Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอบคุณมากๆ ครับ โมทนาในบุญมากๆ ครับท่านติ๊ด พระราม 3 กทม. อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 2:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้รับหนังสือแล้วครับ
หลวงปู่ฝากไว้
จิตส่งออกนอกเป็น สมุทัย
ผลเกิดจากจิตส่งออกนอกเป็น ทุกข์
จิตเห็นจิต เป็นมรรค
ผลจากจิตเห็นจิตเป็น นิโรธ
สุดยอดๆๆๆๆๆๆ โมทนาให้ดวงตาเห็นธรรม
ดังเช่นกับพุทธองค์ ตราบถึงมรรคผลเทอญ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
Puy
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 28 ก.ย. 2008
ตอบ: 15

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 2:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หนังสือเล่มนี้ละที่ทำให้ข้าพเจ้าใด้รู้จักกับวิปัสนาที่แท้จริงและค้นหาคำตอบของคำว่าดูจิต
"เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลยให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด
แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้รู้จากจิตของเรานั้นแหละจิตของเราสงบเราจะรู้เองต้องภาวนาให้มากๆเข้าเวลามันจะเป็นจะเป็นของมันเองความรู้อะไรๆให้มันออกจากจิตของเรา
ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั้นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งที่สุดให้มันรู้ออกจากจิตเองน้นแหละมันดีคือจิตมันสงบ"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
 

_________________
อยู่กับปัจจุบัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 3:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแบ่งบุญอนุโมทนาด้วยนะครับ

หลวงปู่ดูลย์พูดน้อย
ผมทึ่งที่ท่านไม่ต้องพูดศัพท์แสงอะไรให้มากมายซับซ้อนเลย แต่ได้ใจความอย่างยิ่ง
่พูดได้รัดกุมกินใจความครบถ้วนไม่คลาดเคลื่อนเลย

พระอรหันต์ผู้ปฏิบัติรู้แจ้งแก่ตัวท่านเองแล้ว
ย่อมยังพระสัทธรรมได้ไม่คลาดเคลื่อน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับทุกท่านๆ สาธุ ยิ้ม ซึ้ง
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
alpha349
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ก.ย. 2008
ตอบ: 21

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Puy พิมพ์ว่า:
หนังสือเล่มนี้ละที่ทำให้ข้าพเจ้าใด้รู้จักกับวิปัสนาที่แท้จริงและค้นหาคำตอบของคำว่าดูจิต
"เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลยให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด
แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้รู้จากจิตของเรานั้นแหละจิตของเราสงบเราจะรู้เองต้องภาวนาให้มากๆเข้าเวลามันจะเป็นจะเป็นของมันเองความรู้อะไรๆให้มันออกจากจิตของเรา
ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั้นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งที่สุดให้มันรู้ออกจากจิตเองน้นแหละมันดีคือจิตมันสงบ"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


อนุโมทนาด้วยครับ และจะพยายามปฏิบัติตามครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 9:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีๆๆครับสาธุทุกท่านๆ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ratchadapa
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2008, 8:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ ทีแรกดิฉันก็ไม่รู้จักท่านมากนักค่ะ

มาอ่านเจออริยสัจแห่งจิตของหลวงปู่ เหมือนฟ้าผ่าลงกลางใจ

หนึ่งไม่มีสองจริงๆ
 

_________________
พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ยิ้ม
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยคน นะจ๊ะ ซึ้ง
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไขข้อข้องใจในวิปัสสนา

ความแตกต่างระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา


การจะทำความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระว่างสมาธิกับวิปัสสนานั้นไม่ยาก
พุทธศาสนามีกิจให้เราทำอย่างไรบ้าง มีอยู่ ๒ อย่าง ได้แก่ คันถธุระ
กับวิปัสสนาธุระ


คันถธุระ หมายถึง ธุระที่เราจะต้องศึกษาเล่าเรียนความเป็นจริง
ศึกษาเล่าเรียนถึงหลักที่จะทำให้ชีวิตของเรานั้นเป็นไปในทางดี
ศึกษาเล่าเรียนถึงเหตุถึงผลนั่นเอง ว่าเมื่อสร้างเหตุอย่างไหน
จะได้รับผลอย่างไร ผลที่ปรากฏขึ้นมานี้มีเหตุมาจากไหน


วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระที่จะต้องทำตัวเองให้มีปัญญา
และหลักในการปฏิบัติในพุทธศาสนามี ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน กับ
วิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่ใช่การกระทำอย่างเดียวกัน


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น
ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ


ฉะนั้น สมาธิคือการที่จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์ๆ เดียว
จะหาอะไรมากำหนดก็ได้เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้น เช่น ภาวนาว่า
"พุทโธ" "สัมมาอรหัง" หรือกสิณมีถึง ๔๐ อย่างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้
จิตจะได้กำหนดอยู่กับสิ่งนั้น
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ
อานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา
สัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อม
ไม่มี ในอายตนะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการ
ไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง
อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.”
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเข้า ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน โดยมีกสิณใดเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณาว่า กสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี้
เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์
เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามี อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์
เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์
เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากิญจัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์
ทั้งนี้ต้องฝึกฝนอบรมจนเป็นวสี
สรุปความว่า การอบรมสมาธิเพื่อให้สามารถทำอภิญญาได้ดังที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๔ นัยนี้ ก็ประสงค์จะให้ฌานลาภีบุคคลนั้น มีความชำนิชำนาญในกระบวนการเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ให้เข้าฌานได้แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้มีอำนาจจนสามารถให้รูปาวจรปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้นตามความปรารถนา การฝึกฝนอบรมสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภีบุคคลจะมีวิธีอื่นใดเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑. เริ่มต้นที่อริยาบทที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และรู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัวอย่างเดียว

รักษาจิตเช่นนี้ไปเรื่อยๆ "ให้รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆจนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

จากนั้นค่อยๆรักษาจิตให้อยู่ในภาวะรู้กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดี จิตก็แล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้ว ก็พิจารณารักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดในพฤติแห่งจิต โดยไม่ต้องปรึกษาใคร (ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆไป)

ในกรณีที่ไม่สามรถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆแล้วสังเกตุดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหล่ะ คือฐานแห่งจิต พึงสังเกตุว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงถึง พุทโธ ปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก

ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่า ได้กำหนดถูกฐานจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อได จิตจะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆนึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ "เจตจำนงนี้ คือ ศีล" การบริกรรม พุทโธ เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตครั้ง ต่อๆไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

ดังนั้นในการนึก พุทโธ การเพ่งเล่ง สอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า "มีลักษณะการ ประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟัดลงมา บุรุษนั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใด จึงจะพ้นอันตราย" เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้เกิดขึ้นได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย

เมื่อจิตค่อยๆหยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อยๆลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ประเดี่ยวประด๋าว ก็จะรู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ มื่จิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึก และ"พฤติแห่งจิต"ที่ฐานนั้นๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตเป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณอะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประครองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆก็จะเข้าใจในกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้ง ๓ คือ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง ไม่รู้จริง)

๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ใหตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะ(ความรู้ตัว)อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลาย อย่าไปสนใจกับมัน)
ระวังจิตอย่าให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตความหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดังตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆได้แล้ว จิตจะค่อยๆรู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆดับไป เรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างห่างจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั้นเอง การเห็นนี้ เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ
"คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด"

๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดู จิต ต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด(จิต)อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ"พฤติแห่งจิต" ได้อย่างละเอียดละออ ตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เองไปปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตจะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆจนหมด หมายถึง เจริญจิตจนสามารถเพิกถอนรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญาณ นั่นเอง

๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฏเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใดๆทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งครองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆครอบงำอำพรางทั้งสิ้น "เรียกว่าสมุจเฉทธรรมทั้งปวง"

๗.ใช้หนี้-ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ที่ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราว หมดพันธะผูกพันธ์ที่จะต้องมาเกิดใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุที่ต้องให้เกิดอีก ไม่อาจส่งผลต่อไปได้ เรียกว่า"พ้นเหตุเกิด"

๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรม นั่นแหล่ะมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก"พฤติ"ต่างๆแล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้น ไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆสิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

โดยปกติ คำสอนธรรมของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่การบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝื่อหรือฟุ้มเฟื่อยมากนัก เพราะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง อยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า"พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า"ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญอย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ

เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆไป เพราะมีการไส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต"อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาร์อาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาในภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน"มรรคจิตเท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆนานาเลย


"การเจริญจิตให้เข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรม พร้อมทั้งทวารทั้ง ๓ คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้
=อเหตุจิต ๓ ประการ=

๑.ปัญจทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตามอายตนะทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้

ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
หู ไปกระทบกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ไม่ได้ยินเสียงไม่ได้
จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้
ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได
กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้
วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามไม่ให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดในทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ (ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น
ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

๒ มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ในมโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความนึกคิดต่างๆนานา คอยรับรู้เหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่ว ก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆกรณีย่อมไม่ได้ ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็กำหนดรู้ว่า จิต คิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความคิดเห็นใดๆทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ใหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

๓ หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี
สำหรับ อเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ ควรพิจารณา อเหตุจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญธรรม

อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจ ใน อเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

อเหตุจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะการรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง ...
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง