Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระอสีติมหาสาวก (ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 ต.ค.2009, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๐ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระปุณณมันตานีบุตร ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เมืองหงสวดี มีชื่อว่า “โคตมะ” ศึกษาจบไตรเพท และตั้งสำนักสอนศิษย์จำนวน ๕๐๐ คน ต่อมาพิจารณาเห็นว่าไตรเพทเป็นวิชาความรู้ที่ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้จริง จึงชวนศิษย์ทั้งหมดออกบวชเป็นฤาษีอยู่ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง

ฤาษีโคตมะและศิษย์ต่างมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร จนได้บรรลุสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ กล่าวคือ ได้บรรลุสมาธิขั้นสูง จนเป็นพื้นฐานให้เกิดคุณวิเศษต่างๆ คือ มีตาทิพย์ หูทิพย์ แสดงฤทธิ์ได้รู้ใจผู้อื่น และระลึกชาติได้ แต่ก็รู้ดีว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริงเพราะยังไม่หมดกิเลส จนกระทั่งต่อมาพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ซึ่งระยะเวลานั้นฤาษีโคตมะแก่มากแล้ว

ใกล้รุ่งวันหนึ่ง ขณะที่ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่จะเสด็จไปโปรดนั้น พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้ทอดพระเนตรเห็นบรรดาฤาษีศิษย์โคตมะปรากฏอยู่ในข่ายพระญาณ แม้ฤาษีโคตมะนั้นก็ปรากฏด้วยเช่นกัน แต่พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของฤาษีทั้งหมดแล้วทรงทราบว่า ฤาษีศิษย์เท่านั้นจะได้บรรลุอรหัตผลหลังจากฟังธรรมของพระองค์ ส่วนฤาษีโคตมะผู้อาจารย์จะยังไม่ได้บรรลุมรรคผลขั้นใดเลย แต่จะเกิดศรัทธาตั้งจิตปรารถนาตำแหน่งเอตทัคคะด้านแสดงธรรม และบรรลุอรหัตผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคต

รุ่งเช้าขณะที่บรรดาศิษย์ของฤาษีโคตมะออกแสวงหาผลไม้อยู่นั้น พระพุทธเจ้าปทุมุตตระก็ได้เสด็จออกบิณฑบาตตามลำพัง พระองค์เสด็จตรงไปยังอาศรมของฤาษีโคตมะ ซึ่งเวลานั้นกำลังนั่งอยู่ตามลำพัง

ฤาษีโคตมะเห็นมีนักบวชมายืนอยู่ที่ประตูอาศรม แม้จะยังไม่รู้ว่ามีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก แต่ทันทีที่เห็นพระมหาปุริสลักษณะบางประการ ก็ทราบได้ว่าพระรูปนี้คือพระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสและกองทุกข์ จึงทูลอาราธนาให้ประทับนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าอาสนะของตน

ฝ่ายบรรดาฤาษีศิษย์ของฤาษีโคตมะกลับมาจากหาผลไม้ เห็นมีนักบวชนั่งบนอาสนะสูงกว่าคุยอยู่กับอาจารย์ของตนก็รู้สึกแปลกใจ ฤาษีโคตมะเข้าใจความรู้สึกของบรรดาฤาษีศิษย์ได้ดี จึงรีบกล่าวแนะนำว่านักบวชรูปนี้คือ พระพุทธเจ้า จากนั้นได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศทั้งในมนุษยโลกและเทวโลก และเมื่อบรรดาฤาษีศิษย์ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้ว ฤาษีโคตมะจึงแนะนำให้จัดผลไม้ถวาย ครั้นพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสวยผลไม้แล้ว พระมหาวิมละและพระเทวะ คู่พระอัครสาวก ได้พาพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้าตามพระพุทธดำริให้มา ฝ่ายฤาษีโคตมะเห็นพระมามากเช่นนั้น ก็สั่งบรรดาฤาษีศิษย์ให้ถวายการต้อนรับอย่างเต็มที่ ให้นำดอกไม้นานาชนิดมาทำเป็นอาสนะถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหมด ชั่วเวลาไม่นานฤาษีศิษย์เหล่านั้นก็จัดอาสนะดอกไม้ถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกได้เสร็จเรียบร้อยตามคำสั่งของอาจารย์ ด้วยอำนาจฤทธิ์ของพวกตน

จากนั้นฤาษีโคตมะก็ลุกขึ้นยืนประนมมือกราบ ทูลพระพุทธเจ้าให้ขึ้นประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับนั่งแล้ว คู่พระอัครสาวกก็ได้นำบรรดาพระสาวกขึ้นนั่งบนอาสนะดอกไม้ตามที่ฤาษีโคตมะนิมนต์

พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะให้สักการะของฤาษีโคตมะและบรรดาศิษย์มีผลมาก จึงทรงเข้านิโรธสมาบัติ คู่พระอัครสาวกเห็นดังนั้นจึงเข้านิโรธสมาบัติตาม พระสาวกที่เหลือก็เข้านิโรธสมาบัติตามด้วย ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติอยู่นั้น ฤาษีโคตมะก็ได้ยืนกั้นร่มดอกไม้ถวาย ฝ่ายบรรดาฤาษีศิษย์ก็ได้ยืนประนมมือถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก จนกระทั่งเวลารุ่งเช้าจึงออกไปหาผลไม้ และเมื่อบริโภคแล้วก็กลับมายืนประนมมือถวายความเคารพดุจเดิม

ฤาษีโคตมะได้ยืนกั้นร่มดอกไม้ถวายพระพุทธเจ้าตลอด ๗ วัน โดยที่ไม่ยอมไปไหนเลย และเมื่อทรงออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งกับพระสาวก ผู้เป็นเลิศทางแสดงธรรมให้กล่าวอนุโมทนาทาน คือ การถวายอาสนะดอกไม้ ขณะที่พระสาวกรูปนั้นกล่าวอนุโมทนาอยู่นั้น ฤาษีโคตมะตั้งใจฟังด้วยความเลื่อมใสในพระสาวกรูปนั้นมาก พร้อมทั้งคิดปรารถนาจะได้เป็นเลิศเช่นพระสาวกรูปนั้น ในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตสักพระองค์หนึ่ง จึงกราบทูลถึงความปรารถนาของตน โดยอ้างถึงบุญสำคัญที่ตนทำเป็นเวลา ๗ วันนั้นเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูแล้วเห็นว่าความปรารถนาของฤาษีโคตมะนั้นสำเร็จได้แน่ จึงทรงพยากรณ์ว่า

“อีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านแสดงธรรม”

ฤาษีโคตมะได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อ เนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นหลานพระอัญญาโกณฑัญญะ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับปัจจุบันชาติที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีความชำนาญในการแสดงธรรม พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านแสดงธรรม ดังกล่าวมาแล้ว


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๑
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2009, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๑ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระสีวลี ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีลาภมาก แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายท่านได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์คล้ายๆ กับพระอสีติมหาสาวกรูปอื่นๆ คือ ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า ท่านจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีลาภมาก

ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลพระพุทธเจ้าวิปัสสี

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นคนบ้านนอก อยู่ไม่ไกลจากเมืองพันธุมดี วันหนึ่งได้เข้าร่วมกับพวกชาวเมืองถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก โดยท่านได้บริจาครวงผึ้งชนิดที่ไม่มีตัวและเนยแข็งเข้าโรงครัว ซึ่งผลปรากฏว่ารวงผึ้งกับเนยแข็งของท่านนั้น เป็นส่วนที่ทำให้งานบุญครั้งนี้สมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากของ ๒ สิ่งนี้กำลังเป็นที่ต้องการในการจัดเตรียมอาหาร

ความจริงแล้ว วันนั้นท่านเป็นคนบ้านนอกเพียงคนเดียว ที่ได้มีส่วนร่วมในงานบุญครั้งนี้ เนื่องจากมีสิ่งที่ชาวเมืองต้องการคือรวงผึ้งและเนยแข็งดังกล่าว เดิมทีเดียวพวกชาวเมืองต้องการซื้อ แต่เมื่อท่านทราบว่าจะนำไปถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก จึงไม่ยอมขาย แต่ขอมีส่วนร่วมในงานบุญครั้งนี้ด้วย โดยขอถวายน้ำผึ้งจากรวงที่ตนนำมาพร้อมกับเนยแข็งด้วยมือตนเอง ซึ่งพวกชาวเมืองก็ตกลง

เมื่อตกลงกันได้ดังนี้ ท่านก็แสดงฝีมือในการปรุงอาหาร ด้วยการซื้อเม็ดดีปลีมาบดใส่ลงในเนยแข็งแล้วกวนเข้าด้วยกัน จากนั้นก็บีบน้ำผึ้งผสม ครั้นได้ที่แล้วจึงใส่ลงในใบบัว แล้วนำไปยังที่ที่จะถวายทาน เมื่อถึงเวลาพวกชาวเมืองต่างเข้าถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกด้วยมือตนเองอย่างเป็นระเบียบ ท่านได้ทำอย่างนั้นบ้างเมื่อถึงวาระของตน โดยเริ่มต้นถวายพระพุทธเจ้าก่อน แต่ก่อนที่จะถวายนั้นท่านได้กราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็นคนยากจน มาจากบ้านนอก ของถวายมีอยู่เพียงสิ่งนี้เท่านั้น ขอพระองค์ทรงพระกรุณารับเครื่องบรรณาการของคนยากนี้ด้วยเถิด”

พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรดูชายบ้านนอกด้วยพระเนตรที่ฉายแววพระกรุณา ทรงรับน้ำผึ้งผสมเนยแข็งกับเม็ดดีปลีแล้ว ทรงอธิษฐานให้น้ำผึ้งนั้นมีพอถวายพระได้ทั่วถึง ด้วยพระฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า ผลปรากฏว่าน้ำผึ้งผสมเนยแข็งกับเม็ดดีปลีของชายบ้านนอกนั้นมีมากพอถวายพระได้ทั่วถึง

พระพุทธเจ้าวิปัสสีทรงทราบดีว่าชายบ้านนอกนั้นเป็นใคร มีอดีตชาติและอนาคตชาติเป็นเช่นไร จึงทรงให้ความคุ้นเคยเป็นพิเศษ ส่วนชายบ้านนอกหลังจากถวายพระจนทั่วถึงแล้ว ก็นั่งอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งไม่ไกลไม่ใกล้พระพุทธเจ้า จนเมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปใกล้แล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ข้าพระองค์มาจากบ้านนอก เห็นพวกชาวเมืองนำเครื่องสักการะมาถวายแด่พระองค์แล้วเกิดศรัทธาจึงขอร่วมบุญด้วย ด้วยผลบุญนี้ของข้าพระองค์ จงเลิศด้วยลาภและยศในอนาคตกาลด้วยเถิด”

พระพุทธเจ้าวิปัสสีทรงทราบดีเกี่ยวกับอดีตชาติและอนาคตชาติของท่านดังกล่าวแล้ว จึงทรงพยากรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพยากรณ์ และมีผลทำให้ชายบ้านนอกเกิดปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ท่านได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนกระทั่งได้มาเกิดเป็นพระราชา ในชาตินั้นท่านเกิดเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี คราวหนึ่งทรงมีพระประสงค์จะได้เมืองเมืองหนึ่งเป็นเมืองขึ้น จึงทรงยกทัพไปล้อมไว้ แล้วได้ส่งพระราชสารไปถึงเจ้าผู้ครองเมืองนั้นเป็นการเตือนว่า ให้เลือกเอาระหว่างสงครามกับสันติภาพ โดยทรงเน้นว่าหากต้องการสันติภาพ ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นแต่โดยดี ไม่เช่นนั้นก็ต้องทำสงครามกัน

เจ้าผู้ครองเมืองนั้นไม่ใส่พระทัยในพระราชสาร โดยทรงเห็นว่าทุกวันนี้บ้านเมืองของพระองค์ปกติสุขอยู่แล้ว ทรงบอกให้ชาวเมืองดำเนินชีวิตตามปกติ ไม่ต้องหวาดกลัวและไม่ต้องเตรียมตัวทำสงคราม และเมื่อประตูเมืองประตูใหญ่ถูกล้อม ก็บอกให้ชาวเมืองออกทางประตูเล็ก ซึ่งข้าศึกยังมิได้ล้อมเนื่องจากยังไม่ทราบ

เวลาล่วงเลยไปนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ที่เมืองนั้นถูกล้อมอยู่ แต่ชาวเมืองก็ยังดำเนินชีวิตอย่างปกติ ฝ่ายพระเจ้ากรุงพาราณสีเองก็ไม่ทรงมีพระประสงค์จะทำสงครามจริง ทรงหวังอยู่ว่าด้วยวิธีอย่างนี้จะทำให้เมืองนั้นเดือดร้อน ชาวเมืองจะฝืดเคือง วิธีนี้เองจะบีบบังคับเจ้าเมืองให้ต้องยอมจำนน และพระองค์ก็จะได้เมืองนั้นมาเป็นเมืองขึ้นโดยไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ดังนั้นจึงทรงบัญชาการให้กองทัพของพระองค์ล้อมอยู่อย่างนั้น แผนยึดเมืองแบบสันติของพระองค์มาสัมฤทธิ์ผลเอาเมื่อ ๗ วันหลังจากนั้น โดยการช่วยเหลือของพระมารดาของพระองค์เอง กล่าวคือ พระมารดาทรงทราบว่า ชาวเมืองสามารถเข้าเมืองออกเมืองได้ทางประตูเล็ก ฉะนั้น จึงไม่ลำบากในเรื่องการทำมาหากิน พระนางจึงตรัสแนะพระโอรสให้ล้อมที่ประตูเล็กด้วย เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงทำตามที่พระมารดาตรัสแนะ ผลที่ได้คือชาวเมืองนั้นเริ่มเดือดร้อน อาหารการกินเริ่มขาดแคลน ชาวเมืองเริ่มรวมกลุ่มเข้าเฝ้าเจ้าเมือง และทูลขอร้องให้ยอมจำนน แต่ก็ถูกปฏิเสธ ด้วยเจ้าเมืองทรงเห็นว่าพระองค์ไม่ได้เป็นต้นเหตุแห่งความเดือดร้อน พระองค์ไม่ได้ทำผิด แต่ศัตรูต่างหากที่ทำผิด ขัตติยมานะจึงทำให้พระองค์ยอมไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ไม่ได้คิดหาทางต่อสู้หรือแก้ไข ชาวเมืองต่างไม่พอใจเจ้าเมืองของตนเป็นอย่างมาก และในที่สุดก็พร้อมใจกันปฏิวัติจับเจ้าเมืองของตนฆ่า แล้วประกาศยอมแพ้แก่พระเจ้ากรุงพาราณสี โดยยอมตกเป็นเมืองขึ้น

บาปกรรมครั้งนั้นส่งผลให้ท่านตายไปเกิดอยู่ในอเวจีมหานรกอยู่นานแสนนาน จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านพ้นจากอเวจีมหานรกนั้นแล้วได้มาเกิดเป็นโอรสของ พระนางสุปปวาสา ซึ่งก็คือพระมารดาในอดีตชาตินั้นเอง เศษบาปกรรมที่ยังเหลืออยู่ส่งผลให้ทั้ง ๒ ต้องรับทุกขเวทนาร่วมกันเป็นเวลานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ซึ่งเท่ากับระยะเวลาที่ล้อมเมืองในอดีตชาตินั้นพอดี แต่ด้วยอำนาจบุญบารมีที่จะได้บรรลุอรหัตผล ครั้นปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุอรหัตผลแล้วได้บวช อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับความสามารถในปัจจุบันชาติที่เมื่อบวชแล้วมีลาภมาก ช่วยให้พระที่ร่วมเดินทางด้วยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีลาภมากดังกล่าวมาแล้ว


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๒
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 1:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๒ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


วาจานุสรณ์

พระนันทะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ได้พิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวท่าน นับตั้งแต่คราวที่พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการอันชาญฉลาดชวนท่านให้บวช แล้วทรงอนุเคราะห์จนได้บรรลุอรหัตผล ท่านพิจารณาดูกิเลสที่ละได้หมดแล้ว และพิจารณาดูความสุขที่ได้รับจากการที่ละกิเลสได้หมดนั้นก็เกิดปีติโสมนัส ท่านได้กล่าววาจาแสดงปีติโสมนัสว่า

เพราะไม่คิดให้ลึกซึ้ง
เราจึงมัวมาหลงแต่แต่งตัวให้สวยงาม
(เราไม่รู้หรอกว่า) การที่ต้องมาเป็นคนฟุ้งซ่าน
และวุ่นวายขวนขวายในการแต่งตัวนี้
เพราะถูกความยินดีในกามบีบคั้น
พระพุทธเจ้าทรงฉลาดในวิธีการสอน
เราปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนอย่างถ้วนถี่
จึงยกจิตที่ผูกพันอยู่ในภพให้พ้นขึ้นมาได้


พระราหุล หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ได้กล่าววาจาเปิดเผยความเป็นจริงในตัวท่านว่า

คนทั้งหลายรู้จักเราว่า ราหุลผู้เจริญ
เพราะคุณสมบัติ ๒ ประการ
คือ เป็นพระโอรสของพระพุทธเจ้าและมีดวงตาเห็นธรรม
เราเป็นอมตธรรม กิเลสจึงหมดไปและไม่ต้องเกิดใหม่อีก
เราจึงเป็นพระอรหันต์ไตรวิชชา
ควรแก่ทักษิณาของคนทั้งหลาย
กามทำให้สัตว์มืดบอด กามเป็นตาข่ายปกคลุมสัตว์ไว้
ความอยากในกามเป็นเครื่องปิดบังสัตว์ไว้
สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือกาม
จึงเป็นเหมือนปลาเข้าปากไซ
กามดังว่ามานั้นอันเป็นเครื่องผูกของมาร เราละและตัดได้แล้ว
(ต้นไม้คือ) ตัณหาอันมีอวิชชาเป็นราก เราก็ถอนขึ้นได้แล้ว
เราดับความเร่าร้อนได้สิ้น จึงอยู่อย่างสงบเยือกเย็น


พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ท่านจะอุทานออกมาเสมอว่า “สุขหนอ สุขหนอ” พระสาวกที่ยังเป็นปุถุชนต่างวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ท่านอุทานเพราะหวนระลึกถึงความสุขในราชสมบัติ พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามถึงเหตุที่ทำให้ท่านอุทาน

พระภัททิยะ จึงได้กล่าวถ้อยคำแสดงความรู้สึกต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัทว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อก่อนนั้นข้าพระองค์ (เป็นกษัตริย์) นั่งคอช้างไปไหนมาไหน
สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อละเอียดที่มาจากแคว้นกาสี
บริโภคข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลี ปรุงด้วยเนื้อที่สะอาด
แม้กระนั้นความสุขนั้น
ก็สู้ความสุขที่เกิดจากการอยู่อย่างสงัดนี้ไม่ได้
เพราะไม่ทำให้ใจของข้าพระองค์เบิกบาน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้มีนามว่า “ภัททิยะ”
โอรสของพระนางกาฬิโคธา เจริญด้วยสีลาทิคุณ
บำเพ็ญเพียรอย่างต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา
ไม่ยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้มีนามว่า “ภัททิยะ”
โอรสของพระนางกาฬิโคธา ถือปฏิบัติวัตรต่างๆที่สมควรแก่สมณะ
คือ การนุ่งห่มผ้าบังสุกุล โดยใช้เพียง ๓ ผืน
เลี้ยงชีพด้วยการเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้าน
ฉันอาหารในบาตร และฉันเพียงมื้อเดียว
เมื่ออิ่มแล้ว ใครจะนำมาถวายอีกก็ไม่รับ
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถโดยไม่ยอมนอน อยู่ตามโคนต้นไม้ในป่า
ซึ่งไม่มีเครื่องมุงบัง หรือ บางทีก็อยู่ตามป่าช้า
หากจำจะต้องอยู่ในเสนาสนะ
ก็แล้วแต่เขาจะจัดให้ ไม่เลือก ไม่เรียกร้อง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้มีนามว่า “ภัททิยะ”
โอรสของพระนางกาฬิโคธา เป็นผู้มักน้อยสันโดษ
ชอบสงัด ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ ข้าพระองค์ละทิ้งเครื่องราชูปโภค
คือจานทองคำราคา ๑๐๐ ตำลึง
ซึ่งมีลวดลายงดงามวิจิตรไปด้วยภาพ
ทั้งภายในและภายนอก นับได้ตั้ง ๑๐๐ ภาพ
มาใช้บาตรดินใบนี้ นับว่าได้อภิเษกครั้งที่ ๒
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อก่อน บนกำแพงเมืองที่สูง (สามารถมองเห็นได้ไกล)
และที่ซุ้มประตูเมืองซึ่งแข็งแรง
จะมีทหารถือดาบอารักขาข้าพระองค์
แต่ข้าพระองค์ก็ยังอยู่อย่างหวาดเสียว
มาบัดนี้สิ ข้าพระองค์ผู้มีนามว่า “ภัททิยะ”
โอรสของพระนางกาฬิโคธา เจริญด้วยสีลาทิคุณ
มาอยู่ป่าอย่างไม่หวาดสะดุ้งขลาดกลัว เพ่งพินิจธรรมอยู่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ตั้งมั่นอยู่ในศีล
บำเพ็ญสติและปัญญาอยู่ จึงละกิเลสได้หมดตามลำดับ


จากคำกล่าวของพระภัททิยะนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า การที่ท่านกล่าวว่า “สุขหนอ สุขหนอ” นั้น ท่านหมายถึงความสุขที่ได้อยู่อย่างสงบสงัด มิได้หมายถึงความสุขในราชสมบัติอย่างที่พระทั้งหลายเข้าใจกัน


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๓
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.พ.2010, 7:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๓ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอนุรุทธะ เป็นพระสาวกรูปหนึ่งที่กล่าวถ้อยคำไว้มากตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น พระสังคีติกาจารย์ได้รวบรวมไว้ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวดังต่อไปนี้

พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
เสด็จมาหาเราด้วยกายทิพย์ที่ทรงเนรมิตขึ้น
ทรงแสดงธรรมขั้นสูงให้เราฟัง
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมไม่ทำให้เนิ่นช้า
ทรงแสดงธรรมไม่ทำให้เนิ่นช้านั้นแก่เรา
ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น
เราเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว จึงทำให้ยินดีในพระศาสนา
เราปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอนจนได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำตามเสร็จสิ้นแล้ว


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ เพื่อเป็นการปรารภถึงการปฏิบัติธรรมของท่านที่ปาจีนวังสมิคทายวัน ในแคว้นเจตี

เราถือการไม่นอนเป็นวัตรมาเป็นเวลา ๒๕ ปีแล้ว
และ ๒๕ ปีแรกนั้นเราไม่ยอมหลับเลย


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ เพื่อเป็นการอ้างถึงการบำเพ็ญเพียรของท่านให้บรรดาศิษย์ได้ทราบ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า พระเถระถือการนั่งอย่างเดียวไม่ยอมนอน และไม่ยอมเอนกายพิงอะไรเลยมาเป็นเวลา ๕๕ ปี นับแต่วันบวชและ ๒๕ ปีแรกนั้นท่านจะไม่ยอมงีบหลับแม้แต่น้อย แต่มา ๒๕ ปีหลัง ท่านจะหลับบ้างในยามสุดท้าย เพราะร่างกายเหนื่อยอ่อนมากเนื่องจากชรา

ขณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยุดหายใจแล้ว
แต่ยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เพราะทรงตั้งพระทัยกำหนดนิพพานเป็นอารมณ์
ต่อจากนี้จึงจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา อันเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เนื่องจากมีพระถามว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วหรือยัง ท่านเข้าผลสมาบัติตามพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงหยุดหายใจนั้น เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงเข้าจตุตถฌานแล้ว ทันทีที่ทรงออกจากจตุตถฌานก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระเถระก็ได้กล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดกลั้นทุกขเวทนาด้วยพระทัยเบิกบาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านิพพาน ก็เหมือนกับดวงไฟดับ
พระทัยก็หลุดพ้นอย่างวิเศษ
เจตสิกธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าดับลงแล้วในบัดนี้เอง
และเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
เจตสิกธรรมเหล่าอื่นก็จักไม่มีอีกต่อไป


คราวหนึ่ง เทพธิดาชื่อ “ชาลินี” เข้ามาหาท่าน แล้วเชิญชวนให้ท่านกลับไปเกิดเป็นเทวาอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีก ว่ากันว่านางเทพธิดานี้เคยเป็นบาทบริจาริกเก่าของท่าน ครั้งที่ท่านเกิดเป็นเทวดา เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ นางจำได้และเห็นว่าท่านชรามากแล้ว จึงมาหาแล้วเชิญชวนให้ท่านกลับไปเกิดที่เก่าด้วยความรัก พระเถระจึงกล่าวตอบไปว่า “ชาลินี นับแต่นี้ไป อาตมาจะไม่กลับไปเกิดอยู่ในหมู่เทวดาอีกแล้ว อาตมาละการเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว การเกิดใหม่จะไม่มีอีกต่อไป”

เทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้วรู้สึกผิดหวังจึงกลับไป

มนุษย์โลก เทวโลกพร้อมทั้งพรหมโลก มีเป็นพัน
ภิกษุใดรู้แจ้งได้ชั่วเวลาครู่เดียว
ภิกษุนั้นถือว่าเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์
รู้แจ้งการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมจะเห็นเทวดาได้ทุกเมื่อ


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ต่อจากเมื่อกล่าวแก่เทพธิดา เพื่อขจัดความสงสัยของบรรดาศิษย์ที่ไม่เห็นเทพธิดา และคิดว่าท่านกล่าวเพ้อเจ้อ

จากนั้นพระเถระได้กล่าวถึงอดีตชาติของท่านหลายต่อหลายชาติ นับตั้งแต่เกิดเป็นคนหาบหญ้าชื่อ อันนภาระ ซึ่งได้พบ พระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะ รวมทั้งการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ สุดท้ายพระเถระได้กล่าวถึงการนิพพานของท่านว่า

เราผู้ไม่มีอาสนะ ถึงคราวสิ้นชีวิตก็จักนิพพาน
ณ ใต้กอไผ่ ใกล้หมู่บ้านเวฬุวะแคว้นวัชชี



มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๔
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2010, 7:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๔ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอานนท์ ได้กล่าวถ้อยคำไว้ตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับพระอนุรุทธะ พระสังคีตีกาจารย์ได้รวบรวมไว้ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวต่อไปนี้

คนพูดจายุแหย่ มักโกรธ ตระหนี่ และคิดแต่ให้คนอื่นพินาศ
ไม่มีคนฉลาดคนใดเขาคบด้วยหรอก
เพราะการคบกับคนเลว จะทำให้เลวไปด้วย
แต่คนฉลาดเขาจะคบกับคนที่มีศรัทธา มีศีล
มีปัญญา และมีการศึกษามามาก
เพราะการคบกับคนดี มีแต่จะทำให้เจริญรุ่งเรือง


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นการเตือนพระฉัพพัคคีย์ คือพระอัสสชิ พระปุนัพพสุกะ พระเมตติยะ พระภุมมชกะ พระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ ในโอกาสที่เห็นพระเหล่านั้นไปคลุกคลีอยู่กับพวกพระที่เป็นฝ่ายพระเทวทัต

ดูซี่ ดูร่างกายที่มีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง
ถูกตบแต่งให้สวยงาม แต่ก็มีแผลอยู่ทั่ว ช่างน่ารังเกียจ
แต่คนโง่จำนวนมากก็ยังอยากได้ มันช่างไม่มีความยั่งยืนเอาเสียเลย
ดูซี่ ดูร่างกายที่ถูกตบแต่งให้สวยงามด้วยแก้วมณี และต่างหู
แต่ส่วนลึกแล้วคือหนังหุ้มกระดูกที่งดงาม อยู่ได้ด้วยเครื่องพัสตราภรณ์
ดูซี่ ดูเจ้าของร่าง หล่อนมีเท้าลูบไล้ด้วยเครื่องน้ำครั่ง
มีหน้านวลเนียน เนื่องจากลูบไล้ด้วยจุรณ์จันทน์
จึงดูสวยงามพอที่จะหลอกให้คนโง่หลงได้
แต่จะให้คนที่แสวงหานิพพานหลงนั้น ไม่มีทางสำเร็จหรอก
เส้นผมของหล่อนเป็นลอนคล้ายกระดานหมากรุก
ดวงตาหยาดเยิ้มด้วยยาหยอด
จึงดูสวยงามพอที่จะหลอกให้คนโง่หลงได้
แต่จะให้คนที่แสวงหานิพพานหลงนั้น ไม่มีทางสำเร็จหรอก
กล่องยาหยอดตาใหม่มีลวดลายสวยงาม
ก็เหมือนกับร่างกายที่เน่าใน แต่ภายนอกถูกตกแต่งให้สวยงาม
พอที่จะหลอกคนโง่ให้หลงได้
แต่จะให้คนที่แสวงหานิพพานหลงนั้น ไม่มีทางสำเร็จหรอก


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นการเตือนพระทั้งหลายที่หลงใหลในรูปโฉมของนางอุตตรา ผู้เป็นหญิงนครโสภิณี แห่งแคว้นมคธ

พระอานนท์ผู้โคตมะโคตร ศึกษามามาก
พูดจาไพเราะ ถวายการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า (มานาน)
บัดนี้ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเกี่ยวเกาะทั้งมวล
ปลงภาระได้แล้ว จะขอนอน


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นเชิงอุทานหลังจากได้บรรลุอรหัตผลแล้ว พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ครั้นบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านก็นอนพักผ่อนทันที เนื่องจากคร่ำเคร่งอยู่กับการปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุอรหัตผลเกือบตลอดทั้งคืน อีกทั้งในวันรุ่งขึ้นท่านยังจะต้องเข้าร่วมงานสำคัญ คือ การทำปฐมสังคายนา

ทั่วทุกทิศดูมืดมัว ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่เรา
คราวที่พระสารีบุตรผู้เป็นกัลยาณมิตรจากไป
โลกทั้งโลกดูเหมือนจะมืดมิด


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ด้วยความอาลัยรักในพระสารีบุตร เมื่อได้ทราบว่าพระสารีบุตรนิพพานแล้ว พระเถระมิได้ถือว่าพระสารีบุตรเป็นกัลยาณมิตรแต่เฉพาะกับท่านเท่านั้น แต่ยังเป็นกัลยาณมิตรของคนทั่วไป รวมทั้งเทวดาด้วย

ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรล่วงลับไป
และมีพระศาสดานิพพานไปแล้ว
ย่อมไม่มีใครหรืออะไรมาเป็นมิตรที่ดีได้เท่ากายคตาสติ
มิตรเก่าพากันล่วงลับไปแล้ว
จิตของเราไม่ยินดีจะสมาคมกับมิตรใหม่
วันนี้เราจะเพ่งพินิจธรรมอยู่คนเดียว
ให้เหมือนนกที่อยู่ในรังยามฝนตก


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เพื่อยกย่องการเจริญกายคตาสติว่ามีค่าเท่ากับกัลยาณมิตร เพราะท่านบรรลุอรหัตผลได้ด้วยการเจริญกายคตาสติ ดังนั้น เมื่อมิตรเก่าอย่างพระสารีบุตรนิพพานไปก่อน ท่านก็ไม่แสวงหามิตรใหม่เนื่องจากวัยต่างกัน ท่านจึงอยู่คนเดียวด้วยการเจริญกายคตาสตินั้น

เราตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสมือนเงา
ติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี
ตลอดเวลาเท่านี้ เราอุปัฏฐากพระองค์ด้วย
เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้แสดงถึงความรักความผูกพันในพระพุทธเจ้า พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า พระเถระแสดงเมตตากายกรรมให้ปรากฏ ด้วยการทำความสะอาดพระคันธกุฎีที่ประทับและทำการรับใช้ต่างๆ แสดงเมตตาวจีกรรมให้ปรากฏ ด้วยการพูดเชิญเสด็จทูลบอกเวลาแสดงธรรม และทูลบอกเรื่องราวต่างๆ ที่มีผู้มาติดต่อ แสดงเมตตามโนกรรมให้ปรากฏ ด้วยการคิดที่จะถวายการอุปัฏฐากให้พระพุทธเจ้าทรงสำราญ

คราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ได้มีสิ่งที่น่ากลัวเกิดขึ้น ทำให้ขนชูชัน


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้นเอง เนื่องจากทันทีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้เกิดมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นต่างๆ อาทิ เกิดแผ่นดินไหว ดนตรีทิพย์บรรเลงลั่น ซึ่งล้วนแต่ชวนให้น่าสะพรึงกลัวสำหรับบุคคลทั่วไป


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๕
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2010, 7:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๕ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระภคุ

ข้าพระองค์รู้สึกง่วง จึงออกจากที่อยู่ไป หมายจะเดินจงกรม
แต่ก็หกล้มกองกับพื้นดินเสียก่อนขณะย่างเท้าขึ้นที่จงกรม
หลังจากลุกขึ้นปัดเนื้อตัวให้สะอาดแล้ว ข้าพระองค์ก็ขึ้นที่จงกรมอีก
คราวนี้มีจิตเป็นสมาธิ เดินจงกลมได้สำเร็จ
ขณะเดินจงกรมอยู่นั้น ข้าพระองค์พิจารณารูปอย่างลึกซึ้ง
จนเห็นโทษปรากฏชัดเจน ความเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้น
ทันใดนั้นเอง จิตของข้าพระองค์ก็หลุดพ้นจากกิเลส
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตร
ดูความล้ำเลิศของพระธรรมเถิด ข้าพระองค์ได้บรรลุวิชชา ๓
นับว่าได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปเยี่ยม หลังจากท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ณ หมู่บ้านพาลกโลณกะ ในแคว้นวังสะ โดยกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงการปฏิบัติธรรมของท่าน

พระกิมพิละ

พระทั้งหลายในปาจีนวังสทายวันนี้
ต่างล้วนเป็นโอรสของเจ้าศากยะ และเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
ได้ชวนกันละทรัพย์สมบัติจำนวนมาก มายินดีในการเที่ยวบิณฑบาต
พระเหล่านี้มีใจแน่วแน่ มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร
ละความยินดีในโลก มายินดีอยู่ในธรรม


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี อันเป็นที่ที่ท่านอยู่ร่วมกับพระเถระหลายรูปด้วยกัน อาทิ พระอนุรุทธะ และพระนันทิยะ ซึ่งพระเถระเหล่านั้นต่างล้วนเป็นโอรสของเจ้าศากยะเหมือนกับท่าน โดยแสดงให้เห็นว่า การจะบรรลุดธรรมได้นั้นต้องละทรัพย์สมบัติ และความยินดีแบบโลกเสียให้สิ้น

พระอุบาลี

พระใหม่ออกบวชด้วยศรัทธา ควรคบกับกัลยาณมิตร
ผู้ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงชีพด้วยความบริสุทธิ์
พระใหม่ที่ฉลาด ควรอยู่ศึกษาวินัยในสงฆ์
ควรรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
ควรอยู่เหนือกิเลสให้ได้


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้คราวแสดงปาฏิโมกข์ให้พระใหม่ฟังในวันอุโบสถวันหนึ่ง

พระเมฆิยะ

พระมหาวีระเจ้า ผู้ทรงเจนจบสรรพธรรม ได้สั่งสอนเรา
จนเรายินดีอยู่ใกล้พระองค์ และได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ
บัดนี้ เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้หลังจากได้บรรลุอรหัตผลแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นกัลยาณมิตรผู้ยอดเยี่ยม

พระนาคิตะ

ทางไปสู่นิพพานอย่างมรรคมีองค์ ๘ นี้
ไม่มีในศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนานี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพร่ำสอนหมู่พระสาวก
ให้ดำเนินตามทางนี้ได้ชัดเจน
คล้ายทรงบอกให้ดูผลมะขามป้อมบนฝ่าพระหัตถ์


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน และสามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริงดังที่ท่านแจ้งประจักษ์ชัดด้วยตนเอง

พระสีวลี

เราเข้ากุฎีเจริญวิปัสสนา เพื่อประโยชน์ใดๆ
พระโยชน์นั้นๆ ก็สำเร็จแล้ว
เพราะเมื่อแสวงหาวิชชาและวิมุติอยู่นั้น
เราก็ถอนความถือตัวที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานเสียได้
จึงได้สำเร็จสมคิด


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นการเปล่งอุท่าน ด้วยความปีติโสมนัสหลังจากได้บรรลุอรหัตผล

พระปุณณมันตานีบุตร

บุคคลควรสมาคมกับสัตบุรุษผู้ฉลาด
ชี้แจงให้ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
เพราะนักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่ประมาท เห็นแจ้งด้วยปัญญา
จึงได้บรรลุถึงประโยชน์อันใหญ่หลวง ลึกซึ้ง ละเอียด สุขุม เห็นได้ยาก


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้ด้วยความปีติโสมนัส หลังจากได้พิจารณาเห็นว่า ตัวท่านเองและคนอื่นๆ พ้นจากความทุกข์ต่างๆ ได้ก็เพราะได้อาศัยพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวให้เห็นคุณค่าของการสมาคมกับสัตบุรุษ


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๖
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2010, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๖ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระมหาอุทายี

พระอรหันต์เคยบอกเราว่า
มนุษย์คนใดฝึกตน มีจิตมั่นคงดำเนินไปในทางอันประเสริฐ
ยินดีในธรรมที่ทำให้จิตสงบ
มนุษย์คนนั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้แจ้งสรรพธรรม
ซึ่งทั้งมนุษย์และเทวดาพากันนอบน้อม
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงข้ามพ้นกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ทั้งหมด
ทรงออกจากป่าคือกิเลสมาสู่นิพพาน
ทรงออกจากกามมายินดีในเนกขัมมะ
ทรงบริสุทธิ์เหมือนทองคำที่หลุดจากหิน
ซึ่งทั้งมนุษย์และเทวดาพากันนอบน้อม
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นเหมือนช้างตัวประเสิรฐ
งดงามเกินใครในมนุษย์โลกและเทวโลก
ได้ชื่อว่าเป็น “นาค” จริง ยอดเยี่ยมกว่าผู้ที่ชื่อว่า “นาค” ทั้งมวล
เหมือนภูเขาหิมพานต์งดงามกว่าภูเขาอื่นทั้งหมด
เราจักแสดงช้างต้วประเสริฐที่ได้ชื่อว่าเป็น “นาค” อย่างแท้จริง
ยอดเยี่ยมกว่าผู้ที่มีชื่อว่า “นาค” ทั้งมวล แก่ท่านทั้งหลาย
ผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นชื่อว่า “นาค”
ความสงบเสงี่ยม และความไม่เบียดเบียน ๒ อย่างนี้
เป็นเท้าหน้าทั้งสองของนาคนั้น สติและสัมปชัญญะเป็นเท้าหลัง
ศรัทธาเป็นงวง อุเบกขาเป็นงาอันขาว สติเป็นคอ
ปัญญาเครื่องพิจารณาค้นคว้าธรรม เป็นศีรษะ
สมถะและวิปัสสนาเป็นท้อง วิเวกเป็นหาง
ช้างตัวประเสริฐนั้น เพ่งพินิจธรรมอยู่เป็นนิจ ยินดีในนิพพาน
มีจิตเป็นสมาธิในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเดินยืนนั่งนอน
ช้างตัวประเสริฐนั้น กินของไม่มีโทษ แต่จะไม่กินของที่มีโทษ
ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มมา ก็ไม่เก็บสะสมไว้
ตัดเครื่องผูกพันทั้งเล็กทั้งใหญ่ได้หมด
จึงเที่ยวไปอย่างไม่มีความห่วงใย
ดอกบัวขาวเกิดเติบโตอยู่ในน้ำ ส่งกลิ่นหอม ชวนให้รื่นรมย์
แต่ก็ไม่ติดด้วยน้ำ (น้ำไม่ติดดอก) ฉันใด
ช้างตัวประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้านั้นก็เป็นฉันนั้น
กล่าวคือ พระองค์อยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก
ไฟกองใหญ่ลุกโชน เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป
แม้จะเหลือเถ้าอยู่ เขาก็เรียกกันว่า ไฟดับ
ช้างตัวประเสริฐคือพระพุทธเจ้า
ไม่มีอาสวะ หมดราคะ โทสะ และโมหะ
เมื่อละร่างกายก็จักดับสนิทไป
แม้ร่างกายจะเหลืออยู่ แต่ก็ชื่อว่าดับสนิท
เพราะดับอาสวะได้สิ้น


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้สรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากในวันหนึ่งท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงนาโคปมสูตร (พระสูตรอุปมาด้วยช้าง) โดยพระองค์ทรงยกช้างเผือกตัวที่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพซึ่งชาวโลกนิยมยกย่องว่าสวยงาม ขึ้นเป็นตัวนำเรื่อง พระเถระฟังธรรมเทศนาพลางระลึกถึงพระพุทธคุณไปพลางจนเกิดปีติ ท่านคิดว่าชาวโลกจำนวนมากนิยมยกย่องแต่ช้างที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน แต่หามีใครนิยมยกย่องช้างคือพระพุทธเจ้าไม่ ท่านจึงกล่าวถ้อยคำนี้ออกมาเพื่อเป็นการประกาศพระคุณของช้างตัวประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้า ให้ปรากฏ

พระกาฬุทายี

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้หมู่ไม้ทั้งหลายผลัดใบแล้ว
บางพันธุ์แตกหน่อและใบอ่อน บางพันธุ์ออกผล
ขณะที่บางพันธุ์กำลังผลิดอกแดงอร่าม
หมู่ไม้เหล่านั้น มองดูแล้วสวยงามเหมือนเปลวเพลิง
ข้าแต่พระมหาวีระ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่พระองค์
จะเสด็จไปแจกจ่ายรสพระธรรมแก่พระประยุรญาติ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ไม้ทั้งหลายที่ผลัดใบเก่าแล้ว
ต่างออกผล ผลิดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทิศ
ข้าแต่พระมหาวีระ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่พระองค์
จะเสด็จออกจากเมืองราชคฤห์นี้ ไปยังเมืองกบิลพัสดุ์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หน้านี้อากาศไม่หนาวนัก
ไม่ร้อนนัก กำลังสบายเหมาะที่จะเดินทางไกล
ขอเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอให้เหล่าพระประยุรญาติ
ทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ได้ทอดพระเนตร
เห็นพระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำโรหิณีเถิด


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เพื่อทูลธารธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปยงเมืองกบิลพัสดุ์ ตามที่ได้รับข้อตกลงไว้กับพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านรอเวลาที่จะกราบทูลนานจนกระทั่งใกล้จะสิ้นฤดูหนาวอันเป็นช่วงเวลาที่ไม้ป่าทั้งหลายผลิดอกออกใบงามสะพรั่ง พื้นดินเขียวขจีด้วยหญ้าสด เมื่อเห็นเป็นเวลาเหมาะสมที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จได้โดยสะดวก จึงกราบทูลพรรณนาถึงความสวยงามของเส้นทางที่จะเสด็จ นอกจากกราบทูลพรรณนาถึงความสวยงามของเส้นทางนั้นแล้ว พระเถระยังได้กราบทูลอีกว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชาวนาหวังผลจึงไถนาหว่านพืช
พ่อค้าหวังผลจึงออกทะเลหาทรัพย์
ข้าพระองค์เองก็หวังผลจึงมาอยู่ ณ ที่นี้
ขอความหวังผลนั้นของข้าพระองค์จงสัมฤทธิ์ด้วยเถิด
ชาวนาหมั่นหว่านพืช ฝนหมั่นตก ชาวนาหมั่นไถนา
แว่นแคว้นก็จะสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อยๆ
คนขอเที่ยวขออยู่บ่อยๆ คนให้ให้อยู่บ่อยๆ
ครั้นให้บ่อยๆ เข้าก็ย่อมขึ้นสวรรค์บ่อยๆ


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นเชิงทูลวิงวอนพระพุทธเจ้า โดยกราบทูลให้ทรงเห็นว่า ไม่ว่าชาววนาหรือพ่อค้าต่างหวังผลในกิจกรรมของตนทั้งสิ้น ท่านเองมาเมืองราชคฤห์นี้นอกจากหวังผลเพื่อออกบวชและบรรลุธรรมแล้ว ก็ยังหวังผลคือทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จกลับเมืองกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระประยุรญาติ พระเถระได้กราบทูลต่อไปอีกว่า

บุรุษที่มีความเพียร มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
เกิดในสกุลใด ย่อมทำให้สกุลนั้นบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วคน
ข้าพระองค์รู้ดีว่า พระองค์คือเทพของเทพทั้งหลาย
ย่อมสามารถชำระสกุลให้บริสุทธิ์ได้
เพราะพระองค์เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า “มุนี”
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะ คือ พระบิดาของพระองค์
พระนางมายา คือ พระมารดาของพระองค์
พระนางทรงครรภ์พระองค์ผู้เป็นพระโพธิ์สัตว์มา
ครั้นสิ้นพระชนม์แล้วก็ไปบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ (สวรรค์ชั้นดุสิต)
ทรงมีหมู่นางฟ้าห้อมล้อมพรั่งพร้อม
บันเทิงอยู่ด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์


พระเถระกล่าวถ้อยคำนี้เป็นตอนสุดท้าย โดยกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงกล่าวถึงความสัมพันธ์โดยสายเลือดระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระบิดาและพระมารดา

คำกล่าวของพระเถระทั้งหมดนี้ นับว่าสำคัญมากต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ตามที่ท่านกราบทูลแล้ว ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระประยุรญาติให้ได้บรรลุธรรมจำนวนมาก ในเวลาเดียวกันนั้นพระประยุรญาติจำนวนหนึ่งก็ได้ออกบวชตามเสด็จ จนกลายมาเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาในเวลาต่อมา


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๗
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2010, 8:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๗ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


กลุ่มพระมาณพ ๑๖ คือ กลุ่มพระที่ก่อนออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชเป็นฤาษีศิษย์ของฤาษีพาวรีมาก่อน และต่อมาฤาษีพาวรีได้ส่งมาทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า ครั้นได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสเฉลยปัญหาแล้วก็ได้บรรลุธรรม แล้วทูลขอบวช มี ๑๖ รูป คือ พระอชิตะ พระติสสเมตเตยยะ พระปุณณกะ พระเมตตคู พระโธตกะ พระอุปสีวะ พระนันทะ พระเหมกะ พระโตเทยยะ พระกัปปะ พระชตุกัณณี พระภัทราวุธ พระอุทยะ พระโปสาละ พระโมฆราช พระปิงคิยะ แต่ละรูปมีประวัติที่น่าศึกษาดังนี้

สถานะเดิม

พระ ๑๖ รูปนี้ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ศึกษาจบศิลปวิทยาในสำนักของฤาษีพาวรี

ชีวิตฆราวาส

แต่ละท่านเมื่อเจริญวัยได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของฤาษีพาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ามหาปเสนทิโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ศึกษาจบแล้วก็ได้รับมอบหมายจากฤาษีพาวรีให้ช่วยสอนศิลปวิทยาแก่นักศึกษารุ่นหลัง แต่ละท่านได้รับมอบหมายให้สอนศิษย์ท่านละ ๑,๐๐๐ คน จึงทำให้มองเห็นว่าสำนักสอนศิลปวิทยาของฤาษีพาวรีนั้นใหญ่โตมาก เพราะมีศิษย์เข้าศึกษาในเวลาเดียวกันถึง ๑๖,๐๐๐ คน รวมทั้งศิษย์ที่จบการศึกษาแล้วด้วยอีก ๑๖ คน เป็น ๑๖,๐๑๖ คน

เมื่อพระเจ้ามหาปเสนทิโกศลสวรรคตแล้ว ฤาษีพาวรี (ครั้งยังไม่ได้บวช) ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้สืบทอดราชสมบัติเป็นกษัตริย์ครองแคว้นโกศลต่อมา

ฤาษีพาวรี ผู้ซึ่งบัดนี้ย่างเข้าวัยชราแล้ว รับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาส ประสงค์จะสละยศ ตำแหน่ง และทรัพย์สินทั้งหมดออกบวชเป็นฤาษี จึงเข้าไปทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล

“ท่านอาจารย์” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทัดทาน “เมื่อสิ้นพระราชบิดา ข้าพเจ้าก็ได้ท่านเสมอด้วยพระองค์ ฉะนั้นขออย่าออกบวชเลย”

“ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า” ฤาษีพาวรีกราบทูล “ข้าพระพุทธเจ้าตั้งใจไว้นานแล้ว ขอพระกรุณามีพระราชานุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าได้ออกบวชตามปรารถนาด้วยเถิด”

พระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อทรงเห็นว่าจะไม่สามารถทัดทานฤาษีพาวรีได้ จึงจำพระทัยอนุญาต โดยทรงมีเงื่อนไขให้ฤาษีพาวรี เมื่อบวชแล้วต้องอยู่ในพระอุทยานหลวง เพื่อพระองค์จะได้เสด็จไปหาให้อบอุ่นพระทัยได้ทั้งเช้าและเย็น ฤาษีพาวรีทูลรับเงื่อนไขดังกล่าว

ครั้นฤาษีพาวรีออกบวชแล้ว ศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน ๑๖ คน พร้อมด้วยศิษย์รุ่นน้องจำนวน ๑๖,๐๐๐ คน ก็ได้ออกบวชเป็นฤาษีตาม และพักอยู่ในอุทยานหลวงนั้นด้วยกัน

การออกบวชในพระพุทธศาสนา

ศิษย์ผู้ใหญ่ของฤาษีพาวรี ๑๖ ท่าน ซึ่งมีฤาษีอชิตะเป็นหัวหน้า พร้อมด้วยฤาษีบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา คราวที่ฤาษีพาวรีผู้เป็นอาจารย์ส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ปาสาณเจดีย์ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศลนั้นเอง ดังมีเรื่องเล่าว่า ฤาษีพาวรีกับฤาษีผู้เป็นศิษย์ทั้งหมดนั้น อยู่อย่างผาสุกในอุทยานหลวง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายการบำรุงด้วยปัจจัยสี่เป็นอย่างดี แต่เป็นด้วยต้องการความสงบยิ่งขึ้น วันหนึ่งฤาษีพาวรีจึงทูลขอพระราชานุญาตพาฤาษีผู้เป็นศิษย์ทั้งหมดไปอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างแคว้นอัสสกะกับแคว้นมละ สถานที่แห่งใหม่นี้อยู่ถัดลงมาด้านใต้ของแคว้นโกศล

บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโคธาวรีเคยเป็นที่อยู่ของฤาษีรุ่นเก่าเช่นฤาษีสรภังคะมาก่อน แม่น้ำในโคธาวรีแยกออกเป็น ๒ สาย โดยตรงกลางเป็นเกาะกว้างใหญ่ประมาณ ๓ โยชน์ (๔๕ กิโลเมตร) และบนเกาะนั้นมีป่ามะขวิดขึ้นเต็มไปหมด ฤาษีพาวรีได้พาฤาษีทั้งหมดไปอยู่บนเกาะนั้น ทั้งนี้อยู่ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลตลอดมา โดยทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินจากพระเจ้าอัสสกะและพระเจ้ามละแล้ว ทรงรับสั่งให้บรรดาเสนามาตย์จัดสร้างบรรณศาลาถวายฤาษีพาวรีและฤาษีผู้เป็นศิษย์

ต่อมาได้มีผู้คนอพยพมาอยู่ในป่ามะขวิดนั้นด้วย แต่ปลูกบ้านเรือนอยู่ห่างๆ ชาวบ้านกลุ่มนี้เมื่อมาอยู่แล้วก็ตั้งหน้าทำมาหากินและเป็นอยู่อย่างสงบสุข พวกเขาตระหนักอยู่เสมอว่า แผ่นดินที่พวกตนอาศัยอยู่นี้ เป็นแผ่นดินของเหล่าฤาษีผู้มุ่งแสวงหาความสงบ อยู่มาวันหนึ่งจึงได้นำเงินและทองไปถวายฤาษีพาวรีผู้เป็นใหญ่ในที่นั้น เพื่อเป็นค่าปฏิการคุณ

“นำมาให้อาตมาทำไม” ฤาษีพาวรีถาม

“นำมาให้พระคุณเจ้านำไปใช้ประโยชน์ เพื่อจะได้อยู่ให้สุขสบาย” ชาวบ้านตอบ

“อาตมาเป็นอยู่สุขสบายแล้ว” ฤาษีพาวรียืนยัน “ความสุขสบายของอาตมาไม่ต้องใช้เงินใช้ทอง เพราะถ้าต้องใช้เงินใช้ทอง อาตมาคงไม่บวช รับกลับไปเถิด”

เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนใจชาวบ้านได้ ฤาษีพาวรีก็รับไว้ ครั้นถึงเวลาอันเหมาะสมก็นำออกมาแจกจ่ายให้คนยากจนต่อไป


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๘
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2010, 1:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๘ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


ข่าวฤาษีพาวรีให้ทานคนยากจนเลื่องลือไปไกลถึงแคว้นกลิงคะ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นอัสสกะ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นโกศล พราหมณีนางหนึ่งในหมู่บ้านทุนนิวัฏฐะแห่งแคว้นกลิงคะนั้นได้ทราบข่าวเข้า ก็บอกพราหมณ์แก่ผู้เป็นสามีให้เดินทางไปรับทานจากฤาษีพาวรี พราหมณ์แก่ทำตามที่ภรรยาแนะนำ ได้รีบออกเดินทางไปหาฤาษีพาวรีทันที ครั้นไปถึงแล้วก็ออกปากขอเงิน ๕๐๐ กหาปณะ แต่ไม่ได้ตามที่ขอเนื่องจากฤาษีพาวรีได้ให้ทานหมดแล้ว พราหมณ์แก่โกรธมาก ดังนั้น ก่อนจะจากไปจึงได้ทำพิธีสาปแช่งฤาษีพาวรี โดยได้ก่อกองทรายเป็นจอมไว้ที่ประตูบรรณศาลา โปรยดอกไม้สีแดงไว้รอบกองทรายนั้น แล้วทำปากขมุบขมิบเหมือนร่ายมนตร์ สุดท้ายได้กล่าวสาปแช่งว่า

“วันที่ ๗ จากวันนี้ หัวแกจะต้องแตกเป็น ๗ เสี่ยง”

ฤาษีพาวรี แม้จะเป็นอาจารย์สอนศิษย์จำนวนมาก แต่เพราะเหตุที่ยังเป็นปุถุชน เมื่อถึงคราวคับขันก็รู้สึกกลัวเป็นกำลังในท่าทางของพราหมณ์แก่ผู้ละโมบ โดยท่านเข้าใจว่าพราหมณ์นั้นเป็นพราหมณ์พเนจรคงจะมีตบะแรงกล้า จึงทำให้สรุปและเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามที่พราหมณ์แก่สาปแช่ง

ฤาษีพาวรีหวาดวิตกอยู่จนถึงกลางคืน ตกดึกเทวดาตนหนึ่งได้มาบอกให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วถามว่าศีรษะจะแตกหรือไม่แตกจะได้สิ้นสงสัย

เทวดาตนนั้น ตามประวัติว่าเคยเป็นมารดาในอดีตชาติของฤาษีพาวรีที่ยังรักห่วงใย และเฝ้าคุ้มครองฤาษีพาวรีอยู่ตลอดเวลา คำแนะนำของเทวดามีผลทำให้ฤาษีพาวรีรู้สึกสบายใจขึ้น มองเห็นทางแก้ปัญหา และที่สำคัญที่สุดท่านรู้สึกประทับใจกับคำว่า “พระพุทธเจ้า” ที่เป็นเหมือนว่าเคยได้ยินมานานแสนนาน ดังนั้น วันรุ่งขึ้นฤาษีพาวรีจึงได้เรียกฤาษีผู้เป็นศิษย์ให้มาหา แล้วเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง เริ่มตั้งแต่ถูกพราหมณ์แก่ทำพิธีสาปแช่ง จนถึงเทวดาบอกให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

“เธอทั้งหลาย” ฤาษีพาวรีเน้นเสียง “บัดนี้มีข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ขอให้เธอทั้งหลายไปสืบดูซิว่าจริงหรือไม่ แล้วกลับมาบอกฉันด้วย”

ขณะที่บอกบรรดาฤาษีผู้เป็นศิษย์อยู่นั้น ฤาษีพาวรีก็อดคิดไม่ได้ว่า ตนเองแก่แล้ว จะตายวันตายพรุ่งก็ยังไม่ทราบได้ ท่านไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้าหรือไม่ จึงได้ผูกปัญหามอบให้ผู้ใหญ่ ๑๖ คน คนละ ๑ ข้อ เพื่อนำไปทูลถามพระพุทธเจ้า

ฤาษีพาวรียังคิดต่อไปอีกว่า ฤาษีศิษย์ทั้ง ๑๖ นั้นต่างล้วนเป็นคนฉลาด ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องได้บรรลุธรรมแน่นอน จึงไม่แน่ใจว่าจะมีใครกลับมาหาตนหรือไม่ เพื่อเป็นการเตือนความทรงจำ ฤาษีพาวรีจึงบอกฤาษีอชิตะผู้เป็นหลานชาย ให้กลับมาหาตนให้ได้หลังจากได้พบพระพุทธเจ้า

ฤาษีพาวรีเป็นห่วงบรรดาฤาษีผู้เป็นศิษย์ เกรงว่าเมื่อไปพบพระพุทธเจ้าแล้วจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงบอกให้ใช้วิธีตรวจดูมหาปุริสลักษณะ (ลักษณะของคนสำคัญ) ๓๒ ประการ โดยบอกว่า บุคคลที่มีมหาปุริสลักษณะครบทั้ง ๓๒ ประการ ย่อมมีคติเป็น ๒ เสมอ คือ ถ้าอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อได้พบนักบวชรูปใดรูปหนึ่งเข้า ก็ขอให้ตรวจดูว่ามีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้หรือไม่ หากมีก็ขอให้รู้ว่านั่นคือพระพุทธเจ้า

นอกจากให้ตรวจดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการแล้ว ฤาษีพาวรียังแนะนำให้คิดถามปัญหาในใจ ซึ่งถ้าหากนักบวชรูปนั้นเป็นพระพุทธเจ้าจริง พระองค์ก็จะตรัสตอบด้วยพระวาจา

ครั้นได้รับคำแนะนำอย่างนี้แล้ว ฤาษีศิษย์ผู้ใหญ่ทั้ง ๑๖ ก็ได้พาฤาษีศิษย์รุ่นน้องทั้งหมดกราบลาฤาษีพาวรีผู้อาจารย์ แล้วออกเดินทางบ่ายหน้าขึ้นเหนือ เพื่อแสวงหาพระพุทธเจ้าต่อไปตามที่ฤาษีพาวรีแนะนำ ฤาษีเหล่านั้นได้เดินทางรอนแรมผ่านเมืองต่างๆ จนในที่สุดได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

ปาสาณเจดีย์ เดิมเป็นเทวสถาน ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนา มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น ผู้คนเหล่านั้นนอกจากจะได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ยังได้เปลี่ยนเทวสถานแห่งนั้นมาเป็นวัดในพระพุทธศาสนาอีกด้วย แต่ยังคงเรียกตามชื่อเดิม ทั้งนี้เพราะเทวสถานที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นวัดนั้นตั้งอยู่บนหินแผ่นใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าปาสาณเจดีย์เป็นที่เหมาะสมจะใช้สนทนาธรรมกับฤาษีผู้เป็นศิษย์ฤาษีพาวรี จึงเสด็จไปต้อนรับฤาษีเหล่านั้นอยู่ ณ ที่นั้น

ทันทีที่ไปถึงปาสาณเจดีย์ ฤาษีทั้งหมดก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่บนลานหิน พระวรกายสง่างามด้วยพระมหาปุริสลักษณะ แต่เป็นด้วยยังไม่มั่นใจว่าจะใช่พระพุทธเจ้าหรือไม่ ฤาษีอชิตะในฐานะหัวหน้าคณะ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ทดสอบบุคคลผู้ที่ตนคิดว่าเป็นพระพุทธเจ้าจากฤาษีพาวรีผู้เป็นอาจารย์ จึงเริ่มทดสอบตามวิธีที่อาจารย์กำหนดให้ นั่นคือคิดถามปัญหาในใจ

อชิตะ : หากท่านคือพระพุทธเจ้า ขอได้โปรดบอกด้วยว่า ฤาษีพาวรีมีอายุเท่าไร เชื้อสายเป็นอย่างไร มีลักษณะทางร่างกายเป็นอย่างไร และมีศิษย์ที่สั่งสอนอยู่เท่าไร

พระพุทธเจ้า : (ตรัสตอบเสียงดัง) ฤาษีพาวรีมีอายุ ๑๒๐ ปี เกิดในตระกูลฤาษีพาวรีวงศ์ มีมหาปุริสลักษณะ ๓ อย่างอยู่ในตัว ศึกษาจบไตรเพทและวิชาสำคัญต่างๆ คือ ลักษณศาสตร์ คัมภร์อิติหาสะ คัมภีร์นิฆัณฑุ และคัมภีร์สเกฏกะ และมีศิษย์ประจำสำนักอยู่ ๕๐๐ คน

อชิตะ : ที่พระองค์ตรัสว่าฤาษีพาวรีมีมหาปุริสลักษณะ ๓ อย่างอยู่ในตัวนั้น ขอได้โปรดตรัสบอกด้วยว่า มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการนั้น คืออะไรบ้าง

พระพุทธเจ้า : มหาปุริสลักษณะ ๓ อย่างในตัวฤาษีพาวรี คือ ลักษณะที่ ๑ มีลิ้นยาวใหญ่ถึงขนาดแลบปิดหน้าได้มิด ลักษณะที่ ๒ มีขนขาวยาวละเอียดอ่อนม้วนขดเป็นก้นหอยอยู่ระหว่างคิ้ว ลักษณะที่ ๓ มีอวัยวะเพศอยู่ในฝัก

อชิตะ : (เริ่มเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า) ฤาษีพาวรีฝากมาทูลถามว่า ศีรษะคืออะไร จะทำลายได้ด้วยอะไร

พระพุทธเจ้า : ศีรษะ คืออวิชชา จะทำลายได้ด้วยวิชชา ซึ่งประดับด้วยสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และฉันทะ

ครั้นถึงตอนนี้ฤาษีอชิตะเกิดปีติโสมนัสยิ่งนัก เพราะมั่นใจแล้วว่าผู้ที่ตนกำลังสนทนาด้วยนี้คือพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน จึงห่มผ้าลดไหล่แล้วหมอบกราบลงแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ฝ่ายฤาษีที่มาด้วยเมื่อเห็นฤาษีอชิตะทำดังนั้น ก็เข้าใจได้ทันทีเช่นกันว่านี่คือพระพุทธเจ้า จึงพร้อมกันหมอบกราบลงแทบพระบาทด้วยความรู้สึกปีติโสมนัสเป็นกำลัง

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า” ฤาษีอชิตะกราบทูลขณะหมอบกราบ “ข้าพระองค์ในนามของฤาษีพาวรีและมวลศิษย์ ขอถวายบังคมพระบรมบาท”

พระพุทธจ้าทรงมองดูฤาษีทั้งหมดด้วยสายพระเนตรอ่อนโยน แล้วตรัสประทานพร

“ขอฤาษีพาวรีพร้อมด้วยมวลศิษย์ จงมีความสุขเถิด อชิตะ ตัวเธอเองก็ขอให้มีความสุขและมีอายุยืนนะ”

จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงให้โอกาสฤาษีผู้ใหญ่ทั้ง ๑๖ ทูลถามปัญหาตามที่ฤาษีพาวรีผูกมาให้ หลังจากทูลถามปัญหาและได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสตอบแล้ว ฤาษีทั้ง ๑๖ พร้อมด้วยฤาษีบริวารทั้ง ๑๖,๐๐๐ ก็ได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๙
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๖๙ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


การบรรลุอรหัตผล

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงให้โอกาสฤาษีผู้ใหญ่ทั้ง ๑๖ ทูลถามปัญหานั้น ฤาษีทั้งหมดได้ทูลถามปัญหาตามลำดับดังนี้

๑. ฤาษีอชิตะ ทูลถามว่า
อะไรหุ้มห่อโลกไว้ อะไรทำให้โลกมืดมิด อะไรฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลก

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
อวิชชา หุ้มห่อโลกไว้ ความตระหนี่ ทำให้โลกมืดมิด ตัณหา ฉาบทาโลกไว้ทุกข์ เป็นภัยใหญ่ของโลก

ฤาษีอชิตะ ทูลถามว่า
กระนั้นน้ำ (คือตัณหา) ไหลไปทั่ว อะไรจะกั้นกระแสน้ำนั้นได้ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องกั้นกระแสน้ำนั้นด้วย และขอได้โปรดตรัสบอกด้วยว่า อะไรเป็นตัวตัดกระแสน้ำนั้นได้

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
สติ กั้นกระแสน้ำนั้นได้ ตถาคตขอบอกว่า สติ เป็นธรรมเครื่องกั้นกระแสน้ำ และปัญญา เป็นตัวตัด

ฤาษีอชิตะ ทูลถามว่า
ขอได้โปรดตรัสบอกทางปฏิบัติเป็นพระอรหันต์และเสขะด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย ไม่พึงมีจิตขุ่นมัว พึงฉลาดในสรรพธรรม มีสติละเว้นให้หมด

ฤาษีอชิตะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๒. ฤาษีติสสเมตเตยยะ ทูลถามว่า
ในโลกนี้ ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ใครไม่มีความหวั่นไหว ใครรู้จักที่สุดทั้ง ๒ แล้วไม่ติดอยู่ตรงกลาง ใครเป็นมหาบุรุษ ในทัศนะของพระองค์ ใครข้ามเครื่องผูกมัดในโลกนี้ได้

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หมดความอยากได้กามทั้งหลาย มีสติตลอดเวลา พิจารณาเห็นธรรมะได้แยบคาย ดับกิเลสได้หมดสิ้น จึงชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ เธอย่อมไม่มีความหวั่นไหว รู้ที่สุดทั้ง ๒ คือ อดีตและอนาคตด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่ติดอยู่ตรงกลาง คือปัจจุบัน เธอย่อมเป็นมหาบุรุษในทัศนะของตถาคต เธอข้ามเครื่องผูกมัดคือตัณหาในโลกนี้ได้สิ้น

ฤาษีติสสเมตเตยยะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๓. ฤาษีปุณณกะ ทูลถามว่า
อะไรทำให้ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พากันบูชายัญบวงสรวงต่อเทวดา

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ความอยากได้ของที่น่าปรารถนา ทำให้ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พากันบูชายัญบวงสรวงต่อเทวดา แต่ของที่เขาปรารถนานั้น ล้วนแต่จะต้องชราทรุดโทรม

ฤาษีปุณณกะ ทูลถามว่า
มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ ฤาษี เหล่านั้น หากบูชายัญไม่ให้ขาดตกบกพร่อง จะพ้นเกิด แก่ ได้หรือไม่

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ไม่ได้หรอก เพราะเขาเหล่านั้น ยังหวังจะได้ลาภอยู่ และบูชายัญก็เพราะหวังจะได้นั้น

ฤาษีปุณณกะ ทูลถามว่า
ถ้าผู้บูชายัญถึงขนาดนี้ยังไม่พ้นเกิด ไม่พ้นแก่ แล้วใครเล่าจะพ้นได้

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ผู้ใด ไม่มีความหวั่นไหวดิ้นรน เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมทั้งที่ยากและที่ง่าย มีใจสงบ ไม่มีควันไฟคือความชั่วมาทำให้มัวหมอง ไม่มีสิ่งกระทบจิตใจคือกิเลส หมดความอยาก ผู้นั้นแหละจึงจะพ้นเกิด พ้นแก่

ฤาษีปุณณกะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๔. ฤาษีเมตตคู ทูลถามว่า
ในโลกนี้ มีทุกข์หลากหลาย ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดมาจากอะไร

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ทุกข์เกิดมาจากอุปธิ คือความยึดมั่น

ฤาษีเมตตคู ทูลถามว่า
ผู้มีปัญญา ข้ามห้วงน้ำคือ เกิด แก่ ความเสียใจ ความพิไรรำพัน ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เบื้องบน คืออนาคต เบื้องล่าง คืออดีต และท่ามกลาง คือปัจจุบัน เธอรู้ทันทั้งหมดแล้ว จงขจัดความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในส่วนเหล่านั้น แล้ววิญญาณของเธอก็จะไม่อยู่ในภพ (ไม่เกิดอีก) ภิกษุผู้มีสติ ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้แจ้ง ไม่ยึดถือว่าเป็นเราของเรา ก็จะข้ามห้วงน้ำ คือ เกิด แก่ ความเสียใจ ความพิไรรำพันเสียได้

ฤาษีเมตตคู ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระดำรัสของพระองค์จับใจเหลือเกิน ธรรมะที่ไม่มีความยึดมั่นพระองค์ก็ตรัสดีแล้ว ข้าพระองค์เชื่อแล้วว่า พระองค์ละทุกข์ได้แน่ เพราะทรงทราบธรรมะนี้อย่างแจ่มแจ้ง ผู้ที่พระองค์ทรงสอน ก็จะต้องละทุกข์ได้เช่นกัน ฉะนั้น ขอได้โปรดสอนข้าพระองค์ด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ผู้ใด เป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท คือ นิพพาน ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลใจ ไม่ข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นข้ามพ้นเหตุแห่งทุกข์ไปได้คล้ายข้ามพ้นห้วงน้ำใหญ่ ครั้นข้ามพ้นถึงฝั่งได้แล้ว ก็จะหมดความสงสัย ไม่มีตะปู คือกิเลสตรึงจิต ผู้ใดในศาสนานี้ มีความรู้ บรรลุถึงเวท คือ นิพพาน สลัดบาปธรรมตัวการทำให้ติดในภพเสียได้สิ้น ผู้นั้นหมดความทะยานอยาก หมดความหวัง ไม่มีทุกข์ ตถาคตกล่าวว่า ผู้นั้นแหละข้ามพ้นห้วงน้ำ คือ เกิด แก่ ได้

ฤาษีเมตตคูพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๐
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 11:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๐ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


๕. ฤาษีโธตกะ ทูลว่า
ข้าพระองค์ตั้งใจจะฟังพระดำรัสของพระองค์ ข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จะได้ศึกษาข้อปฏิบัติซึ่งจะช่วยดับกิเลสของตนได้

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เธอจงบำเพ็ญเพียรในศาสนานี้ให้ได้ เพื่อจะได้มีสติปัญญา เมื่อได้ฟังคำของตถาคตแล้ว เธอต้องศึกษาข้อปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยดับกิเลสของตนต่อไป

ฤาษีโธตกะ ทูลว่า
พระองค์เป็นพราหมณ์ ไม่มีกิเลสทำให้กังวลใจ เสด็จจาริกไปทั่วทั้งในเทวโลกและมนุษย์โลก ข้าพระองค์เห็นพระองค์เป็นอยู่อย่างนี้ จึงขอถวายบังคม ขอพระองค์ได้โปรดเปลื้องข้าพระองค์ จากความสงสัยด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
เมื่อได้รู้ธรรมอันประเสริฐ เธอก็จะข้ามห้วงน้ำคือกิเลสได้เอง เพราะตถาคตช่วยคนที่ยังสงสัย ให้พ้นสงสัยไม่ได้หรอก (หากเขาไม่ช่วยตัวเอง)

ฤาษีโธตกะ ทูลว่า
ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมอันสงัดจากกิเลส ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้ด้วยเถิด ขอพระองค์ได้โปรดสอนข้าพระองค์ให้โปร่งใจ ไม่ขัดข้องดุจอากาศด้วยเถิด เพื่อข้าพระองค์จะได้ดับกิเลส และจาริกไปในโลกนี้ โดยไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งใดให้เป็นภาระ

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
ตถาคตจะบอกวิธีระงับกิเลสให้ ตามวิธีนี้เธอจะเห็นได้เอง โดยไม่ต้องเชื่อตามเขาว่า วิธีระงับกิเลสนั้น เมื่อใครได้รู้แล้วก็จะมีสติ ข้ามความอยากที่ตรึงใจให้ติดอยู่ในโลกเสียได้

ฤาษีโธตกะ ทูลว่า
ข้าพระองค์ชอบใจวิธีระงับกิเลสชนิดสูงสุด

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
เมื่อรู้ว่า ความอยากทั้งในเบื้องบนคืออนาคต เบื้องล่างคืออดีต ท่ามกลางคือปัจจุบัน เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก เธอก็อย่าสร้างความอยาก เพื่อเกิดในภพน้อย ภพใหญ่อีกต่อไป

ฤาษีโธตกะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๖. ฤาษีอุปสีวะ ทูลว่า
ทะเลใหญ่ คือ กิเลส ลำพังข้าพระองค์ผู้เดียวไม่สามารถข้ามได้แน่ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเครื่องหน่วงเหนี่ยว ที่จะให้ข้าพระองค์ได้อาศัยหน่วงเหนี่ยว ข้ามทะเลใหญ่ คือกิเลสนี้ด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
ขอเธอจงมีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนฌาน กำหนดความไม่มีเป็นอารมณ์ อย่างนี้แล้วก็จะข้ามทะเลคือกิเลสได้แน่ เธอจงละกาม จงหมดความสงสัย จงเห็นธรรมะที่ทำให้ตัณหาสิ้นไปให้ชัดแจ้ง ให้ได้ทั้งกลางคืนและกลางวันเถิด

ฤาษีอุปสีวะ ทูลถามว่า
ผู้ใด ไม่มีความกำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ ผู้นั้น จะดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยไม่รู้จักเสื่อมบ้างหรือ

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เป็นเช่นนั้น เขาจะไม่รู้จักเสื่อม

ฤาษีอุปสีวะ ทูลถามว่า
ผู้ดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น จะอยู่อย่างนั้นตลอดไป หรือว่าจะนิพพาน แล้ววิญญาณของเขาจะเป็นเช่นไร

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เปลวไฟที่ถูกลมพัดดับ ย่อมบอกไม่ได้ว่าหายไปไหน เช่นเดียวกับมุนีที่พ้นจากนามรูป ดับโดยไม่มีเชื้อเหลือ จึงบอกไม่ได้ว่า จะเกิดได้อย่างไร

ฤาษีอุปสีวะ ทูลถามว่า
ท่านผู้ดับไปแล้วนั้น เป็นแต่ไม่มีตัวตนให้เห็น หรือว่าเป็นผู้เที่ยงแท้ ไม่มีโรคภัย

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ท่านผู้ดับไปแล้ว ใครๆ จะกำหนดไม่ได้ เพราะในท่านผู้นั้นไม่มีกิเลส ไม่มีการเกิดเป็นอะไรต่อไป เมื่อท่านถอนธรรมะได้หมดแล้ว ก็เท่ากับตัดทางที่จะพูดถึงท่านว่า เป็นอะไรไปเสียทั้งหมด

ฤาษีอุปสีวะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๗. ฤาษีนันทะ ทูลถามว่า
คนทั้งหลายพูดกันว่า มีมุนีอยู่ในโลกนี้ ผู้ที่เขาเรียกว่ามุนีนั้น เพราะประกอบด้วยความรู้ หรือประกอบด้วยอาชีพ

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
บัณฑิตทั้งหลายไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี เพียงแค่ได้เห็น ได้ยิน หรือเพียงแค่ว่าเขามีความรู้ ผู้ใดทำตนให้หมดกิเลส ไม่มีทุกข์ จาริกไปอย่างคนไม่มีความอยาก ผู้นั้นแหละ ที่ตถาคตเรียกว่า มุนี

ฤาษีนันทะ ทูลถามว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดกล่าวว่า ความบริสุทธิ์ มีได้ด้วยการได้เห็น ได้ฟัง ด้วยศีลพรต และด้วยมงคลต่างๆ มากมาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีบ้างไหมที่พ้นเกิดพ้นแก่ไปได้

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ไม่มีเลย

ฤาษีนันทะ ทูลถามว่า
ถ้าอย่างนั้น ใครเล่าจะพ้นเกิดพ้นตาย

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดละได้ทั้งหมด ทั้งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และสัมผัสที่ได้ทราบ รวมทั้งศีลพรตและมงคลต่างๆ ด้วย กำหนดรู้ตัณหาว่าควรละ ไม่มีอาสวะ ตถาคตเรียกสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้ามห้วงน้ำ คือ กิเลสได้

ฤาษีนันทะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๘. ฤาษีเหมกะ ทูลว่า
ตัณหา คือ ความอยากที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ เป็นตัวการทำให้ติดอยู่ในโลก ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอก ธรรมะเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
บท คือ นิพพาน อันเป็นเครื่องกำจัดความใคร่ ความพอใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในกลิ่นที่ได้ดม ในรสที่ได้ลิ้ม ในสิ่งสัมผัสที่ได้ถูกต้อง

บท คือ นิพพาน เป็นธรรมไม่เปลี่ยนแปลง พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้แจ้งบทคือนิพพานนั้นแล้ว มีสติ เห็นธรรม ดับสนิท พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น สงบอยู่เสมอ ย่อมข้ามพ้นตัณหา คือ ความอยากที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ เป็นตัวการทำให้ติดอยู่ในโลก

ฤาษีเหมกะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๑
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2010, 8:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๑ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


๙. ฤาษีโตเทยยะ ทูลถามว่า
ผู้ที่ไม่มีกาม ไม่มีตัณหา ไม่มีความสงสัย ความหลุดพ้นของท่านเป็นอย่างไร

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ผู้ที่ไม่มีกาม ไม่มีตัณหา ไม่มีความสงสัย ความหลุดพ้นของท่านย่อมไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น

ฤาษีโตเทยยะ ทูลถามว่า
ท่านผู้นั้นหมดความปรารถนา หรือยังมีความปรารถนาอยู่ มีปัญญาแท้ หรือแสดงท่าสักแต่ว่ามีปัญญา ข้าพระองค์จักรู้จักผู้เป็นมุนีได้อย่างไร ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกความรู้นั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ท่านผู้นั้นหมดความปรารถนาแล้ว จะยังมีความปรารถนาอยู่หามิได้ ท่านมีปัญญาแท้ จะแสดงท่าสักแต่ว่ามีปัญญาหามิได้ เธอจงรู้เถิดว่า มุนีนั้นเป็นคนไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ทั้งในกามและภพ

ฤาษีโตเทยยะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๐. ฤาษีกัปปะ ทูลว่า
สัตว์ทั้งหลายอยู่ท่ามกลางทะเล คือ สังสารวัฏ ต้องเผชิญกับคลื่นใหญ่ คือความแก่และความตาย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกเกาะให้สัตว์ทั้งหลายด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
นิพพาน คือ เกาะของสัตว์ทั้งหลายนั้น เพราะไม่มีกิเลสเหตุให้กังวลใจ ไม่มีตัณหาเหตุให้ยึดมั่น ความแก่และความตายจึงไปไม่ถึง คนที่รู้แจ้งนิพพาน ย่อมมีสติ เห็นธรรม ดับกิเลสได้ จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมาร

ฤาษีกัปปะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๑. ฤาษีชตุกัณณี ทูลว่า
พระอาทิตย์สาดแสงส่องแผ่นดินให้แห้งผาก เฉกเช่นพระองค์ทรงสาดแสงคือพระปัญญา ส่องกิเลสจนเหือดแห้ง พระองค์ทรงมีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละความเกิด และความแก่ในชาตินี้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เธอเห็นแล้วว่า เนกขัมมะ คือการออกบวช เป็นทางปลอดภัย ความกำหนัดในกาม เธอจงกำจัดเสีย กิเลสเหตุให้กังวลใจที่ยึดถือไว้ เธอควรสลัดทิ้งเสีย กิเลสเหตุให้ระลึกถึงอดีต เธอจงเผาเสียให้เหือดแห้ง กิเลสเหตุให้ห่วงอนาคต เธอจงอย่าให้มีได้ กิเลสเหตุให้ยึดถือปัจจุบัน หากเธอจักไม่มี เธอก็จักจาริกไปได้อย่างสงบ

ฤาษีชตุกัณณีพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๒. ฤาษีภัทราวุธ ทูลว่า
ผู้คนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ต่างมุ่งหวังจะได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์ตรัสสอนด้วยเถิด ตามที่พระองค์ทรงรู้แจ้ง

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ตัณหา คือความอยากเป็นเหตุให้ยึดมั่น ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน คนทั้งหลายควรกำจัดตัณหานั้นเสีย อภิสังขาร คือ กรรม เกิดมาจากความยึดถือเบญจขันธ์ มารย่อมตามผู้คนไปตามรอยแห่งอภิสังขารนั้น ภิกษุ เมื่อมองเห็นว่าหมู่สัตว์ติดอยู่ในบ่วงแห่งความตาย เพราะเหตุติดอยู่ในเบญจขันธ์ จึงควรมีสติ ไม่ยึดถืออะไรในโลกทั้งปวง

ฤาษีภัทราวุธพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๓. ฤาษีอุทยะ ทูลว่า
ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ ที่เป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
อัญญาวิโมกข์ คือความหลุดพ้นด้วยความรู้แจ้ง เป็นธรรมละความพอใจในกาม และความเสียใจ เป็นธรรมบรรเทาความหดหู่ท้อแท้ และเป็นธรรมกั้นความรำคาญใจ อัญญาวิโมกข์ คือความหลุดพ้นด้วยความรู้แจ้ง บริสุทธิ์ได้ด้วยความปล่อยวาง และความมีสติ มีความนึกคิดที่เป็นธรรมอยู่ว่า จักทำลายอวิชชา คือ ความไม่รู้

ฤาษีอุทยะ ทูลถามว่า
อะไรผูกโลกไว้ อะไรทำให้โลกเที่ยวไป เพราะละอะไรได้ จึงนิพพาน

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ความเพลิดเพลินผูกโลกไว้ วิตก คือความนึกคิดต่างๆ ทำให้โลกเที่ยวไป เพราะละตัณหาได้จึงนิพพาน

ฤาษีอุทยะ ทูลถามว่า
บุคคลมีสติระลึกอย่างไร วิญญาณจึงดับ

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
บุคคลมีสติระลึกโดยที่จะไม่เพลิดเพลิน ต่อเวทนาทั้งภายในและภายนอก วิญญาณจึงดับ

ฤาษีอุทยะพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๔. ฤาษีโปสาละ ทูลถามว่า
บุคคลผู้ล่วงเลยรูปสัญญา คือ ความกำหนดในรูปฌานแล้ว ละกายได้ทั้งหมด ไม่เห็นว่ามีอะไรทั้งภายในและภายนอกแม้น้อยหนึ่ง บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำอย่างไร

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
ตถาคต รู้แจ้งถึงภพเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมด รู้จักบุคคลผู้ล่วงเลยรูปสัญญานั้นแม้ยังอยู่ในโลกนี้ ซึ่งหลุดพ้นแล้ว มีสมาบัติไปในเบื้องหน้า บุคคลนั้น รู้จักกรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ ที่ประกอบด้วยความยินดีเพลิดเพลิน ครั้นรู้จักกรรมอย่างนี้แล้ว ต่อมาเขาก็พิจารณาเห็นธรรมในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อย่างแจ้งชัดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ข้อนี้แหละ คือญาณอันถ่องแท้ของบุคคลนั้น ผู้เป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์

ฤาษีโปสาละพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๒
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2010, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๒ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


๑๕. ฤาษีโมฆราช ทูลถามว่า
ข้าพระองค์จะมองดูโลกอย่างไรดี พญามฤตยูจึงจะมองไม่เห็น

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เธอจงมีสติมองดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวเราออกให้ได้ทุกเมื่อ เมื่อเธอเห็นโลกได้อย่างนี้ พญามฤตยูก็จะมองไม่เห็น

ฤาษีโมฆราชพร้อมด้วยฤาษีบริวาร ๑,๐๐๐ พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

๑๖. ฤาษีปิงคิยะ ทูลถามว่า
ข้าพระองค์แก่แล้ว กำลังเหลือน้อย ผิวพรรณหมดความสวยงาม นัยน์ตาฝ้าฟาง หูฟังไม่ชัดเจน ขอข้าพระองค์อย่าได้พินาศก่อนได้บรรลุอมตธรรมเลย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรมที่ควรรู้ ซึ่งเมื่อรู้แล้วจะทำให้ละความเกิด และความแก่ ในชาตินี้เถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
คนที่ประมาทมัวเมาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ เธอจงอย่าประมาท จงละความพอใจในรูปเสีย จะได้ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป

ฤาษีปิงคิยะ ทูลว่า
ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศเฉียง ๔ ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องล่าง พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงยินดีแล้ว ไม่ทรงทราบแล้ว หรือไม่ทรงรู้แจ้ง แม้เพียงน้อยหนึ่งมิได้มี ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรมที่ควรรู้ ซึ่งเมื่อรู้แล้วจะทำให้ละความเกิดและความแก่ในชาตินี้เถิด

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
เมื่อเธอเห็นหมู่มนุษย์ ถูกตัณหาครอบงำ เกิดความเดือดร้อน ถูกความแก่บีฑา มารอบด้าน ก็จงอย่าประมาท ละความอยากให้ได้ จะได้ไม่ต้องเกิดอีก

ฤาษีปิงคิยะพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอนาคามิผล ส่วนฤาษีบริวารได้บรรลุโสดาปัตติผล

ในการบรรลุธรรมของฤาษีทั้ง ๑๖ นี้ มีข้อที่ควรศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติม ๒ ประการ คือ เรื่องของฤาษีโมฆราชและเรื่องของฤาษีปิงคิยะ

ฤาษีโมฆราช เป็นคนถือตัวสูง สำคัญอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองมีความรู้เหนือกว่าคนอื่น จึงพยายามจะขอพุทธานุญาตเข้าทูลถามพระพุทธเจ้าก่อนถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกหลังจากฤาษีอชิตะได้รับพุทธานุญาตให้ทูลถามแล้ว ฤาษีโมฆราชก็รีบเข้าไปทูลถามก่อน แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต โดยทรงให้ฤาษีติสสเมตเตยยะทูลถามก่อน ครั้นหลังฤาษีนันทะได้รับพุทธานุญาตให้ทูลถามแล้ว ฤาษีโมฆราชก็แทรกเข้าไปอีก แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตเช่นกัน โดยทรงให้ฤาษีเหมกะทูลถามก่อน

ต่อมาเมื่อถึงลำดับที่ ๑๕ จึงทรงอนุญาตให้ฤาษีโมฆราชทูลถาม แม้จะไม่เข้ามาทูลขอพระพุทธานุญาตเหมือนเมื่อก่อนก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะทรงเห็นว่าตอนแรกนั้นฤาษีโมฆราชยังมีอัตตทิฏฐิ คือความยึดมั่นในตัวเองสูงมาก ความยึดมั่นเช่นนี้เป็นอุปสรรคอย่างสำคัญต่อการเข้าใจคำสอน ฉะนั้น จึงทรงยับยั้งเพื่อให้ฤาษีโมฆราชคลายความถือตัวลงก่อน จนกระทั่งเห็นว่าท่านคลายความถือตัวลงได้แล้ว จึงทรงให้โอกาสได้ทูลถาม

ฤาษีปิงคิยะ เป็นคนแก่ที่สุดในบรรดาฤาษีทั้ง ๑๖ พระพุทธเจ้าทรงทิ้งช่วงให้ท่านทูลถามปัญหาเป็นคนสุดท้าย ก็ด้วยทรงเห็นว่าท่านชรามาก เดินทางมาไกลเหน็ดเหนื่อย จึงทรงให้โอกาสท่านได้พักผ่อนให้พอเพียงเสียก่อน เพราะพระพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า ความเหน็ดเหนื่อยและความอ่อนเพลียเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเรียนรู้อีกเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อทรงเห็นว่าท่านพักผ่อนจนหายเหนื่อยแล้ว ร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะเรียนรู้คำสอนของพระองค์ได้ จึงทรงให้โอกาสท่านได้ทูลถามปัญหา

ขณะที่ฤาษีท่านอื่นๆ ได้บรรลุอรหัตผลหลังจากฟังพระพุทธเจ้าเฉลยปัญหาแล้ว แต่ฤาษีปิงคิยะได้บรรลุเพียงอนาคามิผล ทั้งนี้เป็นเพราะขณะฟังพระพุทธเจ้าอยู่นั้น จิตของท่านเกิดวิตกกังวลเป็นขณะๆ โดยคิดถึงฤาษีพาวรีผู้เป็นอาจารย์และเสียดายแทนที่อาจารย์ไม่ได้มาฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง ความวิตกกังวลนี้จึงเป็นอุปสรรคให้ท่านบรรลุได้ไม่ถึงอรหัตผล

อย่างไรก็ตามฤาษีทั้ง ๑๖ แต่ละท่านพร้อมด้วยบริวาร เมื่อได้บรรลุธรรมหลังจากฟังพระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาแล้วก็ทูลขอบวชทั้งหมด พระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาดังกล่าวมาแล้ว


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๓
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ธ.ค.2010, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๓ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


งานสำคัญ

หลังจากทรงบวชให้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวกทั้งหมดนั้นจำนวน ๑๖,๐๑๖ รูป ไปเมืองสาวัตถี และที่เมืองสาวัตถีนี้เอง พระปิงคิยะ ได้ทูลลาพระพุทธเจ้ากลับไปหาฤาษีพาวรีตามที่ได้รับปากไว้

พระปิงคิยะ เดินทางกลับไปตามลำพัง โดยอาศัยไปกับขบวนยานพาหนะที่เดินทางลงไปถึงฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำโคธาวรีแล้ว ก็ลงเดินตรงไปยังอาศรมของฤาษีพาวรี ฤาษีพาวรีเห็นพระปิงคิยะแต่ไกลก็จำได้และเชื่อมั่นว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วอย่างแน่นอน เพราะเห็นท่านแต่งกายแปลกไปกว่าแต่ก่อน กล่าวคือศีรษะโกนเกลี้ยง ไม่ได้ไว้ผมเป็นมวยอย่างแต่ก่อน ไม่มีบริขารของดาบส เครื่องนุ่งห่มแทนที่จะเป็นหนังเสืออย่างแต่ก่อน ก็กลายเป็นผ้าย้อมน้ำฝาด

“ท่านปิงคิยะ” ฤาษีพาวรีถามขึ้นเมื่อพระปิงคิยะเข้ามาใกล้ “พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วหรือ”

“ท่านพราหมณ์” พระปิงคิยะตอบอย่างสำรวม “ใช่แล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ประทับนั่งแสดงธรรมแก่พวกอาตมาที่ปาสาณเจดีย์ อาตมามานี้ก็เพื่อจะแสดงธรรมที่ได้ฟังมานั้นให้ท่านฟัง”

ฤาษีพาวรี เกิดปีติใจเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมด้วยศิษย์ ๕๐๐ คนร่วมกันบูชาพระปิงคิยะ จากนั้นได้นิมนต์ท่านขึ้นนั่งบนอาสนะ แล้วอาราธนาให้แสดงธรรม พระปิงคิยะได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าแก่ฤาษีพาวรีและศิษย์ แล้วกล่าวสรุปว่า

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้เอง
ธรรมนั้นไม่จำกัดเวลา ขจัดตัณหาให้หมดสิ้น ไม่มีอันตราย
นิพพานจะเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้


ฤาษีพาวรีสังเกตเห็นพระปิงคิยะศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก จึงถามขึ้นทันทีหลังจากท่านแสดงธรรมจบ

“ท่านปิงคิยะ ทำไมท่านจึงยอมจากพระสมณโคดมมาเล่า”

พระปิงคิยะ ตอบว่า

“ท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ได้จากพระสมณโคดมมาหรอก
อาตมาอยู่กับพระองค์เสมอ เพราะอาตมาเห็นพระองค์ด้วยใจ
แจ่มชัดเหมือนเห็นด้วยตา
อาตมานอบน้อมพระองค์อยู่ทั้งกลางวันกลางคืน
ท่านพราหมณ์ ศรัทธา คือ ความเชื่อ
ปีติ คือ ความอิ่มใจ สติ คือความระลึกถึง
ธรรมดังกล่าวของอาตมาอยู่กับพระสมณโคดมเสมอ
ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปยังทิศใดๆ
อาตมาก็น้อมใจบูชาไปทางทิศนั้นๆ
ท่านพราหมณ์ ร่างกายของอาตมาแก่แล้ว
เรี่ยวแรงอ่อนล้า ไม่ได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า
แต่ว่าใจของอาตมาไปอยู่กับพระองค์เสมอในทุกทิศ
ท่านพราหมณ์ อาตมานอนดิ้นอยู่ในเปือกตม (เสียนาน)
บัดนี้ได้พบเกาะคือที่พึ่ง
ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว”


นับตั้งแต่พระปิงคิยะทูลลากลับมาหาฤาษีพาวรีนั้น พระพุทธเจ้าทรงติดตามดูงานของท่านอยู่ตลอดเวลา ครั้นท่านแสดงธรรมแก่ฤาษีพาวรีแล้ว พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณว่า อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ของท่านแก่กล้า จึงทรงเปล่งพระรัศมีไปจากวัดพระเชตวันเมืองสาวัตถี แสดงพระรูปกายให้ปรากฎอยู่เบื้องหน้าเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เสด็จไปด้วยพระองค์เอง พระปิงคิยะเห็นพระรูปกายนั้นแล้วก็บอกฤาษีพาวรีว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ยังผลให้ฤาษีพาวรีและศิษย์รีบลุกขึ้นยืนประนมมือถวายบังคม พระพุทธเจ้าถือโอกาสนั้นตรัสสอนพระปิงคิยะความว่า

“วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม มีศรัทธาเป็นอย่างไร
ปิงคิยะ ขอเธอจงเพิ่มพูนศรัทธาขึ้นให้มากเป็นอย่างนั้น
แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น เธอก็จักถึงฝั่ง คือพระนิพพานที่พญามฤตยูอยู่ไม่ได้”


พระปิงคิยะทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนและได้บรรลุอรหัตผลที่นั้นเอง ผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ส่งถึงฤาษีพาวรีและศิษย์ด้วย ฤาษีพาวรีได้บรรลุอนาคามิผล และศิษย์ทั้ง ๕๐๐ ได้บรรลุโสดาปัตติผล

พระปิงคิยะเป็นพระสาวกรูปแรกที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ถึงฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ซึ่งเป็นดินแดนตอนใต้ของอินเดีย แม้ท่านจะไม่ได้สอนฤาษีพาวรีและศิษย์ให้ได้บรรลุมรรคผล แต่การแสดงธรรมของท่านก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฤาษีพาวรีและศิษย์ได้รู้แจ้งธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

นอกจากพระปิงคิยะแล้ว พระสาวกรูปอื่นๆ ก็ได้ช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีกล่าวไว้เป็นหลักฐานเหมือนอย่างงานเผยแผ่ของพระปิงคิยะ


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๔
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2011, 6:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๔ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


เอตทัคคะ - อดีตชาติ

บรรดาพระสาวกทั้ง ๑๖ รูปนั้น มี พระโมฆราช เพียงรูปเดียวเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะด้านนุ่งห่มผ้าเศร้าหมอง (เก่า) ตามเหตุการณ์ในชาติปัจจุบันและตามที่ตั้งจิตปรารถนาไว้ในอดีตชาติ ส่วนพระสาวกที่เหลือคงปรารถนาเพียงได้เป็นพระมหาสาวกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม พระสาวกทั้งหมดนั้นต่างเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วน และต่างได้ตั้งจิตปรารถนาบำเพ็ญบารมีมาเพื่อการบรรลุธรรมไม่ต่ำกว่ารูปละ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ดังนี้

พระอชิตะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านได้ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งขณะออกเก็บผลไม้ป่าอยู่นั้น ได้พบพระพุทธเจ้าปทุมุตตระประทับนั่งอยู่ ก็รู้ได้ว่าพระองค์คือพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีความชำนาญในการตรวจดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ท่านเกิดความเลื่อมใส จึงรีบกลับไปอาศรม แล้วนำเอากระบอกน้ำผึ้งและน้ำมันมาถวายพระพุทธเจ้า ครั้นทรงรับแล้ว ฤาษีก็นำไม้ฟืน ๓ ท่อนมาจุดต่างประทีปถวายพระพุทธเจ้า จากนั้นได้ก้มลงกราบถึง ๘ ครั้ง ฝ่ายพระพุทธเจ้าทรงเข้านิโรสมาบัติ ตลอด ๗ วัน อยู่ ณ ที่นั้น ส่วนฤาษีก็ได้ตามประทีปถวายเป็นพุทธบูชาด้วยความเลื่อมใสยิ่งตลอดทั้ง ๗ วันนั้น

วันที่ ๘ พระพุทธเจ้าทรงออกจากนิโรธสมาบัติ พระเทวลเถระ พระอัครสาวกรูปหนึ่ง ได้พาพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงผลแห่งกุศลกรรมของฤาษีที่ทำในครั้งนี้ว่ายิ่งใหญ่มาก เพราะจะส่งผลให้เกิดในสุคติ (เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์) และมีตาทิพย์ทุกชาติที่เกิดเป็นมนุษย์ จะสามารถมองได้ไกลถึง ๒๕๐ ชั่วธนู

พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า ฤาษีกำลังตั้งจิตปรารถนาบรรลุธรรม ครั้นตรวจดูอุปนิสัยแล้วจึงตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ฤาษีได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นชาวเมืองพันธุมดี วันหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้าวิปัสสีเสด็จบิณฑบาตอยู่ เกิดความเลื่อมใส จึงนำผลมะขวิดไปใส่บาตร พระพุทธเจ้าวิปัสสีทรงอนุโมทนาและตรัสพยากรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้าปทุมุตตระตรัสพยากรณ์ไว้ ซึ่งทำให้ท่านเกิดปีติใจเป็นอย่างมาก

พระติสสเมตเตยยะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี ต่อมาได้ออกบวชเป็นฤาษีฝากตัวเป็นศิษย์ของฤาษีโสภิตะ บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง ท่านมีความเชื่อว่า การบูชาไฟย่อมสงผลให้ไปเกิดเป็นพรหมอยู่ในพรหมโลก จึงได้นำฟืนมาก่อไฟบูชายัญอยู่สม่ำเสมอ

วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสด็จมาหาถึงอาศรม แล้วตรัสสนทนากับท่านเรื่องการบูชาไฟ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ” ฤาษีกราบทูล “ข้าพระองค์เข้าใจว่า การบูชาไฟจะทำให้บริสุทธิ์ได้ จึงบูชาไฟอย่างที่พระองค์เห็น”

“เธอมีเจตนาดี” พระพุทธเจ้าตรัส “เธอจงบูชาไฟต่อไปเถิด นี่ไม้สำหรับบูชาไฟของเธอ”

ฤาษีรับไม้จากพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระแล้วใส่ไฟทันที แต่ปรากฏว่าไฟไม่ติดไม้นั้น ทั้งนี้เป็นด้วยพระพุทธานุภาพ

“ครั้งนี้ เธอจุดไฟไม่ติด” พระพุทธเจ้าตรัสขึ้น “ก็หมายความว่า ไม่มีผู้รับการบูชาของเธอ ฉะนั้น การบูชาไฟที่เธอทำจึงไร้ประโยชน์ แต่จงบูชาไฟของตถาคตเถิด”

ฤาษีสนใจการบูชาไฟที่พระพุทธเจ้าตรัสเสนอ จึงทูลขอให้ตรัสบอกให้ชัดเจน ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

“การบูชาไฟของตถาคต คือการดับเหตุแห่งกรรม การเผากิเลส การละความริษยาและความตระหนี่”

จากนั้นพระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้ตรัสสนทนากับฤาษีถึงพระชาติกำเนิดของพระองค์ และตรัสบอกว่า พระองค์คือพระพุทธเจ้า ฤาษีเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าปทุมุตตระตรัสบอก และยิ่งเกิดความเลื่อมใสมากขึ้น จึงปูลาดหนังเสือถวายให้พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ครั้นแล้วก็รีบนำผลมะพลับมาผสมน้ำผึ้งถวายให้พระพุทธเจ้าเสวย

พระพุทธเจ้าตรัสอนุโมทนาทานครั้งนี้ของท่าน และตรัสถึงอานิสงส์แห่งกุศลธรรมของท่านไว้มากมาย ท้ายที่สุดตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ฤาษีได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ท่านทำความดีสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๕
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.พ.2011, 11:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๕ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


พระปุณณกะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ในพระพุทธเจ้าในอดีตหลายพระองค์ ในพุทธันดรหนึ่งมีพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายองค์อุบัติขึ้น ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นมนุษย์และออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าเดียวกับพระปัจเจก พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ ณ บรรณศาลาระหว่างภูเขา ส่วนท่านอยู่ ณ บรรณศาลาอีกแห่งหนึ่งแต่ไม่ไกลกันนัก

วันหนึ่งป่าที่เคยเงียบสงบส่งเสียงบันลือลั่นคล้ายเสียงโอดครวญแสดงความอาลัย เนื่องจากพระปัจเจกพุทธเจ้าอาพาธหนัก ต่อมาไม่นานนักก็มีแสงสว่างเกิดขึ้น พร้อมกันนั้นบรรดาสัตว์ป่า อาทิ หมี หมาป่า เสือ และราชสีห์ ต่างก็ส่งเสียงร้องดังกึกก้อง

ฤาษีไปยังบรรณศาลาก็พบว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงเตรียมการถวายเพลิงโดยนำหญ้าและไม้แห้งมาสุมทำเชิงตะกอน แล้วได้อัญเชิญศพขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วถวายเพลิง เมื่อศพไหม้เหลือเป็นอัฐิธาตุ (กระดูก) ท่านได้นำน้ำหอมมาพรมอัฐิธาตุนั้น ผลบุญครั้งนั้นส่งผลให้ท่านเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระเมตตคู ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าสุเมธะ ครั้งนั้นท่านได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่ในอาศรม ณ อโสกบรรพต ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากป่าหิมพานต์ วันหนึ่งพระพุทธเจ้าสุเมธะเสด็จไปบิณฑบาตที่อาศรมของท่าน ท่านเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึงขอรับบาตรจากพระองค์มาใส่เนยใสและน้ำมันจนเต็ม ครั้นแล้วจึงนำกลับไปถวายพร้อมทั้งประนมมือเปล่งวาจาปรารถนาว่า

“ด้วยผลบุญแห่งการถวายเนยใสน้ำมันและตั้งจิตไว้ดีนี้ เมื่อได้เกิดเป็นเทวาหรือมนุษย์ ขอให้ข้าพระองค์ได้พบความสุขอันยิ่งใหญ่ ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ก็ขอให้ข้าพระองค์พบแต่ความสุข อย่าต้องประสบทุกข์ในอบายทุคติวินิบาตหรือในนรกเลย”

พระพุทธเจ้าสุเมธะทอดพระเนตรดูการกระทำของท่านแล้วตรัสว่า

“พราหมณ์ นับว่าเป็นลาภของเธอที่ได้พบตถาคต เพราะใครก็ตามที่ได้พบตถาคต จะได้รับผลถึงบรรลุอรหัตผล จงเบาใจเถิด อย่ากลัวเลย เธอจะได้ได้ยศใหญ่ จะได้เกิดในตระกูลที่สูงส่ง”

นับแต่วันนั้นก็ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระโธตกะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ “ฉฬังคะ” ตั้งสำนักสอนมนต์อยู่ในเมืองหงสวดี มีศิษย์ ๑,๘๐๐ คน ส่วนพระพุทธเจ้าปทุมุตตระประทับอยู่ในโสภิตาราม ใกล้ฝั่งแม่น้ำภาคีรถี (สาขาหนึ่งของแม่น้ำคงคาอยู่แถบปัญจาป)

ท่านเห็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าข้ามแม่น้ำภาคีรถีด้วยความยากลำบาก รู้สึกสงสาร จึงชวนบรรดาศิษย์ช่วยกันสละทรัพย์สร้างสะพานถวาย โดยท่านให้เหตุผลว่า

“สะพานที่สร้างถวายพระสาวกของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ จะได้เป็นสะพานให้เธอทั้งหลายได้ข้ามพ้นทะเล คือ การเวียนว่ายตายเกิดในอนาคต”

หลังจากสร้างสะพานเสร็จแล้วท่านได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้ทรงทราบแล้วมอบถวายสะพาน พระพุทธเจ้าปทุมุตตระประทับนั่งอยู่ท่ามกลางสงฆ์ ทรงรับสะพานแล้วตรัสอนุโมทนาว่า

“ผู้ที่สร้างสะพานถวายตถาคต ย่อมได้รับอานิสงส์ต่างๆ คือ เมื่อตกลงไปในเหว ตกลงจากภูเขาหรือตกจากต้นไม้ ย่อมไม่ตาย จะได้ที่ให้ยึดอาศัย ศัตรูทำร้ายไม่ได้ พวกโจรข่มเหงไม่ได้ กษัตริย์ทั้งหลายย่อมไม่ดูหมิ่น”

พระพุทธเจ้าปทุมุตตระยังตรัสอีกว่า ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีแต่ความสุข มีพาหนะให้ขับขี่ได้สะดวกสบาย ท้ายสุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ท่านฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระอุปสีวะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านออกบวชเป็นฤาษีตั้งอาศรมอยู่ใกล้อโนมบรรพต ณ บริเวณป่าหิมพานต์ สถานที่ตั้งอาศรมนั้นเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์และมีแม่น้ำไหลผ่าน แม่น้ำสายนั้นสวยงามเพราะมีบัวออกดอกสล้าง และมีหมู่ปลานานาชนิดแหวกว่ายไปมา

วันหนึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสด็จไปหาถึงอาศรม ฤาษีเห็นพระองค์แล้วเกิดความเลื่อมใส รีบมาเฝ้ารับเสด็จด้วยการนำใบไม้มาลาดเป็นอาสนะ และนำดอกรังมาโปรยบนอาสนะนั้นแล้ว กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ขึ้นประทับนั่ง จากนั้นฤาษีได้รีบขึ้นไปบนภูเขานำผลขนุนใบใหญ่ขนาดเท่าหม้อซึ่งมีรสอร่อย มาแกะถวายพระพุทธเจ้าให้เสวย ครั้นเสวยแล้ว พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้ตรัสอนุโมทนาทานของฤาษี และตรัสถึงอานิสงส์ ท้ายที่สุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ฤาษีได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ท่านทำความดีอื่นๆสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๖
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 เม.ย.2011, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๖ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


พระนันทะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าอนุรุทธะ ครั้งนั้น ท่านเกิดเป็นนายพรานเนื้อออกป่าล่าสัตว์ทุกวัน วันหนึ่งขณะกำลังออกล่าสัตว์อยู่นั้น ท่านได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งสงบอยู่ในป่านั้นแล้วเกิดความเลื่อมใส

ท่านได้สร้างปะรำมุงด้วยดอกบัวถวายให้พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าประทับนั่งแล้ว ท่านยิ่งเกิดศรัทธาแรงกล้า ทิ้งธนูแล้วเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอบวช ครั้นบวชแล้วได้ไม่นานก็อาพาธหนัก และมรณภาพลงในที่สุด ขณะที่จะมรณภาพนั้นท่านระลึกถึงความดีที่ทำไว้ คือ สร้างปะรำถวายพระพุทธเจ้า จิตของท่านผ่องใส เมื่อมรณภาพแล้ว บุญส่งผลให้ท่านไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

หลังจากชาติที่เกิดในสวรค์ชั้นดุสิตแล้ว บุญยังคงส่งผลให้ท่านเวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระเหมกะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปิยทัสสี ครั้งนั้น ท่านออกบวชเป็นฤาษีชื่อ “อโนม” ตั้งอาศรมอยู่ใกล้เงื้อมเขาลูกหนึ่งบริเวณป่าหิมพานต์ ท่านเป็นอยู่อย่างสุขสงบในอาศรมนั้น

วันหนึ่งพระพุทธเจ้าปิยทัสสีเสด็จไปหาถึงอาศรม ท่านเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงรีบถวายการต้อนรับโดยการกราบทูลให้ประทับนั่งบนตั่งแก้วที่ท่านเนรมิตขึ้นในขณะนั้น จากนั้นท่านได้น้อมผลหว้าใบโตขนาดเท่าหม้อข้าว เข้าไปถวายพระพุทธเจ้าให้เสวย

ครั้นเสวยแล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุโมทนาทานของท่านและตรัสถึงอานิสงส์ต่างๆ ท้ายที่สุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ฤาษีได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระโตเทยยะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าสุเมธะ ครั้งนั้น ท่านเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า “วิชิตชยะ” และต่อมาได้สละราชสมบัติออกบวชเป็นฤาษี ตั้งอาศรมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำภาคีรถี

มูลเหตุที่ทำให้ออกบวช คือ ความกลัวว่าจะตกนรก เพราะในชาตินั้นขณะที่ครองราชสมบัติอยู่ เกิดจลาจลในแว่นแคว้น พระเจ้าวิชิตชยะทรงนำทัพออกไปปราบด้วยพระองค์เอง และทรงรับสั่งให้ประหารชีวิตผู้ก่อจลาจลจำนวนนับหมื่น ด้วยการจับเสียบหลาวทั้งเป็น

พระเจ้าวิชิตชยะทรงปราบจลาจลได้สำเร็จ แต่พระองค์กลับไม่มีความสุข เพราะพระทัยเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา บรรทมไม่หลับเลยทั้งกลางวันและกลางคืน เนื่องจากทรงเห็นภาพอันน่าสยดสยองที่เกิดจากพระองค์ทรงสั่งให้ทำ ที่ผุดขึ้นหลอกหลอนไม่ขาดระยะ ในที่สุดทรงแน่พระทัยว่าบาปกรรมครั้งนี้จะส่งผลให้พระองค์ตกนรกแน่ ดังนั้น จึงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติออกบวชเป็นฤาษี แสวงหาหนทางพ้นจากนรกในเวลาต่อมา

ในชาตินั้นท่านถือลัทธิบูชาไฟ ดังนั้น เมื่อบวชแล้วจึงสร้างโรงบูชาไฟขึ้นใกล้อาศรม และบูชาอยู่สม่ำเสมอจนจิตสงบขึ้น วันหนึ่งขณะทำพิธีบูชาไฟอยู่นั้น ท่านได้ทราบจากเทวดาตนหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าสุเมธะเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงละทิ้งอาศรมออกจากป่า เที่ยวตามหาพระพุทธเจ้า และมาพบขณะที่พระองค์กำลังแสดงอริยสัจ ๔ ให้ประชาชนหมู่หนึ่งฟัง จึงเข้าไปนมัสการแล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ดอกไม้จะส่งกลิ่นหอมตลบไปได้ก็แต่เฉพาะตามลมเท่านั้น หาหอมทวนลมไปไม่ แต่พระองค์ทรงมีกลิ่นหอมทวนลม ข้าพระองค์ได้กลิ่นคือพระเกียรติคุณของพระองค์ จึงดั้นด้นมาเฝ้าจากป่าหิมพานต์ บัดนี้ ขอให้ข้าพระองค์ได้บูชาพระองค์ด้วยเครื่องจันทน์หอมนี้เถิด”

ว่าแล้วก็น้อมผงจันทน์หอมเข้าไปลูบไล้พระวรกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงยอมให้ท่านลูบไล้ก็ด้วยทรงมีพระประสงค์จะรักษาศรัทธาของท่านไว้ พระองค์ได้ตรัสอนุโมทนาทานและตรัสถึงอานิสงส์ต่างๆ ที่ท่านจะได้รับแล้ว ท้ายที่สุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ฤาษีได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๗
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2011, 6:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๗ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


พระกัปปะ มีกล่าวไว้เฉพาะชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

พระชตุกัณณี ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นเศรษฐีในเมืองหงสวดี มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายทุกประการในปราสาท ๓ ฤดู ท่านกับครอบครัวเป็นคนใจบุญ ให้การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ และสงเคราะห์สมณพราหมณ์มิได้ขาด ท่านดูแลทาสและบริวารเป็นอย่างดี

วันหนึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสด็จผ่านมาทางปราสาทของท่านพร้อมด้วยพระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ รูป พระพุทธเจ้าปทุมุตตระมีพระรัศมีเปล่งออกจากพระวรกายสว่างไสวไปทั่วบริเวณสถานที่พระองค์เสด็จผ่าน ท่านทราบว่าพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา เพราะสังเกตจากแสงสว่างนั้น ครั้นแล้วจึงรีบลงจากปราสาทไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งกราบทูลให้พระองค์เสด็จเข้ามาเสวยพระกระยาหารในปราสาทของท่าน พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหมดนั้น

ขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังเสวยพระกระยาหารอยู่พร้อมกับพระสาวกนั้น ท่านให้พวกนักดนตรีประจำตัวของท่านประโคมดนตรีถวายเป็นพุทธบูชา จนถึงเวลาเสวยพระกระยาหารเสร็จ ก่อนเสด็จจากไป พระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุโมทนาทานและการประโคมดนตรีถวายเป็นพุทธบูชาของท่าน และอานิสงส์ต่างๆ ที่จะได้รับแล้ว ท้ายที่สุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน

พระภัทราวุธ พระอุทยะ พระโปสาละ พระปิงคิยะ ทั้งหมด ๔ รูปนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ มีกล่าวไว้แต่เฉพาะชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

พระโมฆราช ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองหงสวดี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านนุ่งห่มผ้าเศร้าหมอง แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ และจักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านนุ่งห่มผ้าเศร้าหมอง”

ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมินับชาติไม่ถ้วน จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าอัตถทัสสี

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าอัตถทัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ชาวเมืองโสภิตะ ศึกษาจบไตรเพท วันหนึ่งได้พบพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธลักษณะและพระจริยาวัตร จึงเข้าไปถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า

“บรรดาสรรพสัตว์ที่เกิดมาในโลก ไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือไม่มีก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่บนบกหรือในน้ำก็ตาม ไม่มีใครเลยที่ประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเท่านั้นประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ในโลก”

ครั้นแล้วได้น้อมนำน้ำผึ้งเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุโมทนาทานของท่านและอานิสงส์ต่างๆ ที่จะได้รับแล้ว ท้ายที่สุดได้ตรัสพยากรณ์ว่า

“ในชาติสุดท้าย เธอจักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม และจักได้บรรลุอรหัตผล”

ท่านได้ฟังพุทธพยากรณ์ซ้ำจากพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งในช่วงเวลาต่อมา ท่านเกิดความรู้สึกเหมือนถูกตอกย้ำให้มั่นคงในการตั้งจิตปรารถนาเพื่อให้ได้บรรลุอรหัตผล และได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านนุ่งห่มผ้าเศร้าหมอง


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๘
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2011, 7:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๘ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


พระสาวกทั้ง ๑๖ นี้ แม้ว่าจะไม่มีกล่าวว่าได้เกิดร่วมกันในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ที่กล่าวมา แต่ก็มีระบุว่าท่านพร้อมด้วยพระบริวาร รูปละ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ได้มาเกิดร่วมกันในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ โดยในชาตินั้นฤาษีพาวรีเกิดเป็นพระเจ้ากัฎฐวาหนะ ดังมีเรื่องเล่าว่า

ในเมืองพาราณสี มีช่างไม้ที่มีความสามารถมากอยู่คนหนึ่ง ช่างไม้คนนี้มีศิษย์เอกอยู่ ๑๖ คน และศิษย์เอกแต่ละคนนั้นต่างมีศิษย์อีกคนละ ๑,๐๐๐ คน เป็นอันว่า เมื่อรวมทั้งอาจารย์ศิษย์เอกและศิษย์บริวารแล้ว ช่างไม้ทั้งคณะนี้ก็มีถึง ๑๖,๐๑๗ คน ช่างไม้คณะนี้ทำมาหากินร่วมกันด้วยการขึ้นไปนำไม้จากภูเขามาสร้างเป็นบ้านหรือปราสาท แล้วขายให้แก่เศรษฐีหรือพระราชา ซึ่งรายได้จากการขายบ้านหรือปราสาทแต่ละหลังนั้นเพียงพอที่จะแบ่งปันกันเลี้ยงชีวิต

วันหนึ่งช่างไม้ผู้เป็นอาจารย์พิจารณาเห็นว่า อาชีพช่างไม้แม้จะมีรายได้ดีในตอนนี้ แต่ถ้าแก่ตัวไปแล้วจะลำบากเพราะรายได้ขึ้นอยู่กับการทำงาน ถ้าทำงานไม่ได้ก็ไม่มีรายได้ และเมื่อแก่ตัวไปแล้วก็คงทำงานนี้ไม่ไหว

ครั้นคิดได้อย่างนี้แล้ว ช่างไม้จึงออกปากชวนบรรดาศิษย์ให้ออกไปหาเมืองครองสักเมืองหนึ่ง ศิษย์เหล่านั้นเห็นด้วย จึงพร้อมกันตกลงใจไปอยู่ ณ บริเวณใกล้ป่าหิมพานต์

เมื่อตกลงใจกันได้อย่างนี้ ทั้งหมดก็ช่วยกันสร้างพาหนะที่จะพาพวกเขาเล็ดลอดออกไปจากเมืองพาราณสีโดยไม่มีใครจับได้ พาหนะที่สร้างขึ้นนั้น คือ นกใหญ่ทำด้วยไม้แล้วใส่เครื่องยนต์ไว้ข้างใน ซึ่งเมื่อติดเครื่องยนต์ นกไม้นั้นก็จะเหิรขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วพาไปยังที่หมาย

ช่างไม้เหล่านั้นเมื่อสร้างนกใหญ่เสร็จแล้ว ก็ขนย้ายครอบครัวให้เข้าไปอยู่ในนกนั้นพร้อมทั้งพวกตน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็ติดเครื่องยนต์ทันที จากนั้นไม่นานนกไม้ก็พาทุกชีวิตเหิรฟ้าไปส่งที่ป่าหิมพานต์

ที่ป่าหิมพานต์นี้เอง พวกเขาได้ครองเมืองเมืองหนึ่ง โดยอภิเษกช่างไม้ผู้เป็นอาจารย์ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “กัฎฐวาหนะ” (พระเจ้าแผ่นดินผู้มีพาหนะทำด้วยไม้) และเมืองนั้นก็มีชื่อว่า “กัฏฐวาหนะ” ตามพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนศิษย์เอก ๑๖ คนเป็นอำมาตย์

พระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงเป็นชาวเมืองพาราณสีมาแต่กำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น เมื่อมาประทับอยู่ห่างจากบ้านเกิดเมืองนอนก็ยังคงผูกสัมพันธ์กับพระเจ้าพาราณสี พ่อค้าเมืองพาราณสีเดินทางขึ้นไปค้าขายยังเมืองกัฎฐวาหนะอยู่บ่อยๆ ในขณะเดียวกันพ่อค้าจากเมืองกัฎฐวาหนะก็เดินทางลงมาค้าขายยังเมืองพาราณสีด้วยเช่นกัน

พระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงต้อนรับพ่อค้าจากเมืองพาราณสีเป็นอย่างดี ทรงประกาศให้ยกเว้นการเก็บภาษีจากพ่อค้าเหล่านั้น และเมื่อพ่อค้าเหล่านั้นทูลลาเดินทางกลับ ก็ทรงส่งบรรณาการมากับพ่อค้าเหล่านั้น เพื่อถวายแด่พระเจ้าพาราณสี พระเจ้าพาราณสีก็เช่นกัน ทรงต้อนรับพ่อค้าจากเมืองกัฎฐวาหนะเป็นอย่างดี และทรงส่งพระราชสารไปถวายพระเจ้ากัฎฐวาหนะ โดยทรงระบุว่า

“ถ้าในบ้านเมืองของพระองค์เกิดมีสิ่งอัศจรรย์ที่สมควรดูหรือสมควรได้ยิน ขอทรงพระกรุณาให้หม่อมฉันได้ดูหรือได้ยินด้วย”

พระเจ้ากัฎฐวาหนะก็ทูลตอบพระราชสารไปในลักษณะเดียวกัน

อยู่มาคราวหนึ่งพระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงได้ผ้ากัมพลมาผืนหนึ่ง ผ้ากัมพลผืนนี้เนื้อละเอียดสีสวยสดคล้ายแสงอาทิตย์แรกอุทัย พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นของมีค่าจึงทรงส่งมาถวายพระเจ้าพาราณสี เพื่อให้ได้ทอดพระเนตรตามที่ตกลงกันไว้

ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงดีพระทัยมากและทรงคิดถึงบรรณาการที่จะส่งไปถวาย พระเจ้ากัฎฐวาหนะเป็นการตอบแทน ขณะที่ทรงพิจารณาอยู่นั้นก็ทรงเห็นว่า ขณะนี้พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้วในโลก สิ่งใดจะมีค่ามากไปกว่าพระรัตนตรัยย่อมไม่มี ดังนั้น จึงทรงส่งพระราชสารไปว่า

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เพื่อเกื้อกูลสรรพสัตว์
พระธรรมอุบัติขึ้นแล้วในโลก เพื่อความสุขของสรรพสัตว์
พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้วในโลก เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม


มีต่อ >>> ตอนที่ ๗๙
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2011, 7:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๗๙ กลุ่มพระมาณพ ๑๖


พระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงดีพระทัยมากที่ได้รับพระราชสารฉบับนี้ ทรงบูชาด้วยเครื่องสักการะราคาแพง พระองค์รับสั่งให้บรรดาอำมาตย์และพสกนิกรมาชุมนุมกันที่พระลานหลวง แล้วทรงประกาศให้ทราบถึงเนื้อหาของพระราชสารจากพระเจ้าพาราณสี

“สิ่งมีค่า คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อุบัติขึ้นในโลกแล้ว พวกเราจะทำอย่างไรกันดี” พระเจ้ากัฎฐวาหนะตรัสปรึกษา

“ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า” อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูล “ขอให้พระองค์ประทับอยู่ที่นี้แหละ ส่วนพวกข้าพระพุทธเจ้าจะสืบดูให้รู้แน่ แล้วจะกลับมาถวายรายงานให้ทรงทราบ”

พระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงเห็นด้วย จึงทรงอนุญาตให้อำมาตย์ ๑๖ คนพร้อมด้วยบริวาร เดินทางไปเมืองพาราณสี แต่ขณะที่อำมาตย์เหล่านั้นกำลังอยู่ระหว่างเดินทาง พระพุทธเจ้ากัสสปะได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปก่อน ดังนั้น เมื่อไปถึงเมืองพาราณสีจึงมิได้พบพระพุทธเจ้า คงได้พบแต่พระสงฆ์สาวก และเมื่อได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปริพิพานแล้วก็เสียใจเป็นกำลัง แต่ก็ยังมีสติข่มความเสียใจลงได้ จากนั้นได้ขอให้พระสงฆ์สาวกนั้นแสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้ฟัง ซึ่งท่านได้แสดงว่า

“พระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทไว้ว่า บุคคลควรถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ควรรักษาศีล ๕ ควรสมาทานอุโบสถมีองค์ ๘ ควรให้ทาน และควรออกบวช”

อำมาตย์ทั้งหมดนั้น ครั้นได้ฟังพระพุทธโอวาทแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงต่างขอบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เหลืออยู่ก็แต่อำมาตย์ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้ากัฏฐวาหนะเท่านั้นที่มิได้ขอบวช เนื่องจากทูลรับปฏิญญาจากพระเจ้ากัฏฐวาหนะ ว่าจะกลับมาทูลข่าวคราวเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ให้ทรงทราบ อำมาตย์นั้นได้เดินทางกลับไปยังแคว้นกัฎฐวาหนะ โดยได้นำกระบอกกรองน้ำของพระพุทธเจ้าไปด้วย พร้อมทั้งได้นิมนต์พระสงฆ์ ๒ รูป คือ พระวินัยธรและพระธรรมธรไปด้วยกับตน เมื่อไปถึงแคว้นกัฏฐวาหนะและได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินแล้วก็กราบทูลว่า

“ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อุบัติขึ้นในโลกจริง แต่ว่าบัดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว คงเหลืออยู่ก็แต่พระธรรมและพระสงฆ์เท่านั้น”

พระเจ้ากัฎฐวาหนะทรงเกิดปีติโสมนัสยิ่งนักที่ได้ทราบว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อุบัติขึ้นในโลกจริง แต่ก็ทรงรู้สึกเสียดายที่ไม่ทันได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อย่างไรก็ตามพระองค์ก็ยังทรงอุ่นพระทัยว่าได้เกิดทันพระพุทธศาสนา และหลังจากได้ฟังธรรมจากพระวินัยธรและพระธรรมธรแล้ว ก็ประกาศพระองค์นับถือพระรัตนตรัย สมาทานศีล ๕ ครั้นถึงวันอุโบสถก็ทรงรับศีล ๘ พร้อมทั้งทรงถวายทานตลอดพระชนมายุ

พระเจ้ากัฎฐวาหนะ อำมาตย์เอก ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดร่วมกันและทำบุญร่วมกันในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะด้วยประการฉะนี้ ผลบุญในชาตินั้นส่งให้ท่านเหล่านั้นไปเกิดในเทวโลก จนกระทั่งถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ทั้งหมดนั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ พระเจ้ากัฎฐวาหนะมาเกิดเป็นพาวรี บุตรพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้ามหาปเสนทิโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนอำมาตย์เอก ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดเป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองสาวัตถีดังกล่าวมาแล้ว

วาจานุสรณ์

หลังจากได้บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาแล้ว พระสาวกทั้งหมดนั้นก็ดำเนินชีวิตตามรูปแบบของพระ นั่นคือ อยู่โคนต้นไม้ เที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต นุ่งห่มผ้าเพียงแค่ ๓ ผืน แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้มีการบันทึกเรื่องราวและคำพูดแสดงความรู้สึกของท่านไว้ มีบันทึกก็แต่เฉพาะของ พระโมฆราช เท่านั้น

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าพระพุทธเจ้าทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านครองผ้าเศร้าหมอง ไม่ยอมรับผ้าใหม่ แม้ได้มาก็พยายามทำลายให้หมดความใหม่ หมดความสวยงามเสียก่อนจึงจะยอมนุ่งห่ม เพราะเหตุที่ชอบนุ่งห่มผ้าเก่าประกอบกับกรรมในอดีตชาติส่งผล จึงทำให้ท่านเกิดมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย ซึ่งทำให้ต้องรับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะเวลาจำวัด แต่ท่านก็ไม่ได้เดือดร้อนใจแต่อย่างใด

พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความลำบากของท่านตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวมาถึงจึงเสด็จไปเยี่ยมแล้วตรัสถามว่า

“โมฆราช ผิวหนังเธอเลวร้าย แต่ใจของเธอสิงามนัก เธอช่างมีใจมั่นคง แต่บัดนี้ฤดูหนาวมาเยือนแล้ว ท่ามกลางราตรีที่หนาวเหน็บ เธอจักทำอย่างไร”

พระโมฆราชก้มลงกราบพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แคว้นมคธสมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า หนาวนี้ข้าพระองค์จะใช้ฟางต่างฟูกและผ้าห่ม เมื่อข้าพระองค์นอนอย่างนี้ก็คงจะมีความสุขได้ไม่แพ้คนที่เขานอนบนที่นอนชนิดเลิศและห่มด้วยผ้าห่มชนิดดี”

พระพุทธเจ้าทรงมองท่านด้วยพระเนตรอ่อนโยน พระพักตร์ยิ้มละไมคล้ายจะตรัสว่า นี่แหละจิตของพระอรหันต์ และคำพูดของท่านนับเป็นวาจานุสรณ์สำหรับเตือนใจให้พุทธบริษัทรุ่นหลังระลึกถึงยถาลาภสันโดษ (ความยินดีตามที่ได้)


มีต่อ >>> ตอนที่ ๘๐
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง