Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฝึกอยู่เมืองนอกคนเดียว ต้องการให้ผู้รู้ช่วยค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ratanamanee
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ต.ค. 2008
ตอบ: 13

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณเลวานา

ดิฉันเองก็เคยฝึกแบบที่คุณแม่สิริสอน จริงๆ แล้วครูบาอาจารย์ท่านก้เป็นผู้ชี้ทาง ที่สำคัญเราจำหลักใหญ่ แล้วมาปฏิบัติต่อ ด้วยความเพียร ดิฉันเองก็ฝึกอยู่ที่บ้าน ใช้สติ (รู้ตัวทั่วพร้อม) เป็นหลัก พอมาได้อ่านหนังสือใบไม้กำมือเดียว ของอ.ศุภวรรณ (ที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ ไอสไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ) แล้วรู้สึกว่าท่านสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้ (ท่านสอนเก่งมาก มีการยกตัวอย่าง เรียกว่าเรื่องขันธ์ห้า รูป-นาม เข้าใจกันแจ่มแจ้งเลย) คุณลองเข้าไปดูในwww.supawangreen.in.th ท่านสอนคล้ายๆ อ.ปราโมทย์ (สวนสันติธรรม) หากมีปัญหาในการปฏิบัติ หรือแม้ปัญหาชีวิต ก็ถามท่านทางเว็บได้
หากคุณมีกลุ่ม ประมาณสิบคน เชิญท่านไปสอนที่ออสเตรเลียได้ ท่านไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย ขอให้จัดที่พัก และช่วยกันออกค่าเดินทางให้ท่าน ดังที่ มีการจัดที่ประเทศเยอรมัน (2008) และปีหน้าท่านก็จะไปสอนที่เยอรมันและฝรั่งเศส ตอนนี้ท่านสอนที่เมืองไทย ดูรายละเอียดในเว็บ ดีกว่าค่ะ

ขอให้เจริญในธรรมนะคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 9:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ได้ ยินชื่อ มานานแล้ว ไม่เคยไปร่วม งานจริง ซักที สงสัย บุญ น้อย
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 9:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิวรณ์ เกิดกับจิตทั้งวัน ให้ตามรู้ตามดู วิปัสสนาเริ่มต้นให้ทำง่ายๆจากวิปัสสนาอนุบาลก่อน ทำให้ผ่านใน1นาที และเพิ่มขึ้นไปเรือยๆ การทำดีไม่ยากดอก ยากเพราะจิตไปติดอารมณ์ และสร้างอารมณ์ร่วมก็แค่นั้น อินทรีย์ทั้งห้า เจริญให้มาก ขันธ์ทั้งห้าดูให้หนัก

" ชัชวาล ญานคือความรู้แจ้ง วิปัสสนาคือปัญญาที่เข้าไปเห็นความจริงแท้ ขอให้สำรวมกาย วาจา และใจ ให้มั่น เพื่อระลึกสติอยู่เสมอ สมาธิจะช่วยได้มาก เหนื่อยนักก็พักบ้าง
อย่าตึงเครียด อย่าให้นิวรณ์มาครอบงำจิต กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้นที่ให้พิจารณา" ผมคิดในใจว่าแล้วณานมันเป็นอย่างไรนะ

" ณาน เป็นการเพ่งจิต พิจารณาอย่างจดจ่อ ในอารมณ์อย่างเดียวจนสงบ มีปฐมณาน ทุติยณาน ตติยณาน ได้ไปถึงณาน4ก็วาสนาบารมีเดิม แต่ต่อให้ละเอียดขนาดไหนออกมาก็ไม่สิ้นทุกข์ดอก ชัชวาล" ผมมองหลวงพ่อ แบบทึ่งๆ ในการที่หยั่งดูจิตของผม ขอลองของอีกที ผมใช้จิตเพ่งไปที่หลวงพ่อต่อ แล้วสมาธิละครับ

" สมาธิ" แค่หลวงพ่อพูดผมก็ขนลุกแล้ว เจอของจริงละทีนี้
" สมาธิ มีความหมายมากกว่าณานนะ สมาธิ เป็นความสงบทางใจขั้นต่ำชั่วขณะหนึ่งไปจนสูงที่สุด คือขณิกสมาธิ สงบนิดหน่อย อุปจารสมาธิ สงบจนใกล้ณานแล้ว อัปปนาสมาธิ สงบแบบแน่วแน่กลายเป็นณานไปแล้ว

เมื่อพิจารณาเพื่อหยั่งจิตดูในความละเอียดต่อ สมาธิจะเริ่มเข้าสู่ สุญญตสมาธิ คือว่างโปร่ง โล่งจนหาที่สุดไม่ได้ ชัชวาลเคยทำมาก่อนนิ อนุโมทนานะ" ผมเคยทำได้ช่วงแรกๆ หลวงพ่อก็รู้ด้วยแฮะ ชักจะหนาวๆไงชอบกล

" เมื่อสมาธิลึกลงไปอีก จะเป็นอนนิมิตตสมาธิ จะเกิดความสงบอย่างหาที่สุดไม่ได้ เรียกว่าหาอารมณ์ปรุงแต่งไม่ได้เลย
และสมาธิตัวสุดท้าย ที่ในปัจจุบันหาคนทำได้ยากมากที่สุดคือ อัปปนิหิตสมาธิ ทุกอย่างจะมารวมตัวกันในฐานนี้ สมาธินี้มีได้แต่คนบางคน สงบที่เรียกว่าหาความสงบอย่างนี้ไม่มี
ทั้งไม่มีที่ตั้ง และไม่รู้จะตั้งอยู่ตรงไหน" หลวงพ่อพูดยิ้มๆ และหันมาถามผมว่า

" ชัชวาลอยากได้ไม๊ลึกขนาดนี้นะ แต่ต้องบวชกับหลวงพ่อตลอดชีวิตนะ จะสอนให้" หลวงพ่อพูดเสร็จ พระในโบสถ์ สิบกว่ารูปก็หัวเราะกันใหญ่ ผมก็อดหัวเราะไม่ได้
" เอาไว้ก่อนครับหลวงพ่อ กลัวใจเลย เดี๋ยวไม่สึกขึ้นมา หลวงพ่อจะปวดหัวนะครับ" หลวงพ่อยิ้มน้อยๆเหมือนเคย

หลวงพ่อเจ้าอาวาสมักจะมานำสวดมนต์ตลอด และหลังจากนั้นก็จะอบรมณ์ธรรมให้อยู่เสมอ ช่วงนี้มีพระเข้าพรรษามาอยู่สิบกว่ารูป หน้าที่ปลุกพระ ก็ชัชวาลเหมือนเดิมตี4 แต่วันนึงระฆังมันดังเองตอนตี2 ใครหนอจะมาปลุกพระทั้งวัดตอนตี2 และนี่เล่นตีกระหน่ำซัมเมอร์เซล รัวไม่ยั้งเลย

จนต้องเดินออกมาจากโบสถ์มาดูที่ศาลาที่ทางบ้านได้สร้างถวายไว้ ก็ปรากฏว่า ทั้งมืดและไม่มีผู้ใด๋ อยู่ที่บริเวรนั้นเลย แว๊ก พระก็กลัวผีนะ ผมต้องรีบจ้ำกลับไปที่โบสถ์ อู๊ย วัดป่าวัดดอย มีอะไรแปลกๆจริงน้อ ขอตัวทานข้าวกลางวันก่อนเดี๋ยวมานะครับ


ภาค 1

http://larndham.net/index.php?showtopic=27891&st=52
________________________________________
Kamen rider
02-02-2008, 02:36 PM
" อ้องไม่ห่วงกายเนื้อเหรอ ออกมานานๆจะมีปัญหาไม๊" เทพติ๊กถามผมด้วยความเป็นห่วงกลัวผมจะกลับเข้าร่างไม่ได้ ถ้าครั้งแรกที่เข้าร่างไม่ได้ตอนนั้นนะบอกตรงๆ ว่าต๊กกะจาย หัวใจหล่นตุ๊บไปที่ตาตุ่ม นึกอย่างเดียวว่า เรียบร้อย ซี้ม่องเท่ง แต่ตอนนี้เป็นผู้ชำนาญ

เข้าไม่ได้นึกถึงคุณพระพุทธ แป๊บเดียวก็เข้าช่องโพลงเดิม กายมันเป็นคูหาของจิต จิตมันยึดกายเพราะตัณหาเป็นสายใยผูกติด ไปไหนไม่ต้องกลัวหรอกมันกลับของมันเอง ก็บ้านมันนั้นแหละ ยังลื้อไม่เป็น

." ติ๊ก อ้องบอกตรงๆนะ มีแต่คำถาม เพราะอ้องไม่ได้เป็นเทพยดา และติ๊กก็ไม่ต้องสนใจถังส้วม(กาย) ของอ้องหรอก ปล่อยให้มันนอนในห้องแหละดีแล้ว

การออกมาของอทิสมานกายมีอยู่สามอย่างที่อ้องรู้นะ เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่ ออกด้วยอำนาจของพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆ์คุณ ท่านผลักออกตอนอ้องใช้คาถาชินบัญชรแบบไม่รู้ตัว ออกอย่างที่สอง ตรงอุปปจารสมาธิ เหมือนมโนใจ เราส่องกระจกตรงหน้า

เห็นตัวตนอีกคนของเราแล้วเนรมิตด้วยการนึกน้อมให้มีสติออกไปปรากฏ จิตที่มีกำลังด้วยสติที่รวมแต่ละขณะในอุปจารสมาธิ จะไปรวมตัวด้วยการนึกน้อมและปรากฏโดยทิ้งสัญญาที่รูปกายเนื้อ ไปทำสัญญาที่นอกกาย แต่ตรงนี้ไปไม่นาน ไปไม่ไกล

ที่อ้องกำลังคุยกับติ๊กอ้องใช้กำลังของฌานออกมา จริงๆวิธีในตำรามีหลายวิธี
แต่อ้องมัน โน้มเข้าหาสติ พอดูกำลังของฌานตัวเองมันก็ลุกออกมาเหมือนลุกแบบปกตินั้นแหละ แต่ตรงนี้ จะนานกี่วันก็ไม่ต้องห่วงกายมันหรอกติ๊ก

อำนาจของฌานจะรักษากาย ส่วนอทิสมานกายเนี่ยที่ออกมาจะมีกำลังมาก คุยไปนะอย่าพึ่งรีบกลับหละ" เทพติ๊กพยักหน้า ก็ได้

" ติ๊ก ถามตรงประเด็นก่อน สวรรค์อยู่ตรงไหน ติ๊กมีตาของเทพ ติ๊กมองเห็นมนุษย์
ไม่เหมือนมนุษย์มองกันแน่คือเห็นแต่กายเนื้อ รัศมีของมนุษย์และเทพก็แตกกต่าง ที่อ้องเห็นของติ๊ก รัศมีของแสงกับประกอบด้วยสีสรรหลายอย่าง และรูปวงของแสงก็ไม่เหมือนกัน

ที่สำคัญนะติ๊ก อ้องเคยเห็นด้วยตาเนื้อ รัศมีของเทพที่สถิตย์ที่องค์พระประธาน มีสีสรรที่แตกต่างกัน ตามนุษย์มองเห็นแสงก็คือความสว่าง แต่อ้องที่สัมผัสมา รัศมีกลับเป็นประกายเป็นรูปแสงแบบแท่งๆคล้ายรูปดวงดาวก็มี คล้ายเม็ดๆแหลมๆเรียวๆก็มี เป็นสีรุ้งประกายประกอบไปด้วยเม็ดแสงที่แตกต่างกันก็มี

ที่สัมคัญนะติ๊ก เรื่องสีนี่สงสัยที่สุด สีที่ออกมาจากกายมนุษย์ตรึมและประกอบกับความหม่นหมองของสี ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด อยู่ทีคุณธรรมของจิต แต่ของปวงเทพสีก็เหมือนมนุษย์แต่สีไม่เยอะ ที่สำคัญสีเหมือนกับเป็นสีนวลเป็นประกาย

อ้องเชื่อนะว่าปวงเทพนะมองมนุษย์ด้วยลักษณะของรัศมีและสีสรร นี่คือ นิสัยของมนุษย์แต่ละคนที่แสดงออกมาเลย ปิดบังท่านไม่ได้หรอกเพราะท่านไม่ได้มองที่กายเนื้อ
ท่านมีตาทิพย์ ต่างจากมนุษย์ ที่จะรู้กันว่าคนนี้มีนิสัยอย่างไรต้องอยู่ใกล้ชิดกัน"

เทพติ๊กมองผมแบบแปลกๆ จอมสังเกตในรายละเอียด กำลังจะอ้าปากอธิบาย ผมก็ยกมือห้ามต่อเพราะยังมีคำถามอีกเยอะเดี๋ยวลืม

" มีอีกอย่าพึ่งตอบ ถามต่ออีก สสารวัตถุนะประกอบไปด้วยพลังงาน ธาตุต่างๆประกอบไปด้วยอะตอมหรือปรมาณู เช่นธาตุอ๊อกซิเย็นก็มีหนึ่งปรมาณู ธาตุของไฮรโดรเย็นก็มีหนึ่งปรมาณู สสารและพลังงานเมื่อมีการสั่นสะเทือนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

อ้องเชื่อว่าเป็นอินทรีย์ธาตุ จิตก็เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เมื่ออ้องทำสมาธิจะเกิดพลังงานชนิดหนึ่งเมื่อจิตรวมตัวแม้แต่สมาธิที่เกิดขึ้นจะรู้สึกว่ามีกำลังทางกายและใจอยู่ภายในของมัน

การสั่นสะเทือนของจิตมีตั้งแต่อย่างหยาบไปจนละเอียด อ้องขอใช้ว่าการสั่นสะเทือนของจิตนะ เพราะเกิดผัสสะไปกระทบกันที่ทวารต่างๆในทาศาสนาเพราะถ้าเอาในเชิงวิทยาศาสตร์มาแทรกจะยิ่งงงไปใหญ่

จิตที่ไปรับรู้อารมณ์จะเกิดเป็นรูปแบบพลังงานชนิดหนึ่งออกมา คือแสง สี ความหยาบ อย่างกลาง และละเอียด ของแสง สี รวมทั้งรูปวงของแสง ตรงนี้ประหลาดที่สุด

อ้องเชื่อว่าติ๊กให้คำตอบอ้องได้แน่ และอ้องก็อยากรู้ว่ารัศมีของพระประทานเทพองค์นั้นจัดเป็นเทพลักษณะใด เพราะติ๊กก็ปิดอ้องพวกรู้มากไม่ได้หรอก รัศมีของติ๊กมีสีนำเงินประกอบออกมาด้วยแม้จะไม่บริสุทธ์มาก แต่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงเทพปัญญา

บอกมาให้หมดห้ามอุ๊บอิ๊บนะหมูอ้วน ไม่งั้นถ้าอ้องตายและถ้าผุดเป็นเทพได้ละก็ถ้าสูงกว่านะ อ้องจะขอเทพผู้ใหญ่เอาติ๊กมาเป็นบริวาร เข้าใจนะ" เทพติ๊กหัวเราะพร้อมผม

" อ้องไอ้นิสัยจอมขู่นี่ ไม่ยอมหายเลยนะ ถ้าถามว่าติ๊กอยู่สวรรค์มานานหรือยัง ติ๊กว่าก็นานโขอยู่ เพราะเวลาผ่านไปช้ามาก ยังไม่ถึงวันเลย คนที่ไม่เข้าใจจริงๆ มาเทียบว่า
อยู่นรกนานและช้ากว่าสวรรค์ สวรรค์เพลิดเพลินจะรู้สึกเร็ว ตรงนี้ขอบอกว่าไม่จริง

ในพระไตรปิฏกอธิบายระยะเวลาที่แน่ชัดอยู่ ถ้าเอาความรู้สึกของมนุษย์มาเป็นเครื่องวัดละก็ผิดหมด

อ้องกะติ๊กเป็นเพื่อนกันไม่ได้เป็นชาติเดียว ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเยอะมาก สภาวะจิตที่ใกล้กันและเคยสร้างคุณธรรมมาคล้ายกัน ปัญญาเลยมาใกล้กัน นิสัยเลยคล้ายกัน ธาตุที่อยู่ภายใน พลังงาน สสาร จิต คุณธรรม อินทรีย์๕ ต่างก็บำเพ็ญมาอย่างยาวนาน

ทุกคนในโลกที่มาทางธรรม ที่เข้าใจในธรรม เดินทางที่ถูกต้อง มีน้อยแสนน้อย หาได้ยาก คนที่เข้าใจในธรรม จะมีศีลที่ปกติ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้วเรียกว่ายอมตายไม่ยอมผิดศีลทีเดียว

เรื่องสวรรค์อยู่ตรงไหน ติ๊กขออธิบายนิดหน่อย สสารและวัตถุต่างๆมีสิ่งหนึ่งที่เป็นช่องว่างแทรกเอาไว้อยู่ ปรมาณูของสสารและวัตถุธาตุจะเป็นลักษณะของการเหลื่อมๆกันเป็นลักษณะของมิติที่ซ้อน ถ้าถามติ๊กเรื่องของสวรรค์ มนุษย์เข้าใจเป็นชั้นๆสูงขึ้นไป

แต่ปวงเทพนะท่านเห็นว่าเป็นมิติที่เหลื่อมซ้อนๆกัน ไม่ได้อยู่สูงกว่า อ้องลองนึกดูนะ ถ้าอ้องอยู่คอนโดที่เป็นชั้นๆแล้วสูงๆ ปรากฏว่าในชั้นที่สอง มีพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ชั้นสอง

อ้องจะยืนเดินนั่งนอนอย่างเป็นสุขไม๊ แล้วที่อ้องถามว่าสวรรค์อยู่ตรงไหนนะ มันก็เป็นมิติที่ซ้อนกับโลกนี่แหละ เป็นภพภูม เป็นโลก มิติของเวลาก็เลยแตกต่างกัน เหมือนอินทรีย์ธาตุยิ่งละเอียด ก็ยิ่งแทรกเข้าไปหาในภพที่ละเอียด

สิ่งนี้เราเรียกว่าผลของจิตที่เสวยกุศล ไม่ว่าอบายภูมก็ซ้อนอยู่กับมิติของโลกเป็นการเสวยกรรมที่เป็นจิตที่หยาบ มนุษย์มีมุมมองของมนุษย์ว่าการตกนรกไม่ต่างกับพวกที่ติดคุกและรับใช้กรรมเหมือนคุกบนโลก เป็นการลงโทษ และทรมานให้สาสม

ตรงนี้ผิดนะอ้อง ถ้าเลือกได้ ยมบาล และผู้คุมท่านไม่อยากทำเลย แต่จิตของสัตว์ที่เสวยกรรมอันแสบร้อนนะ เป็นการที่ตัวเค้าลงโทษตัวเองด้วยเพราะความไม่รู้ พระพุทธองค์ท่านเรียกว่า อวิชชา ความทุกข์มีอยู่ทุกข์ภพ

ถ้าใจยังข้องอยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มีอำนาจเหนือใจ ทุกข์จะมากสุดไปหาน้อยที่สุดอยู่ที่ภพภูม อยู่ที่อินทรีย์ในใจของสัตว์ทั้งหลาย" ผมสาธุเพื่อนที่ให้ความกระจ่าง

ขอส่งงานให้ก่อนครับหลายวันแล้ว มาอ่านเรื่องแสง สี รัศมี วงรูปแห่งรัศมี ที่สำคัญ เจ้าเพื่อนผมเคยมาอนุโมทนาพระอริยบุคคล ที่ท่านได้ พระโสดา อยู่สองครั้ง
ทำไมถึงรู้แล้วทำไมมาอนุโมทนากันเยอะมากเพราะอะไร ทำไมติ๊กถึงบอกอ้องว่า

ภาค 2
เคล็ดปฏิบัติสมาธิ
โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

วัดอรัญญบรรพต
ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


นั่งสมาธิพึงพากันตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิดนึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำหนดลงเอาปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว ชีวิตนี้จะอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบันๆ นี้เท่านั้น ให้กำหนดจำกัดลงเลย เพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะชีวิต แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำนึงหามัน การงานอะไรที่ทำล่วงมาแล้ว ผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไปคำนึงหามัน

เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้เตือนตนอย่างนี้ เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ก็อยากคิด อยากรู้นั้น รู้นี้ เห็นนั่น เห็นนี้ ก่อนคือพยายามตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้กำหนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออกเท่านี้ก่อน เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ

คำว่าพักผ่อน คือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่างๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ต้องกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำหนดรู้อยู่แต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น เอาปัจจุบันนี้เป็นหลักเลย ชีวิตนี้ก็ให้กำหนดว่ามีอยู่แค่ปัจจุบันๆ นี้ เท่านั้นแหละ

ในเบื้องต้นเราก็รู้ไม่ได้ว่าจะไปถึงไหน เบื้องหลังมันก็ล่วงมาแล้ว ดังนั้น เราต้องกำหนดรู้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้นเอง คือการทำสมาธินี่ สำคัญอยู่ที่สตินั้นแหละ ขอให้ได้พากันจำเอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปในจิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น จิตนี้ที่มันตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ก็เพราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้น จะระลึกออกไปทางอื่นห่างออกไปจากจิต เมื่อจิตนี้ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์อย่างอื่น คิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็นอย่างนั้น แต่จิตนี้น่ะ ถ้าสติเป็นเครื่องสอนอยู่แล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ที่มันอยากคิดอะไรมาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้ทันแล้วก็หยุด

ขอให้สติมันเข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจเข้าก็กำหนดรู้ หายใจออกก็กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันนั้นเลยอย่างนั้น ไม่ได้รู้สิ่งอื่นๆ ใดทั้งหมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิดแสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำมืดๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ สว่างเข้าไปภายในจะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย อันนี้ก็เหมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถที่จะกำหนดตั้งสติแล้วเพ่งตามลมหายใจเข้าออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่ภายในร่างกายได้ยิ่งดีเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ ตามลมหายใจเข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและก็มองเห็น

ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ก็ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้น รู้อยู่ตรงไหน สติก็ให้หยั่งเข้าไปถึงนั่น ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมื่อจิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้นเองแหละ จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่าอย่างนั้นแหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนี้จะเบิกบานผ่องแผ้ว ไม่มีกังวลใดๆ อิ่มอยู่ภายใน ไม่ปรารถนาอยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้ว ทีนี้ถ้าจิตมันคลายอารมณ์เก่าออกไปได้ ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละเข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ

อันเมื่อจิตนี้ไม่มีโอกาสจะได้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ แล้วมันก็คลายทิ้งไปหมด อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มีที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำหนดรู้แต่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ มันจะค่อยเบาไปๆ หมดไปโดยลำดับ เพราะว่าจิตเราไม่ส่งเสริมมันแล้วนี่ จิตเรามาจ้องอยู่เฉพาะแต่ลมนี้ จิตนี้ไม่ส่งเสริมความคิดเสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำหนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป

จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก มันสำคัญ เรื่องสมาธินี่สำคัญมากทีเดียว เรื่องปัญหานั้นมันเกิดจากสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจะทำสมาธิให้บังเกิดได้ ปัญญามันก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนาม ในรูป ไม่ปรารถนารู้อย่างอื่น

ในการปฏิบัติสมาธิแรกๆ อย่าไปสงสัยคลางแคลงใจว่า เอ๊ะ !! ทำไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำไมใจจึงไม่สงบ ? กำหนดลมหายใจก็กำหนดแล้ว มันก็ยังไม่สงบอย่างนี้ อย่าไปสงสัย ให้นึกว่าเราทำยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำยังไม่มากพอ คือว่าเรายังกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ยังไม่พอ เราจะต้องทำอีก
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 9 ญาณ 16
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


ณ โอกาสบัดนี้ อาตมาภาพจะได้แสดงพระธรรมเทศนา ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ คือเรื่องญาณ 16 เพื่อให้คณาจารย์ นิสิต และญาติโยมทั้งหลายได้มีโอกาสฟัง เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลังจากที่บรรดานิสิตทั้งหลายได้มาเข้าอบรมปฏิบัติกรรมฐานตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2534 เป็นต้น แล้วก็มาสิ้นสุดวันนี้ 8 ตุลาคม 2534 ก็ถือโอกาสบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่อง ญาณ 16 คือ ลำดับขั้นตอนของวิปัสสนาที่จะเกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไร ตั้งแต่ญาณที่ 1 ไป จนกระทั่งถึงญาณที่ 16 ตั้งแต่โลกิยะขึ้นไปจนถึงโลกุตตระ ถึงขั้นละกิเลสเป็นสมุจเฉท เป็นไปอย่างไร ก็จะนำมาแสดงพอสังเขป พอเข้าใจ ตามเวลาที่กำหนดให้

หลังจากผู้มีศรัทธาต่อการประพฤติปฏิบัติกรรมฐาน ได้ลงมือประพฤติปฏิบัติเจริญวิปัสสนา คือตั้งสติกำหนดรู้รูปนามที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทุกขณะ ได้เจริญสติกำหนดให้เป็นไปโดยติดต่อกัน มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ พิจารณากาย อย่างเช่น ลมหายใจเข้า หายใจออก อิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถต่างๆ ทั้งหมด การก้ม การเงย การคู้เหยียด เคลื่อนไหว กำหนดเวทนา การเสวยอารมณ์ สบายกาย ไม่สบายกาย ดีใจ เสียใจ เฉยๆ กำหนดจิตที่ขณะคิดนึกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ก็กำหนดที่สภาพจิตใจ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้สัมผัส จิตคิดนึก มีสติรู้เท่าทันจิต และกำหนดรู้ถึงสภาวธรรมในจิตใจที่ปรุงแต่งจิตใจ เช่น ความพอใจ ไม่พอใจ สงบ ไม่สงบ สภาวธรรมที่ปรุงแต่งในจิตใจต่างๆ มีความเป็นปกติไม่บังคับ มีสติรู้เท่าทันรูปนามที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบัน ชั่วขณะแวบเดียวๆ ขณะเห็นนิดหนึ่ง ขณะได้ยิน ขณะรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก มีความติดต่อกันอยู่ก็เกิดวิปัสสนาญาณขึ้น

ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง รูปธรรมนามธรรม คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่าการเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้วก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม เห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็อย่างหนึ่ง เห็นนามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถแยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกันไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติ ที่มากระทบแล้วก็สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้

ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออกกระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจก็อย่างหนึ่ง เห็นตัวที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไปก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2

ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป

รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่างรูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหูซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อนอ่อนแข็งอ่อนตึง เป็นรูปมากระทบกายก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียรดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3

ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชาไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญาความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4

ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพยญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส คือกิเลสที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือทำให้วิปัสสนาไม่เจริญขึ้น จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดชะงัก ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นหลงติดอยู่ในวิปํสสนูปกิเลสเหล่านั้น วิปัสสนาก็ไม่เจริญขึ้น ทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ก้าวหน้า อยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำความเข้าใจว่า เมื่อถึงขณะนั้นแล้วมันจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้รู้ทัน วิปัสสนูปกิเลสนี้ที่จริงมันก็เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ปิติ ความสุข ความสงบ เป็นธรรมฝ่ายดี แต่มันเสียตรงที่ว่าเกิดความไปยินดีพอใจติดใจในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามีนิกันตความไปพอใจ วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญ วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดมี 10 ประการนั้น

ประการที่ 1 ก็คือ โอภาส โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้นจะรู้สึกเกิดความพอใจกับสิ่งอัศจรรย์ในใจที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดีพอใจ เมื่อเกิดความยินดีพอใจรูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็นรูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ

ประการที่ 2 เกิดญาณะ ญาณะก็คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิดจะนึกจะพิจารณาอะไรมันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า

ประการที่ 3 ก็คือ ปีติ ได้แก่ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจปิติอิ่มเอิบอย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ

ประการที่ 4 เกิดปัสสัทธิ คือความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจเกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความยินดีพอใจเป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้นถ้ารู้ไม่ทัน พอเกิดแล้ว การเห็นรูปนามก็ไม่เห็น ไปติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้

ประการที่ 5 เกิดสุขะ สุขะคือความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจในความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้

ประการที่ 6 เกิดอธิโมกข์ คือตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมาก เชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนามอีกเหมือนกัน

ประการที่ 7 เกิดปัคคหะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น

ประการที่ 8 เกิดอุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกินที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดีเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้

ประการที่ 9 เกิดอุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจในความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้

ประการที่ 10 นิกันติ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ก้าวหน้าเพราะไปติดอยู่แค่นั้น

วิธีที่จะผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปจะทำอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความแยบคายในการพิจารณาถึงลักษณะความยินดีพอใจที่เกิดขึ้น สังเกตให้ออกว่าขณะนี้เกิดความพอใจ เช่นเกิดความสงบ มีความรู้สึกพอใจในความสงบอยู่ ก็ให้รู้ทันว่า นี่ลักษณะของความพอใจ เกิดปีติ และเกิดความพอใจในปีติก็รู้ว่านี่พอใจๆ เกิดสติ เกิดปัญญา แล้วพอใจ ก็รู้เท่าทันความพอใจ ถ้าเกิดการที่เข้าไปรู้เท่าทันลักษณะของความพอใจได้ ความพอใจนั้นก็จะหลบหน้าไป ก็กลับเป็นปกติขึ้นก็จะก้าวขึ้นสู่อุทัพพยญาณอย่างแก่ คือ

ญาณที่ 4 อย่างแก่ ในญาณที่ 4 อย่างแก่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนาม มีความบริสุทธิ์ของการเห็น เห็นรูปเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กำหนดไปตรงไหนเห็นแต่ความเกิดดับไปหมด เสียงดังมากระทบหูได้ยิน กำหนดรู้ก็เห็นมันเกิดดับไปเลย ใจที่คิดนึกกำหนดรู้เห็นความเกิดดับไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกำหนดรู้ถึงความเกิดดับไปทันที ไม่ว่าจะอารมณ์ส่วนไหนก็ตามที่ปรากฏอยู่ เห็นความเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว นี่เป็นญาณที่ 4 จากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูปนามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ 5

ญาณที่ 5 เรียกว่า ภังคญาณ ในภังคญาณนี้จะเห็นแต่ฝ่ายดับ เห็นรูปนามนั้นดับไป ดับไปด้วยความเร็วเพราะรูปนามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้าเข้าไปทันกับรูปนามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ในตรอกมองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ 5 เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 6

ญาณที่ 6 เรียกว่า ภยญาณ จะเห็นรูปนามที่มันดับไปนั้นแต่เกิด ความรู้สึกขึ้นในใจว่าเป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงไหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูปนามที่ประกอบเป็นชีวิตเป็นอัตภาพเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูปนาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับ ต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย

ญาณที่ 7 อาทีนวญาณ ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก

ญาณที่ 8 คือ นิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อรูปนามเป็นภัยเป็นโทษมันก็รู้สึกเบื่อหน่ายไม่ได้ติดใจเลยในรูปนามนี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมากๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 9

ญาณที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ในกองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 10

ญาณที่ 10 ปฏิสังขาญาณ ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ก็หาทางที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 11

ญาณที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูปนาม คือเมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเกิดเห็น ทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้สภาวะของจิตใจจะดิ้นรนไม่ต้องการ จะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติจริงๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้าแล้วไม่มีทางก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้นมันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจมันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 12

ญาณที่ 12 อนุโลมญาณ เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 13 เรียกว่า โคตรภูญาณ

ญาณที่ 13 โคตรภูญาณ คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้นจะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตรภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเองเป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา

ญาณที่ 14 มัคคญาณ มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุมพร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์

ญาณที่ 15 ผลญาณ ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา 2 ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ 2 ขณะ แล้วก็ดับลง

ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นโลกิยญาณ ญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน และถ้าคนมีหลักปริยัติ ก็จะพิจารณากิเลสอันใดที่ละไปได้แล้ว กิเลส อันใดที่ยังเหลืออยู่ และถ้าคนไม่มีหลักปริยัติก็พิจารณาแค่ มรรค ผล นิพพาน ในระหว่างที่ญาณก้าวขึ้นสู่อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณนี้ ท่านก็อุปมาให้ฟังเหมือนกับบุคคลที่จะก้าวกระโดดข้ามฝั่ง

ฝั่งมันอยู่ไกลก็โหนเถาวัลย์ ก็ต้องอาศัยกำลังที่วิ่งมาอย่างแรง วิ่งมาด้วยความไว แล้วก็เหนี่ยวเอาเถาวัลย์โยนตัวขึ้นไป ในขณะที่โยนตัวขึ้นไปก็เหมือนเป็นอนุโลมญาณคล้อยไป พอข้ามไปถึงฝั่งหนึ่งก็ปล่อยเถาวัลย์นั้น ในขณะที่ปล่อยนั้นเหมือนกับโคตรภูญาณ คือปล่อยอารมณ์ที่เป็นโลกิยะได้แก่รูปนาม ไปรับนิพพานซึ่งเป็นโลกุตตระเป็นอารมณ์ แล้วก็ตกลงถึงพื้น ในขณะตกลงถึงพื้นเหมือนเป็นมัคคญาณ แล้วพอตั้งหลักได้ก็เป็นผลญาณเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็พิจารณา แต่ว่าในสภาวธรรมของโลกุตตระมันเป็นธรรมที่พ้นโลก

ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงแล้วก็ไม่สามารถนำมาแสดงให้แจ่มแจ้งได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน บุคคลอื่นที่ยังเข้าไม่ถึงจะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เพราะว่าความคิดความอ่านของปุถุชนก็จะมีความรู้สึกที่อยู่ในโลก เป็นไปในโลกนี้ มันจะมีขอบเขตของการนึกคิดความเข้าใจอยู่ในโลก ส่วนสภาพโลกุตตรธรรมที่พ้นโลกนั้น ปุถุชนจะคิดไปไม่ถึงเลย จะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ นี่ก็เป็นการแสดงลำดับความเป็นไปพอสังเขปของวิปัสสนาญาณ ที่ทำให้บรรลุความเป็นอริยบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 1 ก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบันกิเลสยังไม่หมด

แต่ว่าตัดออกไปได้บางส่วน แต่ส่วนไหนที่ตัดขาดไปแล้วจะไม่เกิดขึ้นในจิตใจอีกเลย เช่น ความสงสัยจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ความโลภที่ประกอบไปด้วยความเห็นผิดหมดไปเลยจากจิตใจ จะมีเห็นอย่างถูกต้อง เข้าใจอย่างถูกต้อง แต่ว่าก็ยังมีความโลภบางอย่าง มีโทสะบางอย่าง แต่ว่าไม่รุนแรงถึงขนาดที่จะกระทำอกุศลกรรมชนิดที่จะนำไปสู่อบาย โสดาบันนี้ ศีล 5 จึงบริสุทธิ์ จะไม่ล่วงศีล 5 เป็นเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่มีความอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความตระหนี่ นี่เป็นลักษณะของโสดาบัน ก็เท่ากับทำลายภพชาติไปมากมาย

การที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปก็จะเกิดอย่างมาก 7 ชาติ ก็จะสำเร็จเป็นอรหันต์ ถึงแม้จะขาดความเพียร เกิดไปๆ 7 ชาติ ยังไงก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ปรินิพพาน ก็พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้าหากบุคคลได้เพียรพยายามต่อไป สามารถที่จะดำเนินผ่านญาณ 16 อีกรอบหนึ่งก็ลักษณะเดียวกัน ผ่านญาณ 16 รอบที่ 2 ก็เป็น สกทาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 3 ก็เป็น อนาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 4 ก็หมดสิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ เป็นอเสขบุคคล ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป พ้นทุกข์

ฉะนั้น ในขั้นต้นนี้เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดี ส่วนบั้นปลายก็เป็นไปสอดคล้องของมันไปเอง ขอให้เราทำถูกในขั้นต้น คือมีสติกำหนดรู้รูปนามให้ตรงรูปนามที่เป็นปัจจุบัน เราจะเห็นว่าในญาณทุกญาณที่จะส่งไปถึงโลกุตตรญาณนั้น ตั้งแต่ญาณที่ 1 ไปจนถึงอนุโลมญาณ จะมีรูปนามเป็นอารมณ์ทั้งนั้นเลย มีรูปนามเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ ฉะนั้นรูปนามจึงเป็นทางเดินของวิปัสสนา วิปัสสนาจะต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าขณะใดอารมณ์ตกไปจากรูปนามไปดูอย่างอื่น ก็แสดงว่าตกไปจากทางของวิปัสสนา เช่น ไปดูภาพนิมิต ไปอยู่กับความว่าง ไปติดอยู่กับความสงบ ไม่เห็นรูปนาม มันก็ไปได้แค่นั้น

ฉะนั้นจุดยืนของวิปัสสนาคือมีรูปนามเป็นอารมณ์ตลอดเวลา เราก็เพียรพยายามที่จะกำหนดรู้เท่าทันรูปนามที่เกิดขึ้นให้ได้ปัจจุบันๆ ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปตามลำดับ ฉะนั้นขั้นต้นเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อะไรไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม คือ สมมุติบัญญัติ เพื่อกำหนด จะได้ปล่อยวางจากสมมุติบัญญัติคือชื่อต่างๆ ภาษา รูปร่าง ความหมาย ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติออกไป กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ และให้ได้ปัจจุบัน และเข้าไปสู่ความปกติ ไม่บังคับ ไม่เคร่งเครียด มันก็จะเห็นธรรมะ เห็นความเป็นจริงของชีวิต

ตามที่ได้แสดงมาวันนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ที่สุดนี้ขอความ เจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ”

ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดับ- สิ่งนั้นมีอยู่ เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่ดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ มีอากาสานัญจายตนะฌาน ไม่มี วิญญาจายตนะ
ไม่มีอากิญจายตนะ ไม่มีเนว สัญญานาสัญญายตยะ ไม่ใช่โลกนี่ ไม่ใช่โลก อื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ทั้ง3 หลายแล
ภิกษุทั้งหลาย ในการเป็นสิ่ง ‘ สิ่ง’ สิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา เรา ไม่กล่าว ว่ามีการ ไป เราไม่กล่าวว่าไม่มีการไม่ไป
ไม่กล่าวว่ามีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นมิได้ ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้เป็นไป
และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ นิพพาน
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 10:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทโธอย่างเดียวตลอดเวลาทั้งวันที่ระลึกได้
ไม่ต้อง สงสัย คิด ยึด อะไรๆๆใดๆ ทั้งสิ้น
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ปวรา เนาวรัตน์
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ต.ค. 2008
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ อ่านหลายหนแล้ว พึ่งวันนี้มีโอกาสที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกค่ะ
โดยส่วนตัวไปนั่งมาหลายที่ จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้เดินทางไปกับคุณแม่ที่วัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดราชบุรี ชื่อ วัดนครทิพย์ ได้ไปนั่งสมาธิกับหลวงพ่อ เราจึงพบว่าเราได้เจอที่ที่ถูกจริตกับเรา หมายความว่า คนเรามีหลายวิถีทางที่จะเดิน แล้วแต่ว่าคนไหนจะปฏิบัติได้ดีในแนวทางไหน

น้อยก็นั่งสมาธิมาหลายอย่างมาก สุกท้ายที่ทำให้เราหยุดแสวงหา ก็คือ ท่านให้เรามองหน้าท่าน แล้วหลับตา นึกถึงหน้าท่าน จนกระทั่งจิตเรานิ่ง เราก็จะเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น อยู่อย่างนั้น แต่ท่านไม่ให้สนใจ ไม่ให้อยากเห็น อยากรู้อะไร ทั้งนั้น ปล่อยวาง เมื่อนั่งมากขึ้นจะสว่างมากเหมือนคนเปิดไฟนิออน จิตเราก็จะนิ่ง เรายังไม่ได้อะไรมากนัก ไปนั่งมา 9 วัน ก็ได้มาบ้าง ซึ่งท่านไม่ให้พูดเพราะทำให้คนที่ยังไม่ถึงเกิดกิเลส อยากได้ อยากเป็นอยากมี ก็ตอนนี้กำลังสร้างบุญอยู่ค่ะ เดี๋ยววันที่ 13 ตค 51 จะไปบวชชีพราหมณ์ 3 วัน และวันที่ 18 ตค. 51 คุณแม่จะนำกฐินไปทอดค่ะ

ถ้าใครอยากไปที่วัดนครทิพย์ ราชบุรี ก็บอกมาได้นะค่ะ เป็นวัดเล็กๆ มีพระ 3-4 รูป มีแม่ชี 2 คน เป็นวัดปฏิบัตค่ะ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
 

_________________
จิตเห็นจิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 5:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง