Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เจ้าหูตั้ง....สุนัขที่ระลึกชาติได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 10:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณ mes ครับ คุณปกป้อง พระพุทธศาสนาเถรวาท หรือ นิกายพุทธทาสกันแน่ครับ

ตอนนี้ผมกำลังชี้แจงว่า สิ่งที่ท่านพุทธทาส ได้กล่าวติเตียน พระไตรปิฏกเถรวาท (พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์) พระอรรถกถาจารย์

อนึ่ง คุณด่าผมมาก ๆ ผมก็อาจโกรธคืนได้นะ

ผมไม่อาจทำตามที่พระพุทธองค์สอนได้ทั้งหมด

พระพุทธองค์ก็สอนไม่ให้โกรธครับ แม้พวกโจรจะเอาเลื่อยมาตัดแขนขา แต่ผมก็จะขอด่าทีหนึ่ง ก่อนตาย

คงแผ่เมตตาให้พวกโจรไม่ได้แน่


เห็นไหมสันดานมันโจมตีคนอื่นได้ แต่พอตัวเองโดนเข้าบ้าง

จะเอาคืน

ผมห้ามคุณไม่ได้

แต่ตราบใดยังไม่เลิก

ผมก็ไม่เลิกแน่

ตอกย้ำด่าพระมานาน

พอถูกคัดค้านทำเป็นรับไม่ได้

แล้วที่คุณด่าคนอื่นคุณคิดบ้างไหม

ผมถามว่าผมจะเชื่อใครมันหนักอวัยวะอะไรของคุณ
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 07 ต.ค.2008, 10:49 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 10:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตอนนี้เริ่มด่าผมแล้ว ( อาจจะไม่ได้อ่านที่คุณ mes พิมพ์ทั้งหมด) ถ้าเป็นการพูดคุยกันที่เจอหน้ากัน คุณ mes อาจจะลงมือประทุษร้ายผมก็ได้

ส่วนผมก็อาจระงับความโกรธไว้ไม่อยู่ตอบโต้คืน

แต่นี้เป็นการสนทนาผ่านคอมพิวเตอร์จึงมีโอกาสพิจารณาก่อนที่จะตอบ

ว่าแต่คุณ mes ด่าผมแล้ว รู้สึกดีขึ้นไหมครับ ถ้าสบายใจก็ด่าต่อนะครับ

เพราะความโกรธ หรือ โทสะมูลจิต นี้ มีรากเป็นพิษ มียอดหวาน




อย่ามาขู่ผม

คุณจะตอบโต้เอาคืนหรือจะใช้กำลังทำร้าย

ผมห้ามคุณไม่ได้

คุณด่าคนที่คนเขาเคารพคุณคิดบ้างหรือเปล่า

เหมือนด่าพ่อ ด่าแม่เขา

ผมไม่ท้านะ

ยินดี

ผมไม่ไช่ไอ้ขี้ขลาดด่าคนลับหลัง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 10:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณ mes ครับ พระองค์สอนว่า ถ้าใครมาติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ให้โกรธครับ พระองค์ให้ชี้แจงสิ่งที่พระพุทธองค์สอนไว้


แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สั่งสอนให้ใครด่าพระเล่น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพื่อให้ยุติ

ผมประกาศจะหยุด

ตั้งแต่บัดนี้

นอกจากมีเหตุอันควร ผมจะออกมาอีก

ต่อไปนี้จะปล่อยให้วิบากกรรมทำหน้าที่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 4:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 4:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิรงๆท่านแมส ควรทำอย่างนี้ครับ เยี่ยมๆๆๆๆๆ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม อืมม์ สู้ สู้
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 4:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



แม่เรือนชื่อเวเทหิกา

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4281&Z=4442&pagebreak=0

เปรียบเหมือนบุรุษเผาแม่น้ำคงคา
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัดให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัดให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม เขาจะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแม่น้ำคงคา ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

---------------------------------------------------------------------------

บุญชัย พิมพ์ว่า:
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา ซึ้ง


สาธุ สาธุครับคุณบุญชัย ที่ได้ข้อคิดจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา

เวลามีใครมาด่า ก็ระลึกถึงพระพุทธพจน์นี้นะครับ แม้บางครั้งจิตจะแปรปรวนไปบ้าง ก็ใช้หลักเมตตา นึกถึงโทษภัยของความโกรธเอาไว้

แม้เราจะทำตัวเป็นแม่น้ำคงคาตามพระพุทธพจน์ไม่ได้ ทำใจให้กว้างหน่อย เท่าตุ่มมั่ง แม้ใครจะเอาคบไฟมาจี้ ก็เดือดยากหน่อย

แต่ถ้าอาศัยคำสอนของท่านพุทธํทาส อย่างคุณ mes ที่บอกว่า ไม่มีตัวกู ของกู โดนผมจี้นิดเดียวเดือดขึ้นมาเห็น ๆ เลย แลบลิ้น

อ้างอิงจาก:

แม่เรือนชื่อเวเทหิกา

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4281&Z=4442&pagebreak=0


ถ้าเปรียบผมเป็นคนใช้ และคุณ mes เป็นแม่เรือน ที่ดูสงบเรียบร้อยแต่ภายนอก ผมคงโดนแม่เรือน mes กระทืบติดดินแน่เลย ร้องไห้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 4:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา


คุณบุญชัยครับ บางทีการใช้หลักสมาธิหนีอารมณ์ไปอยู่กับคำภาวนา อาจจะทำได้ยากครับ ในความเป็นจริงของชีวิต

หลวงพ่อ สอนเสมอว่า สมาธิเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการเผชิญภัย

ซึ่งเมื่อก่อนผมเข้าใจ สมาธิกับวิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน


http://www.abhidhamonline.org/Ajan/article.htm


ไขข้อข้องใจในวิปัสสนา

ความแตกต่างระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา


การจะทำความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระว่างสมาธิกับวิปัสสนานั้นไม่ยาก
พุทธศาสนามีกิจให้เราทำอย่างไรบ้าง มีอยู่ ๒ อย่าง ได้แก่ คันถธุระ
กับวิปัสสนาธุระ


คันถธุระ หมายถึง ธุระที่เราจะต้องศึกษาเล่าเรียนความเป็นจริง
ศึกษาเล่าเรียนถึงหลักที่จะทำให้ชีวิตของเรานั้นเป็นไปในทางดี
ศึกษาเล่าเรียนถึงเหตุถึงผลนั่นเอง ว่าเมื่อสร้างเหตุอย่างไหน
จะได้รับผลอย่างไร ผลที่ปรากฏขึ้นมานี้มีเหตุมาจากไหน


วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระที่จะต้องทำตัวเองให้มีปัญญา
และหลักในการปฏิบัติในพุทธศาสนามี ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน กับ
วิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่ใช่การกระทำอย่างเดียวกัน


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น
ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ


ฉะนั้น สมาธิคือการที่จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์ๆ เดียว
จะหาอะไรมากำหนดก็ได้เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้น เช่น ภาวนาว่า
"พุทโธ" "สัมมาอรหัง" หรือกสิณมีถึง ๔๐ อย่างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้
จิตจะได้กำหนดอยู่กับสิ่งนั้น

-------------------------------------------------------------------

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18167&postdays=0&postorder=asc&start=0

อ้างอิงจาก:
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:


มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่าง
ครับผมคนหนึ่งละครับที่ปฏิบัติ สมาธิทุกวัน ไม่ได้ขาด
ผมใช้ พระมหาชนกเป็น สติเตือน ให้มี วิริยะอย่างแรงกล้า ที่
จะปฏิบัติให้ได้ขั้นฌาน จะได้ไม่ขายหน้า เพื่อนๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 4:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา


แต่คำสอนของท่านพุทธทาส ไม่สามารถระงับความโกรธในจิตใจ ของคุณ mes ได้เลย จึงได้กล่าวแต่คำหยาบคายออกมา

ปากก็ประกาศว่าจะปกป้องพุทธศาสนา

แต่ไม่เคยนำหลักธรรมจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาทมาชี้แจงเลย

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18167&postdays=0&postorder=asc&start=60

คงเหมือนกับอาจารย์พุทธทาสของคุณ mes ที่สอนแต่ไม่มี ตัวกู ของกู พระธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น โดยเฉพาะพระธรรมที่ขัดกับหลักการ (กู) คือ พระอภิธรรมปิฏก พระสูตรที่ว่าด้วยหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ก็กล่าวหาว่า เป็นหนอนบ่อนไส้ ทำลายพระพุทธศาสนา สอนกันมาผิด ๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 5:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ่านหนังสือแบบไม่มีวิจารณญาณ

อรรถกถาเขียนโดยใครก็ได้ ไม่รู้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า

คุณไปฝึกวิธีถอดร่างถอดวิญาณฝากตัวเป็นศิษย์ท่านพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ดี

กว่า



คุณ mes ครับ สมัยเรียน มหาลัย ชมรมพุทธพาผมไปฝึกวิชาธรรมกาย และ มโนมยิทธิ ดีที่ยังไม่ถึงขั้นถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ แบบคุณพลศักดิ์

ตอนหลังเปลี่ยนแนวมาสายท่านพุทธทาส เกือบเชื่อว่าตายแล้วสูญ เห็นใครสอนเรื่องผีสางเทวดา หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด จะถือว่าผิดหมด ไม่เข้าใจธรรมะอย่างแท้จริง แล้วก็เรียนทางโลกสูงด้วย ไม่เคยเห็นผี สางเทวดา สักที

ภายหลังจึงมาเจอท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก จึงได้เข้าใจว่า

ทั้งสายธรรมกาย และสายพุทธทาส ทางสุดโต่งไปคนละทาง

18308. สายมโนมยิทธิและสายธรรมกาย คือ วิภวตัณหา แบบหนึ่ง ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83080#83080

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=37&A=2161&w=ดูกรเสนิยะ_
--------------------------------------------
จากหนังสือ กรณีธรรมกาย

http://dhammakaya.exteen.com/20050418/entry-48


ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น

1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)

2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ )

3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ "


------------------------------------------------------------------

บางอาจารย์ก็สอนนิพพานแบบง่าย ที่ทุกคนสัมผัสได้อยู่แล้ว เป็นนิพพานชั่วคราว ขณะใดไม่มีตัวกู ของกู ก็นิพพานชั่วคราวแล้ว ( แนวการสอนท่านพุทธทาส )

คำสอนของอาจารย์บางท่านก็กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา สัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง มีดินแดนพระนิพพาน เป็นต้น )

คำสอนของอาจารย์บางท่านก็กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา อุจเฉทวาท สอนแต่เรื่องการปฏิเสธตัวตน จนคนเข้าใจว่าตายแล้วสูญ เช่น ท่านพุทธทาส เป็นต้น

นิพพานที่นี้และเดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 5:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เพราะคุณมันไอ้โรคจิต


พึ่งเห็นว่าด่าผมว่า ไอ้โรคจิต นะเนี่ย เจ๋ง

แต่ไม่โกรธหรอกครับ เพราะเรียนเรื่องจิตเบื้องต้น จากพระอภิธรรม อาจารย์สอนว่า ปุถุชน ล้วนมีจิตวิปลาส คือความบ้าของจิต อยู่ ยิ้มเห็นฟัน

คือ สุภวิปลาส เห็นว่าตัวเองสวยงาม หล่อล่ำบึก โครตแมนเลย เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของตน ( อัตตวิปลาส )

นี้ถ้าไม่เรียนพระอภิธรรมเบื้องต้นมา ไม่รู้นะว่า ตัวเองเป็นโรคจิต และ โง่ อยู่

พูดถูก เปล่าเนี่ย ขอคัดลอกมาแล้วกัน เดี๋ยวจำผิด


http://www.geocities.com/toursong1/kam/ch.htm

องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 5:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ


คุณบุญชัยถามซะลึกเชียวครับ ยิ้มเห็นฟัน

ขอนำความเข้าใจ จากตำรา แล้วกันครับ เพราะผมเพิ่งเริ่มฝึกหัดปฏบัติวิปัสสนา ยกรูปนามเป็นอารมณ์ ยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณจากการปฏิบัติ เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

จนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

---------------------------------------------------------
ลำดับขั้นของปัญญา มีดังนี้ครับ

วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/067.htm

http://abhidhamonline.org/visudhi.htm



โลกุตตรจิต
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/082.htm

โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต

โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก(กามภูมิ) รูปโลก(รูปภูมิ) และอรูป-โลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับก็ได้

อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น

ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือจิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก คือโลกุตตร จิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิต แต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือ นิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่า เป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรกุสลจิตหรือมัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลซึ่งมัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้น ๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมองเร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุสลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และโลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุสลจิตอีก ๔

จำง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า มัคคคือกุสล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุสล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก

มีข้อสังเกตว่าโลกุตตรจิตมีแต่โลกุตตรกุสลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยาด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มีโลกุตตรกิริยานั้นเพราะโลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือ มีโลกุตตรกุสลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์

อันว่ามหากุสลหรือมหัคคตกุสลนั้น สามารถเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนือง ๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยา หรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับ มัคคจิต ซึ่งเกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียวคือ โสดาปัตติมัคคก็เกิดได้ครั้งเดียว สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย เมื่อได้เป็นถึงพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเหลือเลยแม้แต่น้อย ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดังนั้นจึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต

----------------------------------------------


อ้างอิงจาก:
คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ


คุณบุญชัย ครับ สมัยเรียนหนังสือ ผมได้รับการสั่งสอน จากสายมโนมยิทธิ และธรรมกาย ว่า นิพพานเป็นดินแดนที่จะได้พบพระพุทธเจ้า ใครทำได้ก็ได้ไปเกิดในพระนิพพาน เสวยแต่ความสุข เป็นอมตะ

18308. สายมโนมยิทธิและสายธรรมกาย คือ วิภวตัณหา แบบหนึ่ง ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18308


เป็นบุญของผมนะครับ ที่ไม่ได้เกิดมิจฉาทิฏฐิถึงขั้นนั้น

คุณบุญชัย ต้องแยกในหลักการปฏิบัติให้ออกก่อนนะครับ ว่า ปัญญาที่จะนำพาสู่พระนิพพานนั้น แตกต่างจากการทำสมาธิทั่วไปอย่างไร

ถ้าขาดความรู้ปริยัติ (คันถะธุระ) ก็ทำให้ปฏิบัติแบบผิด ๆ ได้

สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 5:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณบุญชัยครับ อย่างคำสอนของท่านพุทธทาส อาจารย์ของคุณ mes ก็แสดงนิพพานอีกแบบหนึ่ง ดูเหมือนจะมีแบบชั่วคราวถาวร

เมื่อไหรที่จิตสงบ ก็เป็นนิพพานแบบชั่วคราว ซึ่งทุกคนสัมผัสได้อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่หากปฏเสธการมีตัวตน ไม่มีตัวกูของกู ก็จะนิพพานถาวร ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง (ดับขันธ์ปรินิพพาน)


ท่านได้กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา อุจเฉทวาท สอนแต่เรื่องการปฏิเสธตัวตน จนคนเข้าใจว่าตายแล้วสูญ

นิพพานที่นี้และเดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 5:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุญชัย พิมพ์ว่า:
ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ


คุณบุญชัยครับ หากไม่เชื่อถือ พระพุทธพจน์ พระสูตรใด หรือ พระอภิธรรม เล่มไหน ขอให้ใช้วิจารณญาณดังนี้

ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/tmk14.txt

เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น

1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)

นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)

เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)

1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า

" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)

" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)

พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า

"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)

-----------------------------------

บุญชัย พิมพ์ว่า:
ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ


ขออย่าได้ทำอย่าง สายมโนมยิทธิ และธรรมกาย ที่จะกล่าวตู่พระพุทธเจ้าให้เป็น ศาสดาประเภทสัสสตวาท (โดยนำลัทธิมหายาน มาปลอมปน)

ที่คุณพลศักดิ์ กำลังเผยแพร่อยู่

หรือ สายท่านพุทธทาส ที่จะกล่าวตู่พระพุทธเจ้าให้เป็น ศาสดาประเภทอุจเฉทวาท ( โดยนำสูตรเวยหลาง นิกานเซ็น เสริมเข้ามา )

ที่คุณ mes ออกมาปกป้อง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง