Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
Image

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



“ชีวิตของทุกๆ คนที่ผ่านพ้นไปรอบปีหนึ่งๆ นับว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงถือเป็นปรารภเหตุทำบุญ เพื่อความเจริญอายุ วรรณ สุข พล ยิ่งขึ้น”

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


ขอพุทธานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนกุศลผลบุญที่ท่านได้กระทำมา จงคุ้มครองให้ท่านและครอบครัว พร้อมทั้งบริวาร ปราศจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้น ขอให้ท่านจงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คิดปรารถนาสิ่งใดขอให้สมปรารถนาในสิ่งนั้น โดยมีธรรมบารมีแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเกราะคุ้มครองป้องกัน และมีพระธรรมเป็นประทีปส่องสว่างในการดำเนินชีวิต ขอให้พบกับชีวิตที่สมบูรณ์ ให้พบกับความสะอาด สว่าง สงบ แห่งชีวิตและจิตใจ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงมีแด่ท่านทุกทิพาราตรีกาลเทอญ.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สารบัญ

เรื่อง เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
จากพระนิพนธ์ “ความสุขอยู่ที่ไหน ?”
ของสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


สิ่งปรารถนาของมนุษย์
ความสุขทางร่างกาย
ความสุขทางจิตใจ
ความสุขอยู่ที่ไหน ?
เหตุแห่งความสุข และเหตุแห่งความทุกข์
เงื่อนไขของความสุข
สิ่งภายนอกไม่ใช่ตัวเหตุของความสุข
สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แห่งความสุข
ความสุขเบื้องต้นพบได้อย่างไร
สุจริต...วิถีทางของคนดี
ทุจริต...วิถีทางแห่งความชั่ว
วิถีทางของผู้ไม่ฉลาด
ธรรมะในใจควรประพฤติคู่กันไปกับสุจริต
เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
ผลแห่งสุจริตธรรม
วิธีปฏิบัติสุจริตธรรม
การแผ่เมตตาปรารถนาดีต่อกัน
ผู้สุจริตย่อมเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ผู้ประพฤติธรรมสุจริตเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาล
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว



๏ สิ่งปรารถนาของมนุษย์

อันความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุกๆ คน และทุกๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้ว ความสุขเป็นอย่างไร จึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบ สมบูรณ์ สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและใจนี่เอง

๏ ความสุขทางร่างกาย

สำหรับกายนั้น เพียงให้เครื่องอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ก็นับว่าสบาย แม้กายสบายดังกล่าวมานี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย

ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยความเจ็บป่วย หรือด้วยความคับแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตยังร่าเริงสบายอยู่ ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนเท่าใดนัก และความไม่สบายของกายก็อาจบรรเทาไปได้ เพราะเหตุนี้ความสุขจิตสุขใจนั่นแลเป็นสำคัญ

๏ ความสุขทางจิตใจ

อันความสุขทางจิตใจนี้ คิดๆ ดูก็เห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใดก็น่าจะได้ ใครๆ เมื่อคิดดูก็จักตองยอมรับว่าน่าคิดเห็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมจนอีกว่า สามัญชนทำไม่ได้เสมอไป เพราะยังต้องการเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข มีเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ถ้าเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขขาดไป หรือมีไม่เพียงพอ ก็ทำให้เป็นสุขมิได้ นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู่ ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเหตุฉะนี้ ในที่นี้จึงประสงค์ความสุขที่มีเครื่องแวดล้อม หรือที่เรียกว่า “สุขสมบัติ” อันเป็นความสุขขั้นสามัญชนทั่วไป

๏ ความสุขอยู่ที่ไหน ?

คิดดูเผินๆ ความสุขนี้น่าจักหาได้ไม่ยาก เพราะในโลกนี้มีเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขแวดล้อมอยู่โดยมาก หากสังเกตดูชีวิตของคนโดยมากที่กำลังดำเนินไปอยู่ จักรู้สึกว่าตรงกันข้ามกับที่คิดคาด ทั้งนี้มิใช่เพราะเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขในโลกนี้มีน้อยจนไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะผู้ขาดแคลนความสุขสมบัติไม่ทำเหตุอันเป็นศรีแห่งสุขสมบัติ จึงไม่ได้สุขสมบัติเป็นกรรมสิทธิ์ ส่วนผู้ที่ทำเหตุแห่งสุขสมบัติ ย่อมได้สุขสมบัติมาเป็นกรรมสิทธิ์ เพราะเหตุนี้ ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจับเหตุให้ได้ก่อนว่า อะไรเป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทุกข์

๏ เหตุแห่งความสุข และเหตุแห่งความทุกข์

บางคนอาจเห็นว่า เหตุของความสุขความทุกข์อยู่ภายนอก คือสุขเกิดจากสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง บ้านที่สวยงาม เป็นต้น ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากสิ่งภายนอกนั้นเหมือนกัน บางคนอาจเห็นว่าความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน

๏ เงื่อนไขของความสุข

สิ่งภายนอกโดยมากถ้าเป็นส่วนที่ดี มีเงินทอง ยศชื่อเสียง เป็นต้น ก็เป็นที่ปรารถนาตรงกันของคนเป็นอันมาก จึงต้องมีการแสวงหาแข่งขั้นกันโดยทางใดทางหนึ่ง เมื่อได้มาก็ให้เกิดความสุขเพราะสมปรารถนาบ้าง เพราะนำไปเลี้ยงชีพตน และผู้อื่นให้อิ่มหนำสำราญบ้าง สิ่งภายนอกย่อมอุดหนุนความสุขฉะนี้

แต่สิ่งภายนอกเป็นของไม่ยั่งยืน แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ความสุขที่เกี่ยวเกาะติดอยู่ก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ความทุกข์จึงปรากฏขึ้นติดๆ กันไปทีเดียว ความสุขเช่นนี้เป็นความสุขที่ลอยไปลอยมา หรือเรียกว่าเป็นความสุขลูกโป่ง และในความแสวงหา ถ้าไม่ได้หรือได้สิ่งที่ไม่ชอบก็ให้เกิดความทุกข์ เพราะไม่สมปรารถนา


>>>>> มีต่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สิ่งภายนอกไม่ใช่ตัวเหตุของความสุข

อนึ่ง ถ้าได้สิ่งนั้นๆ มาด้วยการกระทำที่ไม่ดี การกระทำนั้นก็จักเป็นเครื่องตัดทอนตนเองอีกส่วนหนึ่ง ข้อความที่กล่าวมานี้แสดงว่าสิ่งภายนอกอุดหนุนความสุขสำราญให้บ้าง แต่จัดเป็นเหตุของความสุขหรือ ? ถ้าเป็นเหตุของความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์จักต้องเป็นสุขทุกคน

แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์มีถมไป เพราะเหตุนี้สิ่งภายนอกจึงมิใช่ตัวเหตุของความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขดังกล่าวแล้วเท่านั้น

๏ สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แห่งความสุข

อันสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข เมื่อคิดดูให้ซึ้งลงไป จักเห็นว่าเกิดจากการกระทำของตนเอง ถ้าตนเองอยู่เฉยๆ ไม่ทำการงานอันเป็นเหตุที่เพิ่มพูนสิ่งภายนอกเหล่านั้น สิ่งภายนอกนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ที่มีอยู่แล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ถ้าไม่มีใหม่มาชดเชยก็จักต้องหมดไปในที่สุด เพราะเหตุฉะนี้จึงกล่าวได้ว่า สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แก่ความสุขนั้น ก็เกิดขึ้นเพราะการกระทำของตนเองในทางธรรม

๏ ความสุขเบื้องต้นพบได้อย่างไร

ผู้ปรารถนาสุขเบื้องต้น จึงสมควร หมั่นประกบการงาน หาเลี้ยงชีพตามทางของตนๆ โดยไม่ตัดรอนกัน ไม่เฉื่อยชา เกียจคร้าน และแก้ไขในการงานของตนให้ดีขึ้น ก็จักไม่ต้องประสบความแร้นแค้น ขัดข้อง

ถ้าไม่หมั่นประกอบการงานของตนให้ดีขึ้น ปล่อยไปตามเรื่อง ก็อาจจักต้องประสบความยากจนค่นแค้น ต้องอกแห้งเป็นทุกข์ และนั่นเป็นความผิดต่อประโยชน์ปัจจุบันของตนเอง

๏ สุจริต...วิถีทางของคนดี

การทำอย่างหนึ่งทางธรรมเรียกว่าดี เป็นวิถีทางของคนฉลาด และทางโลกยกย่องนับถือว่าดี การทำอย่างนี้เรียกว่า สุจริต แปลว่า ประพฤติดี ประพฤติดีทางกายเรียกว่ากายสุจริต ประพฤติดีทางวาจาเรียกว่าวจีสุจริต ประพฤติดีทางใจเรียกว่ามโนสุจริต

กายสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกามประเวณี

วจีสุจริต จำแนกเป็น ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

มโนสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ด้วยโลภ…เจตนาคิดจะเอามาเป็นของของตน ไม่พยาบาทปองร้าย ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม มีความเห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น รวมเป็น ๑๐ ประการ

๏ ทุจริต...วิถีทางแห่งความชั่ว

ส่วนการกระทำที่ตรงกันข้ามเรียกว่า ทุจริต แปลว่า ประพฤติชั่ว ประพฤติชั่วทางกายเรียกว่า กายทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ประพฤติชั่วทางใจเรียกว่า มโนทุจริต ทุจริต ๓ นี้มีจำแนกตรงกันข้ามกับสุจริต

คำว่า “ประพฤติ” มักจะพูดมุ่งหมายถึงการกระทำทางกายและวาจา คำว่า “ทำ” ก็มักพูดมุ่งหมายถึงการทำทางกาย การทำทางวาจาเรียกว่าพูด การทำทางใจเรียกว่าคิด

ส่วนในทางธรรม การทำ พูด คิด เรียกเป็นอย่างเดียวกันว่า ทำ หรือ ประพฤติ และมีคำว่า กาย วาจา ใจ กำกับ เพื่อให้รู้ว่าทำหรือประพฤติทางไหน


>>>>> มีต่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ วิถีทางของผู้ไม่ฉลาด

ทุจริตทางธรรมเรียกว่าไม่ดี เป็นวิถีทางของผู้ไม่ฉลาด ทางโลกก็เหยียดหยามว่าเลว ไม่ดี โดยนัยนี้จึงเห็นว่าทั้งทางโลกทั้งทางธรรม นับถือสิทธิของผู้อื่น หรือเรียกว่านับถือขอบเขตแห่งความสงบสุขของผู้อื่น เพราะสุจริตและทุจริตที่จำแนกไว้อย่างละ ๑๐ ประการนั้น โดยความก็คือ ไม่ประพฤติละเมิดสิทธิ หรือไม่เบียดเบียนความสงบสุขของผู้อื่น และการประพฤติละเมิดสิทธิและความสงบสุขของผู้อื่นนั้นเอง แต่ทางโลกนับถือสิทธิของบุคคลและสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวก ไม่นับถือบางจำพวก โดยอาศัยกฎหมายเป็นหลัก ส่วนทางธรรมนับถือทั่วไป ไม่มีแบ่งแยกยกเว้น เพราะทางธรรมละเอียด ประณีต

๏ ธรรมะในใจควรประพฤติคู่กันไปกับสุจริต

อนึ่ง ทุจริตอยู่เฉยๆ ประพฤติไม่ได้ ต้องประพฤติด้วยความขวนขวายพยายาม จนผิดแผกแปลกไปจากปกติ จึงจัดเป็นทุจริตได้ ส่วนสุจริตประพฤติได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ประพฤติไปตามปกติของตน ไม่ต้องตบแต่งเปลี่ยนแปลงก็เป็นสุจริตได้

เพราะเหตุนี้ เมื่อว่าทางความประพฤติ สุจริตจึงประพฤติได้ง่ายกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรทุจริตจึงเกิดขึ้นได้ ? ข้อนี้เป็นเพราะยังขาดธรรมในใจเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ความประพฤติจึงเป็นไปตามใจของตนเอง ผู้รักษาศีลหรือประพฤติสุจริต หรือแม้ประพฤติกฎหมายของบ้านเมือง ถ้าไม่มีธรรมอยู่ในใจบ้างแล้ว ก็มักจะรักษาหรือประพฤติทำนองทนายความว่า เพราะการกระทำบางอย่างไม่ผิดศีลตามสิกขาบท ไม่ผิดสุจริตตามหัวข้อ แต่ผิดธรรมมีอยู่ และจะประพฤติหรือรักษาให้ตลอดไปมิได้ เพราะเหตุนี้ จึงสมควรมีธรรมในใจสำหรับประพฤติคู่กันไปกับสุจริต

๏ เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง

ผู้ประพฤติสุจริตธรรม ย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกายวาจาใจปลอดโปร่ง นี้เป็นความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว

ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกายวาจาใจ หมกมุ่น วุ่นวาย แม้จักมีทรัพย์ ยศ ชื่อเสียงสักเท่าใด ก็ไม่ช่วยให้ปลอดโปร่งได้ ต้องเปลืองทรัพย์ เปลืองสุข ระวังทรัพย์ ระวังรอบด้าน นี้เป็นความทุกข์ที่เห็นกันอยู่แล้ว

ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร ? อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า...

กลฺยาณการี กลฺยาณํ...ผู้ทำดีย่อมได้ดี
ปาปการี จ ปาปกํ...ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว


๏ ผลแห่งสุจริตธรรม

จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรมอำนวยผลที่ดีคือความสุข ทุจริตอธรรมอำนวยผลที่ชั่วคือความทุกข์ แม้ในอนาคตแน่แท้ อนึ่ง ในที่นี้รวมผลแห่งสุจริตธรรมทั้งสิ้น แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสุข เพราะเหตุนี้สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่าสุขสมบัติ เช่น ความบริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นผลแห่งสุจริตธรรม

๏ วิธีปฏิบัติสุจริตธรรม

จักแสดงวิธีปฏิบัติสุจริตธรรมสักคู่หนึ่ง โดยย่อไว้เผื่อผู้ต้องการต่อไป คือ ไม่พยาบาท กับ เมตตา

เมื่ออารมณ์ร้ายอย่างเบา คือความหงุดหงิดไม่พอใจแรงขึ้นเป็นความฉุนเฉียวร้ายกาจ แรงขึ้นอีกเป็นพยาบาท เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรทำความรู้จักตัวและพิจารณาโดยนัยว่า นี้เท่ากับทำโทษตน เผาตนโดยตรง มิใช่ทำโทษหรือแผดเผาผู้อื่นเลย คราวที่ตนผิดใจยังเคยให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธแค้น เหตุไฉนเมื่อผู้อื่นทำผิดใจจึงมาลงโทษแผดเผาตนเล่า ผู้อื่นที่ตนโกรธนั้นเขามิได้ทุกข์ร้อนไปกับเราด้วยเลย

อนึ่ง ควรตั้งกติกาข้อบังคับสำหรับตนว่า เมื่อเกิดอารมณ์ร้าย มีโกรธเป็นต้นขึ้น จักไม่พูด จักไม่แสดงกิริยาของคนโกรธ หรือตั้งกติกาประการอื่น ซึ่งอาจจักรักษาอารมณ์ร้ายเหล่านั้นไว้ข้างใน มิให้ออกมาเต้นอยู่ข้างนอก และพยายามดับเสียด้วยอารมณ์เย็นชนิดใดชนิดหนึ่ง ด้วยการพิจารณาให้แยบคาย มิให้ลุกกระพือสุมอกอยู่ได้


>>>>> มีต่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การแผ่เมตตาปรารถนาดีต่อกัน

เมตตา มิตร ไมตรี สามคำนี้เป็นคำหนึ่งอันเดียวกัน

เมตตา คือความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข
มิตร คือผู้มีเมตตาปรารถนาสุขประโยชน์ต่อกัน
ไมตรี คือความมีเมตตาปรารถนาดีต่อกัน


ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต พึงปลูกด้วยการคิดแผ่ ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อน ในบุคคลที่ชอบพอ มีมารดาบิดา ญาติมิตรเป็นต้น โดยนัยว่าผู้นั้นๆ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุขสวัสดิ์รักษาตนเถิด

เมื่อจิตได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไปโดยลำดับดังนี้ ในคนที่เฉยๆ ไม่ชอบไม่ชัง ในคนที่ไม่ชอบน้อย ในคนที่ไม่ชอบมาก ในมนุษย์และดิรัจฉานไม่มีประมาณ

เมตตาจิต ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมตั้งแต่สองขึ้นไปด้วย คือหมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกัน ย่อมหมดความระแวง มีโอกาสประกอบการงานอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและหมู่เต็มที่ มีความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุขโดยส่วนเดียว

๏ ผู้สุจริตย่อมเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงมีพระเมตตาไมตรี มีมิตรภาพในสรรพสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกล จึงได้ทรงประทานศาสนธรรมไว้หนึ่งฉันทคาถา แปลความว่า บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และในโลกอื่นดังนี้

เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุข เมื่อจับตัวเหตุการณ์แห่งความสุขและความทุกข์ได้แล้ว ควรเว้นทุจริตอธรรมอันเป็นเหตุของความทุกข์ ควรประพฤติสุจริตธรรมอันเป็นเหตุของความสุข ถ้าประพฤติดังนี้ชื่อว่า ได้ก่อเหตุการณ์ของความสุขสมบัติไว้แล้ว

๏ ผู้ประพฤติธรรมสุจริตเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาล

ถ้ามีปัญญาในชีวิตปัจจุบันของผู้ประพฤติสุจริตธรรม หรือทุจริตอธรรมเกิดขึ้น พึงทราบว่า ในคราวที่สุจริตธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติทุจริตอธรรมย่อมพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติและความสดชื่น ร่าเริง อาจสำคัญทุจริตธรรมดุจน้ำหวาน และอาจเย้ยหยันผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้ แต่ในกาลที่ทุจริตอธรรมของตนให้ผล ก็จักต้องประจวบทุกข์พิบัติซบเซาเศร้าหมอง ดุจต้นไม้ในฤดูแล้ง

อนึ่ง ในคราวทุจริตอธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติสุจริตธรรมก็ยังต้องประสบทุกข์พิบัติซบเซาอับเฉาอยู่ก่อน แต่ในกาลที่สุจริตธรรมของตนให้ผล ย่อมเกิดสุขสมบัติย่างน่าพิศวง ดุจต้นไม้ในฤดูฝน แม้สุจริตธรรมจักยังไม่ให้ผลโดยนัยที่กล่าวนี้ กาย วาจา และใจ ของตนก็ย่อมปลอดโปร่งเป็นสุขสงบ เป็นผลที่มีประจำทุกทิวาราตรีกาล



>>>>> จบ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 4:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7725

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
chill
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 ก.พ. 2008
ตอบ: 85

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2008, 5:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนานะคะ สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
มีชีวิตอยู่เพื่อทำความดี..
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง