Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สนทนาธรรมปฏิบัติกับคุณฌาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

เผอิญตอนนี้ช่วงปิดเทอมอะครับ ผมเลยเข้ามารบกวนอาจารย์ทุกท่านบ่อยๆ
อย่าเพิ่งโมโหเลยนะครับ

ผมตามไปอ่านตาม link ที่อาจารย์กรัชกายให้มาสงสัยหลายประการครับ
ก็เลยอดถามไม่ได้ รบกวนอาจารย์ชี้แจงอีกทีครับ...

ตรงที่ว่า....ยุบหนอพองหนอ...นั้นมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ใครทำวิธีนี้ไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน หมายความว่าวิธีอื่นๆ อาจมีสมถะอย่างเดียว หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ......วอนอาจารย์อธิบายหน่อยครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83513#83513



เปิดกระทู้ไว้ก่อน จะได้สนทนากันต่อไป ดึกแล้ว หลับ ก่อน


ถามคุณฌานทิ้งไว้ สมถะกับวิปัสสนาในใจคุณว่าต้องแบบไหน เป็นอย่างไร

ตอบตามความเข้าใจของคุณเลยนะครับ ผิดถูกไม่เป็นไร ยิ้ม

แนะนำบอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:19 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุงามๆครับที่ท่านอาจารย์ได้เมตตา....เหมือนอาหารจานงามมาวางตรงหน้าเลยครับดีใจจริงๆครับ.....

อ้างอิงจาก:
ถามคุณฌานทิ้งไว้ สมถะกับวิปัสสนาในใจคุณว่าต้องแบบไหน เป็นอย่างไร

ตอบตามความเข้าใจของคุณเลยนะครับ ผิดถูกไม่เป็นไร


เอาตามความเข้าใจเลยนะครับไม่เปิดตำราหรือ copy มา สู้ สู้
ครับกระผมจะลองดู....เพื่อให้ท่านอาจารยืชี้แนะตกแต่งครับผม...สู้ๆๆ สู้ สู้ สู้ สู้

สมถะ...

อุบายอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นอกุศล หลอกล่อจิต ทำให้จิตนิ่ง สงบ ไม่ซัดส่าย

เช่น ตามลมหายใจ ตามการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นต้น

เมื่อทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จิตก็นิ่งสงบเป็นสมาธิ....

วิปัสสนา...

รู้ตามความเป็นจริงว่า นี่คือทุกข์ นี่ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ย่อมเสื่อมสลายไป


คร่าวๆแค่นี้ก่อนครับอาจารย์
ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 7:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
สมถะ...
อุบายอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นอกุศล หลอกล่อจิต ทำให้จิตนิ่ง สงบ ไม่ซัดส่าย
เช่น ตามลมหายใจ ตามการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นต้น
เมื่อทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จิตก็นิ่งสงบเป็นสมาธิ....
วิปัสสนา...
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี่คือทุกข์ นี่ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ย่อมเสื่อมสลายไป


คุณตอนมาโดยภาพรวมแล้วพอไปได้ แต่ขอเสริมอีกนิดว่า สมถะกับสมาธิสาระเดียวกันใช้แทนกันได้
กรัชกายจะยังไม่ยกหลักฐานมาอ้างอิงนะครับ หากต้องการหลักฐานก็บอก

เสริมอีกนิดที่คุณว่า จิตนิ่งสงบ ...พึงเข้าใจว่า มิใช่นิ่งเงียบไม่ไหวติงเหมือนคนนอนหลับไม่รู้เนื้อรู้ตัวนะครับ หรือสงบเงียบเชียบไม่รู้เรื่องไม่รู้ราวอะไรก็ไม่ใช่อีก ประเด็นนี้เข้าใจผิดกันมาก

วิปัสสนา คือการเห็นสิ่งทั้งหลาย (ในที่นี้จำกัดเอาแก่กายใจก่อน) ตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ
ความจริงไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ขาดมนสิการ พูดให้ชัดก็คือขาดสมถะ หรือสมาธิไม่พอ เมื่อมีสมาธิจิตจากการมนสิการกายใจนี้แล้ว ก็เชื่อมต่อเข้าสู่วิปัสสนา กล่าวคือเห็นกายกับใจตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น
มิใช่คิดตั้งธงไว้ก่อนว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ตามที่ตนต้องการให้มันเป็น ไม่ใช่


มีอุปมาเปรียบเทียบสมถะ+วิปัสสนาเคียงคู่กันสนับสนุนกันและกัน สมมุติว่าเรา
ขับรถอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ที่ราบเรียบด้วยความเร็วสูง มองข้างทางจะเห็นอะไรๆไม่ชัดเหมือนมันติดกันเป็นพืด
ต่อเมื่อแตะเบรกชะลอรถให้แล่นช้าลงๆ ก็จะเห็นสภาพแวดล้อมตามความจริง
ฉันใด

สมาธิ เปรียบได้กับการแตะเบรกให้รถชะลอความเร็วลง เมื่อรถแล่นช้าลงมองดู
ก็จะเห็นสิ่งต่างๆชัดตามเป็นจริง นี้เปรียบได้กับวิปัสสนา

จึงขอตอบคำถามท่อนที่ว่า =>
อ้างอิงจาก:
ตรงที่ว่า....ยุบหนอพองหนอ...นั้นมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ใครทำวิธีนี้ไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน


ผู้ที่ใช้พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน มีอธิบายดังนี้ (พอง-ยุบ) พองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ ก็ดี (จงกรม) ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น ก็ดี รวมทั้งการตามดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวกายในอริยาบถอื่นๆก็ดี นี้คือตามดูรู้ทันกาย (= กายานุปัสสนา)

ส่วนตามดูรู้ทันนาม เช่น สุขหนอ ทุกข์หนอ คิดหนอ ฟุ้งซ่านหนอ ง่วงหนอ สงสัยหนอ ฯลฯ ขณะนั้นสิ่งใดปรากฏให้กำหนดรู้ชัดสิ่งนั้นตามที่มันเป็น (=ส่วนนามธรรม)

ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว จิตก็เกิดสมาธิ (ความจริงก็เกิดเรื่อยๆมา) จากการกำหนดรูปนามนั้น ระยะนี้เปรียบเหมือนแตะเบรกให้รถชะลอตัวช้าลง แล้วปัญญาหรือวิปัสสนาจึงได้โอกาสทำหน้าที่ของตน กล่าวคือรู้เห็นสภาวะตามที่มันเป็น

หมายเหตุ...สัมปชัญญะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา

ประเด็นนี้เท่านี้ก่อนนะศิษย์รัก ประเด็นนอกนี้ค่อยๆ สนทนากันต่อไปจนกว่าจะเปิดเทอม

ส่วนที่อธิบายแล้วยังข้องใจถามซ้ำอีกซักไซ้ไล่เลียงได้อีก อย่าได้เกรงใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นพูดๆ เขียนๆ ฟังดูอ่านดูเหมือนง่าย อืมม์ อืม..อย่างนี้ใครๆก็ทำได้ปฏิบัติได้ ฉันทำได้ เจ๋ง
มิควรด่วนสรุปเช่นนั้น การฝึกอบรมจิตให้บริสุทธิ์จากอาสวกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ มิใช่ทำได้ง่ายๆ ผู้ไม่ฉลาดในอุบายสำหรับฝึกด้วยแล้ว วุ่นวายอีกหลายเท่าตัว
ดู 2 ตัวอย่างนี้ครับ ยิ้ม


ทำไมมันสับสนอลหม่านไปหมดเวลาปฏิบัติ ?

จิตก็คิดไปร้อยแปดพันเรื่อง ไม่ต้องยุบหนอ พองหนอ กำหนดไม่เคยได้ แค่ยุบหนอ จิตก็ไปแล้ว ต้องเอาความรู้สึกไปไว้ที่ลิ้นปี่ตลอด พอนั่งนาน ๆ ขาก็ปวด
หลังก็ปวด กำหนดไม่ถูก จิตก็ไม่เคยหยุดคิด แล้วดิฉันจะต้องกำหนดอย่างไรคะ



ทำสมาธิทีไรหลับทุกที...เป็นเพราะอะไร ?

เคยทำสมาธิอยู่บ่อยครั้ง...เพราะทราบว่ามีคุณมหาศาล
และช่วยให้ควบคุมอารมณ์ได้ดี...
แต่ทำได้ไม่นาน...เพราะง่วง...
ประมาณ 5 นาที ก็รู้สึกง่วง...
มีวิธีแก้ไขอย่างไรเจ้าคะ...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 8:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวัสดีครับอาจารย์ ผมค่อยๆถามทีละประเด็นเลยนะครับ

อ้างอิงจาก:
เสริมอีกนิดที่คุณว่า จิตนิ่งสงบ ...พึงเข้าใจว่า มิใช่นิ่งเงียบไม่ไหวติงเหมือนคนนอนหลับไม่รู้เนื้อรู้ตัวนะครับ หรือสงบเงียบเชียบไม่รู้เรื่องไม่รู้ราวอะไรก็ไม่ใช่อีก ประเด็นนี้เข้าใจผิดกันมาก


ถาม ผมเคยอ่านสมาธิถึงระดับฌาณลึกๆ จะใช้พิจารณาอะไรไม่ได้ทั้งนี้เพราะจิตมันนิ่งไปใช่ไหมครับ....ไม่แน่ใจ

อ้างอิงจาก:
สมาธิ เปรียบได้กับการแตะเบรกให้รถชะลอความเร็วลง เมื่อรถแล่นช้าลงมองดูก็จะเห็นสิ่งต่างๆชัดตามเป็นจริง นี้เปรียบได้กับวิปัสสนา


ชอบคำเปรียบเปรยนี้มากครับ... สู้ สู้
ถาม สมาธิทำให้จิตคิดช้าลงหรืออย่างไรครับ หรืออ่อนกำลัง ไม่แล่นฟุ้งซ่าน

อ้างอิงจาก:
ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว จิตก็เกิดสมาธิ (ความจริงก็เกิดเรื่อยๆมา) จากการกำหนดรูปนามนั้น ระยะนี้เปรียบเหมือนแตะเบรกให้รถชะลอตัวช้าลง แล้วปัญญาหรือวิปัสสนาจึงได้โอกาสทำหน้าที่ของตน

ถาม ตรงนี้ผม งง อะครับจิตเกิดสมาธิ แล้วปัญญามันเกิดขึ้นเองหรือครับ
อย่างนั้นใครทำสมาธิเก่งๆ ก็มีโอกาสเกิดปัญญาได้มากหรือเปล่าครับ

อ้างอิงจาก:
ประเด็นนี้เท่านี้ก่อนนะศิษย์รัก ประเด็นนอกนี้ค่อยๆ สนทนากันต่อไปจนกว่าจะเปิดเทอม

ส่วนที่อธิบายแล้วยังข้องใจถามซ้ำอีกซักไซ้ไล่เลียงได้อีก อย่าได้เกรงใจ


ขอบพระคุณอาจารยืที่เมตตาครับ ผมจะพยายามครับ
สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 11:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ อืมม์ อืมม์ นักเรียน รอ รอ รอ นะครับอาจารย์ เศร้า เศร้า เศร้า
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
ผู้ที่ใช้พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน มีอธิบายดังนี้ (พอง-ยุบ) พองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ ก็ดี (จงกรม) ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น ก็ดี รวมทั้งการตามดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวกายในอริยาบถอื่นๆก็ดี นี้คือตามดูรู้ทันกาย (= กายานุปัสสนา)

ส่วนตามดูรู้ทันนาม เช่น สุขหนอ ทุกข์หนอ คิดหนอ ฟุ้งซ่านหนอ ง่วงหนอ สงสัยหนอ ฯลฯ ขณะนั้นสิ่งใดปรากฏให้กำหนดรู้ชัดสิ่งนั้นตามที่มันเป็น (=ส่วนนามธรรม)

ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว จิตก็เกิดสมาธิ (ความจริงก็เกิดเรื่อยๆมา) จากการกำหนดรูปนามนั้น ระยะนี้เปรียบเหมือนแตะเบรกให้รถชะลอตัวช้าลง แล้วปัญญาหรือวิปัสสนาจึงได้โอกาสทำหน้าที่ของตน กล่าวคือรู้เห็นสภาวะตามที่มันเป็น


กระผมใช้วิธีภาวนา พุทธ โธ อยู่ครับ แต่ก็ไปไม่ถึงความสงบเย็นอย่างที่เคยได้ยินได้ฟังมาซะที นั่งพิจารณาเรื่องของสติปัฏฐาน ก็เริ่มเห็นบางอย่าง จับเวทนาได้ก่อนแฮะ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์(เยอะหน่อย) เดี๋ยวเฉยๆ กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา สักพักกระผมก็ฉุกคิดถึงปฏิจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เลยคิดย้อนไปถึงผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เลยตั้งสติจดจ่ออยู่สักพักก็เริ่มเห็น ธาตุ 18 กระทบกันอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวหู เดี๋ยวจมูก เดี๋ยวกาย เดี๋ยวความคิด (แต่ตากับลิ้นไม่เห็นครับเพราะหลับตานั่งอยู่เฉยๆ) มาถึงตรงนี้ก็เริ่มไม่รู้สึกถึงเวทนาแล้ว(ไม่ใส่ใจกับเวทนาเลย) บันเทิงอยู่กับการไล่จับผัสสะอยู่....เช้าซะละเลยต้องเลิกก่อนเดี๋ยวไปทำงานสาย

ทีนี้กระผมจะต้องทำอะไรต่อไปครับกรุณาแนะนำที .... สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 11:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ถาม ผมเคยอ่านสมาธิถึงระดับฌาณลึกๆ จะใช้พิจารณาอะไรไม่ได้ทั้งนี้เพราะจิตมันนิ่งไปใช่ไหมครับ....ไม่แน่ใจ


ขออภัยที่ตอบช้าไปหน่อย คอมฯ มีปัญหาต้อง format เครื่อง

คุณฌานกล่าวพาดพิงคำว่า “ฌาน” เพียงคำเดียว แต่คำตอบคงยืดยาวครับ เพราะมีผู้เข้าใจผิดประเ็ด็นนี้มากมาย

แต่ตอบสั้นๆก่อนว่า ไม่ใช่ครับ ฌานยิ่งลึกยิ่งสูงสติยิ่งชัด ขึ้นตามลำดับ
โดยเฉพาะฌานสี่ สติสัมปชัญญะจะแจ่มกระจ่าง

ท้าวความเรื่องฌานหน่อย วันคืนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ พระองค์ก็เข้าฌาน ออกฌาน หมายความพระองค์ทรงใช้ฌาน ที่ได้ก่อนหน้านั้นแล้วไต่ไปตามลำดับ แล้วจึงบรรลุวิชชาสามในแต่ละยามๆ (หากไม่ลืมท้ายๆจะลอกหลักฐานให้ดู)
แต่ตอนนี้เอานี้ก่อนจะได้เป็นบรรทัดฐานในการเรียนรู้เบื้องต้น

ผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น เพราะอ่านหนังสือแล้วเห็นองค์ฌานหดหายเหลือน้อยลงๆ ถึงฌานที่ 4 (ที่ 5 ในของปัญจกนัย) เหลือแต่ อุเบกขา ก็จึงวัตถุเดาว่าอุเบกขา แปลว่ากันว่าความวางเฉย, คงเฉยๆ นิ่งๆ ไม่รับรู้อะไร ไม่เอาอะไรกระมัง

มีตัวอย่างคนสองคนถกปัญหากระทู้ “หลับในฌาน” กันที่บอร์ดหนึ่งท่อนหนึ่งดัีงนี้


อ้างอิง
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ "มาจากดิน"

ฌานยิ่งสูงสติสัมปชัญญะยิ่งชัด โดยเฉพาะฌานที่สี่จะไม่หลับ ถ้าหลับไม่ใช่ฌานแล้ว


(ผู้อ้างอิงมาจากดิน เ็ห็นแย้งดังนี้) ฌาน 4 มันเหลือแต่เอกัคตารมณ์อย่างเดียว ความรู้สึกทางร่างกายไม่มี ความรู้สึกภายนอกไม่มี ร่างกายมันก็เหมือนกับหลับละคับ ทำให้ได้ก่อนเถอะคับ แล้วค่อยมาแสดงความคิดเห็นก็ยังไม่สาย


ในฌานมิใช่มีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้นครับ ความจริงองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นอันมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น-
(ม.อุ. 14/155-161/116-120)


(พึงพิจารณาสารัตถะอุเบกขา)

อุเบกขา - ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง หรือความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ หรือดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย

ในกรณีของฌาน คือไม่ติดข้างแม้แต่ในฌานที่มีความสุขอย่างยอด และความหมายสูงขึ้นไปอีก หมายถึง วางทีดูเฉย ในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการ
โดยเฉพาะในฌานที่ 4 คือบริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกนั้นอีก

ความจริง อุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น วิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้นข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มเพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้

ครั้นถึงฌานที่ 4 ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรีคืออุเบกขาเวทนา สนับสนุน ก็บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แจ่มชัด และพาให้ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วย เช่น สติ เป็นต้น พลอยแจ่มชัดบริสุทธิ์ไปด้วย


(ดูสารัตถะเอกัคคตา)

เอกัคคตา – ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง มีในฌานทุกขั้น
คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น
แม้ในคำบรรยายฌานแต่ละขั้นในพระสูตร ก็ยังระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น ในตติยฌานเน้นสติสัมปชัญญะ เป็นต้น ทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน

ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน-
(วิสุทธิ. 1/207, 214)

ความข้อนี้ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เอาฌานไปสับสนกับภาวะที่จิตลืมตัวหมดความรู้สึก ถูกกลืนเลือนหายเข้าไปในอะไรๆ หรือ เข้าไปรวมกับอะไร ๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ระวังความสับสนระหว่างอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็นกุศลธรรมอยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับอุเบกขาที่เป็นเวทนา คือความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว

ในฌานที่ 4 อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง



ในอกุศลจิต เอกัคคตาก็เกิดได้ ดังที่ อภิ.สํ.34/275-337/108-127 แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกุศล และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอาศัสตราฟาดฟันลงที่ร่างกายของสัตว์ไม่ให้ผิดพลาด ในเวลาตั้งใจลักของเขา และในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจารเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น ไม่นานที่ก็จะแห้งมีฝุ่นขึ้นตามเดิม –
สงฺ.คณี. อ.243,380,385

(นำมาจากหนังสือพุทธธรรม)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ของคุณฌานประเด็นที่เหลือรอแป๊บหนึ่ง ยิ้มเห็นฟัน

สำหรับคุณ natdanai จะตั้งกระทู้ต่างให้ใหม่ แยกเป็นสัดส่วนกันดูง่ายดีไม่สับสน ยิ้ม

เปิดกระทู้ให้แล้วครับที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83744#83744
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก
สมาธิ เปรียบได้กับการแตะเบรกให้รถชะลอความเร็วลง เมื่อรถแล่นช้าลงมองดูก็จะเห็นสิ่งต่างๆชัดตามเป็นจริง นี้เปรียบได้กับวิปัสสนา

ชอบคำเปรียบเปรยนี้มากครับ...
ถาม สมาธิทำให้จิตคิดช้าลงหรืออย่างไรครับ หรืออ่อนกำลัง ไม่แล่นฟุ้งซ่าน


(สมาธิทำให้จิตคิดช้าลงหรืออย่างไรครับ หรืออ่อนกำลัง)


จิตก็ยังคงเป็นจิต ว่าโดยความรวดเร็วเคยมีเท่าไรก็ยังคงมีอยู่เท่านั้น

ว่าโดยกำลังแล้วมิได้อ่อนลงเลย แต่กลับมีพละกำลังมากขึ้นเพราะมุ่งไปทางเดียว อุปมาเหมือนท่อน้ำที่ไหลไปทางเดียว จึงมีกำลังและแรงกว่าท่อที่มีรอยรั่วพรุนในระหว่างๆ
เมื่อว่าโดยการใช้งาน กลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น


สรุปตอบสั้นๆว่า เพราะไม่ฟุ้งซ่านพล่านไปตามอารมณ์ปรารถนาเหมือนเมื่อก่อน
เนื่องจากจิตเสพปัจจุบันอารมณ์คือกรรมฐานได้บ่อยขึ้นนานขึ้น จึงสงบลง

หรือพูดตามสำนวนที่ท่านใช้ว่า จิตมันเชื่องเหมือนสัตว์พาหนะที่ถูกเจ้าของฝึกจนเชื่องแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งาน


อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก
ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว จิตก็เกิดสมาธิ (ความจริงก็เกิดเรื่อยๆมา) จากการกำหนดรูปนามนั้น ระยะนี้เปรียบเหมือนแตะเบรกให้รถชะลอตัวช้าลง แล้วปัญญาหรือวิปัสสนาจึงได้โอกาสทำหน้าที่ของตน

ถาม ตรงนี้ผม งง อะครับจิตเกิดสมาธิ แล้วปัญญามันเกิดขึ้นเองหรือครับ
อย่างนั้นใครทำสมาธิเก่งๆ ก็มีโอกาสเกิดปัญญาได้มากหรือเปล่าครับ


คำถามนี้ คำตอบมีสองนัย คือ เกี่ยวกับกรรมฐานที่ใช้ด้วยครับ
หากให้กรรมฐานภายนอกเช่นกสิณต่างๆ นับลูกประคำ หรือใช้ไม้เคาะ…ก๊อกๆๆๆแล้วบริกรรม…แบบนักบวชจีน เป็นต้น นี่สมาธิล้วน ปัญญาเกิดมีบ้างแต่ไม่เด่นเหมือนสมาธิ

แต่เมื่อโยคีหันมาใช้กายกับใจเป็นกรรมฐาน แบบปฏิบัติลงกันได้กับหลัก
สติปัฏฐาน 4 สมาธิกับปัญญาก็เคียงคู่กัน ตัวอย่างผู้ใช้กายใจแบบพอง-ยุบ ภาวนา พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ, ซ้าย ย่าง หนอ, ขวา ย่าง หนอ,
สุขหนอ ทุกข์หนอ เฉยๆหนอ คิดหนอ ง่วงหนอ ฯลฯ รู้สึกอย่างไรกำหนดรู้ตามไปนั้น แบบนี้สมถะหรือสมาธิกับปัญญาจะเคียงคู่กัน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมให้บรรลุมรรคผลแล้ว ท่านว่าจิตจะแน่วแน่ถึงระดับฌานทุกคน
(แบบนี้ใช้อารมณ์กรรมฐานได้กว้าง)

ส่วนผู้ใช้ลมหายใจโดยตรง แล้วภาวนาพุทโธๆร่วมด้วยเท่านี้เท่านั้น ไม่ตามดู
รู้ทันนามด้วย มีสิทธิ์เป็นสมถะหรือสมาธิล้วน ส่วนมากถึงระดับหนึ่งจะเล่นนิมิต หรือจินตภาพที่ปรากฏเพลิน บางรายคิดเตลิดไปไกลโข ยิ้ม

หรือแม้แต่ในผู้ใช้พอง-ยุบก็ตาม หากไม่กำหนดรู้สภาวธรรมที่เกิดดังตัวอย่าง นั่งทำไม่รู้ไม่ชี้ ก็มีสิทธิ์เป็นสมถะหรือสมาธิล้วนหรือหลงนิมิต
หลงอารมณ์ได้เช่นกัน


สุดท้ายพิจารณาข้อความนี้โดยรวมอีกครั้งครับ...เมื่อเจริญวิปัสสนาคือใช้ปัญญาพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกวิธีแล้ว จิตก็จะสงบขึ้น เกิดมีสมาธิตามมาเอง ในตอนแรกสมาธิที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้วิปัสสนาดำเนินไปได้ =>“ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไม่ได้” *

...........

* วิสุทธิ. ฎีกา 1 /15,21 (ดูประกอบ วินย.อ. 1/529 ฯลฯ

สมาธิ 3 คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เป็นคำรุ่นอรรถกถาทั้งสิ้น


(ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ- ศีล => สมาธิ=>ปัญญา=>วิมุตติ

-ธรรมเป็นเหตุปัจจัยกันและกันเกื้อหนุนกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุครับอาจารย์ เรียนต่อเลยนะครับ

คำถาม

1.สมาธิกับฌาณ อันเดียวกันไหมครับ ต่างกันอย่างไรครับ


อ้างอิงจาก:
ส่วนผู้ใช้ลมหายใจโดยตรง แล้วภาวนาพุทโธๆร่วมด้วยเท่านี้เท่านั้น ไม่ตามดู
รู้ทันนามด้วย มีสิทธิ์เป็นสมถะหรือสมาธิล้วน


2.ถ้าใช้วิธีภาวนาพุธโธๆ

--- อะไรคือรูปนามครับ เช่นแค่รู้ลมผ่านเข้า-ออก เป็นนาม
ลมไหวๆผ่านจมูก คือรูป คิดเช่นนี้ถูกต้องหรือเปล่า....

----แล้วทำอย่างไรให้วิธีนี้เป็นวิปัสสนาครับ...

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2008, 10:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

1.สมาธิกับฌาณ อันเดียวกันไหมครับ ต่างกันอย่างไรครับ


แหม ! คุณฌาน สนใจฌานสะจริงๆ สมแล้วที่เลือกใช้ชื่อว่า ฌาน
ดูความหมายรวบรัด ของฌาน

ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มี สมาธิ นั่นเอง

เป็นอันเดียวกันหรือต่างกันล่ะ พลิกนิดเดียวคล้ายสมถะกับสมาธิ

อ้างอิงจาก:

2.ถ้าใช้วิธีภาวนาพุธโธๆ

--- อะไรคือรูปนามครับ เช่นแค่รู้ลมผ่านเข้า-ออก เป็นนาม
ลมไหวๆผ่านจมูก คือรูป คิดเช่นนี้ถูกต้องหรือเปล่า....


ลมเข้าลมออกเป็นรูป รู้ว่าลมเข้า รู้ว่าลมออกเป็นนาม รู้ว่าลมเข้า-ออก สั้น หรือ ยาว ละเอียด-ประณีต เป็นนาม รู้สิ่งที่รู้นั่นอีกที นี่เป็นนาม

อ้างอิงจาก:

----แล้วทำอย่างไรให้วิธีนี้เป็นวิปัสสนาครับ...


(ภาคปฏิบัติ) พึงกำหนดอารมณ์อื่นๆที่กระทบด้วย กำหนดความคิดด้วย มิใช่มุ่งแต่ลมเข้าออกอย่างเดียว ยึดแนวสติปัฏฐาน 4 ฐาน

(ตอบโดยเคร่งครัด) เมื่อเกิดญาณหรือปัญญารู้แจ้งเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น แล้วจิตหลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสเมื่อใด ก็เป็นวิปัสสนาโดยสมบูรณ์เมื่อนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2008, 10:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำสาระ ฌานโดยมุมกว้างให้ดูเลย


ความหมายของฌาน


ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่าฌาน 4 ตามปกติหมายถึง รูปฌาน 4 ดังนั้นจะพูดว่าฌาน 4 หรือ รูปฌาน 4 ก็มีความหมายเท่ากัน
อนึ่ง ไม่พึงสับสน ฌาน 4 กับฌาน 5 เพราะ ฌาน 4 ก็คือฌาน 5 นั่งเอง ป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌาน 5 ตามแนวอภิธรรม ก็ตรงกับฌาน 4 ในที่นี้นั่นเอง (ฌาน ที่แยกเป็น 4 เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็นแบบหลักที่พบทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น 5 ตามแนวอภิธรรม เรียกว่า ฌานปัญจกนัย)

ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง
แต่สมาธินั้น มีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใสและมีกำลังมากน้อยต่างๆกันแยกได้เป็นหลายระดับ
ความต่างของระดับนั้นกำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่ วิตก –การจดจิตลงในอารมณ์ วิจาร- การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์) ปีติ-ความอิ่มใจ สุข อุเบกขา- ความมีใจเป็นกลาง และเอกัคคตา-ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือ ตัวสมาธินั่นเอง)

ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ (รูปฌาน) ท่านนิยมแบ่งออกเป็น 4 ระดับ มีองค์ประกอบที่ใช้กำหนดระดับ ดังนี้

1. ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา
เอกัคคตา
2. ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
3. ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา

ฌานที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คืออรูปฌาน ก็มีองค์ 2 คือ อุเบกขาและ
เอกัคคตา เหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับตามอารมณ์ที่กำหนด


ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแงที่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัยไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่า ฌาน เหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98)

หรือ กิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่า ฌาน (ใช้ในรูปกิริยาศัพท์ เช่น ม.มู.12/560/604)

บางที นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า
เพ่งนินิจ หรือคิดพิจารณา

ในอรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น 2 จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน ได้แก่ ฌานสมาบัตินั่นเอง
การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ตามแบบวิปัสสนาหรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน


ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่าเผากิเลสบ้าง เพ่งลักษณะที่เป็น
สุญญตาของนิพพานบ้าง - ดู องฺ. อ. 1/536 ปฏิสํ.อ. 221 เป็นต้น
...........

ลิงค์บอร์ดใหม่ครับคุณฌานใช้งานได้แล้ว เราไปทดลองลิงค์ใหม่กัน

ตั้งกระทู้รอไว้แล้วครับ ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18325&p=82757#p82757
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง