Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มรรคในฐานะไตรสิกขาหรือระบบการศึกษาสำหรับสร้างอารยชน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มรรคในฐานะไตรสิกขาหรือระบบการศึกษาสำหรับสร้างอารยชน

ภิกษุวัชชีบุตร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท 150 ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่การสวดทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ได้ไหว

พระพุทธเจ้า: ดูกรภิกษุ เธอสามารถจะศึกษาไหวหรือไม่ในสิกขา 3 คือ
อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ภิกษุวัชชีบุตร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าแต่พระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา 3 ...

พระพุทธเจ้า: เพราะฉะนั้นแลภิกษุ เธอจบศึกษาในสิกขา 3 เถิด คือใน
อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ...เมื่อเธอศึกษาทั้งอธิศีลสิกขา
ศึกษาทั้งอธิจิตตสิกขา ศึกษาทั้งอธิปัญญาสิกขาอยู่ ราคะ (= โลภะ) ก็จักถูก
ละได้ โทสะก็จักถูกละได้ โมหะก็จักถูกละได้ เพราะการที่ละราคะได้
เพราะการที่ละโทสะได้ เพราะการที่ละโมหะได้ สิ่งใดเป็นอกุศล เธอก็จักไม่ทำสิ่งนั้น (เอง) สิ่งใดเป็นบาป เธอก็จักไม่เสพสิ่งนั้น (เอง)”

ครั้นกาลต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ศึกษาทั้งอธิจิตตสิกขา
ศึกษาทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอศึกษาทั้งอธิศีลสิกขา ศึกษาทั้ง
อธิจิตตสิกขา ศึกษาทั้งอธิปัญญาสิกขาอยู่ ราคะก็ถูกละเสียแล้ว โทสะก็ถูกละเสียแล้ว โมหะก็ถูกละเสียแล้ว เพราะการที่ละราคะ (= โลภะ) ละโทสะ ละโมหะเสียแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล เธอก็มิได้ทำสิ่งนั้น สิ่งใดเป็นบาป เธอก็มิได้เสพสิ่งนั้น”

(องฺ.ติก.20 /524/296)

“ท่านวิสาขะผู้มีอายุ กองธรรม 3 หมวดสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 หามิได้ อริยมรรคมีองค์ 8 ต่างหาก สงเคราะห์ด้วยกองธรรม 3 สัมมาวาจาก็ดี สัมมากัมมันตะก็ดี สัมมาอาชีวะก็ดี ธรรมเหล่านี้ สงเคราะห์เข้าด้วยศีลขันธ์ สัมมาวายามะก็ดี สัมมาสติก็ดี สัมมาสมาธิก็ดี ธรรมเหล่า
นี้ สงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ สัมมาทิฏฐิก็ดี สัมมาสังกัปปะก็ดี ธรรมเหล่านี้ สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาขันธ์


ไตรสิกขาถือกันว่าเป็นระบบการปฏิบัติธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีขอบเขตคลุมมรรคทั้งหมด และเป็นการนำเอาเนื้อหาของมรรคไปใช้อย่างหมดสิ้นบริบูรณ์ จึงเป็นหมวดธรรมมาตรฐานสำหรับแสดงหลักการปฏิบัติธรรม และมักใช้เป็นแม่บทในการบรรยายวิธีปฏิบัติธรรม
สรุปว่ามรรคเป็นระบบการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่เนื้อหาฉันใด ไตรสิกขาก็เป็นระบบการการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่การใช้งาน ฉันนั้น และไตรสิกขานี้แหละที่มารับช่วงหลักปฏิบัติจากมรรคไปกระจายออกสู่วิธีปฏิบัติในส่วนรายละเอียดอย่างกว้างขวางต่อไป

แนะนำบอร์ใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:17 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ต่อ)

จากมรรคสู่ไตรสิกขา


มรรค มีชื่อเรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ (อริย+อัฏฐังคิก+มัคค์) เรียกเป็นไทยว่า อริยอัฏฐังคิกมรรคบ้าง อริยอัษฎางคิกมรรคบ้าง อารยอัษฎางคิกมรรคบ้าง แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ทางมีองค์ 8 ของพระอริยะ ทางมีองค์ 8 ที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ
ทางมีองค์ 8 ที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ หรือมรรคอันประเสริฐมีองค์ประกอบ 8 อย่าง
องค์หรือองค์ประกอบ 8 อย่าง ของมรรคนั้น มีดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (Right View หรือ Right Understanding)
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ (Right Thought)
3. สัมมาวาจา วาจาชอบ (Right Speech)
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ (Right Action)
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชอบ (Right Livelihood)
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ (Right Effort)
7 สัมมาสติ ระลึกชอบ (Right Mindfulness)
8. สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ (Right Concentration)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มรรค มีองค์ 8 บางครั้งเรียกกันสั้นๆว่า มรรค 8 ชวนให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็น

ทาง 8 สาย แล้วเลยถือความหมายว่าเป็นทางหลายเส้นทางต่างหากกัน หรือทอด

ต่อกัน เดินจบสิ้นทางหนึ่งแล้ว จึงเดินต่ออีกทางหนึ่งเรื่อยไปจนครบทั้งหมด กลาย

เป็นว่า หัวข้อทั้ง 8 ของมรรคเป็นหลักการที่ต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จสิ้นไปทีละ

ข้อ ตามลำดับ แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น คำว่า มรรคมีองค์ 8 มีความหมายชัดเจน

อยู่แล้วว่า หมายถึงทางสายเดียวมีส่วนประกอบ 8 อย่าง

เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้าจึงสำเร็จ

เป็นถนนได้ เช่น มีดิน กรวด ทราย หิน ลูกรัง ยาง หรือคอนกรีต เป็นชั้นลำดับขึ้น

มาจนถึงผิวทาง รวมเป็นตัวถนนหรือพื้นถนน มีขอบคัน เส้นแนว ความเอียงเท

ของที่ลาดชันโค้งเลี้ยว มีสัญญาณ เครื่องหมาย ป้ายบอกทิศทาง ระยะทาง

และสถานที่เป็นต้น ตลอดจนแผนที่ทางและโคมไฟในยามค่ำคืน ถนนประกอบด้วย

ส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมด และผู้ขับรถเดินทางย่อมอาศัยส่วนประกอบเหล่านี้

ทุกอย่างไปพร้อมๆกัน ฉันใด มรรคก็ประกอบขึ้นด้วยองค์ 8 ประการรวมกัน

ผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องใช้องค์ทั้ง 8 ของมรรคเนื่องไปด้วยกันโดยตลอด ฉันนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง เพื่อให้มองเห็นเป็นหมวดหมู่ อันจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่ง
ขึ้น ท่านจัดองค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรคเข้าเป็นประเภทๆ เรียกว่า
ขันธ์ หรือ ธรรมขันธ์ แปลว่าหมวดธรรม หรือกองธรรมมี 3 ขันธ์
หรือ 3 ธรรมขันธ์ กล่าวคือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์
เรียกง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา โดยจัด สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าเป็นหมวดศีล เหมือนดังจัดกองดิน
ที่ก่อแน่นขึ้นพร้อมทั้งหินกรวดทรายวัสดุผิวจราจรที่เป็นตัวถนนหรือพื้น
ถนนเข้าเป็นพวกหนึ่ง
จัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เข้าเป็นหมวดสมาธิ
เหมือนดังจัดขอบกั้น ดินถนน เส้นแนวโค้งเลี้ยว เป็นต้น ที่เป็นเครื่อง
กั้นแนวถนนเป็นพวกหนึ่ง
จัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าเป็นหมวดปัญญา เหมือนดังจัด
สัญญาณ เครื่องหมาย ป้าย โคมไฟเป็นต้น เป็นอีกพวกหนึ่ง

เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ--- 3. ปัญญา

3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5 . สัมมาอาชีวะ --- 1. ศีล

6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ --- 2. สมาธิ

นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ตามสภาวะที่เป็นธรรมประเภทเดียวกัน

ส่วนในทางปฏิบัติคือการใช้งาน ท่านก็จัดตามแนวเดียวกันนี้ แต่เรียกว่า สิกขา หรือ ไตรสิกขา มีชื่อเพี้ยนไปเล็กน้อยเป็น อธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา และโดยทั่วไปก็เรียกกันง่ายๆว่า ศีล สมาธิ และปัญญา เลียนแบบธรรมขันธ์ 3 นั่นเอง ทั้งนี้เพราะเมื่อถือตามความหมายอย่างคร่าวๆ อธิศีล ก็คือ ศีล อธิจิตต์ ก็คือ สมาธิ และอธิปัญญา ก็คือ ปัญญา*

เขียนให้ดูง่ายขึ้น ดังนี้

1. อธิศีลสิกขา
-สัมมาวาจา
-สัมมากัมมันตะ
-สัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตตสิกขา
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
-สัมมาสมาธิ

3. อธิปัญญาสิกขา
- สัมมาทิฏฐิ
- สัมมาสังกัปปะ

การจัดแบบธรรมขันธ์ 3 นั้น มุ่งเพียงให้เห็นเป็นหมวดหมู่ตามประเภท

แต่การจัดเป็นไตรสิกขา มุ่งให้เห็นลำดับในกระบวนการปฏิบัติหรือใช้งานจริง

คำว่าไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3

คำว่าสิกขา ** แปลว่า การศึกษา การสำเหนียก การฝึก ฝึกปรือ ฝึกอบรม ได้แก่ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา จิตใจ
และปัญญาให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ ความหลุดพ้นหรือนิพพาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 8:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

* พึงกำหนดในใจด้วยว่า การเรียกสิกขา 3 ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นการเรียกอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น ในบาลีไม่มีคำว่า สีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขาเลย ในคัมภีร์บางแห่งท่านเรียงทั้งธรรมขันธ์ 3 และสิกขา 3 ไว้ต่อลำดับกัน และใช้คำให้ตรงตามหลักอย่างเคร่งครัด (เช่น วิภงฺค. อ.158; ปฏิสํ.อ.237)

** คำว่า สิกขา มีความหมายคล้ายคำว่า ภาวนา ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกอบรม และมี 3 อย่างเหมือนกันคือ 1. กายภาวนา ฝึกอบรมกาย 2. จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิต
3. ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมปัญญา (ที.ปา. 11 /228/231)
แต่ในอรรถกถาอธิบายว่า ในที่นั้นหมายเฉพาะกาย จิต และปัญญา ที่ฝึกอบรมเสร็จแล้วของพระอรหันต์ (ที.อ. 3/252)
ภาวนาแบ่งละเอียดเป็น 4 (เติมศีลภาวนาเป็นข้อ 2 )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ต่อไป สังเกตสิกขา 3 โดยเฉพาะศีลกินความแคบ-กว้างเพียงใด อย่างที่...คิดหรือไม่)


สิกขา 3 มีความหมายคร่าวๆ ดังนี้


1. อธิศีลสิกขา การฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ให้มีสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ (Training in Higher Morality)

2. อธิจิตตสิกขา การฝึกอบรมทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพจิต และรู้จักใช้ความสามารถในกระบวนสมาธิ (Training in Higher Mentality หรือ Mental Discipline )

3. อธิปัญญาสิกขา การฝึกอบรมทางปัญญาอย่างสูง ทำให้เกิดความรู้แจ้ง
ที่สามารถชำระจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ (Training in Higher Wisdom)

นี้เป็นความหมายอย่างคร่าวๆ ถ้าจะให้สมบูรณ์ ก็ต้องให้ความหมายเชื่อมโยงถึงความมุ่งหมายด้วย โดยเติมข้อความแสดงลักษณะที่สัมพันธ์กับ
จุดหมายต่อท้ายสิกขาทุกข้อ ได้ความตามลำดับว่า ไตรสิกขาคือ การฝึกปรือความประพฤติ การฝึกปรือจิต และการฝึกปรือปัญญา ชนิดที่ทำให้แก้ปัญหาของมนุษย์ได้ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ นำสู่ความสุขและความเป็นอิสระแท้จริง
เมื่อความหมายแสดงความมุ่งหมายได้ชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้มองเห็นสาระของไตรสิกขาแต่ละข้อ ดังนี้

-สาระของอธิศีล คือ การดำรงตนอยู่ด้วยดี มีชีวิตเกื้อกูล ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ตนมีส่วนช่วยสร้างสรรค์รักษาให้เอื้ออำนวยแก่การมีชีวิตที่ดีงามร่วมกัน เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาคุณภาพจิตและการเจริญปัญญา

-สาระของอธิจิตต์ คือ การพัฒนาคุณภาพจิต หรือการปรับปรุงจิตให้มีคุณภาพและสมรรถภาพสูง ซึ่งเอื้อแก่การมีชีวิตที่ดีงามและพร้อมที่จะใช้งานในทางปัญญาอย่างได้ผลดีที่สุด

- สาระของอธิปัญญา คือ การมองดูรู้จักและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความ
เป็นจริง หรือรู้เท่าทันธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ทำให้เป็นอยู่
และทำการต่างๆด้วยปัญญา คือรู้จักวางใจวางท่าทีและปฏิบัติต่อโลกและชีวิต
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในทางที่เป็นไปเพื่อแผ่ขยายประโยชน์สุข
มีจิตใจผ่องใส ไร้ทุกข์ เป็นอิสรเสรี และสดชื่นเบิกบาน

สาระของไตรสิกขา แสดงตัวออกมาไม่เฉพาะที่การปฏิบัติของบุคคลเท่านั้น แต่ส่องถึงภารกิจที่มนุษย์จะต้องจัดทำในระดับชุมชนและสังคมด้วย กล่าวคือ การจัดวางระบบแบบแผน จัดตั้งสถาบันและกิจการต่างๆ จัดแจงกิจกรรมและวิธีการต่างๆ เพื่อให้สาระของไตรสิกขาเป็นไปในหมู่มนุษย์ หรือให้มนุษย์ดำรงอยู่ในสาระของไตรสิกขา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 8:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 7:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยนัยนี้ ศีลจึงกินความถึงการจัดสรรสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุและทางสังคมที่ปิดกั้นโอกาสในการทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดี เฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบชีวิตและระบบสังคม โดยวางหลักเกณฑ์ กฎข้อบัง บทบัญญัติต่างๆเพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคล จัดกิจการ
ของส่วนรวม ส่งเสริมความอยู่ร่วมกันด้วยดี ปิดกั้นโอกาสสำหรับ
การทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสสำหรับการทำความดี เรียกรวมๆ ด้วยคำศัพท์ทางพระศาสนาว่า วินัย * ซึ่งจัดวางขึ้นในเหมาะสมกับความมุ่งหมาย
ของชุมชนหรือสังคมระดับนั้นๆ เช่น วินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสำหรับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว
ของภิกษุและภิกษุณีแต่ละรูป มีทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความ
เป็นอยู่ของชุมชน การปกครอง การสอบสวนพิจารณาคดี การลงโทษ วิธีแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ระเบียบและวิธีดำเนินการประชุม ตลอดกระทั่งระเบียบปฏิบัติและมรรยาทต่างๆ ในการต้อนรับแขก ในการไปเป็นอาคันตุกะ และในการใช้สาธารณสมบัติเป็นต้น

หรืออย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักการกว้างๆ ไว้สำหรับปกครองบ้านเมือง
จะพึงนำไปกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติต่อสังคมวงกว้างระดับประเทศชาติ เช่น
ทรงสอนหลักที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ให้พระเจ้าจักรพรรดิจัดการคุ้มครองป้องกัน
อันชอบธรรมให้เหมาะสมกับประชาชนแต่ละจำพวกแต่ละประเภท ให้วางวิธีการ
ป้องกันแก้ไขปราบปรามมิให้มีการอันอธรรมหรือความชั่วร้ายเดือดร้อนขึ้นใน
แผ่นดิน ให้หาทางจัดแบ่งรายได้หรือเฉลี่ยทุนทรัพย์มิมีคนขัดสนยากไร้ใน
แผ่นดิน เป็นต้น

วินัยที่จะสร้างเสริมศีล สำหรับสังคมวงกว้างนี้ ถ้าจะพูดตามภาษาใน
ปัจจุบัน ก็คือ ระบบการปกครองทั้งบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ระบบเศรษฐกิจ ระเบียบแบบแผนทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม
ตลอดถึงระบบการทางสังคมอย่างอื่นๆ รวมทั้งปลีกย่อยที่สำคัญเช่น วิธี
อำนวยหรือไม่อำนวยโอกาสเกี่ยวกับแหล่งเริงรมย์ สถานอบายมุข สิ่งเสพ
ติด การประกอบอาชญากรรมต่างๆ และมาตรการเกี่ยวกับการงานอาชีพ เป็นต้น

........

* คำว่า วินัย มักมองความหมายกันแคบๆ เพียงแค่บทบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว นับว่าความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยได้เรียวเข้ามาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 8:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อธิจิตตสิกขา ว่าโดยระดับสูงสุด หรือเต็มรูปแบบ ก็ได้แก่

สมถวิธี หรือวิธีบำเพ็ญกรรมฐาน (ฝ่ายสมถะ) แบบต่างๆ ซึ่งมากอาจารย์

มากสำนักปฏิบัติได้เพียรกำหนดกันขึ้น และวิวัฒนาการเรื่อยมาในประวัติ

ศาสตร์พระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏเป็นแบบแผน

ในชั้นอรรถกถา (เช่นวิสุทธิ. 1/105-2/284) แล้วขยายตัดแปลงต่อๆกัน

มา

แต่เมื่อมองอย่างกว้างๆ ให้คลุมไปทุกระดับ ก็ย่อมกินความถึงวิธีการ

และอุปกรณ์ทั้งหลายที่จะช่วยชักจูงจิตใจของคนให้สงบ ให้มีจิตใจยึดมั่นและ

มั่นคงในคุณธรรม เร้าใจให้ฝักใฝ่และมีวิริยะอุตสาหะในการสร้างความดีงาม

ยิ่งขึ้นไป ตลอดจนอุบายวิธีต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตของตน

เช่น การมีสถานพักผ่อนหย่อนใจอันสงบร่มรื่น ชักจูงความคิดในทางที่ดี

งาม การสร้างบรรยากาศในสถานที่อยู่อาศัย ในที่ทำงาน สถาน

ประกอบอาชีพเป็นต้น ให้สดชื่นแจ่มใส ประกอบด้วยเมตตา กรุณา

ชวนให้อยากทำแต่ความดี และทำให้มีคุณภาพจิตประณีตยิ่งขึ้น

กิจกรรมต่างๆ ที่ปลุกเร้าคุณธรรม การส่งเสริมกำลังใจในการ

ทำความดี ความมีอุดมคติ และการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง

หนักแน่นมั่นคงมีสมรรถภาพสูง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อธิปัญญา ว่าโดยรูปศัพท์ที่เคร่งครัด ก็คือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีวิวัฒนาการใน

ด้านวิธีฝึกปฏิบัติจนเป็นแบบแผนทำนองเดียวกับสมถะวิธี แต่เมื่อมองให้กว้างตาม

สาระและความมุ่งหมาย เรื่องปัญญาก็ได้แก่กิจการฝึกปรือความรู้ความคิดซึ่งเรียก

กันว่าการศึกษาเล่าเรียนทั้งหมด ที่อาศัยกัลยาณมิตร โดยเฉพาะครูอาจารย์

มาช่วยถ่ายทอดสุตะ (ความรู้แบบรับถ่ายทอด หรือแบบเล่าเรียนสดับฟัง) และ

ความชัดเจนในศิลปวิทยาต่างๆ เริ่มแต่วิชาพี (เรื่องระดับศีล) เป็นต้นไป แต่การ

ที่จะเป็นอธิปัญญาได้นั้น เพียงความรู้ความจัดเจนในวิชาชีพและวิทยาการต่างๆหา

เพียงพอไม่ ผู้สอนพึงเป็นกัลยาณมิตรที่สามารถเสร้างศรัทธาและสามารถชี้

แนะให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้ อย่างน้อยทำให้เขามีความเห็นชอบตามคลอง

ธรรม และถ้าสามารถทำได้ยิ่งกว่านั้น ก็ให้เขารู้จักมองโลกและชีวิตอย่างรู้เท่า

ทันความจริงที่จะให้วางใจวางท่าที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง

ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้มีการศึกษาชนิดที่ขัดเกลากิเลสและแก้ทุกได้

สามารถทำประโยชน์แก่ผู้อื่น พร้อมกับที่ตนเองมีจิตใจเป็นสุข

การฝึกฝนอบรมในขั้นนี้ ตามปกติเป็นภารกิจของสถานศึกษาต่างๆ ธรรมดา

สถานศึกษาทั้งหลายนั้น ย่อมสมควรให้การฝึกปรือบุคคลครบทั้ง 3 ระดับ คือ

ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่มุ่งแต่ปัญญาอย่างเดียว ทั้งนี้โดยเหตุผลว่า

อธิปัญญาเป็นการศึกษาขั้นสูงสุด ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยดีต้องอาศัยการศึกษา 2

ระดับแรกเป็นพื้นฐาน และยิ่งกว่านั้น การศึกษาและการฝึกปรือ 3 ขั้นนี้

มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยส่งเสริมกันและกัน
เมื่อฝึกปรือครบทั้ง 3 ขั้น

จึงจะได้การศึกษาที่สมบูรณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลำดับขั้นตอนของการส่งผลต่อกันในการฝึกอบรมหรือปฏิบัติตาม

ไตรสิกขา อย่างที่พอจะมองเห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่ออยู่ร่วมกัน

ในหมู่หรือในสังคมโดยสงบเรียบร้อย ใจก็ไม่ต้องคอยหวาดระแวง

หรือ สะดุ้งสะท้านหวั่นไหว เมื่อไม่ได้ทำอะไรผิดใจก็สงบ

สบาย ใจสงบสบายก็พอจะใช้ความคิดพิจารณาทำความเข้าใจ

อะไรๆได้ หรือเมื่อไม่ได้ทำความผิด ก็มีความมั่นใจ

ในตนเอง จิตใจก็แน่วแน่ เมื่อจิตใจแน่วแน่ก็คิดอะไรๆได้

อย่างจริงจัง ความคิดก็พุ่งแล่นได้ผล หรือเมื่อประพฤติดี

เช่นเอื้อเฟื้อช่วยเหลือใครมา ใจก็ปลาบปลื้มมีความสุขหรือปลอดโปร่ง

ผ่องใส เมื่อใจโปร่งความคิดก็โล่งและฉับไว หรือเมื่อ

ไม่ได้มีเรื่องราวเบียดเบียนเป็นเวรภัยกับใคร ใจก็ไม่ขุ่นมัวไม่กระทบ

กระแทกติดขัด เมื่อใจไม่ขุ่นมัวไม่มีแง่มีงอน จะพิจารณา

เรื่องราวก็มองเห็นถูกต้องไม่เขวไม่ลำเอียง
ดังนี้เป็นต้น
..........

ศีล เพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

ศีล => สมาธิ =>ปัญญา=>วิมุตติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 10:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
ตามมาด้วยนะครับ.....โชคดีที่ตามมา ไม่งั้นคงไม่ได้ข้อมูลต่างๆดีๆไว้พิจารณา ขอบคุณครับท่านกรัชกาย
สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2008, 11:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน ครับยินดีต้อนรับครับ
แหล่งขุมทรัพย์เลยอะครับท่านอาจารย์กรัชกายเนี่ย... มาขุดกันเลย สู้ สู้ สู้ สู้
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 7:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศิษย์รัก กรุณาอย่ายออาจารย์ครับ อายหน้าแดง นำมาจากหนังสือพุทธธรรม

หน้า 600 ดังกล่าวก่อนหน้าแล้ว


ต่อไปถึงตรงที่สนใจใคร่รู้กันแล้วครับ พิจารณาดีดี..แย้งกับความเชื่อ

เดิมเราบ้างหรือไม่ นึกทบทวนคำว่า มรรค ในอริยสัจข้อที่ 4 ด้วย

1.ทุกข์ 2.สมุทัย 3.นิโรธ 4.มรรค เพราะอรรถเดียวกัน

สังเกตนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 7:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระบบของมัชฌิมาปฏิปทา


มีคำถามว่า เหตุใด การจัดลำดับองค์ธรรมในมรรค กับในไตรสิกขา จึงต่างกัน ?
เมื่อเป็นมรรค ระบบเริ่มด้วย1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ และลงท้ายด้วย 8. สัมมาสมาธิ

แต่เหตุใด เมื่อมาจัดเป็นไตรสิกขา จึงเอา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นหมวดปัญญา ไปต่อท้ายสัมมาสมาธิ กลายเป็นเริ่มต้นด้วยสัมมาวาจา ที่เป็นหมวดศีลแทน

(ยกที่ท่านกล่าวถึงมาแทรกให้ดูใกล้ๆ อีกครั้ง)

1. สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ--- 3. ปัญญา

3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5 . สัมมาอาชีวะ --- 1. ศีล

6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ --- 2. สมาธิ


1. อธิศีลสิกขา
-สัมมาวาจา
-สัมมากัมมันตะ
-สัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตตสิกขา
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
-สัมมาสมาธิ

3. อธิปัญญาสิกขา
- สัมมาทิฏฐิ
- สัมมาสังกัปปะ


ก่อนตอบคำถามนี้ ขอย้อนกลับทบทวนความเดิมเกี่ยวกับความต่อเนื่องระหว่าง นิโรธกับมรรค (แล้วจะนำมรรคที่ท่านอธิบายตรงนั้นมาให้พิจารณา เพื่อความเข้าใจมรรคโดยมุมกว้างทีหลัง) ว่า มรรคเกิดมีขึ้นโดยฐานเป็นวิธีการที่คนนำเอากฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของตน คือเป็นวิธีปฏิบัติของคนที่จะให้เกิดผลตามกระบวนการของธรรมชาติ หรือการใช้วิธีการของคนเพื่อให้เกิดผลตามกระบวนการของธรรมชาติ

มรรคเป็นจุดเริ่มต้นของการประยุกต์ความรู้ในกฏธรรมชาติมาสร้างเป็นวิธีปฏิบัติของคน เรียกได้ว่าเป็นขั้นต่อเชื่อมกลางระหว่างกระบวนการของธรรมชาติ กับวิธีการต่างๆทั้งหลายเท่าที่คนจะยักเยื้องขยายออกไปใช้ในต่างกิจต่างกรณี นับว่ามรรคเป็นหลักกลางในขั้นวิธีการของมนุษย์

ต่อจากมรรค ก็คือไตรสิกขานี่เอง ที่เป็นขั้นนำเอาเนื้อหากของมรรคไปใช้งานจริง โดยนำเอาองค์ประกอบทั้ง 8 ไปยักเยื้องจัดรูปเป็นกระบวนวิธีปฏิบัติมีขั้นตอนต่างๆ มีรายละเอียดข้อเน้นย้ำเด่นชัดแปลกๆกันไป สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของแต่ละระดับแต่ละกรณี ความแตกต่างข้อนี้นำไปสู่ความแตกต่างแห่งการจัดลำดับข้อธรรมระหว่างมรรค กับ ไตรสิกขา

ในฐานะที่เป็นหลักกลางในขั้นวิธีการ มรรคจึงยังเป็นระบบการปฏิบัติที่มุ่งในแง่เนื้อหา คือ มองแต่ลำพังตัวระบบเอง แจกแจงให้เห็นองค์ประกอบที่เป็นข้อย่อยของมันว่ามีอะไรบ้างตามเนื้อหาของมันเองแท้ๆ เหมือนแจกแจงรายการเครื่องมือที่จะใช้งาน หรือเหมือนกับมองดูถนนหนทางแล้วแยกแยะวิเคราะห์ออกดูว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ยังไม่พูดถึงว่าจะใช้งานมันอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 7:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในเมื่อลักษณะทั่วไปของมรรคเป็นเช่นนี้ การจัดลำดับองค์ธรรมภายในมรรคจึงเป็นการจัดลำดับตามความสำพันธ์ระหว่างส่วนประกอบเหล่านั้นเอง กล่าวคือ จัดลำดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของมรรค ซึ่งทำหน้าที่ของมันอยู่ภายในตัวบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม โดยนัย ภายในมรรค สัมมาทิฏฐิจึงเป็นข้อแรก ในฐานะเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งถ้าขาดเสียแล้ว องค์ประกอบข้ออื่นๆจะเกิดขึ้นไม่ได้ เปรียบเหมือนการเดินทาง จะต้องรู้ว่าทางไหนที่จะไป อย่างน้อยต้องรู้ว่าตั้งต้นที่ไหน ถ้ายังตั้งต้นไม่ได้ การเดินทางต่อๆไปก็ยังไม่อาจมีขึ้นได้ การเดินทางเป็นฉันใด ในการปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น เริ่มแรกทีเดียว จะต้องมีความเห็นมีความเข้าใจ หรืออย่างน้อยเชื่อถือถูกต้องตามแนวทางที่จะปฏิบัติเสียก่อนจึงจะดำริคิดการต่อไปแบละประพฤติปฏิบัติให้ถูกทางได้ การปฏิบัติธรรมจึงต้องอาศัยพื้นฐานความเข้าใจที่เป็นต้นทุนไว้ก่อน เมื่อสัมมาทิฏฐิเบิกช่องทางหรือตั้งต้นให้แล้ว องค์มรรคข้ออื่นๆ ก็เกิดตามได้เป็นลำดับไป

เมื่อเห็นอย่างไร เชื่ออย่างไร เข้าใจอย่างไร มีทัศนคติอย่างไร ก็ดำริหรือคิดการต่างๆอย่างนั้น เมื่อคิดถูก คิดคืบหน้าไป ก็เห็นจะแจ้งเข้าใจชัดยิ่งขึ้น คิดได้อย่างไรก็พูดไปได้อย่างนั้น เมื่อคิดคิดดี คิดชัด ก็พูดี พูดชัด คิดการได้อย่างไร แค่ไหน ก็จะทำอย่างนั้น และทำได้ แค่นั้น เมื่อได้แล้ว เอามาพูดสั่งการหรือปรึกษาหารือ ก็จะชักนำกำหนดและเกื้อกูลแก่การกระทำ

คิดการได้แค่ไหน พูดจาและกระทำการได้แนวทางใด มีขอบเขตแค่ไหน ก็ดำเนินวิธีหาเลี้ยงชีพไปแนวนั้นในขอบเขตนั้น เมื่อจะพูดจะทำการ จะดำเนินวิธีเลี้ยงชีพให้สำเร็จ ก็ต้องใช้ความพยายาม เมื่อพยายามจริงจังในเรื่องไหนให้ได้ผลดี ก็ต้องใช้สติให้มั่นสม่ำเสมอในเรื่องนั้น เมื่อสติคอยกำกับดีอยู่ จิตก็แน่วแน่มั่นคงไปในเรื่องนั้น ถ้าเริ่มด้วยความเห็นความเข้าใจ เชื่อถือ และทัศนคติที่ดีงามถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ ความคิดดี พูดดี ทำดี เป็นต้น ก็ดำเนินสืบต่อไป เป็นสัมมาทั้งหมด ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ก็คอยเสริมองค์ประกอบ เหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้นๆ ทุกขั้นทุกตอน*

ส่วนไตรสิกขา เป็นระบบปฏิบัติที่มุ่งในแง่การใช้งาน คือนำเอาองค์ประกอบทั้งหลายของมรรคออกมาจัดเป็นกระบวนวิธีปฏิบัติที่มีขั้นตอนต่างๆเพื่อใช้องค์เหล่านั้นให้สำเร็จผลอย่างเป็นงานเป็นการในชีวิตจริง เหมือนดังว่า ได้แจกแจงให้รู้แล้วว่าเครื่องมือที่จะต้องใช้มีอะไรบ้าง คราวนี้ก็มาจัดลำดับการใช้เครื่องมือเหล่านั้นว่า ในเวลาทำงานตอนไหนจะต้องใช้เครื่องมืออัน อย่างไร

………

* ดูทัศนะของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์มรรค ในวิภงฺค. อ.148-150
อนึ่ง เหตุผลในการจัดองค์มรรคเข้าในหมวดต่างๆที่ท่านกล่าวเป็นข้ออุปมาไว้ใน วิภงฺค. อ.117 และวิสุทธิ.3/103ก็อาจช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์มรรคได้ ท่านกล่าวเปรียบว่า เหมือน 3 สหายช่วยกันเก็บดอกจำปาที่ยืนคนเดียวเอื้อมมือเก็บไม่ถึง สัมมาวายามะ เหมือนสหายที่ก้มหลังเข้ามารองค้ำหนุนส่งเพื่อนให้ยืนสูงขึ้นไปจนพอ สัมมาสติ เหมือนเพื่อนที่เอาไหล่มาเคียงให้เหยียบยันหายโงนเงน สัมมาสมาธิ เหมือนเพื่อนที่ยืนบนหลังหายแรกยังโงนเงนอยู่เก็บดอกไม้ไม่ได้ พอได้ยันไหล่สหายคนที่สองก็ตั้งหลักได้มั่น ยืนแน่ว เก็บดอกไม้ตามชอบใจ ทำกิจได้สำเร็จ

สัมมาสังกัปปะ เหมือนนิ้วมือที่พลิกเหรียญไปมา ทำให้เหรัญญิกคือ สัมมาทิฏฐิ วินิจฉัยว่าเหรียญเก๊หรือเหรียญดี
หรือ สัมมาสังกัปปะเหมือนคนที่คอยจับท่อนซุงพลิก ทำให้ช่างถากคือ สัมมาทิฏฐิทำงานถากไม้ได้ตามต้องการ


(ปัจจุบันสถานการณ์โลกและสถานการณ์บ้านเมือง ไม่ปกติ พวกเราไม่พึง

ประมาทในสองสถานการณ์นี้)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ต.ค.2008, 9:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านกล่าวเปรียบว่า เหมือน 3 สหายช่วยกันเก็บดอกจำปาที่ยืนคนเดียวเอื้อมมือเก็บไม่ถึง

อ้างอิงจาก:
สัมมาวายามะ เหมือนสหายที่ก้มหลังเข้ามารองค้ำหนุนส่งเพื่อนให้ยืนสูงขึ้นไปจนพอ


แสดงว่า ความเพียรนี้สำคัญนักเป็นบาทเป็นฐานเลยเชียว

อ้างอิงจาก:
สัมมาสติ เหมือนเพื่อนที่เอาไหล่มาเคียงให้เหยียบยันหายโงนเงน


แสดงว่า สติทำให้เราไม่โยก แน่วแน่มั่นคงไปในทางแห่งนี้

อ้างอิงจาก:
สัมมาสมาธิ เหมือนเพื่อนที่ยืนบนหลังหายแรกยังโงนเงนอยู่เก็บดอกไม้ไม่ได้ พอได้ยันไหล่สหายคนที่สองก็ตั้งหลักได้มั่น ยืนแน่ว เก็บดอกไม้ตามชอบใจ ทำกิจได้สำเร็จ


แสดงว่า เมื่อสติเกิดต่อเนื่อง....สติ...สติ...สติ...ๆๆๆๆๆ...ก็เกิดสมาธิแน่วแน่ๆๆ.....กลายเป็นฌาณ มั่นคง มีกำลัง

สัมมาสังกัปปะ เหมือนนิ้วมือที่พลิกเหรียญไปมา ทำให้เหรัญญิกคือ สัมมาทิฏฐิ วินิจฉัยว่าเหรียญเก๊หรือเหรียญดี

หรือ สัมมาสังกัปปะเหมือนคนที่คอยจับท่อนซุงพลิก ทำให้ช่างถากคือ สัมมาทิฏฐิทำงานถากไม้ได้ตามต้องการ


สรุปตามประสาผมนะครับอาจารย์....ผมว่ามรรคทั้ง 8 ข้อ
ข้อ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ 3 ข้อนี้สำคัญนักแล
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2008, 9:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ อืมม์ อืมม์
มรรคมีองค์8 ขาดสิ่งใดไม่ได้เลย .... สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง