Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปัญญาอบรมสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สาธุ สาธุ สาธุ

สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อจุดหมายเดียวกัน


อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

เฮ้อ… อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?

เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า

คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ


การภาวนาพุทโธๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ

แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้

อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา

แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้

ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้

คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด

จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
ตลอดคืนยันรุ่ง เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ

ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว

หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด

หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ




...............................................


ความเห็นส่วนตัว

ในพระสูตร ปฏิปทาวรรค กล่าวถึงการเจริญมรรค(สมถะ-วิปัสสสนา) ไว้3แนวทาง คือ

1.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า(ตรงกับ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ในอีกพระสูตรหนึ่ง)

2.เจริญสมถะและวิปัสสนาคุ๋เคียงกันไป

3.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(ตรงกับ เจริญสมถะมีวิปัสสนาป็นเบื้องต้น ในอีกพระสูตรหนึ่ง...ตาม ข้อธรรมในลายเซ็นที่ผมยกมา)

ธรรมเทศนาข้างต้นนี้ ครูบาอาจารย์บางท่านจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ....

เคยเห็นสมาชิกท่านอื่นถามกันว่า
ลักษณะที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ มีกล่าวไว้ในพระสูตรจริงๆหรือ?

วันนี้ นึกขึ้นมาได้
เลยขออนุญาตลงกระทู้
อาจเกิดประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกครับ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 28 ก.ย. 2008, 9:16 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 9:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้โดยไม่จงใจรู้
พระสุปฏิปันโน ท่านเคยสอนไว้ว่านี่คือ สตินนทรีย์ .........
หรือ มหาสติ สติอัตโนมัติ



การไม่จงใจ....ก็รู้เอง

เป็นคนล่ะอย่างกับ

การตั้งใจ....ให้ไม่รู้เอง


การไม่จงใจ....ก็รู้เอง เป็นผลที่เกิดจาก การฝึกฝนจนชำนาญในสติปัฏฐาน จากการตกผลึกของการเจริญมรรค
ไม่ใช่ เกิดจากการปล่อยจิตไปเรื่อยเปื่อย หรือ ไม่เจริญสติปัฏฐาน

อีกทั้ง ไม่ใช่ การตั้งใจ....ให้ไม่รู้เอง






โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย

เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็น สตินนทรีย์

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย

ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย..... สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2008, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ



พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา





พระสูตรนี้ กล่าวถึง
วิปัสสนา ที่นำไปสู่ สมถะ...


พระสูตรนี้ กล่าวถึง
การที่จิตพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ด้วยวิปัสสนา จึงปล่อยวางธรรมทั้งปวง
และ เพราะปล่อยวางธรรมทั้งปวง จิตจึงไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือ สมถะ

เพราะ เห็น จึง วาง
เพราะ วาง จึง สงบ


ถ้าจิตปล่อยวางธรรมทั้งปวง... ความสงบ จะเป็นของที่มาเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2008, 5:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บทธรรมมาจาก พระไตรปิฎก
กล่าวถึง สมถะ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

และ สามารถอธิบาย-ขยายความ ความเห็นข้างต้นได้ดี



[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.



๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนามีในสมัยนั้น.





พึงสังเกตุ....

คำว่า"สมถะ"ในพระสูตรนี้(และ อีกหลายๆพระสูตร)
เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค....
ซึ่งตรงกับคำว่า สัมมาสมาธิ หรือ โลกุตรฌาน นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2008, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะ ในความหมายดั้งเดิมแห่งพระสูตร...
ไม่ใช่ สิ่งที่พึงระวัง (หรีอ ระแวง) ไม่ให้เกิดขึ้นในการเจริญสติปัฏฐาน ดังที่มีการเข้าใจกันในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมยุคใหม่บางกลุ่ม

หากแต่ สมถะ ในความหมายดั้งเดิมแห่งพระสูตร...
เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค เป็นสิ่งที่พึงเจริญให้บังเกิดขึ้น ตาม พระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "มรรค พึงเจริญ"




ปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน คือ ไม่แยกให้ชัดเจน ระหว่าง


1.องค์ธรรมที่ไม่ใช่สมถะ แต่ถูกเรียกกันในปัจจุบันว่า เป็นสมถะ
เช่น อาการตื้อตันมึนงงเวลาภาวนา(ถีนมิทธะ) หรือ การตั้งใจมากเกินไปเวลาภาวนา(วิริยะทางใจมากไป) ก็ถูกเรียกรวมว่าเป็น อาการของสมถะ หรือ เป็นสมถะ.... จน สมถะ ในปัจจุบัน เกือบจะเหมือนกับ น้ำมันแก๊สโซฮอล์เมื่อ2ปีก่อน คือ อะไรๆที่ไม่ดี ก็จะถูกชี้ว่า เป็นสมถะ

2.สมถะแบบพระฤาษี
ที่ไปติดตันอยู่เพียง สมาธิประเภทที่ยังให้เกิดญาณทัศนะ หรือ ติดสุขจากสมาธิเข้า
(ข้อ1 และ ข้อ2 ในพระพุทธพจน์ที่ตรัสถึงสมาธิภาวนา4ประเภท)

3.สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ
ได้แก่ สมาธิภาวนาเพื่อสติสัมปชัญญะ และ สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นอาสวะ
(ข้อ 3 และ ข้อ4 ในพระพุทธพจน์ที่ตรัสถึงสมาธิภาวนา4ประเภท)


ปัจจุบันนี้ เวลาจะพูดถึงสมถะ จะกล่าวถึงเพียงข้อ1(องค์ธรรมที่ไม่ใช่สมถะ แต่ถูกเรียกกันในปัจจุบันว่า เป็นสมถะ) และ ข้อ2(สมถะแบบพระฤาษี)

บางท่าน ไม่เชื่อเสียด้วยซ้ำ ว่า สมถะ ในพระสูตร มีความหมายถึงองค์แห่งอริยมรรค!!!
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน

ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ
เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดา ๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ

เป็นการตกแต่งปฏิปทา เพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


จงทำความเข้าใจว่า

ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา

เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ

ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น.... ยังไม่ใช่ วิปัสสนาที่แท้จริง






..............................................................



ปล...

ความเห็นส่วนตัว น่ะครับ


มันมีอยู่3คำ ที่ผมอยากเสนอให้ เทียบเคียงกับในระดับพระสูตร

1.วิปัสสนาภาคปฏิบัติ เป็นการอาศัยการนึกคิดเอา ยังไม่ใช่ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง. ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค ได้แก่ สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสวะ

2.สมถะ ในที่นี้ หมายเอา สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค. หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌาน
(อย่าเพิ่งไปคิดถึง คำว่า"สมถะ"ในสมถกรรมฐาน40กอง.... เป็นคนล่ะอย่างกันแน่นอน)

3.วิปัสสนาที่แท้จริง ซึ่งนี่ คือ ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง หมายเอา สัมมาญาณะ อันเป็น อธิปัญญาในขั้นอริยผล



เสนอ พิจารณา มหาจัตตารีสกสูตร เทียบเคียงครับ


๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้



จะเห็นได้ว่า

คำว่า "วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ" ที่ยังอาศัยการนึกคิดเอา ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสววะ)

คำว่า "สมถะ"ในองค์แห่งอริยมรรค ตรงกับ สัมมาสมาธิ

คำว่า "วิปัสสนาที่แท้จริง" ที่เป็นญาณหยั่งรู้ การบรรลุมรรคผล ตรงกับ สัมมาญาณะ




อ้างอิงจาก:
ถ้า สมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา



ผมเข้าใจว่า

ตรงจุดนี้
ไม่ใช่หมายถึงว่าทุกท่านต้องไปฝึกสมถกรรมฐาน(แบบ สมถกรรมฐาน40กองของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล)มาก่อนจนบรรลุฌาน แล้วจึงค่อยมาเจริญวิปัสสนา... จึงจะได้วิปัสสนา น่ะครับ

ผมเห็นว่า คำว่า"สมถะ"ที่หลวงพ่อท่านกล่าวตรงนี้ คือ สัมมาสมาธิ.... ซึ่งจะนำไปสู่ สัมมาญาณะ หรือ วิปัสสนาที่แท้จริง

คำว่า วิปัสสนาในประโยค"ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา" หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ นั่นเอง




อ้างอิงจาก:
วิปัสสนา มีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ



วิปัสสนา ในคำกล่าวนี้ หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ
สมถะ ในคำกล่าวนี้ หมายเอา สัมมาสมาธิ เช่นกันครับ
เพราะ สัมมาญาณะ มีมูลฐานมาจาก สัมมาสมาธิ




เพราะ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ นำไปสู่ สัมมาสมาธิ(ผ่านขั้นตอนต่างๆตามพระสูตร)....
จึงอาจกล่าวได้ว่า วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ นำไปสู่ สมถะ

และ เพราะ สัมมาสมาธิ นำไปสู่ สัมมาญาณะ....
จึงอาจกล่าวได้ว่า สมถะ นำไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง

ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่า

สมถะ เป็นองค์ธรรมที่นำวิปัสสนาภาคปฏิบัติ... ไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง


ปล...เป็นความเห็นส่วนตัว ต่อบทธรรมน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเสนอความเห็น ใน ประเด็น ศีล สมาธิ ปัญญา (สมถะ-วิปัสสนา) ต่อน่ะครับ



โอวาทธรรม หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล



"คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้

ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้

แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้"





...............................................







ตามความเข้าใจ ของผมน่ะครับ

ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้าครับ



มีอยู่ 3คำ ที่ผมใส่ใจ

1.คิด
2.หยุดคิด
3.รู้


ผมนำมาเปรียบเทียบ กับ ที่ หลวงพ่อ พุธ ท่านกล่าวไว้

คิด ... ผมเห็นว่า น่าจะตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ(ระดับอนาสวะ). ซึ่งยังคงเป็นระดับการใช้ความรู้สึกนึกคิดเอาอยู่ ยังไม่ใช่ญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง เป็น วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ

หยุดคิด ... ผมเห็นว่า สื่อถึง สมถะในองค์แห่งอริยมรรค(สัมมาสมาธิ) คือ เอกัคตาจิตที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด

รู้.....หรือ รู้แจ้ง..... ผมเห็นว่า สื่อถึง อธิปัญญาในขั้นอริยผล คือ สัมมาญาณะ ซึ่งเป็นญาณหยั่งรู้ เป็น วิปัสสนาที่แท้จริง



คิด จะนำไปสู่การ รู้แจ้ง ได้.... ก็ต้องผ่าน การหยุดคิด

วิปัสสนาภาคปฏิบัติ จะนำไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง ได้... ก็ต้องผ่าน สมถะในองค์แห่งอริยมรรค หรือ สัมมาสมาธิ

แต่ ก็ต้องอาศัยคิด(สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสังกัปปะ) แล้วไล่เรียงไปตามลำดับแห่งองค์มรรค จึงจะบรรลุซึ่ง การรู้แจ้ง(สัมมาญาณะ) ในที่สุด




ปล...

ส่วนตัว ผมเองไม่ประเมินคำว่า ความคิด หรือ วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ ว่าต่ำต้อยอะไรน่ะครับ...เกรงว่าจะเข้าใจผิด....
เพราะ มีบางท่านไปนำคำนี้ มาล้อเล่นกันว่า เป็น วิปัสสนึก

อย่างที่ ท่านผู้รู้กล่าวไว้น่ะครับ
การใช้ความคิด หรือ วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ... ถึง แม้นจะยังไม่ใช่เป็นขั้นญาณหยั่งรู้
แต่ ก็เป็นต้นทางแห่งมรรคทั้งหมด

จึง ไม่เห็นด้วย กับการกล่าวถึง วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ ไปในทิศทางที่ทำให้ดูต่ำต้อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากเสนอให้สังเกตุประการหนึ่ง

ใน การเจริญมรรคที่เน้นวิปัสสนา คือ ไม่ได้ฝึกสมาธิภาวนามาก่อน หรือ จริตนิสัยอาจจะไม่เหมาะกับการฝึกสมาธิภาวนา เช่น อานาปานสติภาวนา นั้น

ในสมัยปัจจุบัน จะมีบางท่านที่เชื่อกันว่า
ในการเจริญมรรคที่เน้นวิปัสสนานั้น ต้องระวังไม่ให้สมถะเกิดขึ้น
(เพราะ เข้าใจคำว่า"สมถะ"เพียงในความหมายของมิจฉาสมาธิ....คือ สมถะที่เขาเข้าใจจะมีความหมายจำกัดอยู่เพียงตัวปิดกั้นการเจริญวิปัสสนา เท่านั้น)


ซึ่ง แตกต่างจากที่มีปรากฏในระดับพระสูตรที่กล่าวว่า
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า(หรือ เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)
โดยมีคำอธิบายในลักษณะที่ว่า เพราะเห็นจึงวาง และ เพราะวางจึงสงบ
คำว่า สงบ ที่เกิดจากการปล่อยวาง นั้นท่านก็เรียกว่า สมถะ เช่นกัน!!!


ทีนี้ ถ้าจะเจริญวิปัสสนาโดยต้องคอยระมัดระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ... จะไปภาวนาอย่างไรครับ... เพราะ ความสงบนั้น เกิดจากการปล่อยวาง... ถ้าจะไม่ให้สงบ ก็ต้องไม่ให้จิตปล่อยวางหรือ.... ต้องคอยแบกคอยหามไปเรื่อยๆ....

แต่ถ้า ไม่สามารถยอมรับ ว่า ความสงบที่เกิดจากการปล่อยวางเรียกว่า สมถะ ได้จริงๆ.... ก็ไม่เป็นไรครับ... ผมเพียงแต่ เสนอมุมมอง ที่ท่านอาจจะไม่เคยคิดถึงกันไว้ ให้พิจารณา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

อาจารย์ครับ สรุปว่าถ้าเราไม่สามารถทำสมาธิได้
(เช่นกำหนดยุบหนอ-พองหนอ)
เราเอาธรรมะข้อใดข้อหนึ่งเช่นขันธ์ 5 มาคิดไปเรื่อยๆว่าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ต้องเสื่อมสลายไป .....

หรือทำ วิปัสสนึก ไปก่อนเมื่อจิตสงบวางธรรมนั้นเรียกว่าเกิด
สมาธิขึ้นมาแล้วจึงจะได้วิปัสสนาที่แท้จริงตามมาภายหลัง

ปฏิบัติอย่างนี้ถูกไหมครับ....

อย่างนี้เรียกว่า สมถะนำวิปัสสนาหรือว่าวิปัสสนานำสมถะครับ

ขอบคุณครับ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 11:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การไม่ได้เจริญสมาธิภาวนามาก่อนนั้น สามารถใช้สมาธิในระดับธรรมดา(ที่คนไม่เป็นโรคออทิสติกพึงมี)ก็เจริญวิปัสสนาได้เลย

ต่อเมื่อ ปัญญาเจริญขึ้น ปัญญาจะย้อนมาช่วยให้สมาธิพัฒนาขึ้น
คือ เมื่อเห็นจึงวาง เมื่อวางจึงสงบ....
ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ท่านเรียก ว่า ปัญญาอบรมสมาธิ
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านก็กล่าวตรงจุดนี้ไว้เช่นกัน ในหนังสือพุทธธรรม

โดยเฉพาะ การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน นั้น มีพระพุทธพจน์ตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า จะเจริญทั้งสองส่วน คือ ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา



อ้างอิงจาก:
ทำ วิปัสสนึก ไปก่อน เมื่อจิตสงบวางธรรมนั้นเรียกว่าเกิด
สมาธิขึ้นมาแล้ว จึงจะได้วิปัสสนาที่แท้จริงตามมาภายหลัง


ตามหลักการแล้ว เป็นเช่นนั้นครับ


อ้างอิงจาก:
อย่างนี้เรียกว่า สมถะนำวิปัสสนา หรือว่า วิปัสสนานำสมถะครับ


เรียกว่า วิปัสสนนานำสมถะ ครับ

อนึ่ง คำว่า สมถะ ในพระสูตรต่างๆ โดยเฉพาะในพระสูตรที่กล่าวถึงองค์แห่งอริยมรรค หมายเอา สมาธิขั้นแน่วแน่ ที่ เรียกว่า เอกัคตาจิต... และ เอกัคตาจิตนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ต้องแวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด(จาก มหาจัตตารีสกสูตร)...

ส่วน สมาธิขั้นพื้นฐานของคนทั่วๆไป(ที่คนไม่เป็นโรคออทิสติกพึงมี) หรือ ที่เรียกกันว่า ขณิกะสมาธินั้น เป็นคำของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลครับ ...

ใน สมัยพุทธกาล โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึง สมถะในองค์แห่งอริยมรรค จะหมายเอาสมาธิขั้นแน่วแน่ ครับ

คำว่า"สมถะ" ในประโยค เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ....จึงหมายเอา สัมมาสมาธิ ซึ่งก็คือ เอกัตาจิตที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด ...หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌาน นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 12:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทำ วิปัสสนึก ไปก่อน เมื่อจิตสงบวางธรรมนั้นเรียกว่าเกิด
สมาธิขึ้นมาแล้ว จึงจะได้วิปัสสนาที่แท้จริงตามมาภายหลัง


อาจารย์ครับสรุปวิธีนี้ว่าเริ่มจาก....

วิปัสสนึก.....สมถะ......วิปัสสนา

เหมือนกับว่าต้องอาศัยสมถะเป็นบาทเป็นฐานก่อนอยู่ดีที่จะได้วิปัสสนาจริงๆ

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ พิมพ์ว่า:
เหมือนกับว่าต้องอาศัยสมถะเป็นบาทเป็นฐานก่อนอยู่ดีที่จะได้วิปัสสนา


นึกถึงคำพูดของพระอาจารย์ที่กระผมนับถือมาก ท่านว่า

"จะทำวิปัสนาก็ต้องมีสมถะเป็นเบื้องต้น
ถ้าทำสมถะก็ต้องมีวิปัสนาเป็นที่สุด "

"ถ้าทำสมถะแล้ว วิปัสนาไม่ต้องไปเรียน เดี๋ยวมันเป็นเอง"
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
วิปัสสนึก.....สมถะ......วิปัสสนา



กล่าวแบบนี้ น่าจะเหมาะสมกว่าครับ


วิปัสสนาภาคปฏิบัติ....สมถะในองค์อริยมรรค....วิปัสสนาที่แท้จริง


ถ้าใช้คำว่า วิปัสสนึก เป็นลักษณะการเหยียดในที ผมไม่เห็นด้วยครับ

ในขณะเดียวกัน ผมเองก็ทักท้วง ท่านที่เรียกวิธีการของตนเองว่า วิปัสสนา(ที่ไม่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า) แล้ว กล่าวเหยียดสมถะ เช่นกันครับ





อ้างอิงจาก:
เหมือนกับว่าต้องอาศัยสมถะเป็นบาทเป็นฐานก่อนอยู่ดีที่จะได้วิปัสสนาจริงๆ


กล่าวแบบนี้ น่าจะเหมาะสมกว่าครับ

ต้องประกอบด้วยสมถะในอริยมรรคสมังคี(สัมมาสมาธิ)เป็นบาท จึงจะบังเกิด วิปัสสนาที่แท้จริง(สัมมาญาณะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีปัญหาเรื่องอบรม แต่ตามมาอ่านเจ้าค่ะ

เจริญในธรรมทุกท่านนะจ๊ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ถ้าทำสมถะแล้ว วิปัสนาไม่ต้องไปเรียน เดี๋ยวมันเป็นเอง





คำว่า เรียน นี้หมายถึงเรียนอะไร...???

ถ้า คำว่า เรียนนี้หมายถึงการศึกษาตามแนวทางที่พระพุทธองค์ท่านชี้ทางไว้(ไตรสิกขา) .... สำหรับคนทั่วไปผู้เดินตามแนวอนุพุทธะ(ที่ไม่ใช่ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า) ก็ยังต้องอาศัยการเรียนรู้จากผู้อื่น หรือ แหล่งความรู้อื่นๆ อยู่ดี ที่เรียกว่า ปรโฆโตโส

แต่ ปรโฆโตโส ก็จำเป็นต้องมี โยนิโสมนสิการ มาประกอบ....คือ นำมาใคร่ครวญด้วยตนเองอย่างรอบครอบ และ รอบด้าน ด้วย...จึงจะเห็นแจ้งในธรรมได้.... ดังคำกล่าวที่ว่า อักขาชาโร ตะถาคะตา พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกกล่าว เรา-ท่านต้องเดินกันเอง


อย่างเช่น พระสูตรที่ตรัสถึง การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า ที่แสดงให้พิจารณาเลิกละความยึดติดในภพแห่งฌาน....คือ ใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรงนั้น.... ซึ่ง ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ไม่มีพระฤาษีองค์ใด เคยปฏิบัติแบบนี้มาเลย.... พระฤาษีเหล่านั้น ท่านย่อมเห็นภพอันละเอียดปราณีตที่ท่านประจักษ์ถึงเหล่านั้น เป็นที่สุด.... ไม่ได้เห็นว่า ภพที่ประณีตเหล่านั้น เป็นองค์ประกอบแห่งเหตุปัจจัยอันไม่สมควรยึดมั่นถือมั่น แต่อย่างใดเลย

ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ และ สั่งสอนเวไนยสัตว์ ก็จะไม่มีฤาษีใดๆ(เว้นพระปัจเจกๆ) ที่จะสามารถเลิกละ ความยึดมั่นถือมั่น ในภพทั้งหมดได้โดยไม่ต้องรับคำแนะนำสั่งสอน



ดังนั้น ถ้ากล่าวว่า เจริญสมถะไปแล้ว เดี๋ยววิปัสสนาจะมาเอง...จึง อาจไม่สมบูรณ์นักน่ะครับ





แต่ ถ้าคำว่า เรียน นี้ สื่อถึงการเข้าเรียนวิปัสสนา แบบเข้าคอร์สเรียนกันอย่างนั้น .... ผมว่าอาจจะไม่จำเป็นสำหรับทุกๆคน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง