Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิทานมงคลธรรม (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 7:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความถ่อมตน

มงคลต่อไป คือ นิวาโต แปลตามศัพท์ว่า ไม่มีลม ไม่พองลม หมายความว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความไม่เบ่ง

คนไม่เบ่ง มีสัมมาคารวะ โบราณท่านว่าย่อมเจริญงดงามในชีวิตเพราะใครๆ เห็นก็รักเอ็นดู ถ้าเป็นผู้น้อยที่รู้จักสัมมาคารวะ ผู้ใหญ่ก็เอ็นดูเจริญก้าวหน้าในชีวิตแน่นอน ส่วนจะเจริญแค่ไหน ความสามารถอย่างอื่นต้องมีประกอบด้วย

ผู้น้อยที่มีสัมมาคารวะ ไม่อวดแบ่งนั้น ยังไม่น่าสรรเสริญสักเท่าไรเพราะว่าฐานะของผู้น้อยมันบังคับกลายๆ ให้ต้องรู้จักที่ต่ำที่สูง มีความนอบน้อมถ่อมตน แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ มีอำนาจราชศักดิ์แล้ว มีความอ่อนน้อมถ่อมตนโดยไม่มีความเสแสร้งแล้ว ย่อมเป็นที่รักของคนทั้งปวง ไปไหนก็มีผู้สรรเสริญเยินยอ

พระขรัวตาผู้อ่อนน้อม

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมอบภาระการบวชกุลบุตร ให้อยู่ในความรับผิดชอบของพระสงฆ์แล้ว ผู้จะบวชต้องได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ การบวชแบบนี้เรียกว่า ญัตติจตุตถกัมมวาจาอุปสัมปทา

มีพราหมณ์แก่เข็ญใจคนหนึ่ง มาขออาศัยอยู่กับพระที่วัดได้ข่าวปลาอาหารที่พระท่านเมตตาให้ยังชีพ ต่อมาพราหมณ์แก่คนนี้อยากบวชให้พระพุทธศาสนา พระท่านไม่บวชให้ เพราะไม่มีพระรูปใดรับรอง

วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาพบเข้า ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลในตัวเขา จึงตรัสถามว่าเธออยากบวชหรือ

"พระเจ้าข้า"

"ทำไมยังไม่ได้บวชล่ะ"

"พระสงฆ์ท่านไม่บวชให้ พระเจ้าข้า"

"พระพุทธองค์ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ตรัสว่า

"พราหมณ์เฒ่าอยากบวช ทราบว่าไม่มีใครรับประกันให้เธอบวช ในที่นี้มีใครระลึกถึงอุปการะที่พราหมณ์คนนี้กระทำไว้บ้าง"

พระสารีบุตรอัครสาวกกราบทูลว่า "ข้าพระองค์รำลึกได้พระเจ้าข้า พราหมณ์เฒ่านี้เคยถวายข้าวทัพพีหนึ่งแก่ข้าพระองค์"

"ถ้าเช่นนั้น สารีบุตร เธอก็รับรองให้ก็แล้วกัน"

พระสารีบุตรได้รับรองความประพฤติของพราหมณ์ แกจึงได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุ นามว่า ราธะ ความจริงเรื่องนี้ถูกนำไปเล่าขานเพื่อแสดงคุณธรรมหลายประการ เช่น ความเป็นผู้กตัญญูกตเวที (ของพระสารีบุตร) ความเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและความเป็นผู้ว่าง่าย วันนี้นำเสนอในด้านความเป็นผู้อ่อนน้อม

พระราธะบวชมาแล้ว เป็นผู้ขยันขันแข็งในการฝึกอบรมว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน ยินดีรับโอวาทว่ากล่าวตักเตือนจากทุกคนโดยเฉพาะกับพระสารีบุตร พระอุปัชฌาย์ ท่านนอบน้อมเป็นอย่างยิ่ง อุปัชฌาย์สั่งสอนอะไรก็น้อมรับไปปฏิบัติ จนลบคำกล่าวโดยทั่วไป

คำกล่าวที่ว่า พระบวชเมื่อแก่อ่อนน้อมหายาก พระบวชเมื่อแก่ว่าง่ายหายาก พระบวชเมื่อแก่ขยันขันแข็งหายาก พระบวชเมื่อแก่เป็นพหูสูตหายาก เป็นต้น

วันหนึ่ง พระอุปัชฌาย์พาพระราธะเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า สารีบุตร สัทธิวิหาริก (ศิษย์) ของเธอเป็นอย่างไรบ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่า ว่าง่ายสอนง่าย มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นเลิศ พระเจ้าข้า

เพราะคุณธรรมนี้แล ทำให้ท่านราธะเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุพระอรหันต์หลังจากบวชไม่นาน

คราวต่อไปขอเล่านิทานคนชอบเบ่งอันเป็นอัปมงคลบ้าง

ได้เล่านิทานประกอบความอ่อนน้อมถ่อมตนมาหนึ่งเรื่อง คราวนี้ขอยกเรื่องความประพฤติตรงกันข้ามมาเล่าเพื่อความมันส์บ้าง เรื่องนี้โด่งดังมากในแวดวงผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาที่น่าสังเกต

เรื่องนี้เล่าโดยพระพุทธองค์เอง เล่าเชิงตำหนิพระญาติวงศ์ของพระองค์เองด้วย แสดงถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ บรมครูของโลกทั้งปวง ไม่มีพรมแดน ไม่แบ่งว่าใครเป็นพระญาติวงศ์ของพระองค์ ใครมิได้เป็น ทรงถือว่า เวไนยสัตว์ทั้งปวงเป็น "ลูก" ของพระองค์เหมือนกันใครดีก็ชม ใครไม่ดีก็ตำหนิให้แก้ไข แก้ไขไม่ได้ก็ปล่อยวางอุเบกขา ปล่อยไปตามกรรมของแต่ละคน


กษัตริย์ศากยวงศ์

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงส่งราชทูต ไปขอขัตติยนารีจากศากยวงศ์ เพื่ออภิเษกสมรส แต่ด้วยความมุ่งหมายสำคัญ คืออยากจะเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้าทางสายโลหิต แต่กษัตริย์ศากยวงศ์ทั้งหลายไม่ยินดีให้ จึงส่งธิดาอันเกิดแต่นางทาสีของเจ้าชายมหานามไปให้

เรื่องของเรื่อง คือ พวกศากยะหยิ่งในสายเลือดอันบริสุทธิ์ของตนเอง โอ่ว่าเป็นเผ่าสุริยเทพ บริสุทธิ์ผุดผ่อง จึงไม่ยอมให้ไปปะปนกับสายเลือดอื่น พูดง่ายๆ เบ่งว่าอย่างนั้นเถอะ

เบ่งทั้งๆ ที่ตัวก็เป็นเมืองเล็กๆ มีอยู่กระจุกเดียว แถมเป็นเมืองขึ้นของเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลอีกต่างหากเมื่อความลับเปิดเผย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพิโรธ ถอดสองแม่ลูกออกจากตำแหน่ง พระพุทธเจ้าทรงอธิบายให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าใจว่า สายเลือดแม่ไม่สำคัญเท่าสายเลือดพ่อ ลูกนางทาสีที่เกิดจากกษัตริย์ก็ยังคงเป็นกษัตริย์อยู่นั้นเอง พระองค์ทรงเชื่อพระพุทธเจ้า คือตำแหน่งให้ตามเดิม

องค์รัชทายาทน้อยเสด็จไปเยี่ยมพระเจ้าตา (มหานาม) และพระประยุรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์ ถูกพวกศากยะจอมเบ่งดูถูกหนักหนาสาหัสมาก เด็กน้อยถึงกับสาบานว่าจะต้องฆ่าล้างโคตรเมื่อมีอำนาจ หลังจากได้ราชบัลลังก์จากพระราชบิดา จึงยกทัพไปทำลายล้างพวกศากยะตายเป็นเบือ ส่วนที่หนีหลุดรอดไปได้ก็มีพระเจ้าตาและบริษัทบริวารจำนวนหนึ่ง

ยังดีว่าวิฑูฑภะแกยังเห็นแก่พระเจ้าตา ไม่สั่งฆ่า ข้อมูลภายหลังบอกว่า พระเจ้าตาก็กระโดดน้ำฆ่าตัวตายหนีความอัปยศ

เมื่อพระสงฆ์สนทนากันด้วยความกังขาว่า ทำไมหนอพวกศากยะจึงถูกฆ่าตายอย่างอเนจอนาถเช่นนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าความหยิ่งจองหองของพวกศากยะเอง ไม่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นเหตุให้ประสบหายนะดังที่เห็น...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 7:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความสันโดษ

มงคลข้อต่อไป คือ ความสันโดษ เป็นคุณธรรมที่สับสน อธิบายกันไปต่างๆ นานา

ถ้าเราแปลว่า สันโดษ คือ ความยินดีตามมีตามได้ ก็แฝงความในแง่ลบว่า อย่าไปทะเยอทะยานสร้างสรรค์อะไร ให้พอใจอยู่แค่นั้น แล้วก็จะทอดอาลัย ทอดถอนธุระไม่เอาเรื่องเอาราว

แต่ถ้าแปลให้ชัดว่า สันโดษ คือ ความภูมิใจในผลได้ ผลสำเร็จ ที่ตนได้รับหลังจากทุ่มเทความรู้ความสามารถและพละกำลังลงไป ในทางที่ถูกตามทำนองคลองธรรมแล้ว อย่างนี้ไม่แฝงความหมายในแง่ลบ ตรงข้าม กลับมีความหมายในแง่บวก

ธรรมะที่สนับสนุนสันโดษ คือ ความเพียร ส่วนธรรมที่ตรงข้ามกับสันโดษ คือ ความโลภ

พระอุปนนท์

ท่านรูปนี้เป็นพระในตระกูลศากยวงศ์ เชื้อสายเดียวกับพระพุทธองค์ อาจเป็นว่าเคยเป็นเจ้ามาก่อน ติดความสบาย จึงมีความเป็นอยู่ค่อนข้างหรูหรา ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าให้พอใจในปัจจัยสี่ตามมีตามได้ รู้จักพอในปัจจัยสี่ (แต่อย่าพอในการบำเพ็ญกุศลธรรม ดังกล่าวมาแล้ว) แต่ท่านก็ไม่พอ

ใกล้วันจำพรรษา พระเถระนามว่าอุปนนท์ก็จะไปเยี่ยมวัดต่างๆ ไปคุยกับสมภารเจ้าวัด ขากลับก็วางรองเท้าไว้วัด ก. ไปที่วัด ข. วางร่มไว้ ไปที่วัด ค. ก็วางคนโทน้ำไว้ พระในวัดเข้าใจว่าพระเถระท่านลืมบริขาร ก็อุตส่าห์เก็บไว้ให้

พอออกพรรษาแล้ว ท่านก็เดินสายไปตามวัดต่างๆ ดังกล่าว ถามว่าญาติโยมถวายอะไรให้แก่พระที่จำพรรษาในวัดนี้บ้างเมื่อพระสงฆ์กราบเรียนว่า ถวายสิ่งนี้ๆ ขอรับ ท่านก็ทวงว่าไหนล่ะ ส่วนของฉัน

"พระเดชพระคุณสมเด็จฯ เอ๊ย หลวงพ่อมิได้จำพรรษาที่วัดนี้ขอรับ จึงไม่มีส่วนแบ่ง" พระสงฆ์กราบเรียน

"ใครบอก ก็ฉันให้รองเท้าจำพรรษาแทนยังไง ฉันก็ต้องได้ส่วนแบ่งด้วยสิ" พระเถระอธิบาย

พระสงฆ์ก็จำต้องแบ่งให้ท่านตามที่ทวง ท่านก็เอาไทยธรรมที่ได้ใส่ยานเข็นไป ไปยังวัดที่สอง ที่สาม ก็ทวงเช่นเดียวกัน ได้ส่วนแบ่งแล้วก็บรรทุกเต็มยาน เข็นไป

พฤติกรรมของพระอุปนนท์ล่วงรู้ถึงพระพุทธองค์ พระองค์ทรงตำหนิความมักมากในปัจจัยสี่ของพระอุปนนท์

ตรัสเล่านิทานสอนใจว่า

มีนากสองตัว ตัวหนึ่งหากินน้ำตื้น อีกตัวหากินน้ำลึก ได้ปลาใหญ่มาตัวหนึ่ง เกิดแย่งกัน ตกลงกันไม่ได้ ไปขอร้องให้สุนัขจิ้งจอกช่วยตัดสิน สุนัขจิ้งจอกขอสัญญาว่า ถ้าแกตัดสินอย่างไรจะเชื่อฟังไหม เมื่อทั้งสองตกลง จึงแบ่งปลาเป็นสามส่วนท่อนหัวให้นากตัวที่หากินน้ำลึก ท่อนหางให้นากตัวที่หากินน้ำตื้นส่วน อะแฮ้ม ตรงกลาง พุงปลามัน นั่นแลท่านสุนัขผู้พิพากษาคดีให้เหตุผลว่า

"ส่วนกลางนี้ ข้าผู้ทำหน้าที่พิพากษาความ ต้องเสียสมองคิดมาก จึงควรที่จะได้ไป" ว่าแล้วท่านสุนัขจิ้งจอกก็คาบพุงปลาวิ่งหนีไป ปล่อยให้นากสองตัวมองตากันปริบๆ

นิทานเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าพระพุทธองค์ทรงสะท้อนความมักมาก ไม่รู้จักสันโดษของพระอุปนนท์ หรือว่าความซื่อของพระสงฆ์ในวัดทั้งสาม ซื่อจนเซ่อ เปิดโอกาสให้คนฉลาดแกมโกงหลอก ก็ไม่รู้สิครับ จบแค่นี้แหละ...



มีต่อ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2007, 6:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความกตัญญู

มงคลต่อไป ความกตัญญู พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า ความกตัญญูเป็นภูมิหรือพื้นฐานของสัตบุรุษ

คนดีตัดสินกันได้ที่ความกตัญญู ใครขาดกตัญญูหรือคนเนรคุณนั้นไม่เรียกว่าเป็นคนดี เป็นคนชั่ว ไม่ควรคบ โบราณว่า คนเนรคุณเป็นคน "ทำมาหากินไม่ขึ้น ไม่เจริญ"

ความกตัญญูนี้ ถ้าดูเพียงขอบเขตแคบๆ ก็คือรู้คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ กตเวทีก็คือตอบแทนคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขอบเขตของกตัญญูกตเวทีนั้นไม่ควรแคบแค่นี้ ควรขยายออกไปถึงบุคคลอื่นที่มีบุญคุณต่อเรา และต่อมนุษย์ทั้งหลาย ครอบคลุมถึงสัตว์ สภาพแวดล้อม และธรรมชาติทั้งหลายที่มีคุณต่อมนุษยชาติด้วย

กวางกับนายพราน

เรื่องนี้ผู้แต่งมังคลัตทีปนี (มงคลทีปนี) ไม่ได้เล่าไว้ ผมนึกขึ้นมาได้ ขอนำมาแทรกเพื่อแสดงถึงว่า ผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณ แม้กระทั่งบุญคุณต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมประสบหายนะ

มีกวางตัวหนึ่งถูกนายพรานตามล่ามานาน เอาตัวรอดมาได้ทุกที คือ เวลานายพรานแกวิ่งไล่จับ กวางน้อยก็จะวิ่งเข้าป่าละเมาะ ไปซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้หนาพุ่มหนึ่ง นายพรานตามหาไม่พบ จึงกลับไปด้วยความผิดหวัง

กวางน้อยมีความเข้าใจว่าที่พุ่มไม้แห่งนี้แหละปลอดภัยที่สุดทุกครั้งที่ถูกไล่ ก็จะวิ่งมาหลบซ่อนที่พุ่มไม้นี้ วันๆ ก็ไม่ค่อยไปที่ไหน หิวมาก็กัดกินใบไม้ทีละใบสองใบ จนพุ่มไม้โปร่ง มองทะลุผ่านได้ กวางน้อยก็ยังไม่รู้ตัว

วันหนึ่ง ขณะเจ้ากวางน้อยออกไปกินน้ำที่ลำธาร ก็ถูกนายพรานคนเดิมไล่ตาม จึงวิ่งกลับมาพุ่มไม้ที่ตนคิดว่าปลอดภัยที่สุดซ่อนตัวอยู่

นายพรานที่เคยตามกวางมายังที่ดังกล่าวแล้วไม่พบเพราะใบไม้หนาทึบปิดบัง แต่คราวนี้แกมองเห็นกวางหลบอยู่ จึงยิงถูกกวางน้อยสิ้นชีวิต ตกลงวันนั้นนายพรานพร้อมครอบครัวได้กินลาบลู่เนื้อกวางกันอย่างเอร็ดอร่อย

นิทานจบแล้ว สาระอยู่ตรงไหน แล้วแต่จะอธิบายว่าเพราะกวางน้อยมันประมาท กัดกินใบไม้ที่ปกคลุมตัวจนโปร่ง จึงถึงแก่ชีวิตก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ผมต้องการ "ชัก" หรือ "ลาก" เข้า ข้อสรุปในใจของผมว่า กวางน้อยมันไม่รู้จักบุญคุณของพุ่มไม้ที่คุ้มกะลาหัวให้มันปลอดภัยมาหลายครั้งแล้ว ไปกัดกินใบไม้จนโล่งโกร๋นไปหมด ท้ายที่สุดมันก็ถึงแก่กาลกิริยาแล...


พระอานนท์

พระอานนท์เป็นผู้มีเมตตามาก ท่านมักเก็บเอาเด็กขอทานที่ไร้ที่พึ่งมาฝึกฝนอบรมศีลธรรม เมื่อเห็นควรบวชได้ ท่านก็บวชให้เป็นสามเณร มีภิกษุรูปหนึ่งบวชเป็นศิษย์พระอานนท์ รู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณที่ท่านได้อนุเคราะห์ตนให้มีโอกาสบวชปฏิบัติธรรมจึงเอาใจใส่อุปัฏฐากดูแลท่านพระอานนท์ในฐานะอุปัชฌาย์อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการตักน้ำฉัน น้ำใช้ ปัดกวาดอาสนะ รับบาตร จีวร

วันหนึ่งพระอานนท์รับนิมนต์ไปฉันในพระราชวัง พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายจีวรแก่พระเถระหลายผืน พระเถระได้มาแล้วก็มอบให้แก่พระภิกษุลูกศิษย์รูปนั้นทั้งหมด ไม่เก็บไว้ใช้ส่วนตัวเลย

พระหนุ่มรูปนั้นก็นำเอาจีวรเหล่านั้นไปแจกจ่ายแก่เพื่อนพระด้วยกันจนหมดเช่นกัน การกระทำของพระอานนท์ ตอนแรกถูกพระภิกษุด้วยกันนินทาว่า เป็นการเห็นแก่หน้า พระอานนท์มีฉันทาคติ คือ รักลูกศิษย์รูปเดียว ได้จีวรมาก็ให้แก่ลูกศิษย์ที่ตนรักรูปเดียว ยังดีที่ลูกศิษย์เป็นคนใจกว้าง นำจีวรมาแจกให้พระรูปอื่นได้ใช้ด้วย

พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องนั้น จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาเข้าเฝ้า ตรัสว่า อานนท์มิได้มีฉันทาคติ แต่อานนท์เธอมีความกตัญญู เธอรู้ว่าพระลูกศิษย์นั้นได้ปรนนิบัติเธอเป็นอย่างดี เธอซาบซึ้งในความดีของลูกศิษย์ จึงได้มอบจีวรทั้งหมดแก่ลูกศิษย์

ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เห็นแก่คุณธรรมความดียิ่งชีวิต

เมื่อครั้งพระเทวทัตสั่งปล่อยช้างนาฬาคิรีแล่นมาหมายจะเหยียบพระตถาคตนั้น อานนท์มีความกตัญญูรู้คุณของพระตถาคตไม่คิดถึงชีวิตของตน ออกไปขวางหน้าช้างตกมัน จนตถาคตต้องแผ่เมตตาจิตสยบพญาช้างนั้นเสีย

นี้แสดงว่าอานนท์มีความกตัญญูกตเวทีต่อตถาคต ความมีกตัญญูกตเวทีนั้น เป็นคุณสมบัติประจำตัวอีกประการหนึ่งของอานนท์ ที่พึงสรรเสริญยิ่ง...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2007, 7:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การฟังธรรมตามกาล

มงคลข้อต่อไป คือ การฟังธรรมตามกาล

ธรรม ในที่นี้ได้แก่ "สิ่งถูกต้องดีงาม" สิ่งถูกต้องดีงามโดยรวบยอดก็คือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา

อรรถกถาไขว่า เวลาที่จิตฟุ้งซ่านหรือถูกกามวิตกเป็นต้นครอบงำ ควรจะฟังธรรมเพื่อบรรเทาเบาบางความฟุ้งซ่าน หรือบรรเทากามวิตกนั้น และต้องฟังอย่างเคารพสูงสุด มิใช่ฟังเพื่อจับผิดคนพูดหรือคนแสดง หรือฟังด้วย "อติมานะ" (ถือตน) อยู่ในใจว่า เรื่องนี้ข้ารู้แล้ว

อานิสงส์การฟังธรรมมี 4 ประการ คือ

1. ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง
2. สิ่งที่เคยฟังแล้วชัดเจนยิ่งขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยได้
4. ทำความเห็นให้ถูกตรง จิตของผู้ฟังก็ย่อมแจ่มใส

กบฟังธรรม

การฟังธรรมด้วยจิตเลื่อมใส ถึงแม้จะไม่รู้เรื่อง ก็มีผลในการกล่อมเกลาจิตได้ และส่งให้ไปสุคติ คือ เกิดในภพที่ดี มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ประชาชน ข้างสระคัครา เด็กเลี้ยงโคคนหนึ่งมาฟังธรรมด้วย โดยยืนเอาไม้เท้าค้ำคางห่างจากสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมพอสมควร แกตั้งใจฟังอย่างสนอกสนใจ โดยหารู้ไม่ว่าได้ทำให้กบน้อยตัวหนึ่งตาย เพราะตรงที่แกปักไม้เท้าลงไปนั้น ไม้เท้าไปบี้หัวของกบซึ่งกำลังฟังธรรมด้วยจิตใจอันเลื่อมใสตายพอดี กบนั้นแกไม่รู้เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงแสดงดอก แต่พระสุรเสียงกังวาน ทำให้แกรู้สึกสบายหูยังกับฟังเสียงดนตรี

กบเคราะห์ร้ายตัวนั้นตายไปแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร ชื่อมัณฑูกเทพบุตรบนสรวงสวรรค์ รำลึกความหลังของตนได้ จึงมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ด้วยร่างกายอันเรืองรอง ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่ว

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "ใครมีร่างกายเรืองรอง ยืนไหว้เราตถาคตอยู่"

มัณฑูกเทพบุตรกราบทูลว่า "ข้าพระองค์เป็นกบอยู่ริมสระน้ำคัครา ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ด้วยจิตอันเลื่อมใสในพระสุรเสียงอันก้องกังวาน ขณะนั้นถูกไม้เท้าของนายโคบาลบดขยี้จนสิ้นชีวิต ด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรมด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น จึงมาอุบัติเป็นเทพบุตร นามว่า "มัณฑูกเทพบุตร" พระเจ้าข้า"

เรื่องทำนองนี้มีแม่ไก่ที่อาศัยอยู่ในวัด ได้ยินพระสงฆ์ท่านสวดพระอภิธรรมเป็นประจำ ถึงไม่เข้าใจแต่ก็สดับเพลิน เพราะเสียงสวดนั้นทำให้รื่นหู เมื่อแม่ไก่นั้นตายไปก็มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ เกิดเป็นเทพบุตรเช่นเดียวกับกบน้อย

ขอฝากให้ช่วยกันพินิจพิจารณาด้วย พระพุทธวจนะตรัสรับรองว่า "เมื่อจิตผ่องใสแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้"


คนเลี้ยงโค

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองแห่งหนึ่งเพื่อโปรดคนเลี้ยงโคยากจนคนหนึ่งที่ปรากฏในข่ายคือพระญาณตอนค่อนรุ่งตามพุทธกิจของพระองค์มี 5 ประการ ทรงบำเพ็ญเป็น "กิจวัตร" คือ ใกล้จะรุ่งจะทรงพิจารณาดูสัตว์โลกที่จะพึงเสด็จไปโปรด และรุ่งเช้าเสด็จออกบิณฑบาตไปโปรดคนที่ปรากฏในข่ายคือพระญาณเวลาเย็นทรงแสดงพระธรรมเทศนา เวลาพลบค่ำก็ทรงให้โอวาทแก่ภิกษุและภิกษุณี ดึกดื่นค่อนคืนทรงแก้ปัญหาเทวดา

คนเลี้ยงโคได้ทราบข่าวพระพุทธองค์เสด็จแสดงธรรมแก่ประชาชน ก็อยากจะไปฟัง แต่บังเอิญโคของเขาหายไปตัวหนึ่ง ต้องตามหาโคนั้นจนพบ ไล่ต้อนเข้าฝูงแล้ว ก็ต้อนโคทั้งหมดเข้าคอกแต่วัน เพื่อถือโอกาสไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์

กว่าเขาจะต้อนโคเข้าคอกเรียบร้อยเวลาก็เกือบเที่ยงแล้ว เขาคิดว่าถึงจะได้ฟังเพียงบางส่วนก็ยังดี จึงรีบมุ่งหน้าตรงไปยังบริเวณพิธี ไปถึงก็ถวายบังคมพระพุทธองค์แล้วนั่งอยู่ท้ายบริษัท

ปรากฏว่าพระพุทธองค์ยังมิได้เริ่มแสดงธรรมเลย ประทับนั่งนิ่งอยู่ พุทธบริษัท เมื่อพระพุทธองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรม ก็นั่งสงบเช่นกัน

พอทอดพระเนตรเห็นเขา แทนที่จะเริ่มแสดงพระธรรมเทศนา พระองค์ตรัสถามเจ้าภาพว่า "มีอาหารเหลือจากถวายพระสงฆ์ไหม" เมื่อเขากราบทูลว่า "มีอยู่ พระเจ้าข้า" พระองค์รับสั่งให้หาอาหารมาให้เขารับประทาน

เมื่อเขารับประทานอิ่มหมีพีมันแล้ว กายสบาย จิตใจก็ปลอดโปร่งพร้อมจะสดับพระธรรมเทศนาแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา เขาฟังจบก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล

พระพุทธองค์ทรงแสดงนัยให้เห็นว่า กายกับใจต้องเอื้อแก่กัน จิตใจที่เข้มแข็งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง ร่างกายที่หิวโหย ย่อมทำให้จิตใจว้าวุ่นกังวล ถึงตั้งใจฟังธรรมอย่างไรก็คงไม่รู้เรื่อง ต้องให้กินอาหารให้อิ่มเสียก่อน การฟังธรรมจึงจะเกิดผลเป็นอย่างดี



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2007, 8:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความอดทน

มงคลข้อต่อไป คือ ขันติ ความอดทน ถ้าอธิบายอย่างพระก็ต้องแยกประเภทขันติอธิบาย จึงจะเข้าใจดี ขันติแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. ขันติธรรมดา หมายถึง ความอดทนทั่วไป เช่น อดทนต่อความหิวกระหาย ความเหนื่อย ความหนาวร้อน ความเจ็บปวดทุกขเวทนาต่างๆ

2. อธิวาสนขันติ ขันติ คือ ความอดกลั้นต่อคำล่วงเกินของผู้อื่น

3. ตีติกขาขันติ คือ ความอดกลั้นต่อกิเลส ไม่ให้มาครอบงำใจ

ขันติอย่างหลังนี้ มีพุทธวจนะรับรองว่าเป็นยอดแห่งความอดทน หรือยอดเครื่องเผากิเลส

ส่วนขันติที่มุ่งหมายในมงคลนี้ ท่านหมายเอา ความอดทนต่อคำล่วงเกินของคนอื่น เช่น ถูกคนชั่วด่าว่า กระแนะกระแหน หรือทำร้ายเอาก็อดทน ไม่ถือสา ถือเสียว่า "หมากัดไม่กัดตอบ"

ขันติวาทีดาบส

พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์นามว่า กุณฑะ บวชเป็นดาบสบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า นานๆ จะเข้าเมืองสักที คราวหนึ่งท่านเข้ามาในเมือง มาพักอยู่ที่พระราชอุทยานของพระเจ้ากลาปุเจ้าแห่งนครพาราณสี

พระเจ้ากลาปุเสด็จไปหาความสำราญในพระราชอุทยานแวดล้อมไปด้วยสาวสนมกำนัลในสวยงาม ทรงเสวยน้ำจัณฑ์จนเมามาย ทรงเอาพระเศียรหนุนตักนางกำนัลคนหนึ่งหลับไป

บรรดาสาวงามทั้งหลายก็พากันเดินชมพระราชอุทยานมาพบดาบสนั่งอยู่ใต้ต้นสาละที่บานสะพรั่ง ก็พากันมาไหว้ ฟังธรรมจากท่าน พระราชาตื่นบรรทม ไม่เห็นบรรดาสาวสนมกำนัลใน ก็ทรงพิโรธ ยิ่งทอดพระเนตรเห็นพวกนางนั่งฟังธรรมอยู่กับดาบส ยิ่งไม่พอพระทัย ทรงคว้าพระแสงดาบ เสด็จเข้าไปถามว่า "ดาบสท่านมีปกติสอนเรื่องอะไร"

"อาตมาสอนเรื่องขันติ มหาบพิตร" ดาบสตอบ

"ขันติเป็นอย่างไร"

"ขันติ คือ ความอดทนต่อผู้ที่ด่าว่า ผู้ข่มขู่ ผู้ประหารเรา"

"ท่านว่าท่านสอนขันติ คราวนี้จะได้เห็นกันละว่าท่านมีขันติแค่ไหน" พระราชารับสั่งให้เพชฌฆาตมัดดาบส แล้วถีบให้ล้มลง เอาเท้าทั้งสองเตะสีข้างของดาบส พระราชาตรัสถามว่า "ท่านยังยืนยันว่าสอนขันติอยู่หรือไม่"

"อาตมายังยืนยันว่าอาตมากล่าวสอนขันติ"

"ถ้าเช่นนั้น ตัดข้อมือข้อเท้าดาบส" พระราชารับสั่งให้เพชฌฆาตตัดมือและเท้าดาบส แล้วตรัสถามเช่นเดิม ดาบสก็ยังตอบเช่นเดิม

พระราชาจึงสั่งให้ตัดหูและจมูกดาบส เมื่อดาบสยังยืนยันเช่นเดิม จึงทรงพิโรธหนักขึ้น ถึงขั้นเอาพระปราษณี (ส้นเท้า) กระทืบยอดอกดาบส แล้วหลีกไป

เสนาบดีเข้าไปประคองดาบส พลางขอร้องให้ท่านอย่าโกรธเพชฌฆาตผู้ทำตามคำสั่งพระราชาเลย ให้โกรธพระราชาเถอะ

ดาบสกล่าวตอบเป็นคำโศลกว่า

"พระราชาใดสั่งให้เฉือนมือและเท้าเรา และสั่งให้ตัดหูและจมูกเรา ขอพระราชานั้นจงทรงมีพระชนม์ยืนนานเถิด คนเช่นเราไม่โกรธเลย"

กล่าวโศลกจบดาบสก็สิ้นใจ

ส่วนพระราชาชั่วร้ายนั้นพอออกจากประตูพระราชอุทยานแผ่นดินแยกออกเป็นช่อง ดูดหายไปต่อหน้าต่อตาคนจำนวนมากตายไปเกิดในอเวจีมหานรก

คนมีความอดทนฉกาจฉกรรจ์เช่นขันติวาทีดาบส คงหาไม่ได้ง่ายๆ ดอก ให้เราเป็น ถึงจะเห็นด้วยกับการรู้จักอดทนต่อคำล่วงเกิน ต่อการทำร้ายของคนอื่น ก็ไม่ถึงขนาดยอมให้เขาเฉือนมือเท้า ตัดหู ตัดจมูก ดอกครับ

สำหรับปุถุชนคนมีกิเลสอย่างเรา อดทนพอท้วมๆ ก็พอ

หรือใครจะเอาอย่างดาบสยอดอดทนท่านนี้บ้าง เชิญเถอะครับ ผมยังใจไม่ถึง...


พระปุณณเถระ

วันหนึ่งพระปุณณเถระ ไปทูลอำลาพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่พระศาสนายังประเทศสุนาปรันตกะ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า

"ปุณณะ ชาวสุนาปรันตกะเป็นคนดุร้ายกักขฬะ พวกเขาจะด่าบริภาษเธอ เธอจะทนไหวหรือ"

"เขาด่าว่ายังดีกว่าเขาประหารด้วยมือ พระเจ้าข้า"

พระเถระทูลตอบ

"ถ้าเขาตบเธอเล่า"

"ก็ยังดีกว่าประหารด้วยก้อนดินและท่อนไม้ (เอาก้อนดินปา ขว้างท่อนไม้ใส่) พระเจ้าข้า"

"ถ้าเขาขว้างก้อนดินท่อนไม้ใส่ล่ะ"

"ก็ยังดีกว่าประหารด้วยศัสตรา (มีดแทง) พระเจ้าข้า"

"ถ้าเขาเอามีดแทงล่ะ"

"ก็ยังดีกว่าเขาฆ่าให้ตาย พระเจ้าข้า"

"ถ้าเขาฆ่าให้ตายล่ะ จะว่าอย่างไร" พระพุทธเจ้าทรงซักจนถึงที่สุด ลองฟังคำกราบบังคมทูลของพระเถระใจสิงห์ดูสิครับ

"ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า คนชาวสุนาปรันตกะนี้ดีนักหนาที่ฆ่าเราด้วยศาสตราอาวุธ มนุษย์บางจำพวกได้รับทุกขเวทนาเบื่อหน่ายต่อชีวิต อยากตาย ต้องขวนขวายแสวงหาศัสตราอาวุธมาทำลายตัวเอง แต่เราได้อาวุธนั้นมาเอง โดยไม่ต้องเหนื่อยแรงแสวงหา ช่างโชคดีจริงหนอ"

พระพุทธเจ้าทรงสดับ และทอดพระเนตรเห็นแววตาอันแสดงเจตนาเด็ดเดี่ยวแน่วแน่มั่นคงของพระปุณณเถระ ก็ทรงเปล่งอุทานว่า "สาธุๆ ปุณณะ คนอย่างเธอสมควรไปเผยแผ่พระศาสนาที่ประเทศสุนาปรันตกะ"

เรื่องนี้แสดงถึงความมีขันติอดทนของพระปุณณะ ท่านได้เตรียมกายเตรียมใจไว้ล่วงหน้าแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นจริงๆ ท่านก็ย่อมทนได้ตามที่ได้ยืนยันต่อพระบรมครูแล้วแล


ท้าวสักกเทวราช

วาทะที่แสดงถึงอานิสงส์ของความอดทน และสรรเสริญคนอดทนนั้น สรภังดาบส (พระโพธิสัตว์) เป็นคนหนึ่งที่กล่าวสุภาษิตได้กินใจ พระพุทธเจ้าทรงนำมาเล่าให้เหล่าสาวกของท่านฟังอีกทอดหนึ่ง ดังนี้ครับ

(1) ฆ่าความโกรธเสียได้บุคคลก็ไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤๅษี (ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่) ทั้งหลาย สรรเสริญการไม่ดูหมิ่นกันบุคคลควรอดทนต่อคำผรุสวาท ความอดทนเช่นนั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าเป็นสิ่งสูงสุด"

(2) คนทั้งหลายอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ใหญ่ เพราะกลัว อดทนต่อคนเสมอกันเพราะต้องการแข่งดี แต่ถ้าคนใหญ่คนโตสามารถอดทนต่อคนที่ต่ำกว่าตนได้ ความอดทนนี้แหละสัตบุรุษทั้งหลายยกย่องว่าสูงสุด

ดังกรณีของท้าวสักกเทวราช อสูรกับเทวดารบกันเป็นระยะๆ ส่วนมากเทวดาชนะอสูร ครั้งหนึ่งอสูรแพ้ ท้าวเวปจิตติ หัวหน้าอสูรถูกจับ ถูกพันธนาการนำไปหาท้าวสักกเทวราช

เวปจิตติอสูรด่าและสาปแช่งท้าวสักกเทวราชต่างๆ นานา

ท้าวสักกเทวราชนั่งฟังเฉย ไม่ใส่ใจในคำด่าของหัวหน้าอสูร มาตุลีเทพบุตรทูลถามว่า ทำไมพระองค์อดทนได้ปานนั้น

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า เรามิได้อดทนเพราะกลัว หรือเพราะเราสู้เขาไม่ได้ แล้วตรัสโศลกบทหนึ่งว่า...

"สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้น ยิ่งกว่าขันติไม่มี
ใครมีกำลังมาก แต่อดกลั้นต่อคนด้อยกำลัง
นับว่าผู้นั้นมีขันติอย่างยอด
เพราะคนที่ด้อยกว่าจำต้องอดทนเป็นประจำอยู่แล้ว"


พระสารีบุตร

เหตุการณ์แรก ขณะที่พระสารีบุตรเข้าฌานสมาบัติอยู่ยักษ์ตนหนึ่งรู้สึกไม่พอใจพระเถระ ด้วยสาเหตุใดไม่ทราบได้

ขณะที่ท่านดื่มด่ำอยู่ในฌานสมาบัติ ยักษ์เธอก็ยกกระบองใหญ่ทุ่มที่ศีรษะพระสารีบุตร พระโมคัลลานะผู้มีฤทธิ์เห็นเหตุการณ์นั้น ต้องการจะป้องกันให้ แต่ไม่ทัน ปัดได้แค่เพียงปลายกระบองยักษ์ กระบองจึงถูกศีรษะพระเถระไม่เต็มที่

กระนั้นก็ตาม ก็ทำให้พระเถระหัวคะมำไปเล็กน้อย จวบกับได้เวลาท่านออกจากฌานสมาบัติพอดี ท่านหันมาเห็นพระโมคคัลลานะยืนอยู่ข้างๆ จึงถามว่า ท่านมาตั้งแต่เมื่อใด

พระโมคคัลลานะกล่าวว่า "เพิ่งมาเดี๋ยวนี้เอง ท่านผู้มีอายุ เป็นอะไรหรือเปล่า"

พระสารีบุตรไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น เอาพระหัตถ์ลูบศีรษะตนเอง พลางกล่าวตอบว่า "ผมสบายดี เพียงแต่รู้สึกมึนศีรษะไปนิด"

พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์อธิบายว่า ถ้ายักษ์ตีศีรษะท่านขณะอยู่ในฌานสมาบัติ จะไม่เกิดผลอะไร เพราะอำนาจฌานสมาบัติจะป้องกันอันตรายทุกอย่างได้ แต่พระเถระออกจากฌานสมาบัติในเวลาที่กระบองถูกศีรษะพอดี และพระโมคคัลลานะก็ปัดกระบองนั้นออก จึงทำให้ท่านรู้สึกเพียงมึนศีรษะไปเท่านั้น

พอพระสารีบุตรท่านทราบว่า ยักษ์อันธพาลมาทำอันตรายท่าน ท่านก็ไม่ถือสา นี้คือความมีขันติของพระอัครสาวกเบื้องขวา

เหตุการณ์ที่สอง พราหมณ์คนหนึ่งได้ยินกิตติศัพท์ว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีขันติธรรม อดทนอดกลั้น ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ ไม่ประหารตอบผู้ที่ประหาร

คำว่า "ประหาร" ในภาษาบาลีใช้คำว่า ปหรติ แปลว่า ดีเฉยๆ ไม่ใช่ฆ่า ถ้าฆ่าท่านจะใช้คำว่า มาเรติ=ย่อมให้ตาย หรือ ฆาเตติ=ย่อมฆ่า

พราหมณ์คนหนึ่งอยากทดลองว่า พระสารีบุตรจะอดทนปานนั้นจริงหรือไม่ วันหนึ่งจึงเดินตามหลังท่าน ขณะท่านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ พอไปทัน ก็ประเคนกำปั้นใส่หลังท่าน

พระเถระเพียงแค่หันมาชำเลืองว่าเกิดอะไรขึ้น ยังคงเดินต่อไปอย่างสงบ ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พราหมณ์เกิดความเร่าเร้อนทั่วสรรพางค์กาย รู้สึกผิดอย่างหนัก ก้มลงกราบเท้าพระเถระ ขอขมาท่านว่า ที่ทำลงไปเพียงแต่ต้องการทดลองว่าท่านมีความอดทนดังเขากล่าวถึงจริงหรือเปล่า

พระสารีบุตรท่านก็ยกโทษให้ พระภิกษุทั้งหลายรู้เรื่องนี้ก็นำมาสนทนาในโรงธรรมว่า น่าอัศจรรย์ พระสารีบุตรจริงหนอ ถูกพราหมณ์ทุบเอาโดยไม่มีสาเหตุ ท่านยังไม่ถือโทษเลย กลับยกโทษให้เขาเสียอีก พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตรัสสอนว่าสารีบุตรเธอเป็น "พราหมณ์" แท้จริง แล้วตรัสโศลกว่า...

"พราหมณ์ย่อมไม่ประหารพราหมณ์
และไม่ประหารตอบผู้ที่ประหาร
ผู้ที่ประหารคนอื่นนับว่าน่าตำหนิ
แต่ผู้ที่ประหารตอบผู้ที่ประหารน่าตำหนิกว่า"



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2007, 8:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความเป็นผู้ว่าง่าย

มงคลนี้ คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย แล้วก็อธิบายในทำนองว่าเป็นว่านอนสอนง่าย คือ บอกอะไรก็ทำตามหมด ไม่คำนึงว่าผู้บอกจะเป็นคนดีหรือชั่ว เรื่องที่บอกให้ทำจะเป็นเรื่องถูกหรือผิด ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมหรือเปล่าไม่คำนึงถึง ท่านบอกเราก็ต้องทำตาม จึงจะเรียกว่าความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ถ้าแบบนี้ก็อันตรายแน่

ที่ถูกต้องแล้ว ความเป็นผู้ว่าง่าย หมายความว่า ครูบาอาจารย์ผู้ทรงศีลทรงธรรมบอกให้เราปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเองให้สูงขึ้น เราก็ต้องน้อมรับฟังและนำไปปฏิบัติตาม

ความหมายอีกนัยหนึ่ง ก็หมายถึงความเป็นคนพูดกันง่าย เข้าใจคนอื่น ยอมรับฟังความเห็นของคนอื่นแม้จะแตกต่างจากความคิดของเราดังนิทานเรื่องพระเจ้าปายาสิ...

พระเจ้าปายาสิ

พระเจ้าปายาสิมีความเห็นว่านรกสวรรค์ไม่มีจริง ทานที่ให้แล้วไม่มีผล สมณชีพราหมณ์เขาเอาเรื่องเหล่านี้มาล่อ เพื่อให้คนเอาข้าวปลาอาหารมาปรนเปรอตัวเองเท่านั้น

ความจริงปายาสิเธอก็มิใช่คนธรรมดา เป็นนักวิจัยตัวยงก่อนที่จะพูดว่าไม่เชื่อ เธอต้องทดลองให้แน่ใจก่อน

เช่นบอกนักโทษประหารว่า คนที่ทำชั่วอย่างแกนี้ สมณชีพราหมณ์เขาว่าจะต้องตกนรกแน่นอน ถ้าแกไปตกนรกจริง ก็ขอให้กลับมาบอกฉันได้ไหม นักโทษก็รับคำ แต่หลังจากประหารแล้วก็หายจ้อย

คราวนี้บอกอุบาสกผู้ทรงศีล ในชีวิตนี้ทำแต่บุญแต่ทานว่าอย่างนั้นเถอะ บอกว่าถ้าท่านตายไปขึ้นสวรรค์จริง ก็ให้กลับมาบอกได้ไหม จะได้หายสงสัยเสียทีว่าสวรรค์นั้นมีจริงหรือไม่ อุบาสกก็ตกปากรับคำ แต่หลังจากตายไปแล้ว อุบาสกแกก็หายต๋อมไปอีกคน

ปายาสิจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่านรกและสวรรค์ไม่มี แต่พอได้โต้วาทะกับพระกุมารกัสสปะ พระเถระได้ชี้แจงแสดงให้ปายาสิเข้าใจด้วยอุปมาอุปมัยบ้าง ด้วยการอนุมานบ้าง ปายาสิก็ยอมเชื่อ ท้ายที่สุดก็ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต

(หมายเหตุ คำอธิบายของพระกุมารกัสสปะว่าไว้อย่างไร โปรดอ่านในปายาสิราชัญญสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ข้อที่ 301 ข 330)

อย่างนี้เรียกว่าความเป็นผู้ว่าง่าย...


พ่อค้าสำเภาห้าร้อยคน

ในเกาะตัมพปัณณิทวีป มีเมืองยักษ์อยู่เมืองหนึ่ง บอกชื่อเสร็จว่า สิรินคร ดูจะเป็นเมืองแม่ม่าย เพราะมีแต่ยักษ์ตัวเมียหรือยักษิณี นางยักษิณีเหล่านี้มักจะพบเห็นพ่อค้าวาณิชที่เรือแตกมาขึ้นเกาะเสมอ และจับกินเป็นอาหารอันโอชะตลอดมา

ว่ากันว่า เมื่อพวกพ่อค้าวาณิชมาถึง จะไม่มีทางรู้ว่าพวกชาวเมืองนี้เป็นยักษ์กินคน เพราะพวกเขาจะจำแลงแปลงกายเป็นคนปกติธรรมดา มีอัธยาศัยดีมาก ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี เมื่อบรรดามนุษย์เห็นแต่ผู้หญิง ก็ถามไถ่ว่าพวกผู้ชายหายไปไหนหมด พวกนางยักษิณีก็จะบอกว่า สามีของพวกนางไปค้าขายทางทะเลเช่นเดียวกัน แต่ไปแล้วก็ไปลับ สงสัยคงจะเรือแตกสิ้นชีวิตกลางทะเลไปแล้ว

พวกเขาคงถามไถ่กันหลายเรื่องหลายราว เอาเป็นว่าในที่สุด ทั้งคนทั้งยักษ์ก็ลงเอยกันด้วยการจับคู่เป็นสามีภรรยากัน พวกมนุษย์หารู้ไม่ว่ามีคนที่มาเกาะนี้ในสภาพเดียวกัน และถูกจับกินมามากแล้ว และที่ยังกินไม่หมด ถูกนำไปขังไว้รอนำมาต้มเปรตกินในครั้งต่อไปก็มีจำนวนมาก

เมื่อพวกนางกินเหยื่อในคุกหมดแล้ว ก็จับพวกเขากินทีละคนสองคน หัวหน้าพ่อค้าเป็นคนฉลาด คอยสังเกตอากัปกิริยาของพวกนางยักษิณี รู้ว่าพวกนางมิใช่มนุษย์ธรรมดา คงเป็นนางยักษ์แน่นอน จึงบอกเพื่อนๆ หลายคนไม่ยอมเชื่อ แต่อีกจำนวนประมาณ 250 คนเชื่อ จึงคิดหาทางหลบหนี และหนีไปได้ในที่สุด

ในที่สุดผู้แต่งตำราก็สรุปว่า พ่อค้าพวกที่เชื่อฟังหัวหน้าเป็นผู้ว่าง่าย จึงรอดพ้นมาได้ ส่วนพวกที่ว่ายาก ไม่ยอมเชื่อฟังหัวหน้า ก็ตกเป็นเหยื่อของนางยักษิณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2007, 8:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การได้เห็นสมณะ

มงคลต่อไป การเห็นสมณะ เป็นมงคลสูงสุด

ข้อนี้อยู่ที่คำว่า สมณะ คือใคร ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนีอธิบายไว้ว่า สมณะ คือ "บรรพชิตผู้มีกาย วาจา และจิตสงบแล้ว"

บุคคลที่ท่านให้คำนิยามไว้อย่างนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพระอรหันต์ เพราะมีพระพุทธวจนะรับรองไว้ว่า "พระอรหันต์นั้น กายท่านก็สงบ วาจาก็สงบ ใจก็สงบ เป็นผู้คงที่ ไม่ฟูไม่ฟุบไปตามโลกธรรม"

การเห็น ในที่นี้มิใช่เพียงมองดูเฉยๆ หมายรวมถึงการไปมาหาสู่การรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ตลอดจนปฏิบัติตามคำสอนของท่าน

ที่ว่าเป็นมงคลนั้น เพราะการคบผู้ที่กายวาจาใจสงบ เป็นเหตุให้โพชฌงค์ 7 เจริญงอกงาม เมื่อโพชฌงค์ 7 เจริญงอกงาม ก็ทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในที่สุด

ความเลื่อมใสของนกฮูก

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าอาศัยอยู่ในถ้ำอินทศาล ที่เขาเวทยิกะ เข้าใจว่าอยู่นอกเมืองราชคฤห์ นกฮูกตัวหนึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เวลาพระองค์เสร็จเข้าเมืองเพื่อโปรดสัตว์ นกฮูกจะบินตามมาส่งครึ่งทาง จ้องมองดูพระองค์ด้วยจิตเลื่อมใส เมื่อพระองค์เสด็จกลับถ้ำ นกฮูกก็จะบินมารอรับครึ่งทาง และทำเช่นนี้เสมอมา

วันหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์ประทับท่ามกลางภิกษุสงฆ์ นกฮูกตัวดังกล่าว เอาปีกทั้งสองประกบกัน ทำนองประนมมือไหว้พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์

พระพุทธองค์ทรงแย้มสรวล พระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มสรวล พระพุทธเจ้าตรัสว่า...

"อานนท์ เธอเห็นนกฮูกตัวนั้นไหม มันมีจิตเลื่อมใสในเราตถาคตและภิกษุสงฆ์ นกฮูกตัวนี้จะท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏเป็นเวลานาน แต่จะไม่เกิดในทุคติเลย ในที่สุดจะเกิดเป็นพระปัจเจกพุทธะ นามว่า โสมนัส"

พระคัมภีร์กล่าวต่อไปว่า รุกขเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้เจรจากับนกฮูกว่า

"แน่ะ เจ้านกฮูกตาโต เจ้าอยู่ที่เขาเวทยิกะมานาน เจ้าเฝ้ามองพระพุทธเจ้าตลอดเวลา เจ้ามีความสุขแท้หนอ"

แทนที่นกฮูกจะตอบเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสแทนว่า...

"นกฮูกนั้น มีจิตเลื่อมใสในเราตถาคต พร้อมภิกษุสงฆ์ จะไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป เขาจุติจากเทวโลกแล้ว จักเกิดเป็นพระปัจเจกพุทธะ นามว่า โสมนัส"


สุนัขเห่าพระปัจเจกพุทธะ

ขอเล่าเรื่องสัตว์อีกสักตัว คือ สุนัข สุนัขตัวหนึ่งเป็นลูกของนางสุนัขที่นายโคบาลคนหนึ่งเลี้ยงไว้ นายโคบาลพร้อมภรรยาเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธะองค์หนึ่ง และเขาทั้งสองจะถวายข้าวมธุปายาสแก่พระปัจเจกพุทธะเวลาท่านมาบิณฑบาต เมื่อพระปัจเจกพุทธะท่านฉัน ก็แบ่งข้าวให้ลูกสุนัขนั้นกินด้วย มันจึงมีความรักพระปัจเจกพุทธะอย่างยิ่ง เมื่อท่านมาที่บ้านนายโคบาลมันก็จะเห่าต้อนรับ เมื่อท่านจะกลับ มันก็เห่าส่งท่านกลับ

วันหนึ่งนายโคบาลได้ไปยังที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธะ เพื่อนิมนต์ท่านไปฉันที่บ้านเป็นประจำ ลูกสุนัขตัวนี้ก็วิ่งตามไป ไล่อย่างไรมันก็ไม่กลับ เมื่อไปถึงที่อยู่พระปัจเจกพุทธะ นายโคบาลจึงกล่าวกับท่านว่า "วันใดผมไม่ว่าง ผมจะให้ลูกสุนัขตัวนี้มารับท่านไปที่บ้าน"

นายโคบาลได้อาศัยลูกสุนัขตัวนี้ไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธะมาที่บ้านเพื่อถวายภัตตาหาร มันก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เมื่อพระท่านจะกลับ มันก็ตามไปส่งจนถึงที่พัก ทำอย่างนี้เรื่อยมา

วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธะท่านตัดสินใจไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่อยากเป็นภาระแก่นายโคบาล สุนัขก็ตามไป ครั้นเห็นว่าท่านไม่ไปตามทางเดิน มันก็ไปขวางหน้าไว้ ไม่ให้เดินไป ปากก็คาบจีวรดึงให้พระกลับไปตามทางที่จะไปที่พักท่าน

เมื่อเห็นว่าท่านจะไปที่อื่นจริงๆ มันก็สุดจะทำอะไรได้ จึงได้แต่ยืนแลดูพระปัจเจกพุทธะท่านเหาะขึ้นสู่เวหาสมุ่งตรงไปยังเขาคันธมาทน์ ปากก็เห่าทำนองขอร้องไม่ให้ท่านไป เมื่อพระปัจเจกพุทธะลับสายตา สุนัขน้อยผู้น่าสงสารก็หัวใจแหลกสลายตาย

ว่ากันว่าเพราะความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้า สุนัขน้อยได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรนามว่า โฆสกเทพบุตร ด้วยอานิสงส์ที่เห่ารับเห่าส่งพระปัจเจกพุทธะเป็นประจำ ก็เลยทำให้เทพบุตรองค์นี้มีเสียงดัง แค่กระซิบอย่างเบาๆ ก็ได้ยินไปทั่วสวรรค์ชั้นฟ้า

นิทานเรื่องนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ที่มองพระผู้สงบด้วยจิตที่เลื่อมใส ย่อมไม่เกิดในทุคติ


มัฏฐกุณฑลี

เด็กหนุ่มคนหนึ่ง เป็นลูกเศรษฐีจอมขี้เหนียว แกมีเงินทองเยอะแยะ แต่ไม่ยอมใช้ และไม่ให้ลูกเมียใช้ เก็บไว้ให้ปลวกกินเสียอย่างนั้นแหละ

แต่แกก็รักลูกคนเดียวมาก อุตส่าห์ไปเอาไม้มากลึงทำเป็นตุ้มหู ทำเสียเกลี้ยงเกลา ขัดเงาแวววาวอีกต่างหาก ให้ลูกใช้คิดดูแล้วกัน ไม่ยอมเสียเงินซื้อสักบาทเดียว ลูกชายแกก็เลยได้ "นิกเนม" ว่า "มัฏฐกุณฑลี หนุ่มตุ้มหูเกลี้ยง"

วันหนึ่งหนุ่มตุ้มหูเกลี้ยงป่วยเป็นโรคดีซ่านร้ายแรง เศรษฐีก็ไปหายากลางบ้านมาต้มให้กินตามมีตามเกิด ไม่ยอมจ้างหมอมารักษา กลัวสิ้นเปลือง รักษาไปรักษามา อาการเจ็บป่วยยิ่งกำเริบหนักถึงขั้นเยียวยาไม่ได้ ต้องตายแน่ๆ

พ่อจอมขี้เหนียวก็นำลูกมานอนที่ชานเรือน เพราะกลัวคนที่มาเยี่ยมไข้จะเห็นทรัพย์สมบัติของแก ว่าถึงขนาดนั้นนะครับ เด็กหนุ่มจึงต้องนอนรอความตายอยู่ที่ชานเรือน

คืนนั้น พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาดูสัตว์โลกที่จะไปโปรดหนุ่มตุ้มหูเกลี้ยงปรากฏในข่ายคือพระญาณว่าจะได้บรรลุธรรม จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต มุ่งพระพักตร์ไปเรือนของเศรษฐีขี้เหนียวทรงแผ่ฉัพพรรณรังสีไปต้องกายของหนุ่มตุ้มหูเกลี้ยง ซึ่งนอนรอความตายอยู่ที่ชานเรือน เด็กหนุ่มเห็นแสงวาบๆ นึกว่าแสงอะไร จึงค่อยๆ พลิกตัวหันไปมองเห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ตรงหน้าด้วยพระรัศมีอันรุ่งเรืองงดงาม จึงนึกด้วยความสลดใจว่า

"เราเกิดมาในตระกูลที่พ่อไม่นับถือพระศาสนา พ่อจึงไม่เคยพาเข้าวัดฟังธรรม ไม่เคยถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แม้แต่ทัพพีเดียว บัดนี้เราก็ป่วยหนัก เพียงแค่จะยกมือนมัสการก็แสนยาก ข้าพระองค์ขอนมัสการ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนี้"

แล้วเขาก็ค่อยๆ ยกมือทั้งสองขึ้นมนัสการพระพุทธองค์อย่างยากเย็น ไหว้เสร็จก็สิ้นลมทันที พระพุทธองค์ตรัสบอกภิกษุสงฆ์ในภายหลังว่า มัฏฐกุณฑลี หรือ หนุ่มตุ้มหูเกลี้ยง ไปเกิดเป็นเทพบุตร เพราะอานิสงส์ คือ ยกมือนมัสการพระเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใส

เรื่องนี้มีเล่าต่ออีกว่า เศรษฐีผู้เป็นพ่อ พอหลังจากลูกชายตายไปแล้ว แกก็ไปป่าช้าที่เผาศพลูก ไปร้องไห้คร่ำครวญหาลูกทุกวัน จนเทพบุตรเธอแปลงเป็นเด็กมาร้องไห้อยู่ข้างๆ เศรษฐีขี้เหนียวถามว่า ร้องไห้ทำไมหนู หนูน้อยบอกว่าร้องไห้อยากได้พระจันทร์ พระอาทิตย์ จะเอามาทำล้อรถ เศรษฐีขี้เหนียวบอกว่า หนูโง่จัง ร้องไห้จนตายก็เอาไปไม่ได้

เด็กน้อยจึงถามว่า แล้วลุงร้องไห้หาใคร เมื่อได้รับคำตอบว่าร้องไห้หาลูกชายคนเดียวที่ตายไป จึงว่า ลุงนั้นแหละโง่กว่าหนู หนูร้องไห้อยากได้ในสิ่งที่มองเห็น แต่ลุงกลับร้องไห้อยากได้ในสิ่งที่มองไม่เห็น...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 9:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การสนทนาธรรมตามกาล

มงคลข้อต่อไป คือ การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลสูงสุด

การสนทนาธรรม คือ การพูดคุย อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันในเรื่องที่ดีงาม ที่ทำจิตใจให้สะอาด สว่าง สงบ

ผู้แต่งคัมภีร์มังคลัตถทีปนี สรุปว่า การสนทนาธรรมตามกาล ก็คือ ผู้เรียนพระสูตรสนทนาพระสูตร ผู้เรียนพระวินัยสนทนาพระวินัย ผู้เรียนพระอภิธรรมสนทนาพระอภิธรรม เพื่อขจัดความหดหู่ใจ ความฟุ้งซ่าน และบรรเทาความสงสัยลงได้

การสนทนาธรรมตามกาล ที่ว่าเป็นมงคล ก็เพราะว่าเป็นเหตุให้เกิดคุณประโยชน์มากมาย เช่น ทำให้ฉลาดแตกฉานในพุทธวจนะ ด้วยประการฉะนี้แล...

ดังเช่นนิทานเรื่องต่อไปนี้...

พระเถรีอรหันต์ถูกข่มขืน

สตรีนางหนึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ วันหนึ่งท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมือง กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปในกุฏิ (กระท่อม) ที่พักซึ่งอยู่ในป่านอกเมืองเพื่อพักผ่อน

หารู้ไม่ว่ามีคนมุ่งร้ายมาแอบซ่อนอยู่ในกระท่อม ได้โอกาสก็ข่มขืนนางภิกษุณีจนสำเร็จความใคร่ สุดที่แรงสตรีจะต้านทานได้ เจ้าวายร้ายนี้นามว่านันทะ นัยว่าหลงรักภิกษุณีรูปนี้มานาน เมื่อนางมาบวช ก็ยังตามมารังควาน นี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

คราวนี้ก็เกิดวงธรรมสากัจฉา (สนทนาธรรม) ขึ้น ในหมู่ภิกษุสามเณรที่รู้เรื่อง นำเอาเรื่องนี้มาถกมาเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น ภิกษุณีอรหันต์ถูกข่มขืน ยังยินดีในกามหรือไม่ บางพวกว่าไม่ยินดี เพราะพระอรหันต์หมดราคะตัณหาแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็แย้งว่า พระอรหันต์ก็มีเนื้อมีหนังเหมือนคนทั่วไป ย่อมจะยินดีเหมือนคนทั่วไป ไม่ใช่ท่อนไม้ ไม่ใช่ก้อนดิน

นี้คือการสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนทัศนะกัน เมื่อตกลงกันไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็จึงเสด็จมาตรัสอธิบายให้ฟังว่า...

พระอรหันต์กับปุถุชนดูภายนอกอาจเหมือนกัน แต่เงื่อนไขทางจิตใจไม่เหมือนกัน แท้จริงแล้ว พระอรหันต์หมดราคะกิเลสแล้ว ย่อมไม่ยินดีในกามอย่างแน่นอน

"เมล็ดพันธุ์ผักกาดวางไว้บนเหล็กแหลม ย่อมไม่ติดปลายเหล็กแหลม หยาดน้ำตกลงใบบัวย่อมกลิ้งตกไป ไม่ติดอยู่ที่ใบบัว ฉันใด กามย่อมไม่ติดอยู่ในใจของพระอรหันต์ ฉันนั้น"

เมื่อกลุ่มสนทนาธรรมได้รับคำตอบจากพระพุทธเจ้า ต่างก็เข้าใจ นี้คืออานิสงส์ของการสนทนาธรรม ถ้าหมั่นประชุม หมั่นสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ก็ย่อมได้ความรู้ ความกระจ่างในปัญญาต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนในด้านต่างๆ นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 9:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การบำเพ็ญตบะ

มงคลข้อต่อไปคือ ธรรมเครื่องเผากิเลส เป็นมงคลอย่างยิ่ง แปลแบบพระ แปลแล้วชาวบ้านก็ไม่เข้าใจ พระบวชใหม่ถึงจะเป็นพระก็ไม่ต่างกับชาวบ้าน คือ ยัง "เป็นงง" อยู่ มันคืออะไร

"ตบะ" คำนี้แปลได้หลายอย่าง แปลว่าความอดทนก็ได้ แปลว่าศีลก็ได้ แปลว่าอุโบสถกรรมก็ได้ แปลว่าการเรียนพุทธวจนะ หรือการบำเพ็ญสมณธรรมก็ได้ แต่ในที่นี้ ตบะ หมายเอาความเพียรอย่างยิ่งยวด

พูดให้สั้นก็คือ มงคลข้อนี้คือความเพียร ความเป็นมงคล (เหตุให้ถึงความเจริญ) อย่างไร คงไม่ต้องอธิบายมาก ความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น คนที่มีความเพียรอย่างเต็มที่ แม้เทวดาก็ปิดกั้นเขาไม่ได้ ดังนิทานเรื่องต่อไปนี้...

พระราชาสองเมือง

พระราชาแห่งเมืองทั้งสองรบกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ

วันหนึ่งฤๅษีตนหนึ่งได้พบพระอินทร์ จึงปรารภเรื่องนี้ให้พระอินทร์ฟัง พระอินทร์พยากรณ์ว่า พระราชาเมือง ก. จะชนะ พระราชาเมือง ข. จะแพ้

ฤๅษีจึงถ่ายทอดคำพยากรณ์ให้เหล่าศิษย์ฟัง คำพยากรณ์ได้ยินไปถึงพระราชาทั้งสองเมือง พระราชาองค์ที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าจะชนะ ก็ทรงดีพระทัย ไม่สนใจตระเตรียมกองทัพ เอาแต่ดื่มฉลองชัยตั้งแต่ยังไม่รบ ส่วนองค์ที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าจะแพ้ ก็ไม่ประมาท พยายามฝึกปรือกองทัพให้เข้มแข็งเตรียมพร้อมเต็มที่

พอเวลารบกันจริง ฝ่ายที่ว่าจะชนะก็พ่ายแพ้ยับเยิน ส่วนฝ่ายที่ว่าจะแพ้ก็ชนะ พระราชาที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าจะชนะ ก็ไปต่อว่าฤๅษี ฤๅษีก็ไปต่อว่าพระอินทร์ว่าทำให้เสียหน้า ทำไมเป็นถึงหัวหน้าแห่งเทพทั้งหลาย มีทิพยจักษุมิใช่หรือ แล้วทำไมถึงทายผิดๆ

พระอินทร์บอกว่า เราทายไม่ผิดดอก ถ้าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามทางของมัน พระราชาองค์ที่ข้าพเจ้าทายว่าจะชนะ ย่อมชนะ องค์ที่ข้าพเจ้าพยากรณ์ว่าจะแพ้ ย่อมแพ้ มันต้องเป็นดังนี้แน่นอน แต่บังเอิญว่าพระราชาองค์ที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าจะชนะมัวแต่ประมาทมัวเมาเสีย ไม่ตระเตรียมอะไรเลย นั่งรอนอนรอโชคชะตาเฉยๆ ส่วนพระราชาองค์ที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าจะแพ้กลับไม่ประมาท มีความพากเพียร เตรียมกองทัพให้พรั่งพร้อมเมื่อถึงคราวรบ เธอจึงได้รับชัยชนะ

แล้วพระอินทร์ก็พูดสรุปเป็นปรัชญาว่า...

"ผู้ที่พากเพียรถึงที่สุด แม้เทวดาก็กีดกันไม่ได้"


หัวหน้าพ่อค้าเกวียน

ในอดีตกาลอันยาวนานโพ้น นานแค่ไหนช่างเถอะ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นหัวหน้ากองเกวียน นำกองเกวียนเดินทางผ่านทางทุรกันดาร ไปถึงทะเลทรายกว้างใหญ่ ทะเลทรายนั้นกลางวันร้อนเป็นเปลวเพลิง จะเดินทางได้เฉพาะกลางคืนเท่านั้น

กองเกวียนเดินทางผ่านไปได้ 59 โยชน์ เหลืออีกเพียงโยชน์เดียวเท่านั้นจะพ้น คิดว่าอีกคืนเดียวก็จะพ้นทะเลทรายแล้วจึงพากันเทน้ำทิ้งหมด บังเอิญคนนำทางเผลอหลับไป โคได้พาเกวียนวกกลับไปยังทางเดิม คันอื่นๆ ก็เดินตาม พอรุ่งเช้าขึ้นมาจึงรู้ว่าพวกตนได้กลับมายังจุดเดิม

พ่อค้าทั้งหลายต่างทอดอาลัยตายอยาก คิดว่าตนคงไม่รอดเป็นแน่นอน แต่พระโพธิสัตว์หัวหน้ากองเกวียนเดินสำรวจดูพื้นที่ตอนเช้า เห็นหญ้ากอหนึ่ง คิดว่าข้างล่างต้องมีน้ำแน่นอน หญ้าจึงขึ้นเขียวชอุ่ม จึงสั่งให้คนขุดทรายลึกลงไปถึงแผ่นดิน คนทั้งหลายพากันหนีหมด

พระโพธิสัตว์ลงไปเอาหูแนบแผ่นดิน ได้ยินเสียงน้ำข้างใต้จึงสั่งให้เอาค้อนมาทุบแผ่นหินจนกระทั่งแตก เกลียวน้ำได้พุ่งขึ้นสูงเท่าต้นตาล คนทั้งหลายได้ดื่มน้ำ รอดตาย เดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางตามปรารถนา

อย่างนี้แหละครับ เรียกว่า ความพากเพียรถึงที่สุดนั้นเป็นยอดยิ่งมิ่งมงคลแล...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2007, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประพฤติพรหมจรรย์

มงคลข้อต่อไปนี้ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นมงคลอย่างยิ่ง

พรหมจรรย์ หมายถึง ทาน การให้ปัน, ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ, ปัญจศีล ศีลห้า, อัปปมัญญา กรุณากับมุทิตาอันหาประมาณมิได้, เมถุนวิรัติ งดเว้นจากเมถุน, สทารสันโดษ ยินดีในภรรยาหรือสามีของตน, วิริยะ ความเพียร, อุโบสถ การรักษาศีลอุโบสถ, อริยมรรค ศาสนาทั้งหมดอันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา, ธรรมเทศนา การแสดงธรรม, อัชฌาสัย การปฏิบัติธรรมที่สอดคล้องกับอัธยาศัยจนได้บรรลุมรรคผล

อย่างใดอย่างหนึ่งในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เรียกว่า พรหมจรรย์ หรือวิถีดำเนินชีวิตอันประเสริฐ และเป็นเหตุให้ได้ความเจริญทั้งนั้น ขอยกนิทานมาประกอบดังนี้...

ภิกษุ 60 รูป

ภิกษุ 60 รูป รับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า แล้วไปยังหมู่บ้านมาติกะ เชิงเขาแห่งแคว้นโกศล นายบ้านและภรรยาของนายบ้าน เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วมีความเลื่อมใส ถวายภัตตาหารแด่ท่านเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ถ้าพระคุณเจ้ามีความประสงค์จะอยู่ที่นี่สัก 3 เดือน ผมและภรรยาจักรับไตรสรณคมน์ รักษาศีล 5 ศีลอุโบสถ ภิกษุเหล่านั้นยินดีรับนิมนต์ นายบ้านและภรรยาจึงจัดที่อยู่ถวายท่าน

ภิกษุเหล่านั้นเจริญกรรมฐานมีอาการ 32 เป็นอารมณ์และเจริญวิปัสสนา

เย็นวันหนึ่ง ภรรยานายบ้านให้คนถือ เนยใส น้ำอ้อย เป็นต้น ไปยังวิหาร ไม่เห็นภิกษุสักรูป จึงสั่งให้ตีระฆัง

ภิกษุทั้งหลายพากันออกมาจากบำเพ็ญสมาธิ มาประชุมในท่ามกลางวิหาร นางสังเกตเห็นพระท่านออกมาจากที่อยู่ รูปหนึ่งไปทาง อีกรูปหนึ่งไปอีกทาง จึงคิดว่าท่านคงจะทะเลาะกันจึงเรียนถาม ท่านก็ตอบว่า พวกอาตมามิได้ทะเลาะอะไรกันดอกโยม พวกอาตมาต่างก็นั่งสมาธิบำเพ็ญกรรมฐาน

"กรรมฐานอะไรหรือเจ้าคะ"

"กำหนด พิจารณาอาการ 32 และเจริญวิปัสสนากำหนดรูปนาม กำหนดความสิ้น ความเสื่อม แห่งอัตภาพจ้ะโยม"

"กรรมฐานอย่างนี้ ดิฉันจะทำบ้างได้ไหม เจ้าคะ"

"ได้สิ โยม"

"ถ้าอย่างนั้นสอนดิฉันบ้าง"

พระคุณเจ้าจึงให้กรรมฐาน คือ สอนวิธีปฏิบัติ

จากวันนั้นมา นางก็คร่ำเคร่งปฏิบัติธรรม จนกระทั่งได้บรรลุมรรค 3 ผล 3 เป็นพระอนาคามีก่อนภิกษุเหล่านั้น นางได้อภิญญา (ความสามารถพิเศษ) พร้อมมรรคผล นางรู้ว่าภิกษุเหล่านั้นยังเป็นปุถุชน ยังไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงจัดสถานที่อันเป็นสัปปายะ (เหมาะสม) และอาหารอันเป็นสัปปายะแก่ท่านเหล่านั้น

เมื่อภิกษุเหล่านั้น ได้อาหารและที่อยู่อันเป็นสัปปายะแล้วจิตก็เป็นสมาธิ มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว เจริญวิปัสสนา ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทาทุกรูป

เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ภรรยานายบ้าน และภิกษุ 60 รูป ต่างก็ประพฤติพรหมจรรย์ คือ บำเพ็ญกรรมฐาน จนได้บรรลุมรรคผล

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่สอดคล้องกับอัธยาศัย จึงนับว่าเป็นมงคลฉะนี้แล ประสกสีกาทั้งหลาย...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2007, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ความเห็นอริยสัจ

มงคลต่อไป ความเห็นอริยสัจ แปลว่า เหตุแห่งความเจริญ เหตุแห่งความสำเร็จ การเห็นอริยสัจนับเป็นผลแล้ว มิใช่เหตุอีกต่อไปแล้ว

อริยสัจ 4 คือ

1. ทุกข์ คือ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้สิ้น
4. มรรค คือ ทางแห่งความพ้นทุกข์

การเห็นอริยสัจ เริ่มตั้งแต่รู้เห็นสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริงอันเรียกว่าได้ "ดวงตาเห็นธรรม" ภาวะเช่นนี้ท่านว่าอย่างต่ำเป็นพระโสดาบัน อย่างสูงเป็นพระอนาคามี แล้วก็เห็นสูงขึ้นไปอีก จนกระทั่งได้บรรลุชั้นพระอรหัต อย่างนี้เรียกว่า เห็นแจ้งอริยสัจ

พาหิยทารุจีริยะ

กระทาชายนายหนึ่ง นาม พาหิยะ เดินทางไปค้าขายทางเรือ เรือเกิดล่ม คนในเรือตายหมด เหลือแต่เขาคนเดียวที่รอดมาได้ เพราะอาศัยเกาะแผ่นกระดานลอยคอในน้ำ น้ำได้พัดไปขึ้นฝั่ง เสื้อผ้าหายไปหมด ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงหาเปลือกไม้บ้างใบไม้บ้างมาปิดกาย เดินโซซัดโซเซมาด้วยความหิว

ชาวบ้านเห็นก็เข้าใจว่าเป็นนักพรตผู้เคร่งตบะ จึงมาไหว้เอาข้าวน้ำมาถวาย นายพาหิยะก็ได้กินสบายๆ ผ่านไปหลายวันก็คิดได้ว่า ที่ตนได้อาหารกิน มีคนมากราบไหว้นี้ เพราะอานิสงส์ (ผล) ของการไม่นุ่งห่มผ้า ต่อมาเมื่อมีผู้เอาผ้าผ่อนมาให้ก็ไม่ยอมนุ่งห่ม ยินดีใช้เปลือกไม้ตามเดิม คนจึงเรียกขานว่า "นักพรตเปลือกไม้"

นักพรตเปลือกไม้ แรกๆ ก็อาจเหนียมๆ แต่พอมีคนมาล้อมหน้าล้อมหลังมากเข้า สรรเสริญเยินยอมากขึ้น ก็ชักเหลิงคิดว่าตนแน่จริงๆ คราวนี้กิริยาท่าทาง หรือ "มาด" ของหลวงพ่อ หลวงเสี่ยที่น่าเกรงขาม น่าศรัทธาเลื่อมใส ก็ฉายแววเจิดจ้า

ใครจะถามปัญหาอะไรตอบได้หมด อธิบายเป็นคุ้งเป็นแควผิดๆ ถูกๆ (ที่จริงผิดทั้งหมดนั้นแหละ เพราะแกไม่เคยศึกษาเล่าเรียนมา)

ร้อนถึงเทวดาที่เคยเป็นเพื่อนกันมาในชาติปางก่อน มากระซิบเตือนให้ได้สติ จึงสลดใจตัวเองที่หลอกลวงชาวบ้าน เกิดกลัวบาปกลัวกรรมขึ้นมา จึงถามเทวดาผู้ที่มาเตือนว่า จะให้ทำอย่างไร เทวดาบอกว่าขณะนี้ได้เกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นในโลกแล้ว ท่านจงไปถามพระองค์เถิด

เขาเที่ยวสอบถามใครๆ ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ในที่สุดก็ได้ข่าวมาว่าประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ก็อุตส่าห์เดินทางไกลแสนไกลไปเพื่อเข้าเฝ้า เช้าไปวัดตั้งแต่เช้ามืดได้ข่าวว่าพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในเมือง ทนรอไม่ไหวใจมันร้อน จึงรีบตามเข้าเมือง ไปทันพระพุทธองค์ขณะเสด็จดำเนินโปรดสัตว์อยู่ ก็เข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท ขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง

พระพุทธองค์ตรัสว่า

"พาหิยะ มิใช่เวลา ตถาคตกำลังบิณฑบาต เอาไว้เวลาอื่นค่อยฟัง"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เดินทางมาแสนไกลเพื่อสดับพระธรรมเทศนาจากพระองค์ เมื่อได้มีบุญวาสนาได้พบแล้ว ขอได้โปรดแสดงธรรมให้ข้าพระองค์ฟังด้วยเถิดพระเจ้าข้า" เขาทูลอ้อนวอน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง เราจะกล่าวสั้นๆ"

พุทธวจนะที่ตรัสสั้นจริงๆ ครับ

"พาหิยะ เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน รู้สึกสักแต่ว่ารู้สึก แล้วเธอจะพ้นจากโลกนี้และโลกหน้า"

พาหิยะได้ฟังก็เกิดความสว่างวาบขึ้นในใจทันที เรียกว่าได้รู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ กลายเป็นพระอรหันต์ทันที จึงทูลขอบวช พระพุทธองค์ตรัสให้ไปหาบาตรจีวรมา จะประทานอุปสัมปทา (คือจะบวชให้)

พาหิยะจึงออกเดินทาง แต่ในขณะที่ออกเดินไปเพื่อหาผ้าและบาตรอยู่นั้น ได้พานพบกับโคแม่ลูกอ่อน และถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดตาย พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงเสด็จไปจัดการให้เผาศพท่าน นำเอาอัฐิธาตุบรรจุใส่เจดีย์ให้คนบูชา และตรัสบอกสาวกทั้งหลายว่า "พาหิยะได้บรรลุพระอรหัต กระทำที่สิ้นสุดแห่งทุกข์แล้ว"

ทรงประกาศแต่งตั้งพระพาหิยะเป็นเอตทัคคะ (ผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางตรัสรู้ฉับพลัน

พาหิยะนิพพานไม่ทันได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ก็นับว่าเป็นพระโดยคุณธรรม จึงจัดท่านในทำเนียบอสีติสาวก (สาวกผู้ใหญ่ 80 รูป) ของพระพุทธเจ้า


การเห็นอริยสัจของพระสารีบุตร

เล่านิทานเรื่องการเห็นสัจจะของพระพาหิยะ ว่ามีลักษณะพิเศษคือเข้าใจฉับไว เพียงฟังพุทธโอวาทสั้นๆ เท่านั้น

ก็ทำให้นึกถึงอีกท่านหนึ่ง คือ พระสารีบุตร ตอนเป็นมาณพหนุ่ม เพียงฟังคาถาธรรมหนึ่งคาถาจากพระอัสสชิ ก็ได้ "ดวงตาเห็นธรรม" ครั้นบวชแล้ว พระพุทธเจ้ามิได้ตั้งพระทัยจะแสดงธรรมให้ฟัง เพียงแต่ท่านนั่งอยู่ในที่เฝ้า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ท่านพระสารีบุตรกลับได้บรรลุ ในขณะที่ผู้ฟังธรรมนั้นได้อะไรไม่มากนัก

ดุจดังกินอาหารในสำรับที่เขาจัดไว้ให้คนอื่น ไม่ใช่ขโมยกินนะขอรับ คนที่เขาตั้งใจจะให้กิน มีอันเป็นไปเสีย เช่นไม่อยู่หรืออยู่แต่เกิดท้องเสียกินไม่ได้ อะไรอย่างนี้

หลังจากบวชแล้วจะครบสิบห้าวันพอดี วันนั้นเป็นวันเพ็ญพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะ หรือ เพ็ญเดือนสาม พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ถ้ำสูกรขาตา (แปลว่า ถ้ำหมูขุด แต่รูปร่างเหมือนคางหมู ชาวบ้านเลยเรียกว่าถ้ำคางหมู) ปริพาชก (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) นามว่า ทีฆนขะ (แปลว่าเล็บยาว) เป็นหลานของพระสารีบุตรเอง ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรได้ถวายงานพัดอยู่ (พระสาวกเอาพัดใบตาลพัดวีพระพุทธองค์)

ทีฆนขะแกก็ถือว่าเป็นนักบวชมีภูมิคนหนึ่ง จึงแสดงภูมิกับพระพุทธเจ้าว่า "ข้าพเจ้าไม่เชื่อถือทฤษฎีใดๆ ทั้งนั้น"

พระพุทธเจ้าทรงแย้งว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านก็ถือทฤษฎีอยู่เอง"

"ก็ข้าพเจ้าบอกว่า ข้าพเจ้าไม่ถือทฤษฎีใดๆ ท่านยังจะหาว่าข้าพเจ้าถือทฤษฎีหรือ"

"ก็ทฤษฎีว่าไม่ถือทฤษฎีใดๆ อย่างไรเล่า" พระพุทธองค์ตรัส

เล่นเอาทีฆนขะอึ้งไปเลย นึกไม่ถึงเรื่องนี้

เรื่องอย่างนี้มิใช่เป็นการตีฝีปากนะครับ คนที่โอ้อวดว่าตนไม่ยึดมั่นถือมั่นกับคนอื่นนั้น ระวังให้ดีเถิด ตนกำลังยึดมั่นความไม่ยึดมั่น ยิ่งร้ายกว่าคนที่เขารับตรงๆ ว่าเขายังยึดมั่นอยู่

เล่านิทานแทรกนิทานให้ฟังก็ยังไหว

อาจารย์กับศิษย์บวชใหม่เดินทางจากวัด พบสาวนางหนึ่งรีรอจะข้ามถนนซึ่งแฉะด้วยน้ำหลังฝนตกใหม่ๆ กลัวกระโปรงยาวเธอจะเปียก อาจารย์รี่เข้าอุ้มเด็กสาวข้ามถนน วางเธอลงแล้วก็เดินต่อไป ทำยังกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ศิษย์ได้เห็นการกระทำของอาจารย์ก็ตาค้าง นึกไม่ถึงว่าอาจารย์จะทำผิดวินัยด้วยการจับต้องสตรี คืนนั้นนอนไม่หลับขณะที่อาจารย์หลับปุ๋ย ตกประมาณสองยามกว่าๆ ทนไม่ไหวจึงไปเคาะประตูต่อว่าอาจารย์เป็นการใหญ่ หาว่าไปอุ้มผู้หญิงผิดวินัย ไม่ควรทำ

อาจารย์กล่าวเย็นๆ ว่า "นี่คุณ ผมอุ้มเด็กหญิงคนนั้นผมก็วางเธอตั้งนานแล้ว คุณเองยังอุ้มเธออยู่ถึงป่านนี้หรือ"

อาจารย์อุ้มทางกายภาพ อุ้มจริงๆ แล้วก็วางนานแล้ว ศิษย์ไม่ได้อุ้มสักหน่อย แต่จิตใจอุ้มเข้าเต็มเปา อุ้มด้วยอุปาทานอุ้มตลอดวันตลอดคืนไม่ยอมวางเลย แล้วใครมันทุกข์กว่ากัน

นิทานเรื่องที่เล่าซ้อนนี้ อาจไม่เกิดขึ้นจริง แต่ต้องการเตือนให้เห็นว่า การยึดมั่นนั้นมันละยาก อย่าคุยว่าตนไม่ยึดมั่นเพราะขณะคุยนั้นกำลังแสดงให้เห็นว่าตนกำลังยึดมั่นความไม่ยึดมั่น

พระพุทธเจ้าทรงเห็นทีฆนขะอึ้งไป ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วย "การกำหนดเวทนา" (เวทนาปริคคหสูตร หรืออีกชื่อหนึ่ง ทีฆนขสูตร) ให้เธอฟัง แสดงว่าอย่างไร ไม่มีเวลาพูดถึง อยากทราบไปเปิดดูในพระสูตรที่ว่านี้ พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 ข้อที่ 269 จะทราบเองแล)

พระสารีบุตรนั่งพิจารณาไปตามกระแสพระดำรัส ด้วยจิตเป็นสมาธิแน่วแน่ พอทรงแสดงธรรมจบลง ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัต เห็นอริยสัจแจ้งจางปาง

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตรค่อนข้างแปลก เรียกว่าพระพุทธเจ้ามิได้ทรงมีพุทธประสงค์จะแสดงให้ท่านฟัง ทรงแสดงให้หลานท่านฟัง แต่ท่านได้ฟังด้วย ท่านก็เลยได้บรรลุธรรม ในขณะที่หลานท่านดูเหมือนจะได้แค่โสดาบัน

มีข้อพึงสังเกตก็คือ วันที่ท่านพระสารีบุตรบรรลุพระอรหัตนั้น ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชาพอดี...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 8:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ การทำนิพพานให้แจ้ง

มงคลต่อไป การทำนิพพานให้แจ้ง นิพพานคืออะไร เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่เข้าใจยาก หรือเข้าใจง่ายแต่ทำยาก อะไรทำนองนั้น

นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต ท่านเปรียบชีวิตคนเหมือนการเดินทาง ตราบใดที่ยังไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ต้องเดินต่อไป นั้นก็คือเวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ ตามกระแสกรรมที่ทำไว้ ดีบ้าง ชั่วบ้าง อันนี้เรียกตามศัพท์ว่า "สังสารวัฏฏ์" เมื่อบรรลุพระนิพพานแล้ว ถือว่าถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

พระนิพพานของพระพุทธเจ้า คือ การหมดราคะ โทสะ โมหะ เป็นเรื่องของนามธรรม ไม่ใช่วัตถุ สถานที่ ผู้ใดปฏิบัติธรรมจนได้ลุถึงความหมดราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกได้ว่าบรรลุพระนิพพาน นี้คือปฏิปทาของผู้บรรลุพระนิพพาน...

นิพพานในทางธรรม

ผู้ที่บรรลุพระนิพพาน เรียกว่า พุทธบ้าง อรหันต์บ้าง ขีณาสวะ (ขีณาสพ) บ้าง และคำอื่นอีกหลายคำ เป็นพระอรหันต์แล้ว ตายแล้วเขาเรียกว่าดับ ดับแล้วมันจะไปไหนหรือไม่ไปไหนไม่ต้องพูดถึงอีกต่อไปแล้ว ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็อยู่ใช้ร่างสุดท้ายเท่านั้น ไม่มีการทำกรรมอีกต่อไป การเคลื่อนไหวของท่านเป็นเพียง "กิริยา" หมดแรงดันแรงเหวี่ยงแรงกระตุ้นแห่งกิเลสตัณหาจะมีแต่แรงแห่งกรุณา เป็นพลังให้ท่านทำประโยชน์เกื้อกูลแก่เหล่าสรรพสัตว์

พระนิพพานคืออะไร พระนิพพานมิใช่บ้าน มิใช่เมือง มิใช่สถานที่ที่มีอาณาจักรกว้างยาว วัดได้เท่านั้น เท่านี้โยชน์ดังนักสอนลัทธิบางลัทธิเขาสอนกัน

พระนิพพานของพระพุทธเจ้า คือ การหมด ราคะ โทสะ โมหะ เป็นเรื่องของนามธรรม ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่สถานที่

เมื่อพระนิพพานมิใช่วัตถุ มิใช่สถานที่ ก็ไม่มีตัวตน พระนิพพานจึงเป็นอนัตตา = มิใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน (ที่ถามและเถียงกันหน้าดำหน้าแดงว่า พระนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตานั้น เพราะใช้คำ "อัตตา-อนัตตา" มันจึงเถียงกัน ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็นคำไทยง่ายๆ ว่า "พระนิพพานเป็นสภาวะ หรือว่าเป็นตัวตนที่จับต้องได้" อย่างนี้น่าจะตอบกันได้ง่าย เข้าใจกันง่ายกว่า)

ความหมดราคะ โทสะ โมหะ (หมดกิเลสตัณหา) เป็นสภาวะ เป็นนามธรรม

ผู้ใดปฏิบัติธรรมจนได้ลุถึงความหมด ราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกได้ว่าได้บรรลุพระนิพพาน บรรลุขณะเป็นๆ มีลมหายใจอยู่นี้แหละ

เมื่อบรรลุแล้ว ร่างกายก็ยังเป็นคนเดิม หล่ออย่างไรก็คงหล่ออย่างเดิม อ้วนผอมอย่างไรก็คงอย่างเดิม ไม่เปลี่ยนเป็นคนละคน ที่เปลี่ยนก็คือจิตใจ ก่อนนี้จิตเต็มไปด้วยโลภโมโทสัน แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นไม่มีกิเลสตัณหาค้างอยู่เลย

ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ต่อแต่นี้ไปท่านผู้นี้มิได้เคลื่อนไหวด้วยอำนาจกิเลสตัณหาต่อไปแล้ว แต่จะเคลื่อนไหวด้วยแรงแห่งกรุณา ความสงสารเห็นใจสัตว์โลกที่ตกทุกข์ได้ยาก ขวนขวายเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์เหมือนอย่างท่าน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

นี้คือปฏิปทาของผู้บรรลุพระนิพพาน

ถ้ายังไม่ชัด ขอให้อ่านพุทธประวัติหรือประวัติพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย หลังจากท่านบรรลุพระนิพพานแล้ว ท่านได้ปลีกวิเวกหนีเข้าป่าหาความสุขในฌานสมาบัติคนเดียว หรือว่าท่านขวนขวายเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ บำเพ็ญ หิตานุหิตประโยชน์ (ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่) แก่สังคม แล้วจะเห็นว่า ผู้บรรลุนิพพานไม่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตน ไม่เรี่ยไรขูดเงินทองเขามาเพื่อสร้างอาณาจักรของตนแน่นอน...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 8:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม

มงคลข้อต่อไป คือ จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม

ความหมายก็คือ ผู้ใดได้กระทบกับโลกธรรม 8 แล้วจิตไม่หวั่นไหวไม่ฟู ไม่ฟุบ ไปตามโลกธรรม 8 นั้น นับว่าเป็นมงคลสูงสุด

ในความหมายอย่างสูง หมายเอาจิตของพระอรหันต์เท่านั้น ที่ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสแห่งโลกธรรม เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ท่านจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตาที" (ผู้คงที่, ผู้มั่นคง)

ในตำรากล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า แผ่นดินมันไม่มีความรู้สึกใดๆ เลย ไม่ว่าใครจะเอาน้ำหอมประพรมลงบนพื้นดิน แผ่นดินมันก็เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไรหรือใครเอาสิ่งสกปรกมาเทรด แผ่นดินมันก็เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร

ฉันใดก็ฉันนั้น พระอรหันต์นั้นจิตใจท่านคงที่ มั่นคง ใครจะด่าจะชมท่านก็เฉย ไม่รู้สึกอะไร แค่รับรู้ว่า อ้อ เขาด่า เขาชม แค่นั้นแล้วก็ผ่านไป

พระอาจารย์ตันซาน

นิทานเซ็นเล่าเรื่อง พระอาจารย์นามว่า ตันซาน ลูกสาวร้านชำไปได้เสียลับๆ กับเด็กขายปลา จนตั้งท้อง พ่อแม่ก็ตามไปจิกหัวด่าหลวงพ่อเป็นการใหญ่

หลวงพ่อท่านก็ไม่ว่าอะไร เพียงแต่ถามว่า

"เขาว่าอย่างนั้นรึ"

เมื่อลูกสาวคลอดออกมา พ่อแม่ก็นำเด็กมาให้หลวงพ่อเลี้ยง "ลูกแกแกต้องเลี้ยง"

หลวงพ่อท่านก็ไม่ว่าอะไร รับเด็กมาเลี้ยงอย่างทุลักทุเลเป็นเวลาสามเดือนเต็มๆ ผู้เป็นแม่เด็กรู้สึกผิดที่โยนบาปให้พระจึงสารภาพว่า พ่อของเด็กที่จริงนั้น คือ ชายหนุ่มร้านขายปลามิใช่หลวงพ่อ

พ่อแม่เด็กสาวร้อนใจมากที่เข้าใจผิด ไปด่าว่าหลวงพ่ออย่างเสียๆ หายๆ จึงไปสารภาพขอขมาท่าน พร้อมขอรับเด็กกลับ กล่าวว่าพวกตนรู้แล้วว่าหลวงพ่อไม่ผิด เด็กคนนี้เป็นลูกของหนุ่มขายปลา

หลวงพ่อก็ถามคำเดิมว่า "เขาว่าอย่างนั้นรึ"

เรื่องนี้จริงหรือเท็จไม่ทราบ ถ้าเป็นเรื่องจริง "หลวงพ่อ" ในเรื่องจะต้องเป็นพระอรหันต์ เพราะถ้าเป็นปุถุชนคงไม่ "นิ่ง" ปานนั้น ดีไม่ดีโยมอาจหัวแตกที่ไปกล่าวหาพระโดยไม่มีมูล เผลอๆ ท่านอาจฟ้องศาลฐานหมิ่นประมาทเอาด้วย

พระบาลีพุทธพจน์แห่งหนึ่งพูดไว้น่าฟังว่า โลกธรรม 8 (ลาภ-เสื่อมลาภ, ยศ-เสื่อมยศ, นินทา-สรรเสริญ, สุข-ทุกข์) ต้องประสบเหมือนๆ กันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระอริยะหรือปุถุชนไม่แตกต่างกัน ที่แตกต่างคือท่าทีหรือปฏิกิริยาตอบรับ พระอรหันต์ท่านไม่ฟูไม่ฟุบไปตาม ส่วนปุถุชนฟูฟุบไปตามกระแสโลกธรรมดังกล่าว

ท่านสอนต่อไปว่า...

ปุถุชนเราอย่าตกเป็นทาสของโลกธรรมนัก ให้พยายามมองความจริงให้กระจ่างแล้ว "ปล่อยวาง" หรือ "ปลง" เสียบ้าง จิตใจจะได้ไม่เป็นทุกข์มากเกินไป

วิธีหนึ่งที่ท่านสอนนับว่ามีประโยชน์ไม่น้อย คือ ให้คิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียง "แขก" ที่มาเยี่ยมเราชั่วครั้งชั่วคราว มันไม่อยู่นานดอก ถึงเวลาอันสมควรมันก็จะไป

เวลาทุกข์มาก็ทำใจว่า มันมาอยู่กับเราเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวมันก็จะไป ทนเอาหน่อย หรือเวลาสุขมาก็ทำใจว่า สุขอยู่กับเราไม่นานเดี๋ยวมันก็จะไป คิดอย่างนี้แล้วจะได้ไม่ประมาท

ลองฝึกๆ ดูสิครับ ไม่ยากดอก แล้วจะรู้ว่าเราเป็นคน "มั่นคง" ขึ้นเยอะ ชีวิตก็นับว่ามีความสุขสงบพอสมควร


พระอรหันต์น้อย

ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ได้เล่าถึง พระอรหันต์น้อย (รูปร่างท่านเล็กเตี้ย) นามว่า ลุกุณฏกะภัททิยะ พระต่างจังหวัดนึกว่าท่านเป็นเณรน้อย เขกศีรษะท่านบ้าง ดึงหูเล่นบ้าง กระเซ้าว่า "พ่อหนูน้อย มาบวชตั้งแต่เล็กเชียว หย่านมหรือยัง คิดถึงแม่ไหม" อะไรทำนองนี้ ท่านลุกุณฏกะก็ไม่แสดงอาการโกรธเคืองอะไร ปล่อยให้พระบ้านนอกเขกศีรษะเล่นตามสบาย

รู้ถึงพระอื่นๆ ท่านเหล่านั้นก็อัศจรรย์ใจในความมั่นคงของพรเถระน้อย กล่าวสรรเสริญว่า ท่านช่างมั่นคงจริง พระบ้านนอกเหล่านั้นเขกศีรษะบ้าง ดึงหูบ้าง กระเซ้าเย้าแหย่ต่างๆ นานา ท่านก็ไม่แสดงอาการโกรธตอบ

พระพุทธเจ้าเสด็จมา ทรงทราบเรื่องพระสนทนากัน จึงตรัสว่า ธรรมดาพระอรหันต์ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาหรือสรรเสริญ ดุจภูเขาใหญ่ ไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันนั้น

ปฏิปทาของพระอรหันต์เป็นแบบอย่างแก่เราได้ เพียงแต่เราต้อง "ลดเพดาน" ลงมา ไม่เอาถึงขนาดไม่รู้ร้อนรู้หนาว เอาแค่ว่า ถ้าใครด่าเรา เราก็ไม่ด่าตอบ สงบไว้ เขาด่าว่า "ไอ้หน้าหมา" เราก็หันมาดูว่าตัวเราหน้าเหมือนหมาหรือเปล่า ไม่เหมือนนี่หว่า เมื่อไม่เหมือนก็แสดงว่าเขามิได้ด่าเรา

เขาชมเราว่า คุณดีเหลือเกิน เกือบจะเป็นเทวดาอยู่แล้วเราก็สำรวจดูตัวเราว่า ดีตามเขาว่าหรือเปล่า ถ้าดีจริงดังเขาว่าก็เพียงรับรู้เท่านั้นก็พอ

ทำได้อย่างนี้รับรองมีชีวิตอยู่ในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ได้อย่างดีแล โยมเอ๋ย...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2007, 8:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ จิตไม่เศร้าโศก

มงคลข้อต่อไป คือ จิตไม่เศร้าโศก เป็นมงคลอย่างยิ่ง

จิตของพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก นอกจากพระอรหันต์แล้ว ก็ล้วนยังต้องเศร้าโศกอยู่ทั้งนั้น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อลูกสาวคนเล็กป่วยหนัก ท่านคอยเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ถามว่าเป็นอย่างไรบ้างลูก ลูกสาวตอบว่า "พี่ไม่เป็นอะไรมากดอก น้องชาย" ไม่นานลูกสาวก็สิ้นใจ

เศรษฐีได้ฟังลูกสาวพูดก็ร้องไห้เสียใจโดยไม่อายใคร ที่ลูกสาวคนวัดคนวาเช่นตน เวลาจะตายทำไมจึงเพ้ออย่างไร้สติ อย่างนี้คงต้องไปเกิดในทุคติแน่นอน เศรษฐีจึงร้องไห้ด้วยความเสียใจ อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็เป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ยังเศร้าโศกแล้วกับปุถุชนเช่นเรา ถึงคราวควรเศร้าก็ต้องเศร้า ใช่ไหม...

คนห้าคน

ครอบครัวหนึ่งอยู่ด้วยกันห้าคน คือ พ่อแม่ บุตรชาย บุตรสาว ลูกสะใภ้ และคนใช้อีกหนึ่ง รวมเป็นห้าคน ครอบครัวนี้เป็นเกษตรกร ทำนาเลี้ยงชีพ

พอถึงหน้านา พ่อกับบุตรชาย บุตรสาว ออกไปไถนาแต่เช้า แม่กับลูกสะใภ้คอยหุงหาอาหารให้เรียบร้อย เพื่อนำไปให้พ่อกับลูกรับประทาน

บังเอิญบุตรชายถูกงูพิษกัดตาย ผู้เป็นพ่อเอาศพลูกชายนอนไว้ที่คันนา ตัวเองก็ไถนาต่อไปอย่างใจเย็น ส่งลูกสาวกลับไปบอกแม่ว่า วันนี้ให้นำอาหารพอกินสำหรับคนสองคน

เมื่อรับบอกเช่นนั้น ผู้เป็นแม่ก็รู้ทันทีว่าบุตรชายได้สิ้นชีวิตแล้ว ถามลูกสาวก็ได้รับยืนยันว่าตายจริง ฝ่ายภรรยาก็เข้าใจเช่นนั้นเหมือนกัน ทั้งสองไม่แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจให้ปรากฏตระเตรียมอาหารเพื่อนำไปส่งพ่อและลูกสาว

เมื่อไปถึงก็พากันจัดการเผาศพผู้ตายด้วยใบหน้าอันสงบร้อนถึงท้าวสักก

เทวราชต้องจำแลงกายมาเป็นพราหมณ์แก่ เดินผ่านมา เข้าไปถามบุคคลทั้งห้าว่า "พวกท่านเผาศพใคร"

"ศพบุตรชายของข้าพเจ้า" บิดามารดาผู้ตายตอบ

"เขาเป็นอะไรตาย" พราหมณ์ถาม

"ถูกงูกัดตายเมื่อเช้านี้" เสียงตอบอย่างสงบ

"แปลกนะ คนตายทั้งคน ผู้อยู่ข้างหลังไม่แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจอะไร แถมมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเสียอีก พราหมณ์รำพึงออกมาดังๆ

ผู้เป็นพ่อกล่าวว่า...

"บุตรเราทิ้งร่างเก่าไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง เมื่อเขาละร่างนี้ไป ถูกไฟเผาอยู่ ก็ไม่รู้สึกอะไร เราจะร้องไห้ไปทำไมเขามาอย่างใดก็ไปอย่างนั้น"

ผู้เป็นแม่กล่าวว่า...

"บุตรชายเรา เรามิได้เชิญก็มาเถิด เรามิได้อนุญาตให้ไปก็ไป เขามาอย่างใดก็ไปอย่างนั้น ถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกอะไรเราจะร้องไห้ไปทำไม"

น้องสาวกล่าวว่า...

"ถ้าเราร้องไห้ เราก็ผอมไปเปล่า ไม่มีผลดีอะไร ญาติพี่น้องก็จะไม่ยินดีกับเรา (ที่เป็นเช่นนี้) เขาถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกเขามาอย่างใดก็ไปอย่างนั้น"

ภรรยาเขากล่าวว่า...

"เด็กร้องไห้อยากได้พระจันทร์ ย่อมไม่มีทางได้ฉันใดคนตายไปแล้ว ใครจะร้องไห้หา เขาก็หากลับคืนมาไม่ นายของเราถูกไฟไหม้อยู่ก็ไม่รู้สึก เขามาอย่างใดก็ไปอย่างนั้น"

คนใช้กล่าวว่า...

"หม้อน้ำที่แตกแล้ว ประสานใหม่ยากฉันใด คนล่วงลับไปแล้วก็เช่นกัน ถึงใครจะร้องไห้หาก็หากลับคืนมาไม่ นายของข้าพเจ้าถูกไฟไหม้อยู่ก็ไม่รู้สึก เขามาอย่างใดก็ไปอย่างนั้น"

พราหมณ์แปลงได้ยินคำพูดของทั้งสี่คน ก็กล่าวชมว่า

"พวกท่านเข้าใจธรรมดาของชีวิต พวกท่านย่อมไม่เศร้าโศกในขณะที่คนส่วนมากเศร้าโศกอยู่ เราขออนุโมทนาด้วย ต่อนี้ไปพวกท่านไม่ต้องทำนา ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกเทวราช จะบันดาลให้พวกท่านมีทรัพย์สมบัติพอกินไปตลอดชีพ ขอให้ทำบุญให้ทานรักษาศีลอุโบสถตลอดชีวิตเถิด"

นิทานเรื่องนี้ให้คติว่า ถ้าเราเข้าใจและทำใจได้ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวใหญ่โตในชีวิตสักปานใดก็ตาม ย่อมตั้งสติได้มั่นคง "ไม่เสียศูนย์" เด็ดขาด

ในเรื่องเกี่ยวกับความตายนี้ เรารู้ดีว่าจะต้องตายอย่างแน่แท้ แต่เรามักไม่ยอมรับความจริง ไม่รู้จักปลง หรือทำใจไว้ล่วงหน้า ได้แต่นึกโต้เถียงว่า ไม่จริงๆ เราจะต้องไม่ตาย มัวแต่หลอกตัวเองไปวันๆ พอถึงเวลาเข้า "เสียศูนย์" ไปเลย

หลวงพ่อพุทธทาสจึงสอนว่า "จงตายเสียก่อนตาย แล้วจะสบายใจ"



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2007, 8:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ จิตปราศจากธุลี

มงคลข้อต่อไป คือ จิตปราศจากธุลี

วิรชํ แปลตามอักษรว่า จิตปราศจากธุลีในทางพระพุทธศาสนา ท่านมักเปรียบกิเลสดุจธุลีเสมอ "จิตปราศจากธุลี" จึงหมายถึงจิตปราศจากกิเลสนั้นเอง "กิเลส" หมายถึง สิ่งที่ทำจิตให้สกปรกมัวหมอง จิตปราศจากกิเลสจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

คำว่า "กิเลส" ดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่คนไทย เพราะได้ยินได้ฟังได้อ่านหนังสืออยู่เสมอ คู่กับคำว่า "ตัณหา"

ความจริง "กิเลส" เป็นคำกลางๆ เรียกความชั่วทางจิตทุกชนิด ความโลภก็เป็นกิเลส ความโกรธก็เป็นกิเลส ตัณหาก็เป็นกิเลส เพราะฉะนั้นในคัมภีร์พระไตรปิฎกท่านไม่ค่อยใช้คำศัพท์นี้ เวลาพูดถึงความชั่วของจิต ท่านก็ระบุชื่อมันตรงๆ ไปเลย เช่น ราคะ โทสะ โกธะ ตัณหา ในคัมภีร์ระดับอรรถกถาเท่านั้นที่ใช้ "กิเลส" กันแพร่หลาย

สตรีนอกใจสามี

สตรีนางหนึ่งลอบเป็นชู้กับน้องชายสามีมานานปี เกิดกลัวความลับจะเปิดเผย จึงบอกชายชู้ว่า ถ้าพี่ชายท่านจับได้ว่าเราเป็นชู้กัน ชื่อเสียงเราก็จะเสียหาย ทางที่ดีขอให้ท่านฆ่าพี่ชายของท่านเสียเถิด น้องชายก็เชื่อ จึงวางแผนฆ่าพี่ชายเสีย

พี่ชายนั้น เนื่องจากมีความรักภรรยามาก จึงไปเกิดเป็นจิ้งจก เมื่อนางยืนก็ดี นั่งก็ดี จิ้งจกนั้นจะตกลงมายังเธอ นางจึงสั่งให้ฆ่าจิ้งจกนั้นเสีย

จิ้งจกตายแล้วได้ไปเกิดเป็นลูกหมาในบ้านของนาง ด้วยความรักความเสน่หาในนาง ลูกหมาน้อยจะติดสอยห้อยตามนายหญิงไปไหนต่อไหนเป็นประจำ จนประชาชนพูดล้อนางว่า "แม่นายพรวน วันนี้จะออกล่าเนื้อที่ไหน"

นางอับอายผู้คน จึงฆ่าลูกหมาตัวนั้นเสีย ลูกหมาตายแล้วไปเกิดเป็นลูกวัวในเรือนนั้น ลูกวัวน้อยจะคอยติดตามนายหญิงไปไหนต่อไหนเสมอ จนถูกคนเขาล้อเอาว่า "แม่โคบาล จะพาฝูงวัวไปไหน"

นางเกิดความละอายจึงฆ่าลูกวัวตัวนั้นเสีย ลูกวัวตายไปเกิดเป็นบุตรผู้ระลึกชาติได้ของนาง ไม่ยอมให้แม่แตะต้องตัวตั้งแต่รู้ความ ถ้าถูกนางแตะต้องตัวเมื่อใด จะร้องไห้ไม่หยุด ยายจึงเอาไปเลี้ยง เมื่อเขาเติบโตขึ้น ได้ตอบคำถามของยาย นางคนนี้มิใช่แม่ของตน หากแต่เป็นศัตรู ฆ่าเขามาหลายชาติติดต่อกัน ยายได้ฟังดังนั้นก็สลดใจ พาเขาออกจากบ้านไปบวชในพระพุทธศาสนาไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต...



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2007, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ จิตอันเกษม

มงคลข้อต่อไป คือ เขมํ แปลกันว่า จิตที่เกษม ถ้าแปลง่ายๆ ให้คนทั่วไปพอเข้าใจก็คือ จิตที่ปลอดจากกิเลส จิตที่ปลอดภัยไม่มีกิเลสรบกวนนั่นแหละขอรับ

เรื่องจิตเกษมนี้ก็เหมือนกัน พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะมีจิตอันเกษมตลอดเวลา แต่คนยังไม่เป็นอรหันต์ก็พอทำจิตให้เกษมเป็นขั้นๆ ได้จนถึงระดับสูง ท่านจึงแบ่งระดับจิตเกษมไว้ดังนี้

1. จิตเกษมระดับต้น
2. จิตเกษมระดับกลาง
3. จิตเกษมระดับสูง

คนระดับเราๆ ที่เวียนว่ายอยู่ท่ามกลางกระแสกิเลสตัณหา เอาแค่ทำใจปลอดจากโลภ โกรธ หลง บ้างบางครั้งบางคราว ไม่ปล่อยให้กิเลสชักจูงไปทำทุจริตก็พอแล้วครับ...

แม่ชีอวดภูมิ

แม่ชีคนหนึ่ง พอปฏิบัติกรรมฐานได้เพียงเดือนสองเดือนก็มาคุยอวดพระว่า กิเลสของตนเองลดลงทุกทีๆ จนเบาบางที่สุดแล

"อิชั้นนะคะ เดี๋ยวนี้กิเลสเหลือน้อยเต็มทีแล้ว ใกล้จะหมดแล้ว" ว่าเข้าไปโน่น

พระท่านก็นั่งฟังด้วยความสงบ แต่เธอชอบมาคุยแต่เรื่องเดิมทุกวัน ไม่ใช่พระอิฐพระปูนนี่ครับ พระปุถุชนก็ย่อมมีความรู้สึกบ้างสิ

วันหนึ่งแม่ชีคนเดิมมาถึงก็คุยโม้ว่ากิเลสของตนใกล้จะหมดแล้ว เบาบางเหลือเกิน พระก็เลยโพล่งขึ้นว่า...

"อีตอแหล"

เท่านั้นแหละครับ กิเลสที่ว่าเบาบาง ใกล้จะหมดแล้ว ไม่รู้มาจากไหน เธอเต้นผางเลย

"พระอะไรพูดคำหยาบ เสียแรงนับถือ ไม่นับถือแล้ว"

ว่าแล้วก็ลงส้นตึงๆ ลงไปจากกุฏิ

พระท่านก็เลยพูดไล่หลังว่า...

"นึกแล้ว กิเลสมันไม่หมดไปง่ายๆ ดอก"

อย่าทำเป็นดีไป กิเลสมันไม่หมดง่ายๆ ดอกครับ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สะสมบารมีไปทีละนิดละหน่อย อย่าได้เที่ยวสะสมกิเลสโดยเฉพาะทิฐิมานะ (ความเห็นผิด, ความถือตัว) อติมานะ (ความดูถูกคนอื่น) หรืออุปาทาน (ความยึดมั่น) เข้าเป็นอันขาด

หาไม่ปฏิบัตินานยิ่งมีปัญหา เข้ากับใครก็ไม่ได้ เพราะว่าเธอเอามาตรฐานของตัวไปวัดคนอื่นว่าเลว สู้ตนไม่ได้อยู่เสมอแล้วก็ยึดติดอยู่ว่า แนวทางของสำนักตน ของอาจารย์ตนเท่านั้นถูกต้อง ของคนอื่นผิดหมด...

ภาคผนวก

พระบรมศาสดาตถาคต สำราญอิริยาบถทรงพักผ่อน
ณ วิหาร "เชตวัน" อันสุนทร ใกล้นครสาวัตถีบุรีรัตน์
เหล่าสาวกสาวิกามาฟังธรรม ตั้งแต่เช้ายันค่ำแน่นขนัด
บัดนี้วังเวงไปทั้งในวัด ดึกสงัดไร้เสียงสำเนียงคน
เทวดาจากสถานพิมานทิพย์ เหาะลิ่วลิ่วลิบลิบจากเวหน
หวังทูลถามตถาคตทศพล สิ่งที่ตนกังขามาช้านาน
บันดาลให้ไฟสว่างไปทั้งวัด จนมองเห็นถนัดทุกสถาน
ความมืดกลายเป็นเวลาทิวาร อภิวาทพระทรงญาณในทันใด
ยืนอยู่ ณ สถานอันเหมาะสม กรประนมซักถามความสงสัย
เป็นโศลกเสนาะรสพจนัย ซึ่งมีใจความย่อต่อไปนี้
"เหล่าเทพเทวามหาฤทธิ์ ผู้สถิตวิมานแมนแดนสุขี
ทั้งมนุษย์ในมหาปฐพี ต่างสงสัยอะไรดีเป็นมงคล
ข้าพระเจ้าขอปุจฉาตถาคต ให้ปรากฏแจ่มแจ้งทุกแห่งหน
อะไรคือมงคลเลิศประเสริฐล้น เผยยุบลให้กระจ่างสว่างนัย
ฝ่ายองค์พระมุนินท์ชินสีห์ เผยวจีภิปรายหายสงสัย
การทำดีทางกายวาจาใจ คือสิ่งให้ผลเห็นเป็น "มงคล"

ห่างคนพาลสันดานชั่วมั่วทางผิด
คบบัณฑิตคนดีมีกุศล
ยกย่องคนควรยกย่องประคองตน
เป็นยอดยิ่งมิ่งมงคลอุดมดี

อยู่ถิ่นฐานเหมาะสมอบรมตน
มีกุศลเสริมสร้างปางก่อนนี้
ดำรงตนชอบทางอย่างเมธี
เป็นยอดศรีมงคลอุดมคุณ

เป็นผู้คงแก่เรียนเพียรศึกษา
ศิลปะวิทยาพาเกื้อหนุน
พูดจาดีมีวินัยล้ำช่วยค้ำจุน
เป็นยอดบุญยอดยิ่งมิ่งมงคล

อีกเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า
ลูกเมียเราบำรุงให้ไม่ขัดสน
การงานทำไม่คั่งค้างเป็นกังวล
เป็นยอดยิ่งมิ่งขวัญดลสวัสดี

บำเพ็ญทานประพฤติธรรมสุจริต
สงเคราะห์เหล่าญาติสนิทให้สุขี
ทำการงานบริสุทธิ์ในยุทธวิธี
เป็นยอดศรียอดผลมงคลชัย

งดจากบาปถ้วนทั่วสิ่งมัวหมอง
งดเครื่องดองของเมาไม่เข้าใกล้
ไม่ประมาทในธรรมประจำใจ
เป็นยอดยิ่งมิ่งหทัยมงคลดี

คารวะนอบน้อมค้อมศิโรตม์
มีสันโดษรู้จักใช้ปัจจัยสี่
กตัญญูรู้คุณหนุนคนดี
ฟังธรรมตามกาลมียอดมงคล

อีกอดทนเต็มเปี่ยมเสงี่ยมสงบ
หมั่นเข้าพบสมณะประเสริฐผล
สนทนาธรรมะกาละดล
ยอดกุศลยอดยิ่งมิ่งมนุษย์

มีเพียรเครื่องเผากิเลสเหตุมัวหมอง
มีชีพครองพรหมจรรย์อันวิสุทธิ์
เห็นสัจจะอันประเสริฐเลิศวิมุติ
แจ้งนิพพานอันสูงสุดยอดมงคล

จิตไม่ไหวไม่เศร้าเคล้ากิเลส
อันเป็นเหตุให้จิตคิดหมองหม่น
จิตเกษมปลอดภัยไร้กังวล
ประลุดลมิ่งขวัญอนันต์นาน

มงคลธรรมสามสิบแปดประการนี้
ใครทำได้ทำดีทุกสถาน
จะมีชัยชำนะทุกประการ
ดลบันดาลยอดยิ่งมิ่งมงคล



มีต่อ >>>>>
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
อิชิคาว่า
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 ส.ค. 2008
ตอบ: 94
ที่อยู่ (จังหวัด): กำแพงเพชร

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 2:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุครับ
 

_________________
สังขารไม่เที่ยงหนอ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2008, 9:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับ ความรู้เยอะ จริงๆ ซึ้ง
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง