรู้ว่าอีกฝ่ายยังมีชีวิตอยู่ตรงหน้าเธอ

เมื่อเธอสังเกตเห็นว่าคนที่เธอรักเป็นทุกข์ เธอสามารถใช้คาถาแห่งรักข้อที่สาม

“ที่รัก ฉันรู้ว่าเธอเป็นทุกข์ ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอ”

หากเธอเป็นทุกข์ แต่คนที่เธอรักไม่รู้และไม่เข้าใจเธอ เธอย่อมเป็นทุกข์ แต่หากเธอเป็นทุกข์และอีกฝ่ายรับรู้ เธอจะรู้สึกเบาขึ้นในทันที ทุกคนสามารถนำคำสอนเหล่านี้ของพระพุทธองค์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

Image

การเจรจาแห่งสันติ

เรานำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสร้างสันติสุขให้กับสังคม ประเทศชาติ และโลกได้ ที่หมู่บ้านพลัมเราเชิญชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์มาร่วมงานภาวนา ตอนแรกทุกคนต่างไม่ไว้ใจกัน ดังนั้น ในช่วงแรกของงานภาวนา เราจึงย้ำให้พวกเขาฝึกปฏิบัติกลับมาดำรงอยู่กับลมหายใจ โอบอุ้มความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกอานาปานสติ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในร่างกายและจิตใจของพวกเขา

อาทิตย์ต่อมา เราเชิญให้พวกเขาแบ่งปันความทุกข์ในใจของเขา และแนะให้ไม่กล่าวตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายมีโอกาสรับฟังด้วยความเข้าใจ ขอเพียงเล่าถึงความทุกข์ที่เราประสบเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ ฝ่ายที่รับฟังก็จะนั่งนิ่งๆ โดยไม่ขัดจังหวะการพูดของอีกฝ่าย เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาจะมีโอกาสปรับความเข้าใจกันอีกในอนาคต เขาไม่จำเป็นต้องขัดจังหวะการแบ่งปันของอีกฝ่าย การฟังด้วยวิถีเช่นนี้ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้ว่า ความทุกข์ของอีกฝ่ายไม่แตกต่างจากความทุกข์ของตนเลย เมื่อเราเข้าใจความทุกข์ของอีกฝ่าย ความกรุณาจะเกิดขึ้นในจิตใจทันที อาทิตย์ที่สามของงานภาวนา ทั้งสองฝ่ายทานอาหารด้วยกันและเดินจูงมือกันได้

ฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง

สังคมของเราเต็มไปด้วยความรุนแรง ความแบ่งแยก และความโกรธเกลียด สิ่งเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนได้ด้วยการฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง และการเอ่ยวาจาแห่งรัก ฉันเชื่อว่าเหตุที่การเจรจาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราไม่ได้นำวิถีแห่งสติมาใช้ในการเจรจา เรามักกระตือรือร้นที่จะถกกันเรื่องสันติภาพ แต่ทั้งสองฝ่ายกลับมีแต่ความลังเลสงสัย ความโกรธ และความกลัว พวกเขาไว้ใจกันและกันไม่ได้ การเจรจาจึงไม่ประสบผล

ในวิถีพุทธ เราจะแนะนำให้เขาใช้เวลา ๑-๒ อาทิตย์ ฝึกเจริญสติเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในกายและใจ พวกเราซึ่งอยู่ในชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติจะช่วยหยิบยื่นพลังแห่งความสงบสุขให้พวกเขา และเมื่อทั้งสองฝ่ายสงบกายสงบใจได้แล้ว เราจึงจัดให้รับฟังกันด้วยความกรุณา เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกรุณาในใจ การเจรจาเพื่อสันติภาพจึงเกิดขึ้นได้

Image


จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย กองบรรณาธิการ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2553 14:59 น.
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2010, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทาท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21739

รวมคำสอน “หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=45472

“นิรามิสา” ภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21765
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง